RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312072
ทั่วไป:13682325
ทั้งหมด:13994397
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 40, 41, 42 ... 284, 285, 286  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44064
Location: NECTEC

PostPosted: 12/07/2011 6:25 am    Post subject: Reply with quote

"ประภัสร์" ยันไม่ได้โม้ เมกะโปรเจคคมนาคม ทำได้แน่นอน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 12 กรกฎาคม 2554 02:28 น.


"ประภัสร์" ลั่นนโยบายหาเสียง "ยิ่งลักษณ์" ทำได้ทุกเรื่องภายใน 4 ปี ยันตั๋วรถไฟฟ้าใต้ดิน 20 บาทตลอดสาย ขยายเส้นทางอีก10 สายทำได้แน่นอน เผยนโยบายเร่งด่วน พท. แก้ปัญหาค่าครองชีพ ของแพง นัดถกผลักดันสู่เป้าหมาย 12ก.ค. นี้

เมื่อวันที่ 11 ก.ค. นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าที่นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุมคณะทำงานยกร่างนโยบายหาเสียงพรรคเพื่อไทยและคีย์แมนของพรรคเพื่อไทย เพื่อหารือแผนการปฏิบัติงานตามนโยบายที่หาเสียงไว้หลังพรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาล โดยครั้งนี้มีผู้บริหารระดับสูงของหลายหน่วยงานได้เข้าร่วมประชุมกันอย่างพร้อมเพรียง เช่น นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง นายอาคม เต็มพิทยาไพศิษฐ์ เลขาธิการสภาพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจแห่งชาติ เข้าร่วมประชุม

โดยนายประภัสร์ จงสงวน ว่าที่ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ อดีตผู้ว่าการรฟม.และหนึ่งในทีมนโยบายการหาเสียงด้านคมนาคม กล่าวว่า นโยบายที่น.ส.ยิ่งลักษณ์หาเสียงไว้ทุกเรื่องยืนยันได้ว่าไม่มีปัญหาจะปฏิบัติตามที่หาเสียงไว้ภายใน4ปี โดยเฉพาะโครงการเมกะโปรเจคด้านคมนาคม ทั้งการขยายเชื่อมต่อสถานีแอพ็อตลิ้งค์ ไปยังจุดต่างๆตามที่พรรคเพื่อไทยได้ประกาศไว้ รวมถึงพัฒนาพื้นที่การใช้สอยของสถานีต่างๆเช่นสถานีมักกะสัน ส่วนเรื่องรถไฟฟ้าใต้ดินราคาเดียว20บาทตลอดสายและการขยายก่อสร้างรถไฟฟ้าอีก10สายนั้นยืนยันว่าทำได้แน่นอน แต่ก็จะต้องค่อยๆดูความพร้อมของแต่ละโครงการ เช่นการเวนคืนที่ดินในแต่ละจุดจะทำอย่างไร ทำพร้อมกันได้หรือไม่

ส่วนข้อเป็นห่วงที่หลายภาคส่วนแสดงความเป็นห่วงว่าหากรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์จะทำพร้อมกันจะทำให้มีปัญหาเรื่องงบประมาณและกลายเป็นเรื่องประชานิยมนั้น นายประภัทร์ กล่าวว่า ไม่มีปัญหาแน่นอน อย่างโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า10สายไม่ได้ทำพร้อมกันทีเดียวทั้งหมด แต่ทำทีละโครงการในเวลาที่ไม่ห่างกัน ยิ่งเมื่อสถานการณ์การเมืองมั่นคงรัฐบาลสร้างความเชื่อมั่นกับต่างประเทศได้ ต่างชาติก็พร้อมเข้ามาลงทุน เวลานี้ทีมงานของพรรคก็กำลังพัฒนาอยู่ว่าจะใช้เม็ดเงินตรงไหนมาใช้

“อย่างไรก็ตามนโยบายเร่งด่วนอันดับแรกหลักพรรคเพื่อไทยบริหารประเทศก็ คือ การแก้ปัญหาค่าครองชีพ สินค้าราคาแพง เรื่องนี้เป็นเรื่องเร่งด่วนที่สุด”นายประภัสร์ กล่าว

รายงานข่าวแจ้งว่าสำหรับนโยบายได้มีการจัดทำเป็นแต่ละหัวข้อๆ ซึ่งวันที่ 11กค.54 ได้มีการเรียกตัวแทนจากกระทรวงการคลัง สภาฯพัฒน์มาร่วมประชุมเพื่อรับฟังเรื่องกรอบวงเงินงบประมาณ และวันที่ 12ก.ค. 10.00น.ทางพรรคเพื่อไทยจะเรียกตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆมาร่วมประชุมหารือถึงการผลักดันนโยบายของพรรคเพื่อไทย ในเรื่องนโยบายด้านพลังงาน หลังจากพรรคเพื่อไทยมีแนวคิดการพักกองทุนน้ำมัน และหารือเรื่องสินค้าราคาแพงโดยอาจจะมีตัวแทนจากกระทรวงพลังงานและกระทรวงพานิชย์มาร่วมประชุมวันที่ 12ก.ค. นี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44064
Location: NECTEC

PostPosted: 13/07/2011 4:09 pm    Post subject: Reply with quote

รื้อแผนลงทุนเมกะโปรเจกท์ คมนาคมปรับยุทธศาสตร์ชงรัฐบาลใหม่
หน้าคมนาคม - สื่อสาร
แนวหน้า 12 กรกฎาคม 2554

นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัด 8 หน่วยราชการ และรัฐวิสาหกิจ 13 หน่วยงาน ทบทวนแผนยุทธศาสตร์ รวบรวมข้อมูลความคืบหน้าโครงการลงทุนขนาดใหญ่(เมกะโปรเจกท์)ต่างๆ และเรื่องที่ต้องดำเนินการเพื่อเสนอให้รมว.คมนาคม คนใหม่พิจารณา โดยมีโครงการสำคัญหลายโครงการ อย่าง โครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมระหว่างทะเลอ่าวไทย และอันดามัน(แลนด์บริดจ์) ท่าเรือปากบารา รวมไปถึง ท่าเรือสงขลา 2 ซึ่งก่อนหน้านี้รัฐบาลชุดปัจจุบันได้ขอให้ทบทวนลดขนาดท่าเรือปากบารา ให้เป็นท่าเทียบเรือเอนกประสงค์ แต่ กระทรวงคมนาคม จะยืนยันต่อรัฐบาลใหม่ว่า ควรดำเนินการเป็นท่าเรือน้ำลึก ตามแผนดำเนินงานเดิม

นายสุพจน์ กล่าวว่า ในส่วนของ โครงการรถไฟฟ้า 12 สาย ตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง จะนำ
สายสีเหลือง (รัชดา-ลาดพร้าว-บางกะปิ-สำโรง)
สายสีเทา (วัชระพล-ลาดพร้าว-พระราม4-สะพานพระราม9)
สายสีฟ้า (ดินแดง-สาทร)

จะเร่งให้เสร็จใน10ปี หรือในปี2562 จากเดิมเดิมจะแล้วเสร็จในปี 2572 เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของพรรคเพื่อไทย

สำหรับโครงการส่วนต่อขยายสายสีแดงช่วง (บางบอน-มหาชัย และรังสิต-อยุธยา) คาดว่าจะสามารถสำรวจออกแบบได้ในปี 2555

ส่วนสายสีส้ม (ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม-บางกะปิ-มีนบุรี) และ
สายสีชมพู (ปากเกร็ด-แจ้งวัฒนะ-มีนบุรี)

คาดว่า จะสามารถเสนอรัฐบาลใหม่ให้เริ่มดำเนินการได้ทันที เพราะได้ทำการศึกษาไว้แล้ว

ส่วนโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง(ไฮ สปีด เทรน) จะไปตามที่รัฐบาลชุดปัจจุบันศึกษาไว้คือ ก่อสร้าง 5 เส้นทาง ได้แก่
กรุงเทพ-ระยอง,
กรุงเทพ-เชียงใหม่,
กรุงเทพ-หนองคาย,
กรุงเทพ-ปาดังเบซาร์ ,
กรุงเทพ-อุบลราชธานี ซึ่งจะเป็นการเชื่อมต่อโครงข่ายกับโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงของจีนที่ผ่านมาทางลาวมาเชื่อมกับรถไฟฟ้าที่ หนองคาย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44064
Location: NECTEC

PostPosted: 13/07/2011 5:04 pm    Post subject: Reply with quote

ชงคมนาคมเร่งคลังกู้เอดีบี
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ
หน้าอสังหา Real Estate - อสังหาฯ-คมนาคม
ออนไลน์เมื่อ วันศุกร์ที่ 08 กรกฏาคม 2011 เวลา 12:12 น.
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,651 10-13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สนข.ชงกระทรวงคมนาคม ตั้งสำนักงานพัฒนาระบบตั๋วร่วม ดึง 11 อรหันต์ เป็นกำลังหลักพร้อมเร่งประสานทุกหน่วยที่เกี่ยวข้องดึงบุคลากรมาทำหน้าที่ประสานงานร่วม เร่งยื่นเรื่องคลังให้หาเงินกู้บริหารจัดการ คาดก.ค.เปิดสำนักงานอย่างเป็นทางการ

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า เตรียมนำเสนอเรื่องให้กระทรวงคมนาคมกรณีการจัดตั้งสำนักงานพัฒนาระบบตั๋วร่วมซึ่งในเบื้องต้นให้ถือเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนางานของสนข.โดยต้องผ่านความเห็นชอบของกพร.ด้านกำลังคนที่จะมาทำหน้าที่ดังกล่าวซึ่งจะต้องใช้กำลังคนประมาณ 11 นาย ขณะนี้อยู่ระหว่างการคัดสรรบุคคล โดยจะขอรับหลักการคัดสรรโครงสร้างกำลังคนใหม่ พร้อมกันนี้จะต้องให้หน่วยงานอื่น ๆ ของกระทรวงคมนาคมที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม เช่น การรถไฟฯ การรถไฟฟ้า องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท การทางพิเศษแห่งประเทศไทย เป็นต้น

"สนข.พร้อมแล้วสำหรับการยื่นเรื่องให้กระทรวงคมนาคมเร่งผลักดัน โดยช่วงแรกนี้ให้เป็นหน่วยงานภายใต้สนข. ซึ่งงานเตรียมการ 4 ปีแรกใช้งบประมาณของ สนข. ส่วนปีที่ 5 เป็นต้นไปใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีวงเงินประมาณ 62 ล้านบาทเป็นค่าใช้จ่ายดำเนินงานและบริหารจัดการโดยสำนักงบประมาณรับไปดำเนินการ ส่วนการใช้โปรแกรมดำเนินงาน PMS ใช้เงินกู้เอดีบี ในวงเงินประมาณ 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เช่นเดียวกับงบจัดทำระบบบริหารจัดการรายได้กลางใช้เงินกู้เอดีบีในวงเงิน 13 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยให้กระทรวงการคลังไปจัดหาเงินกู้ต่างประเทศเพื่อมาดำเนินการต่อไปซึ่งคาดว่าในเดือนกรกฎาคมนี้จะสามารถก่อตั้งสำนักงานได้ทันที"

นางสร้อยทิพย์กล่าวอีกว่าทางด้านค่าใช้จ่ายในเบื้องต้นนั้นจัดเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ คือ รายจ่ายในการจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ในปี 2555 ใช้งบประมาณ 73 ล้านบาท ปี 2556 และปี 2557 ใช้งบประมาณปีละ 69 ล้านบาท ส่วนงบการพัฒนาโปรแกรมบริหารระบบ(PMS) ปี 2555 ใช้งบประมาณ 182 ล้านบาท และปี 2557 ใช้งบประมาณ 5 ล้านบาท และรายจ่ายอุปกรณ์สำนักงาน ปี 2555 ใช้งบประมาณ 3 ล้านบาท ปี 2556 และปี 2557 ใช้งบประมาณปีละ 2 ล้านบาท โดยให้เริ่มดำเนินการเพื่อเปิดให้บริการในปี 2558 รองรับโครงการรถไฟฟ้าที่รัฐบาลอยู่ระหว่างเร่งผลักดันได้ทันที

ทั้งนี้ตามผลการศึกษาของเอดีบีกรณีในเรื่องรายได้จากการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมนั้น รายได้หลักมาจากค่าบริการต่อ 1 ธุรกรรมของการใช้บัตรแต่ละครั้งหรือทรานส์แซกชันฟรี โดยขึ้นอยู่กับคณะกรรมการบริหารกำหนดค่าบริการ โดยจากการศึกษาจะใช้ประมาณ 0.37 บาทต่อ 1 ธุรกรรม จากการประมาณการผู้โดยสารที่คาดว่าจะมีรายรับเบื้องต้นในปี 2562 ซึ่งมีผู้โดยสาร 1.18 ล้านคนต่อเที่ยวต่อวัน คิดเป็นรายได้ประมาณ 160 ล้านบาทต่อปี ส่วนในปี 2572 ผู้โดยสารจะเพิ่มเป็น 2.67 ล้านคนต่อเที่ยวต่อวัน คิดเป็นรายได้ประมาณ 360 ล้านบาทต่อปี

สำหรับวงเงินที่เอดีบีเสนอช่วยเหลือจำนวน 1,200 ล้านบาท แบ่งเป็นการสนับสนุนการจัดทำระบบตั๋วร่วมจำนวน 22 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 660 ล้านบาท) โดยเป็นการทยอยเบิกไปดำเนินการ ด้านการให้ความช่วยเหลือในโครงการมอเตอร์เวย์จำนวน 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 60 ล้านบาท) การช่วยเหลือพัฒนาบุคลากรและระบบซอฟต์แวร์ทางด้านระบบรางจำนวน 11 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 330 ล้านบาท) และการให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับโครงการอื่นๆ ที่ใช้รูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (Public-Private Partnership: PPP) จำนวน 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 150 ล้านบาท)
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47457
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/07/2011 10:25 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมของบ1.3ล้านล.รวบเมกะโปรเจ็กต์
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ วันอังคารที่ 12 กรกฏาคม 2011 เวลา 13:58 น.

กระทรวงคมนาคมเตรียมชงเมกะโปรเจ็กต์ 1.3 ล้านล้าน มีทั้งชุดที่หลุดโผจากรัฐบาล"อภิสิทธิ์"และโครงการหลักอื่นๆให้ครม.เพื่อไทยพิจารณา ทั้งท่าเรือน้ำลึกปากบารา รถไฟความเร็วสูง รถไฟรางคู่ และระบบขนส่งมวลชน ไม่หวั่นโดนรื้อ ยันโครงการที่เสนอครั้งนี้เพื่อสนองทุกนโยบายเผยอาจมีกระทบบ้าง กรณีปรับลดหรือเพิ่มงบประมาณ "สุพจน์" ชี้รัฐบาลแถลงนโยบายเสร็จพร้อมนำเสนอได้ทันที

แหล่งข่าวระดับสูงของกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า จากการที่พรรคเพื่อไทยได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลและจะต้องนำเสนอโครงการต่างๆให้พิจารณานั้น ในส่วน ของกระทรวงคมนาคมยังใช้โครงการชุดเดิมที่หลุดโผจากการพิจารณาของรัฐบาลชุดที่ผ่านมา โดยจะนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมคนใหม่และคณะรัฐมนตรี(ครม.)อีกครั้ง

"โครงการหลัก ๆ ที่เตรียมนำเสนอประกอบด้วย โครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูลโครงการเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างท่าเรือฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน โครงการพัฒนาระบบตั๋วร่วม สถานีขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์ที่นาทา จังหวัดหนองคาย โครงการปรับปรุงสนามบินในภูมิภาค โครงการมอเตอร์เวย์ทั้ง 5 เส้นทางของกรมทางหลวง โครงการถนนไร้ฝุ่นของกรมทางหลวงชนบท โครงการพัฒนาสนามบินดอนเมือง ซึ่งยืนยันว่าเป็นโครงการที่สามารถสนองนโยบายทุกพรรคการเมืองที่ใช้หาเสียงอยู่แล้ว โดยเฉพาะรถไฟทางคู่ รถไฟฟ้า หรือรถไฟความเร็วสูง และไม่เกรงว่าจะถูกรื้อ เนื่องจากได้ศึกษาความเหมาะสมมาเป็นอย่างดี แต่อาจจะมีกระทบบ้างในบางโครงการที่จะมีการปรับแนวเส้นทางหรือปรับลดและเพิ่มงบประมาณตามความเห็นครม.ชุดใหม่ โดยโครงการเก่าที่อนุมัติแล้วน่าจะดำเนินการต่อไป ส่วนโครงการที่อยู่ระหว่างการศึกษายังแก้ไขได้ แต่ในโครงการใหม่เป็นอำนาจของรัฐมนตรีคมนาคมคนใหม่จะพิจารณาต่อไป"

นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า แนวทางการดำเนินโครงการส่วนใหญ่ โดยเฉพาะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานล้วนสอดคล้องกับนโยบายที่พรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลได้หาเสียงไว้ ซึ่งได้จัดเตรียมข้อมูลการดำเนินงานต่างๆ ให้รัฐบาลชุดใหม่พิจารณาไว้เรียบร้อย คงต้องรอให้มีการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาแล้วเสร็จก่อน เนื่องจากจะต้องยึดตามแนวทางของรัฐบาลเป็นหลัก

"โครงการรถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่ และระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพล้วนเป็นโครงการที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลชุดนี้ได้ใช้หาเสียง ดังนั้นคาดว่าการดำเนินโครงการทั้งหมดจะได้รับการผลักดันต่อไป ทั้งโครงการเก่าที่อยู่ระหว่างดำเนินการ และโครงการใหม่ที่อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมหรือออกแบบรายละเอียด แต่ต้องรอการแถลงนโยบายที่ชัดเจนจากรัฐบาลอีกครั้ง หลังจากนั้นก็จะมีการปรับแผนการดำเนินงาน เพื่อให้สอดคล้อง โดยคาดว่าจะสามารถนำเสนอได้หลังจากมีครม.ชุดใหม่แล้ว"

สำหรับโครงการที่กระทรวงคมนาคมเตรียมนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมคนใหม่เพื่อขอความเห็นชอบอนุมัติให้ดำเนินการ รวมงบประมาณทั้งสิ้น 1,337,073 ล้านบาทได้แก่

- โครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา(เฟส 1) กรอบวงเงิน 9,741 ล้านบาท
- โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ส่วนต่อขยายบางซื่อราษฎร์บูรณะ มูลค่า 66,820 ล้านบาท
- โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี มูลค่า 34,000 ล้านบาท
- โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี มูลค่า 137,750 ล้านบาท

- โครงการรถไฟทางคู่ทั้ง 5 เส้นทาง ได้แก่
1. เส้นทางช่วงมาบกะเบา-นครราชสีมา ระยะทาง 132 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 21,186 ล้านบาท
2. เส้นทางช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 118 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 16,201 ล้านบาท
3. เส้นทางช่วงนครปฐม-ชุมทางหนองปลาดุก-หัวหิน ระยะทาง 165 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 20,823 ล้านบาท
4.เส้นทางช่วงชุมทางถนนจิระ- ขอนแก่น วงเงินลงทุน 13,010 ล้านบาท และ
5. เส้นทางช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร วงเงินลงทุน 17,000 ล้านบาท

- โครงการรถไฟความเร็วสูงทั้ง 5 เส้นทาง รวมวงเงิน 861,479 ล้านบาท ได้แก่
1.กรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะทาง 615 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 181,369 ล้านบาท
2.กรุงเทพฯ-ระยอง ระยะทาง 221 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 56,601 ล้านบาท
3.กรุงเทพฯ-ชายแดนภาคใต้ของไทย ระยะทาง 983 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 248,515 ล้านบาท
4.กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 745 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 208,176 ล้านบาทและ
5. กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี ระยะทาง 570 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 166,818 ล้านบาท
โดยเฉพาะโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนที่ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างกระทรวงรถไฟของจีนตรวจสอบร่างเอ็มโอยู

- โครงการรถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คัน งบ 63,000 ล้านบาทและโครงการรถเมล์เอ็นจีวี 1,957 คัน งบ 4,000 ล้านบาท ที่ขณะอยู่ระหว่างการรอความชี้ชัดว่าจะให้เช่า หรือเช่าซื้อ หรือซื้อมาเพื่อแก้ปัญหารถให้บริการไม่เพียงพอ
- โครงการของกรมทางหลวงเส้นพัทลุง-ตรัง มูลค่า 560 ล้านบาท

- โครงการขอความเห็นชอบการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ(โดเมสติกเทอร์มินัล)ที่ทางทิศตะวันออกของอาคารผู้โดยสารหลังปัจจุบันเพื่อเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าก่อนที่จะมีการก่อสร้างสุวรรณภูมิเฟส 2 มูลค่ากว่า 9,000 ล้านบาท
- โครงการตามแผนพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิระยะที่ 2 ตามแนวทางที่องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศหรือ ICAO และสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (ไออาต้า) ได้เสนอแนะมูลค่า 62,503 ล้านบาท

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,652 14-16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44064
Location: NECTEC

PostPosted: 15/07/2011 12:35 pm    Post subject: Reply with quote

คนไทยจะได้ใช้รถไฟฟ้า 20 สายภายใน 4 ปีจริงหรือ???
หมวด : เศรษฐกิจ
โดย mim_dunk
OK Nation วันศุกร์ ที่ 15 กรกฎาคม 2554 10:39:14 น.


ช่วงนี้อะไรก็ไม่ฮอตเท่ากับข่าวการเมืองอีกแล้ว ก็เพราะประเด็นที่ชวนถกกันไม่รู้จบอย่างนโยบายของว่าที่รัฐบาลใหม่ช่างน่า เย้ายวนใจเสียเหลือเกิน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าแรงและเงินเดือน เรื่องเศรษฐกิจ เรื่องภาษีอสังหาริมทรัพย์ และที่ฮอตสุดๆคงไม่พ้นเรื่องรถไฟฟ้าทุกสาย 20 บาท ซึ่งประเด็นล่ามาไวเรื่องล่าสุดก็ตรงพาดหัวที่ว่า รถไฟฟ้าอีก 12 สายที่เหลือ ชาวไทยจะมีวาสนาได้ใช้ภายในอีก 4 ปีข้างหน้านี้!!!!


อาจจะดูเหลือเชื่อกับแต่ละนโยบายที่พรรคเพื่อไทยประกาศออกมา แต่ว่าที่นายกหญิงคงยึดคติที่ว่า “อะไรก็เกิดขึ้นได้” เพราะแต่ละนโยบายล้วนขั้นเทพแทบทั้งสิ้น ซึ่งแน่นอนว่าหลังจากเรื่องนี้หลุดออกมา วงการอุตสาหกรรมก่อสร้างก็ต้องขยับตัวรับกันทันควันเพราะนี่อาจจะเป็นโอกาส ทองสำหรับอีกหลายบริษัทที่ชวดการประมูลโครงการรถไฟฟ้าครั้งก่อนๆ รวมทั้งโอกาสของบริษัทรับเหมาต่างชาติที่จะเข้ามารับงานแบ่งจากบริษัทชาวไทย ได้บ้างนอกเหนือจากการจอยท์เวนเจอร์ เพราะถ้าหากจะผลักดันนโยบายนี้ให้เป็นจริงได้ เฉพาะบริษัทก่อสร้างขาประจำคงไม่เพียงพอรับมือ

ฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ของ บมจ. หลักทรัพย์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) วิเคราะห์ประเด็นนี้เอาไว้ว่า นโยบายด้านคมนาคมของรัฐบาลใหม่ที่เน้นเร่งเปิดประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสี ต่างๆทั้งหมด 12 สาย รวมระยะทางกว่า 500 กิโลเมตรนั้น จากระยะเวลาจากแผนเดิมที่วางไว้ที่ 20 ปี เหลือเพียง 4 ปี โอกาสที่จะเกิดขึ้นได้มีความเป็นไปได้น้อย เนื่องจากมีความไม่พร้อมในหลายๆด้าน โดยเฉพาะด้านงบประมาณและความพร้อมของบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่อาจจะยังไม่ พร้อมทั้งฐานการลงทุนและกำลังคน


“เราประเมินว่าถ้ารัฐบาลใช้นโยบายเร่งรัด 4 ปีจริง กลุ่มรับเหมาก่อสร้างจะต้องเร่งเพิ่มทุนเพื่อรองรับการขยายตัวในอนาคต และการขยายตัวดังกล่าวจะทำให้กลุ่มมีความเสี่ยงของต้นทุนที่เพิ่มขึ้นทั้ง วัสดุก่อสร้างและการขาดแคลนแรงงาน” ฝ่ายวิจัย กิมเอ็งฯกล่าว

แน่นอนว่าบริษัทรับเหมาก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าขาประจำอย่าง บริษัท อิตาเลียนไทย, ช.การช่าง, ซิโนไทย อาจจะต้องเร่งปรับทัพสู้ศึกงานประมูลอย่างหนัก เพราะหากรัฐบาลใหม่ใช้นโยบายเร่งรัดโครงการรถไฟฟ้าภายใน 4 ปีจริง บริษัทรับเหมาก่อสร้างทั้งหมดต้องเร่งเพิ่มทุนก่อนรับงานใหม่ เพราะงบลงทุนโครงการรถไฟฟ้าทั้งหมด 12 สาย ใช้เงินลงทุนรวมกว่า 8 แสนล้านบาท

แม้ว่าแผนผลักดันโครงการรถไฟฟ้าเหล่านี้จะสร้างงานมูลค่ามหาศาลให้กับ กลุ่มบริษัทรับเหมาก่อสร้างทั้งรายใหญ่และรายเล็ก แต่การร่นระยะเวลาการดำเนินโครงการจาก 20 ปีเหลือ 4 ปีนั้น ฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ของ บมจ. หลักทรัพย์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ประเมินว่า ทั้งรัฐบาลและผู้รับเหมาก่อสร้าง อาจจะมีอุปสรรคมากมาย อาทิ

1. การเปิดประมูลโครงการรถไฟฟ้าหลายสายในช่วงเวลาเดียวกัน ส่งผลให้ผู้รับเหมาก่อสร้างในปัจจุบันที่มีงานในมือ (Backlog) ที่ค่อนข้างมาก อาจจะไม่พร้อมประมูลรับงานโครงการขนาดใหญ่หลายงานใหม่พร้อมกันได้ ด้วยข้อจำกัดของฐานทุนและเงินทุน ดังนั้น อาจจะทำให้ผู้รับเหมาต้องเพิ่มทุนเพื่อรองรับการขยายตัว

2. ความต้องการวัสดุก่อสร้างจำนวนมากในเวลาเดียวกันอาจจะส่งผลให้ราคาวัสดุก่อสร้างปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว

3. แรงงานในท้องตลาดอาจจะมีไม่เพียงพอ และผู้รับเหมาอาจจะต้องเผชิญกับต้นทุนค่าแรงขั้นต่ำที่สูงขึ้นถึง 300 บาท/คน/วัน ซึ่งต้นทุนค่าแรงจะเป็นสัดส่วนประมาณ 5-10% ของต้นทุนทั้งหมด ดังนั้นบริษัทรับเหมาต้องมีการจัดการบริหารความเสี่ยงด้านแรงงานให้ดี โดยอาจจะต้องมีการขอโควต้าแรงงานต่างด้าวไว้ทดแทนอัตราด้วย

4. การเปลี่ยนแปลงรัฐบาลและทีมบริหารที่เกิดขึ้น ทำให้กลุ่มรับเหมาก่อสร้างมีความกังวลว่าอาจจะมีความเสี่ยงเกี่ยวกับการตรวจ สอบย้อนหลังสำหรับการประมูลที่เพิ่งประกาศผู้ชนะไปเมื่อเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา เช่น STEC ชนะการประมูล รถไฟฟ้าสายสีแดง (บางสื่อ-รังสิต) สัญญาที่ 1 มูลค่า 34,650 ล้านบาท ที่เปิดซองเร็วกว่าคาดเล็กน้อย และ CK ชนะประมูลส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสัญญาที่ 1 โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ โดยมูลค่างานเท่ากับประมาณ 14,000 ล้านบาท

5. มีงานประมูลโครงการใหม่ๆที่รอเปิดซองมูลค่าอีกกว่า 8 หมื่นล้านบาท ในครึ่งปีหลังของปี 2554 นี้ เช่น งานประมูลรถไฟฟ้าสายสีแดงสัญญาที่ 2 (มูลค่างานก่อสร้าง 18,861 ล้านบาท) ที่เหลือผู้มีสิทธิชนะเพียง 2 ราย คือ CK และ ITD และสัญญาที่ 3 งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกลรวมตู้รถไฟฟ้า ทั้งช่วงบางซื่อ-รังสิตและบางซื่อ-ตลิ่งชัน วงเงิน 26,272 ล้านบาท

6. ช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 จะเริ่มการประกวดราคา การก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ระยะทาง 12 กิโลเมตร มูลค่า 36,511 ล้านบาท หลังจากที่ล่าช้ามาประมาณ 3 เดือนจากการปรับแก้ไขแบบ เป็นต้น


ถึงแม้ว่าความเป็นไปได้ที่โครงการรถไฟฟ้าทั้งหมดจะสำเร็จได้ภายใน 4 ปี คงมีไม่เยอะ แต่อย่างน้อยวงการรับเหมาก่อสร้างที่อาจจะกำลังปวดหัวกับปัญหาค่าแรงในปี หน้าคงมีกำลังใจขึ้นอีกโขเพราะมีโครงการเมกะโปรเจ็กต์อีกมากมายที่กำลังจะ เกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ซึ่งแม้หากจะวัดกันแล้ว บริษัทรับเหมารายใหญ่ขาประจำอย่าง ซิโนไทย,ช.การช่าง,อิตาเลียนไทย คงกวาดงานส่วนใหญ่ไว้ได้ แต่งานรับเหมาย่อยอื่นๆคงได้มีแจกจ่ายไปยังบริษัทรายเล็กบ้างไม่มากก็น้อย และน่าจะส่งผลดีต่อเนื่องไปยังบริษัทพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์อื่นๆที่คง จะมีการตอบรับครึกครื้นกันยิ่งขึ้น


ท้ายนี้ก็ได้แต่หวังว่านโยบายโครงการเมกะโปรเจ็กต์เหล่านี้จะถูกผลักดัน ให้เป็นจริงได้เร็วๆ เพราะอย่างน้อย คนชานเมืองจะได้มีโอกาสใช้รถไฟฟ้าในขณะที่ยังพอมีเรี่ยวแรงเบียดเสียดบน รถไฟฟ้ากับวัยรุ่นได้บ้าง และถึงแม้ว่าถ้าดำเนินการแล้วระยะเวลาโครงการจะเกิน 4 ปี แต่ถ้าโครงการนี้สำเร็จได้แบบไม่โม้ แค่นี้ชาวไทยก็พอใจแล้ว

Click on the image for full size
***หมายเหตุ*** ข้อมูลเพิ่มเติมตารางแสดงสถานะโครงการรถไฟฟ้าเฟสแรก จาก Thai Contractor

สถานะรถไฟฟ้าเฟสแรก 7 เส้นทาง

สายรถไฟฟ้าสีม่วง บางซื่อ-บางใหญ่ ก่อสร้างคืบหน้า 27% กำหนดเปิดบริการพ.ศ. 2557

สายรถไฟฟ้าสีน้ำเงิน บางซื่อ-ท่าพระ/หัวลำโพง-บางแค ผู้รับเหมาเข้าพื้นที่วันที่ 23 มิ.ย. 2554 กำหนดเปิดบริการปี พ.ศ. 2559

สายรถไฟฟ้าสีเขียวเข้ม หมอชิต-สะพานใหม่ เตรียมเปิดประมูล กำหนดเปิดบริการ ปี พ.ศ. 2558

สายรถไฟฟ้าสีเขียวอ่อน แบริ่ง-สมุทรปราการ ได้ผู้รับเหมาแล้ว รอ ครม.เซ็นสัญญาก่อสร้าง กำหนดเปิดบริการปี พ.ศ. 2558

สายรถไฟฟ้าสีแดงอ่อน บางซื่อ-ตลิ่งชัน ก่อสร้างคืบหน้า 69% กำหนดเปิดบริการ ปี พ.ศ. 2555

สายรถไฟฟ้าสีแดงเข้ม บางซื่อ-รังสิต-ธรรมศาสตร์ ประมูลช่วงบางซื่อ-รังสิต กำหนดเปิดบริการปี พ.ศ. 2559

สายรถไฟฟ้าสีแดงอ่อน บางซื่อ-พญาไท-หัวหมาก อยู่ระหว่างปรับปรุง EIA ยังไม่มีกำหนด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44064
Location: NECTEC

PostPosted: 15/07/2011 12:49 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมเร่งเครื่องลุยรถไฟฟ้า สายสีชมพู/สีส้มจ่อคิวเข้าครม.

โดย ผู้จัดการ 360 องศา รายสัปดาห์ 14 กรกฎาคม 2554 17:19 น.

*กระทรวงหูกวางฟิตจัด เตรียมโครงการรถไฟฟ้าสารพัดสีเสนอครม.“ยิ่งลักษณ์”1
*สุพจน์’ ชี้ค่าก่อสร้างรถไฟฟ้าสีชมพู/สีส้มส่อแววพุ่ง
*เผยวงเงินลงทุนรถไฟฟ้า 12 สาย ในแผนแม่บท 811,070 ล้านบาท

แม้ว่ารัฐบาล“ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร”จะยังจัดโผคณะรัฐมนตรีไม่แล้วเสร็จ และยังไม่รู้ว่าใครจะมีนั่งเก้าอี้กระทรวงเกรดเอ อย่างกระทรวงคมนาคม แต่สุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม ยังเดินหน้าที่จะนำแผนลงทุนโครงการรถไฟฟ้าทั้ง 12 สาย เสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมคนใหม่ เพื่อนำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อให้สามารถลงทุนก่อสร้างได้ตามแผนเดิม

ทั้งนี้ ตามแผนแม่บทของกระทรวงกำหนดว่าจะก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้ารวม 12 เส้นทาง ในช่วงปี 2553-2572 ส่วนการที่พรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นแกนนำรัฐบาลมีนโยบายก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้ารวม 10 เส้นทางนั้น จะต้องดูรายละเอียดเส้นทางต่างๆ ว่าเป็นเส้นทางใหม่หรือไม่ แต่โครงการเหล่านี้สามารถปรับแนวสายทางให้สอดคล้องกันได้

ทั้งวงเงินลงทุนรถไฟฟ้า 12 สาย ในแผนแม่บท 811,070 ล้านบาท มีระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 ปี (2553-2572) และใช้เงินกู้เป็นส่วนใหญ่ โดยเฉลี่ยใช้ปีละประมาณ 40,000 ล้านบาท จึงไม่น่าจะกระทบต่อนโยบายทางการเงินการคลัง

ค่าก่อสร้างพุ่ง

สุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมจะเสนอรายละเอียดโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี ระยะทาง 36 กม. วงเงิน 42,067 ล้านบาท และสายสีส้มช่วงตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม-บางกะปิ-มีนบุรี ระยะทาง 37.5 กม. วงเงิน 137,750 ล้านบาท ให้ครม.พิจารณาอนุมัติ ปัจจุบันที่ปรึกษาอยู่ระหว่างการออกแบบรายละเอียด และเตรียมเอกสารประกวดราคา ซึ่งต้องประเมินวงเงินค่าก่อสร้างทั้งสองโครงการใหม่ เพราะราคาวัสดุก่อสร้างในปัจจุบันแตกต่างจากในช่วงที่ประเมินค่าก่อสร้างเบื้องต้น

โครงการรถไฟฟ้าทั้งสองเส้นทางจะอยู่ในความรับผิดชอบของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดยสายสีชมพูจะให้ผู้รับเหมารับผิดชอบงานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และการจัดหาขบวนรถ ซึ่งโครงการนี้มีรูปแบบเป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยว โครงสร้างยกระดับตลอดสายทาง มี 24 สถานี สามารถดำเนินการได้ในปี 2555 หลังจากพิจารณาแล้วเห็นว่ารถไฟฟ้าในเส้นทางดังกล่าวมีความพร้อมในการดำเนินการ เนื่องจากผ่านการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้ว กำหนดเปิดให้บริการปี 2559 คาดว่าจะมีผู้ใช้บริการเฉลี่ยวันละ 2.18 แสนเที่ยว ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาการจราจรบนถนนแจ้งวัฒนะ และเชื่อมโยงการเดินทางระหว่างพื้นที่ฝั่งตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงเทพฯและปริมณฑล

ส่วนสายสีส้มจะเป็นโครงสร้างใต้ดิน 26.5 กม. และโครงสร้างยกระดับ 11 กม. มี 29 สถานี เป็นสถานีใต้ดิน 21 สถานี และสถานียกระดับ 8 สถานี คาดว่าเส้นทางช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางกะปิ จะเปิดบริการในปี 2560 ช่วงบางกะปิ-มีนบุรี จะเปิดให้บริการในปี 2561 และช่วงตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม จะเปิดให้บริการในปี 2562 คาดว่าจะมีผู้ใช้บริการเฉลี่ยวันละ 5.43 แสนเที่ยว สามารถรองรับการเดินทางเข้าสู่ใจกลางเมือง รวมทั้งช่วยแก้ปัญหาการจราจรบนถนนรามคำแหงและลาดพร้าวได้ดี

สำหรับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง เส้นทางลาดพร้าว-บางกะปิ-สำโรง คาดว่าจะดำเนินการได้ในปี 2556 ส่วนรถไฟฟ้าสายสีเทา วัชรพล-ลาดพร้าวพระราม 4-สะพานพระราม 9 และรถไฟฟ้าสายสีฟ้า ดินแดง-สาทร เป็นเส้นทางใหม่ที่จะช่วยให้การจราจรกรุงเทพฯและปริมณฑลมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น จะเร่งเดินหน้าให้สามารถก่อสร้างได้โดยเร็วที่สุด

ด้านสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า สนข.ได้เสนอรายละเอียดการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองให้พิจารณาแล้ว คาดว่าจะสามารถนำเข้าสู่การพิจารณาของ ครม.ชุดใหม่ได้ทันทีเมื่อเริ่มมีการประชุม

ส่วนแผนการพัฒนาด้านรถไฟนั้น 2 ปีที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมได้ดำเนินโครงการซึ่งเป็นภารกิจหลักโดยเน้นเรื่องความปลอดภัย ซึ่งสามารถลดจำนวนการเกิดอุบัติเหตุที่เกิดบนทางหลวงลงได้ 30% นอกจากนี้ ในส่วนของการพัฒนาระบบลอจิสติกส์ มีเป้าหมายเพื่อลดต้นทุนการขนส่งสินค้าลงจากปัจจุบัน 18%โดยเปลี่ยนโหมดการขนส่งจากถนนซึ่งมีถึง 80%ไปสู่รถไฟให้มากขึ้น รวมถึงลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชน โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้รับอนุมัติกรอบวงเงินในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรางรวม 1.7 แสนล้านบาท ซึ่งจะดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2557ดังนั้น โครงการรถไฟทางคู่ จึงมีเงินลงทุนและพร้อมดำเนินการได้ โครงการรถไฟความเร็วสูงสามารถเข้าสู่ขั้นตอนการเจรจาต่อเนื่องได้

ส่วนงบประมาณประจำปี 2555 นั้น สุพจน์กล่าวว่า จะมีการปรับปรุงอีกครั้งหลังจากรัฐบาลแถลงนโยบายต่อรัฐสภา เพื่อดูว่ามีนโยบายที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงคมนาคมอย่างไร ส่วนจะได้รับการจัดสรรเพิ่มขึ้นหรือไม่นั้น อยู่ที่รัฐบาลซึ่งคิดว่า รัฐบาลนี้อาจจะมีความสามารถในการหาเงินได้มากขึ้นก็ได้โดยก่อนหน้านี้ กระทรวงคมนาคมได้จัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2555 ไว้รวม 235,387 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน126,316 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 115.81% แบ่งเป็นงบประมาณของส่วนราชการ 159,800 ล้านบาท และรัฐวิสาหกิจ 75,586 ล้านบาทโดยหน่วยงานที่เสนอขอรับจัดสรรงบประมาณสูงสุด คือ กรมทางหลวง จำนวน93,130 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 46,130 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 98.15%
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44064
Location: NECTEC

PostPosted: 16/07/2011 2:20 am    Post subject: Reply with quote

"ตั๋วร่วม"ตั้งไข่รอคลังเคาะ300ล.
หน้า เศรษฐกิจ
ไทยโพสต์ 16 กรกฎาคม 2554 - 00:00


คมนาคมเผยตั้งสำนักงานตั๋วร่วมแล้ว รอรัฐมนตรีใหม่เสนอเรื่องไปคลัง จัดหาแหล่งเงินทุน 300 ล้านบาท ตั้งเซ็นเตอร์ เคลียริ่ง เฮาส์
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้มีการจัดตั้งสำนักงานบริหารจัดการตั๋วร่วมเรียบร้อยแล้ว จากนี้ไปต้องรอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมคนใหม่ส่งเรื่องไปยังกระทรวงการคลัง เพื่อขอใช้งบประมาณจ้างที่ปรึกษาและจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง (เซ็นเตอร์ เคลียริ่ง เฮาส์) โดยใช้งบประมาณ 10 ล้านเหรียญสหรัฐ

"หลังจากนี้สำนักงานบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมจะต้องจัดหาบุคลากรจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจำนวน 11 คน เพื่อเตรียมความร่วมในด้านต่างๆ และในปี 2558 จะแยกสำนักงานบริหารฯ ระบบตั๋วร่วมออกจาก สนข. มาเป็นหน่วยงานที่บริหารจัดการตนเอง" แหล่งข่าวกล่าว

ก่อนหน้านี้ นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้กล่าวว่า การเตรียมการใน 4 ปีแรกใช้งบประมาณของ สนข. ส่วนปีที่ 5 เป็นต้นไปจะต้องใช้งบประมาณ 62 ล้านบาทเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายดำเนินงานและบริหารจัดการ โดยสำนักงบประมาณรับไปดำเนินการในส่วนการดำเนินงาน โดยใช้เงินกู้ของธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ในวงเงินประมาณ 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

แหล่งข่าวกล่าวว่า จากการศึกษาเบื้องต้นราคาค่าโดยสารในเส้นทางกรุงเทพฯ-ปริมณฑล จะเก็บที่ 18 บาท และจะเก็บเพิ่มกิโลเมตรละ 2 บาท สูงสุดไม่เกิน 40 บาท แต่หากมีโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองระยะไกล จะเก็บในอัตราที่เพิ่มขึ้นไม่เกิน 60 บาท ซึ่งเป็นการพิจารณาตามความเหมาะสมของรายได้ของประชาชนผู้ใช้บริการ ส่วนนโยบายของพรรคเพื่อไทยที่จะเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าในอัตรา 20 บาทตลอดสายสามารถทำได้ แต่รัฐต้องแบกรับภาระในส่วนเกิน.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44064
Location: NECTEC

PostPosted: 19/07/2011 2:52 pm    Post subject: Reply with quote

เพื่อไทยเล็งปรับ 3 รถไฟฟ้า

โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ
หน้า อสังหา Real Estate - อสังหาฯ-คมนาคม
ออนไลน์เมื่อ วันศุกร์ที่ 15 กรกฏาคม 2011 เวลา 10:18 น.
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,653 17-20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประภัสร์ จงสงวน"ประภัสร์"เล็งเสนอคมนาคมปรับโครงการรถไฟฟ้า 3 สาย สีชมพู สีฟ้าและสีเทา อ้างเพื่อความปลอดภัยผู้โดยสาร เหตุวิ่งระยะทางยาว ไม่ควรใช้โมโนเรล เผยสีเทาและสีฟ้าอาจศึกษาแผนการลงทุนและความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ หรืออาจปรับรูปแบบการเดินรถใหม่ให้สอดคล้องกับพื้นที่ปัจจุบัน

นายประภัสร์ จงสงวน ทีมเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ล่าสุดได้ขอข้อมูลไปยังสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เกี่ยวกับโครงการรถไฟฟ้าเส้นทางต่าง ๆ ที่ได้มีการศึกษารองรับไว้แล้วเพื่อนำมาพิจารณา โดยส่วนตัวยังคงเห็นว่าสายสีชมพูควรปรับปรุงให้ดีขึ้น คือไม่ควรใช้ระบบโมโนเรลมาวิ่งให้บริการ เนื่องจากเป็นเส้นทางยาวประมาณ 36 กิโลเมตร และยังสามารถขยายแนวเส้นทางในอนาคตออกไปได้อีก ประการสำคัญปริมาณผู้ใช้บริการในอนาคตโดยเฉพาะพื้นที่รามอินทรา มีนบุรี ตลอดจนนนทบุรีล้วนมีแนวโน้มที่จะมีจำนวนมากขึ้น หากใช้ระบบโมโนเรลจึงอาจไม่ปลอดภัยเหมือนระบบเฮฟวี่เรลที่มีพื้นที่ขนย้ายผู้โดยสารรองรับไว้ 2 ข้างราง

"แม้จะเป็นการประหยัดงบประมาณ แต่หากมีการขยายเพิ่มในภายหลังน่าจะไม่คุ้มค่าในการลงทุนจึงควรพิจารณาความเหมาะสมตั้งแต่วันนี้ เนื่องจากเป็นรถระยะทางยาวซึ่งความปลอดภัยน่าจะต้องคำนึงถึงเป็นลำดับแรก ๆ อีกทั้งแนวความคิดเพื่อเป็นระบบฟีดเดอร์นั้นเส้นทางสายสีชมพูน่าจะเป็นการเข้าใจผิดมากกว่า เพราะในอนาคตอันใกล้น่าจะขนคนได้ไม่มากไม่น้อยไปกว่าเส้นทางอื่น ๆ เพียงแต่จะเชื่อมสายสีเขียวที่สถานีวัดพระศรีมหาธาตุฯ สายสีแดงที่แยกหลักสี่และสายสีม่วงที่แยกแครายเท่านั้น อีกทั้งปัจจุบันพื้นที่ตลอดแนวเส้นทางเจริญก้าวหน้าไปมาก หากเปิดให้บริการอาจส่งผลกระทบได้ถ้าเป็นระบบโมโนเรล"

นอกจากนี้นายประภัสร์ยังกล่าวถึงรถไฟฟ้าสายสีเทาและสายสีฟ้าที่กระทรวงคมนาคมโดยสนข.อยู่ระหว่างการเร่งผลักดันตามแผนระยะถัดไปว่า น่าจะต้องนำมาพิจารณาความเหมาะสมอีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะแนวเส้นทาง งบประมาณการลงทุนและความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ อีกทั้งยังเห็นด้วยที่จะใช้รถโมโนเรลหรือไรต์เรลรูปแบบอื่นที่จะป้อนผู้โดยสารในบางพื้นที่สู่ระบบขนส่งมวลชนหลักได้ครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น โดยไม่มองข้ามความปลอดภัยและอาจเปิดโอกาสให้เอกชนสามารถเชื่อมต่อสถานีเข้าสู่อาคารต่าง ๆ ได้อีกด้วยซึ่งจะช่วยประหยัดงบประมาณลงไปได้อีกมาก

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรีขณะนี้อยู่ระหว่างการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยคัดเลือกที่ปรึกษาในรอบที่ 2 ก่อนที่จะออกแบบรายละเอียดเพื่อเปิดการขายซองประกวดราคาและเตรียมการประมูลระยะต่อไป โดยมีทั้งสิ้น 24 สถานีเริ่มตั้งแต่จุดเชื่อมต่อสายสีม่วงช่วงแยกแครายไปที่แยกปากเกร็ด ผ่านถนนแจ้งวัฒนะ ถนนรามอินทราไปสิ้นสุดที่มีนบุรี ระยะทางประมาณ 36 กิโลเมตร เป็นโครงสร้างทางยกระดับทั้งหมดหากเป็นระบบโมโนเรลมีมูลค่าโครงการ 42,067 ล้านบาท คาดว่าเปิดบริการในปี 2559 และจะมีผู้ใช้บริการในปี 2559 ประมาณ 218,000 คน

ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีฟ้า ช่วงดินแดง-สาทร เป็นหนึ่งในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง ในเขตกรุงเทพมหานคร(กทม.)และปริมณฑล ปี 2553-2572 เป็นเส้นทางใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อปี 2552 พร้อมกับรถไฟฟ้าสายสีเทา ในรูปแบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (โมโนเรล) ที่เชื่อมต่อจุดสำคัญใจกลางเมือง เพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่ย่านดินแดง ซึ่งมีโครงการพัฒนาเคหะชุมชนดินแดง โครงการพัฒนาย่านมักกะสัน และการเปิดใช้ศาลาว่าการกทม. 2 ระยะที่ 2-4 รวมทั้งเพื่อเชื่อมต่อกับย่านธุรกิจบนถนนสาทร โดยมีแนวเส้นทางจากเคหะชุมชนดินแดง เข้าสู่ศูนย์คมนาคมมักกะสัน (สถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง) ไปยังถนนวิทยุ และถนนสาทร รวมระยะทาง 9.5 กิโลเมตร คาดว่าจะมีปริมาณผู้โดยสาร 319,000 เที่ยวต่อวันจะเปิดให้บริการในปี 2572

ด้านโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา ช่วงวัชรพล-ลาดพร้าว-พระราม 4-สะพานพระราม 9 ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง ในเขตกทม.และปริมณฑล 2553-2572 เป็นเส้นทางใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อปี 2552 พร้อมกับรถไฟฟ้าสายสีดำ ในรูปแบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (โมโนเรล) มีเส้นทางตามแนวแกนเหนือ-ใต้ เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของที่พักอาศัยบริเวณถนนประดิษฐ์มนูธรรมและย่านสาธุประดิษฐ์ แนวเส้นทางเริ่มจากถนนรามอินทรา ชานเมืองทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงเทพฯ ลงมาทางทิศใต้ตามถนนประดิษฐ์มนูธรรม เลียบทางพิเศษฉลองรัช เข้าสู่ย่านทองหล่อ ถนนสุขุมวิท ถนนพระราม 4 คลองเตย ถนนรัชดาภิเษก-พระราม 3 ไปสิ้นสุดบริเวณเชิงสะพานพระราม 9 ทางด้านทิศใต้ของพื้นที่ใจกลางกรุงเทพฯ รวมระยะทาง 26 กิโลเมตร คาดว่าจะมีปริมาณผู้โดยสาร 340,000 เที่ยวต่อวันและกำหนดเปิดให้บริการในปี 2572

//--------------------------------------------------------------------

ท่าทางจะเอาอกเอาใจ ชาวกรุงเทพเหนือ ตามเส้นติวานนท์ - แจ้งวัฒนะ - รามอินทรา
เพื่อยึดพื้นที่ให้เด็ดขาดเหมือนกรณีเมืองนนทบุรี เลยต้องมาไม้นี้ จะว่าไปแล้ว
ถ้ารฟม. ได้เส้นทางนี้ หละก็ ฟังดูไม่เลวเหมือนกัน เพราะระหว่างรอรถใหม่เข้ามาก็เอารถเก่าไปใช้ก่อนได้นี่
Back to top
View user's profile Send private message
kikoo
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 01/02/2010
Posts: 1667
Location: มอ.ตรัง และ สถานีตรัง

PostPosted: 19/07/2011 6:39 pm    Post subject: Reply with quote

เมื่อกี้นี้ดูรายการเจาะข่าวเด่นกับสรยุทธฯ เค้าเชิญเจ้าหน้าที่รฟม.กับเจ้าของร้านยาเจ้าปัญหาที่โดนเวนคืนตามโครงการสายสีม่วงน่ะครับ เถียงกันทั้งรายการ ควักรูป ควักคลิปมาดูกันวุ่น แต่สรุปสาระคือเจ้าของร้านยาไม่พอใจเรื่องเงินค่าเวนคืน...

ถ้ามีปัญหานี้กับโครงการรถไฟฟ้าที่คิดจะทำล่ะก็....รถไฟฟ้า20สายใน4ปีคงยากกว่าการงมเข็มในมหาสมุทรล่ะครับ
Laughing
_________________
ความคืบหน้าโครงการปรับปรุงทางช่วงที่วัง-กันตัง
http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=5618
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47457
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/07/2011 10:16 am    Post subject: Reply with quote

คลอดแผนโลจิสติก ดันระบบราง-รถไฟฟ้า 12 สายเสนอรบ.ใหม่
ไทยรัฐ 19 ก.ค. 54 19.35 น.

ปลัดคมนาคม เผย คมนาคมได้ทำแผนโลจิสติกดันระบบราง-รถไฟฟ้า12เส้นทางเสนอรัฐบาลใหม่ ส่วนติดตามการใช้งบ 1.76 แสนล้านบาทของการรถไฟ เผยมีการเบิกจ่ายในภาพรวมแล้ว 2-3% โดยโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง มีการเบิกจ่ายมากสุดกว่า 30%

เมื่อวันที่ 19 ก.ค. นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระบบโลจิสติกส์ของประเทศ ที่หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมได้จัดทำขึ้นเพื่อเตรียมเสนอต่อรัฐบาลใหม่ ว่า กระทรวงจะเน้นในประเด็นต่างๆเช่นการยกระดับการให้บริการประชาชนด้าน การขนส่งมวลชน ซึ่งรวมถึงโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทั้ง 12 เส้นทาง โครงการพัฒนาระบบบโลจิสติกส์ และการขนส่งทางราง เช่น การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ซึ่งการขนส่งทางรางนั้นประหยัดกว่าการขนส่งทางถนนแต่ในประเทศมีการใช้น้อย มากเพราะประทศไทยขาดการพัฒนาระบบการขนส่งทางรางมานานทำให้มีเพียง 2% เท่านั้น ขณะที่ทางถนนสูงถึง 86% นอกจากนั้นยังรวมถึงการเพิ่มความปลอดภัยด้านการเดินทางและการขนส่งทางถนน และการขยายเส้นทางให้ครอบคลุมเชื่อมโยงทั่วประเทศ

นายสุพจน์ กล่าวถึงนโยบายเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าตลอดเส้นทาง 20 บาท ว่า กระทรวงคมนาคม โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) มี 2 แผนทางเลือกที่จะเสนอให้รัฐบาลชุดใหม่ดำเนินการอยู่แล้ว เพราะถือว่าเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์การยกระดับการให้บริการประชาชนของกระทรวง คมนาคมอยู่แล้ว ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลจะเลือกดำเนินการในแนวทางใด

นายสุพจน์ กล่าวอีกว่า นโยบายการเพิ่มค่าแรงรายวันเป็น 300 บาท อาจกระทบต่อต้นทุนการก่สร้างบ้างแต่ไม่มากนักเพราะต้นทุนในส่วนของแรงงานไร้ ฝีมือที่อยู่ในข่ายที่จะได้ปรับขึ้นค่าแรงเป็น 300 บาท มีไม่มากนักต่อโครงการ เพราะส่วนใหญ่แรงงานที่ใช้จะเป็นแรงงานฝีมือดีที่ได้รับค่าจ้างสูงกว่า 300 บาทต่อวันอยู่แล้ว

ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวด้วยว่า การติดตามโครงการปฎิรูปและฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานรถไฟ ของ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มูลค่ากว่า 1.76 แสนล้านบาท หลังจากที่ครม. ได้เห็นชอบและอนุมัติเมื่อปลายปี 53 ให้ปรับปรุงและฟื้นฟูรถไฟตามแผนนั้นพบว่า ขณะนี้มีความคืบหน้าตามแผนการดำเนินงาน โดยมีการเบิกจ่ายในภาพรวมถึง 2-3% จากงบประมาณในภาพรวม โดยโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ของ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีความคืบหน้าในโครงการและมีการเบิกจ่ายมากสุดกว่า 30% และ รฟท. มีการเบิกจ่ายกว่า 15 % โดยโครงการที่สามารถดำเนินการได้เร็ว เนื่องจากโครงการดังกล่าวได้มีการอนุมัติให้ดำเนินการมาตั้งแต่ปลายปี 53 และ ส่วนมากจะเป็นโครงการที่เกี่ยวกับความปลอดภัยทางราง ไม่ว่าจะเป็น การปรับปรุง รางรถไฟ และปรับปรุง เครื่องกั้นรถไฟ นอกจากนั้นที่ประชุมยังได้มีมติให้ ตั้งศูนย์ ติดตามข้อมูลของกระทรวงคมนาคมขึ้น โดยให้แต่ละหน่วยงานให้ข้อมูลแต่ละโครงการที่เป็นปัจจุบันต่อศูนย์ เพื่อให้สามารถติดตามโครงการแต่ละโครงการได้ทันท่วงที
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 40, 41, 42 ... 284, 285, 286  Next
Page 41 of 286

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©