View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Mongwin
1st Class Pass (Air)
![1st Class Pass (Air) 1st Class Pass (Air)](modules/Forums/images/ranks/TFV/tfv_rank_class_1st.gif)
![](modules/Forums/images/avatars/194172003653f89b7e00dcf.jpg)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47679
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 02/11/2010 10:47 am Post subject: |
|
|
รถจักรไอน้ำแปซิฟิก เบอร์ 82X นะครับ
ไม่แน่ใจว่า 827 หรือเปล่า |
|
Back to top |
|
![](modules/Forums/templates/subSilver/images/spacer.gif) |
Mongwin
1st Class Pass (Air)
![1st Class Pass (Air) 1st Class Pass (Air)](modules/Forums/images/ranks/TFV/tfv_rank_class_1st.gif)
![](modules/Forums/images/avatars/194172003653f89b7e00dcf.jpg)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47679
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 26/03/2012 11:35 am Post subject: |
|
|
สถานีแห่งความหลัง
ไทยรัฐออนไลน์ โดย: ซูม 25 มีนาคม 2555, 05:00 น.
ซอกแซกสัปดาห์นี้ต้องขออนุญาตท่านผู้อ่านกลับไปเขียนถึงเรื่องราวของจังหวัดนครสวรรค์ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับ อ.เมือง หรือปากน้ำโพ อีกสักครั้ง
เพราะหลังจากที่เขียนเล่าเรื่องการกลับไปเยี่ยมโรงเรียนเก่าเมื่อสัปดาห์โน้น พร้อมกับเล่าว่าแวะไปเยี่ยมโรงเรียน วิชาวดี ของคุณครู บุปผาชาติ หมุนสา ที่ใกล้ๆสถานีรถไฟปากน้ำโพไปแล้วนั้น
ก็มีพรรคพวกเพื่อนฝูงกรุณาส่งหนังสือปกแข็งในทำนองสมุดภาพว่าด้วย ภาพเก่าเล่าขานตำนานปากน้ำโพ โดย มานพ สุวรรณศรี อดีตผู้สื่อข่าวไทยรัฐ มาให้หัวหน้าทีมซอกแซก 1 เล่ม
เป็นหนังสือที่จัดทำขึ้นโดย โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล พิมพ์ไว้ตั้งแต่ พ.ศ.2553 มีคุณ เอนก นาวิกมูล เป็นบรรณาธิการ
มีเรื่องและภาพเก่าๆของจังหวัดต้นน้ำเจ้าพระยาให้ดูชมระลึกความหลังกันอย่างจุใจทีเดียว ซึ่งหัวหน้าทีมตั้งใจว่าเมื่ออ่านจบและใช้งานเสร็จเรียบร้อยจะมอบให้แก่ห้องสมุดไทยรัฐต่อไป เพื่อประโยชน์ในการค้นคว้าและอ้างอิงในโอกาสหน้า
ที่ตั้งใจจะเขียนถึงในสัปดาห์นี้ จะเป็นเรื่องของ สถานีรถไฟปากน้ำโพ ครับ เพราะในหนังสือเล่มนี้ได้อัญเชิญภาพฝีพระหัตถ์พระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 มาลงไว้ด้วย
ทำให้ทราบว่า สถานีรถไฟปากน้ำโพ ในอดีตนั้นยิ่งใหญ่ และมีโครงสร้างที่สวยงามไม่น้อยเลย
ตรงข้ามกับปัจจุบัน เพราะเท่าที่หัวหน้าทีมซอกแซกมีโอกาสไปยืนดูที่หน้าสถานีอยู่ครู่ใหญ่นั้น เหลือตัวสถานีเพียงชั้นเดียวและคูหาเดียว มิใช่ยกสูงขึ้นเป็น 2 ชั้น ดังในภาพฝีพระหัตถ์
บรรยากาศโดยรอบก็เงียบๆ เหงาๆ ไม่คึกคักเหมือนในอดีตดังที่เคยอ่านจากข้อเขียนต่างๆ รวมทั้งที่เคยสัมผัสด้วยตัวเองเมื่อ 50 กว่าปีที่แล้ว
ในยุคที่รถไฟครองความยิ่งใหญ่และเป็นยานพาหนะสำคัญ ที่จะนำประชาชนชาวไทยเดินทางไปมาหาสู่กันทั่วประเทศนั้น ต้องยอมรับว่า สถานีรถไฟปากน้ำโพ เป็นสถานีหนึ่งที่คนไทยรู้จักและกล่าวขวัญถึงทั่วประเทศ
ท่านที่มีโอกาสอ่านหนังสือว่าด้วยการเสด็จ ประพาสต้นของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 คงจะพอจำได้ว่าพระองค์เสด็จครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2447 ไปยังสมุทรสาคร ดำเนินสะดวก ราชบุรี สมุทรสงคราม และ ฯลฯ
ต่อมาใน 2449 ได้เสด็จลงเรือที่ตำหนักแพวังหน้า ทวนแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นเหนือไปจนถึงจังหวัดกำแพงเพชร และได้เสด็จประทับที่นครสวรรค์ หลายๆจุด อันเป็นความทรงจำที่เล่าขานมิรู้ลืมของ ชาวนครสวรรค์ตราบทุกวันนี้
จากนั้นในปี 2451 ได้เสด็จประพาสต้นครั้งที่ 3 โดยรถไฟจนถึงเมืองนครสวรรค์อีกครั้งหนึ่ง และทรง ฉายภาพ สเตชั่นนครสวรรค์ ที่มีประชาชนและทหารไปรอเฝ้าฯจำนวนมาก จากนั้นจึงเสด็จลงเรือพระที่นั่งล่องลำน้ำเจ้าพระยาเข้าสู่คลองมะขามเฒ่าสู่จังหวัดสุพรรณบุรี
สเตชั่นรถไฟเมืองนครสวรรค์ ก็คือสถานีปากนํ้าโพนั่นเอง เพราะดูจากภาพฝีพระหัตถ์ จะเห็นว่าตั้งอยู่ริมแม่น้ำ ซึ่งก็คือแม่น้ำน่านหรือแควใหญ่ อันเป็นสถานที่เดียวกับสถานีปากน้ำโพปัจจุบัน
เนื่องจากตัวเมืองนครสวรรค์อยู่อีกฟากหนึ่งของแม่น้ำ การเดินทางสู่นครสวรรค์ทางรถไฟจะไปสิ้นสุดที่สถานีปากนํ้าโพ แล้วต้องลงเรือจ้าง ซึ่งสมัยแรกๆอาจเป็นเรือแจวด้วยซํ้า เข้าสู่ตลาดนครสวรรค์อีกทอดหนึ่ง
สถานีปากนํ้าโพเป็นสถานีที่แม้จะมิใช่ชุมทาง แต่ก็เป็นสถานีใหญ่ มีหัวรถจักรจอดรออยู่หลายขบวน เพราะนอกจากจะเป็นสถานีสำคัญที่รถไฟขึ้นสู่ภาคเหนือจะหยุดเติมนํ้าเติมฟืนที่นี่แล้ว ยังเป็นสถานีต้นทางปลายทางของรถไฟสาย ปากนํ้าโพ-กรุงเทพฯ อีกด้วย
ชาวนครสวรรค์ที่จะเดินทางเข้ากรุงเทพฯเพื่อภารกิจใดๆก็ตาม จะไปขึ้นรถไฟที่สถานีแห่งนี้ รวมทั้งพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดใกล้เคียง ตั้งแต่ ตาก กำแพงเพชร อุทัยธานี ชัยนาท หากจะเข้ากรุงเทพฯโดยทางรถไฟก็มักจะไปพักค้างคืนที่ตลาดปากนํ้าโพนครสวรรค์ 1 คืน จากนั้นจะตื่นแต่เช้าตรู่ลงเรือไปข้ามแม่นํ้าเจ้าพระยาเข้าสู่แควใหญ่ เพื่อไปขึ้นรถไฟที่สถานีแห่งนี้
แม้แต่ ลุงเชย ในหัสนิยายชุด 3 เกลอ พลนิกร กิมหงวน ของ ป.อินทรปาลิต ซึ่งเป็นชาวโกรกพระ จะเดินทางเข้ากรุงเทพฯไปเยี่ยม 3 เกลอ ก็ไปขึ้นรถไฟที่สถานีปากนํ้าโพนี่แหละ
ต่อมาเมื่อมีการก่อสร้างสะพานข้ามแม่นํ้าเจ้าพระยา ที่เรียกว่า สะพานเดชาติวงศ์ แล้วเสร็จ ทำให้รถยนต์สามารถข้ามแม่นํ้าไปมาทั้ง 2 ฝั่งได้ จึงมีการตัดถนนเข้าสู่หมู่บ้านเล็กๆหมู่บ้านหนึ่งใกล้ๆค่ายทหาร จิรประวัติ ได้แก่ หมู่บ้าน หนองปลิง
ก่อนหน้านี้ หนองปลิงเป็นสถานีรถไฟเล็กๆ ที่รถด่วนหรือรถเร็วจะไม่จอดด้วยซํ้า เพราะเล็กมาก แต่ภายหลังการรถไฟฯได้ปรับปรุงก่อสร้างเพิ่มเติมให้เป็นสถานีที่ใหญ่ขึ้น พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็น สถานีนครสวรรค์ ประมาณ พ.ศ.2501-2502 ได้กระมัง
สถานีแห่งใหม่นี้จึงกลายมาเป็นสถานีหลักของจังหวัดนครสวรรค์ แทนสถานีปากนํ้าโพ เพราะความสะดวกในการนั่ง รถยนต์ เข้าจังหวัด ซึ่งรวดเร็วกว่าการนั่ง เรือ นับแต่นั้น
ส่งผลให้สถานีปากนํ้าโพค่อยๆเงียบเหงาลงไปเรื่อยๆ จนแทบจะกลายเป็นสถานีที่ถูกลืม ในปัจจุบัน
แต่ถ้าจะว่าไปก็คงไม่ใช่เฉพาะสถานีนี้เท่านั้น ผมเข้าใจว่าแม้สถานีนครสวรรค์เองก็อาจเงียบเหงาไปด้วยเช่นกัน เพราะเดี๋ยวนี้การเดินทางจากนครสวรรค์เข้ากรุงเทพฯโดยทางรถยนต์สะดวกสบาย ใช้เวลาแค่ 2 ชั่วโมงเศษๆเท่านั้น
การเดินทางโดยรถไฟจึงกลายเป็นอดีตสำหรับคนนครสวรรค์ไปแล้ว...และอาจเป็นอดีตของพี่น้องชาวไทยทุกจังหวัดด้วย ทำให้การรถไฟฯ ขาดทุน สถานีต่างๆอยู่ในสภาพทรุดโทรมตามๆกัน
ความเปลี่ยนแปลง...การเกิดขึ้น...และเสื่อมไป จึงเป็นสัจธรรมของโลกด้วยประการฉะนี้.
ซูม |
|
Back to top |
|
![](modules/Forums/templates/subSilver/images/spacer.gif) |
pak_nampho
1st Class Pass (Air)
![1st Class Pass (Air) 1st Class Pass (Air)](modules/Forums/images/ranks/TFV/tfv_rank_class_1st.gif)
![](modules/Forums/images/avatars/11922559514821484ce71a5.jpg)
Joined: 25/06/2007 Posts: 2371
Location: คนสี่แควพลัดถิ่น ทำมาหากิน ที่เกาะภูเก็ต
|
Posted: 26/03/2012 1:12 pm Post subject: |
|
|
ขอบคุณอ.เอกครับที่นำภาพเก่าที่คุณซูมซอกแซก(คนสี่แคว)แห่งไทยรัฐนำมาให้ชมกัน....
จากภาพผู้ถ่ายยืนหันหลังให้แม่น้ำน่านถ่ายย้อนจากปลายสะพานไม้มีหลังคาทอดจากหลังสถานีปากน้ำโพสู่ริมตลิ่งท่าน้ำซึ่งสะพานไม้สุง
ประมาณ 10 เมตรจากพื้นดินบริเวณปลายปสะพานมีขั้นบันไดสู่แพท่าน้ำ ตัวสถานีถูกถมดินสูงจากลำน้ำน่านมาก จากภาพอาคารไม้สองชั้น
ด้านหลังน่านะเป็นอาคารสถานีในสมัยเริ่มแรกของสถานีปากน้ำโพ เพราะผมโตมาก็ไม่เห็นอาคารไม้ใต้ถุนโล่งนี้แล้ว
โรงเรียนวิชาวดี ที่คุณซูมพูดถึงเป็นอาคารถูกสร้างขึ้นใหม่แทนอาคารไม้หลังเดิมคุณครูบุบผาชาติ คือ"พี่ผา" ลูกครฟ ปากน้ำโพคนหนึ่ง
สามีพี่ผาเป็นช่างไฟสมัยรถจักรไอน้ำเช่นกันถ้ากลับปากน้ำโพผมจะสอบถาม"พี่โรจน์ หมุนสา"จะมีข้อมูลและรูปภาพเกี่ยวกับรถไฟบ้างไหม...
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
เนื้อหาและข้อความที่คุณซูมเขียนนั้น"สถานีปากน้ำโพ" ยิ่งใหญ่ตามนั้นจริงๆครับ.... _________________ +++++++++++++++++ ๑๑๖ ปี รถไฟไทยก้าวไกล....จากรถจักรไอน้ำ +++++++++++++++++
....................บุตร ครฟ. พขร.ตรี แขวงรถพ่วงปากน้ำโพ ................... |
|
Back to top |
|
![](modules/Forums/templates/subSilver/images/spacer.gif) |
Mongwin
1st Class Pass (Air)
![1st Class Pass (Air) 1st Class Pass (Air)](modules/Forums/images/ranks/TFV/tfv_rank_class_1st.gif)
![](modules/Forums/images/avatars/194172003653f89b7e00dcf.jpg)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47679
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
|
Back to top |
|
![](modules/Forums/templates/subSilver/images/spacer.gif) |
BanPong1
1st Class Pass (Air)
![1st Class Pass (Air) 1st Class Pass (Air)](modules/Forums/images/ranks/TFV/tfv_rank_class_1st.gif)
![](modules/Forums/images/avatars/18524119674884aa94bd6e6.jpg)
Joined: 07/12/2006 Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี
|
Posted: 26/03/2012 11:13 pm Post subject: |
|
|
ภาพสถานีปากน้ำโพ เห็นแค่ครึ่งเดียวก็น่าสนใจมากแล้วครับ
อยากเห็นภาพเต็มๆ ซึ่งน่าจะเป็นสถาปัตยกรรมที่งดงามอย่างแน่นอน _________________
![Click on the image for full size](http://i306.photobucket.com/albums/nn265/banpong1/AlsthomOriginalVersion41xx.jpg) |
|
Back to top |
|
![](modules/Forums/templates/subSilver/images/spacer.gif) |
|