RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311903
ทั่วไป:13573913
ทั้งหมด:13885816
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 120, 121, 122 ... 486, 487, 488  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
nathapong
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom

PostPosted: 03/01/2011 11:12 pm    Post subject: Reply with quote

AD24C wrote:
Mongwin wrote:
ตั้งโรงงานซ่อมรถไฟ
ข่าวสด Sunday, 02 January 2011 07:20

นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับแผนการจัดหาหัวรถจักรมาใช้ในกิจการเดินรถของการ รถไฟจากเดิมเป็นการจัดซื้อจัดจ้าง เป็นการซ่อมหัวรถจักรเก่าเพื่อให้กลับมาใช้งานได้จำนวน 56 คัน ด้วยการจัดตั้งโรงงานขึ้นมาซ่อมแทนการส่งไปซ่อมต่างประเทศ หรือการจัดซื้อหัวรถจักรใหม่ ทั้งนี้แผนการจัดตั้งโรงงานนั้นการรถไฟฯ จะต้องส่งเรื่องไปยังกระทรวงคมนาคม และจากนั้นก็จะเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.)


หมายความว่า จะไม่มีการจัดซื้อรจ.ใหม่ในเร็วๆนี้หรอครับ Shocked


เอ่อ...มีข่าวอยู่ในหน้า 98 และ 104 ในกระทู้นี้ ขอรับ โดยผู้โพส คือ ท่าน ห.หมี เอง

Quote:
Wisarut wrote:
‘คมนาคม’ ทุ่ม 1.7 แสนล้านผ่าตัด ร.ฟ.ท. รวบสัญญาซื้อรถจักร-ซ่อมบำรุง
เขียนโดย by Administrator
หนังสือพิมพ์ ทรานสปอร์ตเจอร์นัล
อังคารที่ 6 กรกฎาคม 2553 04:13

นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมแผนงบประมาณด้านโครงสร้างพื้นฐานของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ว่า ขณะนี้ที่ประชุมได้มีการหารือเพื่อติดตามความคืบหน้าแผนงบประมาณด้านโครงสร้างพื้นฐานการรถไฟระยะเร่งด่วน พ.ศ. 2553-2557 ที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2553 วงเงินรวม 176,808.28 ล้านบาท จำนวน 21 โครงการ โดยเฉพาะการจัดหาหัวรถจักร การปรับปรุงราง การทำรางคู่ เพื่อให้การรถไฟจัดทำแผนการดำเนินงานให้ชัดเจน ก่อนที่จะรายงานคณะรัฐมนตรี

โดยในส่วนที่จะมีการจัดหารถจักรดีเซล จำนวน 13 คัน (20 ตัน/เพลา) วงเงิน 2,145 ล้านบาท ที่ประชุมมีแนวคิดว่าโครงการจัดหารถจักรตามแผนจำนวน 63 คัน มูลค่าประมาณ 8,700 ล้านบาท นั้น เห็นควรที่จะทำสัญญาร่วมกับโครงการซ่อมบำรุงรถจักรจำนวน 56 คัน มูลค่า 3,360 ล้านบาท เป็นสัญญาเดียว มูลค่ารวมประมาณ 12,067 ล้านบาท โดยมีเงื่อนไขให้เอกชนตั้งโรงงานประกอบรถจักรดีเซลไฟฟ้าในประเทศไทย เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้แรงงานและการใช้วัสดุที่ผลิตภายในประเทศ ซึ่งจะสรุปเรื่องดังกล่าวเสนอ ครม. เพื่อขออนุมัติให้รวมเป็นสัญญาเดียวกันได้ภายในเดือนกรกฎาคม และจะเปิดประมูลคัดเลือกเอกชนได้ภายในเดือนกันยายนนี้
“ในอนาคตโรงงานดังกล่าวจะรับผิดชอบงานซ่อมบำรุงรถจักรอย่างน้อยประมาณ 10 ปี ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศไทยหลายอย่างเช่น การสร้างงานในประเทศ ต้นทุนการผลิตที่ต่ำลงจากที่สามารถที่จะใช้วัสดุภายในประเทศ โดยมั่นใจว่าจะมีเอกชนให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะบริษัทที่มีศักยภาพในการเข้ามาลงทุน เช่น ประเทศฝรั่งเศส สเปนเยอรมนี ญี่ปุ่น เกาหลี และจีน เป็นต้น”
สำหรับโครงการทั้งหมดแบ่งเป็น

1. โครงการที่มีความพร้อมและสามารถที่จะดำเนินการได้ทันทีจำนวน 11 โครงการ วงเงินลงทุน 87,529 ล้านบาท ซึ่งรัฐรับภาระ 84,024 ล้านบาท ร.ฟ.ท.รับภาระ 3,505 ล้านบาท ประกอบด้วยโครงการที่นำเสนอ ครม. พิจารณาแล้วจำนวน 4 โครงการ คือ

1. โครงการปรับปรุงทางระยะที่ 5 เส้นทางแก่งคอย-แก่งเสือเต้น ช่วงสถานีสุรนารายณ์-ชุมทางบัวใหญ่ และช่วงสถานีชุมทางถนนจิระ-ชุมทางบัวใหญ่ ระยะทาง 308 กิโลเมตร วงเงิน 5,508 ล้านบาท ระยะการดำเนินการ 4 ปี

2. โครงการปรับปรุงทางระยะที่ 6 เส้นทางสถานีชุมทางบัวใหญ่-หนองคาย ระยะทาง 278 กิโลเมตร วงเงิน 6,779 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี

“ปัจจุบันโครงการปรับปรุงรางระยะที่ที่ 5 และ 6 ได้รับความเห็นชอบจาก ครม. แล้ว ก็สามารถดำเนินการได้ โดยจะมีการทำแผนว่าจะเริ่มประมูลเมื่อไร ใช้เวลาก่อสร้างเท่าไร และแล้วเสร็จเมื่อใด”

3. โครงการก่อสร้างทางคู่ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ระยะทาง 106 กิโลเมตร วงเงิน 11,348.356 ล้านบาท

4. โครงการจัดหารถจักรดีเซลจำนวน 13 คัน (20 ตัน/เพลา) วงเงิน 2,145 ล้านบาท

5. โครงการปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัย ระยะทาง 2,406 กิโลเมตร วงเงิน 23,670.750 ล้านบาท

6. โครงการปรับปรุงสะพานจำนวน 12,167 ล้านบาท
7. โครงการอาณัติสัญญาณไฟสี 224 สถานี 11,358 ล้านบาท
8. โครงการติดตั้งเครื่องกั้นถนนเสมอระดับจำนวน 1,284 แห่ง วงเงิน 5,456.20 ล้านบาท
9. งานติดตั้งรั้วสองข้างทางตามแนวเขตทางรถไฟ ระยะทาง 1,649 กิโลเมตร วงเงิน 4,736.55 ล้านบาท
10. โครงการสร้างโรงงานรถจักรแก่งคอย 1,000 ล้านบาท
11. โครงการสร้างโรงรถจักรศรีราชา และหน่วย 10 ลาดกระบัง 359.87 ล้านบาท

สำหรับ 10 โครงการที่เหลือวงเงินรวม 82,279 ล้านบาท ยังอยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสมและจัดทำรายงานด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพื่อเตรียมนำเสนอ ครม. ประกอบด้วย

1. การก่อสร้างทางคู่สายมาบกะเบา-ถนนจิระ วงเงิน 11,640 ล้านบาท
2. ทางคู่สายนครปฐม-หนองปลาดุก-หัวหิน วงเงิน 16,600 ล้านบาท
3. ทางคู่สายลพบุรี-ปากน้ำโพ วงเงิน 7,860 ล้านบาท
4. ทางคู่สายถนนจิระ-ขอนแก่น วงเงิน 13,010 ล้านบาท
5. ทางคู่สายประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร วงเงิน 17,000 ล้านบาท
6. การจัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้าทดแทน GE 50 คัน วงเงิน 6,526.50 ล้านบาท
7. ซ่อมบำรุงรถจักร 56 คัน วงเงิน 3,360 ล้านบาท

8. จัดหารถโดยสารรุ่นใหม่เชิงพาณิชย์ 115 คัน วงเงิน 4,981.050 ล้านบาท
9. โครงการก่อสร้างสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (ICD) แห่งที่ 2 วงเงิน 6,066 ล้านบาท ซึ่ง ปัจจุบันได้ดำเนินงานถึงช่วงกลางการศึกษา โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จเดือนมิถุนายน 2553

10. โครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคม 2,200 ล้านบาท


จากข่าว เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2553 หน้า 104 โพสโดย ห.หมี

Wisarut wrote:
ประเด็นร้อน
โพสต์ทูเดย์ 07 กันยายน 2553 เวลา 06:28 น.

เจาะแฟ้มครม.
โพสต์ทูเดย์ 07 กันยายน 2553 เวลา 07:59 น.


ชงครม.ทุ่ม1.3หมื่นล.โละหัวรถจักรเก่า
โดย ทีมข่าวการเมือง
ไทยรัฐออนไลน์ 7 กันยายน 2553, 00:47 น.

จับตากระทรวงคมนาคมเสนอแนวทางและนโยบายการกู้เงิน วงเงิน 400 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ13,671 ล้านบาท จากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศจีน เพื่อนำมาพัฒนาระบบรางตามแผนของคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เงินกู้ดังกล่าวมีอายุ 15 ปี ดอกเบี้ย 3% ต่อปีระยะเวลาปลอดหนี้ 5 ปี เพื่อนำไปซื้อ รถจักร 50 หลังแทนรถจักร GE ที่เก่า (อายุประมาณ 45 ปี) เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการเดินรถ และ ซ่อมทางช่วงพิษณุโลก - เชียงใหม่ และ ทุ่งสง - หาดใหญ่

วาระครม.วันนี้ คค.ชงกู้จีน 1.36 หมื่น ล.สังคยานารถไฟไทย

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 7 กันยายน 2553 07:05 น.



รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาลแจ้งว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้(7ก.ย.) กระทรวงคมนาคมจะเสนอแนวทางและนโยบายการกู้เงินวงเงิน 400 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 13,671 ล้านบาท จากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศจีน เพื่อนำมาพัฒนาระบบรถราง ตามแผนของคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)ด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยเงินกู้ดังกล่าวมีระยะเวลา 15 ปี ดอกเบี้ย 3% ต่อปี ระยะเวลาปลอดหนี้ 5 ปี มีค่าธรรมเนียมเงินกู้ 0.5% ต่อปี ของวงเงินที่ไม่ได้เบิกจ่าย และค่าธรรมเนียมการจัดการ 0.5% ต่อปีของวงเงิน และต้องจ่ายคืนเงินต้นเป็นเงินเหรียญสหรัฐปีละ 2 ครั้ง

การกู้เงินครั้งนี้ จะนำไปปรับปรุงระบบรางของไทย ดังนี้ คือ

1.โครงการจัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้าพร้อมอะไหล่เพื่อทดแทนรถจักร GE ที่มีอายุใช้งานมากกว่า 45 ปีจำนวน 50 คัน มูลค่าโครงการประมาณ 6,562.25 ล้านบาทหรือ ประมาณ 195 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งปัจจุบัน หัวรถจักรที่ใช้งานมีอายุการใช้งานเกินกว่า 25 ปี มีจำนวนถึง 151 หัว

2.โครงการปรับปรุงระบบรางสายประธาน (รางหมอน ประแจ สะพานและคอนกรีต อัดแรงที่ทางจัดผ่านเสมอระดับ) ช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ มูลค่าโครงการ 4,428 ล้านบาท หรือประมาณ 132 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ

3.โครงการปรับปรุงระบบรางสายประธานช่วงทุ่งสง ชุมทางหาดใหญ่ มูลค่าโครงการประมาณ 2,680.8 ล้านบาท หรือประมาณ 80 ล้านเหรียญสหรัฐ

อย่างไรก็ตาม ในสัญญาการกู้เงินจีนได้กำหนดเงื่อนไขการกู้เงินให้ไทยต้องซื้อสินค้าจากจีนไม่น้อยกว่า 50% ของวงเงินกู้ ซึ่งสำนักบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) แสดงความกังวลในเรื่องการสั่งซื้อสินค้าจากจีนที่เป็นการผูกมัดฝ่ายไทยมากไป จึงส่งหนังสือขอเจรจากับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศจีน เพื่อแก้ไขร่างกรอบความตกลงดังกล่าวไปแล้ว 3 ครั้ง เพราะกลัวว่าไทยจะเสียเปรียบเพราะเป็นสัญญาผูกมัดมากเกินไป และกระทรวงการคลังได้ตั้งข้อสังเกตว่าข้อตกลงการกู้เงินทั้งหมดระหว่างไทยและจีนยังไม่อาจตกลงเพราะยังไม่มีข้อสรุปร่วมกัน และการที่ไทยต้องซื้อสินค้าจากจีนไม่ต่ำกว่า 50% นั้น ถือว่าไม่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการกระตุ้นการจ้างงานและการลงทุนภายในประเทศภายใต้สถานการณ์เศรษฐกิจตกต่ำในปัจจุบัน

สำหรับผลการเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยกับแหล่งเงินกู้อื่นๆ เมื่อสวอป(swap)เป็นเงินบาทแล้ว เงินกู้จากจีนมีอัตราสูงกว่าการกู้จากแหล่งอื่น ดังนี้คือ

1. แหล่งเงินกู้จากธนาคารโลก อัตราดอกเบี้ย 5.05%
2. ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) อัตราดอกเบี้ย 3.74%
3. องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น (JICA) อัตราดอกเบี้ย 3.61%
4. พันธบัตรไทยอายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ย 4.08% และ
5. พันธบัตรอายุ 15 ปี อัตราดอกเบี้ย 4.31% และ

เงื่อนไขการกู้ของจีนยังผูกผันไม่สามารถเจรจาได้


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้คณะทำงานเพื่อดำเนินงานความร่วมมือด้านรถไฟ ระหว่างไทย-จีน เข้าร่วมประชุมคณะทำงานเพื่อดำเนินงานความร่วมมือด้านรถไฟ ระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2552 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีรองปลัดกระทรวงคมนาคม (หัวหน้ากลุ่มภารกิจการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านทางหลวง) เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายไทย และอธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการรถไฟ ทำหน้าที่หัวหน้าคณะฝ่ายจีน สรุปผลการประชุมได้ คือ

1. รัฐบาลจีนได้ให้ความสำคัญในการสร้างทางรถไฟ และมีนโยบายการก่อสร้างและพัฒนารถไฟทั่วประเทศ กระทรวงการรถไฟได้ดำเนินงานด้านคมนาคมและการสร้างระบบรถไฟความเร็วสูง โดยปัจจุบันสามารถรองรับปริมาณผู้โดยสารจำนวน 1,400 ล้านคนต่อปี และขนส่งสินค้าได้ 340 ล้านตันต่อปี

2. ฝ่ายไทยได้แจ้งผลการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2552 และขอรับการสนับสนุนด้านเทคนิคเกี่ยวกับการพัฒนาระบบรถไฟจากผู้เชี่ยวชาญจากกระทรวงการรถไฟจีนศึกษาข้อมูลในประเทศไทย ซึ่งฝ่ายจีนยินดีให้การการสนับสนุนเรื่องดังกล่าว

3. ฝ่ายจีนได้สอบถามเรื่องที่นายกรัฐมนตรีได้ขอรับการสนับสนุนสินเชื่อจากจีน จำนวน 400 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อพัฒนาด้านระบบขนส่งทางรางของไทย พร้อมทั้งเสนอให้ความช่วยเหลือในการพิจารณารายละเอียดโครงการตามข้อ 2.1.3 ในลักษณะรัฐบาลต่อรัฐบาล เพื่อให้เป็นโครงการนำร่องความร่วมมือที่ประสบความสำเร็จเป็นรูปธรรม ซึ่งฝ่ายไทยแจ้งว่า กระทรวงคมนาคมได้นำเสนอนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวแล้ว

4. ทั้งสองฝ่ายมีความเห็นร่วมกันที่จะกำหนดให้มีการประชุมร่วมกันและการเยือนในระดับผู้บริหารระดับสูงของรัฐบาลร่วมกันต่อไป

Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46865
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/01/2011 2:39 am    Post subject: Reply with quote

ผู้ใช้บริการรถไฟกลับภูมิลำเนา 7 แสนราย รฟท.เสริมตู้เที่ยวกลับ มั่นใจไม่ตกค้าง
ผู้จัดการ วันจันทร์ที่ 3 มกราคม 2554 16:06 น.

นางนวลอนงค์ วงษ์จันทร์ หัวหน้ากองประชาสัมพันธ์ ศูนย์ประชาสัมพันธ์และบริการท่องเที่ยวการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. เปิดเผยว่า สำหรับตัวเลขการเดินทางของประชาชน ตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2553 จนถึงวันที่ 2 มกราคม 2554 มีผู้ใช้บริการรถไฟประมาณ 700,000 ราย โดยช่วงขาออกจากกรุงเทพฯ จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2553 ประมาณ 430,000 ราย ส่วนขากลับเข้ากรุงเทพฯ ยังคงต้อรอสรุปยอดในวันที่ 3 และ 4 มกราคม ที่ผู้โดยสารจะเดินทางเข้ามาเป็นจำนวนมาก ซึ่งมั่นใจว่ารถที่เตรียมไว้จะเพียงพอกับความต้องการของประชาชน โดยจะมีการเสริมตู้ในขบวนรถที่วิ่งปกติ 3 - 4 ตู้ต่อขบวน

ส่วนยอดผู้โดยสารในปีนี้ ปริมาณใกล้เคียงกับช่วงปีใหม่ของปี 2553 ทั้งนี้คาดว่าในช่วงเย็นของวันนี้จะมีผู้โดยสารทยอยเดินทางเข้ามาอีก เนื่องจากมีขบวนรถในเส้นทางสุราษฎร์ธานี หัวหิน อุบลราชธานี เชียงใหม่ เข้ามาในช่วงเย็น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
nathapong
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom

PostPosted: 04/01/2011 10:50 am    Post subject: Reply with quote

^
ไม่มีข่าวเรื่อง ต่อสัญญา ICD หรือว่า ไม่มีการต่อสัญญา รฟท จะบริหารเอง หว่า... Question
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
kikoo
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 01/02/2010
Posts: 1667
Location: มอ.ตรัง และ สถานีตรัง

PostPosted: 04/01/2011 11:13 am    Post subject: Reply with quote

ใช้เงิน3000กว่าล้านซ่อมรถจักรเก่า(ซึ่งซ่อมไปก็ได้แบบรถจักรไม่ครบขาเหมื่อนเดิม)....เอาเงินนี้ไปซื้อของใหม่ดีกว่ามั้ง Wink
_________________
ความคืบหน้าโครงการปรับปรุงทางช่วงที่วัง-กันตัง
http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=5618
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
nathapong
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom

PostPosted: 04/01/2011 11:27 am    Post subject: Reply with quote

kikoo wrote:
ใช้เงิน3000กว่าล้านซ่อมรถจักรเก่า(ซึ่งซ่อมไปก็ได้แบบรถจักรไม่ครบขาเหมื่อนเดิม)....เอาเงินนี้ไปซื้อของใหม่ดีกว่ามั้ง Wink


จากข่าว ก็บอกว่า จะสร้างโรงงานสร้างรถ (ที่จะซื้อมาทดแทน GEK) และ ซ่อม (น้าต้อม 56 คัน) ...

ว่าแต่ จะเป็นรถไฟที่ใช้กับทางกว้าง 1.00 หรือ 1.435 เมตร

นักข่าวเอามาลงไม่หมดหรือไม่ อันนี้ ไม่รู้ เหอ ๆๆๆ Question

ปล.ฝากเพื่อน ๆ พี่ๆ ที่เป็นนักข่าว ช่วยตรวจสอบข่าวในประเด็นนี้ด้วยเน้อ

เรื่องของเรื่อง ที่มาของข่าวก็ มาจาก การประชุมเข้าครม ที่สายข่าว...(ไหนดูแล) กับเรื่องที่มีการแก้ไขและตอบมาจากสายงานที่จัดวาระเข้าประชุม ครม อ่านะ
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46865
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/01/2011 9:38 pm    Post subject: Reply with quote

ยกเว้นค่าธรรมเนียมใช้ รฟท.ถ่ายหนังสำหรับกองถ่ายต่างประเทศ
สำนักข่าวไทย วันพุธ ที่ 05 ม.ค. 2554

กองกิจการภาพยนตร์ กระทรวงการท่องเที่ยวฯ เผยอินเดียและญี่ปุ่นติดอันดับสูงสุดใช้ไทยเป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ และเพิ่มแรงจูงใจให้กองถ่ายต่างประเทศ โดยตลอดทั้งปีสามารถเข้ามาใช้สถานที่ราชการ 7 หน่วยงาน โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม เช่น อุทยานฯ-กรมศิลป์-รฟท.-สนามบินสุวรรณภูมิ เป็นต้น

นายสุพล ศรีพันธุ์ อธิบดีกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เปิดเผยว่า ได้เข้าพบนายสมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เนื่องในเทศกาลปีใหม่ และหารือทั่วไปในการสนับสนุนการทำงานระหว่างกันในฐานะที่ทั้งสองกระทรวงร่วมเป็นคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ โดย วธ.รับผิดชอบภาพยนตร์ในประเทศ ส่วน กก.รับผิดชอบเรื่องการส่งเสริมใช้สถานที่ประเทศไทยในการถ่ายทำภาพยนตร์ ซึ่งหลายสถานที่ในการถ่ายทำ เช่น โบราณสถาน พิพิธภัณฑ์ อยู่ในสังกัดกรมศิลปากรของ วธ. ซึ่งปลัด วธ.ก็พร้อมสนับสนุน

นายสุพล กล่าวต่อว่า สำหรับการใช้สถานที่ประเทศไทยในการถ่ายทำภาพยนตร์ในรอบปีที่ผ่านมา กองกิจการภาพยนตร์ สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว (สพท.) ได้สรุปสถิติว่าตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม มีจำนวนทั้งสิ้น 530 เรื่อง สร้างรายได้เข้าประเทศกว่า 1,800 ล้านบาท มากกว่าปี 2552 ซึ่งมีรายได้กว่า 900 ล้านบาท ซึ่งกองถ่ายต่างประเทศที่เข้ามาถ่ายทำมากที่สุด คือ ประเทศอินเดีย รองลงมาคือญี่ปุ่น

นายสุพล กล่าวด้วยว่า ในปี 2554 อัตราการเติบโตในการเข้ามาถ่ายทำในประเทศไทย เชื่อว่าจะสูงขึ้นอีก เพราะรัฐบาลได้สนับสนุนการให้สิทธิประโยชน์จูงใจ (อินเซนทีฟ) เช่น คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบยกเว้นค่าธรรมเนียมการเข้าถ่ายทำภาพยนตร์ในพื้นที่ราชการ 7 แห่ง เป็นเวลา 1 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-31 ธันวาคม 2554 ทั้งกองถ่ายภาพยนตร์ต่างประเทศและกองถ่ายภาพยนตร์ไทย ได้แก่ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมศิลปากร การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กรมธนารักษ์ กรมป่าไม้ กรมชลประทาน และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ นอกจากนี้ ยังมีการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 ให้กองถ่ายต่างประเทศ แต่สามารถใช้สิทธิพิเศษได้ในการเข้ามาถ่ายทำครั้งที่ 2 ส่วนครั้งแรกจะเก็บเป็นสถิติไว้ก่อน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46865
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/01/2011 8:31 am    Post subject: Reply with quote

ซื้อหัวรถจักรชอร์ตเอกชนค้านประมูล
โพสต์ทูเดย์ 10 มกราคม 2554 เวลา 06:11 น.

รถไฟฯ สะดุดซื้อรถจักร 20 คัน มูลค่า 3,000 ล้านบาท เอกชนฟ้องศาลปกครอง ทำ ร.ฟ.ท.ต้องชะลอการประกวดราคา

นายประจักษ์ มโนธัม รองผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างการจัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้าจำนวน 20 คัน มูลค่าประมาณ 3,000 ล้านบาท แบ่งเป็นสัญญาแรก จำนวน 7 คัน มูลค่า 1,050 ล้านบาท และสัญญาที่ 2 จำนวน 13 คัน มูลค่า 1,950 ล้านบาท โดยในส่วนของสัญญาแรกนั้น มีบริษัทที่ไม่ผ่านคุณสมบัติยื่นฟ้องศาลปกครอง ส่งผลให้ ร.ฟ.ท.ต้องชะลอการประกวดราคา เพื่อรอคำวินิจฉัยของศาล หลังจากยุติการไต่สวนเมื่อเดือน พ.ย. 2553

“ยืนยันว่าการกำหนดคุณสมบัติในการประกวดราคาคัดเลือกเอกชน ในโครงการจัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้า 7 คัน เป็นไปด้วยความถูกต้อง สามารถตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่างๆ ได้ ซึ่งมีข้อสังเกตว่ามีบริษัทไม่ผ่านคุณสมบัติ 2 ราย แต่ยื่นฟ้องศาลเพียงรายเดียว และมีผู้ผ่านคุณสมบัติ 2 ราย” นายประจักษ์ กล่าว

สำหรับการจัดหาหัวรถจักรในสัญญาที่ 2 จำนวน 13 คัน มีการร้องเรียนเกี่ยวกับคุณสมบัติรถจักรดีเซลไฟฟ้าที่ประกาศในทีโออาร์ โดยตั้งข้อสังเกตว่ามีการล็อกสเปก เพราะกำหนดคุณสมบัติรถจักรว่าต้องใช้ระบบกระแสไฟฟ้าสลับหรือเอซี ทั้งที่ระบบกระแสไฟฟ้ามี 2 แบบ คือ กระแสไฟฟ้าตรง หรือดีซี และเอซี ซึ่ง ร.ฟ.ท.จะชี้แจงถึงสาเหตุที่กำหนดให้ใช้ระบบกระแสไฟฟ้าสลับ หลังจากนั้นจะเปิดขายเอกสารประกวดราคา โดยคาดว่ากลางปีนี้จะลงนามสัญญาได้ และใช้เวลาในการผลิตประมาณ 2 ปี

“ระบบกระแสไฟฟ้าสลับ สามารถรองรับเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้ และใช้ในรถไฟฟ้าปัจจุบัน ส่วนระบบกระแสไฟฟ้าตรง จะต้องมีมอเตอร์ขนาดใหญ่ มีค่าบำรุงรักษาสูงกว่า ในการพิจารณาด้านเทคนิค จึงเห็นว่าการเลือกใช้ระบบกระแสไฟฟ้าสลับ จะประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า และประหยัดเวลาในการซ่อมบำรุง” นายประจักษ์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ร.ฟ.ท.ค่อนข้างเป็นห่วงเกี่ยวกับการจัดหารถจักรให้เพียงพอต่อความต้องการ และสอดคล้องกับแผนการปรับปรุงโครงสร้างทางรถไฟ เพราะเมื่อการปรับปรุงแล้วเสร็จจะต้องมีรถจักรใช้งานให้สอดคล้องกัน แต่ปัญหาคือรถจักรที่มีอยู่มีอายุการใช้งานนานมาก โดยใน 2 ปีข้างหน้าจะมีรถจักร 50 คัน ที่มีอายุการใช้งานถึง 45 ปี รัฐบาลจึงควรเร่งอนุมัติให้ปรับปรุงรถจักรและจัดหารถจักรใหม่มาทดแทน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46865
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/01/2011 10:37 am    Post subject: Reply with quote

น้ำมันปาล์มทะลักจากมาเลย์วันละหลายหมื่นกิโลฯ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 12 มกราคม 2554 10:24 น.

ยะลา - พ่อค้าแม่ค้าขายไก่ทอดยะลา รับต้องเพิ่มทุนรายวัน หลังราคาน้ำมันปาล์มขึ้นราคากิโลกรัมละเกือบ 10 บาท ในขณะที่การลำเลียงน้ำมันปาล์มเถื่อนจากมาเลย์ยังทะลักมากับขบวนรถไฟวันละหลายหมื่นกิโลกรัม

วันนี้ (12 ม.ค.) นายอุดม ศรีสมทรง หัวหน้าการค้าภายใน จ.ยะลา ได้เดินทางไปตรวจสอบปริมาณการใช้น้ำมันปาล์มของแม่ค้า พ่อค้า ขายข้าวเหนียวไก่ทอด กล้วยทอด ในย่านคุรุหลังมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาในเขตเทศบาลนครยะลา โดยได้สอบถามการใช้น้ำมันปาล์มในแต่ละวัน และที่มาของตลาดจำหน่ายน้ำมันปาล์ม พบว่าน้ำมันปาล์มที่ใช้ทั้งหมดมาจากพ่อค้าขายส่งที่นำน้ำมันปาล์มมาจากประเทศมาเลเซีย มาขายในราคาตั้งแต่ถุงละ (0.8 - 1 กก.) 48 - 55 บาท แล้วแต่ยี่ห้อและน้ำหนัก ซึ่งแต่ละแผงขายจะรับน้ำมันปาล์มแผงละ 6-8 ถุงต่อวัน

แต่สถานการณ์การขาดแคลนน้ำมันปาล์ม ในจังหวัดยะลายังไม่พบการขาดแคลนแต่อย่างใด เพียงแต่ราคาขายได้ปรับตัวสูงขึ้นกว่าเดิมกิโลกรัมละ 8-9 บาท เท่านั้น ส่วนการใช้บริโภคในครัวเรือนส่วนใหญ่จะใช้น้ำมันถั่วเหลืองและน้ำมันรำ จึงไม่มีปัญหาในเรื่องของการขาดแคลน

นางหยาด หมานแพทย์ แม่ค้าขายข้าวเหนียวไก่ทอด กล่าวว่า น้ำมันปาล์มในปัจจุบันยังไม่ขาดแคลน เนื่องจากมีพ่อค้าวิ่งขายส่งน้ำมันปาล์มที่ลักลอบจากมาเลเซียมาส่งทุกวัน แต่จะมีราคาสูงขึ้นกว่าเดิมกิโลกรัมหรือถุงละ 8 - 9 บาท ปัจจุบันการขายไก่ทอดมีผลกระทบในเรื่องของต้นทุนที่สูงขึ้น แต่ขายให้ผู้ซื้อในราคาคงเดิม จึงทำให้มีผลกำไรหดลงวันละกว่า 200 -300 บาท

เช่นเดียวกับนายอาลี ผดุงผล พ่อค้าขายข้าวเหนียงไก่ทอด ในย่านหลังมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา กล่าวว่า ตนเองมาเปิดขายข้าวเหนียวไก่ทอดมานานกว่า 10 ปี แล้ว โดยได้อพยพมาจาก จ.กระบี่ มาทำอาชีพขายข้าวเหนียวไก่ทอด มาในปีนี้มีผลกระทบกับน้ำมันปาล์มขึ้นราคาแพงมาก ซึ่งเมื่อน้ำมันปาล์มขึ้นราคาไก่ และข้าวเหนียวก็ขึ้นราคาตามไปด้วย ในขณะที่การขายไก่ทอดให้กับลูกค้ายังคงขายในราคาคงเดิมอยู่

สมมุตว่าในอดีตวันหนึ่งขายได้กำไร 600 บาท แต่ปัจจุบันจะมีกำไรแค่ 300 - 400 บาท กำไรขาดไปเกือบร้อยละ 50 การใช้น้ำมันในอดีตจะใช้ 2 วันแล้วนำไปทิ้ง แต่ปัจจุบันต้องยึดการใช้บางครั้งไปเป็น 3 วัน เพื่อประหยัดน้ำมันในการทอด ตนเองลงทุนในแต่ละวันประมาณ 2,000 บาท แต่เมื่อน้ำมันขึ้นราคาทำให้ต้นทุนในแต่ละวันจะขยับขึ้นตามไปด้วย

นายอุดม ศรีสมทรง หัวหน้าการค้าภายในจังหวัดยะลา กล่าวว่า สถานการณ์การขายน้ำมันปาล์มนั้น โดยภาพรวมปริมาณสินค้าค่อนข้างจะขาดแคลนบ้าง แต่ยังพอกับความต้องการของผู้บริโภคอยู่ น้ำมันปาล์มที่ใช้บริโภคในครัวเรือนนั้นน้อยมาก ยกเว้นพ่อค้าแม่ค้าที่ขายอาหารทอดที่ใช้จำนวนมากแต่ผู้ประกอบการในพื้นที่จะใช้น้ำมันปาล์มที่นำมาจากประเทศมาเลเซียมากกว่า เพราะต้นทุนต่ำและหาซื้อง่าย ซึ่งก่อนหน้านี้ผู้ประกอบการจะใช้น้ำมันปาล์มจากมาเลย์อยู่แล้ว แต่ปัจจุบันทางมาเลเซียได้ปรับราคาน้ำมันปาล์มขึ้นไปด้วย ซึ่งสอดคล้องกับของประเทศไทยที่มีการปรับราคาขึ้นเป็น 47 บาทในปัจจุบัน

มาตรการของสำนักงานการค้าภายในมีการตรวจสอบร้านค้าขายปลีกและขายส่งเพื่อป้องกันการกักตุนเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการขาดแคลนในภายหลัง และการปิดราคาขายปลีกที่ชัดเจนส่วนในเรื่องของการลักลอบนำเข้านั้น ทางสำนักงานการค้าภายในไม่ใช่หน้าที่โดยตรงแต่ได้ประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องทั้งศุลกากร และเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อลดและยับยั้งการลักลอบนำเข้าโดยผิดกฎหมายอยู่แล้ว

ส่วนบรรยากาศที่บริเวณสถานีรถไฟยะลา ในเขตเทศบาลนครยะลามีบรรดากองทัพมดนำน้ำมันปาล์มจากประเทศมาเลเซียโดยขบวนรถไฟเป็นจำนวนมาก ทำให้ผู้โดยสารการขบวนรถไฟสายสุไหงโก-ลก - หาดใหญ่ ได้รับผลกระทบในเรื่องของความสะดวกในการจัดหาที่นั่งเป็นอย่างมาก เพราะบริเวณที่นั่งบนรถบรรดากองทัพมดจะนำสินค้าหนีภาษีจากมาเลเซียมากองไว้ระเกะระกะเต็มทุกโบกี้โดยไม่มีเจ้าหน้าที่มาจัดการแต่อย่างใด
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 12/01/2011 12:29 pm    Post subject: Reply with quote

^
^
เป็นเรื่องหนามตำใจสำหรับการค้าขายในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้กับประเทศเพื่อนบ้านมานานแล้วครับ เพราะราคาสินค้าที่ส่งลงไปจากกรุงเทพฯ มีต้นทุนค่าขนส่งเพิ่มไปด้วย ชาวบ้านจึงนิยมซื้อสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีราคาต่ำกว่า

ครั้นจะรอให้ลดกำแพงภาษีสินค้าข้ามแดนให้เป็น 0% ทางฝั่งโน้นก็อิดๆ ออดๆ เพราะเกรงว่าสินค้าจากไทยจะเข้าไปทำลายตลาดเขา จำเป็นต้องหาทางป้องกันไว้ก่อน เราจึงเห็นแต่ขบวนรถสินค้า (เถื่อน) จากชายแดน โดยมีผู้โดยสารเป็นส่วนประกอบเท่านั้น Cool
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46865
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/01/2011 9:43 pm    Post subject: Reply with quote

บิ๊กโปรเจกต์ รถไฟแสนล้าน โชยกลิ่นตั้งแต่ยังไม่ตั้งไข่
สยามธุรกิจ ฉบับที่ 1168 ประจำวันที่ 15-1-2011 ถึง 18-1-2011


แผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางราง ตามแผนฟื้นฟูกิจการของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ระยะเร่งด่วน ปี 2553-2557 วงเงิน 1.76 แสนล้านบาท มีการแบ่งเม็ดเงินลงทุนตามแผนงานไว้แล้ว คือ รัฐบาลเป็นผู้รับภาระในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและระบบอาณัติสัญญาณ จำนวน 14 รายการ วงเงินลงทุน 1.52 แสนล้าน บาท ส่วนที่ ร.ฟ.ท.รับภาระในการจัดหารถจักร และล้อเลื่อน วงเงิน 2.44 หมื่นล้านบาท

เงินจำนวนมหาศาลดังกล่าว อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของครูบ้านนอก “โสภณ ซารัมย์” ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่จะต้องเร่งรัดให้การดำเนินโครงการเป็นไปตามแผนงาน โดยการใช้งบประมาณต่างๆ ของโครงการนี้จะเริ่มขึ้นในปี 2554 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ มีหลายโครงการที่จะต้องทำในปีนี้ มูลค่านับหมื่นล้านบาท อาทิ โครงการปรับปรุงทางระยะที่ 5 และ 6 โครงการจัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้า 20 ตัน จำนวน 13 คัน โครงการติดตั้งอาณัติสัญญาณไฟสี จำนวน 224 สถานี โครงการก่อสร้างทางคู่ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย โครงการปรับปรุงสะพาน จำนวน 1,434 แห่ง ฯลฯ แต่ยังไม่ทันได้ทำอะไร อภิมหา โปรเจกต์แสนล้าน ก็ส่งกลิ่นเสียแล้ว ตั้งแต่โครงการแรกที่มีการเปิดประมูล!

โครงการแรก “โครงการจัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้า” ซึ่งมองแล้วน่าเป็นโครงการที่น่าจะทำได้เร็วกว่าโครงการอื่นๆ และไม่น่าจะใช้เวลานาน เพราะเป็นการซื้อของมาใช้เบสิกธรรมดาๆ แต่ก็มีกลิ่นจนได้ เอกชนผู้เข้าร่วมประมูลออกมาโวยว่า “มีการล็อกสเปก!”

โดย บริษัท สยามโบกี้ จำกัด ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจการ ร่วมค้า เอสบี-เอทีพีเอ็ม-เอแอลจี ที่ร่วมประมูลจัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้า ได้ยื่นหนังสือร้องเรียนไปยังประธานคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (กวพ.อ.) กรมบัญชีกลางว่า ประกาศร่างขอบเขตของงาน (ทีโออาร์) การซื้อรถจักรดีเซลไฟฟ้า (Diesel Electric Locomotive) น้ำหนักกดเพลา 20 ตัน/เพลา จำนวน 13 คัน พร้อมเครื่องอะไหล่ ของการรถไฟฯ วงเงิน รวม 2,145 ล้านบาท ซึ่งได้ประกาศทางเว็บไซต์ของกรมบัญชีกลาง เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2553 ที่ผ่านมา เป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ผลิตเพียงรายเดียว จึงขอให้คณะกรรมการฯ พิจารณาให้ ร.ฟ.ท.แก้ไขทีโออาร์เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้น

โดย “อารัม รมยานนท์” รองประธานบริหาร บริษัทสยามโบกี้ฯ บอกว่า จากร่างทีโออาร์ด้านเทคนิคหน้า 3 ข้อ 5.2 กำหนดให้ผู้เสนอราคาต้องเสนอเอกสารหลักฐานของผู้ผลิต (Manufacturer) หรือโรงงานผู้ผลิตที่เคยผลิต จำหน่ายรถจักรดีเซลไฟฟ้าระบบการผลิตกำลังไฟฟ้าออกมาเป็นกระแสสลับผ่านระบบควบคุมเป็นกระแสสลับเพื่อขับเคลื่อนรถจักร (AC- AC) ซึ่งเป็นการล็อกสเปกให้ผู้ผลิตจากประเทศจีนที่มี “ต้าเหลียน” (DALIAN) เพียงโรงงานเดียวที่สามารถยื่นข้อเสนอได้ แม้ปัจจุบันจะมีหลายรายที่ผลิตรถจักรดีเซลไฟฟ้าระบบ AC-AC เช่น ฮิตาชิ ประเทศญี่ปุ่น, ซีเมนส์ ของเยอรมนี, อัล สตอม ของฝรั่งเศส, ยีอี ของสหรัฐอเมริกา

อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารการรถไฟฯ ได้ชี้แจงว่า ทีโออาร์จัดซื้อรถจักร 13 คัน ร.ฟ.ท.เปิดกว้างให้ผู้ผลิตยื่นข้อเสนอได้มากกว่า 1 รายแน่นอน และระบบ AC-AC นอกจากผู้ผลิตจากจีนแล้ว มีอีกหลายรายที่ผลิตได้เช่น ซีเมนส์ ผลิตให้รถไฟเวียดนาม, ยีอีผลิตให้รถไฟมาเลเซีย เป็นต้น นอกจากนี้ระบบ AC-AC มีข้อดีกว่าระบบ AC-DC มอเตอร์เล็กกว่า ค่าบำรุงรักษาต่ำกว่า ส่วนระบบ AC-DC มอเตอร์มีขนาดใหญ่สวมเข้าเพลาล้อไม่ได้ ถ้าลดขนาดลงจะมีปัญหาเรื่องประสิทธิภาพ ค่าบำรุงรักษาสูง

สำหรับการสร้างรถจักรดีเซลไฟฟ้ามี 2 ระบบ คือ
1.ระบบการผลิตกำลังไฟฟ้าออกมาเป็นกระแสสลับ ผ่านเครื่องแปลงเป็นกระแสตรงเพื่อส่งไปขับเคลื่อนรถจักร (AC-DC)
2.ระบบการผลิตกำลังไฟฟ้าออกมาเป็นกระแสสลับ ผ่านระบบควบคุมเป็นกระแสสลับเพื่อขับเคลื่อนรถจักร (AC-AC)

ซึ่งการผลิตรถจักรทั้ง 2 ระบบ เหมือนกันประมาณ 95% ซึ่งโรงงานผลิตระบบ AC-DC สามารถผลิต ระบบ AC-AC ได้ โดยไม่มีอุปสรรคทางเทคนิคแต่ประการใด

ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ การรถไฟฯ เคยประมูลซื้อรถจักรดีเซล จำนวน 7 คัน และเครื่องอะไหล่มูลค่า 1,200 ล้านบาท ซึ่งมีการกำหนดสเปกเหมือนกับประมูลซื้อรถจักรดีเซลไฟฟ้า 13 คัน ซึ่งเคยถูกร้องเรียนว่ามีการล็อกสเปกและคณะทำงานสำนักงานปราบโกง (สปก 401) ของพรรคเพื่อไทยได้ตั้งข้อสังเกตว่า มีเหตุ ให้น่าสงสัยในกระบวนการและขั้นตอนการออกทีโออาร์และเชื่อได้ว่า อาจจะมีการส่อไปในทางทุจริตหรืออาจมีการสมรู้ร่วมคิดในกลุ่มบริษัทใดบริษัทหนึ่ง และขอตั้งข้อสังเกตว่า เป็นไปได้หรือไม่ว่า บริษัทที่เข้ามามีส่วนร่วมในการประกวดราคาครั้งนี้จะมีความสัมพันธ์กับบุคคลในรัฐบาลในทางเครือญาติ จึงเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีตรวจสอบการดำเนินการของกระทรวงคมนาคม เพราะเป็นกระทรวงที่ต้องบริหารงบประมาณจากโครงการเงินกู้ไทยเข้มแข็ง ที่มาจากภาษีอากร ของประชาชน

ซึ่งศาลปกครองกลางมีคำสั่งให้ระงับการเสนอราคาทางอิเล็กทรอนิกส์โครงการนี้ เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2553 ไว้ก่อน โดยจากคำให้การต่อศาลปกครอง ของการรถไฟฯ ระบุว่า การรถไฟฯ ทำหนังสือเชิญตัวแทนผู้ค้ารถจักรดังกล่าวให้มาร่วมเสนอราคาแล้ว แต่ไม่มีตัวแทนรายใด สนใจเสนอราคา เนื่องจากราคากลางที่ตั้งไว้ 1,500 ล้านบาท เป็นราคาที่ต่ำเกินกว่าที่ผู้ผลิตดังกล่าวจะสนใจเสนอราคาได้ อันเป็นการยืนยันได้ว่ามีเพียงผู้ผลิตรถจักรจากจีนเท่านั้น ที่สามารถเสนอ ราคาตามสเปกที่กำหนดไว้

ทั้งนี้ ปัจจุบันร.ฟ.ท.มีหัวรถจักรทั้งสิ้นประมาณ 800 หัว แต่ใช้งานจริงได้เพียง 200 กว่าหัวเท่านั้น ที่เหลือต้องเข้าโรงซ่อมกว่า 50% จึงไม่เพียงพอต่อการให้บริการ นอกจากนี้ ใน 2 ปีข้างหน้า จะมีรถจักร 50 คัน ที่มีอายุการใช้งานถึง 45 ปี รัฐบาลจึงควรเร่งอนุมัติให้ปรับปรุงรถจักร และจัดหารถจักรใหม่มาทดแทน

แต่ก่อนที่จะหามาทดแทน เรื่องความโปร่งใสถือว่าสำคัญอย่างยิ่ง หากโครงการแรกก็มีการทุจริตแล้ว นับประสา อะไรกับโครงการอื่นๆ อีกนับ 10 โครงการ ที่เหลือจะเดินหน้าต่อได้อย่างไร ขอฝากให้ รมว.คมนาคม เข้มงวดในเรื่องนี้ด้วย เพราะคนไทยทุกคนกำลังจับตามองการทำงานของการรถไฟฯ อยู่!!
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 120, 121, 122 ... 486, 487, 488  Next
Page 121 of 488

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©