RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312070
ทั่วไป:13679963
ทั้งหมด:13992033
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 33, 34, 35 ... 284, 285, 286  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47447
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/02/2011 9:48 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมสปีด'เมกะโปรเจ็คท์'
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2554 09:00

นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้สัมภาษณ์“กรุงเทพธุรกิจ”ถึงการดำเนินโครงการขนาดใหญ่ ว่า โครงการที่จะเร่งรัดประกวดราคาในปีนี้มี 4 โครงการ มูลค่า 128,201 ล้านบาท เป็นโครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนหรือรถไฟฟ้า 3 โครงการ มูลค่ารวม 101,179 ล้านบาท และโครงการก่อสร้างทางพิเศษ 1 โครงการ มูลค่า 27,022 ล้านบาท คือ
1.รถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ระยะทาง 13 กม. มูลค่า 25,900 ล้านบาท
2.รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ ระยะทาง 12 กม. มูลค่า 33,212 ล้านบาท
3.รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี ระยะทาง 36 กม. มูลค่า 42,067 ล้านบาท และ
4.โครงการก่อสร้างทางพิเศษ สายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกด้านตะวันตก ระยะทาง 17 กม. มูลค่า 27,022 ล้านบาท

“ยืนยันว่าโครงการเหล่านี้ต้องเดินหน้า แม้ในอนาคตจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง แต่เชื่อว่ารัฐบาลชุดใหม่ต้องทำต่อไป เพราะเป็นโครงการที่อยู่ในแผนแม่บทของประเทศ อาจมีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มเติมหรือปรับลด แต่จะไม่ยกเลิกโครงการแน่นอน”นายโสภณ กล่าว

นอกจากนั้น กระทรวงคมนาคมจะเร่งรัดการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน เบื้องต้นจะก่อสร้าง 2 เส้นทาง มูลค่า 4.1 แสนล้านบาท คือ
กรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะทาง 620 กม. มูลค่า 1.8 แสนล้านบาท และ
กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 980 กม.มูลค่า 2.3 แสนล้านบาท
คาดว่าจะประกวดราคาได้ในช่วงปลายปี 2554

ส่วนโครงการรถไฟฟ้าที่ประกวดราคาไปแล้ว คือ
รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ ระยะทาง 23 กม. วงเงินลงทุน 60,185 ล้านบาท ปัจจุบันมีความคืบหน้าในภาพรวม 20% เร็วกว่าแผนประมาณ 2% คาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือนส.ค.2557

ส่วนโครงการส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค ระยะทาง 27 กม. คาดจะลงนามสัญญาจ้างก่อสร้างงานโยธาทั้ง 5 สัญญา มูลค่า 5.1 หมื่นล้านบาทได้ในวันที่ 17 ก.พ.นี้ จากนั้นจะเริ่มก่อสร้าง คาดว่าจะเปิดบริการเดือนก.พ.2559

สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต มูลค่า 75,548 ล้านบาท อยู่ระหว่างการประกวดราคา คาดว่าจะลงนามสัญญาจ้างผู้รับเหมาได้ภายในปีนี้ ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน มูลค่า 9,308 ล้านบาท อยู่ระหว่างก่อสร้าง ปัจจุบันมีผลงาน 43.39% ช้ากว่าแผน 18.02% เพราะติดปัญหารื้อย้ายชุมชน คาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือนม.ค. 2555

นอกจากนั้น ยังอยู่ระหว่างเตรียมเสนอครม.ให้อนุมัติดำเนินโครงการรถไฟฟ้าอีก 6 โครงการ มูลค่ารวม 301,652 ล้านบาท คือ
1.รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ช่วงสะพานใหม่-คูคต ระยะทาง 7 กม. มูลค่า 22,134 ล้านบาท
2.รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ระยะทาง 10 กม. มูลค่า 5,012 ล้านบาท
3.รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน ระยะทาง 21 กม. มูลค่า 36,947 ล้านบาท
4.รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 20 กม. มูลค่า 66,820 ล้านบาท
5.รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ระยะทาง 37.5 กม. มูลค่า 137,750 ล้านบาท และ
6.รถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-ท่าอากาศยานดอนเมือง หรือโครงการส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตเรลลิงค์ช่วงพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 19 กม. มูลค่า 32,989 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47447
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/02/2011 11:15 am    Post subject: Reply with quote

‘ระบบตั๋วร่วม’ ฝันของคนกรุง ที่ยังไม่เป็นจริงสักที!
สยามธุรกิจ ฉบับที่ 1175 ประจำวันที่ 9-2-2011 ถึง 11-2-2011

ตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพ มหานคร และปริมณฑล ซึ่งจะมีโครงข่ายรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จาก 3 สายทางในปัจจุบัน คือ รถไฟฟ้า บีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต ลิงค์ ในอนาคตจะเพิ่มอีกเป็น 12 สายทาง ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ให้บริการทั่วทั้งกรุงเทพฯ และปริมณฑล ว่าเมื่อเปิดให้บริการครบ จะให้บริการผู้โดยสารได้ถึง 4 ล้านคน/วัน

นับเป็นการบริการคลื่นมหาชนที่ไม่น้อยในแต่ละวัน ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องมีระบบการบริหารจัดการเพื่ออำนวยความสะดวกการเดินทางมารองรับควบคู่ไปพร้อมกันด้วย ไม่ว่าจะเป็น การจัดการด้านระบบตั๋วร่วม ระบบค่าโดยสารร่วม รวมถึงระบบขนส่งเชื่อม เพื่อให้ผู้โดยสารไม่ต้องจ่ายค่าตั๋วซ้ำซ้อนเมื่อต้องการที่จะเปลี่ยนระบบขนส่งมวลชน

ระบบตั๋วร่วมเป็นทางออกหนึ่งที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสารได้ ว่ากันว่า ระบบนี้ผู้โดยสารมีเพียงตั๋วใบเดียว หรือซื้อครั้งเดียวสามารถนั่งได้ทั้ง รถโดยสาร รถไฟฟ้าทุกระบบ รวมถึงเรือโดยสารด้วย ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลได้มีการศึกษาเรื่องนี้มานานแล้ว และพยายามที่จะผลักดันให้เกิดโดยเร็ว แต่ปัญหาคือ รถไฟฟ้าเกิดช้า กว่าจะเกิดแต่ละสายใช้เวลานานไม่น้อยกว่า 5-6 ปี ทำให้ระบบตั๋วร่วมช้าไปด้วย

ดังนั้น การที่รัฐบาลบอกว่า จะพยายามเพิ่มประสิทธิภาพระบบการคมนาคม ลดความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจและพลังงานน้ำมัน ลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนนั้น ยังต้องสูญเสียโอกาสนี้ไปอีกหลายปี

ล่าสุด มีความคืบหน้าในเรื่องนี้ โดย ปลัดกระทรวงคมนาคม “สุพจน์ ทรัพย์ล้อม” ประธานคณะกรรมการกำหนดรูปแบบและแนวทางการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม บอกว่า ได้สรุปโครงสร้างการบริหารจัดการตั๋วร่วมแล้วเหลือเพียงการจัดทำแผนรายละเอียด และวงเงินที่จะใช้ในการดำเนินการแต่ละปี ซึ่งได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) รับไปดำเนินการ แล้วเสนอกลับกระทรวงคมนาคมโดยเร็ว เพื่อเสนอให้ครม.เห็นชอบ คาดว่าน่าจะเป็นช่วงกลางเดือน ก.พ.นี้ โดยตั้งเป้าว่าในปี 2558 ระบบตั๋วร่วมจะสมบูรณ์สามารถใช้บริการได้

โดยขณะนี้มีเงินช่วยเหลือจากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย หรือเอดีบี แล้วจำนวน 300 ล้านบาท หาก ครม.เห็นชอบ ก็สามารถดำเนินการได้ทันที ระยะแรกจะตั้งสำนักงานบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมโดยรัฐเป็นผู้ดูแลก่อน เพื่อวางระบบทั้งหมด เนื่องจากใน 5-6 ปีข้างหน้า ระบบขนส่งมวลชนจะมีความหลากหลายมาก ทั้งระบบรถไฟฟ้าซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของรฟม.ประมาณ 4-5 สาย, รถไฟฟ้า BTS และ BRT ในความรับผิดชอบของกทม., รถไฟฟ้าสายสีแดง, แอร์พอร์ต ลิงค์และรถไฟความเร็ว สูงของร.ฟ.ท., ระบบทางด่วนของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.), มอเตอร์เวย์ของกรมทางหลวง รวมถึงรถโดยสารประจำทาง องค์การขนส่งมวลชน กรุงเทพ (ขสมก.) และเรือด่วนเจ้าพระยาด้วย

ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องเร่งทำระบบตั๋วร่วมเพื่อให้เกิดความสะดวกและประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ทั้งนี้ ตามโครงสร้างในช่วง 4 ปีแรก (2554-2557) จะตั้งสำนักงานบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมโดยตั้งเป็นสำนักงานภายใต้การควบคุมของ สนข. โดยสำนักงานดังกล่าวจะทำหน้าที่ในการวางแผนพัฒนา, วางระบบเทคนิค, ระบบการเงินและบัญชี วงเงินดำเนินการประมาณ 42 ล้านบาทต่อปี รวมถึงการตั้งศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง (Central Clearing House) เพื่อดำเนินธุรกรรมด้านการเงินทั้งหมด จากนั้นจะให้เอกชนเข้ามาบริหาร

ส่วนกรณีที่ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีเอ็มซีแอล ผู้บริหาร รถไฟฟ้าใต้ดินสายเฉลิมรัชมงคลและบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส อยู่ระหว่างร่วมจัดทำระบบตั๋วร่วมกันและจะเปิดใช้ก่อนนั้น จะต้องเจรจากับทั้ง 2 รายเพื่อลดค่าแรกเข้าระบบสำหรับผู้โดยสารที่เดินทางหลายระบบ เช่น ค่าแรกเข้าบีทีเอส 15 บาท รถใต้ดิน 15 บาท เดินทาง 2 ระบบ คิดที่ 20 บาท โดยศูนย์บริหารจัดการรายได้กลางจะเป็นผู้แบ่งรายได้ให้ผู้ประกอบการทั้ง 2 ระบบ เป็นต้น

ว่ากันว่า การดำเนินงานระบบตั๋วร่วมนั้น จะสอดคล้องกับนโยบายการดำเนินงานโครงการระบบขนส่งมวลชน เพราะจะทำให้เกิดความสะดวกกับประชาชนในการเดินทางเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนและระบบขนส่งสาธารณะอื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งทำให้ผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องทุกรายในระบบขนส่งทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้มีการพัฒนาระบบตั๋วของตนเองไปสู่การใช้ตั๋วร่วมในการเดินทางในแตะละระบบแต่ละสายทาง รวมทั้งจุดต้นทางและปลายทางของการเดินทาง โดยข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาการลงทุน และบูรณาการระบบขนส่งมวลชนอย่างสมบูรณ์ต่อไป

นอกจากนี้ ยังเป็นการสนับสนุนนโยบายการดำเนินงานโครงการระบบขนส่งมวลชน ในส่วนของการลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายที่จะเกิดขึ้นใหม่ และมีการลงทุนแบบ “จ้างเอกชนดำเนินงาน” (PPP-Gross-Cost) ซึ่งรัฐรับภาระในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และจ้างเอกชนเป็นผู้บริหารจัดการระบบตั๋วร่วมนี้ ซึ่งจะมีศูนย์บริหารจัดการรายได้กลางที่ทำหน้าที่ในส่วนของการจัดเก็บรายได้ของค่าโดยสารดังกล่าว

อย่างไรก็ดี จากแผนของกระทรวงคมนาคมที่ตั้งเป้าไว้ว่า ระบบตั๋วร่วมจะสมบูรณ์รองรับได้ทุกระบบทั้งรถไฟฟ้า รถเมล์ ทางด่วน และเรือด่วน ในปี 2558 นั้น ผู้โดยสารก็ต้องเฝ้ารอต่อไป เพราะว่าขณะนี้ระบบตั๋วร่วมยังคงเป็นแต่ “ความฝัน” เท่านั้น....
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44054
Location: NECTEC

PostPosted: 11/02/2011 9:47 am    Post subject: Reply with quote

ยืดรถไฟฟ้าสายสีชมพูเข้าเมืองทอง
หน้ากทม. เดลินิวส์
วันศุกร์ ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 9:21 น

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ผู้บริหารโครงการเมืองทองธานี ได้ให้ความสนใจโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงปากเกร็ด-มีนบุรี โดยเสนอแนวคิดที่จะยกที่ดินบริเวณเมืองทองธานี ด้านที่ติดกับถนนติวานนท์ ให้ก่อสร้างเป็นอู่จอดและศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าสายสีชมพูหรือเดบโป้ เพื่อรองรับประชาชนที่อาศัยในเมืองทองธานี และใกล้เคียง ซึ่งมีจำนวนมาก แทนการเวนคืนที่ดินประชาชนบริเวณหัวมุมถนนติวานนท์ตัดกับถนนแจ้งวัฒนะ เรื่องนี้จะต้องนำเสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณา เพราะจะต้องปรับแบบรถไฟฟ้าใหม่ โดยต้องขยายเส้นทางตามแนวถนนติวานนท์ไปถึงเมืองทอง ระยะทางราว 4 กม. และอาจจะต้องสร้างสถานีเพิ่มอีก

อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบระหว่างค่าก่อสร้างที่จะเพิ่มขึ้นตามระยะทาง แลกกับไม่ต้องเวนคืนที่ดิน และปริมาณผู้โดยสารที่จะเพิ่มขึ้น คิดว่าตัวเลขน่าจะยังอยู่ในกรอบวงเงินที่กำหนดไว้ หรือถ้าปรับเพิ่มคงไม่มาก สำหรับแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู ที่ปรึกษาออกแบบไว้ จุดเริ่มต้นโครงการจะอยู่บริเวณแคราย ผ่านกรมชลประทาน วิ่งตามเกาะกลางถนนติวานนท์ เมื่อถึงแยกปากเกร็ดจะเลี้ยวขวาเข้าถนนแจ้งวัฒนะ วิ่งตรงผ่านอนุสาวรีย์หลักสี่เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ ขณะนี้ได้ข้อยุติเรื่องแบบสถานีร่วมแล้ว จากนั้นจะวิ่งตรงเข้าถนนรามอินทรา ตัดถนนวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก สิ้นสุดมีนบุรี ระยะทาง 36 กม. ออกแบบเป็นรถไฟฟ้าโมโนเรล.

//---------------------------------------------------------------------------

นับว่าเถ้าแก่ มงคล วางแผนสูงเหมือนกันนี่ กล้า ยกที่ให้ เพื่อแลกกับผู้โดยสารที่เข้า Impact + Challenger Hall เมืองทองธานี - งานนี้ Impact + Challenger Hall เมืองทองธานีมีงานทุกสัปดาห์ เหมือนที่ศูนย์สิริกิต์ เป็นแน่ Smile Very Happy Laughing Embarassed
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47447
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/02/2011 10:11 am    Post subject: Reply with quote

ถ้าทำอย่างนั้นจริง คาร์ฟูร์ โฮมโปร คงผิดหวังแย่ หรือเปล่าครับ Rolling Eyes
เพราะสถานีเลี่ยงเมืองปากเกร็ด ข้าง ๆ คาร์ฟูร์ก็จะหายไป
ส่วนเซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ ซึ่งไม่มีสถานีด้านหน้าตั้งแต่แรก เพราะสถานีถัดไปก็แยกเมืองทองเลย ไม่เรียกร้องบ้างหรือครับ

นึกไม่ออกว่าจะเปลี่ยนเส้นทางเข้าไปผ่าน IMPACT ได้อย่างไร

แต่ถ้ามองในแง่ดี หัวมุมห้าแยกปากเกร็ด ติวานนท์เลี้ยวขวาเข้าแจ้งวัฒนะนั้นเป็นมุมกลับ ต่อให้โมโนเรล ก็ไม่รู้ว่าจะเลี้ยวได้คล่องแค่ไหน (เว้นแต่จะเวนคืนทุบมุมทิ้ง ทำให้โค้งกว้างขึ้น) ถ้าตรงไปทางเมืองทองธานี อ้อมไปอย่างนั้นอาจเป็นผลดีทางวิศวกรรมก็ได้

ว่าแต่สถานีร่วมสายสีเขียวที่หลักสี่ หน้าตาจะออกมาอย่างไรหนอ พื้นที่ก็คับแคบนิดเดียว
ถ้าเป็นรถไฟฟ้า ราง 1.435 เมตรด้วยกัน ยังพอทำเป็น diamond crossing ได้ แบบทางรถไฟปากน้ำตัดกับรถไฟหลวงสายแม่น้ำ (ล้อเล่นครับ) Embarassed
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44054
Location: NECTEC

PostPosted: 11/02/2011 10:40 am    Post subject: Reply with quote

^^^
ก็แล้วแต่ว่าใครจะวิ่งเต้นให้ตั้งสถานีได้ ส่วนกรณี แยกไป Impact เมืองทองธานี เล่นไม่ยาก - ที่ใต้ทางด่วนนั่นประไร จากนั้น จะผ่า ออกเส้นติวานนท์ก็ได้ หรือ ใช้ทางเดิมแต่เพิ่ม Branch line เข้า Impact ก็สะดวกดี

สถานีร่วมสายสีเขียวที่หลักสี่ อยู่ในโค้ง วงเวียนหลักสี่เสี้ยว ตรง ข้ามกับ เขตบางเขน เพราะ สถานีบางเขนอยู่หน้าโลตัส - ไม่กล้าตั้งสถานีตรงฝั่งวัดพระศรี หรือ หน้าอมรินทรฺนิเวศน์ เพราะ ค่าเวนคืนและค่าผาติกรรมแพง Embarassed
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47447
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/02/2011 11:35 am    Post subject: Reply with quote

ถ้าสร้างถึง IMPACT ได้จริงล่ะก็ ตัดปัญหาเรื่องรถติด เรื่องที่จอดรถได้แน่ ๆ ครับ Very Happy
มูลค่าที่ดิน คอนโด พุ่งพรวด
NPL แถวนั้นฟื้นแน่ ๆ ครับ ที่เห็นเป็นซากบ้านอยู่ในป่า

แต่ถ้าทำเป็นทางแยกเข้าไป อย่างนี้ต้องเอาป้ายแดง ๆ ติดไว้หน้ารถคันนำ
ว่า "เสริมพิเศษเมืองทองธานี" เดี๋ยวขึ้นผิด

ว่าแต่ ทางแยกของโมโนเรล หน้าตาเป็นอย่างไรหนอ ไม่เคยเห็นประแจทางแยกของโมโนเรลเลยครับ Razz
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44054
Location: NECTEC

PostPosted: 11/02/2011 11:59 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ถ้าสร้างถึง IMPACT ได้จริงล่ะก็ ตัดปัญหาเรื่องรถติด เรื่องที่จอดรถได้แน่ ๆ ครับ Very Happy มูลค่าที่ดิน คอนโด พุ่งพรวด NPL แถวนั้นฟื้นแน่ ๆ ครับ ที่เห็นเป็นซากบ้านอยู่ในป่า

นั้นแหละ คือสิ่งที่เถ้าแก่มงคลและ ลูกชาย ต้องการให้เป็นเช่นนั้น เลยทีเดียว

Mongwin wrote:
แต่ถ้าทำเป็นทางแยกเข้าไป อย่างนี้ต้องเอาป้ายแดง ๆ ติดไว้หน้ารถคันนำ ว่า "เสริมพิเศษเมืองทองธานี" เดี๋ยวขึ้นผิด ว่าแต่ ทางแยกของโมโนเรล หน้าตาเป็นอย่างไรหนอ ไม่เคยเห็นประแจทางแยกของโมโนเรลเลยครับ Razz

ทำเป็น Loop แบบเดียวกะ โครงการ ทางรถไฟฟ้ารางเดียว สาย ทองหล่อ - สนามกีฬาหัวหมาก ก็ทำได้อยู่
Back to top
View user's profile Send private message
siriwadhna
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 05/10/2009
Posts: 126

PostPosted: 11/02/2011 12:41 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ว่าแต่ ทางแยกของโมโนเรล หน้าตาเป็นอย่างไรหนอ ไม่เคยเห็นประแจทางแยกของโมโนเรลเลยครับ Razz


น่าจะประมาณนี้ครับ
Osaka_switches_tms.jpg
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47447
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/02/2011 5:39 pm    Post subject: Reply with quote

ขอบคุณมากครับ Very Happy
อย่างนี้นี่เอง เป็นแท่ง ๆ จะให้เข้ารางไหนก็ย้ายไปทั้งแท่งเลย
หลักการคล้ายแท่นกลับรถจักรนะครับ

สมัยเด็ก ๆ ประแจสับรางรถไฟเป็นสิ่งมหัศจรรย์สำหรับผมมากครับ
เพราะผมไปจินตนาการว่า ล้อรถไฟเป็นร่องตรงกลาง มีบังใบที่ขอบทั้งสองของล้อ
ทั้งด้านนอกด้านใน (แบบเดียวกับล้อของรอก) ช่วยให้แนบกับรางได้ดี ไม่ไถลตกรางง่าย ๆ
ทำให้นึกไม่ออกว่าพอรถไฟแล่นไปถึงประแจและตะเฆ่
มันจะผ่านไปได้อย่างไรโดยไม่กระโดด
เพิ่งมาเข้าใจตอนช่วง ป.5 ป.6 แล้วครับ ที่ได้ไปนั่งดูล้อรถไฟของจริง
แล้วเห็นว่าบังใบล้อมีด้านเดียวเฉพาะด้านใน Embarassed

อีกอย่างที่สงสัยก็คือ กระเช้าลอยฟ้า (cable car) เวลาผ่านไปถึงเสา จะผ่านเสาไปได้อย่างไร นั่นก็สิ่งมหัศจรรย์เหมือนกันครับ
ชิงช้าสวรรค์งานวัดอีก ที่มีหลอดไฟสี ๆ ติด และหมุนไปพร้อมกับชิงช้าสวรรค์
แล้วสายไฟมันไม่พันกันแย่หรือ Razz
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47447
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/02/2011 11:06 am    Post subject: Reply with quote

เมกะโปรเจ็กต์ 'ขุมทรัพย์แสนล้าน'ใต้อุ้งมือ'ช.การช่าง-ITD-ซิโน-ไทยฯ'
Sunday, 13 February 2011 06:39
ที่มา: หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 14 - 16 ก.พ. 255

ไม่เหนือความคาดหมาย เมื่อบิ๊กแบรนด์รับเหมา "ช.การช่างซิโน-ไทยฯ-อิตาเลียนไทย-ยูนิค"ต่างพาเหรดเข้าชิงประมูลงานใหญ่กันถ้วนหน้า แม้จะตุนงานไว้ในมือจนล้นหน้าตัก ขุมทรัพย์ก้อนใหญ่หนีไม่พ้นโปรเจ็กต์รถไฟฟ้ากระทรวงคมนาคมภายใต้การกำกับดูแลของ "โสภณซารัมย์"รัฐมนตรีว่าการจากพรรคภูมิใจไทย

บิ๊กเนมกวาดเรียบรถไฟฟ้า-ถนน

ผลเปิดประมูล 2 สาย คือ สีม่วง(บางซื่อ-บางใหญ่) ที่เซ็นสัญญาไปแล้วและสีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระและหัวลำโพง-บางแค) จ่อลงนามวันที่ 17 กุมภาพันธ์นี้ รวมมูลค่าก่อสร้าง88,311 ล้านบาท ปรากฏชื่อยักษ์รับเหมามาตามโผ

"ช.การช่าง"ได้งานสีม่วง 1 สัญญาและสีน้ำเงิน 2 สัญญา รวมเม็ดเงิน30,051 ล้านบาท ฟาก "ซิโน-ไทยฯ"ได้งาน 26,480 ล้านบาท มีงานสีม่วงและน้ำเงินสายละ 1 สัญญา"อิตาเลียนไทย"ซิวไปแบบชิล ๆ 1 สัญญาคือสายสีน้ำเงิน 11,490 ล้านบาท

ขณะที่ "ยูนิค"ได้สีน้ำเงิน 1 สัญญา11,320 ล้านบาท ยังไม่รวมสายสีแดง(บางซื่อ-ตลิ่งชัน) อีก 10,287 ล้านบาทเบ็ดเสร็จ "เสี่ยประสงค์ สุวิวัฒน์ธนชัย"ได้งานรถไฟฟ้าไปไม่น้อย 21,607 ล้านบาท ไม่แพ้ "เสี่ยปลิว ตรีวิศวเวทย์เปรมชัย กรรณสูต และตระกูลชาญวีรกูล"


ยังไม่นับงานถนนของกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ที่ "ซิโน-ไทยฯ" คว้างานก่อสร้างถนนต่อเชื่อมราชพฤกษ์ถนนกาญจนาภิเษก (แนวตะวันออกตะวันตก) 2,574 ล้านบาท

และไม่ใช่แค่ "คมนาคม" เท่านั้นที่ชื่อบิ๊กเนมของวงการรับเหมาแผ่รัศมีติดโผได้งาน แต่ขาใหญ่เหล่านี้พากันสยายปีกคลุมไปถึงงานภาครัฐอื่น ๆไล่จาก "โรงงานยาสูบใหม่" ที่โรจนะของกระทรวงการคลัง "ช.การช่าง"ได้งานก่อสร้างไป 4,620 ล้านบาทส่วน "ซิโน-ไทยฯ" ผนึกกับ "เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964)" คว้างานส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าบีทีเอส (ตากสินบางหว้า) 5,799 ล้านบาท ด้าน"อิตาเลียนไทย" มีงานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณรถไฟฟ้าบีทีเอส (อ่อนนุช-แบริ่ง)1,575 ล้านบาท

3 บิ๊กลุ้นชิงดำงานคมนาคม

ขณะเดียวกัน ยังมีลุ้นเปิดซองราคางานโครงการใหญ่ ๆ อีกหลายโปรเจ็กต์งานแรกของ "ร.ฟ.ท." (การรถไฟแห่งประเทศไทย) กำลังลุ้นเปิดซองราคารถไฟชานเมืองสายสีแดง "บางซื่อรังสิต" วงเงินรวม 75,548 ล้านบาทที่กำลังปรู๊ฟคุณสมบัติรับเหมาทั้ง 3สัญญา คาดว่ารออีก 1-2 เดือน แต่ในแวดวงรับเหมาชื่อชั้น "ช.การช่างอิตาเลียนไทย-ซิโน-ไทยฯที่ควงคู่กับยูนิค" ยังแรงดีไม่มีตก

"โครงการปรับปรุงทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน)" ระยะที่ 5 และระยะที่ 6 รวม 586 กิโลเมตรค่าก่อสร้างรวม 14,688 ล้านบาทให้ยื่นซองเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา จะเคาะราคาวันที่ 23 มีนาคมที่จะถึงนี้ (ดูตาราง)

"งานระยะที่ 5" 308 กิโลเมตร จากชุมทางแก่งคอย-แก่งเสือเต้น-สุรนารายณ์ชุมทางถนนจิระ-ชุมทางบัวใหญ่ วงเงิน8,100 ล้านบาท มี 5 ราย ส่วน "งานระยะที่ 6" ช่วงชุมทางบัวใหญ่-หนองคาย278 กิโลเมตร ราคากลางกว่า 6,588 ล้านบาท มีผู้มายื่น 4 ราย

"ไม่พ้นรับเหมาขาใหญ่ มีลุ้น 3 รายที่เคยผ่านงานนี้มา มีอิตาเลียนไทยที่สร้างทางคู่ลพบุรี, เอ.เอส.แอสโซซิเอทฯที่จับกับซิโน-ไทยฯและกลุ่มทีเอสซีที่รับงานทางคู่แหลมฉบังอยู่ ดูแล้วแนวโน้มน่าจะเป็นอิตาเลียนไทยและกลุ่มซิโนไทยฯ ส่วนยูนิคและ ช.การช่างจะมีผลงานรางรถไฟฟ้าอย่างเดียว" แหล่งข่าวจากวงการรับเหมาประเมินข้อมูล


รัฐสภาใหม่ "ซิโน-ไทยฯ" แรงส่วน "สะพานนนทบุรี 1" ค่าเงิน 3,796 ล้านบาท มี 2 รายที่ชิงดำ แต่ชื่อ"ซิโน-ไทยฯ" ที่ผนึกกับคู่ค้าเก่า "ไทเซอิ"โผล่มาก่อน เบียด "อิตาเลียนไทย"ตั้งแต่ยังไม่เปิดผนึกซองราคา รอไจก้าเจ้าของเงินกู้อนุมัติประทับตราวันเวลาที่แน่นอนอีกที

"อาคารรัฐสภาใหม่" มูลค่า 12,000 ล้านบาท ภายในเดือนพฤษภาคมนี้คงได้รู้ใครบ้างที่เข้าชิง ไป ๆ มา ๆ ไม่พ้นบิ๊กทรี "ช.การช่าง-อิตาเลียนไทยซิโน-ไทยฯ" หากประธานสภาและรัฐบาลเดิมยังอยู่ เชื่อว่า "ซิโน-ไทยฯ"มีสิทธิ์ลุ้นก่อนใครเพื่อน

ทางด่วนสายใหม่ "ศรีรัช-วงแหวนรอบนอก" ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ชื่อที่แทบจะนอนมาคือ "บีอีซีแอล" หรือ บมจ.ทางด่วนกรุงเทพ คู่สัญญากับ กทพ. และเป็นบริษัทในเครือ "ช.การช่าง" โดยบีอีซีแอลยังเป็นตัวเลือกแรกที่ กทพ.จะเลือกมาลงทุน 17,458 ล้านบาท

ขณะที่ "การเดินรถ" รถไฟฟ้าสายสีม่วง ที่ รฟม. (การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย) กำลังจะเปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอ 24 กุมภาพันธ์นี้ ว่ากันว่าสัมปทานเดินรถสายนี้ ด้วยประสบการณ์ชื่อ "บีเอ็มซีแอล" บมจ.รถไฟฟ้ากรุงเทพในเครือ ช.การช่าง ยังติดชาร์ตมาแรงแม้ว่าจะมีคู่แข่งอย่าง "บีทีเอส" ของ"เสี่ยคีรี กาญจนพาสน์" ลงแข่งด้วย

อุโมงค์ยักษ์-สายสีเขียว จ่อคิว

ควบคู่กันไป "อุโมงค์ส่งน้ำบางซื่อ"ของสำนักการระบายน้ำของกรุงเทพมหานคร (กทม.) วงเงิน 2,457 ล้านบาท มี 5 รับเหมาชิงเค้ก นำโดย "อิตาเลียนไทย" พี่ใหญ่วงการ,"เนาวรัตน์พัฒนาการ" ของนายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยก็ไม่พลาด ด้าน "สี่แสงฯ" ควงคู่ "ยูนิค"ขณะที่ "สามประสิทธิ์และกรุงธน"ก็เข้าร่วมเคาะราคาเร็ว ๆ นี้...วงในชี้"อิตาเลียนไทย" มีสิทธิ์ลุ้นมากสุด

ปิดท้ายที่ "รถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียว" ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการที่"สุพจน์ ทรัพย์ล้อม" ปลัดกระทรวงคมนาคม เร่งยิกเปิดขายแบบภายใน 28 กุมภาพันธ์นี้ และกลางปีเปิดยื่นซองประมูล เพื่อเริ่มสร้างปลายปี คิวต่อไป"ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่" หลังปรับแบบเสร็จจะเร่งเปิดประมูลไม่เกินปีนี้แน่นอนเช่นกัน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 33, 34, 35 ... 284, 285, 286  Next
Page 34 of 286

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©