View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
KTTA-50-L
1st Class Pass (Air)
Joined: 02/04/2006 Posts: 4367
Location: Freight Division , SRT
|
Posted: 31/07/2006 10:40 am Post subject: การสร้างอุโมงค์ขุนตาน |
|
|
เรื่องนี้ผมนำมาจากหนังสืองานฉลองรถไฟหลวงครบ 50 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2490 ครับ อยากจะนำเสนอประวัติและการสร้างอุโมงค์ขุนตานนั้น สมัยก่อนเครื่องไม้เครื่องมือยังไม่ทันสมัย แล้วเค้าสามารถขุดเจาะอุโมงค์ได้อย่างไร เรามาดูกันครับ (ในหนังสือเขียนว่า "ขุนตาล" และอาจจะมีศัพท์ในสมัยเก่าๆด้วยนะครับ)
การสร้างอุโมงค์ขุนตาล
อุโมงค์รถไฟคอนกรีต ที่มีความยาวที่สุดในราชอาณาจักรไทย ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า "ถ้ำขุนตาล" อยู่ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ ๖๘๑.๕๗๘.๗๕ กับกิโลเมตรที่ ๖๘๒.๙๔๐.๘๐ ทางสายเหนือ
ความสำเร็จแห่งงานชิ้นนี้เป็นหลักฐานแสดงกิจการเกี่ยวกับการก่อสร้างอันเป็นชิ้นสำคัญส่วนหนึ่งของกรมรถไฟที่ได้อนุวรรตน์และจัดให้บริการมาแล้ว
ในอดีตสมัยวิศวกรรถไฟไทยผู้หนึ่ง (พระยาสฤษดิการบรรจง อดีตผู้บัญชาการรถไฟ) อยู่ใกล้ชิดกับการก่อสร้างอุโมงค์นี้มาแต่เดิม ยังทรงจำเหตุการณ์นั้นได้เล่าว่า เนื่องจากการสร้างทางรถไฟหลวงสายเหนือ มีจุดหมายปลายทางมุ่งตรงไปยังนครเชียงใหม่อันเป็นถิ่นที่อุดมดีไปด้วยทรัพย์ในดินสินในน้ำ ในการนี้วิศวกรผู้ทำการสำรวจและวางแนวทางได้พยายามทุกวิถีทาง ที่จะวางแนวเลาะลัดหลีกเลี่ยงให้พ้นเทือกเขาขุนตาลอันเป็นสันปันน้ำระหว่างเขตต์จังหวัดลำปางและจังหวัดลำพูน ไปให้บรรลุถึงจุดที่มุ่งหมายได้โดยสะดวก
แม้ได้พิจารณาโดยละเอียดถี่ถ้วนแล้ว ก็ไม่เห็นวิธีอื่นใดที่จะเหมาะสม จึงจำเป็นต้องวางแนวทางผ่าเข้าไปในระหว่างเทือกเขาขุนตาล ด้วยการสร้างอุโมงค์ให้ขบวนรถลอดผ่านไป ณ ภายใต้ เพื่อเป็นการบำรุงผลประโยชน์ของอาณาประชาราษฏรในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ให้เจริญยิ่งในสรรพการหาผลประโยชน์เลี้ยงชีพทั้งปวง อาทิเช่น การพาณิช การเกษตรกรรม เป็นต้น และเป็นการเชื่อมขอบขัณฑสีมาในราชอาณาจักรทางภาคเหนือสุด ให้มีการติดต่อถึงกันกัลจังหวัดที่เป็นศูนย์กลางโดยใกล้ชิด เป็นช่องทางที่จะนำทรัพย์ในดินสินในน้ำซึ่งเกิดขึ้นในท้องถิ่นภูมิภาคนั้น มาทำการแลกเปลี่ยนกันได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น
การสำรวจแนวทางตลอดจนธรณีบริเวณที่จะทำการก่อสร้างอุโมงค์รถไฟที่เขาขุนตาลนี้ ได้เริ่มกระทำในปีพุทธศักราช ๒๔๔๘ |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43713
Location: NECTEC
|
Posted: 31/07/2006 10:59 am Post subject: |
|
|
เจฟฟ์ เดี๋ยวผมจะเอาภาพการสร้างอุโมงค์ขุนตานที่ลุงหนวด (เทพชู ทับทอง) เอามาลงในหนังสือของท่านมาลงแถมพกให้ด้วยนะ เพราะภาพเหล่านี้มาแต่ หจช. แต่ตีพิมพ์แล้ว คงจะไม่มีปัญหาน่อ |
|
Back to top |
|
|
KTTA-50-L
1st Class Pass (Air)
Joined: 02/04/2006 Posts: 4367
Location: Freight Division , SRT
|
Posted: 31/07/2006 11:01 am Post subject: |
|
|
ส่งมาที่เมล์ผมก็ได้นะครับ จะได้เอาลงประกอบไปในตัวด้วย
ranger0827@gmail.com 8) |
|
Back to top |
|
|
KTTA-50-L
1st Class Pass (Air)
Joined: 02/04/2006 Posts: 4367
Location: Freight Division , SRT
|
Posted: 31/07/2006 1:22 pm Post subject: |
|
|
ภายหลังการสำรวจได้ผ่านพ้นมาแล้วเป็นเวลา ๒ ปี ในปีพุทธศักราช ๒๔๕๐ ก็เริ่มการก่อสร้างอุโมงค์รถไฟด้วยวิธีทำขั้นต่างๆ คือ
ในขั้นแรกได้จัดตั้งหมุดหลักฐานของระดับที่แน่นอนไว้บนหลังเขาในแนวเดียวกันกับอุโมงค์ทั้งด้านเหนือและด้านใต้ เพื่อประโยชน์ในการเจาะเขาให้ใหญ่ได้ตามประสงค์
การเจาะขุนตาลแต่เดิม ได้กระทำโดยใช้เครื่องอัดอากาศสำหรับเจาะ เมื่อเครื่องอัดอากาศเสียหรือใช้ไม่ได้ ก็ใช้เหล็กสะกัดขนาดยาวและฆ้อนขนาดใหญ่ตอกลงบนหินบริเวณที่ต้องการให้เป็นรูเพื่อฝังดินระเบิด ตอนใดเป็นหินร่วนก็ใช้ขวานจิกทะลายหินออกมา การเจาะๆ ห่างจากแนวที่ต้องการเข้ามาประมาณ ๕๐ ซ.ม. โดยรอบบริเวณที่ประสงค์จะเจาะ ให้ปลายรูชอนเข้าหากันทุกรู เว้นระยะห่างกันประมาณรูละ ๑ เมตร แล้วฝังดินระเบิดและวางชะนวนแยงเม้มให้ติดแน่นกับแก๊ปและยัดเข้าไปในรูหิน แล้วจุดชะนวนๆ ตอนใดจะจุดก่อนก็จะฝังไว้ให้ยาว ตอนใดจะจุดที่หลังก็ฝังไว้ให้สั้น โดยประสงค์ให้เกิดการระเบิดขึ้นพร้อมกันในคราวเดียว จะได้ได้หินมากเพื่อสะดวกและป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น
จากการนี้ได้จัดคนงานไว้เป็นเวรคอยดูเวรละ ๘ ชั่วโมง ที่ใดไม่ระเบิดเพราะด้านก็เว้นไว้ไม่เจาะใหม่ใกล้ที่นั้น
การเจาะนี้ได้ลงมือกระทำพร้อมกันทั้งด้านเหนือและด้านใต้ โดยต่างฝ่ายต่างเจาะให้เข้ามาบรรจบกันในใจกลางของอุโมงค์ แต่ละด้านเจาะเป็น ๒ ช่อง คือ ช่องบนและช่องล่าง เริ่มต้นเจาะช่องบนก่อน เมื่อช่วงบนถูกเจาะลึกเข้าไปได้ประมาณ ๑๕ เมตรแล้ว จึงลงมือเจาะช่องล่างตามเข้าไปโดยวิธีเดียวกัน ส่วนหินตอนกลางเว้นไว้ให้เหลือหนาประมาณ ๑.๐๐ - ๑.๕๐ เมตร เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ปฎิบัติงาน |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43713
Location: NECTEC
|
Posted: 03/08/2006 11:32 pm Post subject: |
|
|
เจฟฟื ผมส่งของดีที่ขุนตานไปให้ แต่ ฮอทเมล์ของเจฟฟ์มันเด้งกลับมาหาผม หงะ |
|
Back to top |
|
|
khainooi
Warning 1
Joined: 03/07/2006 Posts: 154
|
Posted: 04/08/2006 7:20 am Post subject: |
|
|
เก่งจริงๆ ที่ทีมงานสามารถจะทะลุภูเขาได้ สุดยอดครับ แต่ ผมไม่มีโอกาสได้นั่งรถไปดูเลย อยากดูภาพครับ |
|
Back to top |
|
|
KTTA-50-L
1st Class Pass (Air)
Joined: 02/04/2006 Posts: 4367
Location: Freight Division , SRT
|
Posted: 04/08/2006 8:14 am Post subject: |
|
|
Wisarut wrote: | เจฟฟื ผมส่งของดีที่ขุนตาน ไปให้ แต่ ฮอทเมลืของเจฟฟ์มันเด้งกลับมาหาผม หงะ |
อ้าว...ผมให้ส่งไปที่จีเมล์เน้อ 8)
ranger0827@gmail.com 8)
ปล.ถ้าไม่ผิดพลาดประกาศใด คืนนี้กลับถึงบ้านจะลงต่อนะครับ พอดีมาธุระที่กรุงเทพ 2 วันแล้ว ถ้าคืนนี้ผมยังไม่ได้ลงต่อ ก็คือว่าผมยังไม่ได้กลับมาบ้านนะครับ |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43713
Location: NECTEC
|
Posted: 04/08/2006 7:29 pm Post subject: |
|
|
ส่งของดีไปทางจีเมล์แล้ว ... |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43713
Location: NECTEC
|
Posted: 11/12/2007 4:47 pm Post subject: |
|
|
อ่า ... วันนี้ไปเจอเวบไซท์พิพิธภัณฑ์ทหารช่าง - กรมการทหารช่าง ค่ายภาณุรังสี จังหวัดราชบุรี - ว่าด้วยการเจาะอุโมงค์ขุนตานและการวางรางไปเชียงใหม่ ดูได้ที่นี่ครับ:
http://www.tahanchang.com/pipitapan/kuntal.htm |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 29/09/2010 2:01 pm Post subject: |
|
|
ขอเพิ่มเติมเนื้อหาให้สมบูรณ์นะครับ เพราะถูกดองเค็มจนลืม...
.....................................
การเจาะเขาได้ดำเนินล้ำลึกเข้าไปภายในมากเพียงใด การปฏิบัติงานภายในก็ยิ่งประสพความลำบากและผจญอุปสรรคต่างๆ มากขึ้น อาทิ เช่น ประสพความมืด ก็ต้องให้แสงสว่างโดยโคมไฟฟ้าตะเกียงหรือตะเกียงกาซ ได้รับความร้อน ก็ต่อท่อน้ำโดยมีก๊อกเปิดปิดตามเข้าไป มีอากาศไม่พอหายใจ ก็ต้องต่อท่อพ่นอากาศเข้าไปให้ และเพื่อให้การขนหินที่ระเบิดแล้วออกมาทิ้งภายนอกเป็นไปโดยสะดวกและประหยัดแรงงาน ก็วางรางสำหรับใช้รถเล็กเดินในช่องล่าง โดยใช้รถยนตร์รางดีเซลขนาดเล็กลากจูงและใช้รถเล็กเทข้างเป็นรถลำเลียงตามเข้าไปทุกระยะที่ทำการสำเร็จ
นอกจากนี้เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานช่องบนได้รับความสะดวกร่วมด้วย ก็จัดการเจาะเนื้อหินตอนกลางที่เว้นไว้ให้เป็นช่องทะลุถึงกันกับช่องล่างทุกๆ ระยะ ๑๕ เมตรต่อ ๑ ช่อง ช่องหนึ่งๆ โตประมาณ ๑.๕๐ เมตร เมื่อผู้ปฏิบัติงานช่องบนปรารถนาจะเทหินที่ระเบิดไว้แล้ว ถึงช่องใดใกล้ที่สุด ก็เทหินลงในรถซึ่งจัดเตรียมไว้ ณ ช่องล่าง แล้วผู้ปฏิบัติงานช่องล่างจะนำไปเท ณ ปากอุโมงค์แทนให้ ทั้งช่องบนและล่างเมื่อเจาะเข้าไปได้เท่าใดก็ใช้แผ่นกระดานกรุยันกับหินด้านบน และใช้เสาไม้กลมขนาดโตวัดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒๕ ๓๐ ซ.ม. ซึ่งเป็นไม้ทุบเปลือกที่หาได้ในที่นั้นเองค้ำยันไว้เป็นระยะๆ เว้นห่างจากกันพอสมควร เพื่อป้องกันจุดอ่อนไม่ให้เกิดการยุบพังทะลายลงมา
การดำเนินการเจาะตามวิธีดังกล่าวนี้ได้เป็นไปตลอดเวลา ๒๔ ชั่วโมง ให้ผลัดกันเข้าปฏิบัติงานจนกระทั่งต้นปีพุทธศักราช ๒๔๕๘ ช่องบนทั้งด้านเหนือและใต้จึงทะลุบรรจบกัน ต่อมามิช้ามินานในราวกลางปีเดียวกัน ช่องล่างทั้ง ๒ ด้านก็บรรจบกันอีก
Last edited by black_express on 29/09/2010 2:19 pm; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
|