View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
headtrack
1st Class Pass (Air)
Joined: 30/05/2009 Posts: 1627
Location: ละแวกภาคกลางตอนบน และภาคเหนือตอนล่าง
|
Posted: 21/02/2011 5:36 pm Post subject: |
|
|
black_express wrote: | การใช้เชื้อเพลิงจากการเผาถ่านหุงข้าวมาติดเครื่องยนต์ ผมคิดว่าในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ในบ้านเราก็เคยทำ โดยติดเตาไว้ท้ายรถยนต์ พอวิ่งถูไถแก้ขัดไปได้ตลอดสงคราม
เคยอ่านในห้องหว้ากอ นัยว่ามีเคล็ดให้แก้สที่ได้จากการเผาถ่าน ผ่านผิวน้ำเหนือเตา ก่อนเข้าระบบอัดอากาศสู่เครื่องยนต์ ไม่เช่นนั้นจะใช้ไม่ได้ครับ |
อ่านบทความ "ยุทธการนับไม้หมอน" ในหนังสือ "บุกป่าฝ่าดง รถไฟแผ่นดินล้านนาไทย"
ก็กล่าวถึงยานยนต์ทำนองนี้ครับ
ท่านกล่าวทำนองว่าสมัยสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองที่ท่านเดินทางไปจังหวัดทางภาคเหนือ ใช้รถโดยสารเดินด้วยถ่านหุงข้าว
ซึ่งต้องมีการพัดวีถ่านให้ร้อนแดงก่อนรถขึ้นทางชันทุกครั้งไป...
ขออภัยที่พาออกนอกลู่นอกทางนิดหนึ่ง แต่เห็นว่าประเด็นนี้น่าต่อยอดน่ะครับ... _________________
Find me on Instagram: @632knongtsaikhaow |
|
Back to top |
|
|
DIESELGTR
3rd Class Pass
Joined: 21/10/2006 Posts: 177
|
Posted: 21/02/2011 6:00 pm Post subject: |
|
|
Quote: | เรื่องการสร้างรถจักร หรือรถโดยสารต่างๆ นั้น หากจะทำก็ทำได้ครับ ขาดเพียงวัสดุ และระบบจัดซื้อที่ซับซ้อนน่าเวียนหัวมากกว่า
จริงอยู่ จากทักษะ ประสบการณ์งานซ่อมของช่างในโรงงานมักกะสันนั้น เรียกว่าซ่อมได้เกือบยกคันแล้ว แต่ยังเป็นประสบการณ์แบบถ่ายทอดจากคนสู่คน มิได้รวบรวมเป็นตำราวิชาการ หรือจัดทำหลักสูตรแบบเป็นเรื่องเป็นราว การจัดทำหลักสูตรเพื่อเตรียมคน และต่อยอดวิชาการด้านนี้ในอนาคตข้างหน้า โดยมีสถาบันรับรองด้านมาตรฐานวิชาการด้วยแล้ว จึงเป็นเรื่องเหมาะสม และสมควรทำอย่างยิ่งครับ
หากจะมีผู้ถามว่า ผู้ที่จบมา การรถไฟฯ จะรับเข้าทำงานหมดหรือไม่ ? ต้องขอให้มองไกลๆ กว้างๆ เพื่ออนาคตด้วยครับ เพราะในบ้านเรามีทั้งรถไฟ รถไฟความเร็ว(ค่อนข้าง)สูง รถไฟฟ้าทั้งบนดินและใต้ดิน และยังมีกิจการรถไฟของประเทศเพื่อนบ้านด้วย และผมยังไม่เห็นมีสถาบันสอนด้านวิชาการรถไฟนี้สักแห่งเดียว หากเปิดสถาบันสอนขึ้นมาจริงๆ แล้ว อาจมีนักศึกษาจากประเทศเพื่อนบ้านให้ความสนใจเข้ามาเรียนบ้างล่ะน่า อย่างเช่น สถาบันการบินพลเรือน ที่ในขณะนี้บรรดานักศึกษาเกือบเป็นสหประชาชาติย่อยๆ แล้ว
หากใครจะมีความเห็นต่าง ก็ไม่ว่ากันครับ |
เห็นด้วยกับท่าน black_express อย่างยิ่งครับ
ว่าแต่ จะประกอบรถจักรดีเซลที่ใช้เตาไฟเผาถ่านเป็นเชื้อเพลิงหรือครับ ผมว่าคันนึงขนาดต้องพอๆกับรถ gas turbine ของ U.S. เป็นแน่ _________________
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47247
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 21/02/2011 7:14 pm Post subject: |
|
|
แหะ แหะ
ต้องขออภัยที่ผมเป็นต้นเหตุทำให้กระทู้เป๋ Off Topic ครับ
ต้องขอบคุณพี่ตึ๋ง ที่ช่วยอธิบาย ผมเองเพิ่งเข้าใจวันนี้เองครับว่า รถยนต์พลังถ่านหุงข้าวสมัยสงคราม หลักการเป็นอย่างไร
เข้าใจผิดมาตลอดว่าต้องใช้ถ่านไปต้มน้ำ แบบเดียวกับรถจักรไอน้ำเสียอีกครับ |
|
Back to top |
|
|
heerchai
1st Class Pass (Air)
Joined: 29/07/2006 Posts: 7730
Location: อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
|
Posted: 21/02/2011 8:10 pm Post subject: |
|
|
เสียดาย ตรงที่ว่า คนเก่งในท้องถิ่น มักไม่เขียนเป็นตำรา สักแต่มือทำ ปากพูดตลอด |
|
Back to top |
|
|
topcatken
3rd Class Pass
Joined: 05/02/2010 Posts: 39
Location: เขียงใหม่
|
Posted: 21/02/2011 9:52 pm Post subject: |
|
|
ผมคิดว่า จริงๆเรามีความสามารถที่จะทำได้นะครับ แต่ขาดเรื่องเดียวคือ " เงิน " เหมือนที่ท่านอื่นๆได้กล่าวมา ตัวรถจักร ทำเองครับ ยกเว้นเครื่องก็ไปสั่ง GE ทำน่าจะสะดวกกว่า เราน่าจะมีการประกวดแบบ รถจักร นะครับ เหมือนแบบก่อสร้างอะไรประมาณนี้ แล้วให้ บริษทที่ไว้ใจได้ จัดสร้างครับ น่าจะช่วยได้มากกว่า มาซ่อมกินตัว หรือ รอ รถจาก ต่างประเทศ
ก็แค่ความคิดเห็นแหละครับ
ผมเคยคิดไว้ว่าถ้าผมมีโอกาศ ก็อยากไปศึกษาเฉพาะทางเกี่ยวกับรถไฟ อะไรประมาณนี้แหละครับ |
|
Back to top |
|
|
bigbigtee
3rd Class Pass
Joined: 01/02/2010 Posts: 200
|
Posted: 22/02/2011 8:44 am Post subject: |
|
|
จากที่ได้อ่านความคิดเห็นของหลายๆ ท่าน ทำให้ทราบเหตุผลในเรื่องเทคนิค งบประมาณ ความคุ้มทุน ฯลฯ ซึ่งในความเห็นผมคิดว่าเราควรซื้อมาจากต่างประเทศ น่าจะเหมาะสมกว่าครับ
แต่ผมว่าเราควรประกอบรถดีเซลรางปรับอากาศใช้เองบ้างนะครับ เห็นมีอู่รถหลายแห่ง ประกอบรถทัวร์ได้ และนำมาใช้งานได้ดี
ผมเองก็เคยดูรายการกบนอกะลา เห็นคนงานไม่กี่คนสามารถประกอบรถทัวร์ได้ อู่รถเราเองก็น่าจะประกอบรถดีเซลรางปรับอากาศได้เหมือนกัน
ลองค้นหากระทู้เก่าๆ ดู จำได้ได้ว่าในอดีต การรถไฟฯ ได้เคยให้อู่เชิดชัยนำตู้โบกี้ บนอ. ไปปรับปรุงเป็นรถนั่งปรับอากาศ
สมมุติว่าในปัจจุบันถ้าการรถไฟฯ ต้องการให้อู่รถ ประกอบรถดีเซลรางปรับอากาศให้การรถไฟฯ อู่รถเหล่านั้นสามารถประกอบให้ได้หรือไม่
|
|
Back to top |
|
|
nop2
2nd Class Pass (Air)
Joined: 06/03/2008 Posts: 985
Location: เพชรบุรี
|
Posted: 22/02/2011 9:37 am Post subject: |
|
|
bigbigtee wrote: | จากที่ได้อ่านความคิดเห็นของหลายๆ ท่าน ทำให้ทราบเหตุผลในเรื่องเทคนิค งบประมาณ ความคุ้มทุน ฯลฯ ซึ่งในความเห็นผมคิดว่าเราควรซื้อมาจากต่างประเทศ น่าจะเหมาะสมกว่าครับ
แต่ผมว่าเราควรประกอบรถดีเซลรางปรับอากาศใช้เองบ้างนะครับ เห็นมีอู่รถหลายแห่ง ประกอบรถทัวร์ได้ และนำมาใช้งานได้ดี
ผมเองก็เคยดูรายการกบนอกะลา เห็นคนงานไม่กี่คนสามารถประกอบรถทัวร์ได้ อู่รถเราเองก็น่าจะประกอบรถดีเซลรางปรับอากาศได้เหมือนกัน
ลองค้นหากระทู้เก่าๆ ดู จำได้ได้ว่าในอดีต การรถไฟฯ ได้เคยให้อู่เชิดชัยนำตู้โบกี้ บนอ. ไปปรับปรุงเป็นรถนั่งปรับอากาศ
สมมุติว่าในปัจจุบันถ้าการรถไฟฯ ต้องการให้อู่รถ ประกอบรถดีเซลรางปรับอากาศให้การรถไฟฯ อู่รถเหล่านั้นสามารถประกอบให้ได้หรือไม่
|
ถ้าจะต่อดีเซลรางเองง่ายกว่ารถจักรนะครับเพราะว่า
1. มีชุดขับเคลื่อน+ชุดควบคุมขายเป็นชุดคิท http://www.voithturbo.com/systemstechnology-powerpack-railpack.htm
2. โบกี้คงต้องสั่งโทคิวคาร์เอา น่าจะทำได้
3. แอร์ก็สั่งเอาอีกนั้นแหละ
4. ระบบประตู จะเอายังไงล่ะแบบ 2ชิ้น THN หรือ แบบประตูรถเมล์ หรือแบบแดวู _________________ "You are star I am darkness Our love brighter than the sun .." |
|
Back to top |
|
|
nathapong
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom
|
Posted: 22/02/2011 10:35 am Post subject: |
|
|
รอตามผลโครงการ ปรับปรุง น้าต้อม ตั้งแต่ ยกเครื่องใหม่ ปรับปรุงระบบไฟฟ้าที่ใช้ในการขับเคลื่อนทั้งระบบ รวมถึงระบบลม และเดินท่อลมและสายไฟฟ้ายกคัน ตามโครงการที่ได้รับจากรัฐเมื่อปีที่แล้วดีกว่า...
จะได้รู้ว่า โรงงาน ....มีความพร้อมที่จะก้าวข้ามจาก การซ่อมรถจักร....มาเป็นการประกอบรถจักร หรือไม่ ???
ส่วนเรื่องการทำคู่มือ ในการทำงานครั้งนี้ มีเจ้าภาพชัดเจน
อยู่ที่ว่า การจัดการในการจัดเก็บเอกสารในยุกปัจจุบัน สามารถทำได้
เพียงแต่ว่า คนใช้ คนซ่อม จะมีเวลาศึกษาเปิดตำราหรือเปล่าเพราะปัจจุบันโรคที่พนักงานบางส่วนทำงานกันเจ็ดวันไม่ได้พักได้ผ่อน
เนื่องจากคนไม่พอยังรอการแก้ไขอยู่ |
|
Back to top |
|
|
anusorn
1st Class Pass (Air)
Joined: 04/09/2006 Posts: 1642
Location: มณฑลอาคเนย์
|
Posted: 22/02/2011 11:45 am Post subject: |
|
|
ขอวิเคราะห์แบบมหภาคก่อน
ก่อนอื่นต้องศึกษาว่าประเทศไทยมีความจำเป็นขนาดไหนถึงต้องมีโรงงานประกอบและผลิตเองในประเทศ โดยศึกษาในหลายๆ ทาง เช่นปัญหาที่เกิดจากการสั่งผลิต ราคา ทิศทางค่าเงินบาทที่เราอ้างอิงกับ USD มีผลกับราคารถจักรในอนาคตอย่างไร เมื่อค่าเงินบาทอ้างอิงกับ USD ก็ต้องศึกษาทิศทางเศรษฐกิจของ USA และผลกระทบจากเศรฐกิจโลก การนำเข้าวัสดุ ถ้าประกอบเองได้ กับซื้อเขามาใครได้เปรียบ เสียเปรียบกันอย่างไร องค์กรใดในประเทศมีปัจจัยใดรองรับ สนับสนุนให้เกิดการผลิตรถไฟได้ หน่วยงานราชการ เอกชน แหล่งความรู้ทางวิศวกรรม แหล่งเงินทุน แหล่งที่มีอุปกรณ์รองรับการค้นคว้า วิจัย มาตรฐานการทดสอบใช้งาน การจ้างงาน ค่าใช้จ่ายในการจ้างงานและสวัสดิการพื้นฐานต่างๆ ฯลฯ etc.
ถ้าสั่งประกอบแล้วประเทศชาติหรือองค์กรสามารถที่ลดค่าใช้จ่ายไปได้เป็นหลักสิบล้าน ร้อยล้าน พันล้าน ต่อปี ก็น่าจะเป็นสิ่งที่ควรทำใช่หรือไม่
แต่ถ้าทำแล้วให้อยู่รอดได้ มันก็ต้องสร้างรายได้กลับคืนให้ประเทศชาติด้วยการส่งออก ขายเอาเงินทุนคืนด้วย
การที่เราสามารถภาคภูมิใจ หยิ่งในศักดิ์ศรี ว่าประเทศฉันผลิตใช้เอง แต่ใช้ต้นทุนมหาศาล และต้นทุนนั้นมาจากภาษีประชาชนเพียงอย่างเดียว ดูแล้วไม่ค่อยจะสมเหตุสมผลในความคิดของประชาชนผู้จ่ายเงินภาษีสักเท่าไร
การยิงปืนหลายนัดเพื่อให้ได้นกตัวเดียวไม่เป็นสิ่งที่ประเทศชาติควรจะเสี่ยง
เราต้องมั่นใจก่อนครับว่ายิงปืนนัดเดียวจะต้องได้นกหลายตัวกรณีเดียวเท่านั้นจึงควรทำ
เช่นถ้าทำแล้ว มีรถไฟที่มีมาตรฐานใช้ มีประเทศอื่นสนใจสั่งซื้อ ทำให้เกิดความก้าวหน้าทางองค์ความรู้ด้านวิศวกรรม ด้านการจัดการผลิต อัตราคนว่างงานของประเทศลดลง ทำให้มีความหลากหลายทางด้านการศึกษามากขึ้น ตัวเลขประชาชนมีความรู้ขั้นพื้นฐาน สามารถดึงดูดแหล่งเงินทุนจากเอกชนหรือต่างประเทศได้มากขึ้น ฯลฯ etc.
และที่สำคัญจะทำให้มีการยอมรับด้านมาตรฐานการผลิตในสายตาของนานาชาติได้อย่างไร ในฐานะที่ประเทศไทยก็ได้ชื่อว่าเป็นประเทศผู้ประกอบรถยนต์ที่ได้มาตรฐานแห่งหนึ่งของโลก
แค่ค่าจ้างศึกษาก็อ่วมอรทัยแล้วครับพี่น้อง......... |
|
Back to top |
|
|
|