View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 21/12/2011 8:37 am Post subject: |
|
|
ขอบคุณครับ น่าเสียดายตรงเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาตามแผนงานต่างๆ แล้ว ไม่มีใครคิดสานต่ออีก หรืออาจคิดว่า ไม่ใช่ผลงานของฉันก็ได้
เรื่องนี้เป็นอุปสรรคตามปกติของหน่วยงานที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง มักจะยึดติดกับชื่อเสียงหรือโครงสร้าง จนไม่มีโอกาสมองออกไปสู่โลกภายนอกว่าพัฒนาไปถึงไหนกันแล้ว |
|
Back to top |
|
|
nop2
2nd Class Pass (Air)
Joined: 06/03/2008 Posts: 985
Location: เพชรบุรี
|
Posted: 21/12/2011 10:10 am Post subject: |
|
|
Quote: | |
บล็อกเครื่องซูลเซอร์ 8LV25 หรือ Frich ครับเนี่ย _________________ "You are star I am darkness Our love brighter than the sun .." |
|
Back to top |
|
|
kikoo
1st Class Pass (Air)
Joined: 01/02/2010 Posts: 1667
Location: มอ.ตรัง และ สถานีตรัง
|
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 21/12/2011 12:24 pm Post subject: |
|
|
nop2 wrote: | บล็อกเครื่องซูลเซอร์ 8LV25 หรือ Frich ครับเนี่ย |
ไม่อยากมีปัญหาด้านลิขสิทธิ์ภาพ ขอทำ link มาให้พิจารณากันดีกว่าครับ
http://www.derbysulzers.com/thailand.html |
|
Back to top |
|
|
digimontamer
3rd Class Pass (Air)
Joined: 12/05/2009 Posts: 487
|
Posted: 21/12/2011 12:51 pm Post subject: |
|
|
ขอบพระคุณมากๆครับผม
ผมก็อาศัยอยู่ในย่านนั้นมาแต่เด็ก บ้านผมอยู่เลยทางรถไฟไปทางประตูน้ำแค่ราวๆ 150 เมตร |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 21/12/2011 2:08 pm Post subject: |
|
|
ผมเพิ่งทราบว่าในบ้านเรา มีชาวมักกะสันอยู่หลายคนด้วยแฮะ |
|
Back to top |
|
|
casanotoey
3rd Class Pass (Air)
Joined: 03/07/2006 Posts: 412
|
Posted: 21/12/2011 2:18 pm Post subject: |
|
|
เคยมีโอกาสได้อ่านหนังสือครบรอบ 72 ปี การรถไฟ รู้สึกว่านอกจากโรงงานมักกะสันแล้ว ความสามารถของโรงงานในส่วนภูมิภาคก็มีศักยภาพสูงมากเช่นเดียวกัน อุปกรณ์เครื่องมือต่างๆถือว่าทันสมัยมากในยุคนั้น เมื่อเทียบกับปัจจุบัน |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 21/12/2011 2:33 pm Post subject: |
|
|
เดี๋ยวนี้ โรงงานตามภูมิภาค เพิ่งจะอยู่ในอาการฟื้นไข้ถูกดองงานครับ ถ้าทำงานได้เต็มศักยภาพ เราคงเห็นอะไรที่พัฒนามากกว่านี้ก็ได้
อย่างน้อยๆ บรรดารถจักร รถพ่วง น่าจะสามารถซ่อมบำรุงหรือทำสีใหม่โดยไม่ต้องส่งมาถึงมักกะสัน ส่วนโรงงานใหญ่น่าจะเข้าระดับสร้างรถโดยสารใช้งานเอง หรือซ่อมสร้างแบบยกคันนั่นแหละ |
|
Back to top |
|
|
chairat
1st Class Pass (Air)
Joined: 02/04/2008 Posts: 1023
|
Posted: 21/12/2011 3:35 pm Post subject: |
|
|
เป็นบุญตามากครับที่ได้เห็นภาพเก่าอย่างนี้
ขอบคุณพี่ตึ๋งที่นำมาให้ชมครับ _________________
|
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 21/12/2011 8:55 pm Post subject: |
|
|
ขอบคุณทุกท่านอีกครั้งหนึ่ง ที่ติดตามชมนะครับ ต้องขออภัยที่หลายๆ ภาพนั้น ผมสแกนมาจากหนังสือต้นฉบับ ซึ่งจัดพิมพ์ในแบบเก่า ทำให้มองแล้วไม่เนียนตานะครับ
ขอต่อเรื่องราวของโรงงานมักกะสันกันต่อไปครับ...
..............
โรงงานมักกะสัน (3)
งานสร้างรถพ่วง
เรื่องการสร้างรถพ่วงขึ้นเองภายในโรงงานมักกะสันนี้ การรถไฟฯ ได้มีความคิดและได้เคยทดลองสร้างรถข้างต่ำ (ขต.) ขึ้นใช้เองมาแล้ว เมื่อก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่เป็นรถประกอบด้วยไม้เป็นส่วนสำคัญ แต่โดยที่โรงงานมักกะสันในสมัยสงครามโลก ต้องมีภาระหนักในอันเร่งรีบบูรณะและซ่อมรถจักรและล้อเลื่อนให้ได้ปริมาณเพียงพอออกไปใช้งานได้โดยเร็วที่สุด เพราะมีล้อเลื่อนที่ชำรุดรอซ่อมหนักอยู่เป็นจำนวนมาก จึงต้องระงับความคิดนี้ไว้ก่อน
ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2503 รัฐบาลได้ส่งคณะผู้แทนไทยไปประชุมการรถไฟ ณ ประเทศอินเดีย โดยมี พลเอก ครวญ สุทธานินทร์ ประธานกรรมการรถไฟฯ เป็นหัวหน้าคณะ ซึ่งประกอบด้วย พลเอก ไสว ไสวแสนยากร ผู้ว่าการรถไฟฯ พันตรี แสง จุละจาริตต์ ผู้อำนวยการฝ่ายการเดินรถ นายอาชว์ กุญชร ณ อยุธยา วิศวกรอำนวยการกองลากเลื่อน หลวงศิลปวิธานโกวิท รองวิศวกรใหญ่ฝ่ายการช่างโยธา และนายปิ่น โกศัยสุก วิศวกรกำกับการแผนกสะพาน
เมื่อกลับมาก็ได้เสนอรายงานต่อกระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2504 ซึ่งในรายงานนั้น ได้กล่าวถึงความสามารถสร้างรถสินค้าเหล็กล้วน ของประเทศอินเดีย โดยใช้วัสดุอุปกรณ์ผลิตในประเทศทั้งสิ้น และได้ท้าวถึงความสามารถของการรถไฟไทย ที่จะจัดดำเนินการได้อย่างเดียวกัน ขาดแต่ส่วนประกอบที่เป็นแผ่นเหล็กเท่านั้น ที่ประเทศไทยยังผลิตเองไม่ได้
แต่เมื่อทางรัฐบาลสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้รับทราบรายงานนี้แล้ว ก็ได้มีคำสั่งเป็นนโยบายให้การรถไฟฯ รีบพิจารณาจัดสร้างเองบ้างทันที
ดังนั้น ฝ่ายการช่างกลจึงได้นำปัญหาเกี่ยวกับงานสร้างรถมาพิจารณาอย่างรอบคอบจริงจัง ประกอบกับได้มีการพัฒนาในด้านบุคคล และความรู้ ความสามารถของผู้ปฏิบัติงาน ในด้านโรงงานของฝ่ายการช่างกล ทั้งยังได้ตระหนักดีถึงภาระของรัฐบาลในเรื่องดุลการค้าของประเทศไทยที่อยู่ในระดับเสียเปรียบ เนื่องจากการสั่งซื้อสิ่งของจากต่างประเทศมากขึ้นด้วย จึงได้เป็นกำลังกระตุ้นวิศวกรทั้งหลายให้ใช้ความพยายามในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จในงานสร้างรถพ่วงขึ้นเอง ตามความมุ่งหมายและนโยบายของรัฐบาลจงได้
โรงงานมักกะสัน จึงได้ทดลองสร้างรถเหล็กล้วนชนิด 4 ล้อ ตู้ใหญ่ (ตญ.) เป็นรถตัวอย่าง (Pilot Car) เมื่อปี พ.ศ.2506 ในขณะนั้น ดร.เชาวน์ ณ ศิลวันต์ เป็นวิศวกรอำนวยการกองโรงงาน (ตั้งแต่ พ.ศ.2506 ถึง 2508) ปรากฎว่าใช้การได้ดี แต่ราคาการสร้างยังไม่ต่ำเท่าที่ควร เนื่องจากเป็นการสร้างเพียง 1 คัน
อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาแล้วก็เห็นว่าสามารถจะลดค่าใช้จ่ายในการสร้างลงได้ และเพื่อหาข้อมูลและวัดสอบความสามารถในทุกด้านให้ชัดแน่ขึ้น ฝ่ายการช่างกลจึงได้เสนอการรถไฟฯ ขออนุมัติทดลองสร้างรถตู้ใหญ่ (ตญ.) เพิ่มขึ้นอีก ซึ่งคณะกรรมการรถไฟฯ ก็ได้อนุมัติให้ทดลองสร้าง 10 คัน คือ รถ ตญ. หมายเลข 11001 11010 สร้างเสร็จส่งออกใช้การเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2507 โดยมี ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (พล ท.พงษ์ ปุณณกันต์) มาเป็นประธานในพิธีเจิมและปล่อยรถจากโรงงานมักกะสัน
รถเหล่านี้ได้รับการสร้างอย่างประณีตเท่าที่เครื่องจักรเครื่องมือที่มีอยู่ ทั้งมีคุณภาพบางประการดีกว่าที่ซื้อมาจากต่างประเทศ ค่าสร้างเฉลี่ยต่อ 1 คัน เป็นเงิน 67,382.88 บาท ต่ำกว่ารถ ตญ. ที่ซื้อจากต่างประเทศในระยะเวลาใกล้เคียงกัน จากข้อมูลที่ได้ในการสร้างรถ ตญ. เหล็กล้วน 10 คันนี้เอง จึงปรากฎชัดว่า โรงงานมักกะสันอยู่ในสภาพที่จะดำเนินการสร้างรถขึ้นใช้เองได้แล้ว
ฉะนั้น ในปลายปี พ.ศ.2509 การรถไฟฯ จึงได้กำหนดแผนงานสร้างทั้งรถโดยสารและรถสินค้าขึ้นเป็นโครงการพัฒนาเศรษฐกิจ พ.ศ.2510 2514 |
|
Back to top |
|
|
|