RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312073
ทั่วไป:13682944
ทั้งหมด:13995017
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 43, 44, 45 ... 284, 285, 286  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44068
Location: NECTEC

PostPosted: 10/08/2011 8:04 pm    Post subject: Reply with quote

บิ๊ก คค.ลั่นงานแรก รถไฟฟ้า 10 สาย ค่าโดยสาร 20 บ.หนุนซิงเกิ้ลแอร์พอร์ต

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 10 สิงหาคม 2554 17:35 น. Share8


บิ๊ก “คมนาคม” คนใหม่ ลั่นงานแรก ทำรถไฟฟ้า 10 สาย ค่าโดยสาร 20 บาท มั่นใจทำได้แน่ เพราะผู้เชี่ยวชาญของ พท.ได้คิดรูปแบบ และประเมินแล้วว่า มีความเป็นไปได้ และเป็นประโยชน์ต่อ ปชช.-ผู้ใช้บริการ ลั่นเดินหน้า “ซิงเกิ้ลแอร์พอร์ต” เพราะสุวรรณภูมิยังใช้ไม่เต็มขีดความสามารถ

พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงการผลักดันนโยบายพรรคเพื่อไทย (พท.) ที่ได้หาเสียงเอาไว้ โดยยืนยันว่า งานแรกที่จะทำเร่งด่วน คือ การดำเนินการในโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าจำนวน 10 สาย ให้ทั่วกรุงเทพมหานคร ( กทม.) และปริมณฑล รวมถึงผลักดันแนวนโยบายการจัดเก็บอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าในราคา 20 บาท ตลอดสายภายใน กทม.

“ผมมั่นใจว่า นโยบายของพรรค พท.ที่ได้ประกาศไว้จะเป็นนโยบายที่สามารถทำได้จริงแน่นอน เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้เรื่องดังกล่าวของพรรคได้คิดรูปแบบ และประเมินแล้วว่ามีความเป็นไปได้ รวมทั้งเป็นประโยชน์ต่อประชาชนผู้ใช้บริการโดยรวม”

นอกจากนี้ ตนเองยังได้สนับสนุนนโยบายสนามบินเดี่ยว (SINGLE AIRPORT) เนื่องจากประเทศส่วนใหญ่ในโลกก็บริหารสนามบินด้วยนโยบายสนามบินเดียว โดยในส่วนของประเทศไทยนั้น เห็นว่า สนามบินสุวรรณภูมิ ยังมีขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสาร รวมทั้งมีแผนจะขยายในอนาคต จึงสามารถรองรับผู้โดยสารภายใต้นโยบายสนามบินเดี่ยวได้ โดยไม่ต้องใช้สนามบินดอนเมือง ควบคู่กันไป

ขณะที่สนามบินดอนเมือง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ แทน พร้อมระบุว่า สนามบินสุวรรณภูมิ ยังใช้ไม่เต็มขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสาร ดังนั้น ควรมีสนามบินแห่งเดียวซึ่งจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย

//---------------------------------------------------------------------------------

โธ่ บิ๊กโอ๋, วันแรกก็ปล่อยไก่เอาซะแล้ว Sad
Back to top
View user's profile Send private message
kikoo
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 01/02/2010
Posts: 1667
Location: มอ.ตรัง และ สถานีตรัง

PostPosted: 10/08/2011 8:11 pm    Post subject: Reply with quote

^
ซิงเกิ้ลแอร์พอร์ต...?

หมายถึงสนามบินหลายๆแห่งใช้นโยบายในการบริหารงานแบบเดียวกัน

หรือ เป็นนโยบายที่ให้ใช้สนามบินเพียงแห่งเดียวในประเทศ...?

Rolling Eyes Question
_________________
ความคืบหน้าโครงการปรับปรุงทางช่วงที่วัง-กันตัง
http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=5618
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44068
Location: NECTEC

PostPosted: 10/08/2011 8:58 pm    Post subject: Reply with quote

^^^
เรื่องนี้ไม่น่าถามให้เสียเวลาเลย - คือ เขาอยากจะปิดดอนเมืองเป็นการถาวร เชื่อเหอะ เจ้าเก่ง นักเลงย่านดอนเมือง และ ทหารแตงโมทำท่าจะไม่พอใจบิ๊กโอ๋ เป็นแน่เพราะ ขัดลาภอย่างแรกและ หักหลัง ผู้ลงคะแนนเสียง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44068
Location: NECTEC

PostPosted: 18/08/2011 5:21 pm    Post subject: Reply with quote

“สุพจน์” ชงแคมเปญ “รถไฟฟ้า 20 บ.” หนุนรายได้เพิ่ม-ไม่ต้องจ่ายชดเชย
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 18 สิงหาคม 2554 15:03 น.
จัดระบบรถไฟฟ้า 20ตลอดสาย ชงรัฐ3เดือนรู้ผล
โดยทีมข่าวเศรษฐกิจ
ไทยรัฐออนไลน์
18 สิงหาคม 2554 14:00 น.


ปลัด “สุพจน์” เตรียมชงแคมเปญ “รถไฟฟ้า 20 บาท” ตลอดสาย นำร่อง “บีทีเอส-เอ็มอาร์ที” ก่อนเชื่อมโยงโครงข่ายเข้าด้วยกัน คาด มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นในระบบอีก 3 แสนเที่ยว/วัน จากปัจจุบันที่มีผู้โดยสารรวม 5.9 แสนเที่ยว/วัน ส่งผลให้เอกชนมีรายได้เพิ่ม ภาครัฐไม่จำเป็นต้องเข้ามาจ่ายเงินชดเชย

นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลมีนโยบายที่จะส่งเสริมการเดินทางโดยระบบรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้น โดยจะกำหนดราคาค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย เพื่อจูงใจผู้ใช้บริการนั้น เรื่องนี้กระทรวงคมนาคมจะสรุปกรอบการดำเนินการประเด็นดังกล่าวก่อนที่ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จะเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขอความเห็นชอบ หลังจากนั้นจะมีการเจรจากับเอกชนผู้ให้บริการรถไฟฟ้าทั้ง 2 ระบบ คือ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส และบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีเอ็มซีแอล คาดว่ากระบวนการทั้งหมดจะมีความชัดเจนใน 2-3 เดือนข้างหน้า

สำหรับความเป็นไปได้ที่จะมีการจัดเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายนั้น กระทรวงคมนาคมแบ่งออกเป็น 2 แนวทาง คือ

1.เมื่อ ครม.เห็นชอบและมีความชัดเจนเรื่องแหล่งเงินทุนที่จะมาชดเชยรายได้ที่เอกชนต้องสูญเสียไป ซึ่งเรื่องการชดเชยนี้กระทรวงการคลัง จะเป็นผู้กำหนดที่มาของงบประมาณ ก่อนจะเสนอให้สภาพัฒน์ให้ความเห็นชอบ ถ้ากระบวนการทั้งหมดแล้วเสร็จ ก็จะดำเนินการในรูปแบบแรก คือ การนำระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน ของบีเอ็มซีแอล มาเชื่อมต่อการคิดค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายกับระบบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ และ

2.นอกจากการนำรถไฟฟ้าใต้ดินกับแอร์พอร์ตลิงก์มารวมกันแล้ว ก็จะเจรจากับผู้บริหารบีทีเอส เพื่อนำบีทีเอสเข้ามารวมเป็นโครงข่ายในการเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายด้วย

ส่วนประเด็นเรื่องการชดเชยรายได้ให้แก่เอกชนนั้น โดยหลักเกณฑ์จะเป็นการชดเชยในส่วนของรายได้ที่ลดลงของเอกชน จากรายได้ปกติ เช่น เมื่อเอกชนทั้งหมดเข้าร่วมโครงการ และมีรายได้ลดลงจากวันละ 20 ล้านบาท ลงเหลือ 18 ล้านบาท เมื่อมีการเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย ภาครัฐก็จะเข้ามาชดเชยเงิน 2 ล้านบาทที่ลดลง ซึ่งในส่วนของกระทรวงคมนาคมคิดว่าเงินที่ต้องมาชดเชย เมื่อเทียบกับประโยชน์ที่ได้รับจากการจูงใจผู้ใช้รถยนต์ส่วนตัวมาใช้ระบบราง สามารถประหยัดเชื้อเพลิงลงได้ เงินที่ชดเชยก็ถือว่าคุ้มค่า

ทั้งนี้ ปลัดกระทรวงคมนาคม ยังเปิดเผยถึงผลการศึกษา โดยคาดว่า จะมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นในระบบอีก 3 แสนเที่ยวต่อวัน จากปัจจุบันที่มีผู้โดยสารรวม 5.9 แสนเที่ยวต่อวัน จะทำให้เอกชนมีรายได้เพิ่ม ทำให้ภาครัฐไม่จำเป็นต้องเข้ามาจ่ายเงินชดเชย

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ กลุ่มบีเอ็มซีแอล ผู้บริหารรถไฟฟ้าใต้ดินเอ็มอาร์ที ช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ ได้ตอบรับเข้ามาแล้ว คาดว่าจะได้ความชัดเจนหลังรัฐบาลแถลงนโยบายต่อรัฐสภา และจะเริ่มดำเนินการต่อไปในอีก 2-3 เดือน

ทั้งนี้ ปัจจุบัน จากการติดตามตัวเลขผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าทั้งบีทีเอส และบีเอ็มซีแอล เพิ่มขึ้นจาก 590,000 คน เป็น 900,000 คน หรือเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 50 และมีรายได้เพิ่มขึ้นราวร้อยละ 30-40 หรือประมาณ 18 ล้านบาท ซึ่งสาเหตุสำคัญมาจากความสะดวก ในการใช้บริการรถไฟฟ้า และราคาค่าโดยสารใกล้เคียงกับค่าโดยสารรถเมล์ ซึ่งจะทำให้ผู้โดยสารหันมาใช้รถไฟฟ้ามากขึ้น

ในขณะที่รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์ ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการเฉลี่ยวันละ 30,000-40,000 คน ทั้งซิตี้ไลน์และแอร์พอร์ตเอ็กซ์เพรส และหากเข้ามาร่วมในระบบคิดค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายก็จะมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่วันละ 60,000 คน

ส่วนประเด็นเรื่องการชดเชยรายได้ให้แก่เอกชนนั้น โดยหลักเกณฑ์ จะเป็นการชดเชยในส่วนของรายได้ที่ลดลงของเอกชน จากรายได้ปกติ เช่น

เมื่อเอกชนทั้งหมดเข้าร่วมโครงการ และมีรายได้ลดลงจากวันละ 20 ล้านบาท ลงเหลือ 18 ล้านบาท เมื่อมีการเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย ภาครัฐก็จะเข้ามาชดเชยเงิน 2 ล้านบาทที่ลดลง ซึ่งในส่วนของกระทรวงคมนาคม คิดว่า เงินที่ต้องมาชดเชย เมื่อเทียบกับประโยชน์ที่ได้รับจากการจูงใจผู้ใช้รถยนต์ส่วนตัวมาใช้ระบบราง สามารถประหยัดเชื้อเพลิงลงได้ เงินที่ชดเชยก็ถือว่าคุ้มค่า ส่วนการเชื่อมต่อระบบด้วยระบบตั๋วร่วมนั้นขณะนี้ ทั้งบีทีเอส และบีเอ็มซีแอล อยู่ระหว่างการพัฒนาตั๋วร่วมด้วยกัน ซึ่งจะสอดคล้องกับนโยบายกระทรวงคมนาคมที่จะเชื่อมโยงรถไฟฟ้าทั้งหมดเป็นโครงข่ายเดียวกัน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47463
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/08/2011 3:08 pm    Post subject: Reply with quote

จุดเปลี่ยน “กรุงเทพฯ” ผุดผังเมืองที่ดีที่สุดในเอเชีย ขนาดญี่ปุ่นยังชิดซ้าย-สิงคโปร์ยังชิดขวา!
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 19 สิงหาคม 2554 11:27 น.
โดย...รัชญา จันทะรัง

เมื่อกรุงเทพมหานคร (กทม.) ถึงคราวที่ต้องจัดทำแผนแม่บทในการพัฒนาเมือง หลังจากที่กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2549 หรือผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 2) สิ้นสุดการบังคับใช้ลงเมื่อวันที่ 15 พ.ค.2554 แต่ กทม.ได้ขยายระยะเวลาออกไปจนสิ้นสุดการบังคับใช้ในวันที่ 15 พ.ค.2555 ซึ่งในระหว่างนี้ กทม.จะต้องดำเนินการวางแผนและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 3) ให้แล้วเสร็จ เพื่อให้มีผลบังคับใช้อย่างต่อเนื่องหากฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง

ผศ.ดร.นพนันท์ ตาปนานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะผู้จัดการโครงการวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 3) ระบุว่า เรากำลังจะเปลี่ยนให้ กทม.ใช้ระบบรางเป็นหลักมากขึ้น และนับตั้งแต่สนามบินสุวรรณภูมิ มีการเปิดใช้ จะเห็นได้ว่า ทิศทางของเมืองเปลี่ยนไป โดยเฉพาะระบบขนส่งมวลชนที่เห็นได้อย่างชัดว่า มีผลต่อการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เพราะเมื่อเกิดรถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดิน ก็ก่อให้เกิดการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่มากมาย ซึ่ง 60% ของการก่อสร้างมักอยู่ตามแนวเส้นทางขนส่งมวลชนระบบราง ดังนั้น ร่างผังเมืองฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 นี้ จะมีการปรับเปลี่ยนการใช้ที่ดินให้สัมพันธ์กับระบบรางที่มีอยู่ในขณะนี้ และที่จะเกิดขึ้นในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยจะมีผลบังคับใช้ในปี 2555-2560 เช่น การปรับปรุงบริเวณจุดเชื่อมต่อที่สถานีหัวหมาก, สถานีลาดกระบัง ตามแนวรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์

“โจทย์ของการวางผังเมืองครั้งนี้ คือ ปัญหาจราจรซึ่งแต่เดิมเราเป็นเมืองน้ำ ต่อมาเป็นเมืองรถ และในอนาคตเราจะปรับเปลี่ยนมาใช้ระบบราง ซึ่งขณะนี้คนกรุงเทพฯกำลังเริ่มเรียนรู้การเปลี่ยนแปลง”

ผู้จัดการโครงการ อธิบายต่อว่า ในร่างผังเมืองฉบับนี้จะมี 8 พื้นที่หลัก ที่จะมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินจากเดิม คือ
1.พื้นที่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แจ้งวัฒนะ ที่แต่เดิมอยู่อาศัยน้อย ก็ปรับปรุงให้ก่อสร้างอาคารได้หนาแน่นมากขึ้น

2.พื้นที่บริเวณรามอินทรา กม. 8 และบริเวณจุดตัดถนนวงแหวนรอบนอกและถนนรามอินทรา ที่จะเป็นย่านศูนย์ชุมชนเพื่อรองรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู และสายสีส้ม ช่วงมีนบุรี-ตลิ่งชัน ปรับจากที่ดินประเภทที่เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย เป็นที่ดินที่ประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก และที่ดินประเภทพาณิชยกรรม

3.บริเวณรามคำแหง พระราม 9 ได้ปรับเปลี่ยนที่ดินประเภทที่เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย เป็นที่ดินที่ประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก และที่ดินประเภทพาณิชยกรรม

4. บริเวณสถานีหัวหมาก ของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ สามารถพัฒนาเป็นศูนย์เปลี่ยนถ่ายการเดินทางได้ เนื่องจากจะมีรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง พาดผ่าน

5.การพัฒนาที่ดินบริเวณสุขุมวิท ช่วงอุดมสุข-แยกบางนา ซึ่งจะมีรถไฟฟ้าระบบโมโนเรล ออกไปยังถนนบางนา-ตราด และยังมีรถไฟฟ้าบีทีเอสส่วนต่อขยาย สายสีเขียวอ่อนนุช-แบริ่ง เปิดให้บริการ ซึ่งจะส่งผลให้พื้นที่ขยายตัวขึ้นเหมาะที่จะเป็นพื้นที่เชิงพาณิชยกรรม

6.ศูนย์ชุมชนชานเมืองตลิ่งชัน เนื่องจากมีรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน

7.บริเวณวงเวียนใหญ่ ที่จะมีศักยภาพการพัฒนามีรถไฟฟ้า 3 สาย ผ่านในพื้นที่ คือ สายสีเขียว ที่วิ่งอยู่แล้วในปัจจุบัน และรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงราษฎร์บูรณะ-บางซื่อ และรถไฟชานเมืองสายสีแดง ที่จะก่อสร้างแล้วเสร็จในเร็วๆ นี้ และ

8.ย่านถนนพุทธมณฑล ตลิ่งชัน ซึ่งเดิมเป็นพื้นที่รับน้ำของกรุงเทพฯฝั่งตะวันตก แต่ในผังฉบับนี้ มองว่า ในพื้นที่ดังกล่าวมีโครงข่ายถนนและสาธารณูปโภคที่มีความสมบูรณ์มากที่สุดในกรุงเทพฯ อยู่ใกล้เมืองและในอนาคตจะมีรถไฟชานเมืองสายสีแดง และสายสีน้ำเงิน จึงได้ปรับเปลี่ยนเป็นที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยมีคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อม

“หากร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 สำเร็จเป็นได้ดั่งที่ตั้งใจไว้จะเป็นผังเมืองที่ดีที่สุดในเอเชีย ดีกว่าการวางผังเมืองของประเทศญี่ปุ่น หรือประเทศสิงคโปร์ แต่คนจะปฏิบัติได้หรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง”ผศ.ดร.นพนันท์ กล่าว

อาจารย์นพนันท์ ให้เหตุผลสนับสนุนว่า ประเทศญี่ปุ่น อย่างเมืองนาโงยา (Nagoya) ที่มีการวางผังเมืองใหม่ เนื่องจากได้รับความเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งสามารถพัฒนาเมืองได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้เครื่องมือการจัดรูปที่ดิน ปรับเปลี่ยนพื้นที่เกษตรกรรมเป็นพื้นที่เมืองด้วยการตัดถนน รื้อถอนกรรมสิทธิ์ที่มีการครอบครองอยู่เดิมแล้วนำมาจัดสรรแปลงใหม่โดยไม่ทำให้ประชาชนเกิดความรู้สึกว่าถูกเวนคืนที่ดินจึงทำให้ตัวเมืองนาโงยาถูกจัดวางเป็นบล็อกๆ มีถนนที่ตรงยาวเป็นระเบียบ ในขณะที่ประเทศไทยเติบโตตามยถากรรม

“แม้การจัดรูปที่ดินวางโครงสร้างเมืองใหม่ จะทำให้นาโงยาเป็นเมืองที่สะดวกสบาย แต่กลับทำให้เมืองแห่งนี้ขาดความเป็นตัวตน ไม่มีหน้าตา ไม่มีจิตวิญญาณของเมือง ขาดความเป็นเอโดะ เป็นเพียงเมืองเรขาคณิตธรรมดา ซึ่งต่างจากกรุงโตเกียวที่ยังคงความเป็นเอโดะอยู่ แม้จะมีการจัดวางผังเมืองใหม่เช่นกัน ขณะที่บ้านเราด้วยความ กทม.เป็นเมืองที่ถนนคดไป คดมาแต่กลับมีคุณค่าเชิงวัฒนธรรม และต่อวิถีชีวิตทำให้เป็นเมืองที่มีเสน่ห์ มีชีวิตชีวา มีจิตวิญญาณเยอะมาก และในศตวรรษนี้หลายประเทศทั่วโลกเริ่มจากประเทศสหรัฐอเมริกาก็ได้หันมาให้ความสนใจในการวางผังเมืองโดยยึดแบบ new urbanism ที่จะปรับจากเมืองเรขาคณิตมาเป็นเมืองที่มีชีวิตมากขึ้นแล้ว”

อาจารย์นพนันท์ สรุปทิ้งท้ายไว้ว่า ที่สำคัญ ร่างผังเมืองรวมฉบับนี้ยังได้เพิ่มมาตรการที่จะให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมมือโดยการให้สิทธิพิเศษสำหรับการพัฒนาที่สนับสนุนนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะคือหากภาคเอกชนรายใดจัดให้มีพื้นที่กักเก็บน้ำฝน มีการก่อสร้างอาคารประหยัดพลังงาน และจัดให้มีที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยหรือผู้อยู่อาศัยเดิมในพื้นที่โครงการเพื่อสนับสนุนให้เอกชนพัฒนาอาคารให้เกิดประโยชน์แก่สาธารณะก็จะสามารถแลกพื้นที่การก่อสร้างอาคารที่เพิ่มขึ้นซึ่งเป็นมาตรการใหม่ในร่างผังเมืองรวมฉบับนี้อันเป็นไปตามการเพิ่มอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (Floor Area Ratio Bonus) หรือ FAR Bonus ฉะนั้นร่างผังเมืองรวมฉบับนี้จะเป็นการดึงความร่วมมือจากทุกภาคส่วนให้ช่วยกันพัฒนากรงเทพมหานครไปสู่มหานครแห่งอนาคตต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44068
Location: NECTEC

PostPosted: 19/08/2011 6:57 pm    Post subject: Reply with quote

ชงเก็บค่ารถไฟฟ้า20บ. รัฐรับแบกภาระส่วนต่าง

โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 18 สิงหาคม 2554 23:39 น.


ASTVผู้จัดการรายวัน-“คมนาคม” เดินหน้าค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย คาดผู้โดยสารเพิ่มเป็น 9 แสนคนต่อวัน ชงรัฐชดเชยส่วนต่างรายได้ให้เอกชน คาดอีก2-3 เดือนสรุป เผยโมเดลแรกเริ่มได้ก่อน รถใต้ดินของบีเอ็มซีแอลเชื่อมกับปแอร์พอร์ตลิ้งค์ “สุกำพล” ตรวจแอร์พอร์ตลิ้งค์ดูของจริงก่อนแก้ปัญหา

นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึง นโยบายการจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายตามนโยบายของรัฐบาล ว่า ขณะนี้ทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ศึกษาแนวทางการดำเนินงานแล้ว โดยจะนำเสนอพล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พิจารณารายละเอียด ก่อนเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ จากนั้นจะเป็นขั้นตอนของการเจรจากับบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีเอ็มซีแอล และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส ต่อไป ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปที่ชัดเจนภายใน 2-3 เดือนนี้

ทั้งนี้ ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการรถไฟฟ้ารวมประมาณ 5.9 แสนคนต่อวัน หากจัดเก็บอัตราค่าโดยสารที่ 20 บาทตลอดสาย จะทำให้จำนวนผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นเป็น 9 แสนคนต่อวัน หรือเพิ่มขึ้นอีก 3 แสนคนต่อวัน คิดเป็นรายได้ประมาณ 18 ล้านบาทต่อวัน ซึ่งจะเป็นตัวเลขที่ใช้เปรียบเทียบกับรายได้ปกติในปัจจุบัน ที่บีทีเอสและบีเอ็มซีแอลจัดเก็บได้ ยกตัวอย่าง ถ้าปัจจุบันบีเอ็มซีแอลมีผุ้โดยสาร 2 แสนคนต่อวัน มีรายได้ 5 ล้านบาทต่อวัน บีทีเอสมีผู้โดยสารเกือบ 5 แสนคนต่อวัน มีรายได้ 15 ล้านบาทต่อวัน แอร์พอร์ตลิ้งค์มีผู้โดยสาร 3 หมื่นคน มีรายได้ 1 ล้านบาท รวมกัน 3 สายมีรายได้ 21 ล้านบาทต่อวัน แต่เมื่อเก็บที่ 20 บาทตลอดสายมีรายได้ 18 ล้านบาทเท่ากับรัฐต้องชดเชยส่วนต่างให้เอกชน 3 ล้านบาทต่อวัน แต่ถ้าเก็บ 20 บาทแล้วมีผู้ใช้บริการมาก และทำให้มีรายได้สูงกว่า 18 ล้านบาทรัฐก็ไม่ต้องชดเชย เป็นต้น

นายสุพจน์ กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมมีหน้าที่ในการหาแนวทางในการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล และจะต้องเสนอกระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณาในเรื่องการจัดหาแหล่งเงินมาชดเชยให้เอกชนด้วย ส่วนผู้ตัดสินใจคือ ครม.จากนั้นจึงจะสามารถเจรจากับบีทีเอสและบีเอ็มซีแอลได้

สำหรับการจัดเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายมี 2 โมเดลที่จะดำเนินการได้คือ 1. ใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ของบีเอ็มซีแอลเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์ โดยบีเอ็มซีแอลยืนยันว่าพร้อมที่จะเจรจา ส่วนแอร์พอร์ติลิ้งค์เป็นของรัฐไม่มีปัญหา

2.ใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT เชื่อมกับแอร์พอร์ตลิ้งค์และบีทีเอสได้ ทั้ง 3 ระบบ แต่ขณะนี้ ยังไม่มีการประสานไปที่บีทีเอส

อย่างไรก็ตาม การเชื่อมต่อดังกล่าวจะส่งผลให้ผู้ใช้บริการแอร์พอร์ตลิ้งค์ทั้ง City Line และ Express Line เพิ่มจาก 4 หมื่นคนต่อวันเป็น 6 หมื่นคนต่อวัน

“ผมได้นำข้อมูลเบื้องต้นหารือกับรมว.คมนาคมแล้ว ส่วนจะเริ่มทันทีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล ที่จะต้องสรุปว่าจะใช้รูปแบบใด เพราะจะต้องวิเคราะห์ว่าเอกชนจะได้อะไร เสียอะไร รัฐจะต้องชดเชยหรือไม่ และถ้าชดเชยจะเป็นจำนวนเท่าไร และจัดหาเงินชดเชยมาจากไหนซึ่งจะต้องเจรจากับเอกชนเพื่อขอตัวเลขที่แท้จริงว่าแต่ละวันทั้งบีทีเอสและบีเอ็มซีแอลมีจำนวนผู้โดยสารและรายได้เท่าไรถึงจะเห็นตัวเลขที่ชัดเจน”นายสุพจน์กล่าว

***”สุกำพล”ตรวจแอร์พอร์ตลิ้งค์ก่อนสางปัญหา

วานนี้ (18 ส.ค.) พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้เรียกประชุมหัวหน้าหน่วยราชการในสังกัดกระทรวงคมนาคม 6 แห่ง ประกอบด้วย กรมการขนส่งทางบก (บข.) กรมการบินพลเรือน(บพ.) กรมเจ้าท่า(จท.) กรมทางหลวง (ทล.) กรมทางหลวงชนบท(ทช.) และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เพื่อรับทราบข้อมูลโครงการต่างๆ โดยกล่าวว่า วันนี้ (19 ส.ค.) จะประชุมร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาทางแก้ปัญหาโครงการแอร์พอร์ตลิ้งค์ ในเรื่องการให้บริการและเสียงดัง โดยทราบเบื้องต้นว่ามีปัญหางบประมาณไม่เพียงพอ ส่วนจะแก้ไขอย่างไรนั้น จะต้องพิจารณาข้อมูลทั้งหมดก่อน

ส่วนงบประมาณปี 2555 เบื้องต้นได้กำหนดกรอบไว้แล้ว โดยเป็นงบประมาณของหน่วยงานราชการ 9.5 หมื่นล้านบาทเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 5.56% ส่วนรัฐวิสาหกิจ 3.75 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 20% ทั้งนี้จะมีการพิจารณาเพื่อปรับให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลอีกครั้ง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44068
Location: NECTEC

PostPosted: 22/08/2011 2:37 am    Post subject: Reply with quote

“สุกำพล”ลั่นไม่มีนโยบายรื้อแผนลงทุนรถไฟฟ้า
หน้า เศรษฐกิจ
ไทยโพสต์
22 สิงหาคม 2554 - 00:00
“สุกำพล” ยันไม่มีนโยบายรื้อแผนลงทุนรถไฟฟ้าของรัฐบาลชุดก่อน


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 21 สิงหาคม 2554 23:23 น.



“สุกำพล” เดินหน้ารถไฟความเร็วสูง แต่มีข้อแม้ขอดูข้อมูลก่อน ลั่นไม่มีนโยบายเข้าไปรื้อโครงการยุครัฐบาลชุดก่อน

พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า กำลังดูรายละเอียดโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง 2 เส้นทาง จากหนองคาย-กรุงเทพฯ และกรุงเทพฯ-ชายแดนไทย-มาเลเซีย ที่ดำเนินการจัดทำกรอบการเจรจาความร่วมมือในการพัฒนากิจการรถไฟระหว่างไทยกับจีน ซึ่งอยู่ในกระบวนการตรวจร่างเอ็มโอยูว่ามีการทำความตกลงไว้อย่างไร และจะเกิดประโยชน์อะไร รวมถึงจะพิจารณาดูว่าโครงการใดที่มีความจำเป็นด้วย ก่อนจะตัดสินใจว่าจะให้เดินหน้าต่อไป หรือจะผลักดันเส้นทางใดก่อนหลัง แต่ยืนยันว่าจะต้องทำแน่ เพราะอยู่ในนโยบายของพรรคเพื่อไทย

ส่วนแผนพัฒนาโครงข่ายระบบรถไฟฟ้านั้น โครงการใดที่อยู่ระหว่างเปิดประมูลคัดเลือกเอกชนหรือผู้รับเหมาที่จะเข้ามาดำเนินการก็ให้ดำเนินการต่อ ส่วนโครงการที่อยู่ระหว่างการศึกษาหรืออยู่ในขั้นตอนการขออนุมัติต่างๆ จะต้องนำมาพิจารณาศึกษาเพื่อดูในรายละเอียดให้เหมาะสมกับแผนดำเนินงาน

“ผมไม่มีนโยบายที่เข้าไปรื้อโครงการต่างๆ ที่ทำไว้ดีอยู่แล้ว แม้จะเป็นโครงการเกิดในรัฐบาลประชาธิปัตย์ หากเห็นว่าเป็นโครงการที่ดี ผมก็ไม่ติดใจอะไร พร้อมจะผลักดันให้เดินหน้าต่อไป" พล.อ.อ.สุกำพลกล่าว

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า ได้มอบหมายให้ สนข.จัดทำสรุปรายงานความคืบหน้าโครงการพัฒนาระบบรถไฟฟ้า 10 สายทาง โครงการรถไฟความเร็วสูงและโครงการถไฟทางคู่ เพื่อสรุปรายละเอียดสถานะของแต่ละโครงการ และข้อเสนอการดำเนินโครงการตามแนวนโยบายของพรรคเพื่อไทย และข้อเสนอแนะจากกระทรวงคมนาคม และขอให้เร่งรัดโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามแผน ประกอบด้วย

สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน
สายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ
สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ/หัวลำโพง/บางแค
สายสีเขียว ส่วนต่อขยายอ่อนนุช-แบริ่ง
และสายสีเขียว ช่วงวงเวียนใหญ่-บางหว้า
รวมถึงสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47463
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/08/2011 7:28 pm    Post subject: Reply with quote

รมว.คมนาคมสั่งเดินหน้ารถไฟฟ้า10เส้นทางคาดปีนี้ลงนามก่อสร้างได้ 3 เส้นทาง
ฐานเศรษฐกิจ วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม 2011 เวลา 15:17 น.

พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวภายหลังเป็นประธานเนื่องในวันก่อตั้งการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดยกล่าวว่า การพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้าของกระทรวงคมนาคม หลังจากนี้ในส่วนของแผนแม่บท 10 เส้นทางนั้น กระทรวงคมนาคมจะเร่งรัดการทำงานทันที

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าทั้ง 10 เส้นทาง ตามนโยบายพรรคเพื่อไทย ได้แก่
1.สายสีแดงเข้ม เส้นทางธรรมศาสตร์-มหาชัย ระยะทาง 80.8 กิโลเมตร (กม.)
2.สายสีแดงอ่อน เส้นทางศาลายา-หัวหมาก ระยะทาง 58.5 กม.
3.สายแอร์พอร์ตลิงค์ ช่วง ดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท-สุวรรณภูมิ ระยะทาง 50.3 กม.
4.สายสีม่วง เส้นทางบางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 42.8 กม.
5.สายสีน้ำเงิน เส้นทางบางซื่อ-หัวลำโพง-ท่าพระ-พุทธมณฑลสาย 4 ระยะทาง 55 กม.
6.สายสีเขียวเข้ม เส้นทางลำลูกกา-สมุทรปราการ ระยะทาง 66.5
7.สายสีเขียวอ่อน เส้นทางยศเส-บางหว้า ระยะทาง 15.5 กม.
8.สายสีส้ม เส้นทางตลิ่งชัน-มีนบุรี ระยะทาง 37.5 กม.
9.สายสีชมพู เส้นทางแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 36 กม. และ
10.สายสีเหลือง เส้นทางลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กม.

ทั้งนี้ กระทรวงฯกำหนดเป้าหมายภายใน 2554 จะต้องลงนามในสัญญาก่อสร้างหลังการประกวดราคารถไฟฟ้าอีกอย่างน้อย 3 สาย ประกอบด้วย สายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ สายสีส้ม ตลิ่งชัน-มีนบุรี และสายสีชมพู แคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี

ส่วนเส้นทางที่ประกวดราคาก่อนหน้านี้ และอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ทั้งสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ และสายสีม่วง บางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ นั้น จะเร่งรัดการก่อสร้างให้เสร็จโดยเร็ว ขณะที่นโยบายค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายนั้น จะเร่งดำเนินการให้เร็วที่สุดโดยไม่ต้องรอให้โครงข่ายรถไฟฟ้ามีครบ 10 เส้นทาง หากโครงข่ายใดสามารถดำเนินการได้ก่อนก็จะเริ่มก่อน และจะเป็นนโยบายระยะยาว ไม่ใช่ชั่วคราว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Kan
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 05/07/2010
Posts: 189
Location: กรุงเทพ - ชุมทางทุ่งสง

PostPosted: 22/08/2011 8:09 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รมว.คมนาคมสั่งเดินหน้ารถไฟฟ้า10เส้นทางคาดปีนี้ลงนามก่อสร้างได้ 3 เส้นทาง
ฐานเศรษฐกิจ วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม 2011 เวลา 15:17 น.

พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวภายหลังเป็นประธานเนื่องในวันก่อตั้งการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดยกล่าวว่า การพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้าของกระทรวงคมนาคม หลังจากนี้ในส่วนของแผนแม่บท 10 เส้นทางนั้น กระทรวงคมนาคมจะเร่งรัดการทำงานทันที

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าทั้ง 10 เส้นทาง ตามนโยบายพรรคเพื่อไทย ได้แก่
1.สายสีแดงเข้ม เส้นทางธรรมศาสตร์-มหาชัย ระยะทาง 80.8 กิโลเมตร (กม.)
2.สายสีแดงอ่อน เส้นทางศาลายา-หัวหมาก ระยะทาง 58.5 กม.
3.สายแอร์พอร์ตลิงค์ ช่วง ดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท-สุวรรณภูมิ ระยะทาง 50.3 กม.
4.สายสีม่วง เส้นทางบางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 42.8 กม.
5.สายสีน้ำเงิน เส้นทางบางซื่อ-หัวลำโพง-ท่าพระ-พุทธมณฑลสาย 4 ระยะทาง 55 กม.
6.สายสีเขียวเข้ม เส้นทางลำลูกกา-สมุทรปราการ ระยะทาง 66.5
7.สายสีเขียวอ่อน เส้นทางยศเส-บางหว้า ระยะทาง 15.5 กม.
8.สายสีส้ม เส้นทางตลิ่งชัน-มีนบุรี ระยะทาง 37.5 กม.
9.สายสีชมพู เส้นทางแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 36 กม. และ
10.สายสีเหลือง เส้นทางลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กม.

ทั้งนี้ กระทรวงฯกำหนดเป้าหมายภายใน 2554 จะต้องลงนามในสัญญาก่อสร้างหลังการประกวดราคารถไฟฟ้าอีกอย่างน้อย 3 สาย ประกอบด้วย สายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ สายสีส้ม ตลิ่งชัน-มีนบุรี และสายสีชมพู แคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี

ส่วนเส้นทางที่ประกวดราคาก่อนหน้านี้ และอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ทั้งสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ และสายสีม่วง บางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ นั้น จะเร่งรัดการก่อสร้างให้เสร็จโดยเร็ว ขณะที่นโยบายค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายนั้น จะเร่งดำเนินการให้เร็วที่สุดโดยไม่ต้องรอให้โครงข่ายรถไฟฟ้ามีครบ 10 เส้นทาง หากโครงข่ายใดสามารถดำเนินการได้ก่อนก็จะเริ่มก่อน และจะเป็นนโยบายระยะยาว ไม่ใช่ชั่วคราว


ตรงแดงๆนี่ เพื่อเชื่อมต่อกับสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย เดิมหรือเพื่อแทนที่ครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44068
Location: NECTEC

PostPosted: 23/08/2011 11:39 am    Post subject: Reply with quote

^^^
ถือว่าเป็นการ Upgrade ทางสายมหาชัยเป็นทางคู่ครับ ต้องเป็นทางลอยฟ้าเพราะ เขตทางที่กำหนดมาแต่เดิมสมัย ร.5 มีแค่ 14 เมตร ไม่ใช่ 40 เมตรเหมือนของกรมรถไฟ

//--------------------------------------------------------------------------------

รัฐบาลนี้ได้ใช้แน่ รถไฟฟ้า20บ. ยันไม่ใช่ราคาคุย
โดยทีมข่าวเศรษฐกิจ
ไทยรัฐออนไลน์ -
22 สิงหาคม 2554 15.30 น.
http://www.thairath.co.th/content/eco/195959
คมนาคมเร่งเดินหน้าสร้างรถไฟฟ้า 10 สายทาง แต่ภายในสิ้นปี 54 ต้องเปิดประมูลสร้างรถไฟฟ้า 3 สายทาง คือ สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ,สายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ และสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี ก่อน ส่วนราคา 20 บาทตลอดสายได้ใช้ในรัฐบาลนี้ และเป็นระยะยาวแน่

เมื่อวันที่ 22 ส.ค. พลอากาศเอกสุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการเข้าร่วมงานวันคล้ายวันก่อตั้งครบรอบ 19 ปี การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม.ว่า รัฐบาลชุดนี้จะเร่งดำเนินการโครงการรถไฟฟ้า 10 เส้นทาง โดยภายในปีนี้ มีโครงการที่จะดำเนินการเปิดประกวดราคางานก่อสร้างและลงนามสัญญากับผู้รับเหมา คือ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี ซึ่งโครงการเหล่านี้มีความพร้อมดำเนินการแล้ว นอกจากนี้ จะมีการศึกษาว่าแผนเส้นทางรถไฟฟ้าของ รฟม.และกระทรวงคมนาคม มีความสอดคล้องกับแผนเส้นทางรถไฟฟ้า 10 เส้นทางของพรรคเพื่อไทยหรือไม่ โดยอาจมีการขยายเส้นทาง หรือ ปรับเปลี่ยนเส้นทางให้เหมาะสมกับปัจจุบัน

ส่วนการที่กรุงเทพมหานครมีความประสงค์จะดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเอง รวมทั้งเส้นทางรถไฟฟ้าบางเส้นทาง จากเดิมที่ รฟม.ดำเนินการก่อสร้างงานโยธา และ กทม.ดำเนินการเดินรถ คงมีการหารือกับกทม.ได้ โดยเชื่อว่าไม่ใช่ความขัดแย้ง แม้ขณะนี้ กทม.จะบริหารงานโดยพรรคประชาธิปัตย์ก็ตาม เพราะโครงการรถไฟฟ้าเป็นความต้องการของประชาชนอยู่แล้ว

พล.อ.อ.สุกำพล กล่าวถึงการดำเนินการอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายว่า จะดำเนินการภายในรัฐบาลนี้แน่นอน โดยเป็นโครงการระยะยาว ไม่ใช่โครงการระยะสั้น หรือเป็นเพียงแต่โปรโมชั่นเท่านั้น

ทั้งนี้ รฟม.ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการในโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน จำนวน 6 โครงการ ประกอบด้วย โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ โครงการรถไฟฟ้า สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ และ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี โดยโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง มีความก้าวหน้าในการก่อสร้างปัจจุบัน 32 %และโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน มีความก้าวหน้า 3.34%.




ยืดเส้นทางคนใช้มาก เร่งสปีดทำรถไฟฟ้า4ปี ครบ10สาย เริ่มทยอยเปิดให้บริการปลาย ปี57
หน้ากทม.
เดลินิวส์
วันอังคาร ที่ 23 สิงหาคม 2554 เวลา 8:45 น.

[urlชhttp://www.thairath.co.th/content/eco/195959 ]รัฐบาลนี้ได้ใช้แน่ รถไฟฟ้า20บ. ยันไม่ใช่ราคาคุย[/url]
โดยทีมข่าวเศรษฐกิจ
ไทยรัฐออนไลน์ -
22 สิงหาคม 2554 15.30 น.

เมื่อวันที่ 22 ส.ค. ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีการจัดงาน คล้ายวันก่อตั้ง ครบรอบ 19 ปี รฟม. มี พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน มี นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เดินทางมาร่วมงาน ซึ่งมีการมอบโล่แก่พนักงาน รฟม.ที่ปฏิบัติงานครบรอบ 15 ปี มอบรางวัลผู้ชนะการประกวดคำขวัญส่งเสริมการกำกับดูแลกิจการที่ดี มอบรางวัลแก่ส่วนงานที่ได้รับคะแนนสูงสุดในการปฏิบัติตามแก่นวัฒนธรรมองค์กรของ รฟม. และร่วมปลูกต้นไม้เป็นที่ระลึก

พล.อ.อ.สุกำพล เปิดเผยว่า โครงการรถไฟฟ้าที่จะเปิดประมูลอย่างเร่งด่วนภายในปีนี้มี 3 สาย ได้แก่

1. สายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต - สะพานใหม่
2. สายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี และ
3. สายสีชมพู ช่วงปากเกร็ด-มีนบุรี

สำหรับแนวสายทางของรถไฟฟ้าแต่ละเส้นอาจต้องมีการปรับเพิ่ม เนื่องจากลักษณะพื้นที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมขณะที่ทำการศึกษาไปแล้ว โดยอาจต้องยืดเส้นทางบางสายออกไปหากมีประชาชนใช้เป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามยังไม่สามารถระบุรายละเอียดได้ เพราะยังไม่ได้ศึกษาในรายละเอียดของแผนแม่บทรถไฟฟ้า 12 สาย ซึ่งหากได้ศึกษาแล้วจะสามารถแจกแจงรายละเอียดโครงการได้ทั้งหมด

ส่วนแนวทางการเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย จะดำเนินการภายในรัฐบาลนี้แน่นอน แต่ต้องพิจารณาให้รอบคอบเมื่อพร้อมก็สามารถทำได้ หากมีการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าเพิ่มอีก 4-5 สาย ก็จะสามารถเดินหน้าได้ทันที โดยนโยบายนี้จะจัดทำเป็นรโครงการระยะยาว ไม่ใช่โครงการระยะสั้น หรือเป็นเพียงแต่โปรโมชั่นเท่านั้น

ส่วนการที่กรุงเทพมหานครมีความประสงค์จะดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเอง รวมทั้งเส้นทางรถไฟฟ้าบางเส้นทาง จากเดิมที่ รฟม.ดำเนินการก่อสร้าง งานโยธา และ กทม.ดำเนินการเดินรถ คงมีการหารือกับกทม.ได้ โดยเชื่อว่าไม่ใช่ความขัดแย้ง แม้ขณะนี้ กทม.จะบริหารงานโดยพรรคประชาธิปัตย์ก็ตาม เพราะโครงการรถไฟฟ้าเป็นความต้องการของประชาชนอยู่แล้ว

นายสุพจน์ กล่าวว่า ในโอกาส รฟม.ครบรอบ 19 ปี ก็อยากให้มีการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าได้ครอบคลุมทั่วพื้นที่และมีความปลอดภัยแก่ประชาชน ทั้งนี้จะเร่งผลักดันภายใน 4 ปี จะต้องเปิดประมูลได้ทั้ง 10 สาย ตามนโยบายของรัฐบาล และเริ่มทยอยเปิดให้บริการตั้งแต่ช่วงปลายปี 2557 เป็นต้นไป โดยเปิดให้บริการสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อก่อน

หลังจากนั้นปี 2559 เปิดให้บริการสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ หัวลำโพง-บางแค สายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-สะพานใหม่
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 43, 44, 45 ... 284, 285, 286  Next
Page 44 of 286

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©