View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
PSK
3rd Class Pass


Joined: 10/09/2006 Posts: 153
Location: ลำพูน
|
Posted: 15/02/2008 10:05 am Post subject: |
|
|
ขอบคุณมากนะครับพี่ตึ๋งที่นำความรู้มาถ่ายทอดครับ รวมทั้งรูปรถจักรในอดีตสวยดีครับบางรูปผมไม่เคยเห็นเลยครับ เห็นแล้วก็อยากเอาไปทำโมเดล |
|
Back to top |
|
 |
KTTA-50-L
1st Class Pass (Air)


Joined: 02/04/2006 Posts: 4367
Location: Freight Division , SRT
|
Posted: 15/02/2008 10:41 am Post subject: |
|
|
PSK wrote: | ขอบคุณมากนะครับพี่ตึ๋งที่นำความรู้มาถ่ายทอดครับ รวมทั้งรูปรถจักรในอดีตสวยดีครับบางรูปผมไม่เคยเห็นเลยครับ เห็นแล้วก็อยากเอาไปทำโมเดล |
เอาเลยครับพี่ศักดิ์ สนับสนุนครับ  _________________ The Guardian of Rotfaithai.Com |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 44458
Location: NECTEC
|
Posted: 17/02/2008 8:30 pm Post subject: |
|
|
เจ้ารถจักร SLM 735 HP 2 หลังแรกยังดีหน่อยที่กว่าจะได้ก็ปี 2489 แต่ รถจักร SLM 735 HP 2 หลังสุดท้ายกว่าจะได้ก็ปี 2493 และ รถจักร SLM 960 HP ทั้ง 3 หลัง หว่าจะได้ก็ปี 2494 เพราะ ต้องให้โรงงานเบลเยี่ยมที่ Sulzer มีสายอยู่ทำการประกอบแคร่ เพราะ ทาง Henschel ติดภาระต้องผลิตรถจักรให้กองทัพอเมริกัน และ ต้องจ่ายเพิ่มอีก ... โดย
1. จ่ายสด ครึ่งหนึ่ง ... ถ้าจ่ายเป็น US$ (ถ้าหา Franc Swiss ทองคำมาไม่ได้) ต้องคิด Surcharge 7.25-7.5%
2. ที่เหลือ ต้องเปิด L/C (Letters of Credit) กะ ธนาคาร Union Bank of Swiss สาขา New York City
นี่ถ้าในหลวงไม่ขอไว้ก็คงไม่ได้รถจักร SLM อีก 5 คันแน่ๆ เพราะ SLM จะหาเรื่องยกเลิกสัญญาโดยยกมาตรา 83 เข้ามาอ้าง |
|
Back to top |
|
 |
black_express
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 06/03/2008 12:25 pm Post subject: |
|
|
คงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งกระมัง ? ที่ ซูลเซอร์ ไม่มีโอกาสเข้ามาโชว์ผลงานใน รฟท.อีก |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 44458
Location: NECTEC
|
Posted: 21/09/2010 2:22 pm Post subject: สืบเนื่องจากการสั่งรถจักรดีเซลสวิส 7 หลัง |
|
|
สืบเนื่องจากการสั่งรถจักรดีเซลสวิส 7 หลังจากเอกสาร สำนักนายกรัฐมนตรี (2) สร. 0201.16.2/3 ส่งนายช่างไทย ไปควบคุมการก่อสร้างและตรวจสิ่งของเครื่องใช้ของกรมรถไฟซึ่งสั่งจากต่างประเทศ
พุธที่ 18 ตุลาคม 2482 ในการประชุมคณะรัฐมนตรีนั้น กรมรถไฟมีความประสงค์ที่จะประหยัดค่าใช้จ่ายที่เสียไปกับการบริษัทที่ปรึกษา (บริษัทซีพีแซนด์เบอร์ก - CP Sandberg) ทำหน้าที่คุมการก่อสร้างและตรวจสิ่งของเครื่องใช้ของกรมรถไฟ ซึ่งคิดค่านายหน้าร้อยละ 3 ของราคาของทืี่ซื้อ ดังนั้นจึงได้ขอมติคณะรัฐมนตรี ให้ส่ง นายช่างไทย 3 นาย เป็นนายช่างตรวจการก่อสร้างและตรวจสิ่งของเครื่องใช้ของกรมรถไฟซึ่งสั่งจากต่างประเทศ โดยนำเงินที่จะจ่ายจากค่านายหน้าร้อยละ 3 ที่ปกติจะจ่ายให้ บริษัทซีพีแซนด์เบอร์ก มาจ่าย ซึ่ง ครม.เห็นชอบตามที่กรมรถไฟเสนอ แต่ต้องมีหนังสือยืนยันมาเป็นทางการก่อน
7พฤศจิกายน 2482 พันเอกพระบริภัณฑ์ยุทธกิจ รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐการ (Ministry of Economic Affairs) เสนอบันทึกนโยบายกรมรถไฟ ส่งนายช่างไทย 3 นาย ไปควบคุมกำกับการสร้างและตรวจสิ่งของเครื่องใช้ที่ซื้อจากต่างประเทศในทวีปยุโรป ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2482 ให้ นายกรัฐมนตรีได้รับทราบ โดนอธิบายว่า ถ้ายังคงให้บริษัทที่ปรึกษา (บริษัทซีพีแซนด์เบอร์ก - CP Sandberg) ทำหน้าที่ควบคุมกำกับการสร้างและตรวจสิ่งของเครื่องใช้ที่ซื้อจากต่างประเทศ จะต้องมีค่าใช้่จ่าย ดัีงนี้
1. ค่าตรวจการ (Inspection Fee - Retainign Fee) ปีละ 250 ปอนด์ (1 ปอนด์ เท่ากับ 11 บาท)
2. ค่าป่วยการ คิดตามเปอร์เซนต์ ราคา CIF ตามรายการต่อไปนี้
2.1 ของที่ซื้อจากประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ที่ CP Sandberg มีสาขา
- รางเหล็กและเครื่องประกอบ 1%
- หัวประแจและทางหลีก 3.5%
- รถจักรและล้อเลื่อน 2.5%
- เครื่องสะพาน 3%
- สิ่งของใช้อย่างอื่น 3.5%
2.2 ของที่ซื้อจากประเทศภาคพื้นยุโรปที่ CP Sandberg ไม่มีสาขา
- รางเหล็กและเครื่องประกอบ 1%
- หัวประแจและทางหลีก 4%
- รถจักรและล้อเลื่อน 3% => ปัญหาอยู่ที่นี่
- เครื่องสะพาน 3.5%
- สิ่งของใช้อย่างอื่น 4%
ขณะนี้ กรมรถไฟได้ตกลงสั่งซื้อ รถจักรรถพ่วงต่อไปนี้ แล้ว:
1. รถรางไฟฟ้า 3 คัน + รถพ่วง 6 คัน สำหรับรถไฟสายปากน้ำ
2. รถดีเซลไฟฟ้าสำหรับทางสายใหญ่ 7 คัน -
นอกจากนี้ได้เรียกประกวดราคาซื้อรถจักรรถพ่วงต่อไปนี้ หลังได้รับเงินยืม 2 ล้านบาท จากกระทรวงการคลัง ซึ่งกรมรถไฟจะชำระคืนด้วยเงิน renovation fund ของกรมรถไฟใน 3 ปี ได้แก่ (อ้างอิงจากเอกสาร สำนักนายกรัฐมนตรี (2) สร. 0201.16.2/2 การจัดหารถจักร์และรถพ่วงเพิ่มเติมเพื่อใช้ในราชการกรมรถไฟ)
1. รถจักรแบบแปซิฟิก ราคาประมาณคันละ 70,000 บาท จำนวน 10 คัน รวมเป็นเงิน 700,000 บาท (ต่อมาคือรถจักรแปซิฟิกรุ่น 282-291)
2. รถโดยสารเหล็กทั้งคัน ประมาณคันละ 40,000 บาท จำนวน 20 คัน รวมเป็นเงิน 800,000 บาท
3. รถบรรทุกสินค้า ประมาณคันละ 2,500 บาท จำนวน 200 คัน รวมเป็นเงิน 500,000 บาท
อย่างไรก็ตามในโครงการมีการแก้ไขคือ
1. ซื้อรถโดยสารเหล็กทั้งคันที่ประกอบรถต่อเสร็จ 31 คัน
2. ซื้อโครงรถโบกี้โดยสารแล้วช่างกรมรถไฟจะใช้ไม้สั่ก หรือ ไม้ชั้นดี มาประกอบเป็นตัวรถ 9 คัน
3. ซื้อรถบรรทุกสินค้าชนิดต่างๆ 800 คัน
ส่วนค่าใช้จ่ายที่จ่ายให้ บริษัทซีพีแซนด์เบอร์ก - CP Sandberg (ไม่รวมค่านายหน้า 250 ปอนด์ ต่อปีที่กรมรถไฟต้องจ่ายอยู่แล้ว) มีสถิติดังนี้
ปี 2479 คิด 941 ปอนด์ 11 ชิลลิง 4 เพนซ์
ปี 2480 คิด 1077 ปอนด์ 5 ชิลลิง 1 เพนซ์
ปี 2481 คิด 5504 ปอนด์ 8 ชิลลิง 9 เพนซ์
ปี 2482 ยังไม่ปิดปัญชี
เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงควรตั้งนายช่างไทย ไปประจำไว้ที่อังกฤษเพื่อทำหน้าที่ตรวจสิ่งของเครื่องใช้ของกรมรถไฟ และบรรดากระทรวงทบวงกรมได้สั่งซื้อไว้ จะเป็นประโยชน์ต่อทางราชการ กล่าวคือ เป็นการประหยัดค่านายหน้าที่ต้องจ่ายให้บริษัทที่ปรึกษาต่างประเทศ ไปเป็๋นอันมาก
9 พฤศจิกายน 2482 นายดิเรก ชัยนาม เลขาธิการรัฐมนตรี รายงานรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐการว่า ครม.อนุมัติให้ส่งนายช่างไทย 3 นาย ไปควบคุมการก่อสร้างและตรวจสิ่งของเครื่องใช้ของกรมรถไฟซึ่งสั่งจากต่างประเทศ ตามที่กระทรวงเศรษฐการเสนอ
11 มีนาคม 2482 ผลการประกวดราคาสั่งซื้อ รถจักรดีเซลไฟฟ้า 7 คัน ได้ผลออกมาว่า บริษัทซุลเซอร์ ที่บริษัทดีทแฮล์ม เป็นตัวแทนในกรุงเทพ ฃนะการประมูลตามราคาดังนี้
- รถจักรดีเซลไฟฟ้า 735 แรงม้า 4 คัน คันละ 295,880 สวิสแฟรงค์ รวม 1,183,520 สวิสแฟรงค์
- รถจักรดีเซลไฟฟ้า 960 แรงม้า 3 คัน คันละ 378,050 สวิสแฟรงค์ รวม 1,134,150 สวิสแฟรงค์
ดังนั้น จึงสมควรส่งนายช่างไทย 3 นาย ไปควบคุมการก่อสร้างและตรวจสิ่งของเครื่องใช้ของกรมรถไฟซึ่งสั่งจากต่างประเทศ แทนบริษีัทแซนด์เบอร์ก ได้แก่
1. หม่อมเจ้าสิทธิยากร วรวรรณ หัวหน้ากองช่างกล เป็นหัวหน้า
2. หลวงประสิทธิ์กลมัย หัวหน้ากองไฟฟ้า
3. นายแสวง กาญจนาลัย สารวัตรโรงงาน
กำหนดเดินทาง เมษายน 2483 และจะอยู่ควบคุมจนกว่ารถจักรเสร็จ เป็นเวลา 18 เดือนกลับ เนื่องจากยุโรปเกิดภาวะสงคราม การจัดตั้งสำนักงานจะเลือกหาที่เหมาะเป็นศูนย์กลางไม่ได้ และนายช่างที่ส่งออกไปคงทำงานไม่เต็มมือ เพราะไม่มีสำนักงาน จึงรอการแต่งตั้งนายช่างประจำไปก่อน แต่ให้คงการตั้งแต่งข้าราชการกรมรถไฟ 3 นาย ออกไปต่างประเทศ
13 มีนาคม 2482 ในการประชุม ครม.ที่ประชุมมีมติให้ กรทรวงเศรษฐการ ดำเนินการส่งนายช่าง 3 นาย ไปคุมการก่อสร้างรถจักร ส่วนเรื่องเงืินให้ตกลงกับทางกระทรวงการคลังต่อไป
16 มีนาคม 2482 เลขาธิการคณะรัฐมนตรี แจ้่งเรื่องที่ครม.อนุมัติให้ข้าราชการรถไฟเดินทางไปต่างประเทศ |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 44458
Location: NECTEC
|
Posted: 21/09/2010 2:24 pm Post subject: สืบเนื่องจากการสั่งรถจักรดีเซลสวิส 7 หลัง (2) |
|
|
9 กันยายน 2484 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โดยให้ปลัดกระทรวง [หลวงคหกรรมบดี] ลงนามแทน เพราะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม [หลวงเสรีเริงฤทธิ์] ติดราชการสนาม ได้แจ้งว่า หม่อมเจ้าสิทธิยากร วรวรรณ หัวหน้ากองช่างกล ซึ่้งไปคุมการก่อสร้างรถจักรที่สวิตเซอร์แลนด์ ได้ล้มป่วยลงเมื่อต้นเดือนมิถุนายน 2484 นายแพทย์ที่สวิตเซอร์แลนด์ได้แนะนำให้กลับเมืองไทยโดยด่วน หม่อมเจ้าสิทธิยากร วรวรรณ จึงขออนุญาตเดินทางกลับ เมื่อ 20 มิถุนายน 2484 โดยเดินทางร่วมกับ นายพลโท พระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (หม่อมราชวงศ์สิทธิ สุทัศน์ - สมุหราชองครักษ์) โดยผ่านสหภาพโซเวียตรัสเซีย (ทางรถไฟสายทรานสไซบิเรีย) ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้อนุมัติ เนื่องจากเห็นว่างานควบคุมส่วนใหญ่ลุล่วงไปแล้ว พอที่ผู้ควบคุมคนอื่นพอจะสานต่องานได้ และ หม่อมเจ้าสิทธิยากร วรวรรณ มีสุภาพไม่สมบูรณ์ จึงได้อนุมัติตามคำขอ และ หม่อมเจ้าสิทธิยากร วรวรรณ มาถึงเมืองไทย เมื่อ 6 สิงหาคม 2484
17 ธันวาคม 2485 กระทรวงคมนาคมแจ้งให้กระทรวงการคลัง จ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงให้ นายประสิทธิ์ เมนเศวตร (สมัยอักขระวิบัติสะกดว่า นาย ประสิทธิ เมนะเสวต - หลวงประสิทธิ์กลมัย) และ นายแสวง กาญจนาลัย ต่อไป แม้จะล่วงเลยไปเกิน 18 เดือนแล้ว เนื่องจากสงครามได้ครอบคลุมไปทั่วโลก ซึ่งกระทรวงการคลังเห็นชอบด้วย แต่ต้องให้ครมอนุมัติเสียก่อน และกระทรวงการคลังได้แจ้งให้เลขาธิการรัฐมนตรีได้รับทราบ
อนึ่ง อุปทูตไทยประจำสวิตเซอร์แลนด์ ได้รายงานทางโทรเลขให้กระทรวงการต่างประเทศว่า นาย ประสิทธิ เมนะเสวต และ นายแสวง กาญจนาลัย ยังทำหน้าที่อยู่ที่เมืองซูริค
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (ที่ตั้งบริษัทดีทแฮล์ม สาขาสวิตเซอร์แลนด์)
21 ธันวาคม 2485 เลขาธิการรัฐมนตรี (นายทวี บุนยเกตุ) ได้แจ้งให้กระทรวงการต่างประเทศช้แจงเหตุผล เพื่อให้ ให้ครม.เห็นสมควรให้จ่ายเบี้ยเลี้ยงต่อไปจนกว่านายช่างไทยทั้ง 2 จะกลับเมืองไทย ต่อมา 5 มกราคม 2486 นายวิจิตร วิจิตรวาทการ (หลวงวิจิตรวาทการ) ได้แจ้่ง เลขาธิการรัฐมนตรี (นายทวี บุนยเกตุ) ว่า ข้าราชการไทยทั้ง 2 นาย อยู่ที่เมิืองซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และสถานการณ์สงครามทำให้เดินทางกลับไม่ได้
14 มกราคม 2486 เลขาธิการรัฐมนตรี (นายทวี บุนยเกตุ) แจ้งรัฐมนตรีกระทรวงการคลังให้ทราบว่า ครม.มีมติเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2486 ให้คงการจ่ายเงินต่อไปจนกว่าจะกลับเมืองไทย |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 44458
Location: NECTEC
|
Posted: 21/09/2010 2:25 pm Post subject: สืบเนื่องจากการสั่งรถจักรดีเซลสวิส 7 หลัง (3) |
|
|
เมื่อมกราคม 2489 บริษัท ซุลเซอร์ แจ้งให้บริษัทดีทแฮล์ม ซึ่งมีสำนักงานที่นครซูริค ว่า บริษัทต้องการเลิกสัญญากับกรมรถไฟ ในการสร้างรถจักร 5 คัน (รถ 735 แรงม้า 2 คันและรถจักร 960 แรงม้า 3 คัน) โดยอ้างว่าโรงงานเฮนส์เชลที่เป็นโรงงานผู้รับเหมาย่อย ในการผลิต Vehicular parts และประกอบรถจักรเสียหายในภาวะสงคราม แล้วแจ้งเรื่องนี้ผ่านสถานทูตไทย ณ กรุงเบอร์น
ต่อมา หลวงประสิทธิ์กลมัย ได้สอบถามวิศวกรสวิสที่ไปเยอรมัน ทำให้ทราบว่า ส่วน Vehicular Part ที่ โรงงานเฮนส์เชล ยังอยู่ดีไม่เสียหาย แต่เอาออกมาไม่ได้ เพราะโรงงานเฮนส์เชล อยู่นการควบคุมของรัฐบาลทหารสหรัฐ ทำให้ต้องส่งโทรเลขจากสถานทูตไทย ณ กรุงเบอร์น ไปที่กรมรถไฟว่าจะทำอย่างไรต่อไปดี แล้วกรมรถไฟนำเรื่องขึ้นเสนอกระทรวงคมนาคม แล้วกระทรวงคมนาคมได้นำเรื่องเสนอกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ ได้ส่งเรื่องไปยังสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี ให้ติดต่อกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ ให้ดำเนินการแจ้งให้รัฐบาลทหารสหรัฐในเยอรมนี อนุญาตนำ Vehicular Part ที่เก็บในโรงงานเฮนส์เชล ส่งมอบให้ซุลเซอร์ โดยแจ้งผ่านทางอัครราชทูตสหรัฐ ประจำกรุงบอร์น
ตุลาคม 2489 บริษัทซุลเซอร์ส่งมอบรถจักร 735 แรงม้า 2 คัน (รถจักร 651-652) ให้กรมรถไฟ ผ่านเมืองท่าเจนัว
ในเวลาเดียวกัน คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้เจรจาปราณีประนอมให้คงสัญญาการประกอบรถจักรอีก 5 คัน เนื่องจากเวลานั้นรถจักรหายาก กรมรถไฟต้องการรถจักรใช้ในราชการโดยเร่งด่วน และต้องการรักษาสัมพันธ์กับบริษัทไว้ เนื่องจากมีการสั่งอาไหล่รถจักรมาซ่อมรถจักรที่มีอยู่และรถจักรใหม่ด้วย
บริษัทได้แจ้งให้ทราบว่า ราคารถจักร 5 คัน ก่อนสงคราม คิดที่ประมาณ 1.6 ล้านแฟงค์สวิส แต่หลังสงคราม ของคิดที่ 2.4 ล้านแฟงค์สวิส และให้กรมรถไฟจ่ายเงินสด 50% และ เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (บัจจุบันบัญญัติเป็น ตราสารเครดิต) กับธนาคาร Credit de Suisee แต่ กรมรถไฟไม่มีแฟงค์สวิส เลยประสงค์จะให้จ่ายเป็นดอลลาร์สหรัฐ ทางบริษัทจะคิดดอกเบี้ย 7.5 %
ต่อมาเจรจาต่อรองจนถึงที่สุด บริษัทให้กรมรถไฟจ่าย เงิน 2.2 ล้านแฟงค์สวิส ในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยจ่ายสด 1,261,000 ล้านแฟงค์สวิส ในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ เป็นค่าเครื่องยนต์ และเครื่องไฟฟ้าของซุลเซอร์ ที่เหลือให้จ่ายโดยการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตกับธนาคาร Credit de Suisee สาขานิวยอร์ก
//----------------------------------------------------------------
ระหว่างการชำระด้วยเลตเตอร์ออฟเครดิต พบว่า บางครั้งเงินในบัญชีเลตเตอร์ออฟเครดิตไม่พอจ่าย ทำให้สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี และสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน ต้องออกเงินเพื่อปิดหีบงบประมาณค่า Shipping อาไหล่และรถจักรให้ แล้วไปเก็บเอากับการรถไฟฯ ก็มี
//-------------------------------------------------------------------------
ส่วนการชำระหนี้ ที่หลวงประสิทธิ์กลมัย ยืมเงิน 9000 แฟงค์สวิส จากสถานทูตไทย ณ กรุงเบอร์น และค่าโทรเลข 6 ร้อยกว่าแฟงค์สวิส ที่หลวงประสิทธิ์กลมัยใช้ติดต่อราชการกับเมืองไทย และเงินส่วนพระองค์ในสมเด็จพระราชชนนี ที่พระราชทานให้หลวงประสิทธิ์กลมัย ยืม 4000 แฟงค์สวิส ที่สุดให้กระทรวงการคลัง ให้ธนาคารสั่งจ่ายเงินทางโทรเลขถึง สถานทูตไทย ณ กรุงเบอร์น เมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2495 และ สถานทูตได้แจ้งยืนยันไปที่กระทรวงการต่างประเทศ เมื่อ 15 พฤษภาคม 2495.
//------------------------------------------------------------
รายละเอียดในเรื่องนี้จะอธิบายให้ฟังในตอนค่ำวันนี้ |
|
Back to top |
|
 |
|