View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 25/12/2011 12:57 pm Post subject: แผนที่ทางหลวงประเทศไทย (ฉบับเก่าๆ) |
|
|
สวัสดีครับ...
เคยเสนอแต่เรื่องหนักๆ สมอง มาวันนี้ เรามาคุยกันถึงเรื่องเบาๆ กันบ้างนะครับ รับช่วงส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ที่จะมาถึงอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้ (ทำไมมาไวจังแฮะ ?) ดูกันว่า สมัยโน้น ทางหลวงบ้านเรานั้นมีถึงไหน อย่างไรกันบ้าง
แผนที่ฉบับนี้ ทางหน่วยงานเก่าของผม ได้มาจากปั๊มน้ำมันของตัวแทนจำหน่ายของบริษัทน้ำมันบริษัทหนึ่งในตัวจังหวัดนั่นแหละ พอผมมีโอกาสคุ้ยๆ เจอ เข้าท่าแฮะ เพราะเป็นเส้นทางหลวงสมัยกำหนดหมายเลขดั้งเดิมด้วยสิ เลยถือโอกาสมาเผยแพร่กันดูครับ
แผนที่ฉบับนี้ จัดทำโดยคุณบัณฑาย อมาตยกุล พิมพ์โดยห้างหุ้นส่วนจำกัด ไทยวัฒนาพาณิชย์ ที่ถือว่ามีเครื่องพิมพ์ที่ทันสมัยที่สุดในเมืองไทยขณะนั้น เมื่อปี พ.ศ.2509 ดูแล้วอย่าไปคาดหวังว่าถูกต้องตามพิกัด GIS นะครับ เพราะเป็นแผนที่เขียนด้วยมือ ซึ่งเป็นงานระดับค่อนข้างมหาหินในขณะนั้นทีเดียว เรามาติดตามดูกันดีกว่า...
ว่ากันด้วยเครื่องหมายที่แสดงในแผนที่ก่อนครับ แสดงสถานะเส้นทางในสมัยนั้น พร้อมหมายเลขทางหลวงและระยะทางในแต่ละช่วง บอกกล่าวกันให้เข้าใจก่อนการใช้แผนที่นะครับ
เริ่มต้นจากใต้สุดสยามกันก่อนครับ จะเห็นว่าถนนเพชรเกษมในณะนั้น จะถูกกำหนดหมายเลขทางหลวงเป็นหมายเลข 5 ซึ่งยาวเหยียดตั้งแต่ชายแดนด่านนอก อ.สะเดา รวมกับถนนพหลโยธินไปจนจรดสะพานข้ามแม่น้ำแม่สาย สุดชายแดนไทย - พม่าทีเดียว
ที่น่าสนใจอีกเส้นทางหนึ่งคือถนนสุขยางค์ (ยะลา - เบตง) ที่กำหนดหมายเลขทางหลวงเป็นหมายเลข 15
ต้องเข้าใจกันก่อนนะครับว่า ถนนลาดยางสมัยนั้น เป็นเส้นทางเลนเดี่ยว เวลารถที่วิ่งมาจ๊ะเอ๋กัน ทั้งสองฝ่ายจะแล่นหลบลงไหล่ทางทั้งสองด้าน จนกว่าจะพ้นกัน แล้วกลับขึ้นเส้นทางกันใหม่
สำหรับการลาดยาง เทยางด้วยแอสฟัลต์ร้อนที่ต้มมาทั้งวัน ในขณะที่บรรดารถบดถนนด้วยกำลังไอน้ำบดหินพื้นถนนจนราบเรียบ ถึงจะเทยางด้วยมือ โดยเปิดก๊อกจากจากถังต้มใส่บัวเทยางที่เหมือนบัวรดน้ำ แต่ปลายพวยจะเป็นปลายแบน เทบนผิวจราจรที่บดอัดจนทั่ว ก่อนที่จะสาดหินเกล็ดทับ เป็นอันเสร็จพิธี
ถ้าเทยางหนาไป ผิวจราจรจะปูดเป็นลูกคลื่น และถ้าเทยางบางเกินไป หินเกล็ดและหินผิวจราจรจะล่อนกลายเป็นหลุมบ่อ เดือดร้อนต้องมาเทยางปะผิวจราจรกันใหม่ในภายหลัง
นั่นถือว่าเป็นถนนลาดยางที่ดีที่สุดในสมัยโน้นแล้ว
Last edited by black_express on 26/12/2011 8:49 am; edited 6 times in total |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 25/12/2011 1:07 pm Post subject: |
|
|
ขึ้นมาภาคใต้ตอนบนกันเลยนะครับ
ในสมัยโน้น ถ้าใครจะเดินทางไปตามเส้นทางสายใต้จากกรุงเทพฯ ลงไป อ.หาดใหญ่ จ.สงขลาแล้ว จะต้องลัดเลาะไปตามถนนเพชรเกษม ซึ่งมีจุดเสี่ยงที่สำคัญคือเส้นทางช่วงที่ผ่าน ต.กำพ่วน อ.เกาะคอเขา (คุระบุรี) จ.ระนอง ถึง อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา ยังเป็นถนนดิน ใช้สัญจรไม่ได้ในฤดูฝน จนเป็นที่ร่ำลือกันถึงความลำบากของเส้นทางช่วงนี้ และช่วงระหว่าง บ้านโคกกลอย อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา ข้ามไปเกาะภูเก็ต ต้องลงข้ามท่าแพขนานยนต์ของกรมทางหลวงข้ามช่องปากพระระหว่าง ท่านุ่น - ท่าฉัตรไชย อีกด้วย
เส้นทางสายเพชรเกษมระหว่าง จ.พังงา ไป จ.กระบี่ ยังผ่านเขานางหงส์ และช่วง จ.ตรัง ไป จ.พัทลุง ยังผ่านเขาพับผ้าที่ยังไม่ได้ปรับปรุงทาง นับว่าท้าทายความสามารถของผู้ขับรถไปมาบนเส้นทางช่วงดังกล่าวอยู่ไม่น้อย
ที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือเส้นทางหลวงจาก จ.ชุมพร จะตันแค่ อ.หลังสวน และจากตัว จ.สุราษฎร์ธานี ไป จ.นครศรีธรรมราช นั้น ยังไม่มีถนนเชื่อมระหว่างกัน พาหนะที่สะดวกที่สุดในการเดินทางของผู้คนสมัยนั้นคือ ทางรถไฟ
จึงไม่น่าแปลกใจที่พี่น้องชาวปักษ์ใต้จะผูกพันกับรถไฟมาตั้งแต่เล็กแต่น้อย และเส้นทางรถไฟสายใต้ เป็นเส้นทางที่ "ทำเงิน" ให้กับการรถไฟฯ เป็นอย่างมาก เส้นทางหนึ่งด้วย |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 25/12/2011 1:24 pm Post subject: |
|
|
ใกล้ภาคกลางเข้ามาแล้วครับ
เส้นทางสายเพชรเกษมช่วงผ่าน จ.ประจวบคีรีขันธ์ จะเป็นช่วงที่ยาวเหยียดที่สุด ตั้งแต่ อ.หัวหิน ลงไปถึงสี่แยกบ้านวังไผ่ หรือที่เรียกในทุกวันนี้ว่าสี่แยกปฐมพรในปัจจุบัน ผู้ที่ขับรถไปมาถึงจะถอนหายใจยาวโล่งอก ก่อนที่จะเข้าตัวจังหวัดชุมพร หรือเลี้ยวขวาข้ามคอคอดกระลงไปสู่ จ.ระนองกันต่อไป
เส้นทางช่วงนี้ เข้าใจว่า บขส.ยังวิ่งถึงแค่ จ.ระนอง เท่านั้น รถไฟยังครองความได้เปรียบบนเส้นทางช่วงดังกล่าว ส่วนผู้ที่มีฐานะหรือบรรดานายหัวที่อยู่ภาคใต้ตอนล่างนั้น เขาใช้วิธีเดินทางไปกับบริษัท เดินอากาศไทย จำกัด (บดท.) จากสนามบินภูเก็ต และสงขลา มารุงเทพฯ แม้จะเป็นเครื่อง DC-3 ก็ตาม แต่ก็รวดเร็วเป็นไหนๆ
ถึงจะส่งลูกหลานบินไปเรียนที่ปีนัง ก็อาศัยเครื่อง DC-3 ของ บดท.นั่นแหละครับ ส่วนชาวบ้านก็ร่อนเร่ไปกับเรือสินค้าจากท่าเรือ ระนอง ภูเก็ต กันตัง ไปถึงปีนังได้เช่นกัน
ส่วนทางภาคใต้ฝั่งตะวันออกหรือฝั่งอ่าวไทยนั้น จะใช้บริการของบริษัท ไทยเดินเรือทะเล (บทด.) ที่มีห้องโดยสารเฉพาะ เป็นสัดส่วน ตรงไปเกาะสมุยและท่าเรือเมืองสงขลา ในเวลาเพียงสองวัน ซึ่งหรูหรา มีคลาสกว่าฝั่งอันดามันมากมาย
เรื่อเดินทะเลของ บทด.สมัยนั้นเท่าที่ผมทันเห็น คือเรือ "ภานุรังษี" จอดที่ท่าน้ำคลองสาน และใช้งานคราวหลังสุดคือขนกองถ่ายทำภาพยนต์ไทยเรื่อง "เกาะสวาท หาดสวรรค์" ไปยังเกาะสมุย ก่อนที่จะเป็นเรือภัตตาคาร และถูกไฟไหม้ในที่สุด
ขอพักเรื่องราวไว้แค่ช่วงนี้ก่อน แล้วค่อยมาต่อกันในภายหลังครับ...
Last edited by black_express on 26/12/2011 8:52 am; edited 4 times in total |
|
Back to top |
|
|
sakkosol
3rd Class Pass
Joined: 06/12/2007 Posts: 58
Location: บ้านบางเนียง อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา
|
Posted: 25/12/2011 2:15 pm Post subject: |
|
|
ขออนุญาต Save เก็บไว้ดูนะครับพี่ตึ๋ง _________________ พ่อน้องต้นข้าวครับ |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 25/12/2011 7:36 pm Post subject: |
|
|
เก็บไว้ดูได้เลยครับ ของเก่าๆ แต่บางภาพภาพอาจปะต่อกันไม่ได้ เพราะคนละขนาดนะครับ |
|
Back to top |
|
|
CivilSpice
1st Class Pass (Air)
Joined: 18/03/2006 Posts: 11192
Location: หนองวัวหนุ่มสเตชั่น
|
Posted: 25/12/2011 7:56 pm Post subject: |
|
|
พี่ตึ๋งมีของเก่าแต่เก๋า มาโชว์อีกแล้ว ขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ครับ
ทุกวันนี้แค่ถนนสองเลนสวนกัน ผมยังไม่อยากจะขับรถเลย เพราะรำคาญมากๆ ตอนที่จะต้องขับรถแซงกัน ก็ต้องมองแล้วมองอีก เล็งให้ปลอดภัยถึงจะได้แซง (ผมกลัวตาย มากกกว่าไปเร็วครับ แต่บางคนมันกลัวไม่ได้ไป มากกว่ากลัวตาย) ยิ่งถ้าเจอรถสิบล้อหรือรถขนอ้อยขวางอยู่ข้างหน้า นี่มันน่าเพลียหัวใจ พอๆ กับเจอรถเก่าๆ เติมน้ำมันตราเต่าขับความเร็ว 40-50 กม./ชม. บนทางหลวงสายหลัก จนเต่าแทบจะกัดยางจริงๆ เลยเชียว เพราะถ้าอีกฝั่งไม่โล่ง ก็ต้องขับตามก้นแบบนั้นไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีโอกาสแซง ... บอกคำเดียวว่าเซ็งจิตร
แต่อ่านดูแล้วเห็นว่าสมัยก่อนมีเลนเดียว ถ้าเจอกันก็ต้องหลบลงไหล่ทางแล้วค่อยไป เป็นผมคงเครียดตายพอดี อิอิอิ
ไว้รออ่านต่อครับพี่
|
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 25/12/2011 8:07 pm Post subject: |
|
|
ใกล้กรุงเทพฯ เข้ามาอีกนิดหนึ่งแล้วครับ...
มาแปลกตาตรงหมายเลขทางหลวงระหว่างบ้านหาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด มาตามถนนสุขุมวิท ผ่านกรุงเทพฯ แล้วต่อเนื่องอีกครั้งหนึ่งจาก ทางแยกถนนเพชรเกษม เข้าถนนแสงชูโต ไป จ.กาญจนบุรี จนสุดอาณาเขตประเทศไทยที่ด่านพระเจดีย์สามองค์ ทางกรมทางหลวงได้กำหนดให้เป็นทางหลวงหมายเลข 6 แต่ใช้การได้ไม่ตลอดสายหรอกครับ เพราะเส้นทางช่วง อ.ไทรโยค ไปจนถึงด่านพระเจดีย์สามองค์นั้น เป็นเพียงแค่เส้นทางชักลากไม้ในป่าเท่านั้น
และเส้นทางหลวงจาก จ.กาญจนบุรี ไป จ.สุพรรณบุรี เป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 8 ถึงจะมีถนนมาลัยแมนตัดจาก จ.นครปฐม ไปสุพรรณบุรีก็ตาม แต่โค้งอ้อมเหลือหลาย เหมือนที่ท่านบรรหาร ศิลปอาชา กล่าวว่า "คนสุพรรณ เห็นไฟกรุงเทพฯ สว่างจับท้องฟ้า แต่เวลาเดินทางเข้ากรุงเทพฯ แล้ว ช่างไกลเหลือหลาย" นั่นแหละ
ส่วนเส้นทางเข้า จ.สมุทรสงคราม ต้องล่องเรือจาก จ.ราชบุรี หรือไม่ก็ใช้เส้นทางรถไฟสายแม่กลอง เข้าสู่สถานีวงเวียนใหญ่ครับ
สำหรับจังหวัดทางภาคตะวันตกของประเทศอีกจังหวัดหนึ่ง คือ จ.อุทัยธานี นั้น แผนที่เส้นทางหลวงจะระบุเห็นได้ชัดเจนว่า หากจะเดินทางไปจังหวัดนี้ ต้องนำรถลงโป๊ะข้ามแม่น้ำที่ อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท ไปยังฝั่งบ้านท่าซุง โดยไม่มีข้อแม้ใดๆ ทั้งสิ้น
คราวต่อไป ผมจะนำลงแผนที่ทางหลวงทางภาคตะวันออกมาให้ชมนะครับ
Last edited by black_express on 25/12/2011 8:22 pm; edited 3 times in total |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 25/12/2011 8:15 pm Post subject: |
|
|
คุณบอมบ์... เส้นทางสมัยก่อนถึงจะเป็นเส้นทางเลนเดียวก็จริง แต่รถราที่วิ่งนั้น ใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 80 กม./ชม.เท่านั้นเองครับ เพราะสภาพถนนบังคับ และที่สำคัญคือ รถยนต์ยังมีน้อย พอค่ำมืดแล้ว ขนาดถนนพหลโยธิน ซึ่งเป็นทางหลวงสายหลักแท้ๆ แทบจะกลายเป็นถนนร้างเลยล่ะ
บรรดารถราที่วิ่งกันคึ่กๆ ในช่วงกลางคืนนั้น เพิ่งจะมีตอนที่โครงการถนนสายเอเซียสายกรุงเทพฯ - บางปะอิน - นครสวรรค์ - เชียงราย - แม่สาย สร้างเสร็จตอนช่วงปี 2515 นี้เองครับ
แต่วิถีชีวิตชาวบ้าน ยังคงติดนิสัยขับรถด้วยเกียร์สาม ให้เต่ากัดยางเล่นๆ เหมือนเดิม
Last edited by black_express on 26/12/2011 8:55 am; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47233
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 26/12/2011 6:10 am Post subject: |
|
|
แม้ในยุค 2518-2520
จากสงขลา เวลาแม่ผมมาไปหาคุณตาคุณยายที่นครศรีธรรมราช
จำได้ราง ๆ ว่า ต้องขึ้นรถแท็กซี่แบบเต็มถึงจะออก (คล้ายรถตู้สมัยนี้) เบียด ๆ กันไปผ่านหาดใหญ่ พัทลุง ตรัง ห้วยยอด ทุ่งสง ครับ
ต้องขอบคุณพี่ตึ๋งมากครับที่ช่วยนำภาพเส้นทางในอดีตมาย้อนให้ชมกันอีกครั้ง
ขากลับเปลี่ยนบรรยากาศ ขึ้นรถไฟแทน ก็พบว่าแม้จะไม่เร็วกว่าแท็กซี่มากนัก แต่สบายกว่ามาก ไม่ต้องเบียดเสียด เดินไปเดินมาในขบวนรถได้
อย่างนี้นี่เองที่คนใต้จึงมีความผูกพันกับรถไฟมากครับ
เห็นแผนที่ยุค 2509 พิมพ์สีสวยงาม แล้วอดนึกถึงหนังสือแผนที่ภูมิศาสตร์ ของคุณครูทองใบ แตงน้อยไม่ได้ครับ เป็นหนังสือแผนที่ที่เป็นแรงบันดาลใจให้ผมชอบแผนที่มาจนถึงทุกวันนี้ |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 26/12/2011 8:40 am Post subject: |
|
|
รถแท็กซี่สมัยโน้น ผมเคยใช้บริการช่วงถนนสายลำปาง - เชียงใหม่ เพิ่งเปิดใช้งานใหม่ๆ แล้วครับ แต่ตอนนี้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว เพราะมีรถ ปอ.1 วีไอพี. ของบริษัทรถเมล์เขียววิ่งบริการมาจากเมืองน่าน ไปเชียงใหม่
ถึงแท็กซี่จะมีอยู่ แต่คงพ่ายให้กับบรรดารถตู้ประจำทางที่จุผู้โดยสารมากกว่าครับ อ.หม่อง
แผนที่ฉบับ อ.ทองใบ แตงน้อย ผมประทับใจตรงที่มีแผนที่จังหวัดพระนคร ลงไปด้วย เป็นจุดบันดาลใจเช่นกัน ให้ผมเสาะหาแผนที่จังหวัดต่างๆ จากอักขรานุกรมภูมิศาสตร์ของราชบัณฑิตยสถาน แผนที่ทหาร แต่ยังไม่ตรงข้อเท็จจริง จนกระทั่งมาถึงยุคแผนที่สมัยใหม่นี่แหละครับ |
|
Back to top |
|
|
|