Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311913
ทั่วไป:13577542
ทั้งหมด:13889455
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 145, 146, 147 ... 486, 487, 488  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46884
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/09/2011 6:40 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมงบบาน8เดือน2.33แสนล.เร่งรถไฟความเร็วสูง-ทางคู่-ถนนไร้ฝุ่น-ฟื้นน้ำท่วม
ประชาชาติธุรกิจ Wednesday, 21 September 2011 05:50

คมนาคมชงรัฐบาลเพื่อไทย ของบปี'55 วงเงิน 2.33 แสนล้าน ทางหลวงสูงสุด 9.3 หมื่นล้าน หลังบรรจุโครงการอกหักจากรัฐบาลชุดที่แล้วเข้าไปตรึม พ่วงงบฯซ่อมถนนน้ำทวม1 หมื่นล้าน ทางหลวงชนบทตามมาติด ๆ 4.9 หมื่นล้าน ไฮไลต์ถนนไร้ฝุ่น 1,200 ก.ม. วงเงิน 7.2 พันล้านงบฯซ่อมถนนน้ำท่วมอีก 5.1 พันล้าน ร.ฟ.ท.ดันสุดลิ่ม "รถไฟความเร็วสูงทางคู่-รถไฟสายสีแดง"

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เมื่อ 16 กันยายนที่ผ่านมา พล.อ.อ.สุกำพลสุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ลงนามในกรอบคำของบประมาณประจำปี 2555 โดยมียอดรวมคำขออยู่ที่ 233,190 ล้านบาท แยกเป็นส่วนราชการ 161,730 ล้านบาทและรัฐวิสาหกิจ 71,458 ล้านบาท (ดูตาราง) เพื่อมาดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อไทยต่อไป

หน่วยงานที่ยื่นคำขอมากสุด อาทิกรมทางหลวง (ทล.) 93,763 ล้านบาทกรมทางหลวงชนบท (ทช.) 49,548 ล้านบาท การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) 37,496 ล้านบาท เป็นต้น

"เทียบกับคำขอรัฐบาลชุดที่แล้วที่ขอไป 236,358.088 ล้านบาท ถือว่าลดลง3,168 บ้านบาท เพราะมีบางหน่วยที่ลดลงและเพิ่มขึ้น เนื่องจากเวลาการใช้งบฯของรัฐบาลใหม่เหลือ 8 เดือน นับจากกุมภาพันธ์ปีหน้าถึงเดือนกันยายน เช่นการทางพิเศษฯจาก 6,745 ล้านบาทเหลือ 6,599 ล้านบาท ร.ฟ.ท.จาก44,525 ล้านบาท เหลือ 37,496 ล้านบาท" แหล่งข่าวกล่าวและว่า

หน่วยงานที่ยื่นคำขอเพิ่มขึ้น เช่นทล.จาก 93,547 ล้านบาท เป็น 93,763 ล้านบาท ทช.จาก 49,547 ล้านบาทเป็น 49,548 ล้านบาท ขสมก.จาก11,145 ล้านบาท เป็น 13,637 ล้านบาทเพราะมีวงเงินขอค่าชดเชยรถเมล์ฟรีจากรัฐบาล เจ้าท่าจาก 9,205 ล้านบาท เป็น11,387 ล้านบาท สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จาก757 ล้านบาท เป็น 1,056 ล้านบาทเพราะมีการของบฯศึกษารายละเอียดโครงการรถไฟความเร็วสูงเพิ่มเข้ามา

"งบฯปี 2555 นี้ คาดว่าจะได้รับจัดสรร 120,000-140,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากรัฐบาลชุดที่แล้วมีมติ ครม.อนุมัติอยู่ที่ 118,945 ล้านบาท และเพิ่มจากงบฯปี 2554 ที่ได้ 109,070 ล้านบาท ได้รับจัดสรรสูงสุดยังเป็น ทล. และ ทช."

นายวีระ เรืองสุขศรีวงศ์ อธิบดีกรมทางหลวง กล่าวว่า ได้ขอเพิ่มในส่วนงบฯซ่อมแซมถนนหลังน้ำลด 10,000 ล้านบาท เข้าไปในรายงบฯบำรุงทางด้วยและนำโครงการที่ถูกตัดในรัฐบาลชุดที่แล้วเสริมเข้ามา เช่น ค่าเวนคืนมอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-โคราช 1,000 ล้านบาท งานเพิ่มประสิทธิภาพทางหลวง 4,000 ล้านบาท สร้างถนน 4 ช่องจราจรในพื้นที่สำคัญ เป็นต้น

นายวิชาญ คุณากูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท กล่าวว่า ยื่นคำของบฯปี 2555 ไปแล้ว ใกล้เคียงกับของเดิม49,547 ล้านบาท เพราะมีโครงการที่ต้องใช้งบฯเพิ่ม เช่น ถนนปลอดฝุ่นต้องขอเพิ่ม 1,200 กิโลเมตร หรือ 7,200 ล้านบาท จากที่รัฐบาลชุดที่แล้วเคยอนุมัติให้250 กิโลเมตร วงเงิน 1,500 ล้าน ซ่อมบูรณะถนนถูกน้ำท่วม 5,100 ล้านบาทและมีบางโครงการที่ถูกตัด เช่น ขยายถนนราชพฤกษ์ 1,200 ล้านบาท ค่าเวนคืนที่ดินถนนต่อเชื่อมถนนราชพฤกษ์แนวเหนือ-ใต้อีก 1,000 ล้านบาท ฯลฯ

นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการการรถไฟฯ กล่าวว่า งบฯปี 2555 ที่ขอไป37,496 ล้านบาท หลักๆจะนำมาใช้ปรับปรุงทางรถไฟ ระบบอาณัติสัญญาณนอกจากนี้มีโครงการรถไฟฟรี 3 เดือน(ต.ค.-ธ.ค. 54) 295 ล้านบาท งบฯศึกษารถไฟความเร็วสูง(สุวรรณภูมิ-ชลบุรีพัทยา) 150 ล้านบาท ส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตลิงก์ไปดอนเมือง งบฯก่อสร้างรถไฟสายสีแดง 2 สาย คือช่วงตลิ่งชันศิริราชกว่า 400 ล้านบาท และช่วงตลิ่งชัน-ศาลายากว่า 500 ล้านบาทรถไฟทางคู่สายฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย เป็นต้น

ที่มา: หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 22 - 25 ก.ย. 2554
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46884
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/10/2011 10:04 am    Post subject: Reply with quote

'ยุทธนา'สั่งสอบเชิงลึกรางรถไฟ 1.7 หมื่นล้าน
วันอาทิตย์ที่ 02 ตุลาคม 2011 เวลา 09:12 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ ข่าวหน้า1 - ข่าวหน้า1

โครงการปรับปรุงรางรถไฟส่งกลิ่น ระบุ 2 เอกชนที่ชนะประมูลปฏิบัติผิดข้อกำหนดทีโออาร์ 3 โครงการรวม 1.7 หมื่นล้าน เผยจัดซื้อรางจากเอกชนจีนที่ขาดคุณสมบัติ แถมผิดสเปกที่กำหนดให้ผลิตแบบ On-line แต่ไปซื้อแบบ Off-line ซึ่งเป็นแบบที่การรถไฟจีนเองห้ามใช้ ด้านผู้ว่าการรถไฟฯรับลูกเตรียมตั้งคณะกรรมการสอบเชิงลึก

แหล่งข่าวระดับสูงจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า ขณะนี้มีการร้องเรียนโครงการจัดซื้อรางรถไฟเพื่อใช้ในการปรับปรุงทางระยะที่ 5 และ 6 ของการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) โดยมีการร้องเรียนไปที่การรถไฟฯและกระทรวงคมนาคมว่า การจัดซื้อรางโครงการปรับปรุงทางของการรถไฟจำนวน 3 โครงการ คือ
1.การจัดซื้อรางสำหรับใช้ปรับปรุงทางระยะที่ 5 สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงชุมทางแก่งคอย-แก่งเสือเต้น-ชุมทางบัวใหญ่ และชุมทางถนนจิระ-ชุมทางบัวใหญ่
2.การจัดซื้อรางสำหรับใช้ปรับปรุงทางระยะที่ 6 สายตะวันออกเฉียงเหนือช่วงชุมทางบัวใหญ่-หนองคาย และ
3.การจัดซื้อรางสำหรับใช้ปรับปรุงทางรถไฟ(งานที่ 2)พิษณุโลก-เชียงใหม่)
ดำเนินการโดยไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของทีโออาร์ แม้ว่าขณะนี้รางทั้งหมดจะนำเข้ามากองไว้ที่ท่าเรือแหลมฉบังแล้วก็ตาม แต่ก็ปรากฏว่ายังไม่มีการเซ็นรับมอบแต่อย่างใด

"ข้อร้องเรียนดังกล่าวระบุว่าโครงการปรับปรุงทางรถไฟระยะที่ 5 ระยะทาง 308 กิโลเมตร ที่บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด(มหาชน) เป็นผู้ชนะการประมูล วงเงิน 8,070 ล้านบาท โดยผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการ(บอร์ด) การรถไฟฯและลงนามสัญญาแล้ว ต้องจัดซื้อรางจำนวน 32,950 เมตริกตัน โดยอิตาเลียนไทยได้ยื่นเอกสารประกอบซองประกวดราคาแจ้งว่า ซื้อรางรถไฟจาก ANSHAN THE THIRD STEEL ROLLING จากประเทศจีน ซึ่งรางรถไฟดังกล่าวมีทั้งรางธรรมดาและรางหัวแข็ง ซึ่งรางหัวแข็งดังกล่าวจะใช้เฉพาะทางโค้งและบริเวณประแจสลัก ในส่วนรางหัวแข็งนั้น ทีโออาร์ของการรถไฟฯกำหนดให้ต้องผลิตแบบกระบวนการต่อเนื่อง(On-line Heat Treatment)เท่านั้น"แหล่งข่าวกล่าวและว่า
กระบวนการผลิตต่อเนื่องที่ว่านี้ เป็นกระบวนการผลิตรางที่ได้คุณภาพ แข็งแรงทนทาน ได้รับการยอมรับเป็นสากล ประกอบกับทีโออาร์ของการรถไฟฯระบุว่า โรงงานที่ผลิตรางธรรมดาและรางหัวแข็งต้องเป็นโรงงานที่ผลิตด้วยกระบวนการต่อเนื่องในคราวเดียวกัน แต่บริษัทอันซานฯมีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามทีโออาร์ของการรถไฟฯ

แหล่งข่าว กล่าวอีกว่า เช่นเดียวกับโครงการปรับปรุงทางรถไฟระยะที่ 6 ระยะทาง 278 กิโลเมตร ที่บริษัทร่วมค้า เอ เอส เอส ทีเป็นผู้ชนะการประมูล วงเงิน 6,549 ล้านบาท ที่ต้องจัดซื้อรางจำนวน 30,400 เมตริกตัน ซึ่งพบว่าในกรณีนี้ บริษัทกิจการร่วมค้าเอ เอส เอส ที ผู้ชนะการประมูลดังกล่าวมิได้เป็นผู้ซื้อแบบประกวดราคา จึงไม่มีสิทธิ์ยื่นซองประกวดราคาตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการประกวดราคาด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2541 โดยพบว่าในกรณีนี้แหล่งซื้อรางของบริษัทกิจการร่วมค้าเอ เอส เอส ที แจ้งว่าซื้อมาจากบริษัทเบากังฯ จากประเทศจีน ซึ่งบริษัทดังกล่าวผู้ร้องยืนยันว่าเป็นบริษัทที่มีกระบวนการผลิตรางแบบระบบ Off -line เช่นเดียวกัน

ส่วนโครงการปรับปรุงทางรถไฟ(งานที่ 2)พิษณุโลก-เชียงใหม่ ที่บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด(มหาชน) เป็นผู้ชนะการประมูล วงเงิน 2,853 ล้านบาท ผ่านความเห็นชอบของบอร์ดการรถไฟฯแล้วเช่นกัน เพียงแต่ยังไม่ได้ลงนามในสัญญา ต้องจัดซื้อรางจำนวน 35,129 เมตริกตัน ซึ่งอิตาเลียนไทยได้แจ้งว่า ซื้อมาจากบริษัทอันซานฯเช่นเดียวกัน

"ประเด็นการร้องเรียนอยู่ที่โรงงานบริษัทอันซานฯ ประเทศจีนไม่มีผลงานเคยผลิตราง BS100A (British Standard) ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานการผลิตของประเทศอังกฤษมาก่อน จึงไม่ครบตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ในทีโออาร์ บริษัทดังกล่าวมีผลงานการผลิตรางเพียง BS90A, BS80A, BS75A เท่านั้น ซึ่งส่งไปขายให้ประเทศซูดาน พม่า และมาเลเซีย เฉพาะรางที่ประเทศมาเลเซียสั่งผลิตโรงงานผู้ผลิตไม่สามารถผลิตรางได้ตามสเปก ทราบว่าขณะนี้ประเทศมาเลเซียจึงยังไม่ยอมรับรางดังกล่าว" แหล่งข่าว กล่าวและว่า

ในข้อร้องเรียนดังกล่าวยังระบุว่า รางที่ผลิตจากอันซานเป็นรางที่การรถไฟฯไม่เคยจัดซื้อมาก่อน ประการสำคัญเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2554 ที่ผ่านมายังพบว่าฝ่ายการขนส่ง กระทรวงการรถไฟจีนได้ออกหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการรถไฟของจีน ห้ามจัดซื้อรางเหล็กที่ผ่านกระบวนการอบชุบแบบ Off-line และต้องหยุดการใช้รางดังกล่าวแล้ว ให้ไปใช้รางเหล็กชุบแบบ On-line แทน
ด้านนายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เรื่องนี้ได้รับทราบข้อมูลบางส่วนแล้ว พร้อมกับได้เตรียมตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบ แต่เนื่องจากเป็นการดำเนินงานของภาคเอกชน จึงต้องเชิญบริษัทเอกชนทั้ง 2 รายเข้ามาให้ข้อเท็จจริงก่อนที่จะให้คณะกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นมาเข้าไปตรวจสอบรายละเอียดต่อไป

"คงต้องมีการตรวจสอบเชิงลึกกันหลายฝ่าย เพราะหากการซื้อรางรถไฟที่ไม่ได้มาตรฐานจริงๆ ตามคำร้องเรียนถือว่า เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะมีผลทำให้เกิดอุบัติเหตุทางรถไฟ เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตได้"

ทั้งนี้ผู้สื่อข่าว "ฐานเศรษฐกิจ"ได้ติดตามสอบถามข้อเท็จจริงข้อร้องเรียนดังกล่าวกับนายกรกฏ สุนทรปักษิณ ฝ่ายประชาสัมพันธ์องค์กร บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด(มหาชน) ได้รับคำแนะนำให้ติดต่อไปยังนางสาวกัญญกร เดชอุดม ผู้ช่วยรองประธานบริหาร แผนกสื่อสารองค์กร บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด(มหาชน) ในฐานะผู้บังคับบัญชา ผู้สื่อข่าวจึงได้ติดต่อผ่านเลขานุการหน้าห้องและอี-เมล์ขอทราบข้อเท็จจริง แต่ไม่ได้รับการตอบกลับแต่อย่างใด

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,675 2 - 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43723
Location: NECTEC

PostPosted: 05/10/2011 11:17 am    Post subject: Reply with quote

“สุพจน์”เรียกหารือเช็คแผนแม่บท20ปีการรถไฟก่อนชงรมว.คมนาคม
ข่าวรายวัน - ข่าวในประเทศ
โดย คเณ มหายศ
ฐานเศรษฐกิจ วันอังคารที่ 04 ตุลาคม 2011 เวลา 19:32 น.

“สุพจน์” สั่งหารือเตรียมความพร้อมเช็คอัพแผนยุทธศาสตร์พัฒนาการรถไฟ ระยะ 20 ปี เพื่อเร่งนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมพิจารณาสั่งดำเนินโครงการสนองรัฐบาลเพื่อไทยจากเดิมที่เคยนำเสนอเฉพาะแผน 5 ปี มีครบสูตรระบบรางทั้งรถไฟความเร็งวสูง ทางคู่และโครงข่ายเส้นทางสายใหม่

แหล่งข่าวระดับสูงการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 5 ตุลาคมนี้นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม ได้เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) และสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคมเข้าร่วมประชุมเพื่อจัดทำแผนแม่บทการขนส่งทางรถไฟทั่วประเทศ ระยะ 20 ปีเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามข้อสั่งการของพล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการสนข.กล่าวว่ากรณีดังกล่าวเป็นการเตรียมพร้อมรายละเอียดข้อมูลเพื่อเตรียมนำเสนอให้รัฐมนตรีคมนาคมรับทราบหลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้นำเสนอแผนระยะ 5 ปีเพื่อรับทราบแล้ว โดยแนวคิดดังกล่าวเกิดจากปลัดกระทรวงคมนาคมต้องการฉายภาพความชัดเจนของการพัฒนาให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้เห็นถึงการเตรียมความพร้อมรองรับไว้เพื่อความสะดวก รวดเร็วในการพิจารณาสั่งการต่อไป

ทั้งนี้รายละเอียดตามแผนแม่บทเพื่อพัฒนาระบบรางและรถไฟความเร็วสูงนั้นพบว่าได้เคยสั่งดำเนินการจัดทำมาแล้วเมื่อปี 2551 แล้วเสร็จในปี 2553 มีทั้งการพัฒนาโครงข่ายรถไฟทางคู่ การพัฒนาโครงข่ายเส้นทางสายใหม่ การพัฒนาระบบรถไฟด่วน รถไฟความเร็วสูงสำหรับประเทศไทย แผนแม่บทการพัฒนาระบบรถไฟ การพัฒนาด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น โครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบและโลจิสติกส์ ศูนย์ซ่อมบำรุง และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46884
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/10/2011 9:14 am    Post subject: Reply with quote

'ชัจจ์'เกาะติดรางรถไฟ ร.ฟ.ท.โยนลูก'ยุทธนา'
ฐานเศรษฐกิจ วันพุธที่ 05 ตุลาคม 2011 เวลา 10:15 น.

"ชัจจ์" สั่งตรวจสอบการจัดซื้อรางมูลค่า 1.7 หมื่นล้าน ที่ได้รับร้องเรียนว่าผิดทีโออาร์ จี้การรถไฟฯเร่งสอบผู้เกี่ยวข้อง หากพบผิดขึ้นแบล็กลิสต์ห้ามร่วมประมูลงานคมนาคม อนุฯกมธ.สภาสูงส่งเจ้าหน้าที่สืบก่อนเรียกผู้เกี่ยวข้องแจง ด้าน ร.ฟ.ท.เสียงแข็งจัดซื้อตามสเปกและมีคณะกรรมการตรวจสอบทุกขั้นตอน

ตามที่หนังสือพิมพ์ "ฐานเศรษฐกิจ" ฉบับ 2,675 วันที่ 2-5 ตุลาคม 2554 นำเสนอข่าวผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.)สั่งสอบเชิงลึกการจัดซื้อรางรถไฟตามโครงการปรับปรุงรางรถไฟ ระยะที่ 5 ,6 รวม 3 โครงการ รวมมูลค่า 1.7 หมื่นล้านบาท โดยระบุว่า ได้รับการร้องเรียนว่าผิดเงื่อนไขทีโออาร์นั้น ล่าสุด พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ผู้ควบคุมดูแลการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า กรณีนี้ต้องมีการสอบสวนกับผู้เกี่ยวข้องอย่างแน่นอน เพราะนโยบายของรัฐบาลและพรรคเพื่อไทยการดำเนินงานทุกรายการต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยในเบื้องต้นทราบว่าเป็นรางที่กระทรวงการรถไฟจีนออกประกาศห้ามใช้ ดังนั้นหากปล่อยให้มีการนำรางดังกล่าวที่ไม่ได้มาตรฐานมาใช้ในประเทศไทยและภายหลังเกิดอุบัติเหตุทางรถไฟจะทำให้เกิดการตรวจสอบว่ารางดังกล่าวได้จัดซื้อในสมัยใด

โดยกรณีนี้พบว่าเรื่องดังกล่าวได้ดำเนินการในสมัยรัฐบาลชุดที่แล้ว ที่มีพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำรัฐบาลและมีบุคคลของพรรคภูมิใจไทยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมที่รับผิดชอบการรถไฟฯ แต่การส่งมอบรางกระทำในสมัยรัฐบาลพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งก็อาจทำให้ประชาชนสับสนว่า จัดซื้อในสมัยรัฐบาลปัจจุบันได้ ดังนั้นจึงเห็นควรให้การรถไฟฯตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบกระบวนการผลิตของบริษัทอันซานฯและบริษัทเบากังฯว่าเป็นระบบ Off-line หรือ On-line หากมีความเห็นว่าเป็นระบบ Off-line ก็ให้การรถไฟฯรีบดำเนินการแก้ไขโดยด่วน เพื่อความปลอดภัยของประชาชน

"ช่วงแรกนี้คงต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้บริหารการรถไฟฯไปดำเนินการสอบสวนก่อนสักระยะหนึ่งจากนั้นจึงจะเข้าไปติดตามความชัดเจนด้วยตนเอง โดยคาดว่าภายในสัปดาห์หน้าจะลงพื้นที่โครงการหากพบการทุจริตจริงต้องมีบทลงโทษเกิดขึ้น หนักที่สุดคือการขึ้นชื่อเป็นแบล็กลิสต์บริษัทเอกชนรายนั้นไม่ให้รับเหมาหรือประมูลงานของกระทรวงคมนาคมอีกต่อไป"

นายจตุรงค์ ธีรกนก ประธานคณะอนุกรรมาธิการระบบราง ในคณะกรรมาธิการการคมนาคม วุฒิสภา กล่าวว่า ได้รับทราบข้อมูลจากกรณีดังกล่าวนี้แล้ว ซึ่งได้มีการหารือในการประชุมคณะอนุกรรมาธิการทางรางไปเมื่อวันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม 2554 ที่ผ่านมาโดยมีมติว่าให้นำเรื่องดังกล่าวเข้าหารือในคณะกรรมาธิการการคมนาคมวุฒิสภาชุดใหญ่เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2554 ที่ผ่านมาแล้วพร้อมกันนี้ในเบื้องต้นได้มอบหมายให้อนุกรรมาธิการที่มีความเชี่ยวชาญเข้าไปตรวจสอบแล้ว หากมีผู้ร้องเรียนมายังกรรมาธิการก็พร้อมที่จะเข้าไปตรวจสอบและเรียกผู้เกี่ยวข้องมาชี้แจงต่อไป

แหล่งข่าวระดับสูงการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ขณะนี้ผู้รับเหมาได้เข้าพื้นที่เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2554 ที่ผ่านมา มีกำหนดระยะเวลาก่อสร้าง 2 ปีสิ้นสุดในปี 2556 โดยได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานบริหารโครงการที่มีนายจเร รุ่งฐานี วิศวกรใหญ่ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง เป็นประธาน นายบุญเลิศ ตันติวิญญูพงศ์ รองวิศวกรใหญ่ ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้างเป็นรองประธาน อีกทั้งยังมีการว่าจ้างบริษัท พีซีบีเค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด มูลค่า 185 ล้านบาทเป็นที่ปรึกษาโครงการและควบคุมการก่อสร้างโครงการดังกล่าวนี้ด้วย

"การรับมอบ การตรวจสอบจึงมีกระบวนการขั้นตอนต่าง ๆ อย่างชัดเจน ขณะนี้ยังรอเฉพาะการตรวจรับมอบรางเพื่อให้ผู้รับเหมานำรางออกจากท่าเรือแหลมฉบัง โดยขั้นตอนนี้ต้องรอให้คณะกรรมการตรวจการจ้างของการรถไฟฯที่มีนายประเสริฐ อัตตะนันนท์ รองผู้ว่าการร.ฟ.ท.ตรวจสอบและอนุมัติให้เรียบร้อยก่อน ซึ่งหากเอกชนจะรับความเสี่ยงในช่วงนี้ไปเองด้วยการขอรับของออกไปเพื่อก่อสร้างก่อนก็สามารถทำได้ เพราะการรถไฟฯยังไม่ได้จ่ายเงิน ซึ่งตามระเบียบจะตรวจงานและจ่ายเงินเป็นงวด ๆ"แหล่งข่าวกล่าวและว่า ในกรณีดังกล่าวนี้ยืนยันว่า การจัดหารางเป็นไปตามสเปกที่กำหนดไว้ โดยบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด(มหาชน) เคยยื่นเสนอรายเดิมมาอย่างไร การเสนอราคาก็ยังปฏิบัติตามนั้น อีกทั้งเมื่อเข้าสู่กระบวนการประมูลก็ยังยืนยันรายเดิมเพราะเห็นว่ามีศักยภาพที่จะผลิตรางให้ได้ตามที่กำหนดไว้ในสัญญา อีกทั้งประธานคณะทำงานบริหารโครงการยังได้เดินทางไปดูโรงงานที่ผลิตในประเทศจีนด้วยตนเองพร้อมกับยังสั่งให้ที่ปรึกษาตรวจสอบอีกด้วย

"กระบวนการเผาหัวรางให้ร้อนที่ต้องการรางหัวแข็ง ไม่ใช่กระบวนการหลักผลิตราง โดยในสเปกกำหนดให้ใช้รางได้ทั้ง 2 แบบ คือ On-line และ Off-line คือ ต้องผลิตอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นโครงการปรับปรุงรางระยะทางที่ 5 ที่บริษัทอิตาเลียนไทยฯรับผิดชอบไม่มีส่วนไหนเลยที่ใช้รางหัวแข็ง ดังนั้นข้อนี้จึงไม่ใช่ประเด็นสำคัญ แต่ประเด็นที่ว่าบริษัทอันซานฯจากจีนมีคุณสมบัติที่จะผลิตให้บริษัทอิตาเลียนไทยฯได้จำนวนเท่าไรมากกว่า ทั้งนี้แต่ก็ต้องรอดูว่านายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการการรถไฟฯจะสั่งการให้ระงับการรับมอบรางหรือให้ดำเนินการเป็นอย่างอื่นต่อไป"

อนึ่งโครงการปรับปรุงรางระยะที่ 5 และ 6 นั้นคณะรัฐมนตรี(ครม.)มีมติเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2553 อนุมัติให้การรถไฟฯไปดำเนินการปรับปรุงทางรถไฟระยะที่ 5 ระยะทาง 308 กิโลเมตร ภายในกรอบวงเงิน 8,508 ล้านบาท และโครงการปรับปรุงทางรถไฟระยะที่ 6 ระยะทาง 278 กิโลเมตร ภายในกรอบวงเงิน 6,779 ล้านบาท และบอร์ดการรถไฟฯมีมติครั้งที่ 12/2553 เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2553 อนุมัติให้การรถไฟฯดำเนินการประกวดราคาจ้างก่อสร้างทั้ง 2 โครงการโดยดำเนินการออกประกวดราคาตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2549

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,676 6 - 8 ตุลาคม พ.ศ. 2554
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46884
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/10/2011 8:45 pm    Post subject: Reply with quote

การรถไฟฯแจ้งปิดซ่อมทางช่วงสถานีบ้านช่องใต้-แก่งเสือเต้น15ต.ค.นี้-14ก.พ.55
ฐานเศรษฐกิจ วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม 2011 เวลา 17:08 น.

การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) แจ้งว่า ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2554 – 14 กุมภาพันธ์ 2555 การรถไฟฯ ต้องมีการปิดทางระหว่างสถานีบ้านช่องใต้ –แก่งเสือเต้น เพื่อปรับปรุงทาง เปลี่ยนประแจ ซ่อมและเปลี่ยนสะพาน ตามโครงการปรับปรุงทางรถไฟ ระยะที่ 5 (ช่วงที่1)

นางนวลอนงค์ วงษ์จันทร์ หัวหน้ากองประชาสัมพันธ์ การรถไฟฯ แจ้งว่า ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2554 ถึงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2555 จะมีการปิดทางรถไฟช่วงสถานีบ้านช่องใต้ –แก่งเสือเต้น เพื่อดำเนินการปรับปรุงทาง เปลี่ยนประแจ ซ่อมและเปลี่ยนสะพาน โดยการเดินทางระหว่างสถานีชุมทางแก่งคอย-แก่งเสือเต้น-ชุมทางแก่งคอย จะมีรถยนต์โดยสารวิ่งขนถ่าย รับ-ส่งผู้โดยสารทุกสถานีและที่หยุดรถ ตามกำหนดเวลาขบวนรถไฟทุกขบวน ส่วนช่วงระหว่างสถานีแก่งเสือเต้น-ชุมทางบัวใหญ่-แก่งเสือเต้น จะมีขบวนรถไฟเดินตามปกติ

โครงการปรับปรุงทางระยะที่ 5 ในเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะทาง 308 กิโลเมตร ดำเนินการตามแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของการรถไฟฯ ระยะเร่งด่วน (พ.ศ. 2553 – 2557) เพิ่มความแข็งแรงของทางรถไฟให้เหมาะสมกับสภาพการเดินรถในปัจจุบันและอนาคต เพื่อแก้ปัญหาการเกิดรางหักรางร้าวในทางประธาน อันเนื่องมาจากการใช้งานมานาน เพิ่มความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการเดินรถ ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงทางรถไฟ การซ่อมบำรุงรถจักรและล้อเลื่อน เพิ่มความจุของทางเนื่องจากสามารถเพิ่มความเร็วสูงสุดขบวนรถจาก 90 กิโลเมตร/ชั่วโมง เป็น 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง เพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้โดยสารที่ใช้บริการการเดินรถ

นางนวลอนงค์ฯ เพิ่มเติมว่า หากโครงการปรับปรุงทางระยะที่ 5 ในสายตะวันออกเฉียงเหนือ ดำเนินการเรียบร้อยตามแผน ทางรถไฟจะมีความมั่นคงปลอดภัยในการเดินรถ สามารถรองรับน้ำหนักกดเพลาได้สูงขึ้นเป็น 20 ตันต่อเพลา การรถไฟฯสามารถเพิ่มน้ำหนักบรรทุกและสมรรถนะในการบรรทุกสินค้าได้ดีขึ้น สามารถรองรับการเพิ่มความเร็วของขบวนรถได้สูงสุดถึง 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง สามารถเพิ่มความจุของทางและเพิ่มการเดินขบวนรถได้ เพิ่มประสิทธิภาพในการหมุนเวียนรถจักรและล้อเลื่อน เพิ่มคุณภาพของการให้บริการและความสะดวกสบายให้แก่ผู้โดยสาร อันจะส่งผลให้จำนวนผู้โดยสาร หันมาใช้บริการรถไฟมากขึ้น อีกทั้ง ยังเป็นการสนับสนุนการพัฒนาระบบการจัดการขนส่งสินค้าและบริการ (Logistics) ทางรถไฟ และเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง (Modal Shift) มาใช้การขนส่งในระบบราง

ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาดำเนินการ ในระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม 2554 – วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2555 ระยะเวลา 120 วัน ในการดำเนินการปรับปรุงทางในช่วงสถานีบ้านช่องใต้-แก่งเสือเต้น การรถไฟฯ จะจัดหารถยนต์มารองรับการเดินทาง ซึ่งอาจทำให้ผู้ใช้บริการไม่ได้รับความสะดวกบ้าง จึงใคร่ขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ โอกาสนี้ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ 1690 ตลอด 24 ชั่วโมง

------------------------

หนองคายระดมกระสอบทรายช่วยน้ำท่วมภาคกลาง
สำนักข่าวไทย วันศุกร์ ที่ 14 ต.ค. 2554

หนองคาย 14 ต.ค.-นายวิรัตน์ ลิ้มสุวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน องค์กรปกครองท้องถิ่น กว่า 300 คน ร่วมกันกรอกกระสอบทราย จำนวน 15,000 กระสอบ ก่อนลำเลียงขนส่งทางรถไฟ นำไปช่วยในการป้องกันน้ำท่วมที่ภาคกลาง ซึ่งทรายและกระสอบที่ใช้บรรจุทรายดังกล่าว ได้รับบริจาคจากท่าทราย เอ.ซี.อภิชัย ในจังหวัดหนองคาย

ทั้งนี้ ผวจ.หนองคาย กล่าวว่า การส่งกระสอบทรายไปช่วยพื้นที่น้ำท่วมในภาคกลางครั้งนี้ ได้รับความอนุเคราะห์จากการรถไฟแห่งประเทศไทย จัดรถไฟขบวนพิเศษมาลำเลียงกระสอบทรายไปยังปลายทางสถานีแก่งคอย จ.สระบุรี ในวันพรุ่งนี้(15 ต.ค.) ซึ่งจังหวัดหนองคายพร้อมให้การสนับสนุนกระสอบทรายเพิ่มเติมอีก เนื่องจากในจังหวัดมีทรายเป็นจำนวนมาก.-สำนักข่าวไทย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43723
Location: NECTEC

PostPosted: 21/10/2011 4:11 am    Post subject: Reply with quote

ผศ.ดร.พนกฤษณ วิศวฯโยธา ร่วมระดมความคิดเห็น แนวทางการพัฒนาระบบการขนส่งทางรถไฟสำหรับประเทศไทย

ผศ.ดร.พนกฤษณ/ข่าว
จารุณี/รายงาน
เขียนโดย enpr
ข่าวมหาวิทยาลัยขอนแก่น พฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม 2554


ผศ.ดร.พนกฤษณ คลังบุญครอง รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาโครงสร้างมูลฐานอย่างยั่งยืน ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับเชิญจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม เพื่อเข้าร่วมการประชุมระดมความคิดเห็นเชิงวิชาการ เรื่อง แนวทางการพัฒนาระบบการขนส่งทางรถไฟสำหรับประเทศไทย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม 2554 ณ ห้องประชุมอาคาร สนข. โดยมี พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมให้เกียรติเข้าร่วมและเป็นประธานในการประชุมครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมการประชุมจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง อาทิ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่างๆ สภาวิศวกร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และภาคเอกชนประมาณ 120 คน
สรุปประเด็นที่สำคัญจากการประชุมในครั้งนี้ ได้แก่ รัฐบาลจะเดินหน้าโครงการระบบรถไฟรางคู่เดิม ที่วิ่งบนรางขนาด 1 เมตร (Meter Gauge) ในระยะที่ 1 รวม 6 เส้นทาง รวมเป็นระยะทางทั้งสิ้น 873 กิโลเมตร (รวมเส้นทางมาบกะเบาะ – ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กิโลเมตร และเส้นทางชุมทางถนนจิระ – ขอนแก่น ระยะทาง 188 กิโลเมตร) ของ รฟท. ไว้โดยจะไม่โยกงบประมาณในแผนการลงทุนโครงการเหล่านี้ไปพัฒนารถไฟความเร็วสูงตามที่ได้ปรากฏในสื่อต่างๆ สำหรับโครงการระบบรถไฟความเร็วสูงที่วิ่งบนรางขนาด 1.435 เมตร (Standard Gauge) จะก่อสร้างขึ้นบนทางใหม่เฉพาะ (Dedicated Track) และจะต้องมีการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเชื่อมต่อกับ สปป.ลาว และสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยจะสามารถให้บริการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าร่วมกัน การพัฒนาโครงการระบบการขนส่งทางรถไฟของประเทศไทย คาดว่าจะส่งผลให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติ ให้บริการประชาชนด้วยความสะดวกรวดเร็วและปลอดภัย รวมทั้งลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์และการขนส่งสินค้า เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศ และรองรับการขนส่งภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี พ.ศ. 2558
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46884
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/11/2011 4:30 pm    Post subject: Reply with quote

ขออนุมัติให้ประเทศไทยลงนามในพิธีสาร 6 พรมแดนสำหรับรถไฟและสถานีชุมทาง
RYT9 ข่าวเศรษฐกิจ มติคณะรัฐมนตรี -- พุธที่ 23 พฤศจิกายน 2554 15:41:20 น.

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอดังนี้

1. อนุมัติให้ประเทศไทยลงนามในพิธีสาร 6 พรมแดนสำหรับรถไฟและสถานีชุมทาง
2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หรือรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทย ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างพิธีสารที่ไม่ใช่สาระสำคัญ ขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ใช้ดุลยพินิจในเรื่องนั้น ๆ แทนคณะรัฐมนตรี โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง

3. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หรือรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายสำหรับการลงนามดังกล่าวด้วย

สาระสำคัญของเรื่อง
คค. เสนอว่า
1. การประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2541 ณ กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ได้ร่วมลงนามกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน (ASEAN Framework Agreement on the Facilitation of Goods in Transit) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน เพื่อสนับสนุนการดำเนินการของเขตการค้าเสรีอาเซียนและเพิ่มความเป็นเอกภาพทางเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ให้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ ภายหลังการลงนามกรอบความตกลงฯ ประเทศสมาชิกอาเซียนจะต้องจัดทำพิธีสาร (Protocol) แนบท้ายกรอบความตกลงฯ จำนวน 9 ฉบับ เพื่อกำหนดรายละเอียดในทางปฏิบัติ โดยถือว่าพิธีสารดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของกรอบความตกลงฯ ซึ่งพิธีสาร 6 เป็นหนึ่งในพิธีสารแนบท้ายกรอบความตกลงดังกล่าว

2. การประชุมสุดยอดอาเซียนและการประชุมสุดยอดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ครั้งที่ 17 (The 17th ASEAN Summit and Related Summits) ระหว่างวันที่ 28-30 ตุลาคม 2553 ณ กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ได้มีการลงนามและให้การรับรองแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน (Master Plan on ASEAN Connectivity : MPAC) ซึ่งแผนแม่บทดังกล่าวได้กำหนดให้มีการหาข้อยุติในการจัดทำพิธีสาร 6 ให้แล้วเสร็จภายในปี 2554 (ค.ศ. 2011)

3. การประชุมคณะทำงานด้านการขนส่งทางบกของอาเซียน (ASEAN Land Transport Working Group : LTWG) ครั้งที่ 19 (3-6 พฤษภาคม 2554) ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา ที่ประชุมได้นำร่างพิธีสาร 6 ที่มีร่างเดิมอยู่ 2 ฉบับ ได้แก่ ร่างเดิมที่เคยตกลงกันในการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการขนส่งอาเซียน (ASEAN Senior Transport Officials Meeting : STOM) ครั้งที่ 17 (22-24 มิถุนายน 2547) ณ เมืองเสียมเรียบ ราชอาณาจักรกัมพูชา และร่างเดิมที่ประเทศสิงคโปร์ได้เคยเสนอในการประชุมคณะทำงานด้านการขนส่งทางบกของอาเซียน (LTWG) ครั้งที่ 9 (7-28 เมษายน 2548) ณ กรุงเทพฯ มาพิจารณา และผู้แทนสิงคโปร์ได้เสนอให้ใช้ร่างพิธีสาร 6 ฉบับที่ทั้ง 9 ประเทศได้เคยให้ความเห็นชอบในหลักการในการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการขนส่งอาเซียน (STOM) ครั้งที่ 17 เป็นร่างในการพิจารณาเพื่อความรวดเร็ว ซึ่งประเทศสมาชิกได้เสนอขอปรับปรุงเนื้อหา/สาระในพิธีสาร 6 เพื่อความเหมาะสม และให้สามารถนำมาปฏิบัติงานได้จริง

4. การประชุมคณะทำงานด้านการขนส่งทางบกของอาเซียน (LTWG) ครั้งที่ 20 (2-4 สิงหาคม 2554) ณ เมืองเสียมราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชา ที่ประชุมได้หารือเรื่องร่างพิธีสาร 6 และตกลงที่จะใช้ร่างที่ได้จากการประชุมคณะทำงานด้านการขนส่งทางบกของอาเซียน (LTWG) ครั้งที่ 19 ที่ได้แก้ไขแล้วเป็นร่างฉบับสุดท้าย (Final Text) ที่จะเวียนให้ประเทศสมาชิกตรวจสอบข้อกฎหมายและพิธีการต่าง ๆ โดยประเทศสมาชิกจะต้องแจ้งยืนยันความพร้อมในการลงนามให้ฝ่ายเลขานุการอาเซียนทราบก่อนวันที่ 31 ตุลาคม 2554 เพื่อจะเสนอให้มีการลงนามพิธีสาร 6 ในการประชุมรัฐมนตรีขนส่งของอาเซียน (ATM) ครั้งที่ 17 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15-16 ธันวาคม 2554

5. คค. โดยการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ตรวจสอบความถูกต้องของร่างพิธีสาร 6 ฉบับสุดท้าย (Final Text) ที่ได้มีการพิจารณาการประชุมคณะทำงานด้านการขนส่งทางบกของอาเซียน (LTWG) ครั้งที่ 20 แล้วเห็นว่า ร่างพิธีสารดังกล่าวเป็นไปตามมติที่ประชุมคณะทำงานด้านการขนส่งทางบกของอาเซียน (LTWG) ครั้งที่ 19 และ 20

6. หลักการและสาระสำคัญของร่างพิธีสาร 6 พรมแดนสำหรับรถไฟและสถานีชุมทาง
ข้อที่ 1 บทนิยาม (Definitions)
คำศัพท์ที่เกี่ยวกับรถไฟ ได้แก่ สถานีชายแดน สถานีเปลี่ยนถ่ายรถไฟ องค์กรรถไฟ อัตราค่าระวาง ล้อเลื่อน สถานี การขนส่งผ่านแดน ขบวนรถไฟ และผู้มีอำนาจออกใบอนุญาต

ข้อที่ 2 ขอบเขตการบังคับใช้ (Scope of Application)
ภาคีคู่สัญญาตกลงจะนำข้อตกลงของพิธีสาร 6 ไปใช้เพื่อการขนส่งสินค้าผ่านแดนทางรถไฟ
ข้อที่ 3 สัญญาผูกพัน (Obligations)
- ภาคีคู่สัญญาจะต้องจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างเหมาะสมที่สถานีที่กำหนดให้เป็นสถานีชายแดนและสถานีเปลี่ยนถ่ายเพื่อการขนส่งสินค้าผ่านแดน

- ปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการขนส่งผ่านแดน ตลอดจนงานด้านเอกสารและกระบวนการทำงาน รวมถึงชั่วโมงทำการให้เรียบง่าย ประสานกัน ไม่ซับซ้อน รายละเอียดให้กำหนดไว้ในข้อตกลงเดินรถไฟร่วมระหว่างประเทศ

- จัดเตรียมเจ้าหน้าที่และสิ่งอำนวยความสะดวกให้เพียงพอสำหรับการตรวจสอบล้อเลื่อนให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ณ จุดผ่านแดน

ข้อที่ 4 การกำหนดสถานีชายแดนและสถานีเปลี่ยนถ่าย (Designated Railway Border and Interchange Stations)

ภาคีคู่สัญญายอมรับสถานีชายแดนและสถานีเปลี่ยนถ่ายที่คู่ภาคีได้กำหนดไว้รายละเอียดของสถานีบนเส้นทางที่กำหนดและการแก้ไขภายหลังต้องแจ้งให้เลขานุการอาเซียนทราบด้วย

ข้อที่ 5 การจัดเตรียมการปฏิบัติงานขั้นพื้นฐาน ประเภทและจำนวนล้อเลื่อน (Basic Operational Arrangements and Type and Quantity of Rolling Stock)

- ภายหลังจากที่ภาคีคู่สัญญาได้ยอมรับดำเนินการขนส่งสินค้าผ่านแดนตามข้อตกลงเดินรถร่วมระหว่างกัน ซึ่งได้คำนึงหลักความปลอดภัย ภาคีคู่สัญญาจึงตกลงกำหนดจำนวนขบวนรถสินค้า ตารางการเดินรถ สถานีต้นทาง/ปลายทาง และสถานีชายแดน/เปลี่ยนถ่ายที่ขบวนรถผ่าน สถานที่ตรวจสอบและบริการรถจักร ประเภทและชนิดของล้อเลื่อน ความเร็ว เป็นต้น

- ค่าระวางควรเป็นผลรวมของค่าระวางตามระยะทาง ซึ่งแต่ละการรถไฟได้เรียกเก็บจากการขนส่งในลักษณะเดียวกัน

- น้ำหนักบรรทุกจะต้องไม่เกินพิกัดตามที่ภาคีคู่สัญญาได้กำหนดไว้
- การลากจูงขบวนรถต้องใช้รถจักรของภาคีคู่สัญญา เว้นแต่ภาคีคู่สัญญาจะมีข้อตกลงร่วมกันไว้เป็นอย่างอื่น

- ภาคีคู่สัญญาจะต้องเตรียมรถจักรสภาพพร้อมใช้งานที่สถานีเปลี่ยนถ่ายตามกำหนดการเดินรถผ่านแดนเพื่อทำการเดินรถต่อไปบนเครือข่ายของภาคีคู่สัญญานั้น

- ภาคีคู่สัญญาต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบการขนส่งสินค้าอันตรายขององค์การสหประชาชาติ (UN Model Regulations on Transport of Dangerous Goods) หากสินค้าที่ทำการขนส่งทางรถไฟเป็นวัตถุอันตราย

ข้อที่ 6 การตรวจสอบล้อเลื่อน (Inspection of Rolling Stock)
- ภาคีคู่สัญญาตกลงจัดให้มีนายตรวจล้อเลื่อน (Rolling Stock Examiners) เพื่อทำการตรวจสอบล้อเลื่อนและขบวนรถ ทั้งนี้ นายตรวจล้อเลื่อนดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดใน Regulations and Instruction for Carriage and Wagon Examiners

- ภาคีคู่สัญญาตกลงว่าล้อเลื่อนที่ใช้ในการเดินรถจะต้องได้รับการตรวจสอบโดยนายตรวจล้อเลื่อนเมื่อจำเป็น

- ภาคีคู่สัญญาควรจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการเดินขบวนรถผ่านแดนและจัดให้มีระบบการติดตามที่มีประสิทธิภาพ

ข้อที่ 7 การจัดเตรียมองค์กร (Institutional Arrangements)
- การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการขนส่ง (STOM) รับผิดชอบในการติดตาม ดูแล และให้คำปรึกษา เพื่อให้การนำพิธีสาร 6 ไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิผล

- การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการขนส่ง (STOM) ต้องเสนอรายงานผลการดำเนินงานตามพิธีสาร 6 เป็นประจำ โดยผ่านทางเลขานุการอาเซียน

- เลขานุการอาเซียน จะต้องให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนด้านเทคนิคที่จำเป็นต่อการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการขนส่ง (STOM)

ข้อที่ 8 บทส่งท้าย (Final Provisions)
- พิธีสารนี้จะมีเลขานุการอาเซียนเป็นผู้ประสานงาน
- พิธีสารนี้ถือเป็นส่วนเดียวกับกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน

- พิธีสารนี้ต้องมีการให้สัตยาบันหรือการยอมรับจากภาคีคู่สัญญาและแจ้งไปยังเลขานุการอาเซียน

- พิธีสารนี้จะมีผลบังคับใช้เมื่อมีการให้สัตยาบันและการยอมรับจากทุกประเทศในภาคีคู่สัญญา

- การแก้ไขข้อกำหนดจะกระทำได้เมื่อได้รับความยินยอมจากทุกประเทศในภาคีคู่สัญญา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 พฤศจิกายน 2554
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
kikoo
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 01/02/2010
Posts: 1667
Location: มอ.ตรัง และ สถานีตรัง

PostPosted: 23/11/2011 11:33 pm    Post subject: Reply with quote

^
ถือว่าเป็นเรื่องดีใช่ไหมครับ? เพราะดูเหมือนว่าถ้าหลักการที่ร่างไว้เป็นจริงขึ้นมา สิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องกับระบบรางของเมืองไทย ก็อาจจะได้เวลาปรับโฉมครั้งใหญ่เลยนะครับ Very Happy
_________________
ความคืบหน้าโครงการปรับปรุงทางช่วงที่วัง-กันตัง
http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=5618
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43723
Location: NECTEC

PostPosted: 03/12/2011 11:24 pm    Post subject: Reply with quote

mosdelta wrote:
ร่างขอบเขตงานจ้างผลิตหรือจัดหาพร้อมเปลี่ยนหมอนคอนกรีตอัดแรงชนิด Mono Block พร้อมเครื่องยึดเหนี่ยวรางแบบสปริง ระหว่างสถานีกรุงเทพ-สถานีหัวหมาก และย่านสถานีกรุงเทพ-บางซื่อ แขวงบำรุงทางกรุงเทพ

http://www.railway.co.th/auction/tor/pdf/2554/54651186tor.pdf

ส่วนกรณีย่านสถานี กรุงเทพ ดูจาก TOR ท่าจะซับซ้อนสักหน่อย เพราะ ลงหมอน Monoblock + หิน ใหม่ ตามส่วนต่อไปนี้:

กม. 2+197 – กม.15+360 ในทางประธานสายตะวันออก - จากโค้งยมราชมาหัวหมาก
กม.14+710-กม.15+360 ในทางประธานกลางสายตะวันออก - ย่านสถานีหัวหมาก ทาง กลาง

กม.0+734-กม.6+700 ทางประธานขึ้น-ล่อง(สายเหนือ) - ทาง จากนอกโดมอาคารสถานีกรุงเทพ ถึง ป้ายหยุดรถประดิพัทธ์ ก่อนถึงคอสะพานดำข้ามคลองบางซื่อ ตรงชานชลา 9-10

กม.0+734-กม.2+170(ทาง3) - ทางประธานไปสายตะวันออก จากนอกโดมอาคารสถานีกรุงเทพ ถึง ป้ายหยุดรถสถานียมราช

ย่านสถานีจิตรลดา กม.2+935.55- กม.3+614.87 (ราง 3) - ตรงทางสามเหลี่ยมจิตรลดา ตอนพุ่งเข้าหาป้ายหยุดรถอุรุพงศ์
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46884
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/12/2011 8:30 pm    Post subject: Reply with quote

‘บิ๊กโอ๋’ปัดข่าวขัดแย้งรมช.จ่อเปิดใจ 6 ธ.ค.
ไทยรัฐออนไลน์ 5 ธ.ค. 54 19.55 น.

“บิ๊กโอ๋”เต้นข่าวเกาเหลารมช.คมนาคม เตรียมเปิดแถลง 6 ธ.ค.ยืนยันไม่มีปัญหาความขัดแย้งแต่อย่างใด…

พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ในวันที่ 6 ธ.ค.2554 นี้ เตรียมแถลงข่าวถึงกระแสข่าวความขัดแย้งกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งตนยืนยันว่า การทำงานร่วมกันในกระทรวงคมนาคม ไม่มีปัญหาความขัดแย้งกันแต่อย่างใด

ด้านแหล่งข่าวกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า นโยบายการทำงานระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม มีบางเรื่องไม่ได้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เช่น เรื่องรถไฟทางคู่ และรถไฟความเร็วสูง โดยพล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งดูแลการรถไฟแห่งประเทศไทย มีแนวคิดจะเปลี่ยนรางรถไฟจากปัจจุบันขนาด 1 เมตรเป็น 1.435 เมตรทั้งหมด แต่พล.อ.อ.สุกำพล กลับให้ไปศึกษาพิจารณาความเป็นไปได้ ซึ่งหากเปลี่ยนรางรถไฟทั้งหมดจะสิ้นเปลืองงบประมาณ

“มองว่าปัญหาการทำงานของรัฐมนตรีทั้ง 3 คน เกิดจากการไม่พูดกันโดยตรง และบางครั้งพวกที่ปรึกษาต่างๆ ซึ่งรัฐมนตรีแต่ละคนมีที่ปรึกษาจำนวนมาก ชอบไปฟ้องนาย เลยทำให้บางครั้งรัฐมนตรีไม่รู้เรื่องเลย จึงเกิดเป็นเรื่องเป็นราว ซึ่งตามหลักรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมต้องให้นโยบายทุกๆ เรื่อง เพราะต้องเสนอเรื่องเข้าที่ประชุมครม. มองว่า พล.อ.อ.สุกำพล มีแนวทางที่ชัดเจนมากที่สุด เพราะรัฐมนตรีบางคนชอบพูดนโยบายแบบเอามัน แต่ความจริงทำได้ยากแต่ระยะหลังแนวทางการทำงานของทั้ง 3 คนเป็นไปในแนวทางเดียวกัน เพราะประชุมมากขึ้น” แหล่งข่าวกล่าว

ส่วนขั้นตอนการทำงานของข้าราชการกระทรวงคมนาคม หากรัฐมนตรีแต่ละคนมีแนวทางการทำงาน ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกันข้าราชการก็จะพิจารณาเองว่า แนวทางใดทำได้หรือทำไม่ได้ และจะปรับเข้าหากัน สุดท้ายก็จะไปชี้แจงถึงความเป็นไปได้ในแต่ละนโยบายให้รับทราบอีกครั้ง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 145, 146, 147 ... 486, 487, 488  Next
Page 146 of 488

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©