RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312072
ทั่วไป:13681531
ทั้งหมด:13993603
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 37, 38, 39 ... 284, 285, 286  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44058
Location: NECTEC

PostPosted: 18/05/2011 2:20 pm    Post subject: Reply with quote

ข้างฝ่ายยิ่งลักษณ์ ณ เพื่อไทยก็ไม่ยอมน้อยหน้าคุณมาร์ก เลยออกนโยบายรถไฟฟ้า 10 สายเร่งทำให้สำเร็จใน 10 ปี และ ให้ค่าโดยสาร 20 บาทรวด แต่ยังสงสัยว่า คุณปูและพวกพ้องจะทำไหวหรือ แม้จะดีกว่า ยุค 15 บาทตลอดสายหน่อยหนึ่งเพราะ คิดอัตราเงินเฟ้อ และ คำแนะนำจากท่านอดีตผู้ว่ารฟม. หนวดงาม เข้าร่วมพิจารณาด้วย ตามข่าวต่อไปนี้:

ยิ่งลักษณ์ดันนโยบายรถไฟฟ้า
รายงานพิเศษ: เกาะติดเลือกตั้ง 54
โพสต์ทูเดย์ 18 พฤษภาคม 2554 เวลา 12:39 น.

"ยิ่งลักษณ์"ชูนโยบายรถไฟฟ้า10 สาย ค่าโดยสาร20 บาทตลอดเส้นทาง
ข่าวรายวัน - ข่าวในประเทศ
โดย ณัฐญา เนตรหิน
วันพุธที่ 18 พฤษภาคม 2011 เวลา 13:03 น.

"ยิ่งลักษณ์"ศึกษารถไฟฟ้า 10 สาย-20 บ.ตลอดสาย
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 18 พฤษภาคม 2554 13:58 น.

"ยิ่งลักษณ์"เน้นนโยบายพท.ชูรถไฟฟ้า10สายราคา20บาททุกเส้นทาง
มติชนออนไลน์ วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เวลา 14:23:07 น.

“เพื่อไทย”เดินหน้ารถไฟฟ้า10สาย
หน้าการเมือง
เดลินิวส์ วันพุธ ที่ 18 พฤษภาคม 2554 เวลา 13:20 น

นายคณวัฒน์ วศินสังวร รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ที่ประชุมทีมเศรษฐกิจ ร่วมกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ เน้นให้ที่ประชุมดูความชัดเจนรถไฟฟ้า 10 สาย เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนในการเดินทางเข้าเมืองหลวง ในราคาที่ไม่แพง ซึ่งขณะนี้กำหนดค่าบริการที่ 20 บาท ตลอดสายในทุกเส้นทาง

ด้านนายประภัสร์ จงสงวน ว่าที่ผู้สมัครระบบบัญชีรายชื่อ และอดีตผู้ว่าการการรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ต้องเร่งดำเนินการให้รถไฟฟ้า 10 สาย เสร็จโดยเร็วที่สุด ซึ่งทางพรรคอยากเห็นรถไฟฟ้า ที่เป็นการขนส่งมวลชนอย่างแท้จริง เพราะในปัจจุบันนี้ ผู้โดยสารที่ใช้รถไฟฟ้า ต้องเป็นผู้ที่มีรายรับมาก เพราะค่าใช้จ่ายในการเดินทางค่อนข้างสูง โดยในการประชุมครั้งหน้า ทางพรรคเพื่อไทย จะเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับความเป็นไปได้ ในการเดินทาง 20 บาทตลอดสาย รวมถึงแผนที่ในการเดินรถต่างๆ ด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44058
Location: NECTEC

PostPosted: 20/05/2011 7:34 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.เตรียมตั้งสำนักงานบริหารจัดการตั๋วร่วมระบบขนส่งสาธารณะมิ.ย.นี้

ข่าวรายวัน - ข่าวในประเทศ
โดย ณัฐญา เนตรหิน
วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม 2011 เวลา 07:06 น.


นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ภายในเดือนมิถุนายนนี้ สนข.จะจัดตั้งสำนักงานบริหารจัดการตั๋วร่วมเพื่อใช้กับระบบขนส่งสาธารณะ หลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติแผนการจัดตั้งไปเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคมที่ผ่านมา



สำนักงานดังกล่าวจะดำเนินการในเรื่องของตั๋วร่วมเพื่อใช้กับระบบขนส่งสาธารณะ ทั้งระบบรถไฟฟ้า ทางด่วน รถประจำทาง เรือและอื่นๆ เบื้องต้นคาดว่าอัตราแรกเข้าใช้บริการควรจะอยู่ที่ 18 บาท และเพิ่มขึ้น 2 บาทต่อกิโลเมตร (คิดจากค่าเฉลี่ยประชาชนต่อคนเดินทางไม่เกิน 11 กิโลเมตรต่อวัน) ส่วนอัตราสูงสุดอยู่ที่ 40 บาท

นางสร้อยทิพย์กล่าวว่า งบประมาณที่จะนำมาใช้ในการบริหารสำนักงานฯ ในช่วง 4 ปีแรกที่ดำเนินงานจะเป็นการกำหนดนโยบายและมาตรฐานต่างๆ โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.) ซึ่งจะต้องจัดเจ้าหน้าที่ร่วมปฏิบัติงานรองรับการถ่ายเทคโนโลยี สนข.จะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด


ส่วนปีที่ 5 สนข. จะเสนอขอให้รัฐบาลจัดสรรงบประมาณมาช่วยเหลือ ในเบื้องต้นค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ปีละ 62.15 ล้านบาท ซึ่งงบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรให้ จะแบ่งเป็นค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรประมาณ 15 ล้านบาท การปฏิบัติการ และบำรุงรักษาระบบ35.50 ล้านบาท สาธารณูปโภค 3.65 ล้านบาท การประชาสัมพันธ์ 5 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายสำนักงานอื่น 3 ล้านบาท โดยขั้นตอนหลังจากนี้จะต้องเร่งจัดหาบุคลากร และวางระบบทั้งหมด เช่น ระบบเทคนิค ระบบการเงิน และบัญชี เป็นต้น

"เชื่อว่าเมื่อดำเนินโครงการตั๋วร่วมแล้ว จะช่วยให้ผู้โดยสารเดินทางสะดวด โดยใช้ตั๋วเพียงใบเดียวในการเดินทาง ส่วนอัตราค่าตั๋วล่าสุดคาดว่าจะคิดเริ่มต้นที่ 18 บาท และจะบวก 2 บาทต่อกิโลเมตร แต่สูงสุดอยู่ที่ 40 บาท สำหรับการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า ,รถเมล์,เรือ โดยสนข.คำนวณจากการเดินทางของคนทั่วไปเฉลี่ยแล้วจะเดินทางในระยะไม่เกิน 11 กิโลเมตร" นางสร้อยทิพย์กล่าว

ทางด้านนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการกำหนดรูปแบบและแนวทางการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม กล่าวว่า ประมาณปี 2558 ระบบตั๋วร่วมจะนำมาใช้กับระบบขนส่งมวลชนได้ทุกประเภท ทั้ง
ระบบรถไฟฟ้าของ รฟม.
รถไฟฟ้าบีทีเอส และรถบีอาร์ที ที่ กทม.ดูแล,
รถไฟฟ้าสายสีแดง,
รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต ลิ้งค์ และ
รถไฟความเร็วสูงของร.ฟ.ท. (!),
ระบบทางด่วนของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.),
มอเตอร์เวย์ของ กรมทางหลวง
รวมถึงรถโดยสารประจำทางองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และ
เรือด่วนเจ้าพระยา ซึ่งเมื่อระบบตั๋วร่วมเสร็จแล้วจะเกิดความสะดวก และประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางมากขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44058
Location: NECTEC

PostPosted: 21/05/2011 3:29 am    Post subject: Reply with quote

ปชป.หาเสียงกทม.ชูนโยบายระบบขนส่ง-คมนาคม-รถไฟฟ้า 12 สาย
มติชน วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เวลา 20:30:48 น.

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้อำนวยการศูนย์การเลือกตั้งกรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ เดินทางเปิดศูนย์ประสานงานการเลือกตั้ง เขต 17 มีนบุรี คันนายาว ของนายชาญวิทย์ วิภูศิริ ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.เขต 17 พรรคประชาธิปัตย์ ที่บริเวณรามอินทรา 111

นายอภิรักษ์กล่าวว่า จะทยอยเปิดตัวผู้สมัคร และเปิดศูนย์ประสานงานแต่ละที่ที่มีความพร้อม และจะเน้นนโยบายที่เกี่ยวข้องกับระบบขนส่ง การคมนาคม และรถไฟฟ้า 12 สาย และการปรับเส้นทางรถขนส่งมวลชนและในสัปดาห์หน้าจะมีการเปิดนโยบายของกรุงเทพมหานคร และว่าที่ผู้สมัครทั้ง 33 เขต
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44058
Location: NECTEC

PostPosted: 22/05/2011 10:17 pm    Post subject: ยิ่งลักษณ์ชูรถไฟฟ้า ตั๋วร่วม 20 บาทรวด Reply with quote

พท.กทม.ขึ้นรถไฟหาเสียง - “ปู” เดินสายพะเยา แดงลำพูนแอบเซ็งเจ๊ไม่แวะพื้นที่

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 22 พฤษภาคม 2554 15:25 น.


แกนนำเพื่อไทย กทม.หาเสียงหัวลำโพงขึ้นรถไฟไปดอนเมือง ชูนโยบายปรับปรุงรถไฟ 20 บาทตลอดสาย - “ยิ่งลักษณ์” เดินสายหาเสียงพะเยา แกนนำแดงลำพูนแอบเซ็ง “ปู” เลื่อนลงพื้นที่

วันนี้ (22 พ.ค.) ที่สถานีรถไฟหัวลำโพง แกนนำพรรคเพื่อไทยนำโดยนายวิชาญ มีนชัยนันท์ ประธานภาคกรุงเทพ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รองประธานภาค กทม. ลงพื้นที่หาเสียงที่สถานีรถไฟหัวลำโพง โดยมีว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.กรุงเทพฯ เช่น ม.ล.ณัฐพล เทวกุล ว่าที่ผู้สมัครเขต 2 นายการุณ โหสกุล ว่าที่ผู้สมัครเขตดอนเมือง นายพงษ์พิสุทธิ์ จินตโสภณ ว่าที่ผู้สมัครเขตยานนาวา ร่วมลงพื้นที่ จากนั้นได้นำสื่อมวลชนขึ้นรถไฟไปลงสถานีดอนเมืองเพื่อช่วยว่าที่ผู้สมัครเขตดอนเมืองหาเสียง

โดย น.อ.อนุดิษฐ์กล่าวว่า การมานั่งรถไฟวันนี้เพื่อสำรวจการเดินทางของคนกรุงเทพฯ โดยพรรคมีนโยบายปรับปรุงบริการของการรถไฟฯ ให้มีความสะดวกรวดเร็ว และราคาประหยัด โดยหากพรรคได้เป็นรัฐบาลจะปรับปรุงราคาค่าบริการเป็น 20 บาท ตลอดสาย

เมื่อถามถึงกรณี กกต.ออกมาเตือนผู้สมัครที่ยังไม่ลงสมัครไม่ให้ติดเบอร์หาเสียง น.อ.อนุดิษฐ์กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวฝ่ายกฎหมายของพรรคได้ทำการตรวจสอบแล้วเชื่อว่าไม่น่าจะมีปัญหา ผู้สมัครที่พรรคจะเตรียมส่งได้ลงครบทุกเขต

ขณะที่ที่กว๊านพะเยา จ.พะเยา พรรคเพื่อไทยเปิดเวทีปราศรัยหาเสียง ช่วยนางอรุณี ชำนาญยา ผู้สมัคร ส.ส.เขต 1 จ.พะเยา โดยมีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ นายพานทองแท้ ชินวัตร และผู้สมัคร ส.ส.พะเยา และจังหวัดใกล้เคียงต่างเดินทางมาร่วม ทั้งนี้มีประชาชนให้ความสนใจเข้าร่วมฟังปราศรัยจำนวนหลายพันคนท่ามกลางอากาศที่ร้อนอบอ้าว โดยบริเวณรอบเวทีปราศรัย มีพ่อค้าแม่ค้าตั้งร้านจำหน่ายสินค้าเป็นจำนวนมาก ทั้งร้านค้ากลุ่มเสื้อแดงและร้านค้าของประชาชนทั่วไป

ด้าน นายสถาพร มณีรัตน์ ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.ลำพูน พรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า ในวันนี้ภารกิจในการต้อนรับของประชาชนพี่น้องชาว จ.ลำพูน และกลุ่มคนเสื้อแดงลำพูน ต้องทำการยกเลิก และเลื่อนพิธีต้อนรับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ออกไปก่อน เพราะได้ประสานกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์แล้ว โดยทีมหาเสียงระบุว่าในวันนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์มีแผนเดินทางเข้าสู่พื้นที่ จ.พะเยาแล้ว ส่วนการลงพื้นหาเสียงของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่ จ.ลำพูน คงจะเป็นคิวต่อไป ซึ่งยังไม่สามารถระบุวันเวลาได้ ส่วนกลุ่มคนเสื้อแดง จ.ลำพูน บอกกล่าวกับผู้สื่อข่าวว่าต้องผิดหวังเล็กน้อย แต่แกนนำแดงลำพูนก็บอกว่าไม่เป็นไร เพราะเชื่อว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ขวัญใจหญิงสาวชาวเหนือ อย่างไรก็ต้องมาลงพื้นที่ จ.ลำพูน เพื่อมาพบปะประชาชนอย่างแน่นอน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44058
Location: NECTEC

PostPosted: 24/05/2011 11:06 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้า 10 สาย เรื่องโกหกของ ทักษิณ กับพวก

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 24 พฤษภาคม 2554 06:14 น.

เมื่อปี 2547 สมัยรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ที่นช. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กทม. ขอให้คณะรัฐมนตรี อนุมัติเงินลงทุน ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าบีทีเอสช่วงสะพานตากสิน - วงเวียนใหญ่ ระยะทาง 2.2 กิโลเมตร ซึ่งโครงสร้างงานโยธาเสร็จมานานแล้ว แต่ยังให้บริการไมได้ เพราะไม่มีราง ไม่มี สถานี และไม่มีระบบอาณัติสัญญาณ

รัฐบาลทักษิณ พยายามขัดขวางการเชื่อมต่อนี้มาโดยตลอด ทั้งที่เห็นชัดๆว่า ผู้ได้ประโยชน์คือ ประชาชน ที่ต้องเดือดร้อนกับการจราจรที่ติดขัดบนสะพานตากสิน โดยอ้างว่า กำลังเจรจาขอซื้อสัมปทาน รถไฟฟ้า จากบีทีเอส. ให้มาเป็นของรัฐ เพื่อจะได้ทำระบบตั๋วร่วมใบเดียวกับรถไฟใต้ดินสายหัวลำโพง - บางซื่อ โดยคิดค่าโดยสารราคาเดียว 15 บาทตลอดสาย

แต่เจตนาที่แท้จริงคือ ต้องการฮุบรถไฟฟ้าบีทีเอส ไปในราคาถูกๆ เพราะเห็นว่า ขณะนั้น บริษัท บีทีเอส . อยู่ในสถานการณ์ลำบาก มีภาระหนี้สินมาก เนื่องจากการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ยังไม่มีข้อยุติ ดังนั้น จึงไม่ต้องการให้มีการขยายเส้นทางข้ามแม่น้ำจ้าพระยาไปถึงฝั่งธนบุรี เพราะเกรงว่า จะทำให้ราคาที่จะซื้อบีทีเอสแพงขึ้น

เป็นเจตนาที่คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนตัวล้วนๆ ไม่ได้คิดถึงประโยชน์สาะรณะเลยแม้แต่น้อย

อย่างไรก็ตาม นายคีรี กาญจนพาสน์ เจ้าของบีทีเอส ไม่ยอมให้ นช. ทักษิณเข้ามายึดกิจการไปได้ง่ายๆ จึงใช้วิธีเจรจาต่อรอง ซื้อเวลาไปเรื่อยๆ เช่น เดียวกับ กลุ่ม ช. การช่าง เจ้าของบริษัทบีเอ็มซีแอล ซึ่งได้รับสัมปทานรถไฟใต้ดินสายหัวลำโพง - บางซื่อ ซึ่งเป็นเป้าหมายของการฮุบกิจการด้วยเช่นเดียวกัน

โครงการลงทุนส่วนต่อ สะพานตากสิน - วงเวียนใหญ่ จึงถูกนายสุริยะ ดึงเรื่อง ไม่ยอมอนุมัติให้สักที สุดท้าย กทม. ตัดสินใจลงทุนเอง โดยสภากรุงเทพมหานคร อนุมัติงบประมาณ 2,394 ล้านบาท เมื่อเดือนตุลาคม 2548

ส่วนต่อขยายนี้ เปิดให้บริการได้เมื่อกลางปี 2552 ช่วยทำให้ การเดินทางจากย่านสวนจตุจักร สุขุมวิท สีลม ข้ามไปยังคลองสาน วงเวียนใหญ่ ได้รับความสะดวกสะบายกว่าเดิมมาก และประมาณเดือนสิงหาคมนี้ ส่วนต่อขยายจากซอยอ่อนนุชไปถึง ซอยแบริ่ง บางนา ก็จะเปิดให้บริการได้ ซึง่จะยิ่งทำให้บรรเทาปัญหากาจราจรได้ระดับหนึ่ง

ต้องถือว่า คนกรุงเทพโชคดีอยู่บ้าง ที่ นช. ทักษิณ หมดอำนาจทางการเมืองไปเมื่อปี 2549 เพราะถ้าเขายังเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ เชื่อได้เลยว่า รถไฟฟ้าอีกหลายๆสายซึ่งกำลังก่อสร้างอยู่คงจะไม่ได้เกิดขึ้นแน่นอน เพราะ โครงการรถไฟฟ้า 10 สาย ซึ่งพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชนเคยสัญญาว่า จะสร้าง ในการหาเสียงเลือกตั้งเมื่อ 2 ครั้ง ก่อนนั้น เป็นแค่คำโกหกเท่านั้น

สมัยที่พรรคไทยรักไทยครองอำนาจอยู่นาน 6 ปี ไม่เคยคิดที่จะสร้างรถไฟฟ้าให้คนกรุงเทพสักสายเลย ทั้งๆที่คุยว่า มีเงินมีทองเหลือเฟือ สามารใช้หนี้ไอเอ็มเอฟได้ก่อนกำหนด

รถไฟใต้ดินสายแรกคือ รถไฟฟ้ามหานครสายหัวลำโพง - บางซื่อ ลงมือก่อสร้างเมื่อ ปี 2542 สมัยนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี แต่มาเสร็จสมบูรณ์ เปิดใช้บริการได้เมื่อ เดือนกรกฎาคม 2547 ในสมัยรัฐบาล ทักษิณ

หลังจากนั้นก็ไม่เคยคิดที่จะต่อขยายออกไป ให้ครอบคลุมถึงพื้นที่ที่มีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่น มีแต่ขัดขวาง ในกรณีของบีทีเอส หรือไม่ก็จะเอารถบีอาร์ที มาวิ่งแทนบ้าง ในสมัยที่นายพงษ์ศักด์ รักตพงษ์ไพศาล เป็นรัฐมนตรีคมนาคม หรือเปลี่ยนเส้นทาง ลากเส้นใหม่ ในยุคของนายสมัคร สุนทรเวช

ระบบขนส่งมวลชนที่เกิดขึ้นในยุคของทักษิณ มีอยู่โครงการเดียวคือ แอร์พอร์ต ลิงค์ ซึ่งไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบอื่นๆเลย และเมื่อสร้างเสร็จแล้ว เปิดให้บริการเมื่อปีที่แล้ว เป็นประโยชน์สำหรับประชาชนที่อยู่ทางฝั่งตะวันออกของกรุงเทพ แต่ไม่ได้รองรับวัตถุประสงค์หลักของโครงการที่อ้างกันคือ ขนส่งผู้โดยสารไปยังสนามบินสุวรรณภูมิ และมีปัญหาในเรื่องการบริการมาก

จนมาถึงวันนี้ ที่จะต้องโกหกอีกครั้งเพื่อช่วงชิงอำนาจทางการเมือง มุขเดิมๆ รถไฟฟ้า 10 สาย ก็ถูกงัดมาขายอีกครั้ง ไม่ต่างอะไรจากครั้งก่อนๆ ที่จะเปลี่ยนไปบ้างคือ จาก 15 บาทตลอดสาย ขึ้นราคาเป็น 20 บาทตลอดสายในการหาเสียงเลือกตั้งครั้งนี้
นายประภัสร์ จงสงวน ซึ่งเป็นผู้สมัครเลือกตั้ง ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และเป็นหนึ่งในทีมเศรษฐกิจ สมัยเป็นผู้ว่าการ รถไฟฟ้ามหานคร อย่างยาวนาน 8 ปี ตั้งแต่ปี 2540-2548 และกลับมาเป็นอีกครั้งในช่วงสั้นๆเมื่อปี 2550 ก็ไม่เคยคิดที่จะสานต่อโครงการรถไฟใต้ดิน ให้ยาวไปไกลกว่าสาย หัวลำโพง-บางซื่อเลย ทั้งๆที่มีแผนแม่บทอยู่แล้ว

คนกรุงเทพไม่ต้องเลือก พรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาล ก็มีรถไฟฟ้าใช้ อาจจะไม่ถึง 10 สาย แต่มีใช้มากกว่าเดิมแน่ๆ เพราะในช่วงสองปีมานี้ ที่นช. ทักษิณ หมดอำนาจทางการเมือง กลับปรากฎว่า การก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพกลับเดินหน้า เป็นรูปเป็นร่างให้เห็นมากว่าในยุคของทักษิณ

นอกจากส่วนต่อขยายสะพานตากสิน และซอยอ่อนนุช แบริ่ง ซึ่งเป็นโครงการของ กทม. แล้ว รถไฟฟ้ามหานคร ของ รฟม. ซึ่งถูกแช่แข็งในยุคของทักษิณ ก็มีการลงมือก่อสร้าง สายสีม่วง จากบางซื่อ ไปยังบางใหญ่ และกำลังจะมีการลงมือก่อสร้าง สายสีน้ำเงิน ช่วงจากบางซื่อไปท่าพระ และจากหัวลำโพงไปบางแค ในช่วงปลายปีนี้ ถึงต้นปีหน้า ซึ่งไม่ว่า ใครจะมาเป็นรัฐบาล การก่อสร้างก็จะเดินหน้าต่อไป เพราะมีการเซ็นสัญญากันไปแล้ว

เช่นเดียวกับ โครงการสายสีแดงของ การรถไฟแห่งประเทศไทย จากบางซื่อ ถึงตลิ่งชัน ก็ลงมือก่อสร้างกันไปแล้ว

ทั้งหมดนี้ เกิดขึ้น เป็นจริงในยุคที่ไม่มีทักษิณ หรือหุ่นชิดของทักษิณ เป็นรัฐบาล เหมือน ทีมแมนเชสเตอร์ ซิตี้ ประสบความสำเร็จสูงสุด เมื่อไม่มีทักษิณ เมื่อมาถึงยุคโคลนนิ่ง คำสัญญาเรื่องรถไฟฟ้า 10 สาย จึงเป็นแค่คำโกหกเก่าๆ ที่เอากลับมาหลอกคนกรุงเทพอีกครั้ง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44058
Location: NECTEC

PostPosted: 24/05/2011 2:41 pm    Post subject: Reply with quote

"ศุภมาส"คุย!มีคะแนนนิยมพอตัว พร้อมดันรถไฟฟ้าสายสีชมพู-แดงหาก ภท.เป็น รบ.
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 24 พฤษภาคม 2554 13:35 น.

น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี (คนของสุดารัตน์) ผู้สมัคร ส.ส.กรุงเทพมหานคร เขต 11 หลักสี่-ดอนเมือง (แถวบ้านผมเอง) พรรคภูมิใจไทย เปิดเผยว่า การเลือกตั้งในเขต 11 มีการแข่งขันสูง หากดูจากคะแนนนิยมถือว่าสูสี เพราะตนมีคะแนนส่วนตัวมากพอสมควร แต่คะแนนของพรรคจะน้อยกว่าพรรคใหญ่ อย่างไรก็ตาม ต้องรอดูในวันเลือกตั้งว่าประชาชนจะลงคะแนนเลือกพรรคหรือตัวบุคคล
สำหรับนโยบายการหาเสียงของพรรค จะชูโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย - มีนบุรี) และสายสีแดง (บางซื่อ - รังสิต) ที่วิ่งผ่านหลักสี่ และดอนเมือง ให้ประชาชนทราบว่าหากพรรคภูมิใจไทยได้เป็นรัฐบาล จะผลักดันโครงการดังกล่าว

Note: กรณี สายแดง คุณ ศุภมาสแค่ เร่ง ให้ รฟท .เอาผู้รับเหมา เคลียร์พื้นที่ และ เริ่มทำงานให้เร็วก็ได้นี่ครับ ส่วนสายชมพู คงต้องเร่งเร้ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหาแหล่งเงินกู้ ให้ รฟท. สร้างโมโนเรลให้ก็ได้นี่ครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44058
Location: NECTEC

PostPosted: 30/05/2011 4:13 am    Post subject: Reply with quote

รอรัฐบาลใหม่ เมกะโปรเจ็กต์ไม่สะดุด สร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์
คอลัมน์ อีโคโฟกัส
ไทยโพสต์ 30 พฤษภาคม 2554 - 00:00

“แม้จะมีการยุบสภา แต่โครงการของกระทรวงคมนาคมหลายโครงการได้รับการอนุมัติจาก ครม.ไปแล้วก่อนจะมีการยุบสภา ดังนั้น จึงไม่มีผลต่อการดำเนินงาน เพราะส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่ต้องทำและต้องเดินหน้า ซึ่งเชื่อว่าไม่มีรัฐบาลไหนกล้าที่จะไม่ทำ เพราะเป็นเรื่องหลักของนโยบายประเทศที่ต้องช่วยกันผลักดัน”
-----------------------------------------------------------------------------------------
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ถือว่าเป็นหัวใจหลักของกระทรวงคมนาคม เพราะมีหน้าที่ทั้งศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำแผนหลัก แผนแม่บท แผนการลงทุน ด้านการขนส่งและจราจรของประเทศ รวมทั้งติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผน และขณะนี้มีโครงการที่เกี่ยวข้องกับระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่อยู่ระหว่างการดำเนินการและบางโครงการอยู่ระหว่างการนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติ แต่รัฐบาลยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่
ในฐานะที่กำกับดูแลงานของ สนข. นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการ สนข.ได้ยืนยันว่า “แม้จะมีการบยุบสภา แต่โครงการของกระทรวงคมนาคมหลายโครงการ ได้รับการอนุมัติจาก ครม.ไปแล้วก่อนจะมีการยุบสภา ดังนั้น จึงไม่มีผลต่อการดำเนินงาน เพราะส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่ต้องทำและต้องเดินหน้า ซึ่งเชื่อว่าไม่มีรัฐบาลไหนกล้าที่จะไม่ทำ เพราะเป็นเรื่องหลักของนโยบายประเทศที่ต้องช่วยกันผลักดัน”

0 สำหรับโครงการแรกๆ ที่มีความจำเป็นต้องผลักดันคือโครงการอะไร
โครงการแรกที่ต้องเร่งดำเนินการคือ การจัดทำระบบตั๋วร่วม ที่ต้องวางระบบให้เสร็จทันกับรถไฟฟ้า 5 สายทางที่จะเปิดให้บริการในปี 2558 โดยเฉพาะในด้านกลไกการบริหารจัดการเรื่องระบบรางทั้งหมด คือการจัดตั้งหน่วยเรกูเลเตอร์ เพื่อเป็นหน่วยงานที่ดูแลในเรื่องของการเชื่อมต่อโครงข่ายและอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม ซึ่ง ครม.เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ได้อนุมัติเห็นชอบในหลักการแล้ว
หลังจากนี้ สนข.จะเร่งจัดตั้งสำนักงานบริหารจัดการตั๋วร่วมเพื่อใช้กับระบบขนส่งสาธารณะทั้งระบบรถไฟฟ้า ทางด่วน รถประจำทาง เรือ และอื่นๆ เบื้องต้นคาดว่าอัตราแรกเข้าใช้บริการควรจะอยู่ที่ 18 บาท และเพิ่มขึ้น 2 บาทต่อกิโลเมตร (คิดจากค่าเฉลี่ยประชาชนต่อคนเดินทางไม่เกิน 11 กิโลเมตรต่อวัน) ส่วนอัตราสูงสุดอยู่ที่ 40 บาท คาดว่าภายในเดือนมิถุนายนนี้ จะดำเนินการแล้วเสร็จ
ทั้งนี้ ในส่วนของงบประมาณใน 4 ปีแรกจะมาจาก สนข. เพื่อใช้สำหรับดำเนินงาน ด้านการกำหนดนโยบายและมาตรฐานต่างๆ โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ซึ่งจะต้องจัดเจ้าหน้าที่ร่วมปฏิบัติงานรองรับการถ่ายเทคโนโลยี โดย สนข.จะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด
หลังจากนั้นปีที่ 5 สนข.จะต้องเสนอขอให้รัฐบาลจัดสรรงบประมาณมาช่วยเหลือในเบื้องต้นค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ปีละ 62.15 ล้านบาท ซึ่งงบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรให้ จะแบ่งเป็นค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรประมาณ 15 ล้านบาท การปฏิบัติการ และบำรุงรักษาระบบ 35.50 ล้านบาท สาธารณูปโภค 3.65 ล้านบาท การประชาสัมพันธ์ 5 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายสำนักงานอื่น 3 ล้านบาท โดยขั้นตอนหลังจากนี้จะต้องเร่งจัดหาบุคลากร และวางระบบทั้งหมด เช่น ระบบเทคนิค ระบบการเงิน และบัญชี เป็นต้น

0 ยังมีโครงการอื่นอีกหรือไม่
อีกโครงการที่สำคัญและต้องเร่งทำคือ โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบบริการเดินอากาศของ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด หรือ บวท. ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบในหลักการแล้วเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ซึ่งโครงการดังกล่าวจะใช้เงินลงทุน 4,460.31 ล้านบาท เพื่อพัฒนาระบบเรดาห์ ที่ใช้อยู่เดิมที่มีอายุการใช้งานนานกว่า 15 ปีแล้ว ทำให้มีข้อจำกัดและไม่เสถียร ดังนั้น บวท.จึงมีความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนระบบบริหารจัดการเดินอากาศใหม่ โดยนำดาวเทียมนำทางเข้ามาให้บริการ ให้เกิดความปลอดภัยและเป็นไปตามข้อบังคับขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ที่กำหนดให้ทุกประเทศพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการเดินอากาศให้เป็นระบบใหม่ เพื่อรองรับการพัฒนาแบบแผนการบินด้วยเทคโนโลยี Performance-Based Navigation (PBN) และระบบสื่อสารด้วยสัญญาณจากดาวเทียมโดยงบประมาณที่เสนอขอไปนั้นจะมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานหลัก

0 ด้านโครงการเมกะโปรเจ็กต์ที่เกี่ยวข้องกับระบบรางที่ ครม.อนุมัติแล้วล่ะ
สำหรับโครงการที่เกี่ยวข้องกับรถไฟฟ้านั้น ส่วนใหญ่ได้มีการอนุมัติการก่อสร้างและเดินหน้าก่อสร้างโครงการไปแล้ว เช่น โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ระยะทาง 23 กม. วงเงินลงทุน 60,185 ล้านบาท ปัจจุบันมีความคืบหน้าในภาพรวม 20% เร็วกว่าแผนประมาณ 2% จะเปิดให้บริการต้นต้นปี 2558 โครงการส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค ระยะทาง 27 กม. ลงนามสัญญาจ้างก่อสร้างงานโยธาทั้ง 5 สัญญา มูลค่า 5.1 หมื่นล้านบาทแล้ว และจะดำเนินการก่อสร้างในเร็วไนี้ จะเปิดให้บริการเดือนก.พ.2559
นอกจากนี้ ยังมีโครงการรถไฟสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต มูลค่า 75,548 ล้านบาท อยู่ระหว่างการประกวดราคา คาดว่าจะลงนามสัญญาจ้างผู้รับเหมาได้ภายในปีนี้, โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน มูลค่า 9,308 ล้านบาท อยู่ระหว่างก่อสร้าง ปัจจุบันมีความคืบหน้า 43.39% ช้ากว่าแผน 18.02% เพราะติดปัญหารื้อย้ายชุมชน แล้วเสร็จและเปิดให้บริการในเดือน ม.ค.2555 และยังสายสีเขียว แบริ่ง-สมุทรปราการ ที่เปิดให้เอกชนยื่นซองประกวดราคาไปเมื่อเร็วๆ นี้

0 โครงการของการรถไฟแห่งประเทศไทยมีอะไรสำคัญที่ต้องเร่งลงทุนเร่งด่วนในขณะนี้
นอกจากเงินกู้ที่นำมาใช้สำหรับการบริหารจัดการประจำปีที่ ครม.อนุมัติไปเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม จำนวน 6,728 ล้านบาทแล้ว ยังมีโครงการจัดหาการลงทุนด้านรถจักรและล้อเลื่อน ประกอบด้วย โครงการจัดหารถโดยสารรุ่นใหม่สำหรับบริการเชิงพาณิชย์จำนวน 115 คัน แทนการจัดหาขบวนรถโดยสารรูปแบบชุด (Train Set) สำหรับบริการเชิงพาณิชย์จำนวน 6 ขบวนมูลค่า 4,900 ล้านบาท, โครงการจัดหารถจักรพร้อมอะไหล่ 50 คัน มูลค่า 6,562.500 ล้านบาท และโครงการซ่อมบูรณะรถจักรดีเซลไฟฟ้าอัลสตอม 56 คันมูลค่า 3,360 ล้านบาท รวมแล้ว 14,965.33ล้านบาท
โดยรวมแล้ว ร.ฟ.ท. ภายใน 3-5 ปีนี้ จะต้องซื้อหัวรถจักรมาให้ได้ เพื่อรองรับกับระบบรางที่จะแล้วเสร็จ รวมถึงทางคู่ที่จะเพิ่มขึ้นเยอะในช่วง 5 ปีข้างหน้า รวมไปถึงการเพิ่มอัตรากำลังเพิ่มอีก 2,438 อัตราให้สอดคลองกับยุทธศาสตร์และแผนงานของ ร.ฟ.ท. ซึ่งครม.ได้มีมติยกเว้นการปฏิบัติตามมติครม.มื่อวันที่ 2541 ไปแล้วเมื่อวันที่ 26 เม.ย.ที่ผ่านมา

0 โครงการแอร์พอร์ตเรลลิงค์ต้องแก้ไขปรับปรุงส่วนไหนบ้าง
เมื่อวันที่ 10 มี.ค.2554 ครม.ได้อนุมัติงบให้ ร.ฟ.ท.กู้เงินจำนวน 87 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างทางเดินยกระดับเชื่อมสถานีรับ-ส่งผู้โดยสารของรถไฟฟ้าที่สถานีอโศกกับสถานีรถไฟฟ้าเพชรบุรี ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แต่วงเงินที่อนุมัติไม่เพียงพอจึงต้องขออนุมัติเพิ่ม 15.334 ล้านบาท ซึ่ง กระทรวงคมนาคมเตรียมยื่นต่อ ครม.พิจารณาอนุมัติอีกรอบ
นอกจากนี้ ยังมีการปรับแผนการดำเนินงานและกรอบวงเงินโครงการก่อสร้างสะพานข้ามจุดตัดทางรถไฟ ของกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ตามแผนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของ ร.ฟ.ท.ระยะเร่งด่วน พ.ศ.2555-2557 ซึ่งมีอุปสรรคที่จะต้องเปลี่ยนแปลงแผนการดำเนินงานทำให้กรอบวงเงินสูงขึ้น 7,192.58 ล้านบาท เดิมได้ตั้งงบไว้ 19,000 ล้านบาท เพื่อทำทางข้ามรถไฟในส่วนของกรมทางหลวง (ทล.) และ ทช. แต่หลังจากที่ ทช.ทำการสำรวจแล้วพบว่ามีจุดที่เป็นอุโมงค์และทางลอดนั้น วงเงินสูงมาก จึงเสนอเรื่องเข้าครม.เพื่อขอปรับกรอบวงเงิน เรื่องนี้ก็ยังไม่เข้า ครม.

0 แต่ก็มีอีกหลายโครงการที่ ครม.ยังไม่ได้อนุมัติ
ก็มี ที่มองว่าจำเป็นและสำคัญจะต้องได้รับอนุมัติ จะทำให้การทำงานได้เร็วขึ้น เพราะบางอันเป็นการทำงานแบบดำเนินการต่อ บางอันก็เรื่องรับหลักการแล้วไปเดินหน้า อย่าไปมองเรื่องตัวเงิน เช่น โครงการการพัฒนาพื้นที่เขตทางพิเศษเชิงพาณิชย์ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ซึ่งต้องการแค่ปลดล็อกมติ ครม.เมื่อวันที่ 7 ก.ย.2547 ก็ไปทำงานได้ ซึ่ง กทพ.มีแผนที่จะจัดระบบการใช้ประโยชน์พื้นที่บริเวณใต้ทางด่วนต่างๆ ให้เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ และเกิดประโยชน์สูงสุด แต่คงต้องรอรัฐบาลหน้า
อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลายโครงการที่ต้องการเพียงมติ ครม.อนุมัติในหลักการเท่านั้น โครงการก็จะเดินหน้าไปได้ ดังนั้น ยืนยันอีกรอบว่า การที่รัฐบาลยุบสภา จะไม่มีผลกระทบกับโครงการที่รัฐบาลอนุมัติแล้วต้องไปตั้งเรื่องใหม่ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่ต้องทำและต้องเดินหน้า เชื่อว่าไม่มีรัฐบาลคนไหนไม่กล้าทำ ไม่ซื้อหัวรถจักร ตั๋วร่วมไม่มี เพราะเป็นเรื่องหลักของนโยบายประเทศที่ต้องช่วยกันผลักดัน

0 ความคืบหน้าการจัดหารถเมล์ 2,000 คัน และ 4,000 คันไปถึงไหน

รถเมล์ 2,000 คัน ก่อนที่จะมีการยุบสภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้สนข.ไปตามมติ ครม.ว่ามติว่าอย่างไร ส่วนรถเมล์ NGV 4,000 คันนั้น ไม่เกี่ยวข้องกับรถเมล์ NGV 2,000 คัน เพราะตัว 2,000 คัน คุณจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ในฐานะที่ปรึกษา นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี ต้องการเอามาทดแทนรถเก่า 1,957 คัน
อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาของ ขสมก.นั้น นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ต้องการให้มีการแก้ไขทั้งระบบ เพราะปัญหาโครงสร้างก็ค้างหนี้สินเกือบทะลุ 100,000 ล้านบาทแล้ว แต่ตอนนี้ทุกอย่างก็เหมือนเดิม ไม่ได้มีการแก้ไขอะไร แม้ว่าจะมีการอนุมัติรถเมล์ 2,000 คันก็ตาม ซึ่งคาดว่าการเอา 2,000 คันมานั้น อาจจะสร้างปัญหาเสียด้วยซ้ำ

ทั้งนี้ เห็นว่าแนวทางที่แก้ไขปัญหาของ ขสมก.คือ ต้องผลักดันให้เอารถเมล์ NGV 4,000 คันออกมา แต่ตอนนี้โครงการไม่ไปไหน ย่ำอยู่กับที่ ปัญหาคนที่โป่งพองอยู่ก็ไม่ได้ใช้ เรื่องอี-ทิกเก็ต ก็ไม่ได้ใช้ จึงไม่เกิดประโยชน์อะไร โครงการนี้ผ่านมา 7 ปีแล้ว ยังไม่เกิดอะไรขึ้นเลย.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44058
Location: NECTEC

PostPosted: 30/05/2011 3:03 pm    Post subject: Reply with quote

เมกะโปรเจ็กต์แสนล้าน ลุ้นครม.ใหม่
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ
ข่าวหน้า1
ออนไลน์เมื่อ วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม 2011 เวลา 09:10 น.
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,639
วันที่ 29 พฤษภาคม - 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554


คมนาคม-มหาดไทย-กทม. โยนโครงการเมกะโปรเจ็กต์หลายแสนล้านให้รัฐบาลใหม่เดินหน้าโครงการ ไล่ตั้งแต่ โมโนเรลสายจุฬาฯ 3 เฟส -ไลต์เรล บางนา-สุวรรณภูมิ ของกทม . พร้อมขอคืนส่วนต่อขยายสายสีเขียว 2 เส้นทางโดยยึดมติครม.ปี 47 ผุดสะพานเกียกกาย/ราชวงศ์ -ทช.ผุดเชื่อมราชพฤกษ์-กาญจนาภิเษก /ขยาย 10 เลนราชพฤกษ์ ทล.ชงปูพรม มอเตอร์เวย์ 5 สายเร่งด่วน กรมที่ดินดันศูนย์ข้อมูล-สนง.ที่ดินออนไลน์ กคช.ชงฟื้นฟูแฟลตดินแดง จนถึงรถไฟความเร็วสูง 5 เส้นทางค่ากว่า 8 แสนล้าน

หลังประกาศยุบสภาปรากฏว่า ส่งผลกระทบต่อการอนุมัติโครงการระดับเมกะโปรเจ็กต์ทั้งของกระทรวงคมนาคม มหาดไทย และหน่วยงานอื่นๆจำนวนหลายโครงการ ไม่ว่าจะเป็นระบบราง เช่น รถไฟฟ้า รถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูงและรถไฟฟ้าระบบรอง ไม่เว้นแม้กระทั่งถนน เขื่อนยกระดับแม่น้ำเจ้าพระยา และการพัฒนาพื้นที่ใต้เขตทางของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย

+ดันโมโนเรล-ไลต์เรล
ดร.ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า โครงการขนาดใหญ่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกทม. ที่ยังไม่ผ่านการอนุมัติให้ดำเนินโครงการจากรัฐบาลชุดนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และคาดว่าจะเสนอต่อรัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาบริหารประเทศภายในเดือนสิงหาคม 2554 นี้ ประกอบด้วย โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ามวลชนรางเดี่ยว หรือ โมโนเรล สายจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 3 เฟส งบประมาณ 5,500 ล้านบาท โดยเฟสแรกสายสยาม-สามย่าน วงเงิน 1,500 ล้านบาท ส่วนอีก 2 เฟส ที่เหลือ เฟสละ 2,000 ล้านบาท

โครงการขนส่งมวลชนระบบรองหรือไลต์เรล สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ รูปแบบเดียวกับรถไฟฟ้าบีทีเอส แต่มีขนาดเล็กกว่า ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตรมูลค่า 19,000 ล้านบาท ที่ผ่านมา ได้เสนอต่อกระทรวงมหาดไทยให้พิจารณาเห็นชอบและผลักดันเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี(ครม.) แต่เรื่องยังค้างอยู่ที่กระทรวงมหาดไทยที่มีความล่าช้า ส่งผลให้เรื่องตกขบวนในรัฐบาลชุดที่แล้วและจำเป็นต้องเสนอต่อรัฐบาลใหม่พิจารณาเห็นชอบโครงการต่อไป

+ขอคืน"สีเขียว" 2 สาย
นอกจากนี้ยังมีแผนเสนอรัฐบาลใหม่ ขอนำโครงการรถไฟฟ้าสายต่อขยายสายสีเขียว 2 สาย ได้แก่ ส่วนต่อขยายสายสีเขียวช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ และส่วนต่อขยายสายสีเขียวช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ รวม 2 โครงการมูลค่า 25,000 ล้านบาท ซึ่งเดิม มติคณะรัฐมนตรี(ครม.)ปี 2547 ได้มอบให้กทม.เป็นผู้ดำเนินโครงการ ส่วนโครงการรถเมล์ด่วนหรือ บีอาร์ทีที่จะขยายเพิ่มเติมมองว่าจะทบทวนใหม่อีกครั้งเพราะสายแรกที่เปิดให้บริการ บีอาร์ที สาทร -ราชพฤกษ์ มองว่าไม่ประสบความสำเร็จ

แหล่งข่าวสำนักการโยธา กทม.กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการที่รอรัฐบาลใหม่อนุมัติงบประมาณก่อสร้าง ได้แก่ โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณเกียกกาย และโครงข่ายถนนเกี่ยวเนื่องมูลค่า 12,000 ล้านบาท รองรับอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนราชวงศ์ -ท่าดินแดง (อยู่ระหว่างศึกษา) งบประมาณ 1,000 ล้านบาท และโครงการก่อสร้างสะพานบริเวณมหาพฤฒาราม ฯลฯ

+ ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้า
โดยโครงการของกระทรวงคมนาคมที่ยังต้องรอรัฐบาลชุดใหม่เห็นชอบอนุมัติให้ดำเนินการ ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ส่วนต่อขยายบางซื่อราษฎร์บูรณะ มูลค่า 66,820 ล้านบาท โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี มูลค่า 34,000 ล้านบาท โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี มูลค่า 137,750 ล้านบาท ที่อยู่ระหว่างการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา

โครงการรถไฟทางคู่ทั้ง 5 เส้นทางวงเงินรวม 66,000 ล้านบาท ได้แก่
1. เส้นทางช่วงมาบกะเบา-นครราชสีมา ระยะทาง 132 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 11,640 ล้านบาท
2. เส้นทางช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 118 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 7,860 ล้านบาท
3. เส้นทางช่วงนครปฐม-ชุมทางหนองปลาดุก-หัวหิน ระยะทาง 165 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 16,600 ล้านบาท
4.เส้นทางช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น วงเงินลงทุน 13,010 ล้านบาท และ
5. เส้นทางช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร วงเงินลงทุน 17,000 ล้านบาท

+ รถไฟความเร็วสูง 5 เส้นทาง
โครงการรถไฟความเร็วสูงทั้ง 5 เส้นทาง รวมวงเงิน 861,479 ล้านบาท ได้แก่

1.กรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะทาง 615 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 181,369 ล้านบาท
2.กรุงเทพฯ-ระยอง ระยะทาง 221 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 56,601 ล้านบาท
3.กรุงเทพฯ-ชายแดนภาคใต้ของไทย ระยะทาง 983 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 248,515 ล้านบาท
4.กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 745 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 208,176 ล้านบาทและ
5. กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี ระยะทาง 570 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 166,818 ล้านบาท

โดยเฉพาะโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนที่ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างกระทรวงรถไฟของจีนตรวจสอบร่างเอ็มโอยู

โครงการรถเมล์เอ็นจีวี 2,000 คัน ที่อยู่ระหว่างการรอความชี้ชัดว่าจะให้เช่า หรือเช่าซื้อ หรือซื้อมาเพื่อแก้ปัญหารถให้บริการไม่เพียงพอ นางสร้อยทิพย์กล่าวอีกว่าล่าสุดยังมีอีกหลายโครงการที่ยังไม่ได้รับการพิจารณานำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2554 ที่ผ่านมา ได้แก่ โครงการขอความเห็นชอบในหลักการโครงการก่อสร้างเขื่อนยกระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและน่านเพื่อการเดินเรือของกรมเจ้าท่า จำนวน 2 เขื่อนมูลค่าประมาณ 12,000 ล้านบาท โครงการการพัฒนาพื้นที่ในเขตทางพิเศษเชิงพาณิชย์ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย โครงการขออนุมัติเปลี่ยนแปลงวิธีการให้สัมปทานกับผู้ประกอบการสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง(ไอซีดี)ที่ลาดกระบัง โครงการของกรมทางหลวงเส้นพัทลุง-ตรัง มูลค่า 560 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47455
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/06/2011 12:16 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมดัน 2 โปรเจ็กต์ยักษ์ รถไฟสีเหลือง-หมอชิตใหม่
โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 5 มิถุนายน 2554 21:21 น.

ASTVผู้จัดการรายวัน - “คมนาคม” ตั้งแท่นเสนอ 2 โปรเจ็กต์ยักษ์ต่อรัฐบาลใหม่ ปรับแผนเร่งก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลดความแออัดถนนลาดพร้าว ลงทุน 1.6 หมื่นล้านทำระบบโมโนเรล ก่อสร้างแค่ 2-3 ปี พร้อมเสนอผุดสถานีขนส่งแห่งใหม่ หลังหมอชิตเริ่ม แออัด เล็ง 3 ทำเล ดอนเมือง เมืองทองธานี และรังสิต

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงคมนาคมต้องการเร่งรัดการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-บางกะปิ -สำโรง ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร โดยจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่พิจารณา เพื่อปรับแผนรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-บางกะปิ ระยะทาง 12.6 กิโลเมตร มาดำเนินการก่อน ในช่วง 10 ปีแรก (2553-2562) จากเดิมที่กำหนดจะดำเนินโครงการในช่วง 10 ปีหลัง (2562-2572) เนื่องจากแนวเส้นทางของสายสีเหลืองจะรองรับการเดินทางตลอดแนวถนนลาดพร้าวที่มีความแออัดอย่างมาก และสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินบริเวณปากทางลาดพร้าว ซึ่งเป็นต้นทางโครงการเชื่อมกับสายสีส้มที่บริเวณบางกะปิ เชื่อมกับแอร์พอร์ตลิ้งค์ที่หัวหมาก และเชื่อมกับสายสีเขียวที่พัฒนาการได้

ปัจจุบัน โครงการได้มีการศึกษาและออกแบบเบื้องต้นไว้แล้ว รวมถึงผ่านการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) แล้ว ซึ่งรถไฟฟ้าสายสีเหลืองจะแบ่งเป็นสีเหลืองอ่อน ช่วงลาดพร้าว-บางกะปิ ระยะทาง 12.6 กิโลเมตร ค่าก่อสร้างประมาณ 16,000 ล้านบาท เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) ส่วนสีเหลืองเข้มช่วงบางกะปิ-สำโรง ระยะทาง 17.8 กิโลเมตร ค่าก่อสร้างประมาณ 46,000 ล้านบาท เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดหนัก (Heavy Rail)

ทั้งนี้ หากสามารถเร่งรถไฟฟ้าสายสีเหลืองขึ้นมาก่อสร้างก่อน จะทำให้รถไฟฟ้าเชื่อมโยงเป็นโครงข่ายที่สมบูรณ์ในช่วง 4-5 ปีข้างหน้า โดยช่วงลาดพร้าว-บางกะปิ ก่อสร้างบนเกาะกลางถนนลาดพร้าว เป็นระบบ Monorail ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 2-3 ปี เท่านั้น

แหล่งข่าวกล่าวว่า แผนแม่บทรถไฟฟ้า 12 สาย ที่ครม.ให้ความเห็นชอบไว้นั้น เป็นแนวเส้นทางที่มีโครงข่ายครอบคลุมเพื่อรองรับการเดินทางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่สมบูรณ์แล้ว ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อโครงการ เนื่องจากทุกพรรคการเมืองให้ความสำคัญกับโครงการรถไฟฟ้าเหมือนกัน โดยเห็นว่าหลังจากนี้ รัฐบาลควรให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการ โดยเฉพาะระบบตั๋วร่วม เพื่อให้ประชาชนได้ใช้รถไฟฟ้าซึ่งเป็นระบบขนส่งสาธารณะได้อย่างสะดวก รวดเร็วและประหยัด

ขณะที่การลดความแออัดที่สถานีขนส่งกรุงเทพ (หมอชิตใหม่) ที่มีความแออัดมาก แม้ว่าจะไม่ได้อยู่ในช่วงเทศกาลสำคัญที่มีประชาชนเดินทางเป็นจำนวนมากนั้น นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) กล่าวว่า การจัดหาพื้นที่ก่อสร้างสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายเหนือแห่งใหม่คงต้องรอให้รัฐบาลชุดใหม่เข้ามาตัดสินใจ

ขณะนี้บริษัทที่ปรึกษาได้สรุปผลศึกษาเสร็จสิ้น โดยนำเสนอพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการก่อสร้างจำนวน 3 แห่ง ประกอบด้วย 1. ดอนเมือง 2. เมืองทองธานี 3.รังสิต โดยบขส.เตรียมนำข้อมูลทั้งหมดหารือร่วมกับนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เพื่อร่วมพิจารณา เกี่ยวกับแผนการจัดหาพื้นที่ก่อสร้างสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายเหนือแห่งใหม่ รวมทั้งระบบขนส่งมวลชนสาธารณะเชื่อมต่อต่างๆ

ทั้งนี้ ในการเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมนั้นจะต้องรับฟังความเห็นของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และคงต้องมีการประกาศเชิญชวนโดยมีคณะกรรมการมาพิจารณาถึงองค์ประกอบในด้านต่างๆ ของพื้นที่ก่อสร้างสถานีอีกครั้ง เช่น ราคา ศักยภาพ ระบบเชื่อมต่อขนส่งสาธารณะก่อน โดยความเหมาะสมเบื้องต้นมีความเป็นไปได้ว่าอาจจะแยกสถานีขนส่งสายเหนือ และสายอีสานออกจากกันและคาดว่าจะมีวงเงินลงทุนประมาณ 3,000 ล้านบาทพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 100 ไร่

โดย บขส.จะเป็นผู้จัดซื้อทีดินเป็นของตัวเองแทนการขอเช่าพื้นที่จากเอกชนหรือหน่วยงานราชการ ซึ่งบขส.ได้มีการสำรวจพื้นที่เบื้องต้นพบว่าบริเวณรังสิต มีความเหมาะสม เนื่องจากอยู่ตามแนวรถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) ทำให้เชื่อมต่อการเดินทางกับระบบอื่นสะดวกมากขึ้น

นอกจากนี้ ในปี 2555บขส.จะใช้งบประมาณ 2-3 ล้านบาท ในการปรับปรุงเพื่อจัดพื้นที่การเดินรถเร่งปรับปรุงพื้นที่สถานีขนส่งเอกมัยใหม่ให้เป็นระเบียบมากขึ้น ส่วนสถานีขนส่งสายใต้เก่า ขณะนี้มีการปรับปรุงไปแล้วประมาณ 50% ส่วนที่เหลือ อยู่ระหว่างการตั้งงบประมาณที่จะดำเนินงานต่อไป.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44058
Location: NECTEC

PostPosted: 06/06/2011 5:52 am    Post subject: Reply with quote

แจ้งเกิดรถไฟฟ้า กทม. ฝั่นตะวันออก ลาดพร้าว-บางกะปิ เฟสแรก 12.6 กม.

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 6 มิถุนายน 2554 00:19 น.


คมนาคม ดันรถไฟฟ้าสายสีเหลือง กทม.ฝั่งตะวันออก ระยะทาง 12.6 กม. มูลค่า 1.6 หมื่นล้าน เริ่มจากลาดพร้าว สิ้นสุดที่บางกะปิ เล็งเสนอ ครม.ใหม่อนุมัติ คาดเป็นระบบโมโนเรล พร้อมเปิดโครงสร้างรถไฟฟ้า 12 สาย

แหล่งข่าวจาก กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคม อยู่ระหว่างปรับแผนการลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-บางกะปิ-สำโรง ระยะทาง 30.4 กิโลเมตรใหม่ โดยแผนใหม่จะสร้างสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-บางกะปิ ก่อน มีระยะทาง 12.6 กิโลเมตร กำหนดแล้วเสร็จใน2562 ส่วนช่วง บางกะปิ -สำโรง จะใช้ชื่อสายสีเหลืองเข้ม ระยะทาง 17.8 กิโลเมตร ค่าก่อสร้างประมาณ 46,000 ล้านบาท เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดหนัก (Heavy Rail) จะดำเนินโครงการหลังปี2562ไปแล้ว กำหนดแล้วเสร็จปี2572 โดย กระทรวงคมนาคม จะรอเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่พิจารณาต่อไป

ทั้งนี้ แนวเส้นทางของสายสีเหลืองจะรองรับการเดินทางตลอดแนวถนนลาดพร้าวที่มีความแออัดอย่างมาก และสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินบริเวณปากทางลาดพร้าว ซึ่งเป็นต้นทางของโครงการเชื่อมกับสายสีส้มที่บริเวณบางกะปิ รวมทั้งเชื่อมโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์ที่หัวหมาก และเชื่อมกับสายสีเขียวที่ พัฒนาการได้

"ขณะนี้โครงการได้มีการศึกษา และออกแบบเบื้องต้นไว้แล้ว รวมถึงผ่านการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) แล้ว ซึ่งรถไฟฟ้าสายสีเหลืองจะแบ่งเป็น สีเหลืองอ่อน ช่วง ลาดพร้าว-บางกะปิ ระยะทาง 12.6 กิโลเมตร ค่าก่อสร้างประมาณ 16,000 ล้านบาท เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) "

ทั้งนี้ หากสามารถเร่งรถไฟฟ้าสายสีเหลืองขึ้นมาก่อสร้างก่อน จะทำให้รถไฟฟ้าเชื่อมโยงเป็นโครงข่ายที่สมบูรณ์ในช่วง 4-5 ปีข้างหน้า โดยช่วง ลาดพร้าว-บางกะปิ ก่อสร้างบนเกาะกลางถนนลาดพร้าว เป็นระบบ Monorail ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 2-3 ปี เท่านั้น นอกจากนี้หากสามารถผลักดันการก่อสร้างโครงการส่วนต่อขยายของสายสีม่วง

แหล่งข่าว กล่าวว่เสริมา แผนแม่บทรถไฟฟ้า 12 สาย ที่ ครม.ให้ความเห็นชอบไว้นั้น เป็นแนวเส้นทางที่มีโครงข่ายครอบคลุมเพื่อรองรับการเดินทางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่สมบูรณ์แล้ว

ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อโครงการ เนื่องจากทุกพรรคการเมืองให้ความสำคัญกับโครงการรถไฟฟ้าเหมือนกัน โดยเห็นว่าหลังจากนี้ รัฐบาลควรให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการ โดยเฉพาะระบบตั๋วร่วม เพื่อให้ประชาชนได้ใช้รถไฟฟ้าซึ่งเป็นระบบขนส่งสาธารณะได้อย่างสะดวก รวดเร็วและประหยัด

สำหรับแผนแม่บทรถไฟฟ้า 12 สาย ระยะทาง 495 กิโลเมตร มีวงเงินลงทุน 811,070 ล้านบาท รวมระยะเวลา 20 ปี (2553-2572) โดยมีโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง และจะเปิดให้บริการภายในปี 2557 ประกอบด้วย

1.สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ระยะทาง 15 กิโลเมตร
2.สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต-ธรรมศาสตร์ ระยะทาง 36.3 กิโลเมตร
3.สายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ ระยะทาง 11.4 กิโลเมตร
4.สายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ระยะทาง 12.8 กิโลเมตร
5.สายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ระยะทาง ระยะทาง 23 กิโลเมตร

ส่วนโครงการเปิดบริการปี 2559 ประกอบด้วย

1.สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง 6.5 กิโลเมตร
2.สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน ระยะทาง 9 กิโลเมตร
3.สายสีแดง ช่วงมักกะสัน-หัวหมาก ระยะทาง 10 กิโลเมตร
4.สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค ระยะทาง 27 กิโลเมตร

ระยะที่ 2 โครงข่ายเพิ่มเติมเปิดให้บริการปี 2562 ระยะทางรวม 141 กิโลเมตร เงินลงทุน 308,590 ล้านบาท ประกอบด้วย

1. สายสีแดง ช่วงหัวลำโพง-บางบอน ระยะทาง 18 กิโลเมตร
2. สายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14 กิโลเมตร
3. สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-พญาไท ระยะทาง 7.9 กิโลเมตร
4.สายสีเขียว ช่วงสะพานใหม่-คูคต ระยะทาง 7 กิโลเมตร
5. สายสีเขียว ช่วงสนามกีฬา-ยศเส ระยะทาง 1 กิโลเมตร
6.สายสีม่วง ช่วง บางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 19.8 กิโลเมตร
7.สายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-ราชดำเนิน-หลานหลวง-เพชรบุรีตัดใหม่-ศูนย์วัฒนธรรม-บางกะปิ-มีนบุรี ระยะทาง 37.5 กิโลเมตร
8.สายสีชมพู ช่วงแคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี ระยะทาง 36 กิโลเมตร

ระยะสุดท้ายโครงข่ายเพิ่มเติมภายในปี 2572 ระยะทาง 118 กิโลเมตร เงินลงทุน 186,690 ล้านบาท คือ

1.สีแดง ช่วงบางบอน-มหาชัย ระยะทาง 20 กิโลเมตร
2.สีแดง ช่วงบางบำหรุ-มักกะสัน ระยะทาง 10.5 กิโลเมตร
3.สีเขียว ช่วงคูคต-ลำลูกกาคลอง4 ระยะทาง 6.5 กิโลเมตร
4.สีเขียว ช่วงสมุทรปราการ-บางปูระยะทาง 7 กิโลเมตร
5. สีน้ำเงิน ช่วงบางแค-พุทธมณฑล สาย 4 ระยะทาง 8 กิโลเมตร
6. สีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-พัฒนาการ-สำโรง ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร
7.สีเทา ช่วงวัชรพล-ลาดพร้าว-พระราม4-สะพานพระราม9 ระยะทาง 26 กิโลเมตร
8. สีฟ้า ช่วงดินแดง-สาทร ระยะทาง9.5 กิโลเมตร

//------------------------------------------------------

งานนี้ภูมิใจไทยกล้าบุกถึงรังของเจ้าแม่วังทองหลางเลยทีเดียว
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 37, 38, 39 ... 284, 285, 286  Next
Page 38 of 286

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©