View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 48258
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 23/06/2011 9:23 pm Post subject: ทางรถไฟของบริษัท ป่าไม้ศรีมหาราชา จำกัด ลงทะเลไปเกาะลอยตรงไหน |
|
|
เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อต้นปี 52 ผมได้ไปโพสต์กระทู้เกี่ยวกับสามเหลี่ยมกลับรถจักร ไว้ที่ห้องหว้ากอ เว็บพันทิปครับ
http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2009/01/X7407154/X7407154.html
ก็ปรากฏว่าได้รับเสียงตอบรับดีมาก ขึ้นเป็นกระทู้แนะนำอยู่ราวสัปดาห์หนึ่ง
และมีสมาชิกเข้ามาอภิปรายให้ข้อมูลเพิ่มเติมกันมากพอสมควร
และคุณกฤตยฎีกาได้พูดถึงทางรถไฟขนไม้ที่ศรีราชา ในความคิดเห็นที่ 124-125
โดยแนะนำแผนที่ที่นี่ครับ
http://www.nexus.net/~911gfx/vietnam/maps/nd47-12/nd47_12f.html
และได้หลังไมค์มาหาผม สงสัยว่า ที่ตัวตลาดศรีราชา มีสามเหลี่ยมหรือวงเวียนกลับรถจักรหรือไม่
หลังจากนั้นมา ผมก็พยายามหาข้อมูลมาเรื่อย ๆ จากเอกสารต่าง ๆ เท่าที่หาได้ ยังขาดอยู่ก็แต่การลงพื้นที่ไปสอบถามชาวบ้านหรือสำรวจหาร่องรอยต่าง ๆ ที่ยังไม่สะดวกเรื่องเวลา (และงบประมาณ) ทั้ง ๆ ที่ ม.เกษตรศาสตร์ ที่ผมทำงานอยู่ ก็มีวิทยาเขตอยู่ที่ศรีราชาด้วย
แต่ ม.เกษตรศาสตร์ ศรีราชา ผมเคยไปครั้งเดียวในชีวิตครับ ตอนไปปฐมนิเทศข้าราชการใหม่ เมื่อปี 2540 แล้วก็ไม่ได้แวะไปอีกเลย
-------------
วันที่คุณกฤตยฎีกาคุยกับผมเรื่องทางรถไฟที่ศรีราชานั้น คือ วันที่ 15 ม.ค. 52 ครับ
Last edited by Mongwin on 23/06/2011 9:27 pm; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 44602
Location: NECTEC
|
Posted: 23/06/2011 9:27 pm Post subject: |
|
|
^^^
สมัยที่สร้างทางรถไฟตอนแรกๆ (ปี 2449) ไม่ได้ยาวขนาดนี้หรอกนะ แต่ก็ต้องลงทุมากจนต้องมอบให้บริษัทบอเนียว (บริษัทพาณิชย์ของอังกฤษ รุ่นเดียวกะบีกริมแอนด์โก) |
|
Back to top |
|
 |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 48258
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 23/06/2011 9:37 pm Post subject: |
|
|
ขอบคุณครับคุณวิศรุต
ผมว่าเรื่องรถไฟขนไม้ที่ศรีราชาในเว็บรถไฟไทยดอทคอม ยังพูดถึงกันน้อยมาก เมื่อเทียบกับรถไฟเอกชนสายอื่น ๆ ถ้าคุณวิศรุตหรือสมาชิกท่านอื่น ๆ มีข้อมูลอะไร นึกขึ้นได้ก็ช่วยกันเพิ่มเติมได้ตลอดเวลานะครับ
------------------------
ผ่านไปสัปดาห์เดียว บังเอิญมาก ๆ ครับ
เมื่อวันเสาร์ที่ 24 มกราคม 2552 เวลา 22.05 น. ทางทีวีไทยได้นำภาพยนตร์เรื่อง ชั่วฟ้าดินสลาย (พ.ศ.2498) มาฉาย มีภาพสีเคลื่อนไหวของรถไฟป่าไม้ศรีมหาราชาพอดีเลย ผมเลยนำภาพมาลงไว้ในกระทู้นี้ครับ
เก็บตกบรรยากาศงาน 'รถไฟในภาพยนตร์ไทย' เมื่อ 29/8/2550
------------------------
แต่หลังจากนั้นก็ไม่ได้ค้นคว้าต่อ เวลาผ่านไปหลายเดือน
20 ต.ค. 52 ผมไปงานมหกรรมหนังสือที่ศูนย์ประชุมฯ ครับ ได้หนังสือเล่มนี้มา
ผมเอาลงไว้ในกระทู้นี้ครับ
รถไฟในหนังสือ
รางเหล็กในป่าลึก โดย วัธนา บุญยัง
นวนิยายอิงประวัติศาสตร์การสร้างทางรถไฟบรรทุกไม้ในป่าตะวันออก
ของสำนักพิมพ์บ้านหนังสือ
พิมพ์ครั้งแรก สิงหาคม 2552 จำนวนพิมพ์ 2,000 เล่ม
ราคาเล่มละ 220 บาท
ISBN 978-974-300-275-5 |
|
Back to top |
|
 |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 48258
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 23/06/2011 9:54 pm Post subject: |
|
|
ย้อนกลับไปค้นเรื่องราวเกี่ยวกับรถไฟป่าไม้ที่ศรีราชาในเว็บรถไฟไทยดอทคอม
ก็พบว่า นอกเหนือจากงานรถไฟในภาพยนตร์ในปี 2550 แล้ว
ในปี 2549 คุณวิศรุตก็เคยเอาแผนที่มาลงไว้ในกระทู้นี้ครับ
แผนที่ทางรถไฟเก่า ๆ
-----------------------------
จนเมื่อกลางเดือนที่แล้ว 19 พ.ค. 54 คุณ tamz ได้นำภาพทางรถไฟที่ข้ามไปเกาะลอยมาให้ชมทางเฟสบุ๊ค เป็นภาพที่น่าทึ่งมาก เห็นทางรถไฟชัดเจนกว่าภาพข้างล่างนี้อีกครับ มีภาพมองจากด้านหลังเกาะด้วย
ขอขอบคุณภาพจาก
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=abird&month=03-2007&date=28&group=21&gblog=16
-----------------------------
ภาพจากคุณ tamz ผมขอไม่นำลงตอนนี้ เนื่องจากยังไม่ได้รับอนุญาตจากคุณ tamz และยังไม่เห็นมีเผยแพร่สู่สาธารณะในเว็บไซต์ใดครับ  |
|
Back to top |
|
 |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 48258
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 23/06/2011 10:05 pm Post subject: |
|
|
ด้วยแรงบันดาลใจจากแผนที่ของคุณวิศรุต ภาพยนตร์เรื่องชั่วฟ้าดินสลาย (2498) ที่คุณบอมบ์นำภาพจากงานรถไฟในภาพยนตร์มาให้ชม คำถามเรื่องสามเหลี่ยมกลับรถจักรที่ศรีราชาโดยคุณกฤตยฎีกา และภาพที่คุณ tamz นำมาให้ชม...
ผมก็ย้อนกลับไปอ่านกระทู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกที ก็มาเอะใจกับความคิดเห็นของคุณ tong_sanam ในกระทู้นี้ครับ ซึ่งให้ความเห็นเกี่ยวกับตำแหน่งที่ตากล้องยืนถ่ายรูปทางรถไฟไปเกาะลอยไว้
http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1684&start=60
tong_sanam wrote: | ปัจจุบันบริเวณนี้ (จุดยืนถ่ายรูป) กลายเป็นสวนสาธารณะครับ
และมีโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมหาราชา อยู่ด้านตรงข้ามกับเกาะลอย |
ที่เอะใจ ก็เพราะว่า หากตากล้องยืนอยู่ที่สวนสาธารณะจริง และอยู่หน้าโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมหาราชา แล้วในอดีตทางรถไฟป่าไม้จะโผล่มุดโรงเรียนออกมาได้อย่างไร ดูแปลก ๆ อย่างไรอยู่ เลยเิริ่มต้นตามล่าหาความจริงครับ
ผมลองค้นหาแผนที่เก่า ๆ จากในราชกิจจานุเบกษาดู ก็พบกับแผนที่ฉบับนี้ครับ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลอ่าวอุดม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 6 ต.ค. 2513
 |
|
Back to top |
|
 |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 48258
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 23/06/2011 10:52 pm Post subject: |
|
|
จากแผนที่ จะเห็นว่า เส้นทางรถไฟที่ไปสิ้นสุดริมทะเลนั้น
ปลายสุดไม่ได้อยู่ที่สะพานข้ามไปเกาะลอยในปัจจุบันครับ
แต่อยู่ห่างลงมาทางทิศใต้ราว ๆ ครึ่งกิโลเมตร
นอกจากนี้ยังพบว่าทางรถไฟป่าไม้ ยังผ่านใกล้โรงเรียนอัสสัมชัญอีกด้วย
ในอดีต นักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญคงเคยเห็นรถไฟผ่านโรงเรียน น่าตื่นเต้นไม่น้อย
ลองเปรียบเทียบตำแหน่งสำคัญในแผนที่ ปี 2513 กับภาพถ่ายดาวเทียม Google Earth ครับ
ตรงนี้พิสูจน์ได้ชัดเจนว่า ทางรถไฟไม่ได้ข้ามไปเกาะลอย ตรงหน้าโรงเรียนเทศบาลศรีมหาราชาอย่างแน่นอน เพราะในแผนที่ปี 2513 สะพานข้ามไปเกาะลอยก็ระบุไว้อย่างชัดเจนครับ  |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 44602
Location: NECTEC
|
Posted: 23/06/2011 11:01 pm Post subject: |
|
|
Mongwin wrote: | จากแผนที่ จะเห็นว่า เส้นทางรถไฟที่ไปสิ้นสุดริมทะเลนั้น
ปลายสุดไม่ได้อยู่ที่สะพานข้ามไปเกาะลอยในปัจจุบันครับแต่อยู่ห่างลงมาทางทิศใต้ราว ๆ ครึ่งกิโลเมตร
นอกจากนี้ยังพบว่าทางรถไฟป่าไม้ ยังผ่านใกล้โรงเรียนอัสสัมชัญอีกด้วย
ในอดีต นักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญคงเคยเห็นรถไฟผ่านโรงเรียน น่าตื่นเต้นไม่น้อย |
รู้แต่ว่า นายช่างเล็กโตปาน เคยพูดถึงตอนไปเต๊ะจุ๊ยที่เกาะลอย ศรีราชามาแล้ว เพราะตอนนั้นคยมีการเปิดบ่อศิลากรมรถไฟ ที่เกาะสีชัง (เปิดปี 2482) ที่เอาหินไปขึ้นที่แปดริ้วบ้างไปตามเรื่อง ....
แต่กรณี ตั้งโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา (เปิด ปี 2487) คงวุ่นน่าดู และ ตอนที่ ครูชาตรี อนุเธียรและ พรรคพวกออกไปล่าสัตว์แถวหุบบอน ก็ด้วย ....
ตอนปี 2470 ที่ร. 7 กับ กรมพระกำแพงเพชรฯ เสด็จทอดพระเนตรการป่าไม้ของ บริษัทศรีมหาราชาก็ด้วย ... และ ตอนพระยาสฤษฏิฤทธิการบรรจงเดินทางไปที่ญี่ปุ่น ปี 2477 ก็ได้แวะมาชมกิจการรถไฟป่าไม้ของศรีมหาราชาก็ด้วย |
|
Back to top |
|
 |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 48258
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 23/06/2011 11:03 pm Post subject: |
|
|
แม้จะตามรอยจากแผนที่ปี 2513 ไป และพบว่า ทางรถไฟป่าไม้ หน้าโรงเรียนอัสสัมชัญนั้นปัจจุบันกลายเป็นแนวทางหลวงชนบทสายศรีราชา-หนองยายบู่ตลอดทั้งสาย แต่เมื่อข้ามถนนสุขุมวิทมาทางริมฝั่งทะเลแล้ว แนวทางรถไฟเป็นอย่างไร ยากที่จะคาดเดาครับ เนื่องจากมีการสร้างถนน อาคารพาณิชย์มากมาย ไม่เหลือร่องรอยเดิมไว้เลย
-----------------------
16 มิ.ย. 54 ผมพบว่าทาง Google มีของเล่นใหม่ ค้นหาภาพจากภาพที่คล้ายกัน หรือเหมือนกันได้ ก็เลยเอาภาพรถไฟไปเกาะลอยเข้าไปค้นดู วิธีการดูได้จากกระทู้นี้ครับ
ค้นหารูปภาพว่าไปปรากฏอยู่ในเว็บใดหรือไม่ - ของเล่นใหม่จาก Google Image
จากภาพดังกล่าว ผมก็พบเว็บไซต์นี้ครับ รวบรวมภาพศรีราชาเก่า ๆ ไว้ น่าสนใจมากครับ ลองเข้าไปชมกันดู (ที่จริงเป็นเว็บบอร์ดของทีมฟุตบอล Sriracha FC)
http://srirachafc.com/supporter/index.php?topic=994.0
ว่าแต่ ภาพนี้
เห็นทางรถไฟเล็ก ๆ ไม่แน่ใจว่าเป็นรถไฟสวนสนุก หรือรางปั้นจั่นนะครับ ไม่มีคำอธิบายเพิ่มเติม ทราบเพียงว่า งานประจำปี พ.ศ. 2490 (น่าจะเป็นที่ตัวเมืองชลบุรี ไม่ใช่ศรีราชา) |
|
Back to top |
|
 |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 48258
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 23/06/2011 11:15 pm Post subject: |
|
|
Wisarut wrote: |
รู้แต่ว่า นายช่างเล็กโตปาน เคยพูดถึงตอนไปเต๊ะจุ๊ยที่เกาะลอย ศรีราชามาแล้ว เพราะตอนนั้นคยมีการเปิดบ่อศิลากรมรถไฟ ที่เกาะสีชัง (เปิดปี 2482) ที่เอาหินไปขึ้นที่แปดริ้วบ้างไปตามเรื่อง ....
แต่กรณี ตั้งโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา (เปิด ปี 2487) คงวุ่นน่าดู และ ตอนที่ ครูชาตรี อนุเธียรและ พรรคพวกออกไปล่าสัตว์แถวหุบบอน ก็ด้วย .... |
ขอบคุณมากครับคุณวิศรุต
เรื่องปีที่เปิดโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา พ.ศ. 2487 น่าสนใจมากครับ
ผมลองค้นหาประวัติของโรงเรียนเทศบาลศรีมหาราชา ยังไม่ได้อะไรเกี่ยวข้องกับรถไฟป่าไม้เท่าไหร่
แต่พอค้นประวัติโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา เจองานวิจัยชิ้นนี้ครับ
ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา ของนายสมพร คงวิมล ม.บูรพา
มีเนื้อหาที่น่าสนใจอยู่ครับ
Quote: | ประวัติโรงเรียน
สถานที่ตั้งโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชาปจจุบันนี้ แตเดิมนายโกดิโน นายชางของโรงเลื่อย
จักรศรีราชา ไดจับจองถางปา พื้นที่ประมาณ 15 ไร เพื่อปลูกบานและทําสวนซึ่งบานและพื้นที่นี้
เอง ในเวลาตอมาก็ไดเปนที่พักของคณะภราดาบานของนายโกดิโนหลังนั้น ปลูกอยูตรงเรือนวัด
(ปจจุบันคือโรงเลนแบดมินตัน) ภายในบริเวณลานบาน ยังจัดเปนสวนสัตวเลี้ยงเกง กวาง เมน
และนกชนิดตาง ๆ พนเขตบานของนายโกดิโน ออกไปเปนไรตะไครหอม จํานวนหลายรอยไรของ
บริษัทฝรั่งเศสชื่อ เบรังเย ปลูกตะไครหอมเพื่อกลั่นเอานํ้ามัน ไปทําสบูและนํ้าหอมในตางประเทศ
บริษัทนี้ไดดําเนินการอยู 3-4 ป ก็เลิกลมกิจการเพราะประสพการขาดทุนจึงทิ้งไรตะไครไวเฉย ๆ
เปนเวลาหลายป จนกระทั่งคืนสภาพเปนปาเหมือนเดิม
ตอมานายโกดิโน ไดถึงแกกรรมที่ยางกุงในโอกาสที่เดินทางกลับไปเยี่ยมบานเกิดเมือง
นอนระหวาง พ.ศ. 2465-2466 ภรรยาของเขากับญาติไดไปติดตอกับอธิการโรงเรียนอัสสัมชัญ
กรุงเทพ คือ ภราดาไมเคิล ปรารภวานายโกดิโนไดทิ้งทั้งบุตรชายและหญิงหลายคนกําลังเล็ก ๆ
อยูและยังอยูในวัยเรียนจะหาทุนรอนสําหรับใหการศึกษาแกลูก ๆ ก็ยากจึงขอรองใหชวยรับ
อุปการะเลี้ยงดูและใหการศึกษาแกลูกของนายโกดิโน โดยเขายินดีจะยกบานและที่ดินที่ศรีราชาให
แกโรงเรียน ซึ่งอธิการก็ไมขัดของและตกลงรับขอเสนอนี้
คณะภราดา ไดเดินทางมาพักที่ศรีราชาบานของนายโกดิโน ครั้งแรกในคราวปดเทอม
ภาคกลางใน พ.ศ. 2467 การเดินทางในครั้งนั้นตองอาศัยลงเรือกลไฟชื่อ กรุงเกา ของบริษัท
อีสทเอเซียติ๊ก ซึ่งเปนเรือพวงออกจากกรุงเทพฯ เวลาประมาณ 04.00 น. กวาจะเทียบทาที่ปลาย
สะพานเกาะลอยศรีราชา ก็ถึงเวลาประมาณ 16.00-17.00 น. ที่ปลายสะพานเกาะลอยศรีราชามี
รถไฟของบริษัทโรงเลื่อยจักรศรีมหาราชาจอดคอยรับนําสงถึงที่พักในตอนแรกที่มานั้นสิ่งปลูก
สรางมีแตเพียงบานไมของนายโกดิโน ตอมาไดรื้อและกอสรางใหมใหใหญกวาเดิมเพื่อใชเปน
เรือนพักตากอากาศ และเปนวัดสําหรับประกอบพิธีทางศาสนาของภราดาดวย อีกหลังหนึ่งที่พัก
ของนักเรียนในอุปการะของโรงเรียนซึ่งมีอยูประมาณ 60-70 คน บานหลังนี้คือเรือนบราเดอร
เทโอฟาน นั่นเอง |
---------------
Quote: | ระหว่างปี พ.ศ. 2484-2487 สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้อุบัติขึ้น ฝูงเครื่องบินของเหล่าสัม
พันธมิตรได้เยี่ยมกรายขึ้นสู่ฟากฟ้าเหนือกรุงเทพฯ และธนบุรีได้ทิ้งระเบิดลงในสถานที่ต่าง ๆ ทั้งที่
เป็นเป้าหมายทางทหารและที่อื่น ๆ กระทรวงศึกษาธิการมีคํ าสั่งให้ปิดโรงเรียนในกรุงเทพฯ และ
อพยพไปหาที่เรียนใหม่โรงเรียนอัสสัมชัญกรุงเทพได้รับความเสียหายอย่างหนัก คณะภราดาเห็น
ว่าขืนอยู่ในกรุงเทพฯ อาจได้รับอันตรายจึงได้พยายามหาสถานที่ที่ปลอดภัยเพื่อเปิดทํ าการสอน
ต่อไป และเนื่องด้วยที่ศรีราชามีเรือนไม้ใหญ่ ๆ ถึง 2 หลัง เห็นพ้องต้องกันว่าควรอพยพไปเปิดทํ า
การสอนที่ศรีราชา จึงให้ภราดาเทโอฟาน (ชิน บุญยานันทน์) ซึ่งดํ ารงตํ าแหน่งอธิการโรงเรียน
เซนต์คาเบรียลในขณะนั้นอพยพหลบภัยสงครามมาเปิดทํ าการสอนที่ศรีราชา ชุดแรกที่มานั้นมาใน
ราวเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2485 มีพวกนักเรียนที่อยู่ในความอุปการะของโรงเรียนพวกหนึ่ง
พร้อมกับภราดา 3-4 ท่าน
การเดินทางโดยรถแดงขาว (อินเตอร์) ต้องใช้ถนนสายสมุทรปราการ-
ฉะเชิงเทรา-พนัสนิคม-ชลบุรี และศรีราชา แต่ละเที่ยวต้องใช้เวลามาก ส่วนโต๊ะเรียนม้านั่ง ตู้
เตียงและของอื่น ๆ ต้องเช่าเรือใบมาเทียบที่ปลายสะพานเกาะลอย ต่อจากนั้นก็ได้รับความ
อนุเคราะห์จากบริษัทโรงเลื่อยจักรศรีมหาราชา โดยได้จัดรถจักรและรถตู้รางสํ าหรับบรรทุกของ
ให้แก่โรงเรียนตามต้องการและสมัยนั้นไม่มีถนนเข้าสู่ตัวโรงเรียน รถ เอ.ซี. จึงต้องอาศัยแล่น
คร่อมรางบนทางรถไฟโดยถมดินนอกรางทั้งสองด้านให้สูงเสมอกับไม้หมอนเพื่อป้องกันยางรถจะ
ได้ไม่เสียบางทีฝนตกนํ้ าเซาะดินที่ถมข้างทางรถไฟ จํ าต้องถมกันใหม่อีก และจะต้องซ่อมเกือบทุก
ครั้งที่รถเข้าและออก เมื่อจัดเตรียมสถานที่เครื่องใช้ไม้สอยได้พร้อมพอ
สมควร แล้วจึงได้เปิดทํ าการสอนในฐานะโรงเรียนอพยพตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2486 เป็นต้น
มา ต่อจากนั้นอีกหนึ่งปีคือเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2487 จึงได้เปิดทํ าการสอนอย่างจริงจัง
ส่วนโรงเรียนดาราสมุทรของนายยอห์นลาเซ็น จํ าเป็นต้องย้ายไปสร้างในที่ดินของมิสซังจันทบุรี
คือโรงเรียนดาราสมุทรในปัจจุบันนั่นเอง |
|
|
Back to top |
|
 |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 48258
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 23/06/2011 11:36 pm Post subject: |
|
|
สิ่งที่น่าสังเกตคือ แผนที่ปี 2513 ทางรถไฟไปสิ้นสุดที่ริมฝั่งทะเล
ไม่ได้ข้ามไปที่เกาะลอยแต่อย่างใด
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ผมได้เห็นในภาพของคุณ tamz ระบุว่า เป็นภาพถ่ายในปี 2490 ก่อนไต้ฝุ่นเข้า และได้อ่านในหนังสือ The Railway Atlas of Thailand, Laos and Cambodia โดยคุณ B.R. Whyte ว่า สะพานรถไฟข้ามไปเกาะลอย ได้รับความเสียหายจากพายุอยู่บ่อย ๆ เมื่อพังก็สร้างใหม่
แต่ในปี 2513 สะพานคงพังไปแล้ว และไม่มีการสร้างใหม่อีก
 |
|
Back to top |
|
 |
|