View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46889
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 04/05/2012 12:31 pm Post subject: |
|
|
เปิดเดินรถไฟสายเหนือตามปกติ 11.00 น. วันนี้
ไทยรัฐออนไลน์ 4 พฤษภาคม 2555, 08:49 น.
การรถไฟฯ จะเปิดเดินรถไฟสายเหนือทั้งขาขึ้น ขาล่อง ตามปกติในเวลา 11.00 น. วันนี้ (4 พ.ค.) หลังเสร็จการปรับปรุงระบบราง เพื่อเตรียมพร้อมรับมือฤดูน้ำหลากที่ใกล้จะมาถึง...
หลังจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แจ้งปิดการเดินรถไฟสายเหนือทั้งเที่ยวขาขึ้นและขาล่องเป็นการชั่วคราว เนื่องจากฝ่ายช่างการโยธา รฟท. ได้ทำการปิดตัวสะพาน พร้อมปรับปรุงระบบราง ช่วงระหว่างสถานีรถไฟบ้านท่าฬ่อกับสถานีรถไฟพิจิตร ให้มีความมั่นคงแข็งแรง และเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อรองรับการเดินรถในช่วงฤดูน้ำหลากที่จะมาถึง ทำให้ขบวนรถไฟสายเหนือทุกขบวน ทั้งขาขึ้นไปเชียงใหม่และขาล่องลงมากรุงเทพมหานคร ต้องจอดไว้ตามสถานีรถไฟต่างๆ เพื่อรอการเปิดทาง
ขณะที่ขบวนรถไฟสายเหนือทั้งเที่ยวขาขึ้นและขาล่องหลายขบวนในวันนี้ จะเสียเวลาล่าช้าจากเวลาที่กำหนดไว้ อย่างน้อย 2-4 ชั่วโมง คาดว่าจะสามารถเปิดการเดินรถได้ตามปกติในเวลา 11.00 น.วันนี้ (4 พ.ค.). |
|
Back to top |
|
|
nathapong
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom
|
Posted: 04/05/2012 1:29 pm Post subject: |
|
|
Mongwin wrote: | นึกว่าป๋าณัฐจะถ่ายทอดสด มาที่นี่เสียอีกครับ |
รอช่วงบ่ายครับ อ.เอก ช่วงเช้ามีการเมืองมาขุกขลิก
แต่มีประโยกฮา ๆ ของท่าน รมช ชัชจ์ สนุกคนฟัง แต่บางคนก็ขำบ่ ออกครับ |
|
Back to top |
|
|
pak_nampho
1st Class Pass (Air)
Joined: 25/06/2007 Posts: 2371
Location: คนสี่แควพลัดถิ่น ทำมาหากิน ที่เกาะภูเก็ต
|
Posted: 04/05/2012 1:49 pm Post subject: |
|
|
เบอร์ 1 _________________ +++++++++++++++++ ๑๑๖ ปี รถไฟไทยก้าวไกล....จากรถจักรไอน้ำ +++++++++++++++++
....................บุตร ครฟ. พขร.ตรี แขวงรถพ่วงปากน้ำโพ ................... |
|
Back to top |
|
|
nathapong
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom
|
Posted: 04/05/2012 3:24 pm Post subject: |
|
|
^ เทศกาลเลือกตั้งยัง บ่ ถึง เดี๋ยว กกต สอย เด้อพี่
===================================
รอบแรก สำหรับบทเรียนข้างราง
ช่วงนี้ ผู้เสวนาประกอบไปด้วย
จาก Pre FS จากค่ายปลาดิบ สรุปได้น่าสนใจ จาก Dr Kuroda จาก MITI (JARTS) คือ
สถานีต้นทาง ได้พิจารณาที่บางซื่อ สำหรับต้นทางทั้งสายเหนือและตะวันออก
การก่อสร้าง ช่วง กท พล ในเขตทางเดิม มีความเป็นไปได้ที่ใช้แนวทางรถไฟความไวสูงจากเด่นชัยขึ้นไป มีความจำเป็นต้อง เจาะอุโมงค์ ประมาณการก่อสร้างจนเปิดใช้ช่วงแรก กท พล คาดว่าเปิดใช้งานได้ในปี 2022 และเสร็จทั้งสายในปี 2027 ส่วนสายตะวันออกพร้อมใช้ในช่วง พอๆ กับสายเหนือ ช่วงแรก โดยมีโรงซ่อมบำรุงหลัก อยู่ที่ พล ส่วนโรงซ่อม ทป มี บซ ชม และระยอง
ความเร็วทั้งสองสายจากการศึกษา อยู่ที่ 250 กม/ชม
สายเหนือ ตัวรถ เป็นรุ่น E2 ระยะเวลาเดินทาง ประมาณ ชม เศษ ไป พล ประมาณ 10 เที่ยว และ เจียงใหม่ สาม ชมครึ่งประมาณ 6 เที่ยว ต่อวัน
สายตะวันออก เหนือ ตัวรถ เป็นรุ่น E3 วันนึง เดิน 16 เที่ยว ระยะเวลาเดินทาง ประมาณ ชม เศษ ไประยอง
การลงทุน ยังมองในรูปแบบ PPP เหมียนตามข่าว แต่ในรายละเอียด ของการร่วมลงทุน จดไม่ทันอ่า
ปล.จำนวนวงเงินที่ลงทุนของ PRE FS....ไม่ได้กล่าวถึง....อะอะ |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46889
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 04/05/2012 7:48 pm Post subject: |
|
|
รมว.คมนาคม ย้ำเดินหน้าขยายการขนส่งทางราง รองรับโลจิสติกส์
สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ 4 พ.ค. 55
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ย้ำเดินหน้าขยายการขนส่งทางราง รองรับโลจิสติกส์ให้สอดคล้องกับเป้าหมายของ สศค. ที่ต้องการลดต้นทุนการขนส่งของประเทศลงอีกร้อยละ 2 ภายใน 5 ปี
นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวภายในงานสัมมนา "นโยบายรัฐบาลในการ สร้าง:ยุครถไฟ (Rail Age)" ในโอกาสคล้ายวันสถาปนากระทรวงคมนาคม ครบรอบ 100 ปี ว่า กระทรวงคมนาคมได้ระดมความเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องรวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านระบบขนส่งทางรางจากต่างประเทศ เพื่อให้การพัฒนามีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยเฉพาะการพัฒนาทางรางของการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. เมื่อเปรียบเทียบการขนส่งสินค้าระหว่างรางกับทางถนนพบว่า ทางรถไฟด้อยกว่ารถบรรทุก และการพัฒนาเป็นไปอย่างช้า ทั้งนี้ปัจจุบันรถไฟไทยเปิดให้บริการมาถึง 115 ปี มีเพียง 4,000 กิโลเมตร เป็นระบบทางคู่และระบบสามทางเพียงร้อยละ 7 เท่ากับมีระยะสำหรับสับหลีกได้เพียง 300 กิโลเมตร หรือประมาณร้อยละ 15 เท่านั้น ขณะที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. ตั้งเป้าหมายจะลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ของประเทศลงร้อยละ 2 ภายใน 5 ปี หากรัฐบาลไม่จริงจังคงไม่มีทางลดได้ ซึ่งเห็นว่าปัญหาแรกที่ต้องแก้ไขคือ การพัฒนาด้านบุคลากร
อย่างไรก็ตามรัฐบาลมีนโยบายที่จะเร่งโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า 10 สาย โครงการรถไฟทางคู่ ระยะทาง 873 กิโลเมตร โครงการรถไฟความเร็วสูง 1,400 กิโลเมตรใน 4 เส้นทาง โดยจะต้องวางแผนการพัฒนาเชิงพาณิชย์เพื่อหารายได้จากที่ดินตามสถานีต่างๆ เพื่อนำมาลงทุนขยายเส้นทางในอนาคตและการซ่อมบำรุงเพื่อเพิ่มคุณภาพในการให้บริการด้วย |
|
Back to top |
|
|
alderwood
1st Class Pass (Air)
Joined: 10/04/2006 Posts: 6593
Location: กรุงเทพ-ราชสีมา
|
Posted: 05/05/2012 1:08 am Post subject: |
|
|
กท.-พล.ในเขตทางเดิม แล้วด้านใต้กับด้านเหนืออยุธยาล่ะป๋า โค้งแคบด้วยนี่ แต่เอ๊ะ ลืมไป จอดด้วย วิ่งไม่ต้องเร็ว อ้อ อีกที ด้านเหนือของภาชี กับด้านใต้ลพบุรี แถมด้วยด้านใต้ของปากน้ำโพ สร้างข้างๆตามแนวเขตทางเดิมไหวเหรอพี่ หรือว่าลดความเร็วเหลือแค่ 70 เข้าโค้งอ้ะ _________________ รักรถไฟมั่นใจโคปเตอร์ || Railway Racing Team || Korat Spotter
|
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43729
Location: NECTEC
|
Posted: 05/05/2012 1:48 am Post subject: |
|
|
จารุพงศ์แก้จุดด้อยระบบรางดันแข่งถนนชัจจ์อัดบิ๊กร.ฟ.ท.บริหารล้มเหลวทำองค์กรเสียหาย
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 4 พฤษภาคม 2555 21:51 น.
กระทรวงคมนาคมดันพัฒนาระบบรางลดต้นทุนขนส่งระดมความเห็นแก้จุดอ่อนแข่งกับระบบถนน
นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมได้จัดเสวนานโยบายรัฐบาลในการสร้าง:ยุครถไฟ (Rail Age) ในโอกาสคล้ายวันสถาปนากระทรวงคมนาคม ครบรอบ 100 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระดมความเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องรวมถึงผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศด้านระบบขนส่งทางราง เพื่อให้การพัฒนามีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยจะต้องวิเคราะห์จุดอ่อนของระบบรางว่ามีอะไรบ้างและต้องแก้ไขอย่างไร เช่นเมื่อเปรียบเทียบการขนส่งสินค้าระหว่างรางกับถนนพบว่า รถไฟยังด้อยกว่ารถบรรทุก เพราะรถบรรทุกขนส่งได้แบบ Door to Door ขณะที่รถไฟต้องเสียเวลาและมีค่าใช้จ่ายเพิ่มในการขึ้น-ลง จากสถานีไปยังโรงงาน เป็นต้น นอกจากนี้ การบริการต้องตรงต่อเวลา เพื่อให้ผู้ประกอบการ เอกชน และประชาชนสามารถใช้บริการได้อย่างสะดวกและคุ้มค่า จึงต้องมีการพิจารณาในทุกมิติให้รอบคอบ เพื่อให้ลงทุนไปแล้วมีผู้ใช้บริการตามเป้าหมาย
รถไฟไทยอายุ 115 ปี แต่มีแค่ 4,000 กม. เป็นระบบทางคู่ 7% ระบบทางสามอีก 7 % เท่ากับมีระยะสำหรับสับหลีกได้แค่ 300 กม.หรือ 15% เท่านั้น ซึ่งเป้าหมายของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จะต้องลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ของประเทศลง 2% ภายใน 5 ปีหรือลดจาก 17.9% ต่อ GDP เหลือ 15.9% ซึ่งเฉพาะด้านการขนส่งจะต้องลดให้ได้ 8% หากรัฐบาลไม่จริงจังคงไม่มีทางลดได้ ซึ่งเห็นว่าปัญหาแรกที่ต้องแก้ไขคือ การพัฒนาด้านบุคลากรเพราะถ้าคนไม่มีประสิทธิภาพการพัฒนาเรื่องอื่นก็ทำได้ลำบากนายจารุพงศ์กล่าว
ทั้งนี้ นโยบายรัฐบาลคือ เร่งโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า 10 สาย โครงการรถไฟทางคู่ ระยะทาง 873 กิโลเมตร โครงการรถไฟความเร็วสูง 1,400 กิโลเมตร 4 เส้นทาง ประกอบด้วย กรุงเทพ-เชียงใหม่,กรุงเทพ-นครราชสีมา กรุงเทพ-หัวหินและส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตลิ้งค์ (สุวรรณภูมิ-พัทยา-ระยอง) โครงการทางรถไฟสายใหม่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ, สายบัวใหญ่-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม โดยจะต้องวางแผนการพัฒนาเชิงพาณิชย์เพื่อหารายได้จากที่ดินตามสถานีรายทางเพื่อหารายได้เพิ่มมาลงทุนขยายเส้นทางในอนาคตและการซ่อมบำรุงเพื่อเพิ่มคุณภาพในการให้บริการด้วย
"ชัจจ์สับคนร.ฟ.ท.ทำงานล้มเหลว ทำองค์กรเสียหาย
ด้านพล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมในฐานะกำกับดูแลการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า การดำเนินการงาน 115 ปีที่ผ่านมา รถไฟมีหัวรถจักรดีเซลเพียง 120 หัวเท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการจริงที่ต้องการถึง 300 หัว ซึ่งเกิดจากการบริหารงานที่ล้มเหลว เพราะคนในองค์กรและผู้นำองค์กรไม่จริงจัง ในขณะที่กระทรวงคมนาคมในฐานะที่กำกับดูแล ที่ผ่านมาไม่ค่อยมีบทบาทเท่าที่ควร นอกจากนี้ ร.ฟ.ท.ยังถูกการเมืองเข้าไปแทรกแซงตั้งแต่อดีตอีกด้วย องค์กรจึงเกิดความเสียหาย การดำเนินโครงการต่างๆ ไม่ก้าวหน้า
ปัญหารถไฟเกิดจากคน ดังนั้นเรื่องแรกจะต้องแก้วัฒนธรรมองค์กรใหม่และเปลี่ยนผู้นำ ซึ่งยอมรับว่า ที่ผ่านมาคนรถไฟไม่กระตือรือร้น ไม่รู้สึกว่าเป็นเจ้าขององค์กร ไม่ทำหน้าที่ของตนเอง เช่นมีการไปเดินขบวนทางเมือง เป็นต้น และยังมีการปล่อยปะละเลยให้มีการบุกรุกที่ดินรถไฟ จนถึงขั้นมีการออกโฉนดทับที่ดินรถไฟที่ภุเก็ต ไป 17 แปลงประมาณ 1,000 ไร่ ซึ่งล่าสุดศาลปกครองเพิ่งมีคำสั่งให้กรมที่ดินเพิกถอนไปแล้ว พล.ต.ท.ชัจจ์กล่าว
นอกจากนี้ ร.ฟ.ท.ยังมีปัญหาเรื่องผลการดำเนินงานจนทำให้ทางสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)ไม่สามารถตรวจรับบัญชีของ ร.ฟ.ท.ได้มาหลายปีแล้ว อย่างไรก็ตามเชื่อว่าการทำงานของ ร.ฟ.ท.จะเริ่มดีขึ้น หลังจากที่ได้พยายามทำความเข้าใจร่วมกันกับพนักงาน เพื่อปรับการทำงานร่วมกันใหม่ ฟื้นฟูการทำงานให้มีประสิทธิภาพ มีการปลุกระดม ให้กำลังใจ ทำให้รู้หน้าที่ เพื่อให้มีสภาพจิตใจที่พร้อมจะทำงาน และในเดือนก.ค.นี้ นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.จะครบวาระการทำงาน 4 ปี เชื่อการทำงานก็จะเริ่มไปในทิศทางที่ดี
พล.ต.ท.ชัจจ์กล่าวว่า การลงทุนรถไฟความเร็วสูงนั้นเนื่องจากประเทศไทยยังมีข้อจำกัดเรื่องภาระหนี้สิน ดังนั้นจะเปิดโอกาสให้กับทุกประเทศที่สนใจเข้ามาเสนอแผนการลงทุนโดยเลือกวิธีที่ดีที่สุด ถูกที่สุด และวิธีการลงทุนแบบบาร์เตอร์เทรด แลกสินค้าเกษตรกับเทคโนโลยี
//-------------------------
แล้ว พวก ส. เทียนทอง วินโคสต์ กะ มาดามเกียวหละ จะว่ากระไร ครับ บิกชับบ์ |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46889
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 05/05/2012 6:43 am Post subject: |
|
|
คมนาคมมั่นใจรถไฟฟ้า 10 สายลดต้นทุนขนส่ง
กรุงเทพธุรกิจ Saturday, 05 May 2012 06:13
คมนาคมมั่นใจ โครงการรถไฟฟ้า 10 สายทาง ช่วยลดต้นทุนการขนส่ง 2% จากปัจจุบัน 17.9% ยันเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายแน่ แต่ต้องก่อสร้างครบทั้งหมดก่อน ชัจจ์ ชี้จุดอ่อน ร.ฟ.ท. บุคลากรขาดความรู้ในการพัฒนาองค์กร
นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการสัมมนาวิชาการ 100 ปี คมนาคม Real Age : 2021 วานนี้ (4 พ.ค.) ว่า โครงการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน 10 สายทาง ระยะทางรวม 410 กม. สามารถลดต้นทุนการขนส่งได้ประมาณ 2% จากปัจจุบันที่มีต้นทุนการขนส่ง 17.9% โดยกระทรวงมั่นใจว่ามีความเป็นไปได้ในการใช้อัตราค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย แต่ต้องก่อสร้างครบทั้ง 10 สายทาง และถึงจุดคุ้มทุนก่อน รวมทั้งต้องพิจารณาอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากร ซึ่งจะมีผลต่อการใช้บริการรถไฟฟ้า ประกอบด้วย
ด้าน พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ปัจจุบันกิจการรถไฟซึ่งอยู่ในการดูแลของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร โดยมีสาเหตุจากบุคลากรภายในองค์กร เพราะระบบรถไฟเป็นการทำงานระหว่างรางกับคน คนจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนากิจการรถไฟ จึงต้องพัฒนาคนก่อน ระบบรถไฟไทยจึงสามารถพัฒนาได้
ในการแก้ปัญหา ต้องวิเคราะห์จุดอ่อนก่อน ซึ่ง ร.ฟ.ท.ยังขาดบุคลากรด้านวางแผนนโยบาย เพราะบุคลากรส่วนใหญ่ทำงานภาคปฏิบัติ จึงไม่มีความรู้ในการพัฒนาองค์กรและการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ หรือที่ดินของ ร.ฟ.ท.เอง ทำให้องค์กรขาดรายได้ จึงมีผลกระทบต่อการให้บริการเดินรถ
ส่วนการพัฒนาระบบรถไฟทางคู่นั้น กระทรวงได้วางแผนก่อสร้างรถไฟทางคู่ไปยังภูมิภาคต่างๆ เพิ่มอีก 873 กม. จากเดิมที่จะก่อสร้าง 400 กม. ซึ่งจะช่วยให้การเดินทางของประชาชนและการขนส่งสินค้ามีความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยรูปแบบการลงทุนมีหลายรูปแบบ ต้องศึกษาแนวทางที่เหมาะสมอีกครั้ง
------------
สุจิตต์ วงษ์เทศ เห็นด้วย อาจารย์โกร่ง ระบบราง ล้าหลังที่สุดในโลก
วันที่ 04 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เวลา 11:59:11 น.
คอลัมน์ สยามประเทศไทย โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ มติชน 4 พฤษภาคม 2555
เดินทางท่องเที่ยวผจญภัยแบบวิบากตรากตรำกับรถไฟไทยสายมหาชัยไปแม่กลอง โดยมีสองสาวนำทาง เพราะต้องข้ามน้ำต่อรถไฟอีกขบวน ซึ่งผมไม่สันทัด เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา
พอรถไฟออกจากต้นทางที่สถานีวงเวียนใหญ่ ผมไม่ทันตั้งตัวก็สะดุ้งโหยงเมื่อหน้าต่างรถไฟปะทะกิ่งไม้จากต้นที่ยื่นรุกล้ำรถไฟ
ไม่ได้สะดุ้งโหยงครั้งเดียวแต่ต้องสะดุ้งโหยงอีกสองสามครั้งถึงตั้งสติได้ว่านี่เป็นบริการอย่างหนึ่งของรถไฟไทยสายมหาชัยเพื่อเดินทางท่องเที่ยวผจญภัยแบบวิบากตรากตรำจะมีกิ่งไม้มาปะทะขอบหน้าต่างให้ตื่นเต้นเร้าใจอย่างนี้เป็นระยะๆ ไปตลอดทาง
ถึงสถานีปลายทางที่มหาชัย (จ.สมุทรสาคร) ต้องเดินผ่านตลาดไปท่าเรือข้ามปากแม่น้ำท่าจีนไปฝั่งท่าฉลอม (ซึ่งน่าจะเป็นบริเวณที่คนโบราณเรียกเมืองท่าจีน)
ตรงท่าเรือท่าฉลอมมีรถสามล้อรับจ้าง จึงให้ขี่ไปส่งสถานีรถไฟบ้านแหลมไปแม่กลอง (จ.สมุทรสงคราม) แต่ไม่เห็นขบวนรถไฟจอด
พอลงจากรถสามล้อ จ่ายค่าจ้างแล้วจะเดินข้ามทางรถไฟไปฝั่งสถานีเพื่อรอรถไฟ เจ้าหน้าที่รถไฟแต่งเครื่องแบบเต็มยศยืนโบกมือให้กลับ แล้วตะโกนสำทับว่า
"รถตกราง--รถไฟตกราง--กลับไปเถอะ ไม่มีรถไฟไปแม่กลองแล้ว--กลับได้เลย"
ได้ยินหมดแล้ว แต่ผมไม่กลับตามที่เขาบอก จึงเดินข้ามทางรถไฟขึ้นชานชาลาสถานีบ้านแหลม แล้วทอดน่องท่องเที่ยวอยู่ตรงนั้น จนหาเก้าอี้ที่พักผู้โดยสารได้ ก็นั่งพักเพื่อรำลึกถึงโชควาสนาดวงชะตาอาภัพของคนเรามีต่างกันเป็นปกติธรรมดา
ไม่นานนัก มีเจ้าหน้าที่รถไฟปิดประตูหน้าต่างที่ทำการเหมือนบ้านชั้นเดียว ผมเห็นท่าไม่ดีเลยชวนสองสาวล่าถอยออกจากสถานี เดินผ่านวัดบ้านแหลมย้อนกลับทางเดิมที่ไม่มีรถสามล้อหรือรถรับจ้างอื่นใดอีก
โชคดีที่มีสามล้อรับผู้โดยสารอื่นผ่านมาสาวน้อยที่นำทางตะโกนขอให้กลับมารับด้วยสองคัน เลยได้นั่งสามล้อกลับท่าเรือ แล้วข้ามถึงฝั่งมหาชัย นั่งรถไฟกลับวงเวียนใหญ่อย่างร้อนระอุทะลุกลางแดด โดยมีฝุ่นละอองและเรณูดอกไม้ริมทางโหมกระพือมาเข้าปาก, จมูก, หู, ตาลืมไม่ขึ้น
"ระบบรางถือว่าล้าหลังที่สุดในโลก-------" "ดร.โกร่ง" วีรพงษ์ รามางกูร กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่องทิศทางเศรษฐกิจไทย ในงาน 60 ปีไทยโทรทัศน์ 35 ปี อสมท. เมื่อวันพุธที่ 25 เมษายน 2555 (มติชน ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน 2555 หน้า 2) แล้วบอกอีกว่า
"จะจัดระบบรางใหม่ โดยที่ยังคงเก็บรางเดิมไว้-------"
"แต่สิ่งที่สำคัญคือต้องเปลี่ยนหัวรถจักรจากระบบดีเซลรางมาเป็นรถไฟฟ้าแทนด้วยการติดตั้งสายไฟเหนือราง"
ดร.โกร่งย้ำว่า "รถไฟความเร็วสูง ก็ยังต้องเดินหน้าตามโครงการเดิม แต่จะเป็นโครงการเป็นระยะๆ ไปก่อน"
ดร.โกร่ง วีรพงษ์ มีสติปัญญาล้ำเลิศเป็นที่เชื่อถือทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ ผมเองต้องเคารพนบนอบท่านไม่เว้น หากเป็นจริงตามที่ท่านจะพัฒนาระบบราง ก็เกรงว่าจะไม่เหลือให้เดินทางท่องเที่ยวผจญภัยแบบวิบากตรากตรำกับบริการฟรีของรถไฟไทย-------เสียดายจัง
แต่ถ้ามองอีกมุมหนึ่งจะเห็นว่ารถไฟไทยมีศักยภาพน่าเชื่อถือ(ตามที่ ดร.โกร่งยกย่องไว้) ว่าบริหารจัดการระบบรางได้ "ล้าหลังที่สุดในโลก"
รู้อย่างนี้แล้วค่อยโล่งใจว่าชีวิตยังมีช่องทางผจญภัยแบบวิบากตรากตรำหนำใจกับรถไฟไทยฟรีๆและ "ความเป็นไทย" (คล้ายมนุษย์ต่างดาว ไม่ต้องเหมือนคนอื่น เช่น ประชาธิปไตยแบบไทยๆ) คงยังอยู่ดี ไม่หายไปไหน |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46889
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 05/05/2012 8:21 am Post subject: |
|
|
คอลัมน์: จับประเด็น: ชัชจ์ชี้ ร.ฟ.ท.เจ๊งเพราะการเมืองแทรก
ข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ -- เสาร์ที่ 5 พฤษภาคม 2555 00:00:35 น.
พล.ต.ท.ชัชจ์ กุลดิลก รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า การทำงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ที่ล้มเหลว เพราะการเมืองนำ ร.ฟ.ท.เป็นสนามประลองยุทธ์ รวมถึงวัฒนธรรมองค์กรที่การทำงานไม่มีเดินหน้าและถอยหลัง เพราะประคองตัวไปวันๆ ดังนั้น ร.ฟ.ท.จะก้าวหน้าไปได้ต้องมีการพัฒนาบุคลากร การปรับปรุงผู้นำองค์กร พร้อมทั้งเร่งเดินหน้าโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของ ร.ฟ.ท.มูลค่า 1.76 แสนล้านบาท
----------
ชัจจ์ จวก รฟท.บริหารงานล้มเหลว
นสพ.บ้านเมือง วันที่ 5/05/2555 เวลา 7:56 น.
พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยในระหว่างเสวนาเรื่องนโยบายรัฐบาลในการสร้าง ยุครถไฟ (Rail Age) ว่าการดำเนินงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ในช่วงที่ผ่านมาล้มเหลว ทั้งนี้ การที่รถไฟของไทยยังใช้หัวรถจักรดีเซลลากจูงขบวนรถ ขณะที่หัวรถจักรก็มีอยู่เพียง 120 หัว ซึ่งไม่เพียงพอ เนื่องจากจะต้องใช้ถึง 300 หัว แต่ที่ผ่านมาไม่เคยมีใครพิจารณาในเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจัง และเพิ่งจะมีการพิจารณาเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ การบริหารงานรถไฟที่ล้มเหลว ต้องโทษคนของรถไฟเองเป็นอันดับแรก โดยเฉพาะในระดับผู้บังคับบัญชาสูงสุด ที่ไม่ได้เอาจริงกับการดำเนินงานในอำนาจหน้าที่ของตนเอง รองลงมาก็คงเป็นกระทรวงคมนาคม ที่ไม่ค่อยมีบทบาทในการพัฒนาเท่าที่ควร และฝ่ายการเมือง ที่อาจจะเข้าไปแทรกแซงการทำงานของการรถไฟในอดีต
ปัญหาของการรถไฟต้องแก้ที่คน ต้องปรับปรุงใหม่ คนยังติดนิสัยเนือย ขาดความรู้สึกเป็นเจ้าของ และยังไม่ทำหน้าที่ของตนเอง เช่น กรณีของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) แทนที่จะเรียกร้องเพื่อสิทธิประโยชน์ของพนักงาน ก็ไปเป็นตัวแทนของนักการเมืองเดินขบวนต่างๆ ขณะเดียวกันยังปล่อยให้มีคนเอาทรัพย์สินของรถไฟไป โดยที่ไม่มีการร้องเรียก อย่างกรณีมีการออกโฉนดทับที่ดินของการรถไฟ 17 แปลง แต่ตอนนี้กรมที่ดินอยู่ระหว่างจะเพิกถอนออกหมด แล้วปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องของวัฒนธรรมองค์กร การแก้ไขต้องแก้ที่ตัวผู้บริหารสูงสุด |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46889
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 08/05/2012 9:41 am Post subject: |
|
|
"ชัชชาติ" ผวาไทยตกขบวน สั่ง สนข.ทำแผนรับเปิดเสรีคมนาคมอาเซียน
ไทยรัฐออนไลน์ 8 พฤษภาคม 2555, 05:00 น.
ชัชชาติหวั่นไทยตกขบวนเปิดเสรีอาเซียน ชี้ปัญหาใหญ่หน่วยงานรัฐยังไร้ความเข้าใจ หวั่นเดินหน้ายุทธศาสตร์ผิด สั่งทำแผนวิเคราะห์ผลกระทบ และการเติบโตทางจีดีพี หากเดินตามเออีซี พร้อมกำชับสรุปผลกลับมายังกระทรวงคมนาคมภายใน 2 เดือนต้องแล้วเสร็จ
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมช.คมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปิดเสรีด้านการคมนาคมขนส่ง ภายใต้การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนปี 2558 ว่า เป้าหมายสำคัญที่สุดคือ การเชื่อมโยงภูมิภาคอาเซียนเข้าด้วยกัน ตามแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงกันในอาเซียน MPAC (Master Plan on ASEAN Connectivity) ซึ่งจะเน้นการเชื่อมโยง 3 ด้านหลักคือ
1.เชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐานระหว่างกัน ได้แก่ ระบบ ถนน ทางรถไฟ ด่าน ท่าเรือ ท่าอากาศยาน โทรคมนาคม
2. ด้านกฎระเบียบ ได้แก่ กฎหมาย ระเบียบ มาตรฐาน ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายอย่างเสรี 5 สาขาในภูมิภาคอาเซียน
3.ความเชื่อมโยงระหว่างประชาชน ได้แก่ วัฒนธรรม ความร่วมมือ การเดินทาง ท่องเที่ยว
สำหรับด้านการคมนาคมขนส่งของไทย จะเน้นสร้างความเชื่อมโยงตามแผนยุทธศาสตร์การเชื่อมโยงด้านการคมนาคมขนส่งของอาเซียนระหว่างปี 2011-2015 (BAP) ครอบคลุม 4 ด้านที่สำคัญได้แก่ การขนส่งทางบกซึ่งจะครอบคลุมถนนและรถไฟ, การขนส่งทางน้ำ, การขนส่งทางอากาศและการอำนวยความสะดวกด้านการขนส่ง
ดันแผนยุทธศาสตร์รับมือ
กระทรวงคมนาคมได้เตรียมจัดทำแผนยุทธศาสตร์สำคัญไว้ดังนี้
1.ด้านการขนส่งทางถนน คือเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านทางหลวง เร่งปรับปรุงมาตรฐานทางหลวงและป้ายจราจร ก่อสร้างเส้นทางเชื่อมโยงสู่ด่านพรมแดน และพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกทางการขนส่ง ด้วยการเพิ่มจุดพักรถ สถานีขนส่งสินค้า, เร่งจัดทำมาตรฐานความปลอดภัยทางถนน มาตรฐานการควบคุมมลพิษ จัดทำระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะ (ITS) และการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรด้านการขนส่ง ล่าสุดได้ปรับปรุงโครงข่ายถนนเชื่อมต่อภูมิภาคได้ตามมาตรฐานอาเซียนแล้ว 12 เส้นทาง รวมระยะทาง 6,669 กม. แต่ยังขาดการจัดทำจุดพักรถและสถานีขนส่งสินค้าบนเส้นทางหลัก
สำหรับทางรถไฟไทย ยังต้องเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้วยการเชื่อมโยงทางรถไฟสู่ประเทศเพื่อนบ้าน โดยขณะนี้ไทยมีปัญหาระบบทางรถไฟเชื่อมต่อประเทศเพื่อนบ้านยังถูกจำกัด เพราะยังไม่ได้รับจัดสรรงบก่อสร้างทางรถไฟช่วงสถานีอรัญประเทศ-สถานีคลองลึกระยะทาง 6 กิโลเมตร เบื้องต้นคาดว่าจะใช้งบ 600-1,000 ล้านบาท ทำให้ยังขาดการเชื่อมโยงการขนส่งทางรถไฟต่อไปยังอาเซียน นอกจากนี้ต้องเพิ่มสมรรถนะการให้บริการขนส่งทางรถไฟระหว่างประเทศ โดยจัดทำความตกลงการเดินรถไฟระหว่างประเทศ รวมทั้งจัดระเบียบผู้ประกอบการขนส่งทางรถไฟ
2.ด้านการขนส่งทางน้ำ ต้องเร่งบูรณาการด้านนโยบาย ด้วยการจัดทำโครงสร้างอัตราค่าภาระท่าเรืออาเซียน, การบูรณาการด้านการปฏิบัติ ด้วยการยกระดับมาตรฐานการควบคุมดูแลด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในการเดินเรือ พัฒนามาตรฐานบุคลากรร่วมกันและการฝึกร่วมซ้อมการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานและเรือที่ประสบภัย (SAREX) รวมถึงการพัฒนาขนส่งทางลำน้ำ
ขนส่งทางอากาศไทยพร้อมสุด
3.ด้านขนส่งทางอากาศ ต้องเร่งบูรณาการนโยบายด้วยการเจรจาจัดทำความตกลงด้านการบินกับคู่เจรจาของอาเซียนและบูรณาการด้านการปฏิบัติ ด้วยการดำเนินความร่วมมือด้านความปลอดภัยและรักษาความปลอดภัยด้านการบิน การจราจรทางอากาศ การพัฒนามาตรฐานบุคลากรร่วมกันและการฝึกร่วม SAREX ซึ่งล่าสุดบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินโครงการ Seamless ASEAN sky และจัดทำแผนความร่วมมือด้านเทคนิคการขนส่งทางอากาศของอาเซียน รวมทั้งจัดทำแผนด้านความปลอดภัยและรักษาความปลอดภัยด้านการบินและการจราจรทางอากาศไว้แล้ว
สำหรับการเปิดเสรีทางอากาศเป็นสาขาที่ไทยมีความพร้อมสูงสุด ด้านการแข่งขันระหว่างประเทศ แต่ยอมรับว่ายังติดปัญหาภายในประเทศเกี่ยวกับข้อกฎหมาย เรื่องการเจรจาจัดทำความตกลงด้านการบินกับคู่เจรจาอาเซียน เนื่องจากประเด็นของรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีการตีความว่าการเจรจาการบินเข้ามาตรา 190 วรรค 2 ทำให้ต้องนำกรอบการเจรจาเข้า ครม. และเข้าที่ประชุมรัฐสภาเพื่อให้ความเห็นชอบกรอบการเจรจานี้ก่อน จากนั้นไทยจึงจะไปเจรจากับคู่เจรจา ผลเจรจาที่ได้ต้องเข้า ครม.และเข้าสภาอีกครั้ง ซึ่งใช้เวลานานมากและทำให้มีการเจรจาค้างอยู่มาก
และ 4.ด้านการอำนวยความสะดวกในการขนส่ง ต้องเร่งจัดให้มีระบบขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ โดยผลักดันให้กรอบความตกลงอาเซียน 3 ฉบับ เกิดผลในทางปฏิบัติ, จัดทำความตกลงด้านการขนส่งคนโดยสารระหว่างประเทศ, พัฒนาเส้นทางใหม่และเสริมสร้างขีดความสามารถของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ และการปรับปรุงระเบียบ และ กฎหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งข้ามพรมแดน โดยเร่งแก้ไขระเบียบของหน่วยงานในสังกัดที่เป็นอุปสรรคต่อการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน รวมทั้งจัดตั้งกลไกการบริหารและติดตามการดำเนินการของหน่วยงานในสังกัด
รัฐ-ประชาชนไม่รู้ผลกระทบ
ปัญหาใหญ่ของไทยขณะนี้ไม่ใช่เรื่องพันธกรณีที่ผูกพันให้ต้องปฏิบัติตามเออีซี แต่เป็นเรื่องของความไม่เข้าใจของรัฐและประชาชนเกี่ยวกับผลพวง ด้านการคมนาคมขนส่งที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทยและคนไทย ซึ่งที่ผ่านมายังไม่เคยมีการศึกษาวิเคราะห์อย่างจริงจัง ผมจึงมอบหมายให้ สนข. เป็นเจ้าภาพหารือกับทุกหน่วยงานเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการคมนาคมกลับมาเสนอผมภายใน 2 เดือน
นายชัชชาติ กล่าวว่า ต้องกลับไปศึกษาถึงแนวโน้มการเจริญเติบโตของจีดีพีประเทศสมาชิกภายหลังการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน ว่าจะส่งผลต่อการคมนาคมขนส่งของไทยอย่างไร ทั้งในภาครัฐบาล ภาคธุรกิจและประชาชน เช่น ปริมาณการขนส่งทางน้ำ อากาศ และทางบกจะเพิ่มขึ้นมากน้อยอย่างไร ทิศทางการเคลื่อนย้ายของเงินลงทุน และแรงงานด้านคมนาคม เพื่อนำผลการศึกษามาประกอบการจัดทำยุทธศาสตร์ด้านคมนาคมที่ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ เพราะถ้าเราจัดทำยุทธศาสตร์ผิด หรือวิเคราะห์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นไม่ถูก จะส่งผลต่อเศรษฐกิจรวมของประเทศ หรือทำให้ไทย ตกรถ และสูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจที่สำคัญไป
นอกจากนี้ ไทยยังมีปัญหาการไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ เนื่องจากโครงการที่ต้องมีการก่อสร้างส่วนใหญ่ต้องใช้งบประมาณแผ่นดิน ซึ่งหลายโครงการตามแผน ยังไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณและยังมีอุปสรรคเรื่องกฎระเบียบ ข้อกฎหมายที่ต้องรีบแก้ไขเร่งด่วนกับประเทศเพื่อนบ้าน ก่อนการเปิดเออีซี เช่น พ.ร.บ.การเดินอากาศ พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทย รวมทั้งต้องมีการออก พ.ร.บ.เพิ่มเติมเพื่อให้สอดคล้องกับกรอบความตกลงอาเซียน เช่น พ.ร.บ.ที่เกี่ยวกับการขนส่งสินค้าข้ามแดน การรับส่งสินค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น.
-----------------
ฺBrunei Action Plan (BAP) หรือ ASEAN STRATEGIC TRANSPORT PLAN ดูได้ที่นี่ครับ
http://www.aseansec.org/documents/BAP%202011-2015.pdf |
|
Back to top |
|
|
|