RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312070
ทั่วไป:13678923
ทั้งหมด:13990993
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 28, 29, 30 ... 284, 285, 286  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 27/09/2010 10:43 pm    Post subject: Reply with quote

ผมคิดว่า มีนบุรี น่าจะเป็นต้นสายของรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนเข้าใจกลางกรุงเทพฯ จริงๆ ครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44053
Location: NECTEC

PostPosted: 28/09/2010 12:45 am    Post subject: Reply with quote

โสภณ'เร่งดันรถไฟฟ้า12สายทาง500กม.
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ
ข่าวหน้า 1
ออนไลน์เมื่อ วันจันทร์ที่ 27 กันยายน 2010 เวลา 08:48 น.
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,569 26-29 กันยายน พ.ศ. 2553


นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกล่าวในงานสัมมนา "การพัฒนาโครงข่ายคมนาคมกับแนวโน้มอสังหาริมทรัพย์" ที่จัดโดยหนังสือพิมพ์"ฐานเศรษฐกิจ"ว่าการพัฒนายุคปัจจุบันนี้ต้องร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน ส่วนในการพัฒนาเมืองนั้นถ้าระบบขนส่งสาธารณะไปไม่ถึงก็จะไม่เกิดประโยชน์ สร้างเมืองใหม่ หรือสร้างถนนแต่ถ้าไม่มีคนไปใช้บริการก็เจ๊งเหมือนกัน

"สิ่งที่เกิดขึ้นในรัฐบาลนี้คือการพัฒนาเมืองและชนบทที่ต้องไปควบคู่กัน วันนี้แอร์พอร์ตลิงค์เปิดให้บริการได้แม้ว่าจะไม่พร้อม 100% จริง ๆ ก็ได้ให้กรมทางหลวงทำถนนเชื่อมโยงให้เกิดประโยชน์ มีคนใช้บริการประมาณ 30,000 คนต่อวัน ถ้าได้ 40,000 คนต่อวันก็สามารถเลี้ยงตัวเองได้ ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง สีน้ำเงินเป็นรูปธรรมแล้ว สายสีแดงการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) ดำเนินการ ในอดีตพบว่ารถไฟสามวันดี เจ็บออด ๆ แอด ๆ แต่เวลานี้เราสามารถผลักดันไปสู่การพัฒนารถไฟความเร็วสูงหรือไฮสปีดเทรน และการรถไฟก็จะพัฒนาระบบรางคู่ให้สามารถวิ่งด้วยความเร็วที่สูงขึ้นเป็นประมาณ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป"

ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นจะทำให้นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มองเห็นอนาคต และวางแผนรองรับได้อย่างถูกต้อง ซึ่งต้องสร้างถนนไปยังที่มีคนอยู่ เวลานี้กรุงเทพมหานคร( กทม.)เป็นอัมพาต เจริญไม่ทันเมืองอื่น การจราจรถ้าไม่แก้ไขจะเหมือนปักกิ่งที่เป็นปัญหากันอยู่ในขณะนี้

ด้านนายประณต สุริยะ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า ภายใน 5 ปีจะสามารถเชื่อมโยงโครงข่ายได้อีก 145 กิโลเมตร ซึ่งสามารถขนส่งผู้โดยสารได้เพิ่มขึ้นอีก 3 ล้านคนต่อวัน จากเดิมประมาณ 6.5 แสนคนต่อวัน จากระบบขนส่งมวลชน 3 เส้นทางปัจจุบันคือรถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดินและแอร์พอร์ตลิงค์ ที่เปิดให้บริการแล้วทำให้ครอบคลุมพื้นที่การจราจรสู่ในเมืองมากขึ้นและผ่อนคลายความแออัดของการขนส่งลงไปได้มาก

"โครงข่ายทั้งหมดคาดว่าจะเริ่มเปิดบริการได้ภายในปี 2558-2559 รถไฟฟ้าสายใหม่ ๆ ที่จะเปิดบริการเพิ่มขึ้น อาทิ

สายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพง-บางแคและบางซื่อ-ท่าพระ ที่อยู่ระหว่างดำเนินการขณะนี้เปิดประมูลเรียบร้อยแล้ว

สายสีม่วงช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ที่กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง
สายสีเขียวส่วนต่อขยายช่วงหมอชิต-สะพานใหม่และช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง

สายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชันที่กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ตลอดจน

สายสีชมพูเพื่อเชื่อมต่อศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ เป็นต้น

จึงน่าจะเพิ่มโครงข่ายได้อีกหลายเส้นทางในอีก 5 ปีข้างหน้า ส่วนแผนระยะยาวนั้นรัฐบาลได้อนุมัติแผนโครงข่ายรถไฟฟ้า 12 เส้นทางไปแล้วโดยถือเป็นแผนแม่บทที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเพิ่มระยะทางอีก 500 กว่ากิโลเมตรเชื่อมโยงทั้งในเมืองและนอกเมือง"
ดร.ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯกทม. กล่าวว่า แนวโน้มการเจริญเติบโตของประเทศไทยจะไม่แตกต่างจากต่างประเทศ ที่เมืองมหานครที่จะขยายตัวที่มีระบบขนส่งมวลชนเข้ามาเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมือง เช่น ดูไบ หรือเซี่ยงไฮ้ ซึ่งกรุงเทพฯ เองก็จะต้องมีทิศทางด้วย ขณะที่ในอดีตเมืองท่า หรือเมืองเศรษฐกิจก็จะเติบโตขึ้นมาพร้อมกับระบบคมนาคมที่มีการค้าขาย และมีระบบเศรษฐกิจตามมา

"ปัจจัยเรื่องของการเติบโตของประชากร และการเข้ามาหางานของแรงงานต่างๆ ในกทม.จะส่งผลให้เกิดความต้องการที่อยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งกรุงเทพฯในอนาคตจะมีระบบรถไฟฟ้าถึง 500 กิโลเมตรตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งขณะนี้เส้นทางประมาณ 100 กิโลเมตรนั้นเป็นไปได้แล้ว เพราะเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่กทม.รับผิดชอบ นั้นก็ยังมองหาโอกาสที่จะเพิ่มเส้นทางในส่วนต่อขยายเพิ่มเติมอีกด้วย" รองผู้ว่าฯกทม.กล่าวและว่า

นอกจากนี้ กทม.ยังจะพิจารณาสร้างระบบคมนาคมรูปแบบอื่นๆ เพิ่มด้วยไม่ว่าจะเป็นไลต์เรล เส้นทางบางนา-สุวรรณภูมิ โมโนเรล และรวมทั้ง การจราจรทางเรือ ซึ่งจะต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงระบบบีอาร์ที สายสยาม-จุฬาฯ ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งระบบบีอาร์ทีอาจจะต้องใช้ระยะเวลาในการปรับปรุงการใช้บริการ เพราะเป็นระบบเสริมที่ดี ใช้เงินลงทุนไม่สูง ขณะที่งบประมาณที่ใช้ในการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนรูปแบบอื่นๆ นั้นจะเน้นผลักดันให้เอกชนสร้างระบบเอง อย่างเช่น โครงการระบบขนส่งโมโนเรล ในโครงการแกรนด์ สแควร์ พระราม 9 เป็นต้น

ด้านดร.อาณัติ อาภาภิรม กรรมการ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส กล่าวว่า หากกทม.มีระบบคมนาคมขนส่งรถไฟฟ้าครบ 500 กิโลเมตร คาดว่าจะใช้งบประมาณการก่อสร้างสูงถึง 1 ล้านล้านบาท ภาพลักษณ์ของเมืองจะเปลี่ยนแปลงไปจากปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง

การเจริญเติบโตของเมืองจะเป็นไปในแนวตั้งและจะกระชับมากขึ้น จากปัจจุบันที่เมืองเจริญในลักษณะแนวนอนเป็นหลัก ซึ่งเห็นได้จากการพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียม ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายปัจจุบัน เช่น

สถานีอารีย์มี 6 โครงการ
สถานีพญาไท มี 5 โครงการ
สถานีราชเทวี 6 โครงการ
สถานีนานา มี 6 โครงการ
สถานีเพลินจิต มี 4 โครงการ
สถานีราชดำริ มี 4 โครงการ
สถานีกรุงธน มี 6 โครงการ
สถานีวงเวียนใหญ่ มี 7 โครงการ

ทำให้เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นสายสีส้ม สีน้ำเงิน และสีแดง ที่จะเกิดขึ้นก็จะมีการพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมเข้ามาในลักษณะเช่นปัจจุบันนี้

ขณะที่นายธำรง ปัญญาสกุลวงศ์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวว่า การที่ระบบรถไฟฟ้าเกิดขึ้นผู้ที่ได้รับประโยชน์จริงๆ คือ ผู้ประกอบการคอนโดมิเนียม เพราะในรอบ 31 ปีที่มีการพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียม พบว่ายุคปัจจุบันเป็นยุคที่ขายโครงการได้ดีที่สุด ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมามีโครงการคอนโดฯ มากถึง 1.5 แสนยูนิต โดยเฉพาะตามแนวเส้นรถไฟฟ้ามีถึง 50% แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนกทม. เปลี่ยนไปอย่างแท้จริง

"คอนโดฯ ที่อยู่ในแนวรถไฟฟ้า แทบจะการันตีล่วงหน้าได้เลยว่าถ้าพัฒนาออกมาต้องประสบความสำเร็จ ไม่มีโครงการไหนทำแล้วเจ๊ง ปัจจุบันที่ดินที่จะนำมาพัฒนาก็หาได้ยาก ต้องเสาะหาที่ดินในซอยตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้ามาพัฒนาแทน เช่นย่านรัชดาภิเษกมีโครงการนับร้อยโครงการที่อยู่ในซอยย่อยต่างๆ ทำให้เห็นว่าคอนโดฯ ที่เกิดขึ้นในรอบหลายปีมานี้มีจำนวนมาก

โดยในปี 2550 กรุงเทพฯและปริมณฑลมีคอนโดฯ 21.9%
ปี 2551 มี 38.3% และ
ปี 2552 มี 51%

เพียงแค่ 2 ปีสัดส่วนของคอนโดฯ มีเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ทำให้คอนโดฯ เป็นพระเอกตัวจริงในปัจจุบันและสัดส่วนน่าจะถึง 55% " นายธำรงค์ กล่าวและว่า

ส่วนบ้านเดี่ยวในปี 2550 มีสัดส่วน 51%
ปี 2551 มี 44%
ส่วนปี 2552 มีเหลือ 32%

โดยคอนโดฯ ระดับราคาต่ำกว่า 50,000 บาทต่อตารางเมตรยังคงขายดี ถ้าระดับราคา 50,000-80,000 บาทต่อตารางเมตรยังสามารถขายได้ แต่ต้องมีโลเกชันที่ดี ส่วนราคา 80,000 -1 แสนบาทต่อตารางเมตร เริ่มกลับมาขายได้ดีอีกครั้งหลังชะลอตัวไประยะหนึ่ง สำหรับราคาที่ดินก็ปรับตัวขึ้นตลอดเวลา ในโซนอ่อนนุช-แบริ่งหลายปีที่ผ่านมาก็ปรับเพิ่มขึ้นอย่างมาก ที่ดินบางแปลงราคา 1 แสนบาทต่อตารางวาได้ปรับเพิ่มขึ้นมาเป็น 4 แสนบาทต่อตารางวาก็มีให้เห็นแล้ว ถือว่าเป็นอานิสงส์จากระบบโรงข่ายรถไฟฟ้านั่นเอง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44053
Location: NECTEC

PostPosted: 04/10/2010 2:59 am    Post subject: Reply with quote

รบ.เร่งขยายโครงข่ายรถไฟฟ้า สนข.คาด 5 ปีเพิ่มเส้นทางได้ 145 ก.ม

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 ตุลาคม 2553 22:10 น.

สนข.ตั้งเป้า 5 ปีขยายรถไฟฟ้าอีก 145 ก.ม. เชื่อมโครงข่ายได้ครอบคลุมทั่วถึงมากยิ่งขึ้น หลังรัฐบาลไฟเขียวแผนแม่บทเพิ่มรถไฟฟ้า 12 เส้นทาง ความยาว 500 ก.ม. พร้อมแจงความคืบหน้าสายสีเขียว แดง ชมพู และน้ำเงิน คาดเสร็จแผนแล้วขนส่งคนได้วันละ 3 ล้านคน

นายประณต สุริยะ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงกรณีที่รัฐบาลอนุมัติแผนแม่บทระยะยาว เพิ่มโครงข่ายรถไฟฟ้าอีก 12 เส้นทาง ระยะทางกว่า 500 กิโลเมตร โดยระบุว่า ภายในระยะ 5 ปีจากนี้ จะสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายรถไฟฟ้าได้เพิ่มอีก 145 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่จราจรมากขึ้น และลดความแออัดลง

โดยขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าหลายสาย เช่น สายสีเขียวส่วนต่อขยาย หมอชิต-สะพานใหม่ และอ่อนนุช-แบริ่ง สายสีแดง บางซื่อ-ตลิ่งชัน สายสีชมพู เชื่อมต่อศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ และล่าสุดสายสีน้ำเงิน หัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ ที่เปิดประมูลแล้ว โดยหลังจากการก่อสร้างแล้วเสร็จจะสามารถขนส่งผู้โดยสารได้เพิ่มอีก 3 ล้านคนต่อวัน จากระบบขนส่งมวลชนเดิม ที่ให้บริการได้ประมาณ 6.5 แสนคนต่อวัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44053
Location: NECTEC

PostPosted: 05/10/2010 12:17 pm    Post subject: Reply with quote

เกาะติดรถไฟฟ้าสายสีแดง-ม่วง-น้ำเงิน ไม่พลิก
โดย...โชคชัย สีนิลแท้
ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
Thursday, 30 September 2010 08:11

การก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่หรือโครงการรถไฟและรถไฟฟ้าต่างๆ ในเขต กทม.และปริมณฑล ได้เริ่มเดินหน้างานก่อสร้างไปแล้วและยังมีอีกหลายเส้นทางที่จ่อคิวหาผู้รับเหมาก่อสร้าง แม้บางโครงการจะดูล่าช้าไม่เป็นไปตามแผนงานอยู่บ้าง แต่สำหรับ 3 สายที่มีความคืบหน้าเป็นรูปธรรมก็น่าจะทำให้คนกทม.และปริมณฑลใจชื้นขึ้นมาได้บ้าง
โครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชน 3 เส้นทางที่ว่านั้น ได้แก่
โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทั้งสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ
รถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ที่ได้ผู้รับเหมาเข้าพื้นที่ก่อสร้างแล้ว
ส่วนสายรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ อยู่ระหว่างดำเนินการเรียกผู้รับเหมาก่อสร้างมาเซ็นสัญญา หากไม่มีอะไรทำให้ผิดแผนจะสามารถลงนามจ้างได้ในเดือน ต.ค.ปีนี้

บางซื่อ-ตลิ่งชัน ก่อสร้างคืบ 40%
การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ว่าจ้างกิจการร่วมค้า Unique-Chun Wo Joint Venture เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ในวงเงิน8,748 ล้านบาท ตั้งแต่ 12 ธ.ค. 2551 โดยเริ่มปฏิบัติงานตามสัญญา เมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2552 มีกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาทีม คอนซัลติง เอนจิเนียริงแอนด์ แมนเนจเมนต์ เป็นผู้ควบคุมงานก่อสร้าง

ขณะที่งานรื้อย้ายผู้บุกรุกและผู้ที่มีสัญญาเช่าในพื้นที่โครงการ จำนวน 3,304 หลัง ได้นำเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยโดยศาลยุติธรรม จำนวน3,300 หลัง ได้ข้อตกลงยอมความกันอย่างชัดเจนแล้วจำนวน 2,800 หลัง โดยรื้อย้ายไปแล้วจำนวน2,760 หลัง ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างการพิจารณาไกล่เกลี่ยโดยศาล ส่วนงานก่อสร้างมีผลคืบหน้าเกือบ 40%

นอกจากนี้ การรถไฟฯ ได้ว่าจ้างบริษัททีม คอนซัลติง เอนจิเนียริงฯ ให้ทำการศึกษาความเหมาะสม ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และออกแบบรายละเอียดการก่อสร้างสถานีรถไฟบางกรวยกฟผ. บริเวณเชิงสะพานพระราม 6 ฝั่งธนบุรี ในวงเงิน 17.8 ล้านบาท เมื่อวันที่ 15 ก.ค. 2553 ตามที่ กฟผ. และสำนักงานเทศบาลเมืองบางกรวยขอมา โดยบริษัทที่ปรึกษาได้เริ่มงานเมื่อวันที่ 22 ก.ค. 2553 ระยะเวลาดำเนินการ180 วัน

ส่วนสายสีแดงในเส้นทางบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26 กิโลเมตร ได้ปิดขายเอกสารประกวดราคาสัญญาที่ 1 คืองานก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อและอาคารซ่อมบำรุง และสัญญาที่ 2 งานโยธาช่วงบางซื่อ-รังสิต วงเงินรวมประมาณ 4.5 หมื่นล้านบาทแล้ว รอให้บริษัทรับเหมาก่อสร้างขอเสนอราคา ในวันที่ 1-2 ธ.ค.นี้

บางซื่อ-บางใหญ่เปิดใช้ปี 2557
ในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางซื่อบางใหญ่ ระยะทาง 23 กิโลเมตร ได้เริ่มก่อสร้างตั้งแต่เดือน ก.พ.ปีนี้ เป็นโครงการก่อสร้างยกระดับทั้งหมดประกอบด้วย 16 สถานี ได้แก่
เตาปูน
บางซ่อน
วงศ์สว่าง
แยกติวานนท์
กระทรวงสาธารณสุข
ศูนย์ราชการนนทบุรี
ศรีพรสวรรค์
แยกนนทบุรี 1
สะพานพระนั่งเกล้า
ไทรม้า
ท่าอิฐ
บางรักใหญ่
บางพลู
สามแยกบางใหญ่
ตลาดบางใหญ่
คลองบางไผ่

ซึ่งหากเป็นไปตามแผนใหม่คาดว่าจะก่อสร้างเสร็จพร้อมเปิดใช้บริการในปี 2557

ขณะที่ความคืบหน้าการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินตามแนวรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่รฟม.ได้จ่ายค่าชดเชยให้กับเจ้าของพื้นที่ไปแล้ว86% ส่วนที่เหลืออีก 14% อยู่ระหว่างเรียกมาตกลงเรื่องผลตอบแทน ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้

รถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างไปแล้วหลายส่วนโดยเฉพาะในส่วนฐานราก ซึ่งเมื่อแล้วเสร็จการก่อสร้างในปี2557 จะสามารถเพิ่มผู้โดยสารเข้าระบบได้อีกวันละ 1 แสนคน สำหรับการป้อนให้กับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-บางซื่อ) หรือรถไฟใต้ดิน ที่ รฟม.เป็นเจ้าของโครงการ โดยบริษัทรถไฟฟ้ากรุงเทพฯ เป็นผู้บริหารจัดการเดินรถนั้น ที่ขณะนี้มียอดผู้โดยสารใช้บริการเฉลี่ยวันละ 1.9 แสนคน และมีอัตราการเติบโตของปริมาณผู้โดยสารเฉลี่ยปีละ 2-3%

ทั้งนี้ รถไฟฟ้าสายสีม่วงถือเป็นรถไฟฟ้าที่ถูกบรรดาผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ใช้เป็นเครื่องมือในการขายโครงการมากที่สุดสายหนึ่งในขณะนี้ เพราะโครงการก่อสร้างมีความเป็นรูปธรรม ทำให้ในช่วงเวลาที่ผ่านมาราคาที่ดินขยับขึ้นอย่างก้าวกระโดด และทางหากโครงการดังกล่าวเสร็จตามแผนจริง จะทำให้ที่อยู่อาศัยในชานเมืองฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือบูมขึ้นมาอีกครั้งอย่างแน่นอน

สายสีน้ำเงินได้ผู้รับเหมาครบ

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินมีโครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายทั้งเส้นทางใต้ดินและยกระดับจากปลายทางด้านทิศเหนือ(สถานีบางซื่อ) ไปยังถนนจรัญสนิทวงศ์และแยกท่าพระ และจากปลายทางด้านทิศใต้ (สถานีหัวลำโพง) ไปยังท่าพระและบางแค ซึ่งทั้งสองเส้นทางจะเชื่อมต่อกันที่สถานีท่าพระ เกิดเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าวงแหวนในอนาคต
ทั้ง 5 สัญญาที่ได้เปิดซองราคาและเจรจาต่อรองเรียบร้อยแล้ว โดย

ผู้รับเหมาสัญญาที่ คือ 1 บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์
สัญญาที่ 2 คือ บริษัท ช.การช่าง
ส่วนสัญญาที่ 3 คือ กลุ่มSH-UN Joint Venture (Sinohydro และบริษัทยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น)
สัญญาที่4 คือ บริษัท ซิโน-ไทยฯ ชนะประมูล และ
สัญญาที่ 5 คือ บริษัท ช.การช่าง

ทั้งนี้ จะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)พิจารณาอนุมัติและคาดว่าจะเซ็นสัญญาก่อสร้างกับผู้รับเหมาได้ภายในเดือน ต.ค. โดยจะเริ่มก่อสร้างได้หลังวันเซ็นสัญญา 1-2 เดือนหรือประมาณต้นปีหน้า

ส่วนความคืบหน้าการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินตามแนวโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพงบางแค และบางซื่อ-ท่าพระ ปัจจุบันอยู่ระหว่างขอรับมอบพื้นที่จากกรมทางหลวงและกรุงเทพมหานคร เพื่อใช้ในการก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงและสถานี โดยมีโครงการอสังหาริมทรัพย์ตามแนวสายทาง แบ่งเป็นที่ดิน 899 แปลง สิ่งปลูกสร้าง 513 หลัง โดยผลการดำเนินการ ณ สิ้นเดือน ส.ค. 2553 รฟม.ได้กำหนดราคาเบื้องต้น 28 แปลง หรือคืบหน้า 9%

ทั้งนี้ ปัญหาที่พบในการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้นเนื่องจากที่ผ่านมามีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (สก.) และสมาชิกสภาเขต (สข.)ใหม่ ดังนั้นต้องรอคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รับรองผลการเลือกตั้งและส่งรายชื่อตัวแทนของ สก.และ สข.ที่ได้รับการคัดเลือกมายัง รฟม. ถึงจะเริ่มดำเนินการกำหนดราคาต่อไป โดยงบประมาณที่ใช้ในการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้นอยู่ที่ 5,900 ล้านบาท

รอคิวสร้างอีกหลายเส้นทาง
ส่วนความคืบหน้ารถไฟฟ้าในเส้นทางอื่นก็ยังอยู่ในกระบวนการปรับแบบก่อสร้างให้สอดคล้องกับปัจจุบัน เช่น รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม หมอชิตสะพานใหม่ อยู่ระหว่างรอสรุปการออกแบบรายละเอียดโดยได้ปรับแผนการก่อสร้างด้วยการปรับพื้นที่ก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงและพื้นที่จอดรถไฟฟ้า (Depot) ไปไว้ที่บริเวณย่านคูคตแทนหลังจากนี้จะเริ่มขั้นตอนการประกวดราคาหาผู้ก่อสร้าง เช่นเดียวกับช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการซึ่งคาดว่าจะเปิดขายซองประกวดราคาได้ในปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า

ส่วนโครงการต่อขยายรถไฟฟ้าบีทีเอส ทั้งสายสุขุมวิท ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง ระยะทาง 5.25 กิโลเมตร ที่มีผู้รับเหมาร้องเรียนถึงความไม่โปร่งใสในการประมูลติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณส่งผลให้ต้องปรับแผนการเปิดการดำเนินการและเปิดให้บริการใหม่ อย่างช่วงอ่อนนุช-แบริ่งจากเดิมกำหนดเปิดใช้วันที่ 15 พ.ค. 2554 ก็ต้องเลื่อนไปอย่างน้อย 3 เดือน เป็นวันที่ 12 ส.ค.2554 แทน

ขณะที่ส่วนต่อขยายสายสีลมไปบางหว้าระยะทาง 5.3 กิโลเมตร ติดการหาแหล่งเงินมาก่อสร้างงานโยธาส่วนต่อขยายสาย วงเงิน 5,915 ล้านบาท โดยที่ยังเหลืองานโครงสร้าง 800 เมตรและต้องก่อสร้างสถานีอีก 4 สถานี คือ
สถานีโพธิ์นิมิตร
สถานีรัชดาราชพฤกษ์
สถานีวุฒากาศ และ
สถานีบางหว้านั้น
อาจต้องเลื่อนการเปิดให้บริการเป็นปลายปี 2555 แทน จากเดิมกำหนดไว้วันที่ 5 ธ.ค. 2554

รถไฟฟ้าสายสีชมพู (ปากเกร็ด-แจ้งวัฒนะมีนบุรี) ทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้สรุปผลการศึกษาในการก่อสร้างโครงการให้ รฟม.แล้ว โดยได้กำหนดรายละเอียดการก่อสร้างแบบรางเดี่ยว หรือโมโนเรลเนื่องจากมีข้อดีคือ สามารถก่อสร้างโครงการเสร็จได้อย่างรวดเร็วและใช้งบประมาณการก่อสร้างไม่มาก

ขณะนี้อยู่ระหว่างการยกร่างเงื่อนไขการประกวดราคาโครงการต่อจากนั้นจะใช้เวลาอีก 3-4 เดือนสำหรับการออกแบบรายละเอียดศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ก่อนเสนอให้ ครม.พิจารณาอนุมัติวงเงินก่อสร้างต่อไป โดยโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูนี้ รฟม.ยังตั้งเป้าหมายให้โครงการก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2557

กทม.เตรียมผุดโมโนเรล 2 สาย
ขณะที่กรุงเทพมหานครได้เตรียมแผนพัฒนาระบบโครงข่ายขนส่งมวลชนของ กทม.มูลค่า 3 หมื่นล้านบาท โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น2 ระยะ อาทิ

โครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนขนาดรอง หรือโมโนเรลเส้นทางจุฬาฯ-สยาม วงเงิน 3,000 ล้านบาท
เส้นทางบางนา-สุวรรณภูมิวงเงิน 5,000 ล้านบาท
เส้นทางยมราชถนนเพชรบุรี-ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ดินแดงวงเงิน 5,000 ล้านบาท

ส่วนแผนระยะที่ 2 เส้นทางรัชดาฯ ลาดพร้าวหมอชิต 2 สวนจตุจักร วงเงิน 1,500 ล้านบาท

เส้นทางกรุงธนบุรี-ถนนเจริญนคร-สุขสวัสดิ์วงเงิน 1,500 ล้านบาท
เส้นทางถนนกรุงธนบุรีถนนสมเด็จเจ้าพระยา วงเงิน 1,000 ล้านบาทและ
ถนนสุขสวัสดิ์-ถนนประชาอุทิศทุ่งครุ วงเงิน1,100 ล้านบาท

โครงการที่ กทม.ได้ประกาศความพร้อมในการก่อสร้างไปแล้ว คือ โมโนโรลสายจุฬาฯ-สยาม หรือจากแยกสามย่านถึงสยามสแควร์ระยะทาง 1.5 กิโลเมตร ที่คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปลายปีหน้าและเสร็จในปลายปี 2555

ส่วนอีกโครงการที่ได้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 2 โครงการศึกษาโมโนเรล สายมหาวิทยาลัยรามคำแหง-ซอยทองหล่อ มูลค่าโครงการ 1,050 ล้านบาท เริ่มจากสนามกีฬาราชมังคลากีฬาสถานวิ่งตามถนนรามคำแหง 24 เลี้ยวซ้ายเข้าถนนถาวรธวัช เลี้ยวขวาเข้าคลองกะจะ เลี้ยวขวาเข้าถนนพระราม 9 จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าถนนเพชรพระราม เลี้ยวขวาเข้าถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าซอยทองหล่อ ไปสิ้นสุดที่บริเวณปากซอยทองหล่อ4 มีทั้งหมด 9 สถานี คือ

สถานีมหาวิทยาลัยรามคำแหง
ราชมังคลากีฬาสถาน
ถาวรธวัช
แยกรามคำแหง
เพชรพระราม
ประเสริฐมนูกิจ
ทองหล่อ 20
ทองหล่อ 10 และ
สถานีทองหล่อ ใกล้กับรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีทองหล่อ

รองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 6,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง และได้เสนออัตราค่าโดยสารไว้ที่ 20 บาทตลอดสาย


โครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่ 2 ต่อจากโครงการโมโนเรลสายสยาม-จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ กทม.จะลงทุนระยะทาง 11 กิโลเมตร

นอกจากนี้ สำนักการจราจรและขนส่งได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาศึกษาโครงการโมโนเรลอีก 2 สาย คือ รถโมโนเรล สายศาลาว่าการกทม. (ดินแดง) ถนนเพชรบุรี-หลานหลวง และสายบางนาสุวรรณภูมิ คาดว่าผลการศึกษาจะแล้วเสร็จช่วงกลางปี 2554

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นใครที่เฝ้ารอซื้อบ้านตามแนวรถไฟฟ้าและส่วนต่อขยายเส้นทางต่างๆ ชั่วโมงนี้หลายๆ เส้นทางก็ยังถือว่ามีความเสี่ยง ตราบใดที่โครงการยังไม่ได้เซ็นสัญญาและลงมือก่อสร้างก็อย่าเพิ่งมั่นใจว่าโครงการจะเดินหน้าได้ตามแผนที่วางไว้ 100%
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44053
Location: NECTEC

PostPosted: 15/10/2010 12:07 am    Post subject: Reply with quote

จี้ร.ฟ.ท.เร่งประมูลงบ1.7แสนล.

โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 14 ตุลาคม 2553 21:53 น.
จี้ ร.ฟ.ท. เร่งประมูลงบ 1.7 แสนล. วางตารางรถไฟฟ้า เขียว,ชมพู,ส้ม เริ่มปี 54

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 14 ตุลาคม 2553 22:48 น.

ASTVผู้จัดการรายวัน-“คมนาคม”ไล่หวดเมกะโปรเจ็กต์ หนักใจร.ฟ.ท. แผนลงทุน1.7 แสนล้านบาทไม่คืบ สั่งเริ่มประมูลภายใน 4 เดือน วางตารางประมูลรถไฟฟ้าสีเขียว,ชมพู,ส้ม เริ่มได้ในปี 54 เตรียมชงครม.ยืนยันลงทุนปากบาราเป็นท่าเรือน้ำลึก พร้อมประสานกระทรวงทรัพย์ขอใช้พื้นที่อุทยาน และเดินหน้ารับฟังความเห็นประชาชนใน 1 ปี “สุพจน์”สั่งทุกหน่วยทำทีโออาร์ประมูลงบปี 54 และ55 เป็นตัวชี้วัดเบิกจ่ายงบ

นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคมเปิดเผยภายหลังประชุมหัวหน้าหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงคมนาคมวานนี้ (14 ต.ค.) ว่า ได้ติดตามเร่งรัดการดำเนินงานโครงการขนาดใหญ่ของทุกหน่วยงาน โดยพบว่า การดำเนินงานตามแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) วงเงิน 176,808 ล้านบาท น่าเป็นห่วง ในขณะที่รัฐบาลมีความพร้อมในการจัดงบประมาณให้แล้ว

ดังนั้นจึงเร่งรัดร.ฟ.ท.ให้เริ่มประมูลจัดซื้อจัดหาต่างในแต่ละโครงการภายใน 4 เดือนนี้ โดยระยะแรกภายในปี 2554 จะเริ่มประมูล 11 โครงการที่เกี่ยวกับความปลอดภัยวงเงิน 87,529 ล้านบาทได้

ส่วนระยะที่ 2 อีก 10 โครงการ วงเงิน 89,279 ล้านบาท เช่นรถไฟทางคู่และจัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้า จะเริ่มประมูลได้ในปลายปี 2554

ส่วนการปรับระบบการบริหารจัดการ ร.ฟ.ท.โดยจัดตั้ง 3 หน่วยธุรกิจ (Business Unit : BU ) ประกอบด้วย หน่วยเดินรถ, หน่วยซ่อมบำรุงและ หน่วยบริหารทรัพย์สิน และการแยกบัญชีการบริหารได้เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2553 แล้ว ซึ่งจะเรียกนายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.มาขี้แจงอีกครั้ง โดยเฉพาะการกระจายงานก่อสร้างจากฝ่ายโยธาให้ฝ่ายก่อสร้างเพื่อลดภาระและทำให้เสร็จตามแผน

สำหรับการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน มีความคืบหน้า 40% ช้ากว่าแผน 10%
ช่วงบางซื่อ-รังสิต จะให้ยื่นซองประกวดราคาก่อสร้างงานโยธา สัญญาที่ 1 และ 2 วงเงินรวม 45,000 ล้านบาท วันที่ 1และ2 ธ.ค.53
ส่วนสัญญาที่ 3 (งานระบบไฟฟ้าและอาณัติสัญญาณ)วงเงิน 20,000 ล้านบาท ยื่นซองวันที่ 17 ม.ค.54

ส่วนรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ และแบริ่ง-สมุทรปราการ ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) นั้น คาดว่าจะประมูลได้ในเดือนม.ค. 2554 ส่วนสายสีชมพู (ปากเกร็ด-แจ้งวัฒนะ-มีนบุรี) อยู่ระหว่างจ้างที่ปรึกษาจัดทำเอกสารประมูลและปรับปรุงแบบและเปิดประมูลเม.ย. 2554 ส่วนสายสีส้ม (มีนบุรี-บางกะปิ) จะเริ่มก่อสร้างส่วนอุโมงค์จากบางกะปิ-ศูนย์วัฒนธรรม ได้ในปี 54 ด้วยวิธีเทรินคีย์ สายสีม่วง ส่วนต่อขยาย (เตาปูน-เจริญนคร) จะก่อสร้างช่วงเตาปูน-รัฐสภาใหม่-วังบูรพา ในปลายปี 54
***ชงครม.ยันลงทุนปากบาราเป็นท่าเรือน้ำลึก
พร้อมกันนี้ ได้ติดตามความคืบหน้าโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา ปากบารา จังหวัดสตูล วงเงินค่าก่อสร้าง 9,741.130 ล้านบาท ของกรมเจ้าท่า โดยกระทรวงคมนาคมจะสรุปเรื่องเสนอคระรัฐมนตรีภายในเดือนพ.ย.นี้ เพื่อยืนยันการก่อสร้างท่าเรือปากบาราเป็นท่าเรือน้ำลึกตามเดิมไม่ใช่ท่าเรืออเนกประสงค์
ซึ่งกรมเจ้าท่าจะเริ่มจัดประชุมเพื่อรับฟังความเห็นของประชาชนในพื้นที่ ระยะเวลา 1ปี โดยว่าจ้างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วงเงิน 14 ล้านบาทรวมถึงศึกษาการเชื่อมโยงระบบขนส่งเพื่อเชื่อมโยงท่าเรือปากบาราและท่าเรือสงขลาแห่งที่ 2 และประสานกระทรวงพลังงานกรณีวางท่อเชื่อมระหว่าง 2 ท่าเรือ
และประสายกรมโยธาธิการและผังเมืองเพื่อจัดทำผังเมืองการใช้ประโยชน์พื้นที่หลังท่าเพื่อกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวกับท่าเรือ โดยยืนยันจะไม่มีพื้นที่สำหรนับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีแน่นอน
นายสุพจน์กล่าวว่า ได้ให้กรมเจ้าท่าเร่งทำความเข้าใจกับ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกรณีการใช้พื้นที่ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา จำนวน 4,734 ไร่ 62 ตาราวา ในการก่อสร้างท่าเรือ หลังจากที่ นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.กระทรวงทรัพย์ฯ สั่งระงับหลังเกิดกรณี ถนนธนะรัชต์เขาใหญ่
อย่างไรก็ตาม นายสุพจน์กล่าวว่า ได้เร่งรัดให้ทุกหน่วยงานเตรียมความพร้อมในการใช้จ่ายงบประมาณปี 2554 โดยให้ทุกหน่วยงานจัดส่งทีโออาร์งานที่จะมีการเปิดประมูล จัดซื้อจัดจ้าง ให้กระทรวงภายในสิ้นเดือนพ.ย. 2553 หากหน่วยงานใดไม่จัดส่งจะถือว่าเป็นความบกพร่องของหัวหน้าหน่วยงานนั้นๆ ทั้งนี้เพื่อเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณ 2554 หลังจากที่การใช้จ่ายงบปี 2553 ของกระทรวงอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ส่วนงบประมาณปี 2555 ให้แต่ละหน่วยงานจัดทำทีโออาร์การประมูลจัดซื้อจัดจ้างแนบมาในการเสนอของบปี 2554 ด้วย โดยให้เวลาหลังจากนี้ 3 เดือน โดยหน่วยงานใดมีความพร้อมก็จะได้รับงบประมาณมากกว่าหน่วยงานที่ไม่พร้อม
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44053
Location: NECTEC

PostPosted: 18/10/2010 10:31 am    Post subject: Reply with quote

กทม.ไม่สนเสียงค้าน!ลุยโมโนเรลเฟส1

ออนไลเมื่อ วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม 2010 เวลา 10:53 น.
โย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ อสังหา
น้า Real Estate - อสังหาฯ-คมนาคม
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,575 17-20 ตุลาคม พ.ศ. 2553

หลังคณาจารย์และนิสิตรั้ว"จามจุรี"จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยบางกลุ่ม ออกมาค้านสุดโต่ง! โครงการก่อสร้าง รถไฟฟ้าร่างเดี่ยว (โมโนเรล ) สายแรกของกรุงเทพมหานคร (กทม.) และสายแรกของประเทศไทย เฟส1 โมโนเรล ระยะทาง สายสั้นๆเพียง 1.5กิโลเมตรช่วง " จุฬาฯ-สยาม" (สยามสแควร์-จามจุรีสแควร์) โดยพวกเขาให้เหตุผลว่า หากสร้างแล้วจะบดบังทัศนียภาพ บริเวณหน้ามหาวิทยาลัย หากจะดำเนินการจริงอยากให้ทำมุดลงใต้ดิน หรือ ไม่ก็ให้ลงมือทำเฟสที่ 3 อังรีดูนังต์ก่อนน่าจะเหมาะสมกว่า
ต่อเรื่องนี้ ดร.ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯกทม. ออกมาตอกย้ำว่า เดินหน้าลุยแน่ สำหรับเฟสแรก และต้องเป็นโมโนเรลรูปแบบ"ลอยฟ้า"เท่านั้น และยืนยันว่าไม่บดบังทัศนียภาพแต่อย่างใด

เนื่องจากการออกแบบรายละเอียดจะต้องดูความเหมาะสมของแต่ละสถานี และ เน้นความสวยงาม ที่สำคัญ ช่วงนี้มีความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อเชื่อมต่อ กับรถไฟฟ้าใต้ดินเอ็มอาร์ที ที่สถานีสามย่าน และรถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีสยามและสนามกีฬาแห่งชาติ โดยจะช่วยให้ ผู้โดยสารหรือ บรรดาขาช็อปไม่ต้องเดินไกล ยาวเป็น"กิโล"ๆ เพื่อ ต่อเชื่อม เพื่อใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส ที่สถานีสยามและ รถไฟฟ้าใต้ดินเอ็มอาร์ที ที่สถานีสามย่าน โดยสามารถใช้โมโนเรล เดินทางเชื่อมถึงกันได้อย่างรวดเร็วและช่วยไม่ให้การจราจรติดขัดอีกด้วย
ส่วนงบประมาณลงทุนก็ไม่มาก วงเงินเพียง กว่า 2,000 ล้านบาท เท่านั้น และถือว่าคุ้มค่าที่จะมีผู้โดยสารใช้บริการ เกือบ10,000รายต่อวัน ซึ่งประกอบด้วย 3 สถานี ได้แก่สถานีสามย่าน สถานีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถานีปลายทางสถานีสยาม ผ่านย่านใจกลางแหล่งช็อปปิ้งสำคัญๆ อาทิ สยามสแควร์ สยามพารากอน สยามดิสคัฟเวอรี่ มาบุญครองฯลฯ
"โมโนเรล"สายนี้ จะเป็นรูปแบบลอยฟ้า ระยะทางสั้นๆ เหมือน รถไฟฟ้า บีทีเอส แต่จะช่วยขนผู้โดยสาร ป้อนให้รถไฟฟ้าสายหลักทั้งสองสายได้ เป็นอย่างดี สะดวกต่อการเดินทางและอยู่ในย่านสำคัญที่มีคนเข้าใช้พื้นที่จำนวนมากๆ "
โดยจะเร่งรัดเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) เห็นชอบให้ดำเนินโครงการ เร็วๆนี้ ภายใต้โครงการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรด้วยระบบขนส่งมวลชนตามแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดย โมโนเรล สยามสแควร์ -จามจุรีสแควร์ จะผลักดันให้เกิดขึ้นเป็นรูปเป็นร่างภายใน 2 ปีนี้ หรือกำหนดวางศิลาฤกษ์ในเดือนธันวาคม 2554 และก่อสร้างพร้อมเปิดให้บริการในเดือนธันวาคม 2555

ส่วน"เดโป" ศูนย์ซ่อมและบำรุง ซึ่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ให้พื้นที่บริเวณสามย่าน กทม. รวมถึงจัดสรรพื้นที่พัฒนาศูนย์ราชการ ปทุมวัน จำนวน 2 แปลง เนื้อที่ประมาณ 15 ไร่ ย่านสามย่าน บริเวณจามจุรีสแควร์ให้กทม.เข้าดำเนินการ 3 โครงการ ประกอบด้วย โครงการก่อสร้างโรงจอดและอู่ซ่อมบำรุง หรือเดโป โครงการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้ามวลชนรางเดี่ยว หรือ โมโนเรล เส้นทางสยาม-สามย่าน(จามจุรีสแควร์) จำนวน 5ไร่ โครงการก่อสร้างศูนย์ราชการ 5ไร่ และโครงการก่อสร้างสวนสาธารณะอีก 5ไร่ ทั้งนี้ โครงการศูนย์ราชการ จะเป็นโครงการก่อสร้างอาคารสำนักงานแห่งใหม่ แทนพื้นที่เดิม ที่หมดสัญญากับทางจุฬา ฯไปนานแล้ว อีกทั้งบริเวณดังกล่าวมีพื้นที่เล็กเกินไป โดยสำนักงานเขตปทุมวันแห่งใหม่ จะเป็นอาคารสูงชั้นล่างจะเป็นที่จอดรถดับเพลิงของสถานีดับเพลิงบรรทัดทอง ส่วนอาคารชั้นอื่นๆ นอกเหนือจากนี้จะเปิดพื้นที่ให้เอกชนเช่าพื้นที่เพื่อสร้างรายได้ให้กับกทม. ส่วนเฟสที่ 2 เส้นบรรทัดทองและเฟส 3 เส้นทางอังรีดูนังต์ ทยอยลงทุนในปีถัดๆไป
ขณะที่ รศ.มานพ พงศทัต อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาเคหะการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สะท้อนมุมมองว่า เห็นด้วยกับกทม.เพราะจะช่วยแก้ปัญหาจราจรและช่วยระบายผู้โดยสารได้ในปริมาณมาก โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินเป็นระยะทาง 1.5กิโลเมตรเพื่อต่อเชื่อมรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้าใต้ดินเอ็มอาร์ที
ส่วนการบดบังทัศนียภาพบริเวณหน้าจุฬาฯ

ที่ นิสิตและอาจารย์บางกลุ่มออกมาคัดค้าน นั้นมองว่าไม่น่ากระทบ และอยากให้เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่า แค่ หน้าตาของคนจุฬาฯเพราะ ย่านนั้นจะมี ประชาชน จำนวนมากอยู่อาศัย รวมทั้งผู้บริโภคที่เดินทางมาจับจ่ายซื้อสินค้า ซึ่งควรที่จะมีโครงข่ายเชื่อมต่อที่เหมาะสมต่อไป

แน่นอนว่า กทม.ปักธงแน่จะเดินหน้าสร้างโมโนเรลเฟสแรก ช่วง"จุฬาฯ-สามย่าน" ปี 2554 และกำหนดเปิดให้บริการ ปี 2555แน่ โดยไม่สนเสียงค้านแต่อย่างใด!
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44053
Location: NECTEC

PostPosted: 29/10/2010 11:32 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.ทุ่ม35ล.จ้างที่ปรึกษาทำสายสีชมพู
เดลินิวส์ วันศุกร์ ที่ 29 ตุลาคม 2553 เวลา 8:21 น

รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งว่า รฟม.ประกาศเชิญชวนที่ปรึกษายื่นข้อเสนอเป็นที่ปรึกษาศึกษาทบทวนความเหมาะสม ปรับปรุงแบบ และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี โดยวิธีการคัดเลือก งบประมาณ 35 ล้านบาท ตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล โดยมีขอบเขตงาน คือ ศึกษาทบทวนความเหมาะสม งานจัดทำเอกสารประกวดราคางานก่อสร้าง งานศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการลงทุน โดยเอกชนที่มายื่นข้อเสนอต้องมีประสบการณ์ทำงานเกี่ยวข้องกับระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ผู้ที่สนใจสามารถ รับเอกสารประกวดราคาได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 10 พ.ย.นี้ กำหนดยื่นเอกสารประกวดราคาวันที่ 15 ธ.ค. 53 คาดว่าจะได้ตัวที่ ปรึกษาประมาณเดือน ก.พ.ปีหน้า ใช้เวลาศึกษา 6 เดือน

โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 36 กม. มีจุดเริ่มต้นที่สี่แยกแคลาย ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ไปตามถนนติวานนท์ เข้าถนนแจ้งวัฒนะตลอดแนวไปจนถึงถนนรามอินทรา สิ้นสุดที่มีนบุรี ผลการศึกษาเบื้องต้นเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว หรือโมโนเรล รองรับปัญหาการจราจรหลังจากเปิดใช้ศูนย์ราชการ ถนนแจ้งวัฒนะ.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44053
Location: NECTEC

PostPosted: 08/11/2010 2:45 pm    Post subject: Reply with quote

ระบบค่าโดยสารร่วมเมื่อมีการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้า
ข่าวคมนาคม-ลอจิสติกส์
สยามธุรกิจ ฉบับที่ 1149
ประจำวันที่ 6-9 พฤศจิกายน 2553

ตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลแล้ว จะเป็นผลให้โครงข่ายรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจากเดิม 3 สายทาง ในปัจจุบัน เป็น 12 สายทาง ครอบ คลุมพื้นที่ให้บริการ 525 ตร.กม. ให้บริการผู้โดยสารได้ถึง 4 ล้านคน/วัน อีกด้านหนึ่งจะต้องมีการพัฒนาการบริหารจัดการเพื่ออำนวยความสะดวกการเดินทางควบคู่ไปพร้อมกันด้วย เช่น การจัดการด้านระบบตั๋วต่อ-ตั๋วร่วม รวมทั้งระบบค่าโดยสารร่วม

สำหรับระบบค่าโดยสารร่วมนั้น มีรูปแบบค่าโดยสารแบบแปรตามระยะทางเป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมสูงสุดและเหมาะสมสำหรับกรณีของกรุงเทพ มหานคร เนื่องจากเป็นการสะท้อนค่าโดยสารบนความเป็นจริงตามการเดินทาง ทั้ง

นี้โครงสร้างอัตราค่าโดยสารร่วมจะต้องอยู่บนพื้นฐานที่เป็นโครงสร้างซึ่งดึงดูด ผู้โดยสารใช้บริการ, สร้างรายได้ในภาพรวมสูงสุด, เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประ-ชาชน, และเป็นภาระทางการเงินแก่ภาครัฐน้อย

สำหรับการคำนวณอัตราค่าโดยสาร ร่วมตามระยะทางนี้ จะประกอบด้วย ค่าแรกเข้าระบบ, ค่าโดยสารตามระยะทาง, และส่วนลด โดยมีสูตรในการคำนวณคือ Fx = a + bx(-d ), ซึ่ง Fx= ค่าโดยสารตามระยะ

การเดินทาง X กม. a = ค่าแรกเข้าระบบ, b = ค่าโดยสารต่อระยะทาง 1 กม., และ d = ส่วนลดเมื่อมีการเชื่อมต่อกับระบบอื่น ซึ่งหากระยะทางเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จะต้องมีการกำหนดเพดาน ค่าโดยสารสูงสุดด้วย

การกำหนดอัตราเพดานค่าโดยสารขั้นสูง จากผลสำรวจพบว่า เนื่องจากผู้โดยสารส่วนมากเดินทางเป็นระยะทาง 11 กม. ดังนั้น เพดานค่าโดยสารขั้นสูงควรกำหนดที่ 11 กม. แรก เป็น 40 บาท ซึ่งจะใกล้เคียงกับความสามารถในการ

จ่ายของผู้โดยสาร ส่วนกรณีที่กำหนดให้มีเพดานค่าโดยสารขั้นสูง 2 ช่วง สำหรับระบบรถไฟฟ้าที่มีการพัฒนา เส้นทางที่มากกว่า 20 กิโลเมตรขึ้นไป พบว่าควรกำหนดเพดานค่าโดยสารช่วงที่ 2 ที่ระยะทาง 21 กิโลเมตรขึ้นไปเป็น 60บาท จะเป็นราคาที่ใกล้เคียงและสามารถแข่งขันได้กับรถตู้โดยสาร

และทำให้ระบบรถไฟฟ้าสามารถดึงดูดผู้โดยสารระยะไกลให้หันมาใช้ระบบรถไฟฟ้ามากขึ้น โดยไม่เป็นภาระทางการเงินแก่ภาครัฐมากเท่ากับการกำหนดเพดาค่าโดยสารช่วงเดียว
Back to top
View user's profile Send private message
pitch
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 14/07/2006
Posts: 694
Location: วังนารายณ์คู่บ้าน ศาลพระกาฬคู่เมือง ปรางค์สามยอดลือเรื่อง เมืองแห่งดินสอพอง แผ่นดินทองสมด็จพระนารายณ

PostPosted: 08/11/2010 8:50 pm    Post subject: Reply with quote

ขอบคุณ เฮียวิศมากที่นำข่าวมาให้ได้อ่าน ขยายความรู้กัน
แต่น่าน้อยใจแทนรถไฟพื้นฐานจัง เหมือนถูกหลงลืม ลงทุนกันเอะจังกับรถไฟฟ้าหลากสี(จะเป็นการ์ตูนขบวนการหลากสีไปแล้ววว) Embarassed
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44053
Location: NECTEC

PostPosted: 11/11/2010 6:44 pm    Post subject: Reply with quote

ระบบค่าโดยสารร่วมเมื่อมีการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้า
ข่าวคมนาคม-ลอจิสติกส์
สยามธุรกิจ ฉบับที่ 1149
6-9 พฤศจิกายน 2553

ตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลแล้ว จะเป็นผลให้โครงข่ายรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจากเดิม 3 สายทาง ในปัจจุบัน เป็น 12 สายทาง ครอบ คลุมพื้นที่ให้บริการ 525 ตร.กม. ให้บริการผู้

โดยสารได้ถึง 4 ล้านคน/วัน อีกด้านหนึ่งจะต้องมีการพัฒนาการบริหารจัดการเพื่ออำนวยความสะดวกการเดินทางควบคู่ไปพร้อมกันด้วย เช่น การจัดการด้านระบบตั๋วต่อ-ตั๋วร่วม รวมทั้งระบบค่าโดยสารร่วม

สำหรับระบบค่าโดยสารร่วมนั้น มีรูปแบบค่าโดยสารแบบแปรตามระยะทางเป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมสูงสุดและเหมาะสมสำหรับกรณีของกรุงเทพ มหานคร เนื่องจากเป็นการสะท้อนค่าโดยสารบนความเป็นจริงตามการเดินทาง ทั้ง

นี้โครงสร้างอัตราค่าโดยสารร่วมจะต้องอยู่บนพื้นฐานที่เป็นโครงสร้างซึ่งดึงดูด ผู้โดยสารใช้บริการ, สร้างรายได้ในภาพรวมสูงสุด, เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประ-ชาชน, และเป็นภาระทางการเงินแก่ภาครัฐน้อย

สำหรับการคำนวณอัตราค่าโดยสาร ร่วมตามระยะทางนี้ จะประกอบด้วย ค่าแรกเข้าระบบ, ค่าโดยสารตามระยะทาง, และส่วนลด โดยมีสูตรในการคำนวณคือ Fx = a + bx(-d ), ซึ่ง Fx= ค่าโดยสารตามระยะ

การเดินทาง X กม. a = ค่าแรกเข้าระบบ, b = ค่าโดยสารต่อระยะทาง 1 กม., และ d = ส่วนลดเมื่อมีการเชื่อมต่อกับระบบอื่น ซึ่งหากระยะทางเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จะต้องมีการกำหนดเพดาน ค่าโดยสารสูงสุดด้วย

การกำหนดอัตราเพดานค่าโดยสารขั้นสูง จากผลสำรวจพบว่า เนื่องจากผู้โดยสารส่วนมากเดินทางเป็นระยะทาง 11 กม. ดังนั้น เพดานค่าโดยสารขั้นสูงควรกำหนดที่ 11 กม. แรก เป็น 40 บาท ซึ่งจะใกล้เคียงกับความสามารถในการ

จ่ายของผู้โดยสาร ส่วนกรณีที่กำหนดให้มีเพดานค่าโดยสารขั้นสูง 2 ช่วง สำหรับระบบรถไฟฟ้าที่มีการพัฒนา เส้นทางที่มากกว่า 20 กิโลเมตรขึ้นไป พบว่าควรกำหนดเพดานค่าโดยสารช่วงที่ 2 ที่ระยะทาง 21 กิโลเมตรขึ้นไปเป็น 60บาท จะเป็นราคาที่ใกล้เคียงและสามารถแข่งขันได้กับรถตู้โดยสาร

และทำให้ระบบรถไฟฟ้าสามารถดึงดูดผู้โดยสารระยะไกลให้หันมาใช้ระบบรถไฟฟ้ามากขึ้น โดยไม่เป็นภาระทางการเงินแก่ภาครัฐมากเท่ากับการกำหนดเพดาค่าโดยสารช่วงเดียว
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 28, 29, 30 ... 284, 285, 286  Next
Page 29 of 286

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©