Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
View previous topic :: View next topic
Author
Message
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47445
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 12/11/2010 7:11 am Post subject:
ปัญหาในอนาคตคือ รถไฟฟ้ามีข้อเสียเปรียบรถตู้ตรงที่ไม่เข้าถึงหมู่บ้านจัดสรรต่าง ๆ ครับ ยกตัวอย่างเช่น ในอนาคตเมื่อรถไฟฟ้าสายสีม่วงเปิดเดินรถระหว่างบางใหญ่-บางซื่อนั้น การเดินทางจากหมู่บ้านบัวทอง 4 (ใกล้อำเภอไทรน้อย) ผ่านบางใหญ่ไปอนุสาวรีย์ชัยฯ ต้องเปลี่ยนรถไฟฟ้าถึง 3 ครั้ง คือ รถตู้จากหมู่บ้านบัวทอง 4 - สถานีคลองบางไผ่, รถไฟฟ้าสายสีม่วงจากสถานีคลองบางไผ่-บางซื่อ, รถไฟฟ้า MRT จากบางซื่อ-สวนจตุจักร และรถไฟฟ้า BTS จากสถานีหมอชิต-อนุสาวรีย์ชัยฯ ทำให้ค่าใช้จ่ายสูงมากและไม่มั่นใจว่าจะประหยัดเวลาได้มาก
แต่ถ้าเดินทางด้วยรถตู้แบบในปัจจุบัน ก็คือ รถตู้จากหมู่บ้านบัวทอง 4-พันธุ์ทิพย์งามวงศ์วาน แล้วต่อรถเมล์ ขสมก. สาย 522 (ทางด่วน) หรือรถตู้ทางด่วน ไปอนุสาวรีย์ชัย ทำให้ค่าใช้จ่ายในปัจจุบันประมาณ 60 บาทต่อเที่ยวครับ
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44053
Location: NECTEC
Posted: 16/11/2010 5:24 pm Post subject:
33 บริษัทไทย-เทศแห่ชิงที่ปรึกษารถไฟฟ้าสีชมพู
คอลัมน์ ธุรกิจ
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 16 พฤศจิกายน 2553 12:09
นายรณชิต แย้มสอาด รักษาการ ผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) หลังจากรฟม. ได้ประกาศเชิญชวนผู้สนใจรับเอกสารเพื่อจัดทำข้อเสนอเข้ารับการคัดเลือกเป็นที่ปรึกษา ศึกษาทบทวนความเหมาะสม ปรับปรุงแบบ และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี พบว่ามีบริษัทลงทะเบียนรับเอกสาร จำนวน 33 ราย
ทั้งนี้ รฟม. กำหนดให้บริษัทยื่นข้อเสนอด้านเทคนิคและข้อเสนอด้านราคา ในวันที่ 15 ธ.ค.นี้ หลังจากนั้นคณะกรรมการดำเนินการว่าจ้างที่ปรึกษาจะประเมินผลข้อเสนอและเจรจาต่อรอง โดยคาดว่าจะลงนามสัญญาว่าจ้างได้ในเดือนมี.ค.2554
สำหรับบริษัทที่ลงทะเบียนรับเอกสารทั้ง 33 ราย คือ
1. บริษัท ไทย เอ็มเอ็ม จำกัด
2. บริษัท ซี คอนซัลท์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
3. บริษัท ซิสตร้า เอ็มวี(ประเทศไทย) จำกัด
4. บริษัท ดาวฤกษ์ คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด
5. บริษัท ลูเซ่ ครีเอชั่น จำกัด
6. เอส ที เอส เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด
7. บริษัท เอสคิว อาร์คิเท็ค แอนด์ แปลนเนอร์ จำกัด
8. บริษัท เอทีที คอนซัลแตนท์ จำกัด
9. บริษัท แอสดีคอน คอร์ปอเรชั่นจำกัด
10. Map and plan Co.,Ltd
11. International Engineering Consultants Co., Ltd (IEC)
12. The Louis Berger Group , INC
13. PTL Consultants Co.,Ltd
14. PCBK International Co.,Ltd
15. บริษัท ไทยโคเออิ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
16. บริษัท แมเนจเมนท์ โซลูชั่นส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
17. บริษัท วิศวกรรมธรณีและฐานราก จำกัด
18. บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด => เจ้าเก่า
19. Poyry Infra Ltd.
20. บริษัท เอพซิลอน จำกัด => เจ้าเก่า
21. บริษัท ทีม โลจิสติกส์ แอนด์ ทรานสปอร์ต จำกัด
22. บริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด
23. บริษัท พี ยู แอสโซซิเอทส์ จำกัด
24. บริษัท Aecom (ประเทศไทย) จำกัด
25. PB ASIA LTD => เจ้าเก่า
26. บริษัท เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์ จำกัด
27. บริษัท เอเอ็มพี คอนซัลแตนท์ จำกัด
28. บริษัท โชติจินดา มูเชล คอนซัลแตนท์ จำกัด
29. บริษัท วิศวกรที่ปรึกษาไทย จำกัด
30. บริษัท ซีอีแอล เอ็นจิเนียส์ จำกัด
31. บริษัท วิชชากร จำกัด
32. บริษัท ปัญญา คอนซัลแตนท์ จำกัด และ
33. บริษัท มหานคร คอนซัลแตนท์ จำกัด
ทั้งนี้ โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูช่วงแคราย - มีนบุรี เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Straddle Monorail) ระยะทางรวม 36 กิโลเมตร เป็นโครงสร้างทางยกระดับทั้งหมด มีสถานีทั้งสิ้น 24 สถานี คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างเดือนก.ย.2555 และจะเปิดให้บริการปลายปี 2559
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44053
Location: NECTEC
Posted: 18/11/2010 5:27 pm Post subject:
เช็กสถานะโครงการรถไฟฟ้า "สีชมพู"
หน้า 8 ประชาชาติธุรกิจ
ปีที่ 34 ฉบับที่ 4263 วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
กลายเป็นจุดขายของดีเวลอปเปอร์ย่านแจ้งวัฒนะเป็นที่เรียบร้อย สำหรับ "เมกะโปรเจ็กต์รถไฟฟ้าสายสีชมพู" แม้ว่าจะเป็นโครงการในอนาคต ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะแจ้งเกิดได้ปีไหน แต่เป็นตัวกระตุกกำลังซื้อ-กำลังใจได้เป็นอย่างดี
ยิ่งรัฐบาลประกาศแผนชัดเจน เร่งสปีดให้เสร็จเร็วขึ้นไปอีก จากแผนแม่บทรถไฟฟ้าสายนี้จะเปิดบริการปี 2562 เพื่อรองรับการจราจรศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ยิ่งทำให้รถไฟฟ้า สายสีนี้เป็นที่เฝ้ารอมากขึ้น
เช็กสถานะล่าสุด ทางการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนประเทศไทย (รฟม.) กำลังประกาศจ้างบริษัทที่ปรึกษามาศึกษารายละเอียดโครงการและดำเนินการประกวดราคา ด้วยวงเงิน 35 ล้านบาท คาดว่าจะได้ตัวเร็ว ๆ นี้ จากนั้นจะเร่งขั้นตอนให้เร็วขึ้น คาดว่าจะรู้ผลโครงการได้อย่างช้าในอีก 6 เดือนข้างหน้านี้
สำหรับรูปแบบโครงการ รฟม.เตรียมปรับเป็นระบบ "โมโนเรล" หรือรถไฟฟ้าขนาดเบา ใช้วิธีการลงทุนแบบเทิร์นคีย์ให้เอกชนลงทุนทั้งหมด ทั้งก่อสร้างและจัดหาระบบเดินรถ เพื่อให้โครงการเกิดง่ายและรวดเร็วขึ้น
รายละเอียดสายสีชมพูมีระยะทาง 34.5 กิโลเมตร
จุดเริ่มต้นเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีม่วงที่บริเวณแยกแคราย สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี จากนั้นเลี้ยวเข้าถนนแจ้งวัฒนะบริเวณห้าแยกปากเกร็ด แล้ววิ่งผ่านเมืองทองธานี ตรงไปหลักสี่ เชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) สถานีหลักสี่
จากนั้นมุ่งหน้าไปเข้าถนนรามอินทรา จะเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่) ที่บริเวณอนุสาวรีย์หลักสี่ เชื่อมรถไฟฟ้าสายสีเทาที่สถานีวัชรพล เมื่อถึงแยกมีนบุรีวิ่งตามแนวถนนสีหบุรานุกิจ ถึงสะพานข้ามคลองสามวา จะเลี้ยวขวาข้ามคลองแสนแสบ และข้ามถนนรามคำแหง หรือสุขาภิบาล 3 มาสิ้นสุด ปลายทางที่มีนบุรี บริเวณใกล้แยกรามคำแหง-ร่มเกล้า จะเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม ที่สถานีมีนบุรี วงเงินก่อสร้าง 38,730 ล้านบาท
โครงสร้างจะยกระดับตลอดเส้นทางมี 24 สถานี คือ
ศูนย์ราชการนนทบุรี,
แคราย,
สนามบินน้ำ,
สามัคคี,
ชลประทาน,
ปากเกร็ด,
เลี่ยงเมืองปากเกร็ด,
เมืองทองธานี,
ศรีรัช,
มงกุฎวัฒนะ (แถวบ้านผมเอง),
ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ,
หลักสี่,
ราชภัฏพระนคร,
อนุสาวรีย์หลักสี่,
ลาดปลาเค้า (กม. 2),
เคหะรามอินทรา (กม. 4),
วัชรพล (กม. 5.5),
นวมินทร์ (กม. 8),
คันนายาว (กม. 9),
สวนสยาม (กม. 10),
บางชัน,
เศรษฐบุตรบำเพ็ญ,
สีหบุรานุกิจ และ
มีนบุรี
ส่วนโครงการบ้านจัดสรรคตามรายทาง ดูได้ที่นี่:
ศูนย์ราชการใหม่-รถไฟฟ้าสายสีชมพู บูม "แจ้งวัฒนะ" จุดพลุตลาดคอนโดฯ
โดย "มิสเซอร์เวย์", คอลัมน์ เล็งทำเล, หน้า 8 ประชาชาติธุรกิจ, ปีที่ 34 ฉบับที่ 4263 วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47445
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 19/11/2010 7:10 am Post subject:
ยักษ์ใหญ่โมโนเรลจากญี่ปุ่นหวังไทยเปลี่ยนใจลงทุนรถไฟฟ้าโมโนเรลมากขึ้น
กรุงเทพฯ 18 พ.ย.53- นายฮิโนะ ยูจิ นายกสมาคมรถไฟฟ้ารางเดี่ยวแห่งประเทศญี่ปุ่น กล่าวในงานสัมมนา รถไฟรางเดี่ยว (โมโนเรล) ว่า การจัดงานสัมมนาครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการประชาสัมพันธ์การนำเทคโนโลยีโมโนเรลมาใช้ เพราะประเทศเพื่อนบ้านของไทยนำระบบดังกล่าวมาใช้แล้ว เช่น สิงคโปร์ ก่อสร้างวางระบบโมโนเรลจากตัวเมืองไปยังเกาะเซนโตซา ซึ่งถือว่ามีความเหมาะสม
นายฮิโนะ กล่าวว่า แม้สถานการณ์ทางการเมืองของไทย ไม่มีความแน่นอน แต่ทางบริษัทเอกชนของญี่ปุ่นพยายามจะนำเสนอเทคโนโลยีให้กับประเทศไทยเพื่อแก้ปัญหาการจราจร ซึ่งล่าสุดมีข้อมูลว่าขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กำลังพิจารณาการปรับเปลี่ยนระบบขนส่งผู้โดยสารทางรางที่มีอยู่ในแผนจำนวน 4 โครงการ จากทั้งหมด 12 โครงการ ว่า จะเหมาะสมหรือไม่อย่างไร
นายยาสึโนริ ทากา ประธานบริหารประจำภูมิภาคเอเชีย บริษัท ฮิตาชิ จำกัด กล่าวว่า บริษัทพร้อมจะเข้ามาก่อสร้างรวมถึงการจำหน่ายโบกี้รถโมโนเรลให้กับไทย หากรัฐบาลไทยสนใจจะใช้ระบบดังกล่าว เพราะเห็นว่าประเทศไทยมีความเหมาะสมในการใช้ระบบนี้มากกว่ารถไฟฟ้าที่ใช้ในปัจจุบัน เพราะมีปัญหาเรื่องการถ่ายเทอากาศในบริเวณใต้สถานี แต่ในส่วนของโมโนเรล จะไม่มีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงมีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างที่ต่ำกว่าระบบรถไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับทางการของไทยว่าจะตัดสินใจใช้ระบบใด แต่หากไม่มีการแก้ไขปัญหาจราจรแน่นอนว่าจะทำให้ประเทศไทยสูญเสียความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ เพราะประเทศเพื่อนบ้านและในภูมิภาคนี้ทั้งสิงคโปร์ อินเดีย ดูไบ ต่างแก้ไขปัญหาด้วยการใช้โมโนเรลไปหมดแล้ว ส่วนปัญหาทางการเมืองของไทย ทางบริษัทไม่ได้มีความกังวล เพราะถือเป็นเรื่องที่บริษัทต้องการนำเสนอเท่านั้นขึ้นอยู่กับรัฐบาลไทยจะเลือกดำเนินการหรือไม่
สำหรับจุดเด่นรถไฟฟ้าโมโนเรล เป็นรถไฟฟ้าที่สามารถออกแบบให้จุผู้โดยสารได้มากน้อยตามความเหมาะสม โดยที่มีขีดความสามารถในการจุผู้โดยสารที่ 2,000-30,000 คนต่อทิศทางต่อชั่วโมง ขณะที่ระบบรถไฟฟ้า Heavy Rail หรือระบบรถไฟฟ้าแบบหนักที่รถไฟฟ้าบีทีเอสหรือเอ็มอาร์ทีนั้นมีขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารมากกว่า 30,000-50,000 คนต่อทิศทางต่อชั่วโมง ซึ่งเป็นจุดตัดสินว่าเส้นทางใดจะเหมาะสมที่จะใช้ระบบใด โดยพิจารณาตามความหนาแน่นของผู้โดยสารแต่ละเส้นทาง.-สำนักข่าวไทย
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44053
Location: NECTEC
Posted: 19/11/2010 9:21 am Post subject:
^^^
ผมเองก็เจอข่าวนี้เหมือนกันในคมชัดลึกและโพสต์ทูเดย์แต่หาอ่านออนไลน์ได้ที่คมชัดลึกตามข่าวต่อไปนี้ครับ - จะเสนอเฉพาะรายละเอียดที่ต่างออกไป:
"ฮิตาชิ"สนลงทุนโมโนเรลในไทย
หน้า เศรษฐกิจ - การตลาด
คมชัดลึก วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2553
นายยาสึโนริ ทากา ประธานบริหารประจำภูมิภาคเอเชีย บริษัท ฮิตาชิ จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทเป็นผู้ผลิตรถไฟฟ้ารางเดี่ยวหรือโมโนเรลในประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีประสบการณ์มานาน
(เปิดการใช้งานสายฮาเนดะ - ชินางาวะ เพื่อป้อนชิงกันเซน เมื่อ ตุลาคม 2507) เห็นว่าขณะนี้ไทยมีแผนลงทุนก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเดี่ยว บริษัทจึงนำเสนอรูปแบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยวเพื่อเป็นทางเลือกในการแก้ปัญหาจราจร โดยของฮิตาชิ มีจุดเด่นคือโครงสร้างมีขนาดเล็ก แสงแดดสามารถส่องถึงพื้นได้ ขณะที่มีค่าบำรุงรักษาต่ำและไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้ การก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเดี่ยว จะช่วยลดค่าก่อสร้างงานโยธาและงานโครงสร้างได้ถึง 30% เมื่อเทียบกับโครงการรถไฟฟ้าทั่วไป โดยต้นทุนก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเดี่ยวของฮิตาชิอยู่ที่กม.ละ 35-50 ล้านดอลลาร์ หรือ 1,050-1,500 ล้านบาท ที่สำคัญมีความปลอดภัยสูง สามารถออกแบบให้จุผู้โดยสารได้มากน้อยตามความต้องการ โดยมีขีดความสามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ 2,000-30,000 เที่ยวต่อชั่วโมง ขณะที่ระบบรถไฟฟ้าขนาดหนัก หรือเฮฟวีเรล มีขีดความสามารถบรรทุกผู้โดยสารที่ 3-5 หมื่นเที่ยวต่อชั่วโมง
"มั่นใจว่ารถไฟฟ้ารางเดี่ยวของฮิตาชิ สามารถออกแบบให้เหมาะสมกับประเทศไทยได้ ส่วนปัญหาการเมืองของไทยจะไม่กระทบต่อความเชื่อมั่นในการเข้ามาลงทุนของบริษัท ส่วนรูปแบบการลงทุนขึ้นอยู่กับรัฐบาลไทยจะเป็นผู้กำหนด บริษัทพร้อมและสนใจทุกรูปแบบ นายยาสึโนริ กล่าว
ด้านนายฮิโนะ ยูจิ นายกสมาคมรถไฟฟ้ารางเดี่ยวแห่งประเทศญี่ปุ่น กล่าวว่า สมาคมตั้งเป้าว่ารถไฟฟ้ารางเดี่ยวของญี่ปุ่น จะมีส่วนร่วมในโครงการรถไฟฟ้าของไทยอย่างน้อย 4 เส้นทาง จาก 12 เส้นทาง โดยเส้นทางแรกที่จะลงทุนก่อนคือ สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี
ด้านนางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า ตามแผนแม่บทโครงการรถไฟฟ้า 12 เส้นทาง จะมี 4 เส้นทางที่ใช้รถไฟฟ้ารางเดี่ยว เพราะเป็นเส้นทางเชื่อมต่อเส้นทางหลัก คือ
1. สายสีชมพู (แคลาย - มีนบุรี) ระยะทาง 27 กม.
2. สายสีเหลือง (ลาดพร้าว - สำโรง) ระยะทาง 30.4 กม.
3. สายสีฟ้า (ดินแดง - สาทร) ระยะทาง 9.5 กม. และ
4. สายสีเทา (วัชรพล - สะพานพระราม 9) ระยะทาง 26 กม.
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44053
Location: NECTEC
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44053
Location: NECTEC
Posted: 25/11/2010 10:20 am Post subject:
จี้รฟม.เร่งรถไฟฟ้าสายสีชมพู
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ
หน้า อสังหา Real Estate - อสังหาฯ-คมนาคม
ออนไลน์เมื่อวันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน 2010 เวลา 10:03 น.
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,586 25-27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่ากระทรวงอยู่ระหว่างเร่งผลักดันโครงการสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรีระยะทาง 34.5 กิโลเมตร วงเงินก่อสร้างประมาณ 34,000 ล้านบาท โดยจะบรรจุในแผนเร่งด่วนระยะแรกเพิ่มอีก 1 สายเป้าหมายให้เป็นโครงข่ายรองรับกับการเปิดใช้ศูนย์ราชการถนนแจ้งวัฒนะ ที่ใช้เงินลงทุนไม่มาก
ทั้งนี้ได้ปรับรูปแบบใหม่จากรถไฟฟ้าขนาดหนักเป็นรถไฟฟ้าขนาดเบาแบบยกระดับหรือ monorail แทน ซึ่งขณะนี้สนข. กำลังศึกษาโครงการและเร่งสรุปแบบทั้งหมดก่อนส่งมอบให้กับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)รับไปดำเนินการ โดยจะต้องเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและเร่งรัดออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนต่อไป
ส่วนสายสีน้ำเงินมูลค่า 5.2 หมื่นล้านนั้น ต้องรอนายกรัฐมนตรีพิจารณากรณีผลการตรวจสอบตามมติครม.อีกครั้งแต่คาดว่าจะเซ็นสัญญาทั้ง 5 สัญญากับผู้รับเหมาในเดือนธันวาคมนี้ ส่วนสายสีม่วงขณะนี้การก่อสร้างคืบหน้าไปมาก โดยได้ปรับแก้ไขจุดขึ้น-ลงให้สอดรับกับสายสีน้ำเงิน(รถไฟใต้ดิน)จากสถานีบางซื่อโดยให้ รฟม.กลับไปศึกษาข้อดีข้อเสียและข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหากก่อสร้างสายสีน้ำเงินเร็วขึ้นปัญหานี้ก็จะหมดไป ส่วนสายสีแดงในช่วงต้นเดือนธันวาคม 2553 นี้ก็จะเปิดประมูลช่วงบางซื่อ-รังสิตได้ โดยเฉพาะสัญญาที่ 1-2-3 เพื่อให้เริ่มก่อสร้างในปี 2554 ต่อไป
ด้านนางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เปิดเผยว่า รถไฟฟ้าสายสีชมพู ขณะนี้ได้สรุปแบบส่งมอบให้ รฟม. ไปดำเนินการแล้ว โดยจะแบ่งการก่อสร้างออกเป็น 3 ช่วง
ช่วงแรกจะเริ่มจากแคราย-หลักสี่ก่อนแล้วจึงค่อยทยอยไปเรื่อย ๆ ขณะนี้ข้อมูลเบื้องต้นของบริษัทที่ปรึกษา ตลอดแนวเส้นทางรัฐบาลจะต้องจ่ายค่าเวนคืนทั้งสิ้น 5,810 ล้านบาท
เป็นที่ดิน 180 ไร่วงเงิน 4,820 ล้านบาท
สิ่งปลูกสร้าง 506 อาคาร วงเงิน 990 ล้านบาท
ส่วนใหญ่เป็นบริเวณจุดขึ้น-ลงสถานีและจุดเลี้ยวโค้ง เช่น แยกแคราย แยกอนุสาวรีย์หลักสี่ แยกมีนบุรี ศูนย์ซ่อมบำรุงที่แยกร่มเกล้า โรงจอดพักรถที่แยกสนามบินน้ำ แม้จะปรับแบบเป็นโมโนเรลแล้วก็ตาม
ขณะที่ดร.ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) กล่าวว่าขณะนี้อยู่ระหว่างการเร่งรัดให้บริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด หรือเคที เร่งคัดเลือกบริษัทผู้รับเหมาในการติดตั้งระบบตั๋วโดยสารในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง แล้ว ส่วนสัญญาการให้บริหารจัดการเดินรถนั้นคาดว่าจะดำเนินการได้ในเดือนธันวาคมศกนี้เพื่อให้ทันการทดสอบในเดือนเมษายนและเปิดให้บริการอย่างไม่เป็นทางการเดือนพฤษภาคม ส่วนการเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการนั้นจะเริ่มเดือนสิงหาคม 2554
"ขณะนี้บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด(มหาชน) อยู่ระหว่างการติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณซึ่งกำหนดแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม 2554 แต่จะเร่งรัดให้เร็วขึ้นเพราะนโยบายของผู้ว่าฯกทม.จะให้เปิดบริการในเดือนพฤษภาคมเป็นการทดสอบก่อนจะทำการเปิดอย่างเป็นทางการในเดือนสิงหาคมอีกครั้ง"
ดร.ธีระชนกล่าวอีกว่าสำหรับการเตรียมความพร้อมล่าสุดนั้นได้หารือกับบีทีเอสเพื่อทยอยย้ายรถไฟที่วิ่งให้บริการสายสีลมซึ่งได้รถไฟขบวนใหม่ 4 ตู้มาวิ่งแทนแล้วนั้นจัดมาวิ่งในเส้นทางสายสุขุมวิทแล้ว และจะทยอยจัดให้เป็น 4 ตู้ต่อ 1 ขบวนให้หมดในปี 2555 เพื่อรองรับการเปิดให้บริการช่วงอ่อนนุช-แบริ่งในปี 2554 ต่อไป
ส่วนความเคลื่อนไหวของช่วงสะพานตากสิน-บางหว้านั้นล่าสุดยังรอการรับรองผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับพื้นที่ประมาณ 1 กิโลเมตรที่ใช้สำหรับรางในการจอดรถที่สถานีบางหว้า พร้อมปรับรูปแบบสถานีให้สอดคล้องกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินในการเชื่อมต่อกันของผู้โดยสารให้สะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งกำหนดเปิดให้บริการในเส้นทางนี้ในเดือนธันวาคม ปี 2555
ด้านนายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัท บีทีเอสกรุ๊ปโฮลดิ้งส์ จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า บริษัทพร้อมดำเนินการให้บริการจัดการเดินรถในส่วนต่อขยายสายสีเขียวทั้งช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง ช่วงวงเวียนใหญ่-บางหว้าหรือช่วงอื่น ๆ ที่จะเปิดให้มีการก่อสร้างและเปิดให้บริการในเร็ว ๆ นี้ แม้จะอยู่นอกพื้นที่กทม.แต่การบริการหรือการบริหารจัดการไม่ใช่อุปสรรคของบริษัทแต่อย่างใดโดยพร้อมลงทุนขอเพียงรัฐบาลมีความชัดเจนในการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ ตามแผนแม่บทเท่านั้น นอกจากนั้นยังสนใจที่จะเข้าไปรับบริหารจัดการรถไฟฟ้าโมโนเรลตามแผนที่กทม.และกระทรวงคมนาคมจะเปิดให้บริการในเส้นทางต่าง ๆ อีกด้วย
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44053
Location: NECTEC
Posted: 30/11/2010 5:46 am Post subject:
รายงานวันจันทร์-ญี่ปุ่นเปิดตลาดเทคโนโลยีขนส่งมวลชนตั้งเป้าโมโนเรลกรุงเทพฯ
by Chirakorn Phumphuang
Thairath Online 29 November 2010 6:00 AM
สัมมนารถไฟฟ้ารางเดี่ยว หรือ รถไฟฟ้าโมโนเรล หนุนถ่ายทอดเทคโนโลยีเกี่ยวกับรถไฟฟ้าโมโนเรล เล็งเป้าหมายขยายตลาดการลงทุนรถไฟฟ้าโมโนเรลในประเทศไทย...
เมื่อเร็วๆนี้ บริษัท ฮิตาชิ จำกัด ร่วมกับสมาคมรถไฟฟ้ารางเดี่ยวแห่งประเทศญี่ปุ่น จัดสัมมนารถไฟฟ้ารางเดี่ยว หรือรถไฟฟ้าโมโนเรล ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ ราชประสงค์ โดยเชิญตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น รฟม. สนข. กทม. ฯลฯ รับฟัง โดยมีนายเซจิ โคจิม่า เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย เข้าร่วม
วัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีเกี่ยวกับรถไฟฟ้าโมโนเรล และเล็งเป้าหมายที่จะเข้ามาขยายตลาดการลงทุนรถไฟฟ้าโมโนเรลในประเทศไทย
นายกาคุ ซูซูกิ รองประธานและเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทฮิตาชิ กล่าวว่า กรุงเทพฯจำเป็นต้องก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนภายในเมืองอย่างเร่งด่วน เพื่อแก้ไขปัญหาจราจร และทราบว่าได้มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างรถไฟฟ้าโมโนเรลทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด บริษัทเชื่อว่าจะช่วยพัฒนาระบบสาธารณูปโภคให้แก่กรุงเทพฯ ด้วยการเสนอระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพ
จุดเด่นโมโนเรลของฮิตาชิ คือ บริษัทมีประสบการณ์ในระบบโมโนเรล สามารถออกแบบรถที่มีความจุผู้โดยสารน้อย หรือมากก็ได้ ด้วยประสบการณ์ด้านขนส่งมวลชนกว่า 40 ปี สามารถออกแบบเส้นทางที่มีวงเลี้ยวแคบ ทางโค้งรัศมี 60 เมตร ความชันสูง 6%และให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม โดยออกแบบโครงสร้างรางมีขนาดเล็ก แสงแดดส่องถึงพื้นได้ หลีกเลี่ยงปัญหามลพิษใต้ตัวราง ช่วยลดค่าก่อสร้างงานโยธาและงานโครงสร้างได้ถึง 30%
นอกจากนี้ โครงสร้างรางของระบบโมโนเรลของฮิตาชิ มีน้ำหนักเบา สามารถยกติดตั้งในเวลากลางคืน ช่วยลดผลกระทบทางจราจรระหว่างก่อสร้างได้
รถโมโนเรลให้ความสะดวกสบาย เนื่องจากล้อของรถทำด้วยยางที่ช่วยลดเสียงรบกวนและแรงกระแทก อายุการใช้งาน 10 ปี ของยางรถปกติ แต่จะต้องเปลี่ยนทุกๆ 6 เดือน
ตัวรถจะมี 3 แบบ แยกตามน้ำหนัก เริ่มจาก 4 ตู้ รับผู้โดยสารได้ 15,000 คน 6 ตู้ 23,000 คน และ 8 ตู้ 30,000 คน พื้นตัวรถเป็นสเตนเลส รองด้วยอะลูมิเนียมทนไฟนาน 30 นาที
กรณีรถเสียหรือเกิดอุบัติเหตุ จะใช้รถอีกขบวนมาผลักหรือดึง ถ้าไม่สามารถทำได้ ก็จะใช้วิธีอพยพผู้โดยสารจากรถที่เสียไปยังรถอีกคันหนึ่ง เนื่องจากออกแบบทางเดินสามารถเปิดเชื่อมต่อกันได้ หรืออพยพทางแนวดิ่ง โดยตัวรถจะมีการติดตั้ง Spiral Chute เพื่อช่วยอพยพผู้โดยสารลงสู่พื้นด้านล่างได้อย่างปลอดภัย นอกจากลงทุนในประเทศแล้ว ยังขยายไปยังประเทศจีน สิงคโปร์ ดูไบ และเกาหลีใต้
นายยูจิ ฮีโน่ ประธานกรรมการสมาคมรถไฟฟ้ารางเดี่ยวแห่งประเทศญี่ปุ่น กล่าวว่า ขณะนี้ทางญี่ปุ่นและบริษัทฮิตาชิสนใจที่จะเข้ามาลงทุนรถไฟฟ้าโมโนเรลในประเทศไทย ตามแผนแม่บทระบบรางของ สนข. ที่มี ะบบรถโมโนเรล 4 เส้นทาง โดยจะนำร่องสายสีชมพู จากปากเกร็ด-มีนบุรี บริษัทเชื่อว่าน่าจะได้รับโอกาสเข้าร่วมงานกับรัฐบาลไทย ด้วยข้อได้เปรียบหลายๆอย่าง ทั้งเรื่องการผลิต คุณภาพของรถ รวมถึงประสบการณ์ของบริษัทที่ทั่วโลกให้การยอมรับ.
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44053
Location: NECTEC
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44053
Location: NECTEC
Posted: 12/12/2010 11:11 pm Post subject:
สภาฯจี้กทม.เร่งรัดสร้างรถไฟฟ้าโมโนเรลเชื่อมเขตทุ่งครุ-ราษฎร์บูรณะ-พระราม 2
ที่มา : หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ 5 ธันวาคม 2553
นายสุทธิชัย วีระกุลสุนทร ประธานสภากรุงเทพมหานคร(กทม.)เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า ได้เตรียมยื่นหนังสือถึงม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม.ขอให้เร่งศึกษาและดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าโมโนเรลในพื้นที่ฝั่งธนบุรีแทนโครงการบีอาร์ทีเนื่องจากเส้นทางนำร่อง"สาทร-ราชพฤกษ์"ได้รับการร้องเรียนเป็นจำนวนมากจึงขอให้ปรับเปลี่ยนมาเป็น โมโนเรลแทนโดยเส้นทางให้ครอบคลุมหรือเชื่อมโยงเขตทุ่งครุ-ราษฎร์บูรณะ พระราม 2 ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ที่มีนักศึกษาหลายแสนคน และสนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติที่เป็นศูนย์กีฬาขนาดใหญ่ของฝั่งธนบุรี
"ในพื้นที่นั้นยังมีโครงการบ้านจัดสรรเกิดขึ้นใหม่จำนวนมากแต่การคมนาคมขนส่งมีเพียงรถโดยสารประจำทางและขสมก.ไม่กี่เส้นทางเท่านั้นโดยเฉพาะถนนพุทธบูชานั้นสามารถเชื่อมออกทางถนนราษฎร์บูรณะและพระราม 2 ได้ ดังนั้นหากก่อสร้างรถไฟฟ้าโมโนเรล เริ่มจากใกล้ๆเขตทุ่งครุมาออกถนนพุทธบูชาและถนนพระราม 2 ก็อำนวยความสะดวกให้ประชาชนได้ในอนาคต"
ขณะเดียวกันปัจจุบันเชื่อว่ายังพอมีพื้นที่ว่างเพื่อก่อสร้างสถานีและศูนย์ซ่อมบำรุง ซึ่งกทม.ควรเร่งศึกษามอบหมายให้สำนักการจราจรและขนส่ง(สจส.)กทม.ไปดำเนินการโดยเร็ว" หากกทม.ได้เจรจากับประชาชนในพื้นที่อย่างชัดเจนคาดว่าน่าจะมีผู้สนับสนุนโครงการมอบพื้นที่สร้างศูนย์ซ่อมบำรุงหรืออาจจะมีการเวนคืนบ้างในช่วงก่อสร้างสถานีและจุดขึ้น-ลง
โดยใช้แนวถนนพุทธบูชาเป็นหลักซึ่งมีพื้นที่เกาะกลางรองรับเพียงพอ ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร คาดว่าจะใช้งบประมาณทั้งสิ้นไม่เกิน 20,000-30,000 ล้านบาทและหากได้รับการสนับสนุนจากเอกชนมูลค่าการลงทุนก็จะลดต่ำลงแต่ผลที่ได้รับจะช่วยแก้ปัญหาจราจรได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว"
Back to top
You cannot post new topics in this forum You cannot reply to topics in this forum You cannot edit your posts in this forum You cannot delete your posts in this forum You cannot vote in polls in this forum
Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group