Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311903
ทั่วไป:13575477
ทั้งหมด:13887380
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 130, 131, 132 ... 486, 487, 488  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43714
Location: NECTEC

PostPosted: 15/04/2011 11:36 am    Post subject: Reply with quote

อภิรถไฟ9หมื่นล้าน
ข่าาวหน้า 1 โพสต์ทูเดย์
15 เมษายน 2554 เวลา 06:47 น.
การรถไฟฯ เร่งปั้นแผน10โครงการใหม่ขอร่วมวงใช้เงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจฯ 8.9 หมื่นล้านบาท

นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ร.ฟ.ท.จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขอใช้เงินจากโครงการเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Development Policy Loan : DPL) 8.9 หมื่นล้านบาท รองรับ 10 โครงการใหม่ของ ร.ฟ.ท.

ก่อนหน้านี้ ร.ฟ.ท.ได้งบ ประมาณจากรัฐบาลเพื่อดำเนินโครงการในปี 2554 รวม 11 โครงการ วงเงิน 8.7 หมื่นล้านบาท หากได้เพิ่มอีกจะทำให้ได้งบมากถึง 1.76 แสนล้านบาท รองรับโครงการทั้งสิ้น 21 โครงการ

โครงการล็อตแรก 11 โครงการ ผ่านการอนุมัติแผนแล้ว ส่วน 10 โครงการใหม่ อยู่ระหว่างรอศึกษาความเหมาะสม โดยทั้ง 10 โครงการมีรายชื่อต่อไปนี้:

1. ทางคู่สายเหนือ ลพบุรี - ปากน้ำโพ มูลค่า 7860 ล้่านบาท
2. ทางคู่สายอีสาน มาบกระเบา - ชุมทางถนนจิระ มูลค่า 11640 ล้่านบาท
3. ทางคู่สายอีสาน ชุมทางถนนจิระ - ขอนแก่น มูลค่า 13010 ล้่านบาท
4. ทางคู่สายใต้ นครปฐม - หนองปลาดุก - หัวหิน มูลค่า 16600 ล้่านบาท
5. ทางคู่สายใต้ ประจวบคีรีขันธ์ - ชุมพร มูลค่า 17000 ล้่านบาท
6. การจัดหารถจักรทดแทนรถจักรจีอี 50 คัน มูลค่า 6562.5 ล้านบาท
7. การ Refurbish รถจักรอัลสตอม 56 คัน มูลค่า 3360 ล้านบาท
8. การจัดหารถโดยสารรุ่นใหม่ เพื่อใช้งานในเชิงพาณิชย์ (รถด่วน) 115 คัน มูลค่า 4981.05 ล้่านบาท
9. การก่อสร้างสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง ICD แห่งที่ 2 มูลค่า 6066 ล้านบาท
10. ติดตั้งระบบเครื่อข่ายโทรคมนาคม มูลค่า 2200 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ในหลักการแม้ว่ากระทรวงการคลังจะเป็นผู้หาแหล่งเงินให้ แต่เพื่อความรวดเร็วในการดำเนินงาน ร.ฟ.ท.จะเสนอเรื่องแผนการศึกษาทั้ง 10 โครงการต่อ ครม.ด้วย โดยคาดว่าจะช่วยให้งานมีความต่อเนื่องในทางปฏิบัติ

“ในหลักการ ครม.ได้เห็นชอบแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของ ร.ฟ.ท.ไปแล้ว โดยให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาทบทวนขอกู้ดีพีแอล รวมทั้งยืนยันความพร้อมของโครงการที่คาดว่าจะทำระหว่างปีงบประมาณ 2555-2558 เพื่อที่สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) จะพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของโครงการ เสนอคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองเงินกู้ดีพีแอลต่อไป” นายยุทธนา กล่าว

ขณะนี้ ร.ฟ.ท.ได้เสนอรายละเอียดแผนงานในโครงการที่มีความพร้อมทั้ง 11 โครงการต่อนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการ ร.ฟ.ท.แล้ว

งานหลักๆ ที่ ร.ฟ.ท.จะต้องเร่งดำเนินการ อาทิ โครงการจัดหาและปรับปรุงเครื่องกั้น โครงการปรับปรุงทาง โครงการปรับปรุงสะพาน โครงการอาณัติสัญญาณไฟสี ฯลฯ คาดว่าภายในปีงบประมาณ 2555-2556 ภาพลักษณ์ของ ร.ฟ.ท.จะดีขึ้น เพราะได้มีการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ อย่างชัดเจน อาทิ การปรับปรุงตัวรถ และการปรับปรุงสถานีรถไฟ

ในปี 2554 จะเริ่มปรับปรุงห้องน้ำบนรถไฟให้สวย สะอาด ใช้สุขภัณฑ์ที่ดี จากนั้นเราจะยกระดับมาตรฐานของสถานีทั้ง 130 สถานี ซึ่งขณะนี้ได้ทยอยดำเนินการไปบางส่วนแล้ว” นายยุทธนา กล่าว

ด้านนายสุพจน์ กล่าวว่า ปีนี้ ร.ฟ.ท.ได้ปรับปรุงเพิ่มความแข็งแรงของสะพานให้รองรับน้ำหนักได้ 20 ตันเพลา รวม 200 แห่งทั่วประเทศ และจะทำต่อเนื่องอีกกว่า 1,000 แห่ง คาดว่าจะใช้เงินอีกกว่า 1,000 ล้านบาท พร้อมทำรั้วกั้นแนวเขตทางรถไฟ 1,000 กม. ไม่ให้กีดขวางเส้นทางเดินรถ รวมทั้งศึกษาทำรถไฟทางคู่ คาดว่าจะจ้างที่ปรึกษาออกแบบภายในปีนี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43714
Location: NECTEC

PostPosted: 15/04/2011 12:11 pm    Post subject: Reply with quote

ถึงเวลาปฏิรูป'ระบบขนส่งสาธารณะ'หลังปล่อยเละคนไทยรับกรรมมานาน
โดย จิตวดี เพ็งมาก
ข่าวหน้า 6
เดลินิวส์ วันศุกร์ ที่ 15 เมษายน 2554 เวลา 0:00 น

ปู๊น ปู๊น ถึงก็ช่าง...ไม่ถึงก็ช่าง ชิดในเลยพี่ ตี๊ด ตี๊ด สถานีต่อไป... สารพัดหลากหลายเสียงที่แสดงเอกลักษณ์ระบบขนส่งสาธารณะเมืองไทย ที่ไม่ว่าผ่านมากี่ปีต่อกี่ปี ก็ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง ถึงขนาดผู้สูงอายุมาคุยหยอกล้อกันในวงน้ำชาว่า ถ้าอยากดูหนุ่มตลอดเวลาให้ไปยืนดูรถเมล์ หรือรถไฟไทย เพราะเมื่อหลายสิบปีก่อน เป็นอย่างไร ตอนนี้ก็เป็นอย่างนั้น ไม่เคยมีการพัฒนาเลย ยกเว้นราคาอย่างเดียวที่ขยับขึ้น

ณ เวลานี้ ระบบขนส่งสาธารณะในไทย ครอบคลุมทุกประเภททั้งน้ำ บก อากาศ แต่สิ่งที่ขาดอยู่อย่างเดียว คือ ระบบการเชื่อมต่อที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ประชาชนไม่ค่อยนิยมใช้มากนัก ทั้งที่มีหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ อย่างกระทรวงคมนาคม เพิ่งฉลองครบรอบ 99 ปีไปหมาด ๆ แปลว่า มีหน่วยงานที่ดูแลระบบขนส่งสาธารณะมานานแล้ว แต่ทำไมระบบของไทย กลับไม่มีการพัฒนาไปตามยุคตามสมัยเลย!!!

หากมองถึงประเทศอื่น มักมีแต่ข่าวดี ออกนโยบายจะพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ เพื่ออำนวยความสะดวก เพิ่มความปลอดภัย เพิ่มคุณภาพชีวิตให้ประชาชน ทั้งใช้รถไฟหัวกระสุน รถไฟความเร็วสูง ป้ายรถเมล์ติดแอร์ แต่ไทยกลับมีแต่สารพัดปัญหาน่าหดหู่ หลายหน่วยงานทั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ขสมก.) ก็แบกหนี้เฉียดแสนล้าน คุณภาพการให้บริการก็ย่ำแย่ อุบัติเหตุก็เกิดเหตุซ้ำซาก สร้างความหวาดผวาผู้ใช้บริการตลอดเวลา ทั้งที่ไทยไม่ใช่ประเทศยากจน ที่จะไม่มีงบซ่อมบำรุง

แต่ปัญหาใหญ่ กลับอยู่ที่ฝ่ายนโยบายไม่เคยคิดจะแก้ปัญหาอย่างจริงจัง และขาดความต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากรัฐบาลไทยเปลี่ยนแปลงบ่อย และเมื่อพรรคไหนคิดจะปรับปรุง พอเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา อีกพรรคก็ต้องขัดแข้งขัดขากันตลอดเวลา ประมาณว่า ไม่อยากให้สำเร็จ เดี๋ยวจะได้หน้า ถูกใจประชาชนจนเกินหน้าเกินตา ได้ผลงานชิ้นโบแดงไป ประชาชนเลยต้องทนรับกรรมใช้ระบบขนส่งสาธารณะโบดำ บนความเห็นแก่ตัวของกลุ่มคนบางกลุ่มต่อไป

จากเหตุที่ระบบขนส่งไทยย่ำแย่ ประ กอบกับรถยนต์สมัยใหม่ ราคาก็เร้าใจ ก็ยิ่งทำให้สถิติการใช้รถส่วนตัว ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทั้งที่พื้นที่ถนนยังมีเท่าเดิม จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่นับวันรถจะติดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสัดส่วนการเดินทางในปัจจุบัน ซึ่งสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้รวบรวมสัดส่วนการเดินทางประเภทต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลพบว่า สัดส่วนการใช้รถส่วนบุคคลสูงถึง 33% รองลงมาเป็นรถจักรยานยนต์ 31% รถประจำทางธรรมดา และรถประจำทางปรับอากาศ 14% รถแท็กซี่ 5% รถในซอย 5% รถมินิบัส 4% รถตู้โดยสาร 3% รถไฟฟ้าบีทีเอส 2% เรือข้ามฟาก 1 % เรือโดยสารประจำทาง 1% รถไฟชานเมือง 0.28%

แต่ต่อไปประชาชนจะเริ่มมีความหวังในการใช้ระบบขนส่งสาธารณะไทย หลังหน่วยงานหลักอย่างกระทรวงคมนาคม ได้ฤกษ์เดินแผนอนาคตระบบขนส่งสาธารณะไทยอย่างสวยหรู นำโดยหน่วยงานหลักในการวางแผนระบบขนส่งอย่าง สนข. ภายใต้การกำกับของหญิงเหล็ก “สร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์” ผอ.สนข. เล่าถึงโครงการระบบขนส่งในอนาคตว่า ต่อไประบบขนส่งสาธารณะของไทย จะมีระบบการเชื่อมต่อที่มีประสิทธิภาพ รถไฟฟ้าทุกสายจะเชื่อมต่อกัน และจะเชื่อมต่อกับระบบขนส่งอื่น ๆ เช่น ท่าเรือต่าง ๆ หรือรถเมล์ รถตู้อย่างสะดวกสบาย

นอกจากนี้จะมีการพัฒนาระบบตั๋วร่วม เพื่อให้เกิดความสะดวกกับประชาชน สามารถใช้ตั๋วใบเดียวใช้บริการเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ และระบบขนส่งสาธารณะอื่น ๆ เช่น รถเมล์ ที่จะมีการนำระบบอี-ทิคเก็ต มาใช้ โดยจะมีการคิดอัตราค่าบริการระบบขนส่งต่าง ๆ อย่างเป็นธรรม ต่อไปไม่ต้องพกตั๋วหลายใบให้เต็มกระเป๋า ซึ่งขณะนี้ขั้นตอนอยู่ระหว่างการศึกษาจัดตั้งสำนักงานบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม คาดว่า จะใช้ระบบตั๋วร่วมได้อย่างสมบูรณ์ในปี 58

ส่วนการปรับปรุงระบบรถไฟ ซึ่งถือเป็นหน่วยงานในอันดับต้น ๆ ที่หลายคนอยากให้เปลี่ยนแปลงอย่างเร่งด่วน “ยุทธนา ทัพเจริญ” ผู้ว่าการ รฟท. ระบุว่า ที่ผ่านมา รฟท. ติดขัดในเรื่องงบประมาณในการปรับปรุงคุณภาพ แต่หลังจากรัฐบาลชุดนี้ได้อนุมัติงบแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของ รฟท. ระยะเร่งด่วน ปี 53–57 วงเงิน 176,808 ล้านบาท เชื่อว่า ต่อไประบบรถไฟไทยจะดีขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งขณะนี้ก็ได้วางแผนในการดำเนินโครงการที่มีความพร้อมแล้ว 11 โครงการ เช่น จัดหาหัวรถจักรดีเซลไฟฟ้า 13 คัน, ปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัย, ติดตั้งเครื่องกั้นถนนเสมอระดับ และปรับปรุงเครื่องกั้น

นอกจากนี้ รฟท. ได้ดำเนินโครงการสมาร์ทเทรน สมาร์ทสเตชั่น ในบางขบวน โดยเริ่มปรับปรุงห้องน้ำให้มีความสะอาดมากขึ้น แต่ละตู้รถไฟจะมีห้องน้ำ 1 ห้อง ซึ่งจะร่วมกับบริษัทจำหน่ายสุขภัณฑ์ชื่อดัง การออกแบบห้องน้ำใหม่ให้มีความสะอาด และสะดวกสบายมากขึ้น รวมทั้งปรับปรุงเก้าอี้ที่นั่งให้มีความสะดวกสบายยิ่งขึ้น เปลี่ยนพื้นยาง ทำสีภายนอก ภายใน รถไฟโฉมใหม่ที่ปรับปรุงจะมีลวดลายต่างกัน โดยมีสีม่วงเป็นหลัก ดูแล้วสบายตา และก่อนรถไฟจะออกจากชานชาลาจะมีการตรวจเช็กเข้มงวด 10 รายการ
ซึ่งสิ่งที่เปลี่ยนแปลงจะเริ่มทยอยเห็นในปี 54–55

ขณะที่ระบบขนส่งทางน้ำก็ไม่แพ้กัน “ถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ” อธิบดีกรมเจ้าท่า กล่าวถึงโครงการท่าเรือต้นแบบว่า ต่อไปกรมฯ จะดำเนินการสร้างท่าเรือต้นแบบ ที่ท่าพระนั่งเกล้า คือ จะมีท่าเรือที่มีขนาดกว้างมีทั้งท่าเรือโดยสาร และท่าเรือท่องเที่ยว รวมทั้งมีอาคารผู้โดยสารที่สะดวกสบาย ทันสมัย และลงจากท่าเรือแล้ว จะมีทางเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่ – บางซื่อ รวมทั้งเชื่อมต่อระบบขนส่งสาธารณะอื่น ๆ โดยจะให้มีจุดจอดรถที่ชัดเจน เช่น รถเมล์ รถตู้ และจะทยอยปรับปรุงท่าเรืออื่น ๆ อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะท่าเรือที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าได้ ก็จะทำทางเชื่อมต่อไป

ส่วนปัญหาในการปรับปรุงอาคารผู้โดยสารเรือ บางท่าเรือในขณะนี้คือ พื้นที่ในส่วนที่เป็นบก ไม่ใช้พื้นที่หน่วยงานราชการ แต่เป็นของเอกชน ซึ่งเอกชนบางรายก็ไม่ต้องการปรับปรุงพื้นที่ แต่ท่าไหนที่เป็นของหน่วยงานราชการ เช่น ท่าสาทร ซึ่งเป็นของกรมทางหลวงชนบท จะปรับปรุง และทำระบบเชื่อมต่อได้ทันที ขณะที่ปัญหาของเรือคลองแสนแสบนั้น ขณะนี้กรมฯ ก็พยายามแก้ไข เช่น ความแข็งแรงของโป๊ะเรือต่าง ๆ แต่ปัญหาใหญ่อย่างตัวเรือ ซึ่งมีหลังคาเตี้ย และขนาดตัวเรือที่ไม่กว้างมาก ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เนื่องจากถูกจำกัดด้วยความสูงของสะพาน และบริเวณลำคลองแคบ จึงไม่สามารถขยายเรือให้กว้างหรือยาวกว่านี้ได้

ด้านระบบขนส่งทางบกอย่าง รถเมล์ ถือว่า เป็นระบบขนส่งยอดฮิตของผู้มีรายได้น้อย และอีกหนึ่งหน่วยงานที่ประชาชนต้องการให้ปฏิรูปโดยเร็วที่สุด ซึ่งงานนี้ “โอภาส เพชรมุณี” ผอ.ขสมก. ก็ได้วางแผนปรับปรุงรถเมล์ ขสมก. ไว้แล้ว โดยเฉพาะตัวรถต่อไปจะเป็นรถปรับอากาศใช้ก๊าซธรรมชาติอัด (ซีเอ็นจีี) หน้าตัวรถจะมีป้ายไฟดิจิตอลบอกสายที่ชัดเจน และในตัวรถจะมีป้ายเส้นทาง รวมทั้งระยะเวลาที่จะไปถึงป้ายรถเมล์ต่อไปอย่างชัดเจน ส่วนที่ป้ายรถเมล์ต่าง ๆ ก็จะมีป้ายรถเมล์อัจฉริยะ บอกเวลาถึงป้ายของรถเมล์เพื่อให้ผู้ใช้บริการรู้เวลาการเดินทางที่แน่นอนว่าเมื่อไรรถมาถึง และต้องรออีกกี่นาที ทำให้ใช้เวลาที่รอคอยทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้ สาเหตุที่บอกเวลาได้แม่นยำเนื่องจากใช้ระบบจีพีเอส ควบคุมการเดินรถ ตั้งแต่การควบคุมความเร็วในการเดินทางเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการเดินทาง

รวมทั้งจะนำระบบตั๋วอัตโนมัติ (อี–ทิคเก็ต) มาใช้แทนเงินสดเพื่อให้เกิดความรวดเร็ว ในการชำระเงินที่ถูกต้อง ไม่ต้องทอนเงินให้ยุ่งยาก ซึ่งสามารถซื้อตั๋วได้ตามร้านสะดวกซื้อโดยทั่วไป และจะปรับปรุงเส้นทางเดินรถใหม่ทั้งระบบให้เชื่อมต่อกับระบบขนส่งสาธารณะอื่น ๆ และครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง เช่น นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสาคร โดยมีจุดเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสาร ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบวงจร เช่น ที่พักรอของผู้โดยสาร ที่จอดรถ ศูนย์อาหาร มินิมาร์ท

ในเมื่อหน่วยงานต่าง ๆ ที่รับผิดชอบพร้อมเต็มสูบแล้ว เพราะฉะนั้นก็คงถึงเวลาแล้วที่ผู้มีอำนาจในการดำเนินนโยบาย ต้องเร่งทำฝันให้คนไทย ได้ใช้ระบบขนส่งสาธารณะที่มีคุณภาพในชีวิตเป็นจริงสักที หลังจากต้องทนใช้ระบบขนส่งสาธารณะที่ไร้คุณภาพมานานแสนนาน บนความเห็นแก่ตัวของกลุ่มคนไม่กี่กลุ่ม ที่มัวแต่เข้ามากอบโกยผลประโยชน์ จนลืมหน้าที่แก้ปัญหาให้ประชาชนตามลมปากที่ประกาศไว้ก่อนเข้ามามีอำนาจ อย่าให้คนไทยต้องทนเหม็นลมปากไปวัน ๆ อีกเลย.

....................

นานาทรรศนะใช้ขนส่งสาธารณะไทย

“ธนันต์ภูมิ สุภาวัฒนเศรษฐ์” อายุ 29 ปี พนักงานบริษัทแห่งหนึ่ง ได้เล่าสะท้อนถึงการใช้บริการโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ว่า ตนใช้บริการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ แบบรถไฟฟ้าธรรมดา (ซิตี้ ไลน์) ทุกวัน เพราะต้องไปทำงานแถวเพลินจิต ซึ่งบ้านอยู่แถวหมู่บ้านนักกีฬา ใกล้กับสถานีทับช้าง จะนั่งแอร์พอร์ตลิงก์ไปต่อรถไฟฟ้าบีทีเอส ที่สถานีพญาไท ปัญหาใหญ่ที่อยากให้เร่งแก้ไขที่สุด คือ การตรงต่อเวลา ซึ่งเป็นจุดเด่นที่ทำให้คนหันมาใช้รถไฟฟ้า เพราะกำหนดเวลาได้ชัดเจน แต่รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ กลับมาช้ากว่าเวลาที่กำหนดถึง 15–20 นาที ทำให้กะเวลาไม่ค่อยถูก และมีเพื่อนหลายคนบ่นว่า ใช้แอร์พอร์ต เรลลิงก์ไปสนามบิน เกือบตกเครื่องหลายครั้ง ทำให้ไม่ค่อยอยากใช้บริการ และอยากให้ช่วงเช้า และเย็น ซึ่งมีผู้โดยสารใช้บริการเยอะ ควรเพิ่มความถี่ในการวิ่ง อย่างปัจจุบันต้องรอประมาณ 15-20 นาที ต่างจากรถไฟฟ้าบีทีเอส ที่วิ่งให้บริการแทบทุก 3-5 นาที และในตัวขบวนรถก็อากาศร้อน อยากให้ปรับปรุง ซึ่งก็ไม่เข้าใจว่า เพิ่งนำรถมาใช้ไม่นานแต่ทำไมเครื่องปรับอากาศเสียแล้วเหรอ

“บัวลอย เสามั่น” อายุ 28 ปี พนักงานทำความสะอาดบริษัทแห่งหนึ่ง เล่าถึงประสบการณ์ในการใช้รถไฟตั้งแต่อายุ 10 ขวบว่า แม่พานั่งรถไฟตั้งแต่เด็ก เพราะราคาถูกดี แต่ไม่ว่าผ่านมานานแค่ไหน คุณภาพการให้บริการ ก็ยังไม่ดีเหมือนเดิม มีแต่ราคาเท่านั้นที่ปรับขึ้น แต่ก็ยังดีที่ปรับไม่มาก สิ่งที่อยากให้ปรับปรุง คือ ห้องน้ำ รวมทั้งตัวรถไฟ ก็ไม่สะอาดเท่าที่ควร รวมทั้งการให้บริการไม่ตรงเวลา บางครั้งบอกไปถึงสถานีปลายทาง 06.00 น. แต่ไปถึงจริง 08.00 น. ทำให้ไปตามนัดหมายไม่ทัน ส่วนหัวรถจักรก็เสียบ่อย ต้องเสียเวลารอหัวรถจักรใหม่มาเปลี่ยน ขณะที่รถไฟฟรี ก็มีให้บริการน้อย วิ่งระยะทางไม่ไกล อยากให้เพิ่มมากขึ้น และวิ่งให้ไกลขึ้น และหลัง 21.00 น. คนขายตั๋วบางครั้งเหลือแค่ 1 คน ทำให้แถวต่อคิวซื้อตั๋วยาวมาก ตอนนี้อยากให้เร่งเปลี่ยนตัวรถ และสภาพรางที่เก่ามาก ๆ และหลัง ๆ รถไฟมักมีข่าวอุบัติเหตุมากขึ้น ถ้าคิดว่าปรับปรุงไม่ได้ ยังมีข่าวรถไฟตกบ่อย ๆ ก็ควรปลดป้ายที่ติดตามสถานีว่า เดินทางด้วยรถไฟ ปลอดภัยที่สุดไปเลยดีกว่า เพราะติดไปก็อายชาวบ้านเขา

“ศรีอรุณ จังติยานนท์” อายุ 29 ปี พนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง เปิดฉากระบายถึงความรู้สึกการใช้ระบบขนส่งทางน้ำ มานานกว่า 5 ปี โดยเฉพาะเรือคลองแสนแสบ ระหว่างท่ามหาวิทยาลัยรามคำแหง-ผ่านฟ้าว่า อยากให้ปรับปรุงการพูดจาของพนักงานเก็บค่าโดยสาร ที่มักพูดจาไม่สุภาพ เร่งให้ผู้โดยสารรีบก้าวขึ้นเรือ ทั้ง ๆที่เรือยังจอดไม่สนิท ส่วนการเดินทางโดยสารท่าเรือด่วนเจ้าพระยานั้น ดีขึ้นแล้ว เหลือเพียงท่าเรือที่บางท่ามีสภาพเก่า ส่วนการใช้บริการรถเมล์ อยากให้เพิ่มความถี่บางคันรอเป็นชั่วโมง และการพูดจาที่ไม่สุภาพเอามาก ๆ ของพนักงานเก็บค่าโดยสารบางคน และที่สำคัญสภาพรถเก่า บางครั้งก็เสียกลางทาง ให้ผู้โดยสารต้องเปลี่ยนรถ และต้องเสียเงินค่าโดยสารซ้ำอีกครั้งในกรณีที่เป็นรถคนละบริษัท หรือบางครั้งเสียบนทางด่วน ซึ่งน่ากลัวมาก อยากให้นำรถใหม่มาให้บริการเร็ว ๆ อย่ามัวแต่ขัดแข้งขัดขากัน จนลืมแก้ปัญหาผู้ได้รับความเดือดร้อน ไม่เช่นนั้นวันไหนว่าง ๆ ลองถอดสูท ลงจากรถไฮโซมานั่งรถเมล์ดูบ้าง จะได้รู้ถึงหัวอกชาวบ้านต้องลำบากกันแค่ไหน

ด้านผู้คร่ำหวอดกับการใช้รถตู้มานานกว่า 4 ปี โดยเฉพาะเส้นทางมีนบุรี–อนุสาวรีย์ อย่าง “นงนภัส ไม้พานิชย์” อายุ 32 ปี พนักงานบริษัทแห่งหนึ่ง มองว่า อยากให้รถตู้ปรับปรุงการให้บริการโดยเฉพาะที่นั่ง รถตู้บางคันให้นั่งแถวละ 4 คน ซึ่งเบียดมาก ให้นั่งแบบนี้ ให้นั่งตักกันเลยดีกว่า รวมทั้งอยากให้มีเที่ยววิ่งอย่างสม่ำเสมอ ไม่ใช่ให้บริการเฉพาะช่วงเช้าและเย็นเท่านั้น ช่วงบ่ายแทบไม่มีเลย ส่วนการใช้บริการรถแท็กซี่นั้น อยากให้กรมการขนส่งทางบก อบรมเรื่องเส้นทางไปยังสถานที่หลัก ๆ ก่อนการสอบใบขับขี่ เพราะมีหลายคัน ไม่รู้จักเส้นทาง และปัญหาสำคัญที่สุด คือ การปฏิเสธรับผู้โดยสาร ภาครัฐควรมีมาตรการเอาจริงเอาจังมากขึ้น อย่างบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ บางครั้งเรียกไปใกล้ ๆ สนามบิน คนขับรถมักจะไม่พอใจ และบ่นผู้โดยสารตลอดทาง ทั้งที่ผู้โดยสารก็เสียค่าธรรมเนียม 50 บาทแล้ว ซึ่งอยากให้มีความรับผิดชอบในการให้บริการบ้าง เพราะต้องมีผู้โดยสารที่ใช้บริการทั้งใกล้และไกลอยู่แล้ว.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43714
Location: NECTEC

PostPosted: 15/04/2011 10:01 pm    Post subject: Reply with quote

ลุ้น10ปีรถไฟวิ่งได้ (เฉลี่ย) 90ก.ม./ช.ม.
หน้า 9
ข่าวสดรายวัน ปีที่ 21 ฉบับที่ 7442
วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2554



นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 12 เม.ย.ที่ผ่านมา รับทราบแผนหลักการ ในแผนพัฒนาระบบขนส่งและจราจร พ.ศ.2554-2563 ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ โดยครม. สั่งให้กระทรวงคมนาคมทำหนังสือเวียนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรับทราบแผนฯ นำไปเป็นแนวทางและเครื่องมือสำหรับประสานการดำเนินงานอย่างบูรณาการ ซึ่งจะทำให้การค้าระหว่างประเทศมีการขยายตัว เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี)

ทั้งนี้ ระยะเวลา 10 ปีของการดำเนินการพัฒนาแผนฯ จะสามารถผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อการเดินทางและการขนส่ง สามารถเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจและชุมชน ปรับปรุงการขนส่งให้มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการขนส่งที่ประหยัดพลังงาน และหลังจากดำเนินการตามแผนครบ 10 ปี จะสามารถพัฒนาระบบขนส่งและการจราจรของประเทศ ดังนี้คือ การขนส่งทางรางจะเพิ่ม ขึ้นเป็น 5% จากปัจจุบัน 2.2% สัดส่วนการขนส่งสินค้าทางน้ำสัดส่วนจะเพิ่มเป็น 18% จากปัจจุบัน 14%

นอกจากนี้ ความเร็วเฉลี่ยขบวนรถไฟจะเพิ่มเป็น 90 ก.ม./ชั่วโมง จากปัจจุบันอยู่ที่ 47 ก.ม./ ชั่วโมง และสามารถลดอัตราการเสียชีวิตของประชากรจากอุบัติเหตุทางถนนได้ จากปัจจุบันมีสัดส่วน 18.23 คนต่อประชากร 1 แสนคน ลดเหลือ 8.3 คนต่อประชากร 1 แสนคน เพิ่มสัดส่วนการใช้บริการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน จากปัจจุบัน 0.6 ล้านคน-เที่ยวต่อวันเป็น 4.5 ล้านคน-เที่ยวต่อวัน โดยสัดส่วนการใช้รถขนส่งสาธารณระหว่างเมืองจะเพิ่มเป็น 59% จากปัจจุบันมีสัดส่วน 41% และช่วยรองรับปริมาณผู้โดยสาร ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ ได้ไม่น้อยกว่า 60%
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43714
Location: NECTEC

PostPosted: 17/04/2011 1:04 am    Post subject: Reply with quote

ส.ว.ไล่บี้แผนยกเครื่องรถไฟฯ
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ
หน้า อสังหา Real Estate - อสังหาฯ-คมนาคม
ออนไลน์เมื่อ วันศุกร์ที่ 08 เมษายน 2011 เวลา 10:43 น.
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,625 10-13 เมษายน พ.ศ. 2554

อนุกรรมาธิการทางราง วุฒิสภา ดีเดย์หลังสงกรานต์ 20 เม.ย. เรียกแจงแผนพัฒนาระบบรางและแผนยกเครื่องการรถไฟฯ จนถึงการใช้ประโยชน์ที่ดินของร.ฟ.ท.โดยเฉพาะย่านพหลโยธินและกม.11 กว่า 2,000 ไร่ รับโครงข่ายสถานีกลางบางซื่อของรถไฟฟ้าสีต่างๆ

นายสุรเดช จิรัฐิติเจริญ ประธานคณะอนุกรรมาธิการด้านการคมนาคมทางราง คณะกรรมาธิการคมนาคม วุฒิสภา เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ในวันที่ 20 เมษายนนี้
คณะอนุกรรมาธิการฯจะเรียกการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) ชี้แจงแผนการพัฒนาระบบรางและแผนยกเครื่องการรถไฟฯ ภายใต้งบประมาณที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)อนุมัติไปแล้วเมื่อปลายปี 2552 ซึ่งคณะกรรมาธิการมีความกังวลเกี่ยวกับการวางแผนการดำเนินโครงการพัฒนาระบบการขนส่งทางรางของกระทรวงคมนาคม ซึ่งจะต้องส่งเสริมให้เกิดประโยชน์และมีศักยภาพมากที่สุด

โดยส่วนแรก คือ การจัดทำแผนฟื้นฟูของการรถไฟฯ ที่จะต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อยกระดับการบริการ และอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสาร

ส่วนที่ 2 คือ การใช้ประโยชน์จากที่ดินของร.ฟ.ท. โดยเฉพาะที่ดินย่านพหลโยธินและกิโลเมตรที่ 11 กว่า 2 ,000 ไร่ตลอดจนพื้นที่อื่นๆ ที่ต้องจัดลำดับความสำคัญ และวางแผนการใช้ประโยชน์ให้ดีที่สุด

เบื้องต้น ร.ฟ.ท.ต้องเน้นการพัฒนาระบบการขนส่งให้มีสัดส่วนมากที่สุด เพราะที่ดินบริเวณดังกล่าวในอนาคตจะมีระบบขนส่งทางรางเพิ่มขึ้น เช่น การก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต,บางซื่อ-ตลิ่งชัน สายสีเขียวช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ และสายสีม่วงช่วงเตาปูน-บางใหญ่ที่มีพื้นที่ของโครงการอยู่บริเวณสถานีกลางบางซื่อ

"แม้ว่าปลัดกระทรวงคมนาคมจะเร่งรัดอยู่แล้ว แต่คณะอนุกรรมาธิการก็ยังเห็นว่ามีความล่าช้า โดยเฉพาะการบริหารจัดการโครงการต่างๆ จากที่ได้รับงบประมาณ 176,808 ล้านบาทซึ่งได้จัดสรรนำไปใช้ตามแผนงบประมาณอย่างครอบคลุม 3 เรื่อง คือ

1.ความปลอดภัย ที่จะนำไปใช้เกี่ยวกับเครื่องกั้น อาณัติสัญญาณ ระบบโทรคมนาคม รั้วและจุดตัดต่าง ๆ ระหว่างถนนและรางรถไฟกว่า 2,000 แห่งทั่วประเทศ

2.ความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างพื้นฐาน ต้องมีการปรับเปลี่ยนรางให้เป็น 100 ปอนด์กว่า 2,000 กิโลเมตร เปลี่ยนไม้หมอนให้เป็นคอนกรีตในเส้นทางสายหลักที่ขณะนี้เริ่มดำเนินการไปบ้างแล้ว ความแข็งแรงของสะพานที่จะรองรับหัวรถจักรที่จะซื้ออีก 77 หัวพร้อมกับการซ่อมหัวรถจักรอีก 56 หัวรวมเป็น 133 หัวในอีก 2-3 ปีต่อจากนี้จะทยอยได้มาใช้งาน และ

3.ความสะดวกสบายด้านประสิทธิภาพการให้บริการกับประชาชน จะมีขบวนรถและโรงซ่อมใหม่เพื่อเร่งรัดดำเนินการไปจนถึงปี 2557 โดยแผนการดำเนินงานสร้างทางระยะ 5 และระยะ 6 ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งการจัดซื้อหัวรถจักรใหม่เพิ่ม"

นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การเร่งรัดดำเนินการตามแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการรถไฟฯนั้นจะทำทั้ง 4 งานหลักไปพร้อม ๆ กัน คือ

1.งานโยธา วงเงินรวม 51,124 ล้านบาท ได้แก่ การปรับปรุงทางระยะที่ 5-6 ที่ได้ตัวผู้ประมูลเรียบร้อยแล้ว การปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัยและการปรับปรุงสะพาน

2.งานอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม วงเงินรวม 23,750 ล้านบาท ได้แก่ การติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคม การติดตั้งเครื่องกั้นถนนเสมอระดับ การจัดหาและปรับปรุงเครื่องกั้น ติดตั้งสัญญาณไฟสี การติดตั้งรั้ว 2 ข้างทางตามแนวเขตรถไฟ

3.งานจัดหารถจักรและล้อเลื่อน วงเงิน 12,067 ล้านบาท ได้แก่ จัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้าทดแทน GE 50 คัน ซ่อมรถจักรอัลสตอม 56 คันขนาด 13.25 ตัน/เพลา (ต้นฉบับว่า 30 ตัน/เพลา) และการจัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้า 13 คัน ขนาด 20 ตัน/เพลา (ต้นฉบับว่า 30 ตัน/เพลา) และโครงการก่อสร้างรถไฟรางคู่ระยะทางรวมกว่า 767 กิโลเมตร

"ยังยืนยันว่าแม้จะดูเหมือนมีความล่าช้า แต่ก็ไม่ได้ทำให้งานสะดุดแต่อย่างใดเพราะกระบวนการเริ่มไปแล้วตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยบอร์ดการรถไฟฯยังได้เร่งรัดเรื่องการบริหารจัดการทรัพย์สินการรถไฟฯที่มีพื้นที่กว่า 2 แสนไร่ที่สามารถนำมาพัฒนาให้เกิดรายได้ในแต่ละปีเพื่อช่วยลดภาระหนี้สะสม โดยเฉพาะพื้นที่ที่สามารถนำมาพัฒนาเชิงพาณิชย์สร้างรายได้ให้การรถไฟฯในแต่ละพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นย่านพหลโยธิน-บางซื่อ สถานีแม่น้ำ มักกะสัน และอีกหลาย ๆ แปลงทั้งพื้นที่กทม.และจังหวัดต่าง ๆ เนื่องจากปัจจุบันการรถไฟฯมีรายได้จากการพัฒนาทรัพย์สินเพียงปีละ 1,600 ล้านบาทเท่านั้น"

สำหรับแผนโครงการเปลี่ยนความแข็งแรงของรางและหมอนรองรางของการรถไฟฯประกอบด้วย

1. การปรับปรุงความแข็งแรงของรางระยะทาง 2,272 กิโลเมตร
2. เปลี่ยนหมอนรองราง 1,382 กิโลเมตร
3. เปลี่ยนรางให้เป็นขนาด 100 ปอนด์ ระยะทาง 2,835 กิโลเมตร
4. ก่อสร้างสะพานเพื่อรองรับน้ำหนักลงเพลา 20 ตัน/เพลา จำนวน 1,648 แห่ง
5. เปลี่ยนประแจและระบบอาณัติสัญญาณ เป็นประแจกลหมู่ไฟฟ้าและระบบอาณัติสัญญาณไฟสี 223 สถานี
6. แก้ไขปัญหาจุดตัด โดยการก่อสร้างสะพาน/ทางลอดต่างระดับ 114 แห่ง
7. ติดตั้งเครื่องกั้นอัตโนมัติ 1,033 แห่ง และ
8. ปิดทางลักผ่าน 540 แห่ง

ซึ่งการดำเนินงานตามแผนนั้นได้เริ่มทยอยดำเนินการประมูลและเริ่มลงมือก่อสร้างตั้งแต่ช่วงปลายปี 2553 ที่ผ่านมา
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43714
Location: NECTEC

PostPosted: 18/04/2011 9:05 pm    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.จัดซื้อหัวรถจักร 20 คันรวด
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ
หน้า อสังหา Real Estate - อสังหาฯ-คมนาคม
ออนไลน์เมื่อ วันอังคารที่ 12 เมษายน 2011 เวลา 11:30 น.
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,627 17-20 เมษายน พ.ศ. 2554

ร.ฟ.ท.ถือฤกษ์หลังสงกรานต์ เตรียมเปิดขายซองประกวดราคาจัดซื้อหัวรถจักร 20 คันรวด มูลค่ารวม 3,000 ล้านบาท หลังจัดซื้อรอบแรก 7 คันต้องล้มเลิกไป พร้อมเปลี่ยนวิธีประกวดราคาใหม่ เป็นแบบนานาชาติ แทนอี-ออกชัน

นายประจักษ์ มโนธัม รองผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า หลังเทศกาลสงกรานต์นี้ ร.ฟ.ท.จะเปิดขายซองประกวดราคาจัดซื้อหัวรถจักรจำนวน 20 คัน รวมมูลค่าประมาณ 3,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากที่คณะกรรมการ(บอร์ด) ร.ฟ.ท.มีมติให้ยกเลิกการประกวดราคาโครงการจัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้า ขนาดเพลาสูงสุดไม่เกิน 20 ตันเพลาจำนวน 7 คัน วงเงิน 1,050 ล้านบาท โดยร.ฟ.ท.ได้แจ้งให้กลุ่มกิจการร่วมค้าล็อกซเล่ย์หงไฮ่จี้หลิน ซึ่งเป็นผู้เสนอราคาต่ำรับทราบแล้ว ซึ่งเข้าใจขั้นตอนการดำเนินงานของรัฐ และไม่ติดใจใดๆ พร้อมกับยืนยันว่าจะร่วมประมูลในครั้งใหม่นี้ด้วย

สำหรับการจัดประกวดราคาครั้งใหม่นี้ ร.ฟ.ท.จะเปิดประกวดราคาแบบนานาชาติหรือ INTERNATIONAL BIDDING ตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) จากเดิมที่ประกวดราคาแบบ LOCAL BIDDING ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรืออี-ออกชัน เพื่อจัดหาหัวรถจักรในคราวเดียวจำนวน 20 คัน จึงทำให้วงเงินเพิ่มขึ้นเป็น 3,000 ล้านบาท ซึ่งจะส่งผลให้เอกชนเข้าร่วมการประกวดราคาเพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดการแข่งขันด้านราคา ขณะที่ร.ฟ.ท.จะมีอำนาจต่อรองเพิ่มขึ้น

"ปัจจุบันหลายๆ ประเทศนิยมซื้อเป็นจำนวนมาก เพราะมีอำนาจต่อรองมากกว่าและยังได้ราคาต่ำกว่า สำหรับในครั้งนี้ด้วยงบประมาณจำกัด ร.ฟ.ท.จึงให้เปิดการจัดหาหัวรถจักรรวดเดียว 20 คัน เพราะจะทำให้ร.ฟ.ท.ได้ราคาที่ต่ำกว่าการจัดหารถจักรเพียง 7 คัน อีกทั้งการซื้อหัวรถจักรยี่ห้อเดียวกันเป็นจำนวนมาก ๆ จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาและการซ่อมบำรุง รวมทั้งค่าอะไหล่อีกด้วย"

นายประจักษ์ กล่าวว่า ในส่วนขั้นตอนการประกวดราคานั้น ร.ฟ.ท.ได้ประกาศเชิญชวนเอกชนไปแล้ว โดยผ่านทางสถานทูตประเทศต่างๆที่สนใจและมีการผลิตขึ้นในประเทศนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา แคนาดา เยอรมนี ฝรั่งเศส และออสเตรเลีย เป็นต้นโดยเงื่อนไขสำคัญเอกชนต้องยื่นข้อเสนอเรื่องแหล่งเงินกู้ด้วย เพื่อให้ร.ฟ.ท.และกระทรวงการคลังพิจารณาและเลือกข้อเสนอทางการเงินที่ดีที่สุด โดยจะให้เวลาจัดทำข้อเสนอประมาณ 60 วันและคาดว่าจะสรุปผลการประกวดราคาได้ในเดือนพฤษภาคมนี้ และจะลงนามสัญญาในเดือนมิถุนายน 2554

สำหรับโครงการจัดหาหัวรถจักรจำนวน 7 คันนั้น เคยถูกบริษัทที่เข้าร่วมประมูลแต่ไม่ผ่านคุณสมบัติยื่นฟ้องศาลปกครองเมื่อปี 2553 โดยศาลมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเมื่อต้นปี 2554 ที่ผ่านมา ร.ฟ.ท.จึงได้ดำเนินการเปิดซองข้อเสนอด้านราคาของ 2บริษัทที่ผ่านคุณสมบัติที่เหลืออีก พบว่ากลุ่มกิจการร่วมค้าล็อกซเล่ย์หงไฮ่จี้หลิน เสนอราคาต่ำสุดที่ 1,018 ล้านบาท ส่วนบริษัท GCS GROUP CORPORATION เสนอราคาที่ 1,030 ล้านบาท ซึ่งราคาที่กลุ่มกิจการร่วมค้าล็อกซเล่ย์หงไฮ่จี้หลินเสนอที่ 1,018 ล้านบาทนั้น ต่ำกว่าราคากลาง 32 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 3% โดยราคากลางกำหนดไว้ที่ 1,050 ล้านบาท

"หลังจากพิจารณารายละเอียดข้อเสนอทางการเงิน ซึ่งทีโออาร์กำหนดให้เอกชนจัดหาแหล่งเงินกู้แล้ว ปัญหาการประมูลอี-ออกชันก็ไม่ตรงกับมติครม.ที่ผู้เสนอราคาทั้ง 2 รายเสนอหัวรถจักรยี่ห้อเดียวกัน ยังเข้าข่ายการล็อกสเปกอีกด้วย"

ส่วนโครงการจัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้าอีก 13 คันในราคาคันละประมาณ 150 ล้านบาท รวมประมาณ 1,950 ล้านบาท ซึ่งก็มีปัญหาการร้องเรียนเกี่ยวกับคุณสมบัติรถจักรดีเซลไฟฟ้าที่ประกาศในทีโออาร์ว่ามีการล็อกสเปกเช่นกัน ร.ฟ.ท.จึงได้ดำเนินการใหม่ในครั้งนี้เป็นชุดเดียวกันทั้งหมดเพื่อความโปร่งใส
Back to top
View user's profile Send private message
CENTENNIAL
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 30/03/2006
Posts: 3642
Location: Thailand

PostPosted: 19/04/2011 11:23 am    Post subject: Reply with quote

^
^
ได้มาลุ้นกันใหม่อีกครั้งว่าท้ายที่สุดแล้ว หัวรถจักร 20 คัน จะมาจากประเทศใด ค่ายใด

โดยส่วนตัวยังแอบลุ้นให้ General Electric ชนะการประมูล เพราะมั่นใจในคุณภาพนี้จริงๆ โดยเฉพาะรุ่น The PowerHaul Series โมเดล PH37ACi L620 หรือ Class 70 ของบริษัท Freightliner ที่ใช้บนเกาะอังกฤษ เพราะมีสเปคที่หากปรับปรุงเรื่องแคร่ให้มาเป็นแคร่ที่ใช้กับรางเมตรเดียวของบ้านเราก็สามารถใช้การได้แล้ว
ซึ่งหัวรถจักรรุ่นนี้มีพละกำลังมหาศาลถึง 3,700 แรงม้า แรงกว่า Blue Tiger ของ KTM ซะอีก


แต่ยังไงก็ตาม ไม่ว่าท้ายที่สุดแล้วจะเป็นของค่ายใด ก็อยากให้รีบซื้อมาให้เร็วที่สุด
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
KaittipsBOT
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 4150

PostPosted: 19/04/2011 12:22 pm    Post subject: Reply with quote

Razz สาธุ....อย่าให้มีมารมาผจญอีกเลย....ให้ทุกอย่างทะลุ ทะลวง และได้เห็นรถจักรใหม่ในเร็ววัน.....
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
boatteam
2nd Class Pass (Air)
2nd Class Pass (Air)


Joined: 05/04/2010
Posts: 910
Location: แจ้งวัฒนะ หลักสี่ ปากเกร็ด

PostPosted: 19/04/2011 3:15 pm    Post subject: Reply with quote

ยากเห็นรถจักรใหม่เร็วๆ เหมือนกันครับ
ขอให้การประมูลผ่านไปได้ด้วยดี รฟท.จะได้มีรถใหม่ใช้ซักที Razz
_________________
สถานีบ้านเกิดอรัญประเทศ สุดเขตแดนสยามฝั่งตะวันออก
Back to top
View user's profile Send private message
milkonline
2nd Class Pass (Air)
2nd Class Pass (Air)


Joined: 02/07/2009
Posts: 810
Location: อ.เมือง จ.ลพบุรี

PostPosted: 19/04/2011 10:14 pm    Post subject: Reply with quote

อ่านข่าวตรงนี้ แล้วฝันไปเล่นๆถึง Class 66 เลยครับ

แต่ถ้าดูจากการประมูลรอบที่แล้ว ถ้าคราวนี้ผ่านฉลุย
จะได้รถจักรจากแดนมังกรรึเปล่าหนอ?
_________________
N-Scale model train lovers.
Back to top
View user's profile Send private message
kikoo
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 01/02/2010
Posts: 1667
Location: มอ.ตรัง และ สถานีตรัง

PostPosted: 19/04/2011 11:31 pm    Post subject: Reply with quote

ได้ของCNR Dalianแหงๆ Laughing (กระแสรถจีนฟีเวอร์)
_________________
ความคืบหน้าโครงการปรับปรุงทางช่วงที่วัง-กันตัง
http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=5618
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 130, 131, 132 ... 486, 487, 488  Next
Page 131 of 488

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©