View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
nop2
2nd Class Pass (Air)
Joined: 06/03/2008 Posts: 985
Location: เพชรบุรี
|
Posted: 26/06/2010 10:47 am Post subject: |
|
|
ผมอาจจะเห็นต่างนิดนะครับ การที่เอาราง 1เมตร หรือ 1.067เมตรมาวิ่งได้ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมงทำได้จริงอยู่(รถไฟฟ้ารุ่นใหม่ของมาเลเซีย ก็วิ่งได้ 160กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่เท่าที่ผมดูคลิป ค่อนข้างสั่นพอสมควรเลย) แต่เคยมีกรณีตัวอย่างของควีนแลนด์ที่วิ่ง 160กิโลเมตรแล้วไปแหกโค้ง (QR Tilting train) ถึงแม้จะเป็นความประมาทของคนขับรถที่ขับเกินกำหนด แต่ก็ทำให้รถไฟ รุ่นนี้ลดความเร็วจาก 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เหลือ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จนต้องซ่อมรางกันขนานใหญ่ ถึงจะกลับมาวิ่ง 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เท่าเดิม ปัญหาก็คือว่า การทำให้ราง 1เมตรวิ่งได้ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมงอาจจะมากกว่า หรือใกล้เคียงกับทำราง 1.435 เมตรแบบมาตราฐาน(น้ำหนักดเพลา 25ตัน) ที่วิ่งได้ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมงทั้งรถจักร และ รถมัลติเพิลยูนิค (อาจจะได้ถึง 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมงสำหรับรถมัลติเพิลยูนิคแบบเอียงตัวได้) ซึ่งตรงนี้ต้องคิดว่า การทำให้ราง 1เมตรวิ่งได้ 160 กิโลเมตร(เฉพาะ รถมัลติเพิลยูนิค)กับ การทำรางมาตราฐานไปเลย ใครจะดีกว่ากัน
http://en.wikipedia.org/wiki/Cairns_Tilt_Train_derailment
เพิ่มเติม ถ้าจำไม่ผิด รถไฟฟ้าและรถดีเซลรางของญี่ปุ่นหลายรุ่นสามารถวิ่งได้ถึง 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ก็โดนสั้งให้วิ่งที่ 120-140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เท่านั้น
และอย่าลืมว่า รถไฟเป็นระบบขนส่งมวลชน ไม่ใช่ระบบขนส่งเฉพาะคนรวยนะครับ
รถไฟความเร็วสูง ค่าสร้าง ค่าตัวรถ ค่าระบบมันแพง จะให้เก็บค่าโดยสารถูกๆ คงไม่ได้ ขอให้คิดข้อนี้ด้วย ไม่ใช่เห็นเค้ามี ก็อยากจะมีด้วย กลัวน้อยหน้าชาวบ้าน ไม่ได้ดูกำลังของตัวเองเลย _________________ "You are star I am darkness Our love brighter than the sun .."
Last edited by nop2 on 26/06/2010 5:02 pm; edited 2 times in total |
|
Back to top |
|
|
CENTENNIAL
1st Class Pass (Air)
Joined: 30/03/2006 Posts: 3642
Location: Thailand
|
Posted: 26/06/2010 11:09 am Post subject: |
|
|
^^^
อย่าบอกว่าเห็นต่างเลยครับ
เพราะที่ผมกล่าวถึงข้างต้นคือ แผนของ สนข. เค้า
แต่โดยส่วนตัวผมเอง ถ้าจะลงทุนทำรถไฟความเร็วสูงจริง มันต้องแพลน A. หรือ B. ตามที่ผมว่ามาเท่านั้นล่ะครับ ไม่ควรเป็นอื่น
เพลา 25 ตัน น่าจะเขียนว่า น้ำหนักกดเพลา 25 ตัน นะครับ
เผื่อคนที่ยังไม่เข้าใจ จะได้พอจะเข้าใจด้วยอะนะ |
|
Back to top |
|
|
siriwadhna
3rd Class Pass
Joined: 05/10/2009 Posts: 126
|
Posted: 26/06/2010 2:17 pm Post subject: |
|
|
nop2 wrote: | และอย่าลืมว่า รถไฟเป็นระบบขนส่งมวลชน ไม่ใช่ระบบขนส่งเฉพาะคนรวยนะครับ
รถไฟความเร็วสูง ค่าสร้าง ค่าตัวรถ ค่าระบบมันแพง จะให้เก็บค่าโดยสารถูกๆ คงไม่ได้ ขอให้คิดข้อนี้ด้วย ไม่ใช่เห็นเค้ามี ก็อยากจะมีด้วย กลัวน้อยหน้าชาวบ้าน ไม่ได้ดูกำลังของตัวเองเลย |
โดนครับ กลางหัวตะปูเลย
การเดินทางอย่างรวดเร็ว ถือเป็นความหรู ที่คุณไม่มีสิทธิ์เอาภาษีมาอุดหนุน ใครใช้ใครจ่ายครับ
คิดแบบหยาบๆ ต้นทุนของ infrastructure ที่ต้องเก็บคืนกับผู้โดยสาร
กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ 209,396 ล้าน
return ขี้หมูขี้หมา 2% = 4,188 ต่อปี
เป็นวันละ 11.47 ล้าน
วิ่งซัก 6 เที่ยวต่อวัน (ไปกลับ 3 รอบ) = 1.91 ล้าน ต่อเที่ยว
จำนวนที่นั่งรถไฟความเร็วสูง ญี่ปุ่น ยุโรป อยู่แถวๆ 800 ที่นั่ง คิดเข้าข้างว่า occupancy จะได้ 70% = 560 คนต่อเที่ยว
เงินที่ต้องเอาคืนจากการลงทุน 3 พันกว่าบาท ต่อตั๋วหนึ่งเที่ยว
แล้ว + ค่าใช้จ่ายเดินรถ + กำไร ของเอกชนผู้เดินรถ ค่าตั๋วก็คงประมาณ 5 พัน
ดูขนาดประชากร + ขนาดเศรษฐกิจ ระหว่าง กทม และเชียงใหม่ซิครับ น่าจะช้างกับมด ดูเสร็จแล้วอย่าลืมดูจังหวัดระหว่างทางด้วย ว่าจะมีกำลังซื้อหรือเปล่า ขอแค่ 1,000 คนต่อวัน จะหาจำนวนคนเท่านี้ที่ไหน
สายการบินแห่งหนึ่งที่กำลังจะเปิด ถูกขอร้องว่าให้ช่วยลงที่ ภาคเหนือที่ไม่ใช่ 2 เชียงด้วย เช่นลำปาง น่าน เครื่องเทอร์โบพร๊อพ 50 ที่นั่ง ไปกลับวันละเที่ยว ตั๋ว 3 พันบาทยังไม่มีตลาดรองรับเลยครับ |
|
Back to top |
|
|
digimontamer
3rd Class Pass (Air)
Joined: 12/05/2009 Posts: 487
|
Posted: 28/06/2010 2:14 pm Post subject: |
|
|
siriwadhna wrote: | nop2 wrote: | และอย่าลืมว่า รถไฟเป็นระบบขนส่งมวลชน ไม่ใช่ระบบขนส่งเฉพาะคนรวยนะครับ
รถไฟความเร็วสูง ค่าสร้าง ค่าตัวรถ ค่าระบบมันแพง จะให้เก็บค่าโดยสารถูกๆ คงไม่ได้ ขอให้คิดข้อนี้ด้วย ไม่ใช่เห็นเค้ามี ก็อยากจะมีด้วย กลัวน้อยหน้าชาวบ้าน ไม่ได้ดูกำลังของตัวเองเลย |
โดนครับ กลางหัวตะปูเลย
การเดินทางอย่างรวดเร็ว ถือเป็นความหรู ที่คุณไม่มีสิทธิ์เอาภาษีมาอุดหนุน ใครใช้ใครจ่ายครับ
คิดแบบหยาบๆ ต้นทุนของ infrastructure ที่ต้องเก็บคืนกับผู้โดยสาร
กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ 209,396 ล้าน
return ขี้หมูขี้หมา 2% = 4,188 ต่อปี
เป็นวันละ 11.47 ล้าน
วิ่งซัก 6 เที่ยวต่อวัน (ไปกลับ 3 รอบ) = 1.91 ล้าน ต่อเที่ยว
จำนวนที่นั่งรถไฟความเร็วสูง ญี่ปุ่น ยุโรป อยู่แถวๆ 800 ที่นั่ง คิดเข้าข้างว่า occupancy จะได้ 70% = 560 คนต่อเที่ยว
เงินที่ต้องเอาคืนจากการลงทุน 3 พันกว่าบาท ต่อตั๋วหนึ่งเที่ยว
แล้ว + ค่าใช้จ่ายเดินรถ + กำไร ของเอกชนผู้เดินรถ ค่าตั๋วก็คงประมาณ 5 พัน
ดูขนาดประชากร + ขนาดเศรษฐกิจ ระหว่าง กทม และเชียงใหม่ซิครับ น่าจะช้างกับมด ดูเสร็จแล้วอย่าลืมดูจังหวัดระหว่างทางด้วย ว่าจะมีกำลังซื้อหรือเปล่า ขอแค่ 1,000 คนต่อวัน จะหาจำนวนคนเท่านี้ที่ไหน
สายการบินแห่งหนึ่งที่กำลังจะเปิด ถูกขอร้องว่าให้ช่วยลงที่ ภาคเหนือที่ไม่ใช่ 2 เชียงด้วย เช่นลำปาง น่าน เครื่องเทอร์โบพร๊อพ 50 ที่นั่ง ไปกลับวันละเที่ยว ตั๋ว 3 พันบาทยังไม่มีตลาดรองรับเลยครับ |
เห็นด้วยเลยครับผม ผมก็เห็นว่าแทบจะไม่มีทางเป็นไปได้เลยที่จะหาจำนวนผู้โดยสารที่ยอมจ่ายค่าโดยสาร 3-4 พันบาท เพื่อเดินทางระหว่าง กรุงเทพ-เชียงใหม่ได้วันละ 1000-1200 คน ตามที่เขาเห็นว่าจะคุ้มเงินลงทุนครับ
รถไฟความเร็วสูงสายนี้ผมจึงเห็นว่า ยากที่จะเกิดขึ้นและเลี้ยงตัวเองได้ครับ |
|
Back to top |
|
|
CENTENNIAL
1st Class Pass (Air)
Joined: 30/03/2006 Posts: 3642
Location: Thailand
|
Posted: 28/06/2010 4:03 pm Post subject: |
|
|
siriwadhna wrote: |
คิดแบบหยาบๆ ต้นทุนของ infrastructure ที่ต้องเก็บคืนกับผู้โดยสาร
กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ 209,396 ล้าน
return ขี้หมูขี้หมา 2% = 4,188 ต่อปี
เป็นวันละ 11.47 ล้าน
วิ่งซัก 6 เที่ยวต่อวัน (ไปกลับ 3 รอบ) = 1.91 ล้าน ต่อเที่ยว
จำนวนที่นั่งรถไฟความเร็วสูง ญี่ปุ่น ยุโรป อยู่แถวๆ 800 ที่นั่ง คิดเข้าข้างว่า occupancy จะได้ 70% = 560 คนต่อเที่ยว
เงินที่ต้องเอาคืนจากการลงทุน 3 พันกว่าบาท ต่อตั๋วหนึ่งเที่ยว
แล้ว + ค่าใช้จ่ายเดินรถ + กำไร ของเอกชนผู้เดินรถ ค่าตั๋วก็คงประมาณ 5 พัน
|
ถ้าคิดแบบนี้ ผมขอให้ลองคิดตามนี้ ซักหน่อยครับ
ที่ว่าให้วิ่งวันละ 6 เที่ยว หรือจะบอกว่า ไป 3 กลับ 3 ต่อวัน ที่่่ว่านี้ กำหนดจากเกณฑ์อะไรหรือครับ
ถ้าไม่มีหลักเกณฑ์กำหนดชัดเจน อย่างนั้น ผมบอกว่า จะวิ่งทำไมแค่ ไป 3 กลับ 3
ก็วิ่งไปเลย ออกทุกครึ่งชั่วโมง ตั้งแต่ ตี 5 ยัน 3 ทุ่ม ไป 33 กลับ 33 รวมเป็น 66 เที่ยว ต่อวัน 11.47 ล้านบาท หาร 68 = 173,787.88 บาท
ขอเอาจำนวน 560 คน มาคิดต่อนะครับ เท่ากับว่า 173,787.88 บาท หาร 560 เท่ากับ 310.33 บาท
ต่างกันกับ 3 พันบาท เยอะเลยนะครับ
อาจจะสงสัยว่า โห ก็เล่นเปิดเดินรถซะเยอะขนาดนั้น จะเอาใครที่ไหนมานั่งตั้งมากมาย
ก็นี่ล่ะครับ ที่ผมจะบอกว่า แล้วที่กำหนดไว้แค่วันละ 6 เที่ยว เนี่ย อะ ไปเอาค่าตัวนี้มาจากเกณฑ์อะไร แล้วมันเหมาะสมหรือไม่ มันน้อยไปหรือไม่ หรือมากไปหรือไม่
ผมไปค้นหาตารางการเดินรถไฟ KTX ของเกาหลีใต้ ที่ผมเคยนั่งมาแล้ว จาก www.korail.com พบว่า KTX เดินวันละ 100 กว่าเที่ยวครับ (รวมไปและกลับแล้ว) ถือเป็นตัวเลขที่สูงมากๆ ใช่ไหมครับ โดยระยะทางระหว่าง โซล - บูซาน ก็ประมาณ 450 กิโลเมตร
และจากประสบการณ์ที่นั่งมา 2 ครั้ง และโฉบไปแถวๆ สถานีโซลอีกหน่อย เห็นว่าคนแน่นตลอดเลย
สรุปแล้ว สิ่งที่ผมจะบอกคือ เป็นเรื่องสำคัญมาก ที่เราจะต้องศึกษาให้ได้ว่า ถ้าไทยเราได้สร้างรถไฟไฮสปีดเทรนแบบความเร็วสูงเกิน 250 กม/ชม จริงแล้ว
ตัวเลขคนที่จะมาเลือกใช้บริการต่อวันจะอยู่ที่ใด
จำนวนขบวนรถที่เหมาะสมในแต่ละวัน จะอยู่ที่ใด และ
ค่าโดยสารที่เหมาะสม กล่าวคือ ค่าใช้จ่ายในการเดินรถแต่ละขบวนทั้งหมด (ค่าพลังงาน ค่าแรงพนักงาน ค่าสึกหรอ) จะอยู่ที่ใด และเมื่อรวมกับเงินต้นทุนค่าลงทุน เป็นเท่าไหร่
คิดเป็น ค่าโดยสารที่เหมาะสม จะอยู่ที่ใด
และเมื่อรวมแล้ว จะมีกำไรเพียงพอสำหรับการลงทุนเพิ่มเติมในอนาคตเท่าใด
ทั้งนี้ ปัจจัยที่ผมเห็นว่า การอยู่รอดของไฮสปีดเทรนในไทยยังไม่หมดสิ้นไปอย่างสิ้นเชิงก็จะมี
1.หากมีจำนวนขบวนรถออกถี่ๆ บางครั้งมันก็เป็นทางเลือกที่ทำให้คนสนใจจะนั่งมากขึ้นนะครับ เพราะไม่ว่าจะเลือกเดินทางช่วงใด ก็ไปได้ตลอด หากต้องมานั่งรอเวลาแล้ว บางคนก็อาจจะเลือกการบริการอื่นๆ ไปแทน
2.จำนวนผู้โดยสารที่เลือกใช้บริการรถบัสโดยสาร ซึ่งปัจจุบันสูงขึ้นมากกว่ารถไฟเรื่อยๆ นี่ล่ะครับ ถ้ารถไฟเร็วกว่าเห็นๆ แม้ว่าค่าโดยสารจะแพงกว่า (แต่ต้องแำพงกว่าไม่มากเกินไป) ย่อมต้องเลือกมานั่งรถไฟอย่างแน่นอน
(อย่าไปติดภาพที่ว่า รถไฟปัจจุบันคนยังโหรงเหรงๆ นั่นเพราะของเดิมนี่มันก็ รู้ๆ กันอยู่)
3.พฤติกรรมในการเดินทางของคนที่จะถูกเปลี่ยนไป เช่น บางคนที่มีรายได้สูง หากมีทางเลือกที่ดีในการเดินทางจากบ้านสู่เมืองอย่างรวดเร็ว อาจเลือกที่จะเดินทางจากบ้านที่นอกเมืองไกล มาทำงานในเมืองทุกวัน หรือทุกสัปดาห์ก็ได้
4.ผู้โดยสารขาประจำเครื่องบิน ซึ่งเครื่องบินจะมีข้อเสียในเรื่องการเช็คอินก่อนเดินทางและการเดินทางไปยังสนามบินที่มักจะอยู่นอกเมือง ซึ่งในจุดนี้ทำให้เสียเวลาไปประมาณ 3 ชั่วโมง และเมื่อมองจากภูมิภาคต่างๆ ของไทยเรานั้น ถ้ารถไฟความเร็วสูงที่ไม่จำเป็นต้องเช็คอินนานเท่าเครื่องบินแล้ว รถไฟก็สามารถใช้เวลาเดินทางได้ไม่ต่างจากเครื่องบิน
5.กลุ่มนักเดินทางชาวต่างประเทศ นี่ก็เป็นยอดที่สูงขึ้นแน่ๆ ครับ เพราะเมืองไทยเป็นเมืองท่องเที่ยวอยู่แล้ว
6.รถไฟจะสร้างการขยายตัวของเมือง และความเจริญต่างๆ ได้ หมู่บ้านจัดสรรแถบๆ ภาคกลางตอนล่าง ที่มีราคาไม่แพงมากนักเมื่อเทียบกับเมืองหลวง อาจเป็นทางเลือกใหม่สำหรับคนที่คิดว่าสามารถนั่งรถไฟไปในเมืองได้
ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม ผมก็ยังคิดเห็นเหมือนหลายๆ ท่าน ครับที่ว่า เรายังไม่พร้อมนะ
ก่อนจะก้าวไปถึงจุดนั้นได้ ขอให้ปรับปรุงรถไฟในปัจจุบันนี้ให้มันดีก่อนดีกว่าไหม
สร้างรางคู่ให้เยอะกว่านี้มากๆ สร้างทางใหม่ตามโครงการที่มีทั้งหมด
จัดหาหัวรถจักรให้เยอะกว่านี้ มีสภาพดีกว่านี้ และเพีิยงพอใช้งาน
ที่สำคัญคือ ปรับโครงสร้างของ ร.ฟ.ท. ให้สำเร็จก่อนเถอะครับ |
|
Back to top |
|
|
nathapong
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom
|
Posted: 28/06/2010 5:09 pm Post subject: |
|
|
CENTENNIAL wrote: | ที่สำคัญคือ ปรับโครงสร้างของ ร.ฟ.ท. ให้สำเร็จก่อนเถอะครับ |
ตุลาคม 53 ต้องเสร็จ ถ้าไม่เสร็จ คนให้กู้ไม่ได้สตางค์ อ่า......
ส่วนเรื่องลงทุน ด้วยรูปแบบ PPP ใจเย็น ๆ กันก่อนน่อ....
ถึงตอนนี้มีเงิน....สร้างทางได้....ซื้อรถวิ่งบนทางได้.....ระบบอาณัติสัญญาณ ต่าง ๆ ซื้อมาติดตั้งได้
แต่ปัญหาคือหา คนที่มีความรู้ความสามารถ จากไหนมาดูแล "รถ"กับ"ราง" และ "ระบบต่าง ๆ " ในระยะเวลาอันสั้น เมื่อลงทุนซื้อ ของมายกทั้งระบบ...รวมถึงการพัฒนาระบบรางในอนาคต
ขนาดในเวบ กระทู้ที่เกี่ยวกับ วิชาการเปิดได้แป็บ ๆ ไม่เกินสามวัน หายจ้อย.... เลยอ่า
ปล.ถ้าจะทำรถไฟฟ้าความเร็วสูง ตอนนี้ต้องวางแผนหาไฟฟ้ามาใช้ในระบบรางส่วนนี้อีกเยอะแยะ
ขนาดสายสีแดงและสารพัดสีในกทม ไฟฟ้ายังไม่พอใช้เลย ตอนนี้เตรียมหาไฟฟ้าสำรองกันอุตลุดเลย ...อะอะ |
|
Back to top |
|
|
jojoja
3rd Class Pass
Joined: 04/02/2010 Posts: 133
|
Posted: 28/06/2010 7:51 pm Post subject: |
|
|
คิดอะไร ไกลเกินตัว เฮ้อ
เอาแค่ปรับโครงสร้างการบริหารยังคาราคาซัง
ไหนจะปัญหาเรื่องเงินๆทองๆของพนักงานอีก _________________ เราโตมาได้ด้วยเงินจากรถไฟครับ |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 44053
Location: NECTEC
|
Posted: 29/06/2010 9:30 am Post subject: |
|
|
คมนาคมรวบยอดซื้อหัวรถจักร
เดลินิวส์ วันอังคาร ที่ 29 มิถุนายน 2553 เวลา 7:27 น
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมเพื่อติดตามการดำเนินงานการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ว่า เป็นการติดตามงานการดำเนินการตามมติ ครม.ที่อนุมัติงบประมาณ 176,000 ล้านบาทในการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบโครงสร้างพื้นฐานของ รฟท.ทั้งหมด 21 โครงการ ทั้งเรื่องการจัดหาหัวรถจักร การปรับปรุงราง การทำรางคู่ เป็นต้น
โดยในส่วนที่จะมีการจัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้าขนาด 20 ตัน/เพลา จำนวน 13 คัน วงเงิน 2,145 ล้านบาท และโครงการจัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้าทดแทนรถจักร จีอี 50 คัน (ที่เก่ามาแต่ปี 2507-2509) วงเงิน 6,532 ล้านบาท โดยวงเงินรวมทั้ง 2 ส่วนอยู่ที่ 8,677 ล้านบาท
ทั้งนี้กระทรวงคมนาคมมีแนวคิดที่จะรวม 2 โครงการให้อยู่ในสัญญาเดียวกัน เพื่อเชิญชวนให้เอกชนที่สนใจโครงการดังกล่าวเข้ามาประมูล แต่มีข้อแม้ว่า จะต้องมีการเข้ามาลงทุนและตั้งโรงงานในประเทศ เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้แรงงานและการใช้วัสดุที่ผลิตภายในประเทศ
อย่างไรก็ตามจะสรุปเรื่องดังกล่าว เสนอครม.เพื่อขออนุมัติให้รวมเป็นสัญญาเดียวกัน ซึ่งคาดว่าจะนำเสนอ ครม.ได้ภายในเดือนกรกฎาคม 2553 และคาดว่าจะเปิดประมูลคัดเลือกเอกชนได้ภายในเดือนก.ย.นี้
เชื่อว่าเงื่อนไขที่เชิญชวนเอกชน เข้ามาลงทุนตั้งโรงงานผลิตหัวรถจักรในประเทศ นั้นจะได้รับความสนใจจากเอกชน เช่น ฝรั่งเศส สเปน ญี่ปุ่น เกาหลี และจีน เป็นต้น เพราะเชื่อว่าวงเงินลงทุนสูงจะจูงใจให้เอกชนเข้ามาลงทุนได้ รวมทั้งอาจขยายผลไปถึงการซ่อม บำรุงหัวรถจักรในอนาคตได้อีก ซึ่ง รฟท.มีแผนซ่อมบำรุงหัวรถจักรอีก 56 คัน วงเงิน 3,360 ล้านบาท. |
|
Back to top |
|
|
jojoja
3rd Class Pass
Joined: 04/02/2010 Posts: 133
|
Posted: 29/06/2010 9:36 am Post subject: |
|
|
ถ้าทำได้สำเร็จก็ดีครับ จะได้มีการจ้างแรงงาน และพัฒนาฝีมือแรงงาน เผื่อต่อไปในอนาคตรถไฟเราจะได้สร้างรถจักรเองได้ _________________ เราโตมาได้ด้วยเงินจากรถไฟครับ |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47427
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 29/06/2010 4:03 pm Post subject: |
|
|
ศึกษาแนวทางรถไฟฟ้าความเร็วสูง
นสพ.เดลินิวส์ วันอังคาร ที่ 29 มิถุนายน 2553
ศึกษาแนวทาง ลงทุนรถไฟฟ้าความเร็ว สูง 4 เส้นทาง วงเงินกว่า 7 แสนล้าน ก่อนเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีภายในเดือนกันยายนนี้
การประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาแนวทางการเพิ่มบทบาทภาคเอกชน ในรูปแบบการดึงเอกชนเข้ามามีส่วนลงทุน หรือพีพีพีเอส สัปดาห์ที่แล้วมี คุณไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานได้เห็นชอบให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพีพีพีเอส ไปรวมเอกสารเกี่ยวกับแผนการลงทุนโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง 4 เส้นทาง วงเงินลงทุนประมาณ 7 แสนล้านบาท นำเสนอรูปแบบการลงทุนให้คณะกรรมการภายในเดือนสิงหาคม ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีภายในเดือนกันยายนนี้
โครงการลงทุนรถไฟฟ้าความเร็วสูง 4 เส้นทาง ได้แก่ สาย กรุงเทพฯ ถึงเชียงใหม่ ระยะทาง 745 กิโลเมตร วงเงิน 209,396 ล้านบาท สายกรุงเทพฯ ถึงหนองคาย 615 กิโลเมตร 180,379 ล้านบาท สายกรุงเทพฯ ถึงหาดใหญ่ 937 กิโลเมตร 234,071 ล้านบาท และสายกรุงเทพฯ ถึงระยอง 221 กิโลเมตร 56,601 ล้านบาท
ผลการศึกษาการลงทุนเบื้องต้น มี 4 แนวทาง แนวทางแรกรัฐบาลลงทุนเองทั้งหมด แนวทางที่สองรัฐบาลลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมดรวมทั้งระบบอาณัติสัญญาณ และเอกชนลงทุนขบวนรถและบำรุงรักษา แนว ทางที่สามรัฐบาลลงทุนร่วมกับเอกชนในสัดส่วน 50 ต่อ 50 ส่วนแนวทางสุดท้ายรัฐบาลลงทุนร่วมกับเอกชนในสัดส่วน 30 ต่อ 70 ของมูลค่าก่อสร้าง และอยู่บนสมมุติฐาน รัฐบาลลงทุนค่าออกแบบและการจัดการกรรมสิทธิ์ที่ดิน เอกชนลงทุนระบบรถไฟฟ้า การเดินรถ และบำรุงรักษา
คุณไตรรงค์ บอกว่า การรับฟังความเห็นของเอกชน และรายละเอียดข้อมูลที่จะประชาสัมพันธ์ให้เอกชนรับทราบ จะต้องเสนอข้อมูลต่อ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ส่วนรายละเอียดแผนการลงทุนของเอกชนจะเป็นอย่างไร และเส้นทางไหนจะเริ่มทำก่อน ยังไม่สามารถบอกได้ ต้องรอฟังข้อเสนอของเอกชนที่สนใจจะเข้ามาร่วมลงทุน
คุณไตรรงค์ บอกด้วยว่า หากพิจารณากรอบระยะเวลาโครงการ คงไม่แล้วเสร็จภายในรัฐบาลชุดนี้ เพราะหลังจากคณะรัฐมนตรีเห็นชอบแนวทางการลงทุนแล้ว จะต้องผ่านขั้นตอนการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) และสุขภาพ (เอชไอเอ) คาดว่าใช้เวลา 1-2 ปี ก่อนที่จะกำหนดรายละเอียดเงื่อนไขในทีโออาร์ และเปิดให้เอกชนที่สนใจเข้ามายื่นเสนอการลงทุนอีกครั้ง ซึ่งก็ต้องส่งไม้ต่อให้รัฐบาลชุดใหม่มาดำเนินการ
เวียดนาม เพิ่งเบรกโครงการ ไทยเพิ่งเริ่มขยับ ต้องดูว่าชาติไหนจะได้ใช้ก่อน. |
|
Back to top |
|
|
|