View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 27/07/2011 11:01 pm Post subject: เรื่องน่ารู้ : รถดีเซลรางที่เคยใช้การใน รฟท. |
|
|
สวัสดีครับ...
นอกจากรถจักรไอน้ำ และรถจักรดีเซลที่ได้มาเป็นกำลังหลักในการลากจูงขบวนรถบนเส้นทางรถไฟของไทยจนถึงปัจจุบันแล้ว ยังมีรถดีเซลรางอีกประเภทหนึ่ง ได้มีส่วนในการขนส่งผู้โดยสารโดยเฉพาะจากชานเมืองเข้ามาทำงาน หรือเดินทางเข้าสู่กรุงเทพฯ อีกด้วย
ถึงแม้ว่ารถดีเซลรางในยุคก่อนโน้น หลายรุ่น หลากขบวน ได้สูญหายไปกับกาลเวลา ถึงจะมีวิ่งบริการ ก็จะถูกปรับปรุงใหม่แทบทั้งหมด เพื่อยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานออกไป เรามาดูสิว่า รถดีเซลรางรุ่นแรกๆ นั้น การรถไฟฯ ได้นำเข้ามาบริการได้อย่างไร เผื่อบางคน อาจนึกภาพแห่งความหลังเมื่อนั่งรถดีเซลรางรุ่นดังกล่าวขึ้นมาได้บ้างนะครับ...
.........................
รถดีเซลราง
ฝ่ายการช่างกล การรถไฟแห่งประเทศไทย
เมื่อ พ.ศ.2470 กรมรถไฟได้นำเอารถโดยสารโบกี้ขับเคลื่อนด้วยตนเอง โดยเครื่องกลไอน้ำ เรียกว่า โบกี้กลไฟ มาใช้การ เป็นรถที่สร้างโดยบริษัท บอลด์วิน แห่งสหรัฐอเมริกา มีลักษณะคล้ายคลึงกับรถจักรไอน้ำ แต่บรรทุกคนโดยสารได้ด้วย รถชนิดนี้กล่าวได้ว่าเป็นการแผ้วทางในการนำเอารถโดยสารที่มีเครื่องยนต์ขับเคลื่อนด้วยตนเอง เรียกว่า รถยนต์ราง มาใช้การจำนวนหนึ่งถัดมา และในระยะต่อมาจนถึงปัจจุบัน เป็นรถโดยสารที่มีเครื่องยนต์ดีเซลขับเคลื่อน เรียกว่า รถดีเซลราง (Diesel Railcar)
รถดังกล่าวข้างต้น เดิมทีนำมาใช้เดินรับส่งคนโดยสารในระยะทางใกล้ๆ โดยหยุดรับส่งคนโดยสารตามรายทาง (มีป้ายเป็นเครื่องหมายบอกไว้) ระหว่างสถานีด้วย ภายหลังต่อมา ได้ระงับการหยุดรับคนโดยสารตามรายทางระหว่างสถานี คงหยุดทุกสถานีและที่หยุดรถ และได้กำหนดให้เดินทางในระยะไกลปานกลางระหว่างเมือง (Inter city) อีกด้วย
รถดีเซลรางที่นำออกใช้การในกรมรถไฟในปี พ.ศ.2475 มีหมายเลข 11 ถึง 16 เป็นรถที่ประกอบไปด้วยรถกำลัง 1 คัน ขับเคลื่อนด้วยระบบดีเซลไฟฟ้าซึ่งติดตั้งอยู่บนรถส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งเป็นห้องคนโดยสารและมีห้องขับอยู่ตอนหัวรถที่นำทาง (ด้านห้องเครื่อง) และพ่วงตามด้วยรถโดยสารอีก 1 คัน
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง รถดีเซลรางทั่วไปได้รับการพัฒนามาเป็นอย่างดี มีสมรรถนะสูง ให้ความคล่องตัวในการใช้การ สามารถที่จะวิ่งได้ในความเร็วสูงกว่า 80 กม./ชม. และสามารถที่จะทวีความเร็วให้ถึงอัตราเร็วสูงสุดนี้ได้ในระยะเวลาอันสั้น ตัวรถสามารถสร้างให้มีน้ำหนักเบา แต่มีกำลังเครื่องยนต์สูง และสามารถที่จะนำเอารถกำลังหลายคันมาพ่วงต่อกันเป็นขบวนที่ยาวโดยแต่ละคันต่างก็จะออกแรงทำการเต็มที่ตามความสามารถของตน
เหล่านี้ จึงเป็นคุณสมบัติประจำของรถดีเซลรางที่จะบรรทุกคนโดยสารจำนวนมากวิ่งได้ ณ ความเร็วสูง โดยจะหยุดตามสถานีรายทางทุกสถานีหรือไม่ก็ตาม เป็นที่นิยมนำมาใช้การในการรถไฟบางประเทศใช้การเป็นขบวนรถที่วิ่งในระยะใกล้ รับส่งคนโดยสารทุกสถานีบ้าง เป็นขบวนรถวิ่งในระยะทางไกลปานกลาง ซึ่งจะนำเอาขบวนรถโดยสารที่ลากจูงโดยรถจักรมาใช้การไม่เหมาะสมบ้าง
การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงได้กำหนดไว้ในโครงการบูรณะกิจการรถไฟ ด้วยการจัดหารถดีเซลรางชนิด 2 คันชุด มาใช้การในปี พ.ศ.2503 ก่อน 3 ชุด เพื่อศึกษาผลของการใช้การ ซึ่งก็ได้รับผลเป็นที่พอใจ
จึงได้จัดหาตามมาในปี พ.ศ.2508 อีก 7 ชุด รวมเป็น 10 ชุด ตามโครงการฯ ต่อมาตามโครงการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติสมัยต่างๆ และตามแผนการใช้เครื่องยนต์ดีเซลลากจูงขบวนรถ ได้จัดหารถดีเซลรางชนิด 2 คันชุด มาใช้การในปี พ.ศ.2510 และจะได้จัดหาแบบเดียวกันนี้มาใช้การต่อไปอีกจำนวนหนึ่งตามโครงการฯ และแผนการดังกล่าว
Last edited by black_express on 27/07/2011 11:27 pm; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 27/07/2011 11:06 pm Post subject: |
|
|
รถดีเซลรางที่จัดหามาตามข้างต้น แบบ 2 คันชุดนั้น มีรถกำลังหรือรถดีเซลรางมาติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซลใต้ท้องรถต่อกับอุปกรณ์ผ่านกำลังระบบไฮดรอลิค (แบบดีเซล-ไฮดรอลิค) ซึ่งอยู่ใต้ท้องรถเช่นกัน จึงมีที่สำหรับบรรทุกคนโดยสารได้เต็มคัน และโดยที่สามารถที่จะสร้างรถได้โดยมีน้ำหนักเบา
ฉะนั้น จึงได้กำหนดให้ตัวรถกำลังและรถพ่วงมีความยาวมากกว่ารถโดยสารชั้นที่สามธรรมดาที่มีใช้การมาก่อน ทำให้บรรทุกคนโดยสารเพิ่มได้มากประมาณ 200 250 คน (รวมทั้งยืนด้วย) ต่อรถ 1 ชุด ทั้งเครื่องยนต์ดีเซลก็มีกำลังสูงขึ้นด้วย รถดีเซลรางนี้จึงสามารถวิ่งได้ในอัตราเร็วสูงถึง 85 กม./ชม. รวมทั้งมีอัตราทวีความเร็วสูงด้วย
นอกจากนี้แล้ว ก็ได้ปรับปรุงที่นั่งคนโดยสารด้วย คือได้นำเอาเบาะนั่งมีนวมหุ้มมาใช้แทนที่นั่งไม้ จัดวางที่นั่งให้เหมาะสมที่จะอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารเดินทางระยะใกล้และไกล และได้จัดให้มีที่สำหรับผู้โดยสารยืนได้สะดวกในกรณีที่นำเอารถนี้มาใช้การเป็นรถชานเมืองรับส่งคนโดยสารในระยะใกล้ อนึ่ง ได้จัดให้มีห้องขับทางหัวรถด้านนำทางไว้คันละ 1 ห้อง ทำให้ขับขบวนรถได้ทั้ง 2 ทิศทาง โดยไม่ต้องกลับรถหรือเรียงลำดับรถใหม่
โดยที่เป็นล้อเลื่อนที่ทันสมัย มีความสามารถเหมาะสม มีประสิทธิภาพสูง การบำรุงรักษาไม่ยุ่งยากมาก การนำมาใช้การในลักษณะต่างๆ นอกไปจากชนิด 2 คันชุด เช่นเป็นขบวนรถที่ยาวใช้เดินทางไกล จะกระทำได้โดยสะดวก จึงเป็นที่คาดได้ว่าจะได้รับใช้การพร้อมกับรถจักรดีเซลต่อไปในภายหน้า
การใช้การลากจูงด้วยเครื่องยนต์ดีเซล (Diesel Traction) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้รับการพัฒนาในด้านเทคนิค เป็นไปตามวิวัฒนาการของการออกแบบ การสร้างตัวรถจักร เครื่องยนต์ และอุปกรณ์อื่นๆ จะเห็นได้ว่าการลากจูงด้วยเครื่องยนต์ดีเซล ได้มีการโน้มเอียงไปในทางที่มีกำลังม้าสูงและความเร็วสูงขึ้น เพื่อเป็นการสอดคล้องกับความต้องการในการขนส่งและเดินรถที่ได้พัฒนาไปตามความเจริญของการขนส่งของประเทศ
ในปัจจุบันปรากฎว่า ได้มีการพัฒนาปรับปรุงในด้านการออกแบบ การสร้าง การใช้วิสดุที่เบาจนสามารถที่จะสร้างรถจักรดีเซลและรถดีเซลราง โดยมีกำลังม้าต่อ 1 หน่วยน้ำหนัก (Power/weight ratio) ของตัวรถสูงขึ้นมาก ซึ่งอาจจะนำมาใช้การได้โดยเหมาะสมบนทางรถไฟขนาดกว้าง 1 เมตร ที่มีความสามารถรับน้ำหนักรถจักรได้ไม่สูงนัก ดังที่เป็นอยู่ในการรถไฟฯ ในปัจจุบันนี้.
..........................
ขอขอบคุณ
1. การรถไฟแห่งประเทศไทย
2. ฝ่ายการช่างกล การรถไฟแห่งประเทศไทย
3. หนังสือ "อนุสรณ์ครบรอบ 72 ปี การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2439 - 2512" |
|
Back to top |
|
|
Paniti23
3rd Class Pass (Air)
Joined: 28/09/2007 Posts: 445
Location: พญาไท-ประสานมิตร-องครักษ์
|
Posted: 28/07/2011 12:05 am Post subject: |
|
|
ข้อมูลนี้แน่นจริงๆครับ ขอขอบคุณจริงๆครับผม _________________
Call me "Prince of SWU" |
|
Back to top |
|
|
boatteam
2nd Class Pass (Air)
Joined: 05/04/2010 Posts: 910
Location: แจ้งวัฒนะ หลักสี่ ปากเกร็ด
|
Posted: 28/07/2011 8:12 am Post subject: |
|
|
ขอบคุณข้อมูลดีๆ ที่พี่ตึ๋งนำมาให้ได้รับทราบครับ
_________________ สถานีบ้านเกิดอรัญประเทศ สุดเขตแดนสยามฝั่งตะวันออก |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46988
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 28/07/2011 8:59 am Post subject: |
|
|
ขอบคุณพี่ตึ๋งมากครับสำหรับข้อมูลประวัติศาสตร์
ปริศนาอย่างหนึ่งที่ผมยังหาคำตอบไม่ได้ชัดเจนคือ ในช่วง พ.ศ.2500-2521 นั้น เคยมีการนำรถดีเซลรางมาเดินในสายหาดใหญ่-สงขลาหรือไม่ ถ้ามี เป็นดีเซลรางรุ่นใด
เนื่องจากทางรถไฟสายนี้ ได้ปรับรูปแบบการเดินรถโดยสาร จากเดิมจอดที่สถานีและที่หยุดรถ มาจอดตามป้ายหยุดรถต่าง ๆ แทน |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 28/07/2011 9:03 am Post subject: |
|
|
ขอบคุณครับ ที่ผมค้นนำมาลง เพื่อเป็นฐานข้อมูลเอาไว้ศึกษาต่อยอดกันต่อไปในโอกาสหน้าครับ
มาเพิ่มเติมข้อมูลเกี่ยวกับโบกี้กลไฟอีกเล็กน้อย คือรูปร่างหน้าตาก็คล้ายคลึงกับรถยนต์ราง Frichs นั่นแหละครับ เป็นโบกี้ไม้ หน้าต่างห้องคนขับจะเลื่อนปิดเปิดขึ้น-ลงได้ ภายในห้องเครื่องจะมีเครื่องยนต์ไอน้ำขนาดเล็กตั้งอยู่พร้อมที่วางฟืน เอาไอน้ำสดมาดันลูกสูบ ผ่านข้อเสือมาหมุนล้อขับอีกทีหนึ่ง
นัยว่าไม่ได้รับความนิยม เนื่องจากเครื่องยนต์มีกำลังน้อย กรมรถไฟหลวงจึงได้สั่งรถยนต์รางรุ่นหมายเลข 11 - 16 ใช้เครืองยนต์ดีเซลมาทำการในเวลาต่อมา
ส่วนภาพที่หาดูได้ยากของโบกี้กลไฟรุ่นแรกนี้ มีอยู่ในหนังสือของอีตา remear มีข้อขัดข้องด้านลิขสิทธิ์ ไม่อาจนำมาลงให้ดูได้ครับ
...................................
ส่วนการนำรถดีเซลรางมาวิ่งบนเส้นทางสายสงขลาช่วงปี 2521 นั้น ผมไม่ทราบข้อมูลจริงๆ ครับ อ.หม่อง มีแต่รถจักรดาเวนปอร์ต 500 แรงม้า พ่วง บชส.สามโบกี้วิ่งไปมาเท่านั้น ก่อนเลิกการเดินรถ
เท่าที่สังเกตจากคราวไปเที่ยวหาดใหญ่-สงขลา เมื่อปี 2531 จะมีจุดจอดรถตรงทางตัดต่างๆ เหลือให้เห็นอยู่บ้าง
Last edited by black_express on 28/07/2011 9:59 am; edited 2 times in total |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46988
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 28/07/2011 9:26 am Post subject: |
|
|
มีแต่ข้อมูล"รถยนต์ราง" ยุคเปิดเดินรถใหม่ ๆ ที่พี่ตึ๋งนำข้อมูลที่คุณวิศรุตคัดมาให้ เมื่อ 3 ปีก่อน จากกระทู้นี้ครับ http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=2596&postdays=0&postorder=asc&start=240
ขอนำมาลงไว้ที่นี่ด้วย เพื่อเป็นการรวบรวมข้อมูล ไว้ต่อยอดต่อไปตามวัตถุประสงค์ของกระทู้นะครับ
black_express wrote: | มีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปิดเดินรถยนต์รางระหว่างสถานีหาดใหญ่ไปท่าเรือสงขลา และการย้ายเส้นทางสายสงขลาซึ่งแยกจากชุมทางอู่ตะเภา ไปที่ชุมทางหาดใหญ่ จากสำเนาหนังสือ " เพื่อระฤกถึงพระคุณ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน " ซึ่งคุณวิศรุต คัดมาจาก หจช.
พิมพ์ตามสำนวนเดิมนะครับ...
..........
รายงานประจำปี พระพุทธศักราช ๒๔๖๕
ฯลฯ
การเดินรถยนต์ราง
เพื่อเพิ่มพูนความเจริญและเกื้อกูลการเดินทางระหว่างตำบลใกล้เคียงกับกรุงเทพฯ พระมหานคร กับเพื่อส่งเสริมความสะดวกในการไปมาสำหรับรับส่งผู้โดยสาน สัมภาระที่หิ้วถือได้ระหว่างหาดใหญ่กับสงขลา ได้จัดการเริ่มเดินรถยนต์รางในตอนระหว่างหาดใหญ่กับท่าเรือของการรถไฟที่สงขลาซึ่งตั้งอยู่ที่ทเลในใกล้กับตลาดในเมืองขึ้นก่อนเมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ส่วนในตอนสายรถไฟทางฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยาได้จัดการเดินระหว่างสถานีกรุงเทพฯ กับสถานีคลองรังสิตเมื่อเดือนธันวาคมสืบเวลานั้นมาจนถึงสิ้นปีปรากฏว่า จำนวนรถที่ใช้ในการนี้ไม่เพียงพอกับความต้องการที่จะรับบรรทุก แต่ผลประโยชน์ที่ได้ทำให้เกิดมานะมีความหวังว่า ถ้าเมื่อรถยนต์กับรถพ่วงได้ตกเข้ามาอีกเป็นจำนวนมากแล้ว กรมอาจจะจัดการเดินรถให้ดีขึ้นและมากเที่ยวขึ้นอีก ซึ่งคงจะกระทำให้เกิดประโยชน์รายได้บังเกิดจากผลที่จัดการเดินรถยนต์รางนี้งอกงามเปนอย่างดีโดยมั่นคง
ฯลฯ
( หนังสือ เพื่อระฤกถึงพระคุณ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน โรงพิมพ์กรมรถไฟ ๑๐ , ๗๙ ) |
|
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 28/07/2011 9:38 am Post subject: |
|
|
ขอบคุณ อ.หม่องมากๆ ครับ ที่ช่วยเพิ่มเติมข้อมูลให้
ตามความเข้าใจของผม อาจเป็นรถยนต์รางบอลด์วิน สักชุดหรือสองชุด นำไปวิ่งเส้นทางสายสงขลาก็ได้ แต่มาติดใจตรงที่เส้นทางสายนี้ เวลาจะเลิกใช้การ ก็ปล่อยให้ทิ้งรกร้างไปเฉยๆ หลายสิบปี จนกระทั่งมีผู้บุกรุกเข้าไปอยู่อาศัยเกือบตลอดสาย แก้ไขได้ยากถึงยากมากๆ เลยล่ะ นอกจากรัฐบาลจะลงไปกำกับการรื้อฟื้นเส้นทางเองแบบเบ็ดเสร็จ
ผมเคยได้ยินว่า รถยนต์รางบอลด์วิน ได้ถูกนำไปวิ่งบนเส้นทางสายแม่กลอง ช่วงคลองสาน - รางโพธิ์ ด้วย ก่อนที่รถดีเซลราง "ไทโกกุ" จะสั่งซื้อไปประจำการ |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43772
Location: NECTEC
|
Posted: 28/07/2011 10:08 am Post subject: |
|
|
^^^
ขอแก้ไขหน่อย ปี 2465 -70 ยังใช้รถยนต์ราง 4 ล้อคล้ายๆ กะรถรางที่เดินในสายปากลัด (ตอนแรกปี 2451 ใช้รถรางเครื่องไอน้ำตอนหลัง ตั้งแต่ปี 2464-2465 ใช้เครื่องยนต์เบนซิน) ในปี 2470 กรมรถไฟเห็น กรมรถไฟมลายูใช้รถโบกี้กลไฟ Sentinel ของบอลด์วิน ใช้งานได้ดีนัก ก็คือจะซื้อไว้ใช้ในราชการแทนรถยนต์ราง 4 ล้อ ที่นั่งไม่สบายเท่ารถล้อโบกี้ จึงลองซื้อมาใช้ 1 ชุดรถ (มีภาพในรายงานประจำปี 2470 ด้วย) แต่ก็พบกะปัญหาเครื่องขัดข้องบ่อยๆ
ต่อมาปี 2477 นายช่างอาชว์ กุญชร ณ อยุธยา พบวิธีแก้ไขที่ทำให้ไม่จำเป็นต้องขนไปซ่อมที่มักกะสันทุกครั้งเวลารถขัดข้อง ต่อมาช่วงปี 2486 ก็เอารถโบกี้กลไฟไปใช้งานในทางสายทุ่งสง - กันตัง แทน ....
ส่วนรถยนต์ราง 4 ล้อ ปลดประจำการหมดแต่ปี 2495-96 เลยไม่เหลือซากไว้ให้เราดู |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 28/07/2011 10:15 am Post subject: |
|
|
ขอบคุณเฮียวิศครับ ผมเพิ่งทราบตอนนี้เองว่า รถรางสายปากลัด(พระประแดง) ใช้เครื่องไอน้ำทำการ แทนที่จะใช้ไฟฟ้าเช่นเดียวกับรถรางทั่วไปเสียอีก
เกรงจะยุ่งไปถึงเฮียวิศ ตอนหาภาพโบกี้กลไฟ Sentinel เจ้าที่ว่า กับรถรางสายปากลัดมาให้ดูอีกน่ะสิ...
......................................................
อ้อ...ผมเพิ่งค้นดูภาพโบกี้กลไฟของ The Sentinel Steam Railcars มาให้ดูตาม link ครับ อาจไม่ใกล้เคียง แต่ก็พอมองเค้าออกบ้างน่า
http://www.lner.info/locos/Railcar/sentinel.shtml
Last edited by black_express on 28/07/2011 10:55 am; edited 2 times in total |
|
Back to top |
|
|
|