View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
hs8kww
3rd Class Pass
Joined: 07/04/2010 Posts: 37
Location: อ.นาบอน จ.นครศรีธรรมราช
|
Posted: 30/08/2011 9:11 pm Post subject: เรียนสอบถาม เทคนิค วิธีการ พ่วงพหุ |
|
|
การพ่วงรถจักรสองคันทำขบวน มีเทคนิคการพ่วงอย่างไรบ้างครับ จะเร่งเครื่องอย่างไรให้รอบคงที่ครับ ขอภาพประกอบด้วยนะครับ ขอบคุณอย่างสูง _________________ "ท่านผู้โดยสารที่จะลงสถานีนาบอน โปรดตรวจดูสิ่งของและสัมภาระของท่านให้ครบถ้วนด้วยครับ" |
|
Back to top |
|
|
headtrack
1st Class Pass (Air)
Joined: 30/05/2009 Posts: 1627
Location: ละแวกภาคกลางตอนบน และภาคเหนือตอนล่าง
|
|
Back to top |
|
|
Pitakchart
3rd Class Pass
Joined: 06/05/2011 Posts: 156
Location: อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์
|
|
Back to top |
|
|
CivilSpice
1st Class Pass (Air)
Joined: 18/03/2006 Posts: 11192
Location: หนองวัวหนุ่มสเตชั่น
|
Posted: 31/08/2011 9:33 am Post subject: |
|
|
อย่างที่บอกมา ไม่น่าเรียกว่าพหุนะครับ เพราะกรณีพ่วงพหุ น่าจะต้องช่วยกันลาก ช่วยกันทำการทุกคัน แล้วก็ต้องมีการควบคุมสั่งการจากรถคันนำหรือคันหลัก ไม่ว่าจะด้วยระบบต่อ Jumper หรือสั่งการผ่านทางวิทยุ หรือผ่านสัญญาญหวีด ว่าจังหวะไหนจะต้องเร่งกำลัง จังหวะไหนจะต้องลงห้ามล้อ เป็นต้น
ไอ้ที่อยู่ในภาพ น่าจะแค่การพ่วงรถมาส่งตามปกติ เพราะไอน้ำ+ควันจากรถจักรไอน้ำ ก็ไม่เห็นมี อีกทั้งในรายละเอียดของภาพ ผู้ถ่ายภาพก็บอกเอาไว้ชัดเจนว่า "ขบวนรถพิเศษเคลื่อนย้ายรถจักรไอน้ำ ต้นทางสถานีธนบุรี - ศาลาธรรมสพน์ - ปลายทางสถานีกรุงเทพ"
|
|
Back to top |
|
|
Pitakchart
3rd Class Pass
Joined: 06/05/2011 Posts: 156
Location: อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์
|
Posted: 31/08/2011 9:43 am Post subject: |
|
|
แล้วในกรณีรถจักรฮิตาชิ กับรถจักรอัลสธอม ,รถจักรฮิตาชิ กับรถจักรตระกูลจีอี และรถจักรอัลสธอมกับรถจักรตระกูลจีอี หรือการพหุอื่นๆที่ต่างรุ่นกัน จะสามารถทำได้หรือไม่ครับ |
|
Back to top |
|
|
headtrack
1st Class Pass (Air)
Joined: 30/05/2009 Posts: 1627
Location: ละแวกภาคกลางตอนบน และภาคเหนือตอนล่าง
|
Posted: 31/08/2011 10:20 am Post subject: |
|
|
ได้แน่นอน... แต่เปนการพหุแบบไม่สมบูรณ์ ต่อเพียงท่อลมห้ามล้อ อย่างกรณี ลป-ขน ลำปางจะจัดรถจักรที่มีห้ามล้อลมอัดไว้คอยท่าทุกๆ วัน และจัดพนักงานแขวงลำปางไว้เพื่อการนี้ทุกวันด้วย...
ให้ชุดพนักงานรถจักรของขบวนขึ้นคันนำ พนักงานรถจักรช่วยที่จัดไว้ขึ้นคันตาม...
โดยต้องใช้รถจักรที่มีน้ำหนักน้อยกว่านำหน้า เพื่อกันอาการ "หาม" (กล่าวคือหากนำรถจักรเบาตามรถจักรหนัก แรงที่ล้อกระทำต่อผิวรางจะน้อยลง
ทำนองเดียวกับให้สามคนเรียงกัน แล้วให้คนตัวเล็กอยู่กลาง คนตัวใหญ่อยู่สองข้าง แล้วให้จับมือกันแล้วให้ด้านข้างหนึ่งออกแรงดึง
คนตัวเล็กตรงกลางก็ "ขาลอย" ล่ะครับ...
ที่ผมตั้งข้อสังเกตอีกสักนิดคือ.-
- Alsthom เดิม กับ Alsthom re-engine มีเกณฑ์การนำ/ตาม หรือไม่
- อันนี้มิทราบว่าเปนข้อมูลที่ควรปกปิดหรือเปล่า. แต่จากที่เคยโดยสารขบวน 51
เหมือนกับเขาใช้เทคนิค "สลับกันเร่ง" ระหว่างสองคัน มากกว่าเร่งพร้อมๆ กัน
อาจเป็นอีกวิธีเพื่อลดการดึงรอบสูงนานๆ (มักพบกับ Alsthom น่าจะเกี่วกับระบบ "วิกิแลนซ์"...?!?)
... _________________
Find me on Instagram: @632knongtsaikhaow |
|
Back to top |
|
|
suraphat
1st Class Pass (Air)
Joined: 12/02/2007 Posts: 1117
Location: ดินแดง ห้วยขวาง
|
Posted: 31/08/2011 10:45 am Post subject: |
|
|
CivilSpice wrote: |
อย่างที่บอกมา ไม่น่าเรียกว่าพหุนะครับ เพราะกรณีพ่วงพหุ น่าจะต้องช่วยกันลาก ช่วยกันทำการทุกคัน แล้วก็ต้องมีการควบคุมสั่งการจากรถคันนำหรือคันหลัก ไม่ว่าจะด้วยระบบต่อ Jumper หรือสั่งการผ่านทางวิทยุ หรือผ่านสัญญาญหวีด ว่าจังหวะไหนจะต้องเร่งกำลัง จังหวะไหนจะต้องลงห้ามล้อ เป็นต้น
|
สำหรับในเรื่องนี้นั้น การพ่วงพหุสมบูรณ์นั้น ก็ขอให้ดูเอาจากการพ่วงของรถดีเซลรางเอาเองก็แล้วกัน ซึ่งที่เห็นมาก็จะพบว่ามีการพ่วงพหุสมบูรณ์กันทั้งนั้น กล่าวคือมีคันนำที่บังคับการอยู่ในตอนหน้าเป็นคันควบคุม ระบบต่างๆในขบวนรถนะครับ เช่นคันนำหรือคันหน้าสั่งให้เร่งเครื่อง คันถัดๆมาก็จะทำตามคำสั่งของคันนำนะครับ หรือคันนำสั่งให้ลงห้ามล้อ คันถัดๆมาก็จะทำการลงห้ามล้อตามคำสั่งของคันนำนะครับ ซึ่งนี่ก็จะต้องมีการใช้สาย Jumpper มาใช้ถ่ายทอดหรือสั่งการจากคันนำนะครับ
ฉันท์ใดฉันท์นั้นสำหรับหัวรถจักรนั้น ก็สามารถทำได้ด้วยการต่อสาย Jumpper ระหว่างรถจักรทั้ง 2 คัน นอกเหนือจากท่อลมเบรคแล้วนะครับ จากนั้นก็ใช้รถคันใดคันหนึ่งเป็นรถสั่งการนะครับเหมือนกันกับรถดีเซลรางดังข้างต้นนะครับ
แต่ประเภทในแบบที่นำเอาหัวรถจักรมาต่อกัน แล้วต่อเพียงแค่ท่อลมเบรคเพียงอย่างเดียว จากนั้นก็ให้หัวรถจักรคันนำมาลากแล้วใช้การสั่งการให้คันหลังกระทำการต่างๆเช่นเร่งหรือเบาเครื่องกันทางวิทยุสื่อสารระหว่างพนักงานในคันหน้าและคันหลังนั้น อันนี้ไม่ถือว่าเป็นการพ่วงพหุแบบสมบูรณ์นะครับ
ส่วนที่เราพบเห็นห้วรถจักรต่อกัน 2-3 หัวมาทำขบวนหรือวิ่งตัวเปล่าระหว่างกรุงเทพไปบางซื่อหรือบางซื่อมากรุงเทพนั้น ไม่ถือว่าเป็นการพ่วงพหุนะครับ แต่เขาจะมองว่าหัวรถจักรคันนำก็ทำหน้าที่ไป แต่หัวรถจักรคันตามก็เป็นเพียงรถพ่วงคันหนึ่งนะครับ |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46857
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 31/08/2011 11:47 am Post subject: |
|
|
คุณต้น คุณบอมบ์ พี่น้อย ได้ตอบไว้กระทู้ไว้เป็นอย่างดีแล้ว รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้ที่กระทู้ที่คุณต้นแนะนำข้างบนน่ะครับ
ขอเสริมสักเล็กน้อย แบบคนนอกที่ไม่ได้อยู่ในวงการวิศวกรรมรถไฟ
คำว่าพ่วงพหุ ในภาษาไทย ทำให้เข้าใจผิดว่า แค่เอารถจักรสองคันขึ้นไปมาต่อกัน ก็เป็นพ่วงพหุแล้ว สาเหตุที่เข้าใจผิด เพราะคำว่า "พ่วง"นั่นเอง บางทีเห็นขบวนรถมีรถจักร 2 คัน ก็นึกว่าพ่วงพหุ ซึ่งที่จริง อาจจะเป็นเพราะรถจักรคันที่ีสอง ชำรุด เลยถูกลากกลับไปซ่อมก็ได้
คำที่เอามาใช้แทนคือ ทำพหุ ซึ่งฟังดูไม่ไพเราะแบบภาษาไทย แต่ใกล้เคียงความจริงมากกว่าครับ
ถ้าย้อนกลับไปดูคำภาษาอังกฤษ ที่ใช้ว่า Multiple unit อันนี้ชัดเจน เหมือน ดีเซลราง ที่ทุกหน่วยต่างทำหน้าที่ด้วยกัน ไปพร้อม ๆ กัน
สมัยเด็ก ๆ นั่งรถไฟไปกับแม่ (แม่จบแค่ ป.4) จากชุมพร ไปหาดใหญ่ พอผ่านช่วงสะพานที่กำลังซ่อม มีป้ายเตือนว่า พหุ ผมก็ถามแม่ว่า พหุ แปลว่าอะไร
แม่บอกว่า อ๋อ พอ หอ สระอุ อ่านว่า ผุ ทางแถวนี้ไม้หมอนเปื่อยแล้ว เลยมีป้ายเตือนว่า ผุ ให้ขับรถไฟช้า ๆ
ผมก็เข้าใจมาอย่างนี้ และทึ่งในความสามารถในการใช้อักษรย่อ ของการรถไฟ ที่แปลกไม่เหมือนใคร นอกจาก พหุ = ผุ แล้ว ยังมี บรรทุกน้ำมันค่น (ข้น) และ สัมพาระมีเครื่องห้ามล้อ (พห.) พ ย่อมาจาก สัมภาระ ธำ. ย่อมาจาก นครศรีธรรมราช
กว่าจะเข้าใจว่า พหุ คือ เอารถจักรมาต่อกันหลายคัน ก็ไม่เกิน 5 ปีที่เป็นสมาชิกรถไฟไทยดอทคอมนี่แหละครับ
แม้แม่ผมจะจบแค่ ป.4 แต่แม่ก็จำเวลารถไฟสายสงขลาได้เก่งมาก พอได้ยินเสียงหวีดจากสถานีรถไฟสงขลาดังขึ้น แม่ก็พูดขึ้นทุกที บ่าย 3 แล้ว หรือ 5 โมงแล้ว ใช้เสียงหวีดเป็นนาฬิกาบอกเวลาเลยครับ
(พอดีเห็นป้ายนาบอนใน avatar ของเจ้าของกระทู้ เลยนึกถึงแม่น่ะครับ แม่เป็นชาวปากพนัง นครศรีธรรมราช ย้ายมาอยู่สงขลาตั้งแต่ก่อนผมเกิด) |
|
Back to top |
|
|
suraphat
1st Class Pass (Air)
Joined: 12/02/2007 Posts: 1117
Location: ดินแดง ห้วยขวาง
|
Posted: 31/08/2011 1:53 pm Post subject: |
|
|
สำหรับกระผมนั้น คิดว่าการนำเอาอักษรย่อมาใช้ในการรถไฟนั้น ถือเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งที่ไม่เหมือนกับหน่วยงานใดๆนะครับ ซึ่งอักษรย่อของการรถไฟนี้ ถือว่ามีการใช้มากที่สุดหน่วยงานหนึ่งก็ว่าได้(หรืออาจจะมากที่สุดก็อาจเป็นได้)นะครับ ไม่ว่าจะเป็นอักษรย่อในชื่อตำแหน่ง หรือสถาที่ต่างๆของการรถไฟนะครับ
ซึ่งอย่าว่าอะไรเลยแม้ว่ากระผมจะเขียนอะไรก็คิดถึงอักษรย่อของการรถไฟนี้เป็นลำดับแรกเลยนะครับเช่น หาดใหญ่ กระผมก็จะเขียนเป็น หใ. อุบลราชธานี กระผมก็จะเขียนเป็น อน. แทนที่จะเขียนว่า อบ. นะครับ หรืออย่างนครราชสีมา ก็จะเขียนเป็น รส. แทนที่จะเขียนเป็น นม. เป็นต้นนะครับ |
|
Back to top |
|
|
hs8kww
3rd Class Pass
Joined: 07/04/2010 Posts: 37
Location: อ.นาบอน จ.นครศรีธรรมราช
|
Posted: 31/08/2011 10:23 pm Post subject: |
|
|
ขอบคุณทุกท่านครับ...ที่ให้ความกระจ่างชัด..และขออภัยในบางครั้งที่ตั้งกระทู้ถามขึ้นใหม่ด้วยหาข้อมูลในกระทู้เก่า ๆ ที่เกี่ยวข้องไม่เจอครับ...
เคยเห็นการพ่วงแบบสมบูรณ์เมื่อตอนเด็กๆ อยู่ใกล้สถานีหลักช้าง(หช)จำได้ว่าใช้เฮนเซลอย่างในรูป และมีใช้ จีอีเค ,อัลสตอม เด็กๆ เห็นแปลกตาตื่นเต้นน่าดูเชียวครับก็ยังอดสงสัยไม่ได้ว่าจะเร่งเครื่องยังไงให้ไปพร้อมกันได้ พ่วงตู้โดยสารยาวหลายคันที่เดียว จอดหลีกหลักช้างทีไรเด็ก ๆ ก็ซน ไปขอลุง พขร.ขึ้นชมห้องขับ..ลุง พขร.ใจดีต้อนรับอย่างดีทุกครั้งครับ(แถมด้วยความเป็นเด็กไม่ประสา.."เอ..รถจักรมีพวงมาลัยด้วย"(อัลสตอม)..ลุง พขร.บอกว่า"ไม่ใช่นั่นมันคอนโทรลก็เหมือนคันเร่งนั่นล่ะ"ก็เลยจำได้ดีมาถึงทุกวันนี้..เล่าให้คนอื่นฟังยังดันเถียงอีกว่าพวงมาลัย..."ก็ไปตามรางจะใช้ไปทำไมพวงมาลัย"..ยังมีเถียงต่ออีกว่าต้องเลี้ยวเข้ารางหลีก..เอาเข้าไปนั่น..ก็ปล่อยให้เค้าเชื่ออย่างนั้นไปครับ)
สอบถามกันต่อ...หากว่าพ่วงตู้สินค้าและตู้โดยสารอย่างเช่นเมื่อก่อนตอนเด็ก ๆ ผมเคยนั่งขบวนที่บรรทุกคนโดยสารด้วย มีตู้สินค้าน้ำแข็ง เกลือ กะปิตืดไปด้วย ในขบวนเดียวกันจะเรียก "พหุ"ด้วยหรือเปล่าครับ
คุณ Mongwin ว่าง ๆ นั่งรถไฟไปนาบอนนะครับ จะพาไปตะลอนชมเมืองปากพนังครับ _________________ "ท่านผู้โดยสารที่จะลงสถานีนาบอน โปรดตรวจดูสิ่งของและสัมภาระของท่านให้ครบถ้วนด้วยครับ" |
|
Back to top |
|
|
|