View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
BanPong1
1st Class Pass (Air)
Joined: 07/12/2006 Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี
|
Posted: 17/02/2012 2:50 pm Post subject: ข่าวประขาสัมพันธ์ การประชุมทางวิชาการ "Transport Academic Forum&q |
|
|
การประชุมทางวิชาการ Transport Academic Forum ครั้งที่ 4
อ.ปริญญา ชูแก้ว ฝากข่าวประชาสัมพันธ์มาครับ
_/_/_/_/_/_/_/_/_/_/_/_/_/_/_/_/_/_/_/_/
สวัสดีครับทุกท่าน
คุณเพ็ญศรี เหลืองอร่ามศรี ผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่งของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ฝากประชาสัมพันธ์ เรื่อง การประชุมทางวิชาการ Transport Academic Forum ครั้งที่ 4 เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในงานออกแบบสถาปัตยกรรมของสถานีตามหลัก Universal Design ในภาคการขนส่ง และการนำเสนอผลการศึกษาการออกแบบสถานีรถไฟภายใต้โครงการศึกษาออกแบบระบบรถไฟทางคู่เพื่อการขนส่งและการจัดการโลจิสติกส์ ช่วงชุมทางจิระ-ขอนแก่น และช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ในวันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 08.30-12.00 น. ณ ห้องประชุม 401 ชั้น 4 อาคาร สนข. โดยมีกำหนดการประชุมทางวิชาการ ปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วย หากท่านใดมีความสนใจจะเข้าร่วมประชุมขอให้ติดต่อ คุณเพ็ญศรี เหลืองอร่ามศรี 081.6943365 หรือคุณฟ้าสาง ประยูรพันธ์ 083.4488885 ภายในวันนี้ครับ
ผมคิดว่าการประชุมครั้งนี้จะส่งผลดีต่อการออกแบบอาคารสถานีรถไฟในประเทศไทยในอนาคต เพราะอย่างน้อย หน่วยงานภาครัฐแห่งนี้ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการอนุรักษ์อาคารสถานีรถไฟปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่สร้างด้วยไม้ อายุมากกว่า 50 ปี และถือเป็นมรดกทางประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมสำคัญของชาติไม่ให้ถูกรื้อไปโดยที่ยังไม่ได้มีการสำรวจ บันทึกและระบุคุณค่าความสำคัญเหมือนกับอาคารสถานีรถไฟหลายๆ แห่ง เช่น เจ็ดเสมียน และสีคิ้ว เป็นต้น
ขอแสดงความนับถือ
ปริญญา ชูแก้ว _________________
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46857
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 21/02/2012 7:33 am Post subject: |
|
|
สนข.สั่งแบบขนส่งฯเอื้อคนแก่-เด็ก
Tuesday, 21 February 2012 05:20
โพสต์ทูเดย์ -สนข.สั่งโครงการก่อสร้างระบบขนส่งสาธารณะใหม่ออกแบบให้เด็ก-คนแก่-ผู้พิการ ใช้ได้
นายประณต สุริยะ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)เปิดเผยภายหลังการเสวนาทางวิชาการ "Transport Academic Forum : TAF ครั้งที่ 4 เรื่องการออกแบบตามหลัก Universal Design" ว่าสนข.จะกำหนดให้โครงการใหม่ๆ ที่จะก่อสร้างต้องมีการออกแบบเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่เด็ก ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ให้สามารถใช้ระบบขนส่งสาธารณะได้อย่างเท่าเทียม
ทั้งนี้ โดยเฉพาะโครงการรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วนสายประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร และชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ซึ่งคาดว่าจะออกแบบแล้วเสร็จภายในเดือน มิ.ย.
น.ส.เพ็ญศรี เหลืองอร่ามศรี นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการสำนักพัฒนาระบบการขนส่งและจราจร (สพร.) สนข. กล่าวว่าพื้นที่สาธารณะส่วนใหญ่ยังขาดสิ่งอำนวยความสะดวกถึง 70%ของอาคารและสถานที่ทั้งหมด ซึ่งสนข. จะทำรายงานไปยังหน่วยงานต่างๆ เพื่อปรับปรุงและแก้ไข
ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ |
|
Back to top |
|
|
nutsiwat
2nd Class Pass
Joined: 03/03/2011 Posts: 684
Location: สถานีเรณูนคร
|
Posted: 21/02/2012 3:01 pm Post subject: |
|
|
ผมเห็นสถานีบางแห่งที่มีการก่อสร้างทางคู่ จะมีการรื้อสถานีรถไฟที่มีความเก่าแก่ออกไป เนื่องจากต้องมีการปรับแนวทางวางรางใหม่ มีการเปลี่ยนที่ตั้งสถานีใหม่ ทำให้สถานีที่มีความเก่าแก่ควรจะรักษาไว้ต้องถูกรื้อทิ้งแล้วสร้างสถานีใหม่ขึ้น ผมคิดว่าบุคลากรที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม จะต้องมีการปรึกษาหารือเกี่ยวกับเรื่องนี้ร่วมกัน หากจะรักษาคุณค่าของสถาีนีที่มีความเก่าแก่ให้คงอยู่ไว้นะครับ |
|
Back to top |
|
|
BanPong1
1st Class Pass (Air)
Joined: 07/12/2006 Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี
|
Posted: 24/02/2012 4:35 pm Post subject: |
|
|
อยากให้การรถไฟฯซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐตระหนักถึงการสร้างขึ้นใหม่กับการอนุรักษ์ซึ่งต้องทำควบคู่กันไปครับ
สถาปัตยกรรมอาคารสถานีรถไฟยังมีอีกมากมายหลายแห่งที่ถูกปล่อยปละละเลย
และอีกหลายแห่งกำลังจะถูกรื้อทิ้งพร้อมไปกับการพัฒนา
อยากให้เข้าใจเรื่องประวัติศาตร์ สังคม วัฒนธรรม ซึ่งเป็นสิ่งมีคุณค่าให้มากกว่านี้
ที่มองเห็นง่ายๆก็คือการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ซึ่งรถไฟไทยมีเรื่องนี้เป็นมรดกมานานมากๆ อย่าได้ทอดทิ้งเลยครับ
ส่วนเรื่อง Universal Design เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากๆกับการพัฒนา ทำไปพร้อมๆกันได้ครับ
กฎหมายเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ ทุพพลภาพก็ออกมาตั้งแต่ปี 2548 แล้ว หน่วยงานของรัฐควรปฏิบัติให้เป็นต้วอย่างครับ
_________________
|
|
Back to top |
|
|
|