Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312072
ทั่วไป:13681382
ทั้งหมด:13993454
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 36, 37, 38 ... 284, 285, 286  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44058
Location: NECTEC

PostPosted: 25/04/2011 6:01 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมลุ้นครม.ผ่านตั๋วร่วม
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ
หน้าอสังหา Real Estate - อสังหาฯ-คมนาคม
ออนไลน์เมื่อ วันศุกร์ที่ 22 เมษายน 2011 เวลา 10:53 น.
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,629 24-27 เมษายน พ.ศ. 2554

คมนาคมลุ้นครม.อนุมัติตั๋วร่วม 26 เม.ย.นี้ก่อนใช้มติเร่งก่อตั้งสำนักงานพัฒนาระบบตั๋วร่วมภายใต้สนข. เตรียมเร่งคลังกู้เอดีบี 22 ล้านบาทใช้เป็นทุนพัฒนาระยะแรก วงในเผยอาจพิจารณาข้ามรัฐบาลหวั่นหากมีการแก้ไข อาจล่าช้าเกิดผลกระทบแน่ ส่วนบีทีเอสเผยปลายปีนี้พร้อมใช้ตั๋วร่วมกับรถไฟฟ้าใต้ดิน

แหล่งข่าวระดับสูงกระทรวงคมนาคมเปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าในวันที่ 26 เมษายน 2554 นี้จะนำเรื่องระบบตั๋วร่วมเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี(ครม.)เพื่อใช้มติดังกล่าวไปเร่งดำเนินการก่อตั้งสำนักงานพัฒนาระบบตั๋วร่วมที่ช่วงแรกนี้อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.)ก่อนที่จะพัฒนาไปสู่หน่วยงานที่เหมาะสมในระยะต่อไป นอกจากนั้นยังต้องการให้กระทรวงการคลังไปเร่งรัดการกู้เงินจากธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี)จำนวนประมาณ 22 ล้านบาทเพื่อนำไปใช้ดำเนินการพัฒนาระบบตั๋วร่วมที่สนข.ศึกษาไว้แล้วในช่วงแรก ๆ นี้

"กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาได้หารือหลายฝ่ายและมีการแก้ไขหลายรอบมาแล้ว ในครั้งนี้จึงน่าจะผ่านมติครม. แต่หากต้องมีแก้ไขอาจจะส่งผลให้ต้องเข้าสู่การพิจารณาของรัฐบาลชุดใหม่ถ้าจะมีการยุบสภาในเร็ว ๆ นี้ก็อาจจะล่าช้าออกไปจึงต้องลุ้นว่าจะทันดำเนินการในปีนี้หรือไม่"
จำรูญ ตั้งไพศาลกิจ ด้านนายจำรูญ ตั้งไพศาลกิจ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่าจากการที่ได้มีการหารือร่วมกันกับผู้แทนจากธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) พบว่าเอดีบีพร้อมให้การสนับสนุนวงเงินช่วยเหลือพัฒนาโครงการต่าง ๆ ของกระทรวงคมนาคม โดยเสนอวงเงินประมาณ 1,200 ล้านบาท เบื้องต้นคาดว่าจะนำไปใช้เพื่อการพัฒนาโครงการระบบตั๋วร่วมคมนาคม โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ของกรมทางหลวง รวมทั้งให้ความสนใจเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรในงานที่เกี่ยวข้องกับระบบการขนส่งทางรางอีกด้วย
"ประเด็นสำคัญที่ได้แก้ไขก่อนนำเข้าสู่ขั้นตอนรอครม.พิจารณามี 2 ประเด็นหลัก ๆ คือขออนุมัติจัดตั้งองค์กรพัฒนาระบบตั๋วร่วมที่อยู่ภายใต้ สนข.และการให้กระทรวงการคลังไปกู้เงินเอดีบีจำนวนประมาณ 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯเพื่อนำไปพัฒนาระบบตั๋วร่วมต่อไป ซึ่งงบประมาณบางส่วนจะใช้งบประมาณประจำปีควบคู่กันไปด้วย โดยขณะนี้ได้สรุปโครงสร้างการบริหารจัดการ และแผนรายละเอียดต่างๆ เสร็จสิ้นแล้ว ซึ่งคาดว่าหลังจากที่ครม.เห็นชอบ ความชัดเจนของการพัฒนาก็จะมีความคืบหน้าเร็วขึ้น

ขณะที่นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการสนข.กล่าวว่า หากครม.อนุมัติทันในรัฐบาลชุดปัจจุบันก็จะเดินหน้าขั้นตอนอื่น ๆ ได้ต่อเนื่องและรวดเร็วขึ้น แต่หากต้องมีการแก้ไขอีกน่าจะไม่ทันในรัฐบาลชุดนี้ต้องไปลุ้นกันต่อในรัฐบาลชุดใหม่เกรงว่าจะเกิดผลกระทบในเรื่องระยะเวลาการพัฒนาจึงไม่อยากให้เกิดความล่าช้าอีกต่อไป

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการและผู้อำนวยการใหญ่สายปฏิบัติการ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)หรือบีทีเอส กล่าวว่าในส่วนการพัฒนาระบบตั๋วร่วมของบริษัทที่พร้อมใช้กับรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟใต้ดินนั้นปลายปีนี้พร้อมทุกสถานี โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการทดสอบระบบโดยมีการติดตั้งระบบใหม่เข้าไปในแต่ละจุด ซึ่งหากการทดสอบระบบบีทีเอสและรถไฟใต้ดินประสบความสำเร็จก็จะเริ่มไปทดสอบกับรถบีอาร์ทีต่อไป

"การใช้งานในปลายปีนี้ได้ครบทุกสถานีระหว่างบีทีเอสกับรถไฟใต้ดิน ส่วนจุดสังเกตที่เห็นชัดคือจะมีการจัดทำบัตรรูปแบบใหม่ออกมาจำหน่ายสำหรับผู้ที่จำเป็นต้องใช้รถไฟฟ้าทั้ง 2 ระบบ โดยบัตรรูปแบบเดิมยังใช้ได้ตามปกติจนกว่าปริมาณการใช้จะลดน้อยลงไปจึงจะยกเลิก ส่วนการนำไปใช้งานกับรถโดยสารบีอาร์ทีนั้นจะรออีกสักระยะจนกว่าระบบที่ใช้กับบีทีเอสและรถไฟใต้ดินทดสอบจนมั่นใจแล้ว คาดว่าต้นปี 2555 น่าจะใช้ได้ครบทั้ง 3 ระบบ"

สำหรับวงเงินที่เอดีบีเสนอช่วยเหลือจำนวน 1,200 ล้านบาทแบ่งเป็นการสนับสนุนการจัดทำระบบตั๋วร่วม ให้ความช่วยเหลือในโครงการมอเตอร์เวย์ การช่วยเหลือพัฒนาบุคลากรและระบบซอฟต์แวร์ ทางด้านระบบราง และการให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับโครงการอื่นๆ ที่ใช้รูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (Public-Private Partnership: PPP)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44058
Location: NECTEC

PostPosted: 01/05/2011 4:32 pm    Post subject: Reply with quote

“มาร์ค” เยี่ยมแผนก่อสร้างรถไฟฟ้า เสื้อแดงดักโห่ไล่ตลอดทาง

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 1 พฤษภาคม 2554 15:49 น


นายกฯ ฟุ้งโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง สีน้ำเงิน และ สีม่วง เป็นไปตามแผน เตรียมเสนอตั๋วโดยสารร่วมฯเข้า ครม.อังคารนี้ ก่อนลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมความคืบหน้าของโครงการ โดยมีกลุ่มคนเสื้อแดงรอต้อนรับและตะโกนโห่ไล่ตลอดเส้นทาง

วันนี้ (1 พ.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการเดินหน้าโครงการรถไฟฟ้าว่า ได้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ คือ สามารถทำให้มีความคืบหน้า 250 กิโลเมตร ในระยะเวลา 10 ปี และอีก 10 ปีต่อไปก็จะขยายเส้นทางให้ได้อีกเท่าตัว การก่อสร้างซึ่งเริ่มขึ้นทั้งสายสีแดง สีน้ำเงิน และ สีม่วง เป็นไปตามแผน

ผู้สื่อข่าวถามว่า เรื่องราคาโดยสารจะได้ถูกกว่านี้หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า จะมีการนำเสนอเรื่องตั๋วโดยสารร่วมบริการรถไฟฟ้าในการประชุม ครม.วันอังคารนี้ เมื่อถามว่า ในส่วนของการเดินรถสายสีเขียว จะให้ กทม.หรือกระทรวงคมนาคม เป็นผู้ดำเนินการ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การก่อสร้างเราให้คมนาคมดำเนินการอยู่ และเราจะต้องกลับมาที่ กทม.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 10.00 น.ภายหลังจัดรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์ เป็นครั้งสุดท้าย ที่สถานีโทรทัศน์ช่อง 11 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางซื่อ-บางใหญ่ ที่ศูนย์ซ่อมบำรุงคลองบางไผ่ ถนนกาญจนาภิเษก เขตบางใหญ่ อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี ท่ามกลางสายฝนโปรยปราย โดยมี นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร เข้าร่วมติดตามและรายงานความคืบหน้าของโครงการด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่า บริเวณศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าดังกล่าว ได้มีกลุ่มเสื้อแดงประมาณ 30 คน เดินทางมารอนายกรัฐมนตรีตั้งแต่เวลา 08.00 น.โดยระหว่างนายกรัฐมนตรีเดินทางมาถึงได้ตะโกนใส่ว่า “ยุบสภา ทำอย่างที่พูด” พร้อมชูป้ายที่มีข้อความว่า “กูเบื่อมาร์ค” “ไปซะทีโว๊ย” “อย่าดีแต่พูด” ทั้งนี้ มีเจ้าหน้าที่ตำรวจดูแลความสงบเรียบร้อยมากกว่า 50 นาย ยืนถือโล่ป้องกันล้อมรอบกลุ่มเสื้อแดง จึงไม่เกิดเหตุการณ์รุนแรง

จากนั้นนายกรัฐมนตรีได้นั่งรถบัสที่ได้จัดเตรียมไว้ โดยมี นายกรณ์ ร่วมเดินทาง เพื่อเดินทางมายังพื้นที่ก่อสร้างสถานีบางซ่อน ซึ่งมีกลุ่มเสื้อแดงรออยู่ข้างทางที่รถนายกรัฐมนตรีจอดอยู่ เมื่อนายกรัฐมนตรีเดินทางมาถึงก็ได้มีเสียงร้องตะโกน โห่ไล่ เป็นระยะๆ พร้อมกับชูตีนตบไล่ตลอดทาง ทำให้ต้องเตรียมตำรวจปราบจลาจล 1 กองร้อย พร้อมทั้ง อพ.ปร.กว่า 30 นาย และเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่ คอยดูแลความสงบอย่างเข้มงวด

จากนั้น นายกรัฐมนตรี เดินทางมายังพื้นที่ก่อสร้างสถานีบางซ่อน ซึ่งมีกลุ่มเสื้อแดงรออยู่ข้างทางที่รถนายกรัฐมนตรีจอดอยู่ เมื่อนายกรัฐมนตรีเดินทางมาถึงก็ได้มีเสียงร้องตะโกน โห่ไล่ เป็นระยะๆ แต่บริเวณใกล้กับการก่อสร้างสถานีบางซ่อนก็มีประชาชนจำนวนหนึ่งให้การต้อนรับ ซึ่งภายหลังตรวจความคืบหน้าการก่อสร้าง นายกรัฐมนตรีได้เดินมาพบปะกับประชาชน พร้อมทั้งจับมือ ขอบคุณที่มาให้กำลังใจ ท่ามกลางเสียงตะโกนไล่จากกลุ่มเสื้อแดงที่อยู่ห่างออกไปอีกกลุ่ม แต่ไม่มีการกระทบกระทั่งกันแต่อย่างใด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44058
Location: NECTEC

PostPosted: 02/05/2011 10:37 am    Post subject: การตรวจพินิจสายสีแดงและสายสีม่วงก่อนยุบสภา Reply with quote

นายกฯตรวจแถวโครงการรถไฟฟ้าห่วงสายสีแดงช้ากว่าแผน-ยันสีม่วงเสร็จทันปี57
หน้า เศรษฐกิจ - การตลาด
คมชัดลึก วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม 2554

คมชัดลึก : นายกฯ ควง รมว.คลังตรวจความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้า คมนาคมยันสายสีม่วงเสร็จทันปี 57 แม้งานก่อสร้างมีปัญหาขาดแคลนแรงงาน คนกรุงหายห่วงยุบสภาไม่ทำสะดุด ส่วนสายสีแดงน่าห่วงพบผลงานล่าช้ากว่าแผน 14%

เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ที่ผ่านมา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ตรวจความคืบหน้างานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ระยะทาง 23 กม. โดยมีนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานกรรมการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และผู้บริหารสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ต้อนรับ

นายสุพจน์ กล่าวว่า การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงมีปัญหาล่าช้าจากการขาดแคลนแรงงาน แต่ก็ยังมั่นใจว่าจะสามารถเร่งรัดให้อยู่ในกรอบเวลาที่กำหนดคือ โครงการแล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ในปี 2557 ซึ่งการที่รัฐบาลยุบสภาในเร็วๆ นี้ จะไม่ส่งผลกระทบต่องานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง เพราะโครงการดังกล่าวผ่านขั้นตอนการประกวดราคาและลงนามในสัญญาแล้ว รวมทั้งใช้เงินกู้ตามกรอบการเบิกจ่ายขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือไจก้าแล้ว จึงถือว่าโครงการมีเงินลงทุนเรียบร้อย สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้

ทั้งนี้ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง มีมูลค่า 60,185 ล้านบาท มีลักษณะเป็นทางยกระดับ แบ่งเป็น 3 สัญญา คือ

สัญญาที่ 1 หรืองานโครงสร้างยกระดับตะวันออกจากเตาปูน-สะพานพระนั่งเกล้า ระยะทาง 12 กม. ดำเนินการโดยกลุ่มซีเคทีซี จอยท์เวนเจอร์ มีบริษัท ช.การช่าง เป็นแกนนำ

สัญญาที่ 2 หรือโครงสร้างยกระดับตะวันตก จากสะพานพระนั่งเกล้า-สถานีคลองบางไผ่ และงานก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านทิศใต้ของสะพานพระนั่งเกล้า ระยะทาง 11 กม. ดำเนินการโดยบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และ

สัญญาที่ 3 หรืองานศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดรถ ดำเนินการโดยกลุ่มพีเออาร์ จอยท์เวนเจอร์ มีบริษัทแอสคอน คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นแกนนำ

หลังจากนั้น นายกรัฐมนตรีและคณะได้เดินทางไปตรวจความคืบหน้างานก่อสร้างโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ระยะทาง 15 กม.ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) โดยแนวสายทางโครงการจะเชื่อมต่อกับเส้นทางสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต ซึ่งอยู่ระหว่างการคัดเลือกผู้รับเหมา ปัจจุบันมีผลงานรวม 66% ช้ากว่าแผน 14% ซึ่งเป็นผลจากปัญหาการบุกรุกเขตทาง ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาแก้ปัญหา โดยนายกรัฐมนตรีได้แสดงความเป็นห่วงต่อความล่าช้าที่เกิดขึ้น

สำหรับการก่อสร้างงานโยธาในโครงการสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ใช้วงเงิน 8,749 ล้านบาท ดำเนินการโดยกลุ่มกิจการร่วมค้ายูนิค-ชุนวู จอยท์เวนเจอร์ มีบริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด(มหาชน) เป็นแกนนำ ขอบเขตงาน ได้แก่ ทางรถไฟระดับพื้น และทางรถไฟยกระดับ มีสถานีรถไฟ 3 แห่ง คือ สถานีบางซ่อน สถานีบางบำหรุ และสถานีตลิ่งชัน พร้อมสร้างถนนเลียบทางรถไฟ จุดกลับรถ สะพานรถยนต์ข้ามคลองบางกอกน้อย และสะพานลอยคนเดินข้าม คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ภายในปี 2555

//----------------------------------------------------------------------------------

รถไฟสายสีแดงช้า14% ติดปมปัญหาเวนคืนที่
ข่าวโลกธุรกิจ
แนวหน้า วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม 2554

นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ตรวจรถไฟฟ้าสายสีม่วง-สีแดง ขณะที่ ปลัดคมนาคม ชี้แจงสายสีม่วงช้ากว่าแผน 1 % ขณะที่สีแดง ช้ากว่า 14 % อ้างเหตุยังแก้ปัญหาเวนคืนไม่ตก ด้าน "กรณ์" ยันรัฐบาลพร้อมออกบอนด์สนับสนุนแหล่งทุน

เมื่อวันที่ 1พฤษภาคมที่ผ่านมา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง และนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่-บางซื่อ ของ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และ โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-ตลิ่งชัน ของ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่าจากการรายงานความคืบหน้าล่าสุดของก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าขณะนี้ก็เป็นไปตาม แผนทั้งหมด โดยอยู่ระหว่างการก่อสร้างรถไฟฟ้าจำนวน 3 สาย ประกอบด้วย สายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ซึ่งยืนยันว่า ภายในช่วง 10 ปีต่อจากนี้ จะมีระบบรถไฟฟ้าถึง 250 กิโลเมตร ทั้งในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ทำให้การเดินทางสะดวกยิ่งขึ้น

"ทุก โครงการยังเป็นไปตามแผน และเราจะเร่งให้เสร็จ โดยในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เราจะหารือถึงระบบตั๋วร่วม เพื่อนำมาใช้กับระบบขนส่งมวลชนด้วย ส่วนสายสีเขียว กระทรวงคมนาคม จะเป็นผู้สร้าง ส่วนเดินรถต้องมาคุยกับกทม.อีกทีว่าจะให้หน่วยงานใดดูแล"นายอภิสิทธิ์ กล่าว

ด้านนายสุพจน์ กล่าวว่า ความคืบหน้าของโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงนั้น ล่าสุดงานก่อสร้างคืบหน้า 26 % ช้ากว่าแผน 1% โดยได้สั่งการไปยังรฟม.ให้เร่งรัดงานก่อสร้าง รวมทั้งเร่งส่งมอบพื้นที่ให้กับผู้รับงานแล้ว เพื่อให้งานก่อสร้างเสร็จก่อนแผนที่วางไว้ โดยเบื้องต้นจะเร่งเปิดให้บริการให้ได้ในวันที่ 1 มกราคม 2558 นี้ ส่วนสายสีแดงนั้น พบว่า งานก่อสร้างคืบหน้า 66 % ช้ากว่าแผน 14 % เนื่องจากติดปัญหาการเวนคืนบางส่วน โดยเฉพาะบริเวณสะพานพระรามที่ 6 ฝั่งพระนคร ที่มีปัญหาการบุกรุกพื้นที่ของร.ฟ.ท. ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการแก้ไขเสร็จสิ้นแล้ว

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ยังได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับการรื้อย้ายชุมชนบริเวณสะพานพระรามที่ 6 ซึ่ง กระทรวงคมนาคมได้ชี้แจงไปแล้วว่า ร.ฟ.ท. ได้เตรียมจัดหาพื้นที่ใหม่ให้ผู้บุกรุกแล้ว โดยจะคิดหลักเกณฑ์ค่าเช่าให้สอดคล้องกับระเบียบของร.ฟ.ท. และยืนยันว่าปัญหาทั้งหมด จะไม่กระทบกับงานก่อสร้างโครงการฯ

ด้านรมว.คลัง กล่าวว่า กระทรวงการคลัง พร้อมที่จะสนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าทั้งใน ปัจจุบัน และอนาคต โดยจะพิจารณาแหล่งเงินต่างๆ ทั้งการออกพันธบัตรรัฐบาล และจัดหาเงินกู้จากต่างประเทศ โดยในส่วนของสายสีน้ำเงินนั้น คลังเตรียมที่จะออกพันธบัตรระยะยาว เพื่อนำเงินมาใช้ในโครงการตามความเหมาะสม ส่วนในเส้นทางอื่นๆ จะพิจารณาสินเชื่อระยะยาวจากแหล่งเงินต่างประเทศด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47454
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/05/2011 10:49 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมสั่งปรับตอม่อสายสีเขียว
ไทยโพสต์ 3 พฤษภาคม 2554

คมนาคมสั่งบริษัทที่ปรึกษา-รฟม.ปรับลดขนาดเสาตอม่อรถไฟฟ้าสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ ให้เหลือไม่เกิน 1 เมตร เพื่อลดปัญหาจราจร มั่นใจภายใน 2-3 เดือนนี้ ประกาศขายซองได้

นายรณชิต แย้มสอาด รองผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 2 พ.ค. บริษัทที่ปรึกษาโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ (สายสีเขียว) ระยะทาง 12 กิโลเมตร มูลค่า 36,511 ล้านบาท ได้รายงานผลการปรับตำแหน่งสถานี N 17 (สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ) ให้กระทรวงคมนาคม และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) รับทราบ โดยกระทรวงคมนาคมได้ให้ที่ปรึกษากลับไปทบทวน ปรับลดขนาดเสาตอม่อให้มีขนาดไม่เกิน 1 เมตร เพื่อลดผลกระทบทางด้านการจราจรไม่ให้ติดขัด

นอกจากนี้ ยังไห้ รฟม.ไปหารือกับการไฟฟ้านครหลวง เพื่อเอาสายไฟทั้งหมดลงดิน รวมถึงให้ไปศึกษาและจัดทำรายละเอียดในการปรับปรุงเขตการเดินรถที่ 1 ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ให้เป็นศูนย์ขนส่งและอาคารจอดแล้วจร

โดยให้ รฟม.เร่งดำเนินการและนำกลับมาเสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณาอีกครั้งภายใน 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นคาดว่าอีก 2-3 เดือน จะสามารถประกาศประกวดราคาได้

สำหรับความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี มูลค่าการลงทุน 3.4 หมื่นล้านบาท ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร คาดว่าภายในเดือน มิ.ย.-ก.ค.2554 จะสามารถลงนามจ้างบริษัทที่ปรึกษาโครงการได้ และจากนั้นจะใช้เวลาอีกประมาณ 4-5 เดือนเพื่อจัดทำเอกสารประกวดราคา และต้นปี 2555 จะสามารถประกาศขายเอกสารประกวดราคาได้

ซึ่งหลังจากเชิญชวนบริษัทจัดทำข้อเสนอเพื่อรับการคัดเลือกเป็นที่ปรึกษา มี 33 บริษัทมาลงทะเบียนรับเอกสาร แต่มีเพียงรายเดียวที่ยื่นข้อเสนอ คือ บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47454
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/05/2011 11:56 am    Post subject: Reply with quote

มิ.ย.ประมูลรถไฟฟ้าหมอชิต-สะพานใหม่
เดลินิวส์ วันอังคาร ที่ 03 พฤษภาคม 2554 เวลา 11:50 น

ไฟเขียวแบบสถานีวัดพระศรีฯทำทางเดินลอยฟ้าผ่าน

นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ตนได้เห็นชอบข้อสรุปการปรับแบบก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มส่วนต่อขยายช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-ลำลูกกา ช่วงสถานี วัดพระศรีมหาธาตุ จนถึงอู่รถขสมก. (บางเขน) ที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) นำเสนอมา โดยจะทำเป็น สกายวอร์ก หรือทางเดินลอยฟ้า ระยะทาง 500-600 เมตร แทน เป็นการแก้ปัญหาที่ไม่สามารถเวนคืนพื้นที่ทางเท้าของวัดพระศรีฯ จากแนวรั้วเข้าไป1-2 เมตร ตามแบบเดิมได้ จะทำให้ความกว้างของทางเท้าในช่วงดังกล่าวลดลง โดยที่ปรึกษาจะใช้เวลาปรับแบบราว 1 เดือน คาดว่าจะประกาศประกวดราคาได้ในเดือน มิ.ย.นี้

นายรณชิต แย้มสอาด รองผู้ว่าการฝ่ายปฏิบัติการ รักษาการแทนผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า บริษัทที่ปรึกษาจะต้องปรับลดขนาดเสาตอม่อไม่ให้เกิน 1 เมตร เพื่อลดผลกระทบทางด้านการจราจร ในขณะที่รฟม. และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) จะหารือเพื่อนำสายไฟทั้งหมดลงใต้ดิน โดยที่ประชุมให้ รฟม.เร่งดำเนินการและนำกลับมาเสนอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาอีกครั้งภายใน 2 สัปดาห์ มั่นใจได้ว่าภายในปี 2554 นี้น่าจะคัดเลือกและเซ็นสัญญากับผู้รับเหมาได้ แม้ว่าขณะนี้ยังมีกระบวนการพิจารณารายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)ก็ตาม แต่ไม่น่าจะมีปัญหาเพราะเป็นการพิจารณาเพิ่มเติมหลังจากที่ต้องปรับแบบก่อสร้างใหม่ซึ่งลดผลกระทบลง สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม หมอชิต-สะพานใหม่ มีค่าก่อสร้างงานโยธา 18,725 ล้านบาท,ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 2,390 ล้านบาท และค่างานระบบกับรถไฟฟ้า 14,283 ล้านบาท ค่าจ้างที่ปรึกษาบริหารโครงการอีก 1,287 ล้านบาท รวมมูลค่าโครงการ 36,685 ล้านบาท โดยตามแผนจะเริ่มก่อสร้างภายในปี 2554 กำหนดแล้วเสร็จในปี 2558.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47454
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/05/2011 11:58 am    Post subject: Reply with quote

เข้าครม.วันนี้ตั๋วร่วมรถไฟฟ้า 45 บ.
เดลินิวส์ วันอังคาร ที่ 03 พฤษภาคม 2554 เวลา 11:51 น

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ได้รับการประสานว่าในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 3 พ.ค.นี้ จะมีวาระพิจารณาเรื่องที่สนข.ได้เสนอขอจัดตั้งสำนักงานพัฒนาบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมโครงข่ายรถไฟฟ้า อยู่ภายในโครงสร้างหน่วยงานของสนข. หากได้รับการอนุมัติจะเร่งจัดตั้งทันที พร้อมประสานผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาทิ กทม. การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มาร่วมเป็นกรรมการเพื่อพิจารณาเรื่องการบริหารระบบตั๋วร่วมด้วย เพื่อให้ค่าโดยสารเป็นธรรมกับประชาชนมากขึ้น สำหรับขั้นตอนหลังการตั้งหน่วยงานแล้ว กระทรวงการคลังจะกู้เงินให้เพื่อดำเนินการระบบตั๋วร่วมราว 400 ล้านบาท โดยค่อยๆ อนุมัติงบให้จนกว่าโครงการจะเสร็จสมบูรณ์และสามารถใช้ตั๋วร่วมได้ ซึ่งโครงการจะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2558-2559 รองรับรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวรวมทั้งสายสีม่วง (สถานีคลองบางไผ่-สถานีเตาปูน) สีน้ำเงิน(ช่วงหัวลำโพง-บางแคและช่วงบางซื่อ-ท่าพระ) ปัจจุบันค่าโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส และรถไฟฟ้าใต้ดิน ค่าโดยสาร 15-40 บาท หากใช้ระบบตั๋วร่วมมากสุดไม่เกิน 60 บาท เพราะจะมีระบบเคลียร์ริ่งลดค่าแรกเข้าของแต่ละระบบให้ ที่สำคัญยังสะดวกในการเดินทางเพราะพกตั๋วใบเดียวใช้ได้ทั้งระบบ อย่างไรก็ตามจะเร่งดำเนินการทดลองนำร่องก่อนในปี 2557 กับรถไฟฟ้าสายสีเขียวของกทม.กับรถไฟฟ้าใต้ดินของรฟม.ก่อน.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47454
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/05/2011 5:09 pm    Post subject: Reply with quote

ปชป.เย้ย"เมกะโปรเจ็คต์"เพื่อไทยทำไม่ได้จริง พร้อมชูนโยบาย"โลว์คอสต์แอร์พอร์ต"
วันที่ 05 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เวลา 15:24:39 น.

เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ที่พรรคประชาธิปัตย์ นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) แถลงกรณีที่พรรคเพื่อไทย (พท.) เปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.กทม. พร้อมนโยบายที่จะให้หาเสียงใน กทม.แล้วว่า ปชป.จะเปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.พร้อมนโยบายที่จะใช้ในการหาเสียงใน กทม.หลังจากมี พ.ร.ฎ.ยุบสภาไปแล้ว แต่เท่าที่ตรวจสอบนโยบายหลายอย่างของ พท.ไม่สามารถทำได้จริง เช่นเดียวกับนโยบายเมกะโปรเจ็คต์ถมทะเลเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืน ที่คล้ายกับโครงการเส้นทางลัดสู่ภาคใต้ (สมุทรสาคร-แหลมผักเบี้ย-ชะอำ) ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เคยล้มเหลวในการผลักดันสมัยเป็นนายกรัฐมนตรี ที่สำคัญรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 ยังกำหนดให้เมกะโปรเจ็คต์ต้องทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ)

นพ.บุรณัชย์กล่าวอีกว่า ปชป.มีนโยบายพลิกฟื้น กทม.โดยการคืนพื้นที่สีเขียว โดยเฉพาะโครงการย้ายท่อเรือคลองเตยไปสัตหีบ ที่จะใช้พื้นที่ท่าเรือเก่าทำเป็นสวนสาธารณะ โดยจะไม่ให้กระทบต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าว เช่น การสร้างรถไฟฟ้า 10 สาย ค่าบริการ 20 บาทตลอดสาย เพราะสมัยที่ พท.เป็นรัฐบาล ไม่มีรถไฟฟ้าเกิดใหม่แม้แต่สายเดียว ต่างกับรัฐบาลชุดนี้ ที่ทำส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียวไปจนถึงสถานีแบริ่ง และจะเปิดใช้ในเดือนสิงหาคมนี้ ส่วนการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงถึง จ.นนทุบรี และรถไฟฟ้าสายสีม่วงถึง จ.ปทุมธานี ก็มีความคืบหน้าไปมาก โดยจะทำให้การขึ้นรถไฟฟ้า รถไฟใต้ดิน รถเมล์ และเรือ ใช้ตั๋วเพียงใบเดียวด้วย รวมถึงจะมีนโยบายโลว์คอสต์แอร์พอร์ต ที่จะให้สายการบินต้นทุนต่ำทั้งของไทยและต่างประเทศ มาใช้สนามบินดอนเมืองเป็นศูนย์กลางการบินในประเทศ ซึ่งจะดำเนินการระหว่างที่สนามบินสุวรรณภูมิกำลังก่อสร้างส่วนต่อขยายเฟส 2 อยู่ โดยจะมีระบบขนส่งเชื่อมต่อระหว่างสนามบินดอนเมืองไปยังสนามบินสุวรรณภูมิ โดยจะมีจุดเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าสายสีแดงมาต่อกับระบบขนส่งดังกล่าว ซึ่งจะใช้ต่อมอโครงการโฮปเวลล์บางส่วนทำเป็นฐาน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44058
Location: NECTEC

PostPosted: 11/05/2011 10:11 am    Post subject: Reply with quote

กทม.รับมือจราจรช่วงเปิดเทอม เร่งดันโมโนเรล-ขอ ขสมก.

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 11 พฤษภาคม 2554 16:21 น.


กทม.จัดเทศกิจ 671 นาย ดูแลการจราจรหน้าโรงเรียนดัง ลดปัญหารถติดเปิดเทอมใหญ่ 18 พ.ค.นี้ ขณะที่ “สุขุมพันธุ์” เตรียมขึ้น ฮ.ตรวจสภาพจราจรตลอดเส้นวิภาวดีรังสิต-ถ.สามเสน และใช้ CCTV รายงานการจราจรช่วยประชาชนวางแผนการเดินทาง “ธีระชน” ยัน ผลักดันรถไฟฟ้าโมโนเรล ไลท์เรล ให้รัฐบาลหน้าอนุมติ พร้อมแฉใครตัวดึงเช็งทำเรื่องไม่คืบหน้า เตรียมขอ ขสมก.มาบริหารเองตามกฎหมายกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นปี 2552

นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 18 พฤษภาคมนี้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.และ พล.ต.ต.ภาณุ เกิดลาภผล รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล จะนำสื่อมวลชนขึ้นเฮลิคอปเตอร์ตรวจสภาพการจราจรในวันเปิดภาคเรียนเวลา 07.00 น.ณ สนามบินดอนเมือง โดยจะสำรวจสภาพการจราจรตั้งแต่ดอนเมืองโทลล์เวย์ ผ่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิมุ่งหน้าถนนสามเสน ซึ่งมีโรงเรียนอยู่เป็นจำนวนมาก โดย ขณะเดียวกัน ที่ศาลาว่า กทม.สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) ได้จัดเตรียมห้องควบคุมกล้องวงจรปิด (CCTV) ถ่ายทอดข้อมูลสภาพการจราจรในจุดต่างๆ ซึ่งจะได้ถ่ายทอดสภาพการจราจรจากห้องควบคุมกล้องวงจรปิด ซึ่งรับสัญญาณภาพจาก CCTV ที่ติดตั้งทั่วพื้นที่กรุงเทพฯ กว่า 10,000 จุด ผ่านสถานีโทรทัศน์ และวิทยุ พร้อมจัดเจ้าหน้าที่ตอบข้อมูลด้านการจราจรให้กับประชาชนที่สนใจ นอกจากนี้ ในอนาคต กทม.จะจัดให้มีการรายงานสภาพการจราจรในชั่วโมงเร่งด่วนผ่านสถานีโทรทัศน์ ของกรุงเทพมหานคร (Bangkok City Channel) และทางอินเทอร์เน็ต ทุกวัน เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการตรวจสอบสภาพการจราจรก่อนออกเดินทางด้วย



นายธีระชน กล่าวอีกว่า กทม.ได้จัดเจ้าหน้าที่จากสำนักเทศกิจ และฝ่ายเทศกิจ 50 เขต ตั้งจุดปฏิบัติการจราจร 422 จุด รวมจำนวนเทศกิจ 671 นาย ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรในการอำนวยความสะดวกด้านการจราจรบริเวณหน้าสถานศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบ ตามโครงการเทศกิจอาสาพาน้องข้ามถนน เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้แก่เด็กนักเรียนและผู้ปกครอง อีกทั้งได้มอบหมายให้ฝ่ายเทศกิจ 50 สำนักงานเขต ประสานสถานีตำรวจนครบาลท้องที่ออกตรวจสอบและแก้ไขปัญหาสิ่งกีดขวางบนทางเท้า และผิวจราจรโดยเฉพาะจุดกวดขันพิเศษ ตลอดจนร่วมกับหน่วย BEST ในการซ่อมแซมยานพาหนะขัดข้องและเคลื่อนย้ายพาหนะในจุดเกิดอุบัติเหตุ เพื่อบรรเทาปัญหาจราจรและให้เกิดสภาพคล่องโดยเร็วที่สุด



นายธีระชน กล่าวด้วยว่า ในส่วนของการแก้ไขปัญหาจราจรกรุงเทพฯ ในระยะยาวนั้น ผู้ว่าฯกทม.ได้มีการหารือกับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี หรือแม้จะมีรัฐบาลใหม่เข้ามาว่า กทม.พร้อมที่จะเป็นผู้ดูแล องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ด้วยตนเอง โดยหนี้ที่ขสมก.มีอยู่จะต้องดำเนินการให้เป็นหนี้สาธารณะก่อนที่จะโอนภารกิจมาให้ กทม.บริหารจัดการ ซึ่งจะมีการพิจารณาปรับเปลี่ยนบางเส้นทางให้เชื่อมโยงกับระบบรถไฟฟ้า ขณะเดียวกัน ก็มีความประสงค์ที่จะเพิ่มเติมเส้นทางเดินเรือโดยสารในคลองฝั่ง ธนบุรี เช่นเดียวกับการเดินเรือในคลองแสนแสบ



อย่าง ไรก็ตาม ถึงรัฐบาลใหม่จะมาจากพรรคการเมืองใดก็ตาม กทม.จะยืนยันผลักดันระบบเสริมในเรื่องของระบบรางที่ กทม.ควรจะเป็นผู้จัดการระบบรางในพื้นที่ กทม.ตามมติคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ที่ให้ กทม.ทำระบบเสริมได้ทั้งรถไฟฟ้าระบบโมโนเรล (Monorail) ระบบไลท์เรล (Light rail) ที่ขณะนี้กระทรวงมหาดไทยยังไม่นำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวถ้ามอบหมายกลับมาให้ กทม.ทำตามมติ ครม.เดิมตนเอง เชื่อมั่นว่า กทม.จะสามารถเปิดได้ตามกำหนดการซึ่งทั้งหมดนี้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 กำหนดให้การดูแลการคมนาคมเป็นหน้าที่ของท้องถิ่น

“เราไม่อยากให้การแก้ไขปัญหามาเป็นประเด็นทางการเมือง แต่ว่าทุกวันนี้มันกลายเป็นประเด็นทางการเมือง เอกสารส่งไปตั้งนานแล้วเรื่องก็ยังไม่เข้า ครม.จนกระทั่งนัดสุดท้ายก็ไม่ได้เข้า วันนี้นักการเมืองที่จะเข้ามาใหม่โดยเฉพาะในระดับรัฐบาลกลางนี้ น่าจะมองผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก อย่างที่ผู้ว่าฯพูดขอเพียงแค่ลายเซ็นอนุญาตให้เราดำเนินการ เราจะขับเคลื่อนในเรื่องระบบขนส่งมวลชนซึ่งการแก้ไขปัญหาหลักจะเป็นเรื่อง ระบบขนส่งมวลชนคงยากที่จะตัดถนนเพิ่ม คงยากที่จะทำอุโมงค์เพิ่ม” รองผู้ว่าฯ กทม.กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44058
Location: NECTEC

PostPosted: 17/05/2011 6:56 am    Post subject: รถไฟฟ้ามาราคาที่ดินพุ่ง Reply with quote

ราคาที่ดิน'แบริ่ง'พุ่งรับรถไฟฟ้าบีทีเอส
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ
หน้า อสังหา Real Estate - อสังหาฯ Real Estate
ออนไลน์เมื่อวันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม 2011 เวลา 10:34 น.
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,635 15-18 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ราคาที่ดินแนวรถไฟฟ้าบีทีเอสช่วงต่อขยายสายอ่อนนุช-แบริ่ง พุ่งไม่หยุดหากเปิดใช้เต็มรูปแบบ 12 สิงหาคม 2554 ปรับเพิ่มอีก 30% เผยอ่อนนุช ขยับขึ้น 500,000 บาทต่อตารางวา จาก 400,000 บาทต่อตารางวา แบริ่งปัจจุบัน 400,000 บาทต่อตารางวา ยังขยับอีก แถมดีเวลอปเปอร์ มองหาผุดขึ้นคอนโดมิเนียม ด้านสมาคมอสังหาริมทรัพย์เผยย้อนหลังไป3ปีจนถึงปัจจุบัน ราคาที่ดินปรับขึ้น 100%

นายวสันต์ คงจันทร์ กรรมการผู้จัดการบริษัท โมเดิร์น พร็อพเพอร์ตี้คอซัล แทนด์ จำกัด เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ" ถึงความเคลื่อนไหวของราคาที่ดินตามแนวรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียว ส่วนต่อขยายช่วง อ่อนนุช-แบริ่ง ระยะทาง 5.5 กิโลเมตรว่า ขณะนี้ราคาปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบัน (ต้นปี 2554 ) ราคาที่ดินบริเวณติดถนนอ่อนนุช รัศมี 500 เมตร รอบสถานี ราคากว่า 400,000 บาทต่อตารางวา จากช่วงเดียวกันของปี 2553 อยู่ที่กว่า 300,000 บาทต่อตารางวา และมองว่า ทำเลดังกล่าวยังมีความต้องการที่ดินอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีโครงการคอนโดมิเนียมเกิดขึ้นจำนวนมากก็ตาม โดยที่ดินในซอย ราคาไม่ต่ำกว่า 100,000 บาทต่อตารางวา

สำหรับที่ดิน บริเวณรัศมีแยกถนนบางนา-ตราด [แยกบางนา] ราคาปัจจุบัน ราคา 250,000 บาทต่อตารางวา ช่วงเดียวกันของปี 2553 ราคา 200,000 บาทต่อตารางวา วิ่งเลยไปยัง แบริ่ง ปัจจุบัน ราคาอยู่ที่กว่า 400,000 บาทต่อตารางวา จากช่วงเดียวกันของปี 2553 ราคากว่า 300,000 บาทต่อตารางวา และเมื่อรถไฟฟ้าเปิดใช้อย่างเป็นทางการ ราคาที่ดินจะเพิ่มขึ้นอีกไม่ต่ำกว่า 30% ขณะเดียวกัน บริเวณนี้ยังมีผู้ประกอบการมองหาที่ดินพัฒนาต่อเนื่อง รองรับความต้องการ ส่วนราคาห้องชุดที่เปิดขาย จะมีการปรับราคาขึ้นไม่ต่ำกว่า 5% ที่ผ่านมา ทำเลย่านบางนา-ตราด แบริ่ง เดิม ที่ยังไม่มีรถไฟฟ้า จะอยู่ที่ไม่เกิน 100,000 บาทต่อตารางวา อ่อนนุช 100,000- 200,000 บาทต่อตารางวา

"ทำเลย่านอ่อนนุช -แบริ่ง แนวรถไฟฟ้า สาเหตุที่ปรับขึ้นกว่า 30% เนื่องจาก ฐานราคายังต่ำ เมื่อเทียบกับย่านใจกลางเมืองอย่างช่วงต้นสุขุมวิท เพลินจิต ราคา1,500,000 บาทซึ่งเป็นราคาที่สูงมากจนเกือบชนเพดาน ขณะเดียวกัน สาเหตุที่ ราคา เพิ่มขึ้นมากเพราะรถไฟฟ้าจะเปิดใช้ และมีการก่อสร้างคอนโดมิเนียมมากจนล้น หรือ ซัพพลายมากกว่าความต้องการ แต่ก็ยังขายได้เรื่อยๆ"

อย่างไรก็ดี เมื่อย้อนไปยัง สถานีเอกมัย ช่วงที่ รถไฟฟ้าบีทีเอสเปิดใช้ในปัจจุบัน ราคาปรับขึ้นมาอยู่ที่ 600,000 บาทต่อตารางวา ทองหล่อ 800,000 บาทต่อตารางวา ถนนอโศกด้านสุขุมวิท และ นานา ราคา 1,000,000 บาทต่อตารางวา และมีแนวโน้มขยับอีกปีละ 20-30%

สำหรับทำเลพหลโยธิน ช่วงซอยอารีย์ ราคา 500,000-600,000 บาทต่อตารางวา แต่ ช่วงต่อขยายสายสีเขียวช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ ราคาที่ดินจะขยับไม่มาก เพราะยังไม่มีการประมูลเกิดขึ้น โดย ย่านรัชโยธิน เมเจอร์ ปัจจุบันราคา 150,000 บาทต่อตารางวา และราคาที่ดินจะขยับสูงขึ้นอีกครั้งเมื่อรถไฟฟ้าผ่านไปถึงซึ่งต้องใช้เวลาอีก 2-3 ปี ข้างหน้า เช่นจาก 150,000-200,000 บาทเป็น 400,000 บาทต่อตารางวา ส่วนที่ดินทำเลบริเวณห้าแยกลาดพร้าวใกล้กับสถานีรถไฟฟ้าหมอชิต ปัจจุบัน ราคา 300,000 บาทต่อตารางวา ถนนวิภาวดีรังสิต 200,000 บาทต่อตารางวา รัชโยธินตัดวิภาวดีรังสิต 250,000บาทต่อตารางวา

ขณะที่ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน จะผ่านบางซื่อ ข้ามไปท่าพระ จรัญสนิทวงศ์ บางแค บางหว้าที่อยู่ระหว่างลงมือก่อสร้าง ขยับขึ้น 100% เมื่อเทียบกับช่วงที่ไม่มีรถไฟฟ้า ราคาเฉลี่ย 100,000 บาทต่อตารางวา ซึ่งราคาจะถูกกว่าที่ดินกลางเมืองและอ่อนนุช เพราะยังมีแปลงที่ดินให้เลือกอีกมาก ส่วนทำเลบางใหญ่ บริเวณก่อสร้าง รถไฟฟ้าสายสีม่วง ราคาปัจจุบันปรับขึ้น 10% จากไม่เกิน 80,000-90,000 บาทเป็น 100,000-120,000 บาทต่อตารางวา

ส่วนแจ้งวัฒนะ ใกล้ศูนย์ราชการ ทำเลเซ็นทรัล แจ้งวัฒนะปัจจุบันราคา 150,0000 บาทต่อตารางวา จากเดิมที่ เซ็นทรัลซื้อราคาตารางวาละ 80 ,000 บาทต่อตารางวาเท่านั้น และหากมีรถไฟฟ้าสายสีชมพูเกิดขึ้นราคาจะขยับมากกว่านี้

สอดคล้องกับ นายเลิศมงคล วราเวณุชย์ เลขาธิการสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย กล่าวว่า ราคาที่ดินแนวรถไฟฟ้าขยับขึ้นสูงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะที่เห็นได้ชัดจาก แนวรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายสายอ่อนนุช-แบริ่ง ช่วงย้อนหลังไป 3 ปีนับจาก ปี 2554 ราคาที่ดินปรับสูงขึ้นมากถึง 100% และมีแนวโน้มที่ราคาที่ดินจะขยับสูงอย่างต่อเนื่องช่วงที่รถไฟฟ้าเปิดใช้และหลังจากเปิดใช้ไปแล้ว เฉลี่ยต่อปี ปรับขึ้น 10-20% ขณะที่ความต้องการที่ดินเพื่อพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมในย่านนั้นก็ยังมีต่อเนื่อง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44058
Location: NECTEC

PostPosted: 18/05/2011 10:15 am    Post subject: Reply with quote

ปชป.ชูรถไฟฟ้า12สายมัดใจคนกรุง
รายงานพิเศษ: เกาะติดเลือกตั้ง54
หน้า ข่าว การเมือง
โพสต์ทูเดย์ 17 พฤษภาคม 2554 เวลา 17:59 น.

ปชป.ขายนโยบายรถไฟฟ้า12สายมัดใจคนกรุง
ข่าวรายวัน - ข่าวในประเทศ
โดย ณัฐญา เนตรหิน
ฐานเศรษฐกิจ วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม 2011 เวลา 18:55 น.


ประชาธิปัตย์ ชูรถไฟฟ้า 12 สาย 509 กิโลเมตร มัดใจคนกรุงเทพและรอบนอก เดินทางสะดวก พร้อมดันระบบตั๋วร่วมใช้ขึ้นได้ทั้งรถเมล์ รถไฟฟ้าและเรือ

นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีและคณะทำงานด้านเศรษฐกิจพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) เปิดเผยว่า พรรคจะเดินหน้านโยบายหาเสียงในด้านการส่งเสริมให้คนได้รับความสะดวกด้านระบบขนส่งมวลชนแบบครบวงจร ด้วยการเดินหน้าโครงการรถไฟฟ้า 12 สาย รวมระยะ 509 กิโลเมตร เชื่อมระหว่างกรุงเทพ นนทบุรี สมุทรปราการ และปทุมธานี เช่น

ที่ดำเนินการแล้ว
1. สายสีเขียวอ่อน วงเวียนใหญ่ - บางหว้า ระยะทาง 5.3 กิโลเมตร
2. สายสีเขียวเข้ม อ่อนนุช - แบริ่ง ระยะทาง 5.25 กิโลเมตร
3. สายสีแดงอ่อน บางซื่อ ตลิ่งชัน ระยะทาง 15 กิโลเมตร
4. สายสีม่วง บางใหญ่-บางซื่อ ระยะทาง 23 กิโลเมตร
5. สายสีน้ำเงิน บางซื่อ - ท่าพระ (13 กิโลเมตร) และ หัวลำโพง - หลักสอง (14 กิโลเมตร) รวมระยะทาง 27 กิโลเมตร
รวมทั้งหมด 75.55 กิโลเมตร

ที่ต้องเร่งดำเนินการต่อไปก็คือ
สายสีเขียวเข้มช่วง หมอชิต - สะพานใหม่ ระยะทาง 11.4 กิโลเมตร
สายสีเขียวเข้มช่วง แบ่ริ่ง - สำโรง - สมุทรปราการ ระยะทาง 12.85 กิโลเมตร (หักจาก อ่อนนุช - แบริ่ง สำโรง - สมุทรปราการ ระยะทาง 18.1 กิโลเมตร)
สายสีแดงเข้ม ช่วง บางซื่อ - รังสิต - ธรรมศาสตร์ ระยะทาง 47.3 กิโลเมตร
สายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ - มักกะสัน - หัวหมาก ระยะทาง 19 กิโลเมตร

"ปัจจุบันคนกรุงเทพย้ายออกไปอยู่ชานเมือง และปริมณฑลมากขึ้น การขยายโครงข่ายรถไฟฟ้าออกไปจามจุดต่างๆ เท่ากับเพื่อจะช่วยออกำไปรับคนเข้ามาทำงานในกรุงเทพ ลดภาระเรื่องค่าใช้จ่ายในการเดินทางไม่ต้องซื้อรถขับได้"นายอภิรักษ์ระบุ

นอกจากนั้น จะมีการปรับเส้นทางการเดินรถเมล์ให้เชื่อมโยงรถไฟฟ้า และทำระบบตั๋วร่วม ให้สามารถใช้ได้ทั้งรถไฟฟ้า รถเมล์และเรือ ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลได้อนุมัติโครงการดำเนินงานบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มใช้ตั๋วร่วมได้ในปี 2558 ซึ่งเป็นช่วงที่รถไฟฟ้าหลายสายเปิดให้บริการ
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 36, 37, 38 ... 284, 285, 286  Next
Page 37 of 286

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©