RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311947
ทั่วไป:13596135
ทั้งหมด:13908082
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เรื่องน่ารู้ : รถจักรไอน้ำที่เคยใช้การใน รฟท.
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เรื่องน่ารู้ : รถจักรไอน้ำที่เคยใช้การใน รฟท.
Goto page 1, 2, 3  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 23/07/2011 3:21 pm    Post subject: เรื่องน่ารู้ : รถจักรไอน้ำที่เคยใช้การใน รฟท. Reply with quote

สวัสดีครับ...

เรื่องน่ารู้ในตอนนี้ จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับรถจักรไอน้ำในอดีตที่เคยใช้การใน รฟท. จากข้อเขียนของ ครฟ.ในหนังสือ "สรุปกิจการครบรอบ 72 ปี การรถไฟแห่งประเทศไทย" ซึ่งมีสิ่งที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย ทั้งด้านประวัติความเป็นมา และวิชาการที่เกี่ยวข้องของอุปกรณ์กลไกรถจักร ที่กรมรถไฟในสมัยก่อนได้พิจารณาและกำหนดเป็นข้อสำคัญที่ต้องนำมาติดตั้ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดของรถจักรไอน้ำแต่ละรุ่นที่สั่งซื้อมาใช้การ จนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงให้เป็นภาระหน้าที่ของรถจักรดีเซล (Dieselization) ที่เป็นกำลังหลักของ รฟท.ในปัจจุบันนี้

ในข้อเขียนดังกล่าว จะไม่รวมรถจักรไอน้ำที่ใช้งานบนเส้นทางรถไฟสายแม่กลอง และอื่นๆ นะครับ

ถึงแม้ว่า ความรุ่งเรืองของรถจักรใน "ยุคขี้เถ้า" ได้ล่วงเลยไปตามกาลเวลา แต่ความสำคัญของรถจักรไอน้ำนั้น จะยังคงอยู่ในใจของบรรดาผู้รักรถไฟเช่นเราๆ ทั้งหลาย ไม่มีเสื่อมคลายตลอดไป

......................

รถจักรไอน้ำ

โดยฝ่ายการช่างกล การรถไฟแห่งประเทศไทย

Click on the image for full size

รถจักรที่นำมาใช้ในกิจการรถไฟของรัฐเป็นคันแรกหรือรุ่นแรก คือ รถจักรไอน้ำใช้ในทางขนาดมาตรฐาน ซึ่งกรมรถไฟได้นำมาใช้ในการก่อสร้างและสับเปลี่ยนจำนวน 2 คัน ในปี พ.ศ.2436 สืบแต่นั้นมาก็ได้มีรถจักรไอน้ำใช้การเพิ่มจำนวนขึ้น เป็นรถจักรที่จัดหามาใช้การเพื่อการก่อสร้างทางรถไฟที่ยังคงดำเนินการต่อไป และใช้เป็นรถจักรสับเปลี่ยนบ้าง ตลอดจนใช้ลากจูงขบวนรถในเส้นทางที่เปิดการเดินรถขยายออกไป

รถจักรไอน้ำเหล่านี้ เป็นรถจักรที่ใช้กันเป็นสากลอยู่ในยุคนั้น ซึ่งมีอายุหลังจากการรถไฟของโลกได้กำเนิดมาแล้วหลายปี จึงได้รับการพัฒนามาด้วยดี เมื่อเริ่มแรกนำมาใช้การ เป็นรถจักรแบบมีถังน้ำและที่เก็บเชื้อเพลิงในตัว (Tank Locomotive) ต่อมาเป็นแบบรถกำลังมีรถลำเลียงพ่วง มีกำลังลากจูงแตกต่างกันตามความเหมาะสมของขบวนรถที่จะลากจูง ส่วนเชื้อเพลิงที่ใช้การนั้น สันนิษฐานว่าน่าจะกำหนดใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิงมาก่อนตลอดมา

รถจักรที่มีใช้การตั้งแต่เริ่มเปิดการเดินรถไฟจนถึง พ.ศ.2464 มีชนิดและคุณลักษณะตามบัญชีที่ 1


Click on the image for full size
(กรุณาclick เพื่อขยายภาพตารางด้วยนะครับ)

ตามบัญชีข้างต้นปรากฎว่า รถจักรที่ใช้ในทางขนาดกว้างมาตรฐานรุ่นแรก ยังมิได้กำหนดให้มีมาตรฐานของตัวรถจักรและอุปกรณ์ให้แน่ชัดออกไป ต่อมา รถจักรใช้การทั้ง 2 ขนาดทางที่จัดหามาในระยะเวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน ก็เริ่มมีมาตรฐานของตัวรถและอุปกรณ์ขึ้นไว้ ในระหว่างเวลานั้น การใช้ไอดง คือนำเอาไอน้ำในหม้อน้ำให้ได้รับความร้อนเพิ่มขึ้นอีก จะทำให้ไอน้ำนั้นแห้ง ปราศจากละอองน้ำ และลดการกลั่นตัวเป็นน้ำเมื่อกระทบกับสิ่งที่เย็นกว่า เป็นการช่วยให้รถจักรมีพลังงานมากขึ้น และประหยัดค่าใช้จ่ายใช้การ เป็นที่นิยมใช้การอยู่กับรถจักรของการรถไฟต่างประเทศ

Click on the image for full size

ดังนั้น รถจักรที่สั่งซื้อรุ่น 209 และ 401 จึงได้ใช้ไอดง และติดตั้งอุปกรณ์ดงไอตามระบบของชมิตท์เป็นรุ่นแรกแทนการใช้ไอสด คือไอน้ำที่กำเนิดตรงจากหม้อน้ำซึ่งใช้การอยู่กับรถจักรทั่วไป จึงเป็นการแสดงให้เห็นความก้าวหน้าขั้นต่อไปของการปรับปรุงรถจักรของกรมรถไฟ นอกจากนี้แล้ว ลิ้นปิดเปิดไอยังผิดแผกไปจากรถรุ่นอื่นๆ ด้วย กล่าวคือ ใช้ชนิดลิ้นเต้น (Puppet valve) แทนลิ้นเลื่อน และกลไกปิดเปิดลิ้นใช้แบบของเล็นทซ์

นอกจากนี้ จะสังเกตได้ว่า เนื่องจากความต้องการที่จะให้มีแรงฉุดสูงเพื่อใช้ลากจูงขบวนรถสินค้าหนัก รถจักรทั้ง 2 รุ่นนี้จึงมีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก โดยเฉพาะให้มีน้ำหนักกดลงเพลาล้อขับสูงขึ้น ทำให้รถจักรมีกำลังฉุดลากได้มาก


Last edited by black_express on 24/07/2011 10:48 am; edited 5 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 23/07/2011 3:27 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

สำหรับรถจักรรุ่น 151 (E class) ใช้ในทางสายใต้ขนาด 1 เมตร ซึ่งได้จัดหาเพิ่มขึ้นในระหว่าง พ.ศ.2456 – 2464 ก็เกือบจะนับได้ว่าเป็นรถจักรมาตรฐานในสมัยนั้น และลากจูงขบวนรถรวมและสินค้า ต่อมาเมื่อมีการเดินรถด่วนก็ได้ใช้รถจักรนี้ 2 คันพ่วงกันลากจูงเพื่อให้รถจักรมีกำลังมากขึ้น ได้สมดุลกับน้ำหนักและความยาวของขบวนรถ รถจักรแบบ E นี้ มีบางคันติดตั้งอุปกรณ์ดงไอตามระบบของชมิตท์ และติดตั้งลิ้นเต้น และกลไกปิดเปิดลิ้นแบบคาปรอตตี้มาด้วย

ภายหลังที่กรมรถไฟได้แปลงทางกว้างขนาดมาตรฐานเป็นทางกว้างขนาด 1 เมตรทั่วไปทุกสายแล้ว เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2463 ทางการได้จัดหารถจักรขนาดทาง 1 เมตร มาใช้การทั้งสิ้นดังบัญชีที่ 2 ข้างล่างนี้ และได้ดัดแปลงรถจักรทางขนาดมาตรฐานหมายเลข 209 , 210 , 401 และรถจักรถังน้ำเลขที่ 51 – 56 ให้ใช้การได้ในทางขนาด 1 เมตรด้วย เพราะในขณะแปลงขนาดรางนั้น ยังมีอายุใช้การน้อย สภาพรถยังดีอยู่ ส่วนรถจักรขนาดทางมาตรฐานรุ่นอื่นๆ มีอายุใช้การมานาน ทั้งไม่สามารถจะดัดแปลงใช้การบนทางขนาด 1 เมตรได้ ก็ได้ปลดระวางเลิกใช้การไป


Click on the image for full size

รถจักรที่จัดหามาใช้การในยุคนี้ ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น กล่าวคือ เป็นรถจักรที่มีขนาดใหญ่ มีประสิทธิภาพสูง มีแรงลากจูงหรือพลังงานสูง และมีความเร็วสูงขึ้นด้วย ทั้งนี้ได้กำหนดมาตรฐานของตัวรถจักร รถลำเลียง และอุปกรณ์ไว้เป็นหลักในการจัดหา เพื่อให้รถจักรมีคุณลักษณะที่เหมาะสมกับการใช้การและใช้การซ่อมบำรุงรักษาได้เป็นไปโดยสะดวก อนึ่ง แม้ว่ารถจักรเหล่านี้สร้างโดยบริษัทผู้สร้างต่างๆ กันก็ตาม แต่มีลักษณะและคุณลักษณะคล้ายคลึงกัน มีความสามารถใกล้เคียงกัน รถจักรชนิดต่างๆ ที่จัดหามาจากผู้สร้างรายเดียวกันก็กำหนดให้อุปกรณ์บางอย่าง อาทิ หม้อน้ำ และอุปกรณ์บางอย่างใช้สับเปลี่ยนระหว่างกันได้ ทำให้สะดวกต่อการซ่อมบำรุงและการจัดหาอุปกรณ์อะไหล่

Click on the image for full size
(กรุณา click เพื่อขยายภาพตารางด้วยนะครับ)

ตามบัญชีที่ 2 จะเห็นได้ว่าทางการได้จัดหารถจักรมาใช้การเป็นแบบรถกำลัง มีรถลำเลียงพ่วงและมีอยู่เพียง 4 ชนิดเป็นส่วนใหญ่ คือ.-


Last edited by black_express on 23/07/2011 7:18 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 23/07/2011 3:35 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

1. ชนิดมิกาโด (2-8-2) ใช้ทำการลากจูงขบวนรถสินค้าหนักทั้งในทางราบและทางภูเขา รถรวมในทางภูเขา และรถรวมขนาดหนักทั้งในทางราบและภูเขา เพราะมีล้อกำลังขนาดเล็กและมีจำนวนมาก ทำให้มีแรงฉุดสูง

Click on the image for full size

2. ชนิดแปซิฟิค (4-6-2) ใช้ทำการลากจูงขบวนรถโดยสารทั้งด่วนและเร็ว รถรวมขนาดเบาในทางราบ เพราะมีล้อกำลังขนาดโต และมีจำนวนน้อยกว่า ทำให้สามารถลากจูงขบวนรถได้เร็ว

Click on the image for full size

3. ชนิดคอนโซลิเดชั่น(2-8-0) ใช้ทำการลากจูงขบวนรถรวม รถสินค้าในทางภูเขา โดยเฉพาะทางรถไฟสายเหนือจากอุตรดิตถ์ถึงเชียงใหม่ ซึ่งมีแนวทางวางผ่านภูเขาเกือบตลอดทาง มีส่วนที่เป็นทางลาดชันมาก โดยบางตอนมีทางลาดชันสูงสุดถึง 25 ใน 1,000

Click on the image for full size

4. รถกำลัง 2 เครื่องต่อกัน (Articulated Locomotive) ชนิดการัต (2-8-2+2-8-2) ได้แก่รถรุ่น 451 เป็นรถจักรอีกชนิดหนึ่งที่กรมรถไฟได้นำมาใช้ลากจูงขบวนรถสินค้าหนักในทางภูเขาสายตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนแก่งคอย – ปากช่อง ซึ่งมีทางลาดชันสูงสุด 24 ใน 1,000 รถแบบการัตนี้เป็นรถจักรที่เหมาะสมที่จะใช้การในทางภูเขา โดยถือได้ว่านำเอารถชนิดมิกาโด 2 คันมาพ่วงต่อกันนั้นเอง แต่ใช้พนักงานรถจักรชุดเดียว ทำให้รถจักรมีแรงฉุดมาก คุณลักษณะอื่นๆ คือมีหม้อน้ำขนาดใหญ่ผลิตไอน้ำได้มาก ใช้ไอดงโดยมีอุปกรณ์ดงไอจามระบบของชมิดท์ การกลับคันเปลี่ยนอาการใช้บังคับโดยเครื่องกลไอน้ำแทนที่จะบังคับด้วยมือ และถจักรที่ซื้อภายหลัง 2 คันนั้น ได้รับการปรับปรุงแก้ไขส่วนประกอบบางอย่างให้ดีขึ้นเป็นต้นว่า ติดตั้งอุปกรณ์ Thermic Syphon แบบ Nicholson สำหรับช่วยให้ไอน้ำเกิดได้เร็ว และมีประสิทธิภาพดี ขยายเตาไฟให้กว้างขึ้น เพื่อจะได้อำนวยความร้อนให้ได้มาก

ในด้านเทคนิคการสร้างรถจักรข้างต้นปรากฎว่า ตัวรถกำลังของรถจักรที่สร้างในสหรัฐและญี่ปุ่น มีลักษณะตัวโครงประธานเป็นชนิดโครงท่อน (Bar type) ตามวิธีของอเมริกัน ซึ่งแตกต่างไปจากรถจักรที่สร้างโดยบริษัทในทวีปยุโรป ซึ่งนิยมออกแบบโครงประธานมีลักษณะเป็นโครงแผ่น (Plate type)
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 23/07/2011 3:40 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

เกี่ยวกับเรือนสูบของตัวรถจักรชนิดต่างๆ โดยทั่วไปเป็นแบบสองสูบ ซึ่งติดตั้งอยู่ภายนอกโครงประธานข้างละสูบ แต่มีรถจักรมิกาโด เลขที่ 303-306 รถจักรแปซิฟิค รุ่นเลขที่ 226-251 และรุ่น 260-282 เป็นแบบ 3 สูบ ซึ่งติดตั้งอยู่ภายนอกโครงประธานข้างละสูบ และตรงกลางระหว่างโครงประธานอีก 1 สูบ ทั้งนี้จะเห็นได้ว่ารถจักร 3 สูบมีข้อดีกว่ารถจักร 2 สูบ เนื่องด้วยมีแรงหมุนคงที่ ทั้งอำนวยแรงฉุดให้ได้มากที่สุดที่จะทำให้เกิดผลเสียหายแก่ทางน้อยที่สุด แต่มีข้อเสียคือไม่สะดวกต่อการซ่อมบำรุง

Click on the image for full size

รถจักรชนิดมิกาโดรุ่นเลขที่ 380-447 และชนิดแปซิฟิครุ่นเลขที่ 283-292 สร้างโดยบริษัทต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่น ในนามของสมาคมผู้สร้างรถจักรแห่งประเทศญี่ปุ่น ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่ารถรุ่นอื่นๆ ตามความก้าวหน้าของวิชาวิศวกรรมรถจักร อาทิ ได้มีการติดเครื่องสูบน้ำสำหรับชักน้ำเข้าหม้อ เฉพาะรถจักรชนิดแปซิฟิคยังมีกระบังควัน (Smoke Deflector) ติดตั้งไว้ด้วย รถลำเลียงก็ได้ขยายความจุในการบรรทุกน้ำและฟืนมากขึ้น ปรากฎว่ารถจักรรุ่นนี้มีประสิทธิภาพในการใช้การดีกว่ารถจักรรุ่นก่อนๆ

และเป็นรถจักรรุ่นสุดท้ายที่จัดหามาใช้ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 และภายใน 50 ปีที่การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ก่อกำเนิดขึ้น


Click on the image for full size

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 กรมรถไฟได้ประสบความเสียหายในบริภัณฑ์รถไฟและสิ่งปลูกสร้างเป็นอย่างมาก เมื่อสงครามได้ยุติลง จึงปรากฎว่ากรมรถไฟขาดแคลนรถจักรและล้อเลื่อนที่จะมาใช้การรับใช้ประชาชนตามสถานะเดิมต่อไป ดังนั้นในปี พ.ศ.2489 ด้วยความเอื้อเฟื้อของสหประชาชาติได้จำหน่ายรถจักรไอน้ำที่เหลือใช้จากสงครามให้แก่กรมรถไฟจำนวน 68 คัน (รุ่นเลขที่ 380-447) เพื่อบรรเทาการขาดแคลนดังกล่าว รถจักรเหล่านี้เป็นชนิดมิกาโด (2-8-2) ซึ่งเรียกกันโดยเฉพาะในวงการของสหประชาชาติว่ารถจักร “แมคอาเธอร์” เป็นรถจักรที่สร้างโดยบริษัทต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา ตามรายการจำเพาะที่กำหนดขึ้นโดยทางการทหารแห่งสหรัฐ

นอกจากนี้ยังได้รับรถจักรที่เหลือใช้จากสงครามของฝ่ายญี่ปุ่น ซึ่งนำมาใช้การในเอเซียอาคเนย์นี้ 50 คัน คือ รถจักรญี่ปุ่น รุ่นเลขที่ 701-746 (C-56) และ รุ่นเลขที่ 761- 764 (C-58)และเป็นรถจักรของการรถไฟสหพันธรัฐมลายู ซึ่งฝ่ายญี่ปุ่นนำมาใช้การในประเทศไทยระหว่างสงครามอีก 18 คัน คือรุ่นเลขที่ 801 (เจ้าของเดิมเรียกว่ารุ่น “P”)
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 23/07/2011 3:51 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

ต่อมาในปี พ.ศ.2492 ตามโครงการบูรณะกิจการรถไฟ ทางการได้จัดซื้อรถจักรไอน้ำจากผู้สร้างต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่น 50 คัน และในปีถัดไปอีก 50 คัน เป็นรถจักรแบบมิกาโดและแปซิฟิค เหมือนกันกับรถจักรที่เคยซื้อจากประเทศญี่ปุ่นเมื่อก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ดังกล่าวข้างต้น แต่ได้มีการปรับปรุงบางสิ่งให้เหมาะสมขึ้นอีก

รถจักรจำนวน 100 คันนี้ อาจจะถือได้ว่าเป็นรถจักรไอน้ำรุ่นสุดท้ายที่จะมีใช้การในการรถไฟแห่งประเทศไทยโดยที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการรถไฟฯ มีนโยบายที่จะนำเอารถจักรดีเซลมาใช้การแทนรถจักรไอน้ำ

ในระยะเวลาประมาณ 3 ใน 4 ของศตวรรษ รถจักรไอน้ำได้รับการปรับปรุงโดยเฉพาะอุปกรณ์ต่างๆ เป็นไปตามการปรับปรุงหลายรายการ จากการประดิษฐ์คิดค้นของนักประดิษฐ์ ในด้านสมรรถนะการใช้การนั้น แม้ว่าตัวรถจักรจะได้รับการปรับปรุงให้มีขนาดใหญ่และประสิทธิภาพดีขึ้นก็ตาม แต่ก็กระทำได้ภายในขอบเขตที่จำกัด เนื่องจากทางรถไฟของการรถไฟฯ มีขีดจำกัดความสามารถในการรับน้ำหนักรถได้เพียง 10.5 เมตริกตันต่อเพลาในขณะนั้น ถ้าหากว่ามีสูงกว่านั้นแล้ว สมรรถนะของรถจักรย่อมจะสูงขึ้น เช่น ลากจูงรถได้มาก มีความเร็วสูงขึ้น และมีรัศมีทำการไกล


Click on the image for full size

ตั้งแต่เริ่มต้นตลอดมา รถจักรไอน้ำเหล่านี้ใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง จึงอาจนับได้ว่าการรถไฟฯ เป็นผู้ใช้ไม้ฟืนรายใหญ่รายหนึ่งของประเทศ แต่ก็ไม่เป็นสิ่งที่พึงภูมิใจ เพราะป่าไม้ที่เป็นทรัพยากรของชาตินับวันจะร่อยหรอลงไปเนื่องจากนำไปใช้เป็นฟืน การรถไฟฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญที่จะสงวนป่าไม้ของชาติสมทบกับเหตุผลอื่นๆ จึงได้กำหนดแผนการเลิกใช้รถจักรไอน้ำเสียทั้งสิ้น โดยใช้รถจักรดีเซลแทน ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

รถจักรไอน้ำซึ่งได้รับใช้และทำประโยชน์ให้แก่มนุษยชาติในด้านขนส่งทางรถไฟ นับวันจะหมดไปจากการรถไฟไทย รวมทั้งจากโลก เพราะการรถไฟในนานาประเทศก็ได้เลิกใช้การรถจักรไอน้ำเช่นกัน

คงเหลือเป็นอนุสรณ์ให้เห็นและระลึกถึงคือการเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ รวมทั้งเก็บไว้ตามสถานีใหญ่ตามรายทางดังที่การรถไฟฯ ได้ปฏิบัติอยู่ในปัจจุบันนี้ อาจเป็นเรื่องที่น่าเสียใจของบรรดาผู้เป็นมิตรของกิจการรถไฟที่ต่อไปจะไม่ได้เห็นรถจักรไอน้ำที่เข้มแข็ง มีพลัง แต่สวยงาม มีสมญาว่า “ม้าเหล็ก” ทำงานรับใช้ประชาชนต่อไป รถจักรไอน้ำอาจจะลดความประทับใจลงอย่างมากกับผู้ที่เคยใช้การ คือ คนรถไฟ เพราะรถจักรไอน้ำได้ช่วยทำให้เกิดความรู้สึกทางใจต่อเขาเหล่านั้นซึ่งเป็นผู้คลุกเคล้าวินัย จิตใจที่ร่วมกันทำงานเป็นทีม การให้ความเอาใจใส่และการอุทิศตนในการทำงาน อย่างไรก็ตาม การที่ได้ยอมรับกันทั่วไปในโลกว่า รถจักรไอน้ำคือสัญญลักษณ์ของกิจการรถไฟนั้น คงเป็นสิ่งระลึกถึงกันต่อไป.


........................

ขอขอบคุณ

- การรถไฟแห่งประเทศไทย

- ฝ่ายการช่างกล การรถไฟแห่งประเทศไทย

- หนังสือ "งานฉลองรถไฟหลวงครบ 50 ปี" กรมรถไฟ พ.ศ.2490

- หนังสือ "อนุสรณ์ครบรอบ 72 ปี การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2439 - 2512"

- หนังสือ "รถจักรและรถพ่วงประวัติศาสตร์" การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2534
Back to top
View user's profile Send private message
anusorn
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 04/09/2006
Posts: 1642
Location: มณฑลอาคเนย์

PostPosted: 23/07/2011 4:15 pm    Post subject: Reply with quote

น่าเสียดายที่รถจักรไอน้ำสวยๆ อย่าง McArther มีซากหลงเหลือเพียงแค่โครงหลังคา Cab กับ Tender เท่านั้น กับภาพสีในความทรงจำ Cool
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 23/07/2011 4:39 pm    Post subject: Reply with quote

"แม็คอาเธอร์"หุ่นหล่อครับ แต่ผอมบางไปหน่อย Razz และเคยเห็นตัวเป็นๆ ที่วิ่งใช้งานได้ ทำขบวนรถสินค้าจอดรอทางสะดวกที่สถานีนครสวรรค์

Last edited by black_express on 28/07/2011 12:41 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
alderwood
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 10/04/2006
Posts: 6593
Location: กรุงเทพ-ราชสีมา

PostPosted: 23/07/2011 4:46 pm    Post subject: Reply with quote

^ ซากที่ธบ.ตอนนี้ ก็โดนชำแหละจนแทบไม่เหลือเป็นโครงแล้วครับ
=====================================
รถจักรไอน้ำรุ่นหลังสงครามนั้น ทั้งมิกาโด้ และแปซิฟิค ถ้าจำไม่ผิดจะสั่งซื้อมาอย่างละ 50 คัน แต่เกิดเปลี่ยนแปลง จัดซื้อมิกาโด้ 70 คัน และแปซิฟิค 30 คันครับ โดยแปซิฟิค 30 คันนั้น ทางญี่ปุ่นจะจัดขายให้อีก 5 คัน เพื่อเป็นรถอะหลั่ย แต่ทางการรถไฟมิได้จัดซื้อมาด้วย ทั้ง 5 คันที่เหลือจึงขายไปอยู่ประเทศ Jordan ครับ
_________________
รักรถไฟมั่นใจโคปเตอร์ || Railway Racing Team || Korat Spotter
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website MSN Messenger
bleach
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 05/07/2010
Posts: 50
Location: บางปู สมุทรปราการ

PostPosted: 23/07/2011 6:23 pm    Post subject: Reply with quote

น่าเสียดายนะครับ รถจักรไอน้ำแต่ละคันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ทั้งสิ้น

ของคุณที่แบ่งปันความรู้นะครับ
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
schoolvan9
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 03/06/2010
Posts: 23

PostPosted: 23/07/2011 8:07 pm    Post subject: Reply with quote

ขอพระคุณครับ...สำหรับความรู้ใหม่ Very Happy
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page 1, 2, 3  Next
Page 1 of 3

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©