View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47455
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 05/07/2011 12:20 am Post subject: |
|
|
คาดรถไฟฟ้าทุกสายฉลุย คค. เตรียมชง "รางคู่-ไฮสปีดเทรน" ส.ค.-ก.ย.นี้
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 4 กรกฎาคม 2554 23:11 น.
"คมนาคม" มั่นใจรถไฟฟ้าทุกสายฉลุย "สุพจน์" ยันความพร้อม เตรียมชงโครงการ รถไฟรางคู่-รถไฟความเร็วสูง เพื่อให้รัฐบาลใหม่พิจารณา ส.ค.-ก.ย.นี้ ยันเก้าอี้ รมต.ใหม่ ไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องก็ได้ แค่มีความเข้าใจก็พอแล้ว
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า นโยบายของพรรคเพื่อไทย (พท.) มีความสอดคล้องกับการบริหารงานของกระทรวงคมนาคมที่เน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะในด้านระบบขนส่งมวลชนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น รถไฟทางคู่ รถไฟฟ้าความเร็วสูง ดังนั้น จะทำให้การดำเนินโครงการต่างๆ ไปได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
"เราได้เตรียมข้อมูลของโครงการต่างๆ ทั้งที่อยู่ระหว่างดำเนินการ และโครงการใหม่ไว้เสนอรัฐบาลชุดใหม่แล้ว รอเพียงรัฐบาลแถลงนโยบายต่อรัฐสภาก่อน จากนั้นจะได้มีการปรับแผนการดำเนินงานเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล คาดว่าปลายเดือนสิงหาคม ถึง ต้นเดือนกันยายนนี้ น่าจะนำเสนอได้"
สำหรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมคนใหม่ ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่องของกระทรวงคมนาคมก็ได้ เพียงแต่เข้าใจในการบริหารงาน ก็สามารถเข้ามาทำหน้าที่ได้
สำหรับรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน 5 สายทาง ประกอบด้วย เส้นทางลพบุรี-นครสวรรค์ , มาบกะเบา-นครราชสีมา (ชุมทางถนนจิระ) , ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น , นครปฐม-หนองปลาดุก-หัวหิน และประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กิโลเมตร ส่วนรถไฟความเร็วสูง 3 สายทาง ประกอบด้วย หนองคาย-กรุงเทพฯ , กรุงเทพฯ-ระยอง และกรุงเทพฯ-ชายแดนภาคใต้
-----------------------
ความเห็นส่วนตัวของผม ไม่เกี่ยวกับเนื้อข่าวนะครับ : ผมอยากได้ปลัดกระทรวงคมนาคมที่มีความรู้และความเข้าใจการขนส่งระบบรางครับ ไม่ใช่มาจากทางหลวง |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 05/07/2011 9:24 am Post subject: |
|
|
ผมเกรงว่า พอเสนอแผนงานเข้าไปจริงๆ แล้ว อาจมีการแก้ไขหรือเพิ่มเติมแผนก่อสร้างทางรถไฟสายเชียงใหม่ - เชียงราย - เชียงของ เข้าไปอีกก็ได้
แถมทำท่าจะเป็นเส้นทางขนาดความกว้าง 1.435 เมตรด้วยกระมัง ? |
|
Back to top |
|
|
kikoo
1st Class Pass (Air)
Joined: 01/02/2010 Posts: 1667
Location: มอ.ตรัง และ สถานีตรัง
|
Posted: 05/07/2011 11:02 am Post subject: |
|
|
Mongwin wrote: |
ความเห็นส่วนตัวของผม ไม่เกี่ยวกับเนื้อข่าวนะครับ : ผมอยากได้ปลัดกระทรวงคมนาคมที่มีความรู้และความเข้าใจการขนส่งระบบรางครับ ไม่ใช่มาจากทางหลวง |
ตราบใดที่เมืองไทยยังมีสถานศึกษาที่สอนความรู้เกี่ยวกับระบบราง แค่ที่ วรฟ. ที่เดียว
ก็คงยากล่ะครับ...ที่จะหาคนที่รู้เรื่องระบบรางในบ้านเราแบบจริงจังสักคน... _________________ ความคืบหน้าโครงการปรับปรุงทางช่วงที่วัง-กันตัง
http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=5618 |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 44058
Location: NECTEC
|
Posted: 06/07/2011 7:02 am Post subject: |
|
|
สนข.ปรับแผนสร้างรถไฟฟ้า หั่นเส้นทางสายสีส้มเร่งสร้างสีเหลือง
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 5 กรกฎาคม 2554 23:41 น.
สนข.ปรับแผนสร้างรถไฟฟ้า หั่นทางสีส้มเร่งสร้างสีเหลือง
โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 5 กรกฎาคม 2554 23:06 น.
สนข.จ่อชงคจร.และครม.ชุดใหม่ เห็นชอบการปรับแผนแม่บทรถไฟฟ้า 12 สาย ตัดระยะทางสายสีส้ม(ตลิ่งชัน-มีนบุรี) แค่จรัญสนิทวงศ์ เหตุแนวเส้นทางต่อจากนั้นซ้ำซ้อนกับสีแดง (บางซื่อ-ศาลายา) และเร่งแผนสีเหลือง สร้างเร็วขึ้นหวังป้อนคนเข้าแอร์พอร์ตลิ้งค์ แก้จราจรบนลาดพร้าว
นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า แผนแม่บทรถไฟฟ้า 12 สาย ได้มีการปรับเปลี่ยน เพื่อให้มีความเหมาะสม ซึ่งขณะนี้เตรียมนำเสนอรัฐมนตรีว่าการคมนาคมคนใหม่ เพื่อนำเสนอคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่พิจารณาเห็นชอบต่อต่อไปการปรับแผนแม่บท
โดยเบื้องต้นจะมีการปรับรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตลิ่งชัน-มีนบุรี) ซึ่งมีแนวเส้นทางจาก ตลิ่งชัน-ราชดำเนิน-หลานหลวง-เพชรบุรีตัดใหม่-ศูนย์วัฒนธรรม-บางกะปิ-มีนบุรี ระยะทาง 37.5 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 137,750 ล้านบาท โดยให้ย่นระยะทางสิ้นสุดที่จรัญสนิทวงศ์ เนื่องจากแนวเส้นทางต่อจากนั้น จะทับซ้อนกับสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน-ศาลายา ซึ่งจะทำให้ประหยัดค่าก่อสร้างได้อีกมาก โดยได้มอบหมายให้บริษัทที่ปรึกษาทำการศึกษาความเหมาะสมในการตัดระยะทางรถไฟฟ้าสายสีส้มแล้ว
นอกจากนี้ จะปรับแผนการก่อสร้างสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร โดยเร่งให้เร็วกว่ากำหนดเดิมที่จะแล้วเสร็จในปี 2572 เป็นปี 2562 เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรในพื้นที่ถนนศรีนครินทร์ ลาดพร้าว พัฒนาการ เทพารักษ์ บางนา-ตราด และช่วยป้อนผู้โดยสารกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์เพราะมีแนวเส้นทางเชื่อมกัน
แนวเส้นทางของสายสีเหลืองจะรองรับการเดินทางตลอดแนวถนนลาดพร้าวที่มีความแออัดอย่างมาก และสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินบริเวณปากทางลาดพร้าว ซึ่งเป็นต้นทางโครงการ เชื่อมกับสายสีส้มที่บริเวณบางกะปิ เชื่อมกับแอร์พอร์ตลิ้งค์ที่หัวหมาก และเชื่อมกับสายสีเขียวที่พัฒนาการได้นางสร้อยทิพย์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม ระบุว่า ตามแผนถนนจรัญสนิทวงศ์ บริเวณบางขุนนนท์ จะเป็นจุดเชื่อมต่อและสถานีร่วมของรถไฟฟ้า 3 สาย คือ สายสีแดง,สีส้มและสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแคและบางซื่อ-ท่าพระ และทำให้การเดินทางของฝั่งธนบุรีมีความสะดวกและเชื่อมโยงมากขึ้น |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 44058
Location: NECTEC
|
Posted: 06/07/2011 9:40 am Post subject: |
|
|
ชง100โปรเจ็กต์ค้าง เร่งรัฐบาล"ยิ่งลักษณ์"ตัดสิน คมนาคมเร่งรถไฟฟ้าใหม่7สาย
ประชาชาติธุรกิจ
วันที่ 06 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เวลา 08:53:02 น.
คค.ชง 7 รถไฟฟ้าใหม่ 3 แสน ล.
นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า นโยบายหาเสียงพรรคเพื่อไทยสอดคล้องกับแผนงานของกระทรวงคมนาคม แนวโน้มไม่มีโครงการไหนที่จะถูกรื้อ มีแต่เร่งให้เสร็จเร็วขึ้นใน 4 ปีนี้ โดยเฉพาะระบบราง เช่น รถไฟฟ้า 12 สาย ในแผนแม่บทเงินลงทุน 8 แสนล้านบาท รถไฟทางคู่ระยะแรก 767 กิโลเมตร มูลค่าลงทุน 7.7 หมื่นล้านบาท รถไฟความเร็วสูง 5 สายทาง กว่า 9 แสนล้านบาท งานปรับปรุงทางและความปลอดภัยของรถไฟ เป็นต้น
อย่างโครงการรถไฟฟ้าสายที่สร้างไปแล้วกำลังจะเซ็นสัญญาหรือเปิดประมูล จะเดินหน้าต่อทั้ง
1. สีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่)
2. สีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค)
3. สีแดง (บางซื่อ-ตลิ่งชัน)
4. สีเขียว (แบริ่ง-สมุทรปรากการ)
5. สีแดง (บางซื่อ-รังสิต)
6. สีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่)
ส่วนที่จะขออนุมัติรัฐบาลใหม่เพิ่มมี 7 โครงการ กว่า 3 แสนล้านบาท มี
1. สีชมพู (แคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี)
2. สีม่วง (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ)
3. สีส้ม (ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
4. สีแดง (รังสิต-ธรรมศาสตร์)
5. สีแดง (บางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน)
6. ต่อขยายแอร์พอร์ตลิงก์ (พญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง)
7. สีเขียว (สะพานใหม่-คูคต)
อีกทั้งจะปรับสาย สีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ให้สร้าง เร็วขึ้นกว่าเดิมจากแผนแม่บทอยู่ในช่วง 20 ปี จากปี 2572 เป็น ปี 2562
นอกจากนี้มีโครงการเร่งด่วนอื่น ๆ ที่จะต้องเสนอให้รัฐบาลใหม่พิจารณาอนุมัติเพิ่มเติม เช่น
1. ท่าเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล วงเงิน 12,434 ล้านบาท,
2. ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้า อ.เชียงของ กว่า 1,000 ล้านบาท,
3. มอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-โคราช 58,000 ล้านบาท,
4. ถนนไร้ฝุ่น 1,000 กิโลเมตร 5,000 ล้านบาท,
5. สถานีขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์ จ.หนองคาย 1,634 ล้านบาท,
6. การบริหารจัดการสนามบินภูมิภาค 28 แห่ง,
7. แผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ใต้ทางด่วน,
8. แผนแม่บทการดำเนินการระบบตั๋วร่วม,
9. โครงการเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างท่าเรือฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน (แลนด์บริดจ์) วงเงิน 42,782 ล้านบาท เป็นต้น
Last edited by Wisarut on 07/07/2011 11:10 am; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 44058
Location: NECTEC
|
Posted: 06/07/2011 11:30 am Post subject: |
|
|
สนข.เตรียมชงคจร.และรัฐบาลเพื่อไทยปรับแผนแม่บทรถไฟฟ้า12สาย
โดย คเณ
ข่าวรายวัน - ข่าวในประเทศ
ฐานเศรษฐกิจ
วันอังคารที่ 05 กรกฏาคม 2011 เวลา 15:23 น.
สนข.เตรียมชงคมนาคมเสนอรัฐบาลเพื่อไทยปรับแผนแม่บทรถไฟฟ้า 12 สาย ดึงสายสีเหลือง(ลาดพร้าว-สำโรง)ตามแผนปี 2572 ร่นระยะเวลาใหม่เป็นแล้วเสร็จปี 2562 หวังขนคนป้อนแอร์พอร์ตลิ้งค์ ล่าสุดปลัดคมนาคมมอบที่ปรึกษาปรับลดระยะสายสีส้มให้สิ้นสุดแค่จรัญสนิทวงศ์ ทางด้านเซียนอสังหาฯชี้เป็นการขยายเมืองทางทิศตะวันออกและแนวโน้มที่อยู่อาศัยเพิ่มจำนวนสูงขึ้นตามแน่
นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เปิดเผย ฐานเศรษฐกิจ ว่าได้เตรียมนำเสนอกระทรวงคมนาคมให้รัฐมนตรีว่าการคมนาคมคนใหม่นำเสนอคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก(คจร.)และคณะรัฐมนตรี(ครม.)ชุดรัฐบาลใหม่พิจารณาเห็นชอบต่อการปรับแผนแม่บทรถไฟฟ้า 12 สาย โดยจะดึงสายสีเหลือง(ลาดพร้าว-สำโรง) ที่ตามแผนที่กำหนดไว้เดิมจะสร้างในปี 2572 มาดำเนินการให้แล้วเสร็จในปี 2562 แทนเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรในพื้นที่ถนนศรีนครินทร์ ลาดพร้าว พัฒนาการ เทพารักษ์ บางนา-ตราด และยังป้อนผู้โดยสารให้เกิดการเชื่อมโยงกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์ได้อีกด้วย
การปรับแผนแม่บทรถไฟฟ้า 12 เส้นทางในระยะเวลา 20 ปี (2553-2572) มูลค่ารวมปัจจุบัน 437,692 ล้านบาท แม้ว่าจะต้องใช้งบประมาณค่อนข้างสูง แต่ถือว่าคุ้มค่าและให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูง เนื่องจากมีโครงข่ายบริการที่คลอบคลุมทั่วถึง ทั้งแหล่งท่องเที่ยว ชุมชน ศูนย์กลางทางด้านการแพทย์ แหล่งการค้าและการพาณิชย์ ซึ่งนำไปสู่การแก้ปัญหาจราจรได้อย่างแท้จริง
ผอ.สนข.กล่าวอีกว่านอกจากนั้นนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม ยังนำเสนอให้บริษัทที่ปรึกษาทำการศึกษาความเหมาะสมในการตัดระยะทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม(มีนบุรี-ตลิ่งชัน)ให้สิ้นสุดแค่จรัญสนิทวงศ์ เนื่องจากแนวเส้นทางทับซ้อนกับสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน-ศาลายาซึ่งจะช่วยประหยัดงบประมาณลงไปได้อีกมาก ซึ่งการนำเสนอดังกล่าวหาก คจร.เห็นชอบจะนำเสนอ ต่อ ครม.เพื่ออนุมัติและดำเนินการต่อไป
สายสีส้มซึ่งเป็นระบบ MRT ตั้งแต่ตลิ่งชัน ศูนย์วัฒนธรรม-บางกะปิ-มีนบุรี ซึ่งในช่วงตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม ระยะทาง 17.5 กิโลเมตรเดิมได้มีการปรับเปลี่ยนเล็กน้อยมาแล้วได้สร้างสถานีเพิ่มขึ้นเพื่อประโยชน์ต่อประชาชนโดยส่วนที่เพิ่มจะเพิ่มตั้งแต่แนวถนนราชปรารภและเพชรบุรีโดยมีระยะทางที่ต้องก่อสร้างเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม 5 กิโลเมตร และมีสถานีที่ต้องก่อสร้างเพิ่มอีก4 สถานี ทั้งนี้เดิมให้ระบบรถไฟฟ้าสายสีส้มปรับเป็น ช่วงตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรมแนวเส้นทางตะวันตก-ตะวันออกผ่านไปยังแหล่งท่อง เที่ยวแหล่งชุมชน ศูนย์กลางทางด้านการแพทย์แหล่งการค้าและการพาณิชย์ เชื่อมระหว่างฝั่งธนบุรี และฝั่งกรุงเทพฯทั้งยังสามารถทดแทนสายสีเขียวอ่อนช่วง สนามกีฬา-พรานนกเดิม
นายวสันต์ คงจันทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทโมเดอร์น พร็อพเพอร์ตี้ คอนซัลแตนท์ จำกัด กล่าวว่า แนวโน้มการขยายเมืองออกไปทางทิศตะวันออกมีความเป็นไปได้สูงขึ้น โดยเฉพาะราคาที่ดินปัจจุบันที่ราคาตารางวาละประมาณ 1.4 แสนบาทน่าจะเพิ่มสูงกว่า 2 แสนบาทขึ้นไป
ถนนลาดพร้าว ศรีนครินทร์ ปัจจุบันโครงการอสังหาริมทรัพย์ขายดีอยู่แล้ว ช่วงถนนศรีนครินทร์-สำโรง-เทพารักษ์น่าจะได้รับการตอบรับมากขึ้นกว่าปัจจุบัน เนื่องจากมีระบบสาธารณูปโภคหลาย ๆ อย่างรอบรังไว้แล้วโดยเฉพาะศูนย์การค้า โดยเฉพาะย่านใกล้แอร์พอร์ตลิ้งค์ที่ปัจจุบันมูลค่าที่ดินเพิ่มสูงกว่า 2 แสนบาทแล้วหรือคิดเป็น 20% ส่วนแยกรัชดา-ลาดพร้าวเพิ่มสูงเป็นตารางวาละประมาณ 3 แสนบาท
ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินไทย กล่าวว่าต้องรอดูความชัดเจนทางด้านนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่อีกทีว่าจะทำได้จริงหรือไม่ โดยไม่มีการปรับเปลี่ยนให้เกิดความล่าช้าอีก หากมองว่าน่าจะเป็นเมืองใหม่คิดว่าอนาคตยังอีกไกล แต่น่าจะช่วยปลุกกระแสทำเลใหม่มากกว่า
อพาร์ทเมนต์ โรงแรม เกิดจำนวนมากแน่ ๆ เพราะรองรับผู้ประกอบการค้าในศูนย์การค้าเมกะโปรเจ็กต์เช่น ไชน่าคอมเพล็กซ์ หรือเมกะบางนา ตลอดจนที่กำลังจะเกิดตามมาอีก หากมองในเรื่องบ้านจัดสรรหรือคอนโดมิเนียมน่าจะค่อย ๆ เกิดตามในภายหลังที่รถไฟฟ้าเปิดให้บริการแล้วมากกว่า
//-------------------------------------------------------------------------------
เอาใจตั้วเฮีย ตั้วเจ๊ใหญ่ของเพื่อไทยที่ย่าน ลาดพร้าว บางกะปิ - ศรีนครินทร์เป็นแน่แท้ |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 44058
Location: NECTEC
|
Posted: 07/07/2011 6:02 am Post subject: |
|
|
เร่งผุดสะพานข้ามเจ้าพระยาแก้รถติด
หน้า เศรษฐกิจ
ไทยโพสต์ 7 กรกฎาคม 2554 - 00:00
ส่วนนโยบายหาเสียงของพรรคเพื่อไทย ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนก็เมื่อมีการประกาศนโยบายต่อรัฐสภาถึงแนวทางการบริหารประเทศ ซึ่งในส่วนของกระทรวงคมนาคมได้เตรียมพร้อมข้อมูลเรียบร้อยแล้ว เช่น
โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม เส้นทางหอสมุดแห่งชาติ-บางกะปิ (ฮ่วย - แสดงว่าช่วงยมราช ไปธนบุรีโดนเปลี่ยนทิศ) และ
รถไฟฟ้าสีชมพู ช่วงปากเกร็ด-แจ้งวัฒนะ-มีนบุรี จะสามารถเริ่มประกวดราคาได้ภายใน 1 ปี หรือดำเนินการได้ภายในปี 2555
นอกจากนี้รถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-บางกะปิ-สำโรง คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในปี 2556 (และหวังวใจว่าจะเสร็จทันปี 2562)
สายสีเทา ช่วงวัชรพล-พระราม 9 และ
สายสีฟ้า ช่วงดินแดง-สาทร เป็นโครงการรถไฟฟ้าเส้นทางใหม่ที่จะเชื่อมต่อไปยังปริมณฑล ซึ่งต้องรอนโยบายจากรัฐบาล. |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 44058
Location: NECTEC
|
Posted: 07/07/2011 11:21 am Post subject: |
|
|
สนข.ชงรัฐบาลใหม่ดันรถไฟฟ้า8สาย
หน้า กทม.
เดลินิวส์ วันพฤหัสบดี ที่ 07 กรกฎาคม 2554 เวลา 10:57 น
คมนาคมชงรัฐบาลใหม่รถไฟฟ้าสารพัดสี ส้ม ชมพู เหลือง เพิ่มสีเทา"วัชรพล-พระราม9" สีฟ้า "ดินแดง-สาทร
มติชน วันพฤหัสบดี ที่ 07 กรกฎาคม 2554 เวลา 10:57 น
นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า สนข.เตรียมเสนอ โครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขต กทม. และปริมณฑล ให้รัฐบาลใหม่พิจารณา ซึ่งเป็น โครงการ ตามแผนเดิมของกระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอให้รัฐบาลนำไปพิจารณาร่วมกับนโยบายที่ได้เคยหาเสียงไว้ ประกอบด้วย
1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแครายมีนบุรี ระยะทาง 36 กม. ซึ่งได้ศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้นแล้วเสร็จ และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) อยู่ระหว่างคัดเลือก บ.ที่ปรึกษาจัดทำเอกสารประกวดราคา และศึกษา พ.ร.บ.ร่วมทุน พ.ศ. 2535 คาดว่าจะนำเสนอ ครม. อนุมัติได้ปลายปี 2554 นี้ เพราะผ่านการศึกษาสิ่งแวดล้อมแล้ว - เพื่อเรอ่มดำเนินโครงการปี 2555
2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 19.8 กม. รฟม.ประกาศเชิญชวนบริษัทที่ปรึกษายื่นข้อเสนอเป็นที่ปรึกษา ออกแบบฯ
3. โครงการสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ระยะทาง 37.5 กม. อยู่ระหว่างประกาศเชิญชวนบริษัทที่ปรึกษายื่นข้อเสนอเป็นที่ปรึกษา ทบทวนรายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ เช่นกัน
4. โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง 10 กม. อยู่ระหว่างนำเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพิจารณา
5. โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน ระยะทาง 19 กม. ออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างการปรับปรุงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม
6. โครงการระบบรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-ท่าอากาศยานกรุงเทพ ส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตเรียลลิ้ง ช่วงพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 21 กม. อยู่ระหว่างการปรับปรุงรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม
7. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงสะพานใหม่-คูคต ระยะทาง 7 กม. อยู่ระหว่างการปรับปรุงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม
8. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-บางกะปิ-สำโรง ระยะทาง 30.7 กม. คาดว่าจะดำเนินการได้ในปี 2556
ส่วนรถไฟฟ้าสายสีเทา วัชรพล-ลาดพร้าว-พระราม 4-สะพานพระราม 9 และ
รถไฟฟ้าสายสีฟ้า ดินแดง-สาทร เป็นเส้นทางใหม่ที่จะช่วยให้การจราจรกรุงเทพฯและปริมณฑลมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น จะเร่งเดินหน้าให้สามารถก่อสร้างได้โดยเร็วที่สุดต่อไป
นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า สนข.ได้เสนอรายละเอียดการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองให้นายสุพจน์ พิจารณาแล้ว คาดว่า จะสามารถนำเข้าสู่การพิจารณาของ ครม.ชุดใหม่ได้ทันทีเมื่อเริ่มมีการประชุม |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 44058
Location: NECTEC
|
Posted: 08/07/2011 2:13 am Post subject: |
|
|
ชงแผนก่อสร้างรถไฟฟ้า2สายต้นปีหน้า
คมชัดลึก
8 กรกฎาคม 2554
คมนาคมชูรถไฟฟ้า2สายพร้อมประมูล
โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 7 กรกฎาคม 2554 10:53 น.
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในช่วงต้นปี 2555 กระทรวงจะเสนอรายละเอียด รถไฟฟ้าสายต่อไปนี้ให้ ให้ ครม.พิจารณาอนุมัติ:
1. โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสาย สีชมพู ช่วงแคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี ระยะทาง 36 กม. วงเงิน 42,067 ล้านบาท และ
2. สายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม-บางกะปิ-มีนบุรี ระยะทาง 37.5 กม. วงเงิน 137,750 ล้านบาท
โดยปัจจุบันที่ปรึกษาอยู่ระหว่างการออกแบบรายละเอียด และเตรียมเอกสารประกวดราคา ซึ่งต้องประเมินวงเงินค่าก่อสร้างทั้งสองโครงการใหม่ เพราะราคาวัสดุก่อสร้างในปัจจุบันแตกต่างจากในช่วงที่ประเมินค่าก่อสร้าง เบื้องต้น
อย่างไรก็ตาม โครงการรถไฟฟ้าทั้งสองเส้นทางจะอยู่ในความรับผิดชอบของการรถไฟฟ้าขน ส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดยสายสีชมพูจะให้ผู้รับเหมารับผิดชอบงานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และการจัดหาขบวนรถ ซึ่งโครงการนี้มีรูปแบบเป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยว โครงสร้างยกระดับตลอดสายทาง มี 24 สถานี กำหนดเปิดให้บริการปี 2559 คาดว่าจะมีผู้ใช้บริการเฉลี่ยวันละ 2.18 แสนเที่ยว
ส่วนสายสีส้มจะเป็นโครงสร้างใต้ดิน 26.5 กม. และโครงสร้างยกระดับ 11 กม. มี 29 สถานี เป็นสถานีใต้ดิน 21 สถานี และสถานียกระดับ 8 สถานี คาดว่าเส้นทางช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางกะปิ จะเปิดบริการในปี 2560 ช่วงบางกะปิ-มีนบุรี จะเปิดให้บริการในปี 2561 และช่วงตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม จะเปิดให้บริการในปี 2562 คาดว่าจะมีผู้ใช้บริการเฉลี่ยวันละ 5.43 แสนเที่ยว
"แผนแม่บทของกระทรวงกำหนดว่าจะก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้ารวม 12 เส้นทาง ในช่วงปี 2553-2572 ส่วนการที่พรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นแกนนำรัฐบาลมีนโยบายก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้ารวม 10 เส้นทางนั้น จะต้องรอดูรายละเอียดเส้นทางต่างๆ ว่าเป็นเส้นทางใหม่หรือไม่ แต่โครงการเหล่านี้สามารถปรับแนวสายทางให้สอดคล้องกันได้" นายสุพจน์ กล่าว
ทั้ง นี้ โครงการสายสีชมพูจะช่วยแก้ปัญหาการจราจรบนถนนแจ้งวัฒนะ และเชื่อมโยงการเดินทางระหว่างพื้นที่ฝั่งตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือ ของกรุงเทพฯและปริมณฑล ส่วนสายสีส้มจะเป็นการรองรับการเดินทางเข้าสู่ใจกลางเมือง รวมทั้งช่วยแก้ปัญหาการจราจรบนถนนรามคำแหงและลาดพร้าว
ส่วนการพัฒนาด้านรถไฟนั้น 2ปีที่ผ่านมา กระทรวงคมนาคมได้ดำเนินโครงการซึ่งเป็นภารกิจหลักโดยเน้นเรื่องความปลอดภัย ซึ่งสามารถลดจำนวนการเกิดอุบัติเหตุที่เกิดบนทางหลวงลงได้ 30% นอกจากนี้ ในส่วนของการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ มีเป้าหมายเพื่อลดต้นทุนการขนส่งสินค้าลงจากปัจจุบัน 18 % โดยเปลี่ยนโหมดการขนส่งจากถนนซึ่งมีถึง 80% ไปสู่รถไฟให้มากขึ้น รวมถึงลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชน โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้รับอนุมัติกรอบวงเงินในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรางรวม 1.7 แสนล้านบาท ซึ่งจะดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2557
ดังนั้นโครงการรถไฟทางคู่ ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายพรรคเพื่อไทย ขณะนี้มีเงินลงทุนพร้อมดำเนินการได้ โครงการรถไฟความเร็วสูง สามารถเข้าสู่ขั้นตอนการเจรจาต่อเนื่องได้
"วงเงินลงทุนรถไฟฟ้า 12 สายในแผนแม่บท 811,070 ล้านบาทนั้นมี ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 ปี(2553-2572) และใช้เงินกู้เป็นส่วนใหญ่ โดยเฉลี่ยใช้ปีละประมาณ 40,000ล้านบาท เท่านั้น ไม่น่าจะกระทบต่อนโยบายทางการเงินการคลัง และเห็นว่า ประเทศไทยยังมีความจำเป็นที่ภาครัฐจะต้องจัดงบประมาณลงไปให้ความช่วยเหลือประชาชน ทั้งเรื่อง สุขภาพและการเดินทาง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างความเข้มแข็งของประชาชนโดยรวม ซึ่งเรื่องนี้ต้องมองกันระยะยาว 5-10 ปี เมื่อประชาชนมีความแข้มแข็ง ก็จะเป็นกำลังช่วยผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อเข้าสู่การแข่งขันในเวทีโลกได้มากขึ้น"นายสุพจน์กล่าว
ส่วนงบประมาณประจำปี 2555 นั้นนายสุพจน์กล่าวว่า จะมีการปรับปรุงอีกครั้งหลังจากรัฐบาลแถลงนโยบายต่อรัฐสภา เพื่อดูว่ามีนโยบายที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงคมนาคมอย่างไร ส่วนจะได้รับการจัดสรรเพิ่มขึ้นหรือไม่นั้น อยู่ที่รัฐบาลซึ่งคิดว่า รัฐบาลนี้อาจจะมีความสามารในการหาเงินได้มากขึ้นก็ได้
โดยก่อนหน้าหนี้ กระทรวงคมนาคมได้จัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2555 ไว้รวม 235,387 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 126,316 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 115.81% แบ่งเป็นงบประมาณของส่วนราชการ 159,800 ล้านบาท และรัฐวิสาหกิจ 75,586 ล้านบาท โดยหน่วยงานที่เสนอขอรับจัดสรรงบประมาณสูงสุด คือ กรมทางหลวง จำนวน 93,130 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 46,130 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 98.15% |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 44058
Location: NECTEC
|
Posted: 12/07/2011 4:39 am Post subject: |
|
|
ปลัดคค.เซ็นตั้งสำนักบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมแล้ว
The Logistic News
11 กรกฎาคม 2554 เวลา 22:07:07
กรุงเทพฯ 11 ก.ค. ปลัดกระทรวงคมนาคมเซ็นตั้งสำนักบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมแล้ว ส่วนงบจ้างที่ปรึกษารอรัฐบาลใหม่พิจารณา
ความคืบหน้าการจัดตั้งสำนักงานบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ที่ขณะนี้ทางนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม ได้มีการเซ็นลงนามตั้งเรียบร้อยแล้ว ซึ่งขั้นตอนต่อไปต้องรอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมคนใหม่มาดำเนินการในการส่งเรื่องให้กระทรวงการคลังเพื่อขอใช้งบประมาณจ้างที่ปรึกษาและจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง (เซ็นเตอร์ เคลียริ่งเฮาร์) ที่จะต้องใช้งบจำนวน 10 ล้านเหรียญดอลลาร์ฯ ซึ่งกระทรวงการคลังต้องจัดหาแหล่งเงินทุนให้
ส่วนหน้าที่ของสำนักงานบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมนั้นจะเสนอนโยบายและแผนมาตรฐานและมาตรการที่เกี่ยวข้องกับระบบตั๋วร่วม และรับผิดชอบการดำเนินงานตามแผนระบบบริหารจัดการจัดทำระบบตั๋วร่วมและจัดทำระบบศูนย์บริการจัดการรายได้กลาง รวมทั้งประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ โดยหลังจากนี้สำนักงานบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมจะจัดหาบุคลากรจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจำนวน 11 คน เพื่อเตรียมความร่วมในด้านต่างๆ และในปี 2558 ระบบตั๋วร่วมได้จริงก็จะแยกตั๋วออกจาก สนข. มาเป็นหน่วยงานที่บริหารจัดการตนเอง
อย่างไรก็ตามผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ คือราคาค่าโดยสารที่ถูกลง จากการศึกษาในเบื้องต้นราคาค่าโดยสารจะเก็บแรกเข้าที่ 18 บาท และจะเก็บเพิ่มกิโลเมตรและ 2 บาท และอัตราสูงสุดจะไม่เกิน 40 บาท ในเส้นทางกรุงเทพและปริมณฑล แต่หากมีโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองระยะไกล ก็จะเก็บในอัตราที่เพิ่มขึ้นไม่เกิน 60 บาท ซึ่งเป็นการพิจารณาตามความเหมาะสมของรายได้ของประชาชนผู้ใช้บริการ และผู้ให้บริการก็ยังสมารถอยู่ได้ แต่ทั้งนี้อัตราค่าโดยสารคงต้องเป็นไปตามความต้องการของรัฐบาลที่เป็นผู้กำหนดมากกว่า เพราะนโยบายล่าสุดของพรรคเพื่อไทยที่เป็นแกนนำรัฐบาลชุดใหม่ก็ได้หาเสียงไว้ที่อัตราค่าโดยสารไม่เกิน 20 บาททุกเส้นทาง |
|
Back to top |
|
|
|