View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 44048
Location: NECTEC
|
Posted: 25/06/2010 11:13 am Post subject: |
|
|
ปรับปรุงทางรถไฟ
คอลัมน์เดินหน้าเลี้ยวซ้าย
เดลินิวส์ วันศุกร์ ที่ 25 มิถุนายน 2553 เวลา 7:54 น
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 22 มิถุนายน มีมติอนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทยดำเนินการโครงการปรับปรุงเส้นทางระยะที่ 5 ระยะทางกว่า 308 กิโลเมตร ช่วงสถานีชุมทางแก่งคอย-แก่งเสือเต้น สถานีสุรนารายณ์-บัวใหญ่ สถานีชุมทางถนนจิระ-ชุมทางบัวใหญ่ วงเงินกว่า 8,508 ล้านบาท และโครงการปรับปรุงทางระยะที่ 6 ระยะทาง 278 กิโลเมตร จากชุมทางบัวใหญ่-หนองคาย วงเงิน 6,778 ล้านบาท
สาเหตุที่กระทรวงคมนาคมเสนอขอปรับปรุงเนื่องจากปัจจุบันรางอยู่ในสภาพเสื่อมโทรม มีขนาด 70 ปอนด์ต่อหลา และมีอายุการใช้งานมากว่า 43 ปี (นับตั้งแต่ปี 2510) หากปรับปรุงจะทำให้การขนส่งผู้โดยสารและสินค้าปลอดภัยมากขึ้น สามารถเพิ่มความจุของราง และทำให้เพิ่มขบวนรถได้มากขึ้น
หลังจากนี้การรถไฟแห่งประเทศไทยจะเร่งประกวดราคาคัดเลือกผู้รับเหมาปรับปรุงทางระยะที่ 5 และ 6 ภายในปีนี้ ซึ่งคุณโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มั่นใจว่าการรถไฟฯ จะดำเนินงานได้ตามแผนที่วางไว้ เนื่องจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีกังวลเกี่ยวกับความล่าช้าของกระบวนการจัดซื้อ จัดจ้างของการรถไฟฯ โดยคุณโสภณยืนยันว่าขณะนี้การรถไฟฯ อยู่ระหว่างการปฏิรูปองค์การในการจัดตั้งหน่วยธุรกิจ และการปรับปรุงแก้ไขระเบียบที่เป็นอุปสรรคในการทำงาน
ก่อนหน้านี้รัฐบาลอนุมัติโครงการปฏิรูปโครงสร้างรถไฟ วงเงิน 1.76 แสนล้านบาท ซึ่งการรถไฟฯ ได้เริ่มโครงการพัฒนาระบบอาณัติสัญญาณเป็นโครงการแรก
ส่วนตัวเติบโตจากต่างจังหวัด แม้จะไม่ห่างไกลจากกรุงเทพฯ แต่ก็ใช้บริการรถไฟเป็นประจำ โดยเฉพาะเวลาที่ไปท่องเที่ยว ต้องรถไฟเท่านั้น เพราะราคาถูก เห็นทิวทัศน์สองข้างทางเต็มอิ่ม ถึงก็ช่างไม่ถึงก็ช่าง ทำให้เรามีโอกาสได้เฮฮากับเพื่อนฝูงเต็มที่
ได้โอกาสมาจับงานข่าวจราจร ใหม่ ๆ ก็เน้นเรื่องรถติด ทำยังไงให้เดินทางได้เร็วกว่าที่เป็นอยู่ พอนานเข้า ก็เล็งเห็นแล้วว่า สร้างถนนเพิ่มขนาดไหนก็ไม่มีวันแก้ปัญหาได้ ต้องใช้การบริหารจัดการหลาย ๆ เรื่องไปพร้อม ๆ กัน ระบบรางก็เป็นหนทางหนึ่งในการช่วยบรรเทาปัญหา
เอาใจช่วยให้การรถไฟฯ ปฏิรูปองค์กร ทำหน้าที่ให้ได้ดีกว่าที่เป็นอยู่.
//----------------------------------------------------------------------------------
อดหวั่นใจว่าจะได้รางเหล็กโซกังหรือเป่าสตีลหงะ |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 25/06/2010 9:21 pm Post subject: |
|
|
แล้วสายใต้ล่ะ กระดูกสันหลังของประเทศเชียวนะ |
|
Back to top |
|
|
Compressor
1st Class Pass (Air)
Joined: 05/12/2007 Posts: 1775
Location: ตลอดปลายทางอุบลราชธานี
|
Posted: 25/06/2010 9:33 pm Post subject: |
|
|
รบกวนสอบถามครับ
แผนการรีแฮบทาง มีกี่ระยะ เส้นทางไหนบ้างครับ |
|
Back to top |
|
|
heerchai
1st Class Pass (Air)
Joined: 29/07/2006 Posts: 7730
Location: อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
|
Posted: 25/06/2010 9:48 pm Post subject: |
|
|
black_express wrote: | แล้วสายใต้ล่ะ กระดูกสันหลังของประเทศเชียวนะ |
สำหรับสายใต้ น่าสงสารเจ้าหน้าที่ทุกท่าน ต้องมารองรับทุกสถานการณ์ที่ไม่คาดฝัน ทางคู่ก็ยังไม่เกิด รถจักรเสียระหว่างทางทุกครั้ง รถโดยสารแสนเก่าคร่ำครึก อุปกรณ์ไฟโบกี้บางขบวนชำรุด บางโบกี้ห้องน้ำใช้ไม่ได้ ทางปรับปรุงก็ทำไปได้ ครึ่งๆกลางๆ เบาทางทุกตอน ฃ้ำร้ายเจ้าหน้าที่ฃ่อมบำรุงทางก็มีน้อย เครื่องมืออัดหินไม่มีเพิ่ม ยังมีอื่นอีกมากมาย ครับ |
|
Back to top |
|
|
therock
1st Class Pass (Air)
Joined: 25/09/2007 Posts: 1575
Location: อดีตเด็กมหาชัย
|
Posted: 25/06/2010 9:59 pm Post subject: |
|
|
บชส สายใต้ส่วนใหญ่ที่เอาจอดค้างคืนทิ้งไว้แล้วโดนขโมยของไปขายเป็นเศษเหล็กแทบทุกชิ้นส่วนเลยยิ่งในห้องน้ำ
ปล. เห็นที่ย่านทุ่งสง บชส จอดรอวาระเยอะจริงๆตั้งแต่สมัยไล่แทบสี |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 44048
Location: NECTEC
|
Posted: 26/06/2010 12:22 am Post subject: |
|
|
black_express wrote: | แล้วสายใต้ล่ะ กระดูกสันหลังของประเทศเชียวนะ |
นั่นมันการชักขะเยอะทางการเมืองกันระหว่าง Voters นี่ครับ อีสานถือว่ามีคนมาก ก็เลย ได้ ทั้งทางคู่ไปโคราชและ Rehab ทาง หลักจากที่ ภาคใต้ได้ Rehab ทางช่วงหัวหิน - ทุ่งสง ไปแล้ว พอไม่ได้อย่างใต ต่างภาคกฟ็โวยวายว่า รัฐบาลกลางถือว่าภาคของตนเป็นลูกเมียน้อย ไม่ต้องอะกับการ ที่ พี่น้อยทะเลาะกัน เพื่อให้ได้ส่วนแบ่งมากกว่าคนอื่น หรือ ว่าไม่จริงครับพี่ตึ๋ง |
|
Back to top |
|
|
CENTENNIAL
1st Class Pass (Air)
Joined: 30/03/2006 Posts: 3642
Location: Thailand
|
Posted: 26/06/2010 12:38 am Post subject: |
|
|
เส้นทางสายใต้ ณ ปัจจุบันนี้ โดยส่วนตัวแล้ว ผมเห็นว่า เส้นทางตั้งแต่หัวหินถึงทุ่งสง ถือว่ายอดเยี่ยมแล้วครับ
ถ้าจะปรับปรุงก็ควรจะไปเน้นเรื่อง
1.เพิ่มพิกัดการรองรับน้ำหนักกดเพลาสูงสุด 20 ตัน ตั้งแต่ บางซื่อ - ตลิ่งชัน - ทุ่งสง - หาดใหญ่ - ปาดังเบซาร์
2.ทางคู่ช่วงยาวตลอด ตั้งแต่ นครปฐม จนถึง สุราษฎร์ธานี ซึ่งน่าจะรองรับขบวนรถไฟสายไกล ประมาณว่าตั้งแต่รถเร็วกับรถเร็วขึ้นไป ที่ต้องมาสวนกันกลางทาง ได้แทบจะทุกขบวนของสายใต้ |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 44048
Location: NECTEC
|
Posted: 26/06/2010 1:55 am Post subject: |
|
|
CENTENNIAL wrote: | เส้นทางสายใต้ ณ ปัจจุบันนี้ โดยส่วนตัวแล้ว ผมเห็นว่า เส้นทางตั้งแต่หัวหินถึงทุ่งสง ถือว่ายอดเยี่ยมแล้วครับ
ถ้าจะปรับปรุงก็ควรจะไปเน้นเรื่อง
1.เพิ่มพิกัดการรองรับน้ำหนักกดเพลาสูงสุด 20 ตัน ตั้งแต่ บางซื่อ - ตลิ่งชัน - ทุ่งสง - หาดใหญ่ - ปาดังเบซาร์ |
ทางช่วงบางซื่อ - บ้านฉิมพลี ได้รับการ Rehab ไปแล้วนี่ เหลือ แต่ทาง ช่วงบ้านฉิมพลี - หัวหินที่ ยังไม่ Rehab เต้มรูปแบบ อย่างมากก็เอาหมอนนคอนกรีตไปเปลี่ยน หรือ เอาราง 100 ปอนด์ไปแทนรางเก่า ไม่ได้บดหินอัดหินล้างหิน ให้รับโหลดเพลา 20 ตันนี่
ส่วนทางจากบ้านต้นโดน (10 กิโลเมตรจากพัทลุง) - หาดใหญ่ - ปาดังเบซาร์ ควรแก่การ Rehab ในเฟส 7 เหมือนกัน
//-------------------------------------------------------------------------------------------
รัฐดึงเอกชนร่วมลงทุนPPP "รถไฟฟ้าความเร็วสูง" 7 แสนล้าน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 มิถุนายน 2553 20:09 น.
คณะกรรมการพิจารณาการร่วมลงทุนรัฐ-เอกชน PPP มีมติดึงเอกชนร่วมลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง 4 เส้นทาง 7 แสนล้านบาท และโครงการทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร 2.7 หมื่นล้านบาท
นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะกรรมการฯได้สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.) ไปพิจารรณาในรายละเอียด หากเอกชนรายใดสนใจก็ให้เสนอแนวทางกลับมายังคณะกรรมการฯ ภายในเดือนสิงหาคมนี้ ก่อนจะเสนอให้คณะรัฐมนตรีภายในเดือนกันยายนนี้ต่อไป
โครงการลงทุนรถไฟฟ้าความเร็วสูง 4 เส้นทางประกอบด้วย
1. เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 745 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 209,396 ล้านบาท
2. เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะทาง 615 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 180,379 ล้านบาท
3. เส้นทาง กรุงเทพฯ- หาดใหญ่ ระยะทาง 937 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 234,071 ล้านบาท และ
4. กรุงเทพฯ-ระยอง ระยะทาง 221 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 56,601 ล้านบาท
//------------------------------------------------------------------------
รัฐดึงเอกชนร่วมลงทุนPPP "รถไฟฟ้าความเร็วสูง" 7 แสนล้าน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 มิถุนายน 2553 20:05 น.
ก่อนหน้านี้ นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม ได้หารือร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เพื่อเตรียมรายละเอียดโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง โดยเห็นว่าเส้น ทางที่ควรดำเนินการก่อนคือ สายใต้ กรุงเทพฯ-หาดใหญ่ และสายเหนือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เพราะเป็นเส้นทางที่สามารถเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย สิงคโปร์และจีนได้ แต่ผลการ ศึกษาที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ว่าจ้างให้ทำการศึกษามายังต้องมีการปรับปรุง จึงให้ไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมเพราะส่วนใหญ่ศึกษาเรื่องการเดินทางภายในประเทศ เท่านั้น
นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. กล่าวว่า ความคุ้มทุนในการให้บริการจะต้องมีความถี่การเดินรถทุก 1 ชั่วโมง และแต่ละสายต้องมีผู้โดยสารถึง 70,000 คนต่อวัน และเห็นว่าควรให้เอกชนเป็น ผู้เดินรถเพราะมีความคล่องตัวมากกว่าให้ ร.ฟ.ท. หรือบริษัทลูกรับผิดชอบ |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 44048
Location: NECTEC
|
Posted: 26/06/2010 6:05 am Post subject: |
|
|
บอร์ด สคร.มีมติให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการรัฐ
โดย ทีมข่าวออนไลน์
ไทยรัฐออนไลน์ 25 มิถุนายน 2553, 21:30 น.
นางสาวสุภา ปิยะจิตติ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะ กรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กล่าวหลังการประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาแนวทางการเพิ่มบทบาท ภาคเอกชนในรูป แบบ PPPs โดยมีนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ (25 มิ.ย.) ว่า คณะกรรมการ PPPs ได้พิจารณา เกี่ยวกับ โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง โครงการทางพิเศษสายศรีรัช วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร เนื่องจากการเปิดโอกาสให้เอกชนมาร่วมลงทุนกับรัฐบาล จะเป็นการลดภาระให้กับรัฐในการที่จะต้องจัดสรรเงินมาลงทุนใน โครงการฯ ไม่ว่าจะเป็นเงินงบประมาณหรือเงินกู้ อีกทั้งเอกชนยังมีประสบการณ์และ มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยอันเป็นประโยชน์ต่อรัฐและถ่ายทอดความรู้มา สู่บุคลากรของรัฐ
ผู้อำนวยการ สคร.กล่าวถึงโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่มีอยู่ 4 เส้นทาง มูลค่ากว่า 7 แสนล้านบาทว่า สคร.ในฐานะฝ่ายเลขานุการฯ ได้นำเสนอกรอบแนวทางเบื้องต้นในการร่วมลงทุนกับเอกชนให้คณะ กรรมการพิจารณา 4 แนวทาง คือ 1.ให้รัฐบาลลงทุนทั้งหมด 2.เอกชนลงทุนเฉพาะขบวนรถและรับผิดชอบงานระบบรถไฟฟ้าและศูนย์ซ่อม บำรุง 3. เอกชนหรือบริษัทลูกลงทุน 50% 4. เอกชน หรือบริษัทลูกลงทุน 30% โดยมีรูปแบบการจัดเก็บ และการแบ่งรายได้ หรือ จ่ายค่าตอบแทนให้เอกชน ดังนี้ 1.Net Cost Concession 2.Gross Cost Concession 3.Modified Gross Concession
นางสาวสุภา กล่าวต่อว่า ที่ประชุมได้มีมติให้ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อจัดเตรียมรายละเอียดในการจัดทำ Market Sounding เพื่อให้ทราบถึงความต้องการของภาคเอกชนทั้งชาวไทยและ ชาวต่างชาติว่า มีความสนใจในเส้นทางไหนและในรูปแบบการลงทุนเช่นไร ทั้งนี้การจัดทำ Market Sounding จะเปิดกว้างสำหรับทุกความคิดเห็น ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดแนวทางและรูปแบบการลงทุนเพิ่มเติมและหลากหลาย นอกเหนือจากกรอบแนวทางเบื้องต้นได้ ทั้งนี้ได้มอบหมายให้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ เป็นประธานคณะอนุกรรมการดังกล่าว และให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภาย ในเดือนสิงหาคม เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติในหลักการภายในเดือนกันยายน 2553
ผู้อำนวยการ สคร.กล่าวถึงโครงการทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวน รอบนอกกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นทางด่วนยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร ระยะทางรวม 16.7 กิโลเมตรว่า ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบในหลักการให้ดำเนินโครงการด้วยวิธี PPPs เช่นกัน โดยรัฐบาลจะเป็นผู้สนับสนุนค่าจัดกรรมสิทธิ์ ที่ดินจำนวน 9,564 ล้านบาท เพื่อให้โครงการฯ มีความเป็นไปได้ในการลงทุนด้านการ เงิน ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีมติในหลักการให้ดำเนินการตามกระบวนการที่กำหนด ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการใน กิจการของรัฐ พ ศ 2535 และให้กระทรวงคมนาคมรับข้อสังเกตใน การหาแนวทางการลงทุนในรูปแบบ PPPs ที่ดีที่สุดต่อไป
นางสาวสุภา กล่าวอีกว่า ในส่วนของความคืบหน้าการดำเนินการจัดตั้งกองทุนพัฒนาโครงสร้างพื้น ฐานไทยนั้น คณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีมติการประชุมว่า การจัดตั้งและระดมทุนผ่านกองทุนฯ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) สามารถทำได้เนื่องจากไม่ขัดกับ พรบ. จัดตั้งของทั้ง 2 หน่วย งาน อีกทั้งไม่อยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชน เข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ ศ 2535 อย่างไรก็ตาม ความเห็นดังกล่าวเป็นความเห็นเฉพาะกรณีของ กฟผ. และ กทพ. เท่านั้น
ผู้อำนวยการ สคร.กล่าวด้วยว่า การพิจารณาจะอยู่บนพื้นฐานข้อเท็จจริงของแต่ละโครงการและ ข้อมูลที่ สคร.ได้จัดส่งให้ ดังนั้น หากมีรัฐวิสาหกิจใด ที่สนใจจะจัดตั้งและระดมทุนผ่านกองทุนฯ ก็จะต้องมีการพิจารณาเป็นรายๆ ไป โดย สคร.เชื่อมั่นว่า การลงทุนโครงการภาครัฐในรูปแบบ PPPs จะก่อให้เกิดการพัฒนาในโครงสร้างพื้น ฐานต่างๆ ที่จำเป็นภายใต้งบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อประโยชน์อย่างสูงต่อประเทศ ชาติและประชาชนอย่างแน่นอน
//-------------------------------------------------------------------------------------
"ไตรรงค์"เร่งวางกรอบเอกชนร่วมลงทุนรถไฟฟ้าความเร็วสูง
โดย ทีมข่าวเศรษฐกิจ
ไทยรัฐออนไลน์ 25 มิถุนายน 2553, 18:20 น.
เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 2553 นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาแนวทางการเพิ่ม บทบาทภาคเอกชนในรูปแบบ PPPs ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบในหลักการสำนักงานคณะกรรมการนโยบาย รัฐวิสาหกิจ(สคร.)ในฐานะฝ่ายเลขานุกรรมการคณะกรรมการ PPPs ไปรวบรวมเอกสารเกี่ยวกับโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงในรูปแบบ PPPs ทั้ง 4 เส้นทาง ได้แก่ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ระยะทาง 745 กิโลเมตร , กรุงเทพฯ- หนองคาย ระยะทาง 615 กิโลเมตร, กรุงเทพฯ หาดใหญ่ ระยะทาง 937 กิโลเมตร และกรุงเทพฯ ระยอง ระยะทาง221 กิโลเมตร รวมวงเงินทั้งสิ้น 700,000 ล้านบาท เพื่อประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่างๆ รวมถึงการประสานงานกับกระทรวงการต่างประเทศเพื่อให้เอกชนในประเทศและต่างประเทศ รับทราบข้อมูลโครงการทั้งหมด และนำเสนอรูปแบบการลงทุนเข้ามาให้ คณะกรรมการ PPPsรับทราบภายในเดือนส.ค. นี้ ก่อนที่จะมีการพิจารณารายละเอียดนำเสนอให้ที่ประชุมครม. พิจารณาเห็นชอบ อย่างเป็นทางการอีกครั้ง ภายในเดือน ก.ย. นี้
ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานเรื่องนี้เป็นไปอย่างประสิทธิภาพมากที่สุด ในขั้นตอนการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้ เอกชน ได้รับทราบรายละเอียดโครงการฯ นี้คณะกรรมการ PPPs จะมีการตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง ซึ่งจะมีตัวแทนจากเอกชนเข้ามาร่วมด้วย เพื่อทำหน้าที่ในการประสานงาน กับ สคร.ทั้งในส่วนการรับฟังความเห็นของเอกชน และรายละเอียดข้อมูลที่จะประชาสัมพันธ์ให้เอกชนเพื่อให้ทันกำหนดที่จะมี การนำเสนอข้อมูลต่อที่ประชุม ครม. ในเดือนก.ย. นี้ ส่วนรายละเอียด ว่า แผนการรวมลงทุนของเอกชน ในโครงการฯ นี้จะเป็นอย่างไร และเส้นทางไหน จะเริ่มทำก่อน ยังไม่สามารถบอกได้เพราะต้องรอฟังข้อเสนอของเอกชน ที่สนใจจะเข้ามาร่วมลงทุนในโครงการฯ นี้อีกครั้ง
"ระยะเวลาการ ดำเนินงานโครงการฯนี้ คงจะไม่แล้วเสร็จภายในอายุของรัฐบาลชุดนี้อย่างแน่นอน เพราะภายหลังจากที่ ครม.เห็นชอบแนวทางการลงทุนร่วมกับเอกชนไปแล้ว ก็จะต้องไปผ่านขั้นตอนการทำผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) และสุขภาพ (เอสไอเอ) ให้เรียบร้อยก่อน น่าจะใช้เวลาประมาณ 1-2 ปีก่อนที่จะมีการกำหนดรายละเอียดเงื่อนไขในทีโออาร์ และเปิดให้เอกชนที่สนใจเข้ามายื่นเสนอการลงทุนอีกครั้ง ขณะที่อายุรัฐบาลชุดนี้ ก็คงจะหมดในปีหน้าแต่เราจะรีบนำเสนอเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของ ครม. ภายในเดือนก.ย. นี้ให้ได้ ก่อนที่จะส่งไม้ต่อให้กับรัฐบาลชุดใหม่ มาดำเนินการต่อ" รองนายกรัฐมนตรี กล่าว |
|
Back to top |
|
|
CENTENNIAL
1st Class Pass (Air)
Joined: 30/03/2006 Posts: 3642
Location: Thailand
|
Posted: 26/06/2010 9:29 am Post subject: |
|
|
Wisarut wrote: |
"ไตรรงค์"เร่งวางกรอบเอกชนร่วมลงทุนรถไฟฟ้าความเร็วสูง
ทั้ง 4 เส้นทาง ได้แก่ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ระยะทาง 745 กิโลเมตร , กรุงเทพฯ- หนองคาย ระยะทาง 615 กิโลเมตร, กรุงเทพฯ หาดใหญ่ ระยะทาง 937 กิโลเมตร และกรุงเทพฯ ระยอง ระยะทาง221 กิโลเมตร รวมวงเงินทั้งสิ้น 700,000 ล้านบาท |
โครงการนี้ ถ้าสรุปง่ายคือ เป็นการเปิดช่องให้ภาคเอกชนที่มีความพร้อมเข้ามาลงทุนได้เอง ซึ่งผลประโยชน์ก็จะได้รับไปเต็มๆ แล้วแต่จะตกลงกันสัญญากับรัฐบาลไทย ใช่ไหมครับ???
ก็หวังว่าจะมีพี่จีน หรือ พี่ยุ่น จะได้เข้ามาเหลือบแลโครงการนี้นะครับ เพราะตอนที่เวียดนามประกาศจะสร้างรถไฟความเร็วสูง สองชาตินี้ยังต้องหันมามองเลย
แล้วประเทศไทยก็มีศักยภาพไม่ด้อยไปกว่าเวียดนาม ก็คงเป็นเช่นเดียวกัน
แต่ยังสงสัยอยู่ครับว่า แผนรถไฟความเร็วสูงอันนี้ ยกเว้นสาย กรุงเทพ-ระยอง นั้น ลักษณะของรถไฟจะเป็นลักษณะใด ระหว่าง
A.เวนคืนที่เดินและสร้างเส้นทางใหม่ทั้งหมด ใช้รางกว้างมาตรฐาน ความเร็วสูงสุดเกินกว่า 250 กม/ชม ระบบไฟฟ้า
B.ยึดเส้นทางเดิมเป็นบางช่วง เวนคืนที่ดินสร้างเส้นทางใหม่เป็นบางช่วง ใช้รางกว้างมาตรฐาน ความเร็วสูงสุดเกินกว่า 250 กม/ชม ระบบไฟฟ้า
C.ยึดเส้นทางเดิมเป็นบางช่วง เวนคืนที่ดินสร้างเส้นทางใหม่เป็นบางช่วง ใช้รางกว้างมาตรฐาน ความเร็วสูงสุดไม่ถึง 250 กม/ชม ระบบไฟฟ้า
D.ยึดเส้นทางเดิมเป็นบางช่วง เวนคืนที่ดินสร้างเส้นทางใหม่เป็นบางช่วง ใช้รางกว้างเมตรเท่าเดิม ความเร็วสูงสุดไม่เกิน 160 กม/ชม ระบบไฟฟ้า
E.ยึดเส้นทางเดิมเป็นบางช่วง เวนคืนที่ดินสร้างเส้นทางใหม่เป็นบางช่วง ใช้รางกว้างเมตรเท่าเดิม ความเร็วสูงสุดไม่เกิน 160 กม/ชม ไม่ใช้ระบบไฟฟ้า
F.ยึดแนวเส้นทางเดิมทั้งหมด ปรับแก้โค้งใหม่เป็นบางช่วง ใช้รางกว้างเมตรเท่าเดิม ความเร็วสูงสุดไม่เกิน 160 กม/ชม ระบบไฟฟ้า
G.ยึดแนวเส้นทางเดิมทั้งหมด ปรับแก้โค้งใหม่เป็นบางช่วง ใช้รางกว้างเมตรเท่าเดิม ความเร็วสูงสุดไม่เกิน 160 กม/ชม ไม่ใช้ระบบไฟฟ้า
เพราะเท่าที่ผมเคยเข้าร่วมประชุมกับ สนข ในฐานะประชาชนนั้น จำได้ว่าจะเป็นลักษณะของ E. หรืิอไม่ก็ G. แต่นั่นก็อาจจะเป็นแผนที่รัฐลงทุนเองทั้งหมด จึงต้องประหยัดงบประมาณ ลดคุณสมบัติบางประการของรถไฟความเร็วสูงทั่วไปลงไปบ้าง |
|
Back to top |
|
|
|