View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Kan
3rd Class Pass
Joined: 05/07/2010 Posts: 189
Location: กรุงเทพ - ชุมทางทุ่งสง
|
Posted: 10/07/2010 7:48 pm Post subject: |
|
|
เป็นรูปเป็นร่างแล้ว อีกห้าปีเท่านั้น |
|
Back to top |
|
|
komentrain
3rd Class Pass (Air)
Joined: 08/07/2010 Posts: 354
Location: ลำพูน
|
Posted: 10/07/2010 8:34 pm Post subject: Re: Smart Station Plan |
|
|
สุดยอดเลยครับ กลายเป็นหน่วยธุรกิจแล้ว หวังว่าใน 5 ปีข้างหน้าการเดินรถคงตรงเวลาเป๊ะทุกขบวนนะครับ เป็นกำลังใจให้ครับ _________________
ผมเด็กลำพูน ชื่อโกเมน ชื่อเล่นต้น เรียนอยู่นครนายกครับ |
|
Back to top |
|
|
KnGEA4539
3rd Class Pass
Joined: 07/07/2010 Posts: 125
Location: ข.35/36 ข.283 วิศวกรรมขนส่งทางราง สจล
|
Posted: 10/07/2010 10:14 pm Post subject: Re: รายละเอียดเกี่ยวกับ งบลงทุน 5 ปี 176,808.28 ล้านบาท |
|
|
Wisarut wrote: |
1. การก่อสร้างทางคู่สายมาบกะเบา-ถนนจิระ วงเงิน 11,640 ล้านบาท
2. ทางคู่สายนครปฐม-หนองปลาดุก-หัวหิน วงเงิน 16,600 ล้านบาท
3. ทางคู่สายลพบุรี-ปากน้ำโพ วงเงิน 7,860 ล้านบาท
4. ทางคู่สายถนนจิระ-ขอนแก่น วงเงิน 13,010 ล้านบาท
5. ทางคู่สายประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร วงเงิน 17,000 ล้านบาท
6. การจัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้าทดแทน GE 50 คัน วงเงิน 6,526.50 ล้านบาท
7. ซ่อมบำรุงรถจักร 56 คัน วงเงิน 3,360 ล้านบาท
8. จัดหารถโดยสารรุ่นใหม่เชิงพาณิชย์ 115 คัน วงเงิน 4,981.050 ล้านบาท
9. โครงการก่อสร้างสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (ICD) แห่งที่ 2 วงเงิน 6,066 ล้านบาท ซึ่ง ปัจจุบันได้ดำเนินงานถึงช่วงกลางการศึกษา โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จเดือนมิถุนายน 2553
|
อยากให้ข้อที่1-9ทำเสร็จไวๆจริง แต่ข้อ6 ผมคิดว่า ที่จะจัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้าทดแทน GE 50 คัน ถ้าจัดหาได้แล้วน่าจะให้ปู่ GE มาทำขบวนรถท้องถิ่น รถระยะสั้น รจ.ช่วยทำการหรือ รจ.สับเปลี่ยนแทนจะดีมากครับ เพราะปู่ GE ใช้ง่ายและอาจจะลดภาวะรถจักรตึงตัวได้บ้าง ดีกว่าที่จะปลดระวางปู่ GE ไปครับ _________________
|
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 44053
Location: NECTEC
|
Posted: 19/07/2010 6:17 am Post subject: |
|
|
คมนาคมขอมติครม. กู้จีน400ล้านเหรียญ
หน้า เศรษฐกิจ
ไทยโพสต์ 19 กรกฎาคม 2553 - 00:00
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า กรณีแผนกู้เงินจำนวน 400 ล้านเหรียญสหรัฐจากจีนเพื่อใช้พัฒนาระบบรางของไทย มีปัญหาทั้งเรื่องอัตราดอกเบี้ยสูงเมื่อเทียบกับแหล่งเงินกู้อื่นและเงื่อนไขในการซื้อสินค้าจากจีนไม่น้อยกว่า 50% ทำให้ประเทศไทยเสียประโยชน์และเป็นเงื่อนไขที่ผูกมัด โดยกระทรวงคมนาคมจะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาแนวทางการดำเนินงานเพื่อแก้ปัญหากรณีการใช้เงินกู้ดังกล่าวเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินโครงการพัฒนาระบบรางของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ที่ได้มีการเจรจามาตั้งแต่ปี 2550 ถึงปัจจุบันยังไม่มีข้อยุติ
ก่อนหน้านี้คณะทำงานเพื่อดำเนินงานความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ของกระทรวงคมนาคมได้พิจารณาเห็นว่า ควรใช้เงินกู้ 400 ล้านเหรียญสหรัฐจากจีนใน 3 โครงการ วงเงินรวม 13,671 ล้านบาท หรือประมาณ 104 ล้านเหรียญสหรัฐ (1 ดอลลาร์ ต่อ 33.65 บาท) ประกอบด้วย
1.โครงการจัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้าพร้อมอะไหล่เพื่อทดแทนรถจักร GE ที่มีอายุการใช้งานมากกว่า 45 ปี จำนวน 50 คัน มูลค่า 6,562.25 ล้านบาท
2.โครงการปรับปรุงระบบรางสายประธานช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ มูลค่า 4,428 ล้านบาท
[แทน Rehab Phase 4 ส่วนสายเหนือ ที่ แท้งไป]
3.โครงการปรับปรุงระบบรางสายประธานช่วงทุ่งสง-ชุมทางหาดใหญ่ มูลค่า 2,680.8 ล้านบาท [แทน Rehab Phase 4 ส่วนสายใต้ ที่ แท้งไป]
แหล่งข่าวกล่าวว่า หลังจากกระทรวงคมนาคมและ ร.ฟ.ท. ได้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว โดยกระทรวงการคลังมีข้อสังเกตว่าข้อกำหนดในการซื้อสินค้าจากจีนไม่น้อยกว่า 50% ไม่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการกระตุ้นการจ้างงานและการลงทุนภายในประเทศซึ่งก่อนการลงนามในกรอบข้อตกลงจะต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน. |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 44053
Location: NECTEC
|
Posted: 19/07/2010 6:23 am Post subject: |
|
|
อัพรถจักรดีเซลเป็นไฟฟ้า: ลดต้นทุน 30% เซฟเวลา 20%
ข่าวปก
สยามธุรกิจ ฉบับที่ 1117 - 17-20 กรกฎาคม 2553
สนข.เดินหน้าขับเคลื่อนรถไฟรางคู่แสนล้าน เปิดเวที ระดมสมองผู้เชี่ยวชาญ-ประชาชนร่วม พัฒนาระบบรถไฟรางคู่ระยะเร่งด่วน 5 สายทาง กว่า 767 กิโลเมตร มูลค่ากว่า แสนล้านบาท ตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนการขนส่งระบบรางเป็น 10% จากปัจจุบัน 2% ด้านบริษัทที่ปรึกษาแนะควรพัฒนา ระบบรถจักรดีเซลเป็นระบบรถไฟฟ้า เหตุมีข้อดีหลายประการช่วยลดต้น ทุนค่าน้ำมัน-ค่าบำรุงได้ 30% ประหยัด เวลาเดินทาง 20% ที่สำคัญเป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม
นายประณต สุริยะ รองผู้อำนวย การ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงานสัมมนาเชิงวิชาการ ครั้งที่ 2 เรื่องการศึกษาความ เหมาะสมและออกแบบเบื้องต้น ระบบรถไฟทางคู่เพื่อการขนส่งและการจัด การลอจิสติกส์ ระยะที่ 1 ว่า ประเทศไทย มีความจำเป็นอย่างยิ่ง
ที่จะต้องมีระบบรถไฟรางคู่เพิ่ม จากปัจจุบันที่มีอยู่เพียง 280 กิโลเมตรทั่วประเทศ เพื่อรองรับการขยายตัวและการพัฒนาระบบรางในอนาคต และพัฒนาทาง Meter Gauge ซึ่งเป็นโครงข่ายรถไฟที่มีอยู่แล้วให้เกิดประสิทธิภาพเต็มที่ อีกทั้งยังเป็นการเตรียมพร้อมระบบรางรองรับรถไฟฟ้าเพื่อให้ระบบรถไฟเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสูงสำหรับการขนส่งระบบรางในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม บริษัทที่ปรึกษาจะสรุปผลการศึกษาและออกแบบเบื้องต้นภายในเดือนต.ค.2553 นี้ หลังจากนั้น สนข.จะได้นำเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา โดยคาดว่าจะสามารถประกวดราคาได้เร็วที่สุดในปี 2554
ด้านนายสุชัย รอยวิวัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญ อาวุโสด้านระบบรถไฟ บริษัทที่ปรึกษา กล่าว ว่า แผนการพัฒนารางคู่ระยะเร่งด่วนที่ครม. เห็นชอบ 5 เส้นทางหลัก ซึ่งจะเร่งดำเนินการก่อน ได้แก่
1.ลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 118 กม.
2.มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กม.
3.ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 185 กม.
4.นครปฐม-ชุมทางหนองปลาดุก ระยะทาง 165 กม. และ
5.ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กม.
ทั้งนี้ ผลการศึกษาโครงการดังกล่าว พบว่าเมื่อดำเนินการก่อสร้างรางคู่ระยะเร่งด่วนแล้ว ควรจะพัฒนาระบบรถไฟดีเซลเป็นระบบรถไฟฟ้า เพราะจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายทั้งในส่วนของค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าซ่อมบำรุง ค่าพนักงาน ได้สูงถึง 30% ขณะเดียวกันยังช่วยลดเวลาในการเดินทางได้ 20% และที่สำคัญยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยการศึกษาและออกแบบครั้งนี้จะได้ออกแบบไว้สำหรับรองรับระบบรถไฟฟ้าด้วย
อย่างไรก็ตาม เป้าหมายสำคัญในการพัฒนารางคู่ของประเทศไทย คือ การปรับปรุงทางรถไฟเดิม โดยการเพิ่มความแข็งแรง และประสิทธิภาพของรางรถไฟ พื้นทาง และไม้หมอน เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งทางรถไฟ เพื่อให้สามารถใช้ความเร็วได้ 180 กม.ต่อชั่วโมง และเพิ่มสัดส่วนการขนส่งสินค้าทางรถไฟเป็น 10% จากเดิม 2% และจะเพิ่มปริมาณขบวนบนรถไฟเป็น 500-800 ขบวนต่อวัน จากปัจจุบัน 200 ขบวนต่อวัน ขณะที่ผู้โดยสารจะเพิ่มขึ้นถึง 3.5 เท่า หรือประมาณ 97 ล้านคน
การพัฒนาระบบรถไฟไทย ยังเป็นที่ถกถียงในระดับนโยบายว่าควรพัฒนาทางรถไฟเดิมที่กว้าง 1 เมตร (Meter Gauge) หรือควรจะเปลี่ยนเป็นทางกว้าง 1.435 เมตร (Standard Gauge) เหตุผลสำคัญที่ใช้ทางขนาด 1 เมตร ในการพัฒนาระบบรถไฟรางคู่ คือ ประหยัดงบประมาณได้มากกว่าการปรับเปลี่ยนทั้งระบบ รวมทั้งสามารถเชื่อมต่อรางปัจจุบัน และรองรับโครงข่ายการคมนาคมกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งส่วนใหญ่ใช้รางขนาด 1 เมตร เช่น มาเลเซีย เวียดนาม สิงคโปร์ เป็นต้น นายสุชัย กล่าว
ขณะที่นายพิเชฐ คุณาธรรมารักษ์ วิศวกรโยธาชำนาญการ สนข. กล่าวว่า การ ศึกษาครั้งนี้ได้ทำไว้ 2 ชุด คือ การพัฒนารถไฟรางคู่สำหรับรถไฟดีเซล และรถไฟรางคู่สำหรับรถไฟฟ้า เพื่อที่จะเตรียมพร้อมหากในอนาคตประเทศไทยจะพัฒนาระบบรถไฟดีเซลเป็นรถไฟฟ้าก็จะสามารถนำผลการศึกษาและออกแบบเบื้องต้นมาปรับใช้ได้ทันที ทั้งนี้แม้ว่าระบบรถไฟดีเซลมีประโยชน์ช่วยลดต้นทุนการขนส่งสินค้าของประเทศได้มากกว่าการขนส่งทางถนน แต่หากพัฒนาเป็นระบบรถไฟฟ้าและลงทุนเพิ่มอีกสักนิดประมาณกิโลเมตรละ 30 ล้านบาท ก็จะได้ระบบรถไฟฟ้าที่มีประโยชน์ทั้งเรื่องของการลดต้นทุนการขนส่ง และการประหยัดพลังงาน
ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบเงินลงทุนระหว่างการลงทุนระบบรถไฟดีเซลและรถไฟฟ้าแล้วพบว่าการดำเนินโครงการรถไฟรางคู่ระยะเร่งด่วนที่รัฐบาลเห็นชอบระยะทางประมาณ 400 กม.วงเงินลงทุนประมาณ 3 หมื่นล้านบาท แต่หากพัฒนาเป็นระบบรถไฟฟ้าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 4.2 หมื่น ล้านบาท |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47427
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 19/07/2010 6:24 am Post subject: |
|
|
Wisarut wrote: |
3.โครงการปรับปรุงระบบรางสายประธานช่วงทุ่งสง-ชุมทางหาดใหญ่ มูลค่า 2,680.8 ล้านบาท [แทน Rehab Phase 4 ส่วนสายใต้ ที่ แท้งไป] |
ช่วงทุ่งสง-หาดใหญ่ ต้องปรับปรุงโดยเ่ร่งด่วนครับ
โดยเฉพาะในเขตจังหวัดพัทลุง
เป็นที่ลุ่ม น้ำท่วมแทบทุกปี
และตกรางแทบทุกปีครับ |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47427
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
|
Back to top |
|
|
BanPong1
1st Class Pass (Air)
Joined: 07/12/2006 Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี
|
Posted: 25/07/2010 3:30 pm Post subject: |
|
|
Wisarut wrote: | [url=http://www.siamturakij.com/home/news/display_news.php?news_id=413346281]
ขณะที่นายพิเชฐ คุณาธรรมารักษ์ วิศวกรโยธาชำนาญการ สนข. กล่าวว่า การ ศึกษาครั้งนี้ได้ทำไว้ 2 ชุด คือ การพัฒนารถไฟรางคู่สำหรับรถไฟดีเซล และรถไฟรางคู่สำหรับรถไฟฟ้า เพื่อที่จะเตรียมพร้อมหากในอนาคตประเทศไทยจะพัฒนาระบบรถไฟดีเซลเป็นรถไฟฟ้าก็จะสามารถนำผลการศึกษาและออกแบบเบื้องต้นมาปรับใช้ได้ทันที ทั้งนี้แม้ว่าระบบรถไฟดีเซลมีประโยชน์ช่วยลดต้นทุนการขนส่งสินค้าของประเทศได้มากกว่าการขนส่งทางถนน แต่หากพัฒนาเป็นระบบรถไฟฟ้าและลงทุนเพิ่มอีกสักนิดประมาณกิโลเมตรละ 30 ล้านบาท ก็จะได้ระบบรถไฟฟ้าที่มีประโยชน์ทั้งเรื่องของการลดต้นทุนการขนส่ง และการประหยัดพลังงาน
ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบเงินลงทุนระหว่างการลงทุนระบบรถไฟดีเซลและรถไฟฟ้าแล้วพบว่าการดำเนินโครงการรถไฟรางคู่ระยะเร่งด่วนที่รัฐบาลเห็นชอบระยะทางประมาณ 400 กม.วงเงินลงทุนประมาณ 3 หมื่นล้านบาท แต่หากพัฒนาเป็นระบบรถไฟฟ้าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 4.2 หมื่น ล้านบาท |
ทำไปเถอะครับ ไว้ให้ลูกหลานได้ใช้ แล้วจะได้ไม่มาด่าคนยุคนี้ภายหลังครับ
ใส่ระบบไฟฟ้าเตรียมเผื่อไปเลยครับ ราง 1.00 เมตร พอแล้วครับ ไม่ต้องราง 1.453 หรอกครับ ขนตู้คอนเทนเนอร์ได้พอแล้ว
ช่วงนี้ยังไม่คุ้มทุน แต่ผลตอบแทนด้านสิ่งแวดล้อมและการลดการใช้น้ำมันจากขนส่งทางรถบรรทุก 10 ปีก็น่าจะคุ้มแล้วครับ _________________
|
|
Back to top |
|
|
Kan
3rd Class Pass
Joined: 05/07/2010 Posts: 189
Location: กรุงเทพ - ชุมทางทุ่งสง
|
Posted: 25/07/2010 3:44 pm Post subject: |
|
|
ตกลงว่าจะรื้อแล้วให้จะให้ชุมชนไปสร้างใหม่เอาเองเหรอ เอ แปลกๆน่ะครับเนี่ย
เสียดายเอกลักษณ์ของชุมชน
ส่วนระบบไฟฟ้านี่ ทำเผื่อไว้แล้วเกิดชำรุดอาจจะไม่คุ้มค่าน่ะครับ |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 44053
Location: NECTEC
|
Posted: 28/07/2010 4:02 pm Post subject: |
|
|
หยุดยาว 4 วัน กระเตื้อง ร.ฟ.ท.เผยสายใต้รับ 4 ลบ.
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 28 กรกฎาคม 2553 10:07 น.
วันนี้ (28 ก.ค.) ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ทยอยเดินทางกลับถึงภูมิลำเนาหลังจากที่ออกไปท่องเที่ยวและกลับบ้านตามจังหวัดต่างในช่วงวันหยุดยาว 4 วันตลอดช่วงเทศกาลเข้าพรรษา โดยบรรยากาศที่สถานีรถไฟหาดใหญ่รถไฟขาล่องกรุงเทพฯ-หาดใหญ่-3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องเสียเวลาอย่างน้อย 2 ชั่วโมงต่อขบวน เนื่องจากจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นกว่าช่วงปกติ
โดยรถไฟสายยาวขบวนแรกที่เข้าสู่สถานีหาดใหญ่ คือ รถเร็ว 171 กรุงเทพฯ-สุไหงโก-ลก เวลาประมาณ 09.00 น. จากเวลาปกติที่จะถึงสถานีหาดใหญ่เวลาประมาณ 05.30 น.และมีผู้โดยสารแน่นทั้งขบวนเนื่องจากเป็นขบวนที่พ่วงตู้รถไฟฟรี
ด้าน นายทนงศักดิ์ พงษ์ประเสริฐ ผู้อำนวยการศูนย์ภาคใต้ฝ่ายการเดินรถ เปิดเผยว่า การเดินทางด้วยรถไฟตลอดวันหยุดยาว 4 วันของเทศกาลเข้าพรรษา ในส่วนของภาคใต้มีรายได้จากการให้บริการรถไฟทั้งระบบประมาณ 4 ล้านบาท เฉลี่ยวันละ 1 ล้านบาท ซึ่งตัวเลขของรายได้และผู้โดยสารใกล้เคียงกับเทศกาลเข้าพรรษาปีที่ผ่านมา และไม่มีปัญหาผู้โดยสารตกค้างแต่อย่างใด |
|
Back to top |
|
|
|