Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311914
ทั่วไป:13580067
ทั้งหมด:13891981
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 164, 165, 166 ... 486, 487, 488  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46894
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/06/2012 3:55 pm    Post subject: Reply with quote

ผู้ว่ารฟท.มั่นใจไม่ถูกปลดเซ่นรถไฟตกรางจี้พนง.ใส่ใจ
INN News วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ.2555 15:26น.

ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ลงพื้นที่ ตรวจสอบรางรถไฟหลังเกิดอุบัติเหตุรถไฟตกรางบ่อยครั้ง มั่นใจ ไม่เป็นฉนวนให้ถูกปลดก่อนเกษียณ ในเดือน ก.ค.นี้ ยืนยันไม่กระทบยอดผู้ใช้บริการ ขณะกำชับพนักงานปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือคู่มืออย่างเคร่งครัด

นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ ร.ฟ.ท. เปิดเผยว่า มาตรการตรวจสภาพรางรถไฟเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ ภายหลังจากที่ช่วงนี้เกิดอุบัติเหตุรถไฟตกรางบ่อยครั้ง ซึ่งในวันนี้เป็นการสุ่มตรวจรางรถไฟช่วงหนองปลาดุก-กาญจนบุรี ระยะทาง 132 กิโลเมตร โดยภายหลังจากการสำรวจ พบว่า ได้เปลี่ยนหมอนไม้เป็นหมอนคอนกรีต กว่า 50 % แล้ว อีกทั้งการลงพื้นที่ดังกล่าวเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้บริการด้วย และโดยส่วนตัวคิดว่าการเกิดอุบัติเหตุรถไฟตกราง มีสาเหตุมาจากพนักงานขับรถ อุปกรณ์ และระบบราง รวมทั้งถ้าพนักงานปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือคู่มืออย่างเคร่งครัด ก็จะไม่มีการเกิดอุบัติเหตุเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

อย่างไรก็ตาม ผู้ว่าฯร.ฟ.ท. กล่าวเสริมว่า ขณะนี้การรถไฟอยู่ระหว่างการศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการนำยางพารามาทำเป็นหมอนไม้รางรถไฟ เพื่อทดแทนไม้และคอนกรีตที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

ผู้ว่าฯร.ฟ.ท. มั่นใจ ไม่ถูกปลดเซ่นรถไฟตกราง

นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ ร.ฟ.ท. เปิดเผยว่า ในส่วนตัวคาดว่าการเกิดอุบัติเหตุรถไฟตกรางบ่อยครั้งในช่วงนี้ ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อจำนวนผู้ใช้บริการคมนาคมทางราง หรือถ้าจะกระทบยอดจำนวนผู้โดยสาร ก็ไม่ได้มีจำนวนลดลงมากนัก เนื่องจากการเกิดอุบัติเหตุหลายครั้งที่ผ่านมา ส่วนใหญ่จะเป็นขบวนขนส่งสินค้าและถ้าเป็นขบวนขนส่งผู้โดยสารก็ไม่เคยมีผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บจากการเกิดอุบัติเหตุ อีกทั้งในขณะนี้การรถไฟได้เพิ่มมาตรการตรวจรางรถไฟให้เข้มข้นขึ้นกว่าเดิม อย่างไรตาม ผู้ว่าฯร.ฟ.ท. กล่าวเสริมว่า จากการเกิดอุบัติเหตุรถไฟตกรางบ่อยครั้งในช่วงนี้ จะไม่ส่งผลกระทบให้โดนปลดออกจากตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ก่อนที่จะเกษียณราชการในช่วงเดือนกรกฎาคม 2555 อย่างแน่นอน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46894
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/06/2012 7:15 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมชงครม.อนุมัติ 7,000 ล้านบ. ปรับปรุง รฟท.
สำนักข่าวไทย วันจันทร์ ที่ 04 มิ.ย. 2555

กรุงเทพฯ 4 มิ.ย.- รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ในการประชุมครม.วันที่ 5 มิ.ย.นี้ กระทรวงคมนาคมจะเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องขออนุมัติกู้เงินสำหรับใช้ในการดำเนินงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เพื่อใช้ในการดำเนินงานของ รฟท. จำนวน 6,923 ล้านบาท ตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มาตรา 39 (4) โดยให้กระทรวงการคลัง (กค.) ค้ำประกัน รวมทั้งพิจารณาวิธีการกู้เงิน เงื่อนไขและรายละเอียดตามความเหมาะสม พร้อมทั้งยกเว้นการคิดค่าค้ำประกันเงินกู้ให้แก่ รฟท. ด้วย รวมทั้งเสนอให้ครม.เห็นชอบให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) กู้เงินตามมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชนในวงเงินที่บรรจุอยู่ในแผนบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2555 รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่จะต้องกู้เงินเพื่อชดเชยรายได้จากการดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวจนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 – 30 เมษายน 2555 รวมทั้งสิ้น จำนวน 5,842.53 ล้านบาท โดยขอให้กระทรวงการคลัง (กค.) ค้ำประกันเงินกู้ กำหนดวิธีการกู้เงิน เงื่อนไขและรายละเอียดต่าง ๆ ในการกู้เงินด้วย

นอกจากนี้ จะพิจารณามาตรการภาษีและค่าธรรมเนียมของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอและส่งเรื่องให้กระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว โดยกระทรวงมหาดไทยได้เสนอให้ลดหย่อนการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับการโอนอสังหาริมทรัพย์ กรณีกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเป็นผู้รับโอนหรือเป็นผู้โอน การจำนองกรณีกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเป็นผู้ขอจดทะเบียน และการเช่ากรณีกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเป็นผู้เช้า ผู้เช่าช่วง ผู้ให้เช่า หรือผู้ให้เช่าช่วง ในอัตราร้อยละศูนย์จุดศูนย์หนึ่ง แต่อย่างสูงไม่เกินหนึ่งแสนบาท

ทั้งนี้ทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นของกิจการโครงสร้างพื้นฐานต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และการพัฒนากิจการโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทย จึงอนุญาตให้มีการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานขึ้นเพื่อให้ตลาดทุนมีบทบาทเพิ่มมากขึ้น ให้เป็นแหล่งเงินทุนในการพัฒนากิจการโครงสร้างพื้นฐานและเพื่อให้เป็นไปตามแผนพัฒนาตลาดทุนไทย (2553 – 2557) และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (10 พฤศจิกายน 2552) เห็นชอบแล้ว

นอกจากนี้การจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้มีแรงจูงใจในการให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ โดยเฉพาะการดำเนินการจะต้องมีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งต้องมีการเสียค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ดังนั้น เพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานและสนับสนุนให้มีการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน สมควรกำหนดให้มีการลดหย่อนการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าว.- สำนักข่าวไทย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43732
Location: NECTEC

PostPosted: 04/06/2012 11:20 pm    Post subject: Reply with quote

วิศวกรชี้อุบัติเหตุรถไฟเกิดบ่อยเพราะราง-หัวรถจักรเสื่อมสภาพ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 มิถุนายน 2555 12:35 น.


วิศวกรโยธาชำนาญการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ชี้แจงถึงอุบัติเหตุขบวนรถไฟตกรางที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ทั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด และเกิดในลักษณะถี่มากขึ้นนั้น เป็นจังหวะที่รางรถไฟและหัวรถจักรอยู่ในสภาพทรุดโทรมมากที่สุด เนื่องจากถูกใช้งานมายาวนานกว่า 30 ปี (ราง 70-80 ปอนด์ และ หัวรถจักรตั้งแต่อัลสตอม รุ่น 41/42) และในช่วงระหว่างปี 2555-2556 ก็มีแนวโน้มว่าอาจเกิดเหตุรถไฟตกรางได้อีกต่อเนื่อง และเป็นเรื่องที่พนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย ต้องช่วยกันดูแลและบำรุงรักษามากขึ้น ก่อนของใหม่จะมาทดแทนในปีหน้า
จากปัญหาที่เกิดขึ้น รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้รับทราบประมาณ 2 ปีมาแล้ว จึงได้อนุมัติงบประมาณให้การรถไฟแห่งประเทศไทย มากว่า 170,000 ล้านบาท เพื่อบูรณะซ่อมแซมทั้งระบบ ซื้อหัวรถจักรใหม่ จากปัจจุบันที่มีใช้งานรวม 120 หัว ปรับปรุงระบบอาณัติสัญญาณ และจุดตัดกว่า 1,000 แห่งทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยมากขึ้นในการเดินรถมากที่สุด และจะเห็นคุณภาพรถไฟดีขึ้นในปี 2557
ล่าสุด คณะรัฐมนตรียังได้อนุมัติให้เปิดรับสมัครพนักงานการรถไฟฯ อีกจำนวน 2,400 อัตรา ในสาขาต่างๆ เพื่อมาเสริมกับอัตราที่ขาดแคลน รวมถึงอนาคตจะเปิดสถาบันพัฒนาระบบรางภาคพื้นอาเซียนในช่วง 2 ปีข้างหน้า เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านรถไฟโดยเฉพาะ จากปัจจุบันที่มีโรงเรียนการรถไฟ แต่ปิดๆ เปิดๆ การเรียนการสอนตามแต่สถานการณ์การขาดแคลนของบุคลากร
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46894
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/06/2012 4:19 pm    Post subject: Reply with quote

ดึง CFO สางบัญชีการรถไฟสร้างประวัติศาสตร์ล้างขาดทุนสะสม/ทุ่ม 7 พันล.ซ่อมทางทั่วปท.
สยามธุรกิจ ฉบับที่ 1306 ประจำวันที่ 6-6-2012 ถึง 8-6-2012

สยามธุรกิจ - “จารุพงศ์” เล็ง “สังคายนา” รถไฟไทยครั้งใหญ่ วางแนวคิดดึง “ซีเอฟโอ” ภาคเอกชนบริหารการเงิน หวังพลิกประวัติศาสตร์สร้างกำไรให้การ รถไฟฯได้ เพราะมีศักยภาพพร้อมทุกด้าน เชื่อหากแนวคิดนี้ทำได้จริงหน่วยงานอื่นทำตามแน่ ขณะที่รัฐบาลจีนสนใจลงทุนรถไฟความเร็วสูงและวางระบบรางใหม่ทั่วไทย แต่ติดปัญหากฎหมายสองประเทศไม่ตรงกัน ด้านผู้ว่าฯรถไฟนำสื่อมวลชนตรวจรางหลังเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง เผยทุ่ม7พันล้านปรับปรุงระบบทางใหม่

แหล่งข่าวในกระทรวงคมนาคม เปิดเผย “สยามธุรกิจ” ว่า นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ระบุกับคนใกล้ชิดว่า มีความคิดที่อยากจะปรับปรุงระบบการทำงานภายในการรถไฟแห่งประเทศแบบสังคายนาครั้งใหญ่ โดยเฉพาะระบบการบริหารรายรับรายจ่ายให้มีความเป็นมาตรฐานสากล เพราะการรถไฟฯเป็นหน่วยงานที่มีศักยภาพ หากมีระบบการบริหารการเงินที่รัดกุม จะเติบโตได้อีกมาก ไม่ใช่ขาดทุนสะสมหลายหมื่นล้านบาทแบบที่เป็นอยู่

แหล่งข่าวคนเดิมกล่าวว่า แนวคิดของ รมต.คมนาคมคืออยากนำรูปแบบบริหารการเงินของภาคเอกชนมาใช้กับการรถไฟฯ ซึ่งเอกชนองค์กรใหญ่ๆจะมีผู้บริหารการเงินที่เรียกว่า “ซีเอฟโอ” (CFO Chief Financial Officer) เป็นผู้บริหารสูงสุดทางด้านการเงินของบริษัท หน้าที่คือรับผิดชอบในเรื่องของการดูแล รับผิดชอบ และตัดสินใจในเรื่องของบัญชีและการเงินของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นการดูแลเรื่องรายงานต่างๆ การดูแลเรื่องระบบบัญชี การดูแลด้านการเงินทุกอย่างตั้งแต่การหาแหล่งเงินทุน การใช้จ่ายเงิน การดูแลด้านงบประมาณ หรือ การนำเงินไปลงทุน ฯลฯ

แหล่งข่าวกล่าวต่อไปอีกว่า นายจารุพงศ์ให้ความสนใจกับแนวคิดนี้อย่างมาก โดยอยากได้ผู้บริหารภาคเอกชนมาทำหน้าที่เป็นซีเอฟโอให้กับการถไฟฯ แต่ติดปัญหาตรงที่งบประมาณการว่าจ้างผู้บริหารระดับซีเอฟโอของภาคเอกชนนั้นแพงมาก หลายแสนบาทต่อคน ในขณะที่ข้าราชการจ้างกันอยู่ที่หลักแสนบาทเท่านั้น และที่สำคัญซีเอฟโอเหล่านี้ไม่ทำงานคนเดียว แต่ทำงานเป็นทีม เพราะฉะนั้น ถ้าจะจ้างต้องจ้างทั้งทีม ต้องจ่ายค่าตัวแต่ละเดือนค่อนข้างสูง

“ถามว่าคุ้มไหมในการว่าจ้างคนเหล่านี้มาเป็นที่ปรึกษาการเงิน ถ้าทำแล้วองค์กรมีรายได้มากขึ้น มีกำไร ก็ต้องตอบว่าคุ้ม เพราะคนเหล่านี้ไม่ได้บริหารบัญชีอย่างเดียว แต่ต้องวางแผนทางการเงินในการลงทุนต่างๆด้วย และที่สำคัญจะหยุดการรั่วไหลของเม็ดเงินที่นำไปใช้อย่างไม่ถูกต้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะถ้าระบบรายรับรายจ่ายมีปัญหา ซีเอฟโอต้องรับผิดชอบ เพราะฉะนั้นเขาต้องดูแลผลประโยชน์อย่างเต็มที่” แหล่งข่าว กล่าว

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ถ้ามีการนำระบบซีเอฟโอมาใช้ในการรถไฟแล้วประสบความสำเร็จ เชื่อว่าจะขยายไปยังหน่วยงานอื่นของภาครัฐ โดยเฉพาะในกระทรวงคมนาคม แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องไปเปิดดูกฎหมายก่อนว่าเปิดช่องให้ทำได้หรือเปล่า

แหล่งข่าวยังกล่าวถึงทิศทางการลงทุนระบบรางรถไฟของไทยว่า อาจจะต้องปรับระบบรางทั้งประเทศ เป็นแบบเดียวกับมาตรฐานสากล หรือ สแตนดาร์ดเกจ ความกว้าง 1.435 เมตร จากปัจจุบันรางรถไฟของไทยที่ใช้แบบมิเตอร์เกจมีความกว้าง 1 เมตร เพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียนหรือเออีซี อย่างไรก็ตาม การปรับรางรถไฟต้องใช้เม็ดเงินมหาศาล ซึ่งรัฐบาลมีงบประมาณในการใช้จ่ายหลายทาง รวมถึงการสร้างรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-โคราช กรุงเทพฯ-ระยอง ซึ่งคงสร้างทั้งหมดเองไม่ได้ จึงได้มีการเจรจาระหว่างรัฐต่อรัฐ กับรัฐบาลจีนซึ่งสนใจเข้ามาลงทุนแต่ยังติดเงื่อนไขบางประการ

แหล่งข่าวกล่าวถึงเงื่อนไขดังกล่าวว่า กฎหมายไทยระบุว่า การรับสัมปทานสร้างสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ ต้องให้เอกชนที่ชนะการประมูลรับไปเลย จะดำเนินการก่อสร้างอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับเอกชนรายนั้น แต่กฎหมายจีนเปิดช่องให้บริษัทลูกเข้ามาร่วมประมูลและแบ่งสัมปทานได้ ทำให้ในรายละเอียดยังไม่สามารถดำเนินการเซ็นสัญญาได้ ก็ต้องมาดูว่าจะมีทางออกร่วมกันทางอื่นอย่างไรได้บ้าง ซึ่งต้องไม่ขัดต่อกฎหมายการลงทุนของไทย

ขณะที่เมื่อวันที่ 4 มิ.ย.ที่ผ่านมา นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้นำสื่อมวลชนลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบความปลอดภัยของเส้นทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-กาญจนบุรี หลังจากที่มีอุบัติเหตุรถไฟตกรางบ่อยครั้ง

โดยนายยุทธนา กล่าวว่า การตรวจเส้นทางครั้งนี้ เป็นการดำเนินการตามนโยบายของ พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รมช.คมนาคม ที่ให้ร.ฟ.ท.จัดทำแผนปฏิบัติการออกตรวจรางรถไฟทั่วประเทศ เพื่อรับรู้ปัญหาในพื้นที่จริง เนื่องจากสาเหตุของอุบัติเหตุทางรถไฟมี 3 ประการสำคัญคือ
1.อุบัติเหตุอันเนื่องมาจากคน หรือผู้ขับขี่ที่ไม่มีความพร้อม
2.เครื่องจักรคือ ระบบอาณัติสัญญาณ หรือ โบกี้รถไฟ บกพร่อง และ
3.ระบบรางที่ชำรุดเสียหาย เนื่องจากมีอายุการใช้งานมานานกว่า 30 ปี ส่วนตัวรถมีอายุการใช้งานกว่า 47 ปีแล้ว
ซึ่งคาดว่าปัญหารถไฟตกรางจะดีขึ้น โดยภายใน 1 เดือนข้างหน้าจะลดลงเหลือน้อยที่สุดจนถึงไม่มีเหตุการณ์เกิดขึ้น

ทั้งนี้ ในการตรวจรางจะมีรายงานผลทุก 3 วันในระยะ 1 สัปดาห์ และระยะ 1 เดือน โดยในการตรวจรางร.ฟ.ท.ได้นำรถตรวจรางพิเศษ EM80 วิ่งทดสอบราง รวมทั้งนำรถอัดหินเข้าใต้มาใช้ปฏิบัติงานด้วย

“การมาตรวจสอบในวันนี้เป็นการสุ่มตรวจรางรถไฟช่วงหนองปลาดุก-กาญจนบุรี ระยะทาง 132 กิโลเมตร โดยภายหลังจากการสำรวจพบว่า เปลี่ยนหมอนไม้เป็นหมอนคอนกรีต กว่า 50% แล้ว นอกจากนี้การลงพื้นที่ดังกล่าวเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้บริการด้วย และโดยส่วนตัวคิดว่า การเกิดอุบัติเหตุรถไฟตกราง มีสาเหตุมาจากพนักงานขับรถ อุปกรณ์ และระบบราง รวมทั้งถ้าพนักงานปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือคู่มืออย่างเคร่งครัด จะไม่มีการเกิดอุบัติเหตุเกิดขึ้นอย่างแน่นอน”

สำหรับแผนปรับปรุงทางที่ไม่ปลอดภัยตามแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของการรถไฟฯ (ปี 2553-2557) รวมงบประมาณทั้งสิ้น 23,670 ล้านบาท โดยปี 2554 ได้งบฯจำนวน 7,310 ล้านบาท ขณะนี้ได้ลงนามผู้รับจ้างไปแล้ว เมื่อวันที่ 20 ม.ค.55 ที่ผ่านมา ซึ่งเชื่อว่าหลังจากที่มีการปรับปรุงทั้งระบบแล้วอุบัติเหตุทางรถไฟจะลดลงในที่สุด
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46894
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/06/2012 12:02 am    Post subject: Reply with quote

ครม. เห็นชอบให้ รฟท. กู้เงิน 6,923 ล้านบาท และ ให้ ขสมก.กู้เงิน 5,842 ล้านบาท
สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ 5 มิ.ย. 55

คณะรัฐมนตรี เห็นชอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) กู้เงินสำหรับใช้ในการดำเนินงาน 6,923 ล้านบาท ชดเชยการขาดสภาพคล่องทางด้านการเงิน และ อนุมัติให้ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) กู้เงินตามมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชน หรือโครงการรถเมล์ฟรี เพื่อประชาชน 5,842 ล้านบาท

นายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) กู้เงินสำหรับใช้ในการดำเนินงานของ รฟท.จำนวน 6,923 ล้านบาท ในการนำไปชดเชยการขาดสภาพคล่องทางด้านการเงิน เพราะประมาณการรายได้และรายจ่ายปีงบประมาณ 2555 ประกอบกับงานลงทุนในส่วนที่การรถไฟแห่งประเทศไทยรับภาระค่าใช้จ่ายในการลงทุนไม่เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ ภาระการชำระหนี้เงินกู้ที่กู้มาใช้จ่ายในการดำเนินงานและการลงทุนของ รฟท. ทำให้ขาดเงินสดหมุนเวียนเพื่อใช้จ่ายในการลงทุน การจ่ายบำเหน็จบำนาญ และการชำระหนี้เงินกู้ในปีงบประมาณ 2555 โดย นายกรัฐมนตรี ยังได้สั่งให้ รฟท.กลับไปจัดทำแผนการดำเนินงาน 5 ปีมาให้พิจารณาด้วย เพื่อดูทิศทางการบริหารงานไม่ให้ขาดทุนสะสมและเป็นภาระต่องบประมาณในอนาคต

รวมทั้ง คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) กู้เงินตามมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชน หรือ โครงการรถเมล์ฟรี เพื่อประชาชน วงเงิน 5,842 ล้านบาท ซึ่งเป็นวงเงินที่บรรจุอยู่ในแผนบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ 2555 และค่าใช้จ่ายต้องกู้เงินเพื่อชดเชยรายได้จากการดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวจนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 – 30 เมษายน 2555 โดยกระทรวงการคลังจะเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ ขณะนี้ ขสมก.ได้ดำเนินมาตรการรถเมล์ฟรีตามนโยบายรัฐบาลที่มอบหมายให้ ขสมก.จัดรถโดยสารประจำทางจำนวน 800 คันต่อวัน ใน 73 เส้นทางบริการประชาชนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และรัฐบาล ได้ขยายระยะเวลาการดำเนินมาตรการมาอย่างต่อเนื่อง จำเป็นต้องกู้เงินมาชดเชยการดำเนินมาตรการดังกล่าวต่อไป

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การกู้เงินของ 2 รัฐวิสาหกิจดังกล่าว รฟท.ได้รายงานประมาณการรายได้จากการดำเนินงานของ รฟท.ในปี 2555 จะลดลงจาก 9,767 ล้านบาท เหลือ 8,979 ล้านบาท เพราะได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในหลายพื้นที่ รวมทั้ง สถานการณ์การเมืองและความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งผลให้รายได้จากค่าโดยสารและขนส่งสินค้าไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ส่วนรายจ่ายลดลงจากเดิม 15,834 ล้านบาท เหลือ 14,329 ล้านบาท หลัง รฟท.ได้ประหยัดค่าใช้จ่ายส่วนต่างๆ ส่งผลให้ในปี 2555 รฟท.ขาดทุนลดลงจาก 14,669 ล้านบาท เหลือ 13,940 ล้านบาท

--------------

ครม.ตั้ง"ศิลปชัย"ปลัดคมนาคมแทน"สุพจน์" ลั่นโปร่งใสเร่งไฮสปีดและรถไฟฟ้า
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 5 มิถุนายน 2555 20:24 น.

ครม.ตั้ง”ศิลปะชัย”นั่งปลัดคมนาคม แทน”สุพจน์”ตามคาด เจ้าตัวยันพร้อมทำงานแม้เหลืออายุ 4 เดือนก่อนเกษียณหวังดัน รถไฟความเร็วสูงและรถไฟฟ้า 10 สายสนองรัฐบาล ขณะที่ไฟเขียวเงินกู้ 1.2 หมื่นล้าน อุดหนุนร.ฟ.ท.แก้สภาพคล่อง และขสมก.จ่ายค่ารถเมล์ฟรี

รายงานข่าวจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) แจ้งว่า เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ครม.ได้เห็นชอบแต่งตั้งนายศิลปชัย จารุเกษมรัตนะ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นปลัดกระทรวงคมนาคมคนใหม่ แทนนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคมที่ยื่นใบลาออกไปก่อนหน้านี้ตามที่นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเสนอให้ที่ประชุม ครม.พิจารณา โดยขั้นตอนต่อไปจะต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯหลังจากนั้นจึงจะประกาศแต่งตั้งให้นายศิลปชัย เป็นปลัดคนใหม่ และนายสุพจน์ พ้นจากตำแหน่ง คาดว่ากระบวนการดังกล่าวจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์

นายศิลปชัย กล่าวยืนยันว่า อายุราชการที่เหลืออยู่ 4 เดือน เนื่องจากจะเกษียณอายุราชการในเดือนกันยายนนี้ จะไม่เป็นปัญหาในการทำงานเพราะอยู่กระทรวงคมนาคมมานาน สามารถสานต่องานได้รวดเร็ว โดย จะเร่งสานต่องานต่างๆให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนด โดยเฉพาะโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) และการก่อสร้างรถไฟฟ้าทั้ง10 สายขณะเดียวกันจะพัฒนาการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ให้สามารถบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

“จะเร่งแก้ไขภาพลักษณ์ความไม่โปร่งใสที่เกิดขึ้นในกระทรวงคมนาคมด้วย เพราะเมื่อตนเข้ามารับตำแหน่งจะต้องถูกจับตามองจากทุกฝ่ายย่างแน่นอน ดังนั้นจะพยายามปรับภาพลักษณ์การทำงานให้ประชาชนมองกระทรวงคมนาคมทำงานโปร่งใส ตรงไปตรงมาด้วย โดยการดำเนินงานทุกอย่างมีกรอบระยะเวลากำหนดไว้อยู่แล้ว และจะพยายามทำตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดให้ประสบความสำเร็จ”นายศิลปะชัยกล่าว

นายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ครม.อนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กู้เงินสำหรับใช้ในการดำเนินงานของร.ฟ.ท. จำนวน 6,923 ล้านบาท โดยให้กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินกู้ เพื่อเป็นรายจ่ายการดำเนินงาน การลงทุน การจ่ายบำเหน็จบำนาญ และชำระหนี้เงินกู้ในปีงบประมาณ 55 เนื่องจากพบว่า รายได้จากการดำเนินงานลดลง และงานลงทุนที่ร.ฟ.ท.รับภาระค่าใช้จ่ายไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ รวมทั้งยังมีภาระในการชำระหนี้เงินกู้ที่มาจ่ายในการดำเนินงานและการขาดทุน จึงทำให้ขาดเงินสดหมุนเวียน

และอนุมัติให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) กู้เงินตามมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชน (โครงการรถเมล์ฟรี เพื่อประชาชน) วงเงิน 5,842.53 ล้านบาท ซึ่งเป็นวงเงินที่บรรจุอยู่ในแผนบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ 55 รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่จะต้องกู้เงินเพื่อชดเชยรายได้จากการดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวจนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.53 - 30 เม.ย. 55 โดยกระทรวงการคลังจะเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้

ทั้งนี้ร.ฟ.ท.รายงานประมาณการรายได้ในปี 55 จะลดลงจาก 9,767 ล้านบาท เหลือ 8,979 ล้านบาท เนื่องจากได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในหลายพื้นที่ และความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้รายได้จากค่าโดยสารและขนส่งสินค้าไม่เป็นไปตามที่คาด ส่วนรายจ่ายลดลงจาก 15,834 ล้านบาท เหลือ 14,329 ล้านบาท ส่งผลให้ในปี 55 ร.ฟ.ท.ขาดทุนลดลงจาก14,669 ล้านบาท เหลือ 13,940 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43732
Location: NECTEC

PostPosted: 06/06/2012 12:42 pm    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.ได้ฤกษ์เปิดสรรหาผู้ว่าฯ 11-25 มิ.ย. สะพัด “ยุทธนา” วางทายาทชิงเก้าอี้

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 5 มิถุนายน 2555 20:33 น.



เปิดรับสมัครสรรหาผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท. 11-25 มิถุนายนนี้ ตั้งเป้า 21 กรกฎาคมได้ผู้ว่าฯ คนใหม่ ลือ “ยุทธนา” วางตัวทายาทกินรวบ ร.ฟ.ท.ต่อหลังจากดิ้นขอต่ออายุอีก 1 ปีไม่ได้ผล

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน คณะกรรมการสรรหาผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.ที่มี พล.ต.ต.สันติ วิจักขณา กรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท. เป็นประธาน ได้ประชุมและกำหนดเงื่อนไขและคุณสมบัติการสรรหาเรียบร้อยแล้ว โดยจะประกาศสรรหาตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายนนี้ และเปิดให้ยื่นสมัครได้ตั้งแต่วันที่ 11-25 มิถุนายน 2555 โดยจะพิจารณาสรรหาผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.คนใหม่ได้ในวันที่ 21 กรกฎาคม 2555 ซึ่งทันกับที่นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.จะครบวาระตามสัญญาจ้าง 4 ปี ไม่ทำให้เกิดปัญหาช่องว่างในการทำงานแน่นอน

ทั้งนี้ การกำหนดหลักเกณฑ์คุณสมบัติสรรหาผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.นั้นเป็นไปตาม พ.ร.บ.การรถไฟฯ พ.ศ. 2494 และ พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 เช่น ต้องอายุไม่เกิน 58 ปีบริบูรณ์ในวันยื่นใบสมัคร, วุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า จากสถาบันการศึกษาที่ ก.พ.รับรอง, กรณีที่เป็นหรือเคยเป็นหรือเคยเป็นข้าราชการจะต้องดำรงตำแหน่งไม่รองอธิบดีหรือรองหัวหน้าส่วนราชการที่เทียบเท่ารองอธิบดี, กรณีเป็นหรือเคยเป็นผู้บริหารภาคเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจจะต้องดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองผู้บริหารสูงสุดขององค์กรหรือรัฐวิสาหกิจนั้น และต้องมีระยะเวลาดำรงตำแหน่งไม่น้อยกว่า 1 ปี โดยองค์กรจะต้องมีรายได้ไม่น้อยกว่า 5,000 ล้านบาทต่อปี

รายงานข่าวแจ้งว่า ขณะนี้มีกระแสว่านายยุทธนาพยายามผลักดันนายภากรณ์ ตั้งเจตสกาว รองผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.กลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน 1 และรักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด (แอร์พอร์ตลิงก์) ให้เป็นผู้ว่าฯ คนต่อไป ขณะที่นายกมล ตั้งกิจเจริญชัย รองผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.กลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน 1 เป็นอีกคนที่มีคุณสมบัติเหมาะสม เพราะเป็นวิศวกรชำนาญด้านงานโยธาซึ่งถือเป็นหัวใจหลักของการบริหาร ร.ฟ.ท.หลังจากนี้ ซึ่งจะต้องขับเคลื่อนโครงการตามนโยบายรัฐบาล ทั้งรถไฟความเร็วสูง การพัฒนาตามแผน 1.7 แสนล้านบาท แต่ที่ผ่านมานายยุทธนามองว่านายกมลอยู่คนละขั้ว

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมานายยุทธนาพยายามที่จะขอต่ออายุสัญญาจ้างอีก 1 ปี จากที่ครบสัญญาจ้าง 4 ปี (21 ก.ค. 2555) เพราะอายุยังไม่ถึง 60 ปี (เกษียณ) แต่ฝ่ายการเมืองไม่เอาด้วยเพราะเห็นว่าที่ผ่านมาไม่มีผลงานและรถไฟยังเกิดเหตุตกรางบ่อย จนทำให้ พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รมช.คมนาคม ในฐานะกำกับดูแล ร.ฟ.ท.ต้องลงไปแก้ปัญหาเองบ่อยครั้ง

สำหรับคณะกรรมการสรรหา 5 คน ประกอบด้วย ผู้แทนจากกรรมการบอร์ด ร.ฟ.ท. 4 คน คือ

พล.ต.สันติ วิจักขณา ประธาน
นายประเทือง ช่างสลัก
นายวิชาญ ธรรมสุจริต
นายวัฒนา เตียงกูล และ นายจรูญ ตั้งไพศาลกิจ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ผู้แทนกระทรวงคมนาคม
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43732
Location: NECTEC

PostPosted: 06/06/2012 6:17 pm    Post subject: Reply with quote

"จารุพงษ์" มั่นใจปลัด คค.ใหม่ สนองการเมืองได้ดี "ศิลปชัย" เตรียมลุยไฮสปีดเทรน-รถไฟฟ้า 10 สาย

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 6 มิถุนายน 2555 14:36 น.



รมว.คมนาคม มั่นใจ ปลัดกระทรวงคนใหม่ สนองนโยบายรัฐบาลได้เป็นอย่างดี "ศิลปชัย" ยันการทำงาน เน้นปฏิบัติด้วยความโปร่งใสตรวจสอบได้ เพราะที่ผ่านมา กระทรวงคมนาคม มักถูกข้อครหาเรื่องการประมูลจัดซื้อจัดจ้าง ลั่น สานฝันนายกฯ ปู ดันไฮสปีดเทรน-รถไฟฟ้า 10 สาย

นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงการแต่งตั้งนายศิลปชัย จารุเกษมรัตนะ ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงคมนาคม แทนนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม เพื่อต้องการให้งานในตำแหน่งปลัดกระทรวงเดินหน้าต่อไปได้ ซึ่งนายศิลปชัย เป็นผู้อาวุโส และทำหน้าที่รักษาการมา 7 เดือนแล้ว แม้จะเหลืออายุราชการอีกเพียง 4 เดือน แต่เชื่อมั่นว่า จะทำงานในตำแหน่งนี้ได้ และสามารถสนองนโยบายรัฐบาลได้เป็นอย่างดี

ทั้งนี้ ตนเองได้มอบให้นายศิลปชัย จัดทำแผนโลจิสติกส์ รวมถึงแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมดของกระทรวงคมนาคมในภาพรวม ในระยะ 8-9 ปี โดยเฉพาะรถไฟความเร็วสูง และโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า 10 สาย การลงทุนก่อสร้างท่าเทียบเรือ สนามบิน นอกจากนี้ ยังได้กำชับให้ดูแลเรื่องความโปร่งใสในการทำงาน การจัดซื้อจัดจ้าง ให้สาธารณะตรวจสอบได้ โดยจะให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมให้มากที่สุด เพื่อช่วยลดปัญหาคอร์รัปชั่น

ด้านนายศิลปชัย จารุเกษมรัตนะ กล่าวว่า หลังรับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ การปฏิบัติหน้าที่จะเน้นเรื่องความโปร่งใสตรวจสอบได้ เนื่องจากที่ผ่านมากระทรวงคมนาคม มักถูกข้อครหาเรื่องการประมูลจัดซื้อจัดจ้าง ส่วนการจัดทำแผน จะดำเนินการให้สอดคล้องกับแผนการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. รวมถึงแผนภาพรวมเพื่อรองรับการลงทุนในระยะ 8 ปีตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43732
Location: NECTEC

PostPosted: 11/06/2012 2:42 am    Post subject: Reply with quote

ทางรถไฟอาเซียน เป็นจริงหรือแค่ฝัน !!?
โดย พันธ์รบ ราชพงศา
สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (ITD)
ที่มา.Siam Intelligence Unit
วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

จากแนวความคิดที่จะเชื่อมโยงภูมิภาคอาเซียนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันนั้น ได้มีการจัดตั้งคณะทำงานแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน (Master Plan on ASEAN Connectivity: MPAC) เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียนปี 2554-2558 โดยกำหนดให้มีการเชื่อมโยงใน 3 มิติ คือ การเชื่อมโยงทางกายภาพ การเชื่อมโยงองค์กร และการเชื่อมโยงประชาชน

ในการเชื่อมโยงภูมิภาคอาเซียน ผมมองว่า เราควรให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงทางกายภาพมากที่สุด เนื่องจากเป็นการเน้นความเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ โดยการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพโครงสร้างพื้นฐานเดิมให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น และการขยายเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานให้ครอบคลุมทั่วถึงยิ่งขึ้น

สำหรับยุทธศาสตร์การเชื่อมโยงที่สำคัญ อาทิ การเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการเชื่อมโยงเครือข่ายด้านพลังงาน ซึ่งจะส่งเสริมให้การเชื่อมโยงองค์กรและประชาชนเข้าด้วยกันทำได้ง่ายขึ้น


ภาพจาก streamlinesupplychain

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ด้านพลังงานในปัจจุบัน ขณะที่ความต้องการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ปริมาณการผลิตไม่ได้ตอบสนองความต้องการได้ทันท่วงที ทำให้ราคาน้ำมันโลกมีแนวโน้มที่จะพุงสูงขึ้นเรื่อยๆ จนเกือบ 200 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล แน่นอนที่จะส่งผลกระทบต่อการขนส่งอย่างเลี่ยงไม่ได้ เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นต้องหาช่องทางการขนส่งที่ประหยัดพลังงานเพื่อเป็นการลดต้นทุน

การขนส่งทางรถไฟ จึงเป็นทางออกหนึ่ง เพราะสามารถขนส่งสินค้าหนักๆ ในปริมาณมาก และระยะทางไกลได้ สามารถกำหนดเวลาออกและถึงจุดหมายปลายทางที่แน่นอน อีกทั้งยังมีความปลอดภัยจากการเสียหายของสินค้า

นอกจากนี้ การขนส่งทางรถไฟสามารถใช้ขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ได้ จึงเหมาะกับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ และหากเปรียบเทียบต้นทุนการขนส่งต่อหน่วย จะพบว่าการขนส่งทางรถไฟมีต้นทุนต่อหน่วยต่ำกว่าการขนส่งทางถนนอย่างเห็นได้ชัด การขนส่งด้วยรถบรรทุกมีต้นทุนสูงถึง 2.19 บาท/ตัน-กิโลเมตร ในขณะที่การขนส่งทางรถไฟมีต้นทุน 1.38 บาท/ตัน-กิโลเมตร ดังนั้น เราควรหันมาใช้บริการขนส่งทางรถไฟให้มากขึ้น

สำหรับอาเซียนมีการเชื่อมโยงที่สำคัญคือ โครงการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟสายสิงคโปร์-คุนหมิง (Singapore Kunming Rail Link: SKRL) ซึ่งเป็นแนวคิดตามโครงการเส้นทางรถไฟสายเอเชียเอสแคป เพื่อเชื่อมทวีปเอเชียและยุโรปเข้าด้วยกัน เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2503 และเป็นทางรถไฟความเร็วสูง 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เชื่อมโยงเส้นทางรถไฟสายหลักของ 8 ประเทศ คือ สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย กัมพูชา สปป.ลาว เวียดนาม พม่า และมณฑลยูนนานของจีน คาดว่าจะสร้างเสร็จในปี 2558

นอกจากนี้ สิงคโปร์ยังต้องการให้เชื่อมโยงทางรถไฟกับอินโดนีเซีย โดยคิดจะสร้างอุโมงค์รถไฟใต้น้ำลอดช่องแคบมะละกาจากชายแดนมาเลเซียถึงเกาะขนาดเล็กของอินโดนีเซีย ระยะทาง 18.9 กิโลเมตร ก่อนจะสร้างสะพานเชื่อมกับเกาะสุมาตรา ดังนั้น การเชื่อมอาเซียนด้วยรถไฟจึงขาดแค่เพียงฟิลิปปินส์และบรูไนเท่านั้น

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า การจะเชื่อมโยงกันเป็นหนึ่งเดียวได้ ก็ต้องมีมาตรฐานร่วม แล้วอะไรคือมาตรฐานร่วมของรถไฟ อย่างแรกคือต้องใช้รถไฟระบบรางคู่เป็นอย่างน้อย ต่อมาคือขนาดของรางต้องใช้รางมาตรฐาน (standard gauge) ขนาดรางกว้าง 1.435 เมตร ที่ใช้สำหรับรถไฟความเร็วสูงที่ทำความเร็วได้ 200-250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

แต่ปัจจุบัน รถไฟของไทยส่วนใหญ่ยังเป็นระบบรางเดี่ยว หมายความว่า เวลารถไฟสวนกันก็ต้องรอให้อีกขบวนไปก่อน ต้องมีการสับราง ทำให้เสียเวลามาก และเกิดอุบัติเหตุอยู่บ่อยครั้ง ที่สำคัญคือเรื่องความกว้างของราง จริงๆ แล้วไทยเคยใช้รางมาตรฐานมาตั้งแต่รัชกาลที่ 5 แต่ปัจจุบันใช้รางขนาด 1.000 เมตร หรือ metre gauge ทำความเร็วเฉลี่ยสำหรับการขนส่งผู้โดยสารได้ 47 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่วนความเร็วของการขนส่งสินค่าอยู่ที่ 35 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่การจะเปลี่ยนรางรถไฟทั้งระบบก็ต้องใช้งบประมาณสูงมาก

ขอยกตัวอย่าง กรณีขบวนรถไฟบรรทุกสินค้าของไทย ซึ่งลากรถแคร่บรรทุกคอนเทนเนอร์บรรจุยางพาราอัดแท่งรมควัน เพื่อนำไปส่งยังมาเลเซีย จำนวน 17 แคร่บรรทุกคอนเทนเนอร์รวม 34 ตู้ เกิดอุบัติเหตุเมื่อวันที่ 5 พ.ค.ที่ผ่านมา มูลค่าความเสียหายประมาณ 400 ล้านบาท ถือเป็นบทเรียนราคาแพงของไทย สาเหตุนั้นเกิดจากระบบรางของไทยไม่ได้มาตรฐานและชำรุด มาเลเซียก็ดูเหมือนจะไม่พอใจกับเหตุการณ์นี้อย่างมาก ต้องการให้ไทยพัฒนาระบบรางให้ได้มาตรฐาน รวมทั้งมาตรฐานความปลอดภัย เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายอย่างที่ไม่ควรเกิดเช่นนี้

ไทยถือเป็นศูนย์กลางการรถไฟของอาเซียนเพราะที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ แต่อย่าลืมว่าไทยเองก็เปรียบเสมือนโซ่ข้อกลางที่จะเชื่อมทางรถไฟอาเซียนทั้งระบบเข้าด้วยกัน จึงจำเป็นต้องเร่งลงทุนและพัฒนาทางรถไฟให้ได้โดยเร็ว เพราะในอนาคต โอกาสของการค้าจะไม่ได้อยู่แค่ภายในอาเซียน แต่เราสามารถขนส่งสินค้าทางรถไฟไปถึงยุโรปได้ด้วยทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรีย (Trans-Siberian) ซึ่งเป็นสายที่ยาวที่สุดในโลก ผ่านจีนและรัสเซีย

ส่วนตัวแล้ว ผมคิดว่ารถไฟอาเซียนไม่ได้เป็นเพียงแค่ฝัน การเชื่อมโยงด้วยโครงข่ายรถไฟภายในอาเซียนสามารถเป็นไปได้จริง เพียงแต่ไม่แน่ใจว่าต้องใช้เวลานานแค่ไหน ถ้าความฝันนี้เป็นจริง ประชากรอาเซียนจะเดินทางไปมาหาสู่กันได้สะดวกยิ่งขึ้น ขนส่งสินค้าระหว่างกันได้มากขึ้น และยังสามารถช่วยกระจายรายได้ได้เป็นอย่างดี การเชื่อมโยงอาเซียนทั้ง 3 มิติ ก็จะมีความสมบูรณ์และแน่นแฟ้นมากขึ้นในที่สุด

Nicstrendy
เชื่อว่าการเปลี่ยนเป็นรางขนาด 1.4 เป็นเรื่องที่ต้องทำไม่ช้าก็เร็ว เพียงแต่ว่าเพื่อนๆในอาเซียนก็ใช้ 1 เมตรกันหมดนะครับ(ยกเว้นอินโดฯ 1.067 เมตร) แล้วทีนี้ก็ต้องเลยตามเลยเชื่อมๆไปแล้วค่อยนัดกันปรับเพื่อความเร็ว 4X หรอครับ หรือว่าเราปรับของเราไปเลยแล้วรอให้เพื่อนบ้านปรับตามมาเองแล้วจึงเชื่อมกันหล่ะครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46894
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/06/2012 1:53 pm    Post subject: Reply with quote

ข่าวย้อนยุคดีครับ ซ่อมชานบรรทุก นาน ๆ จะได้ยินสักครั้ง ในอนาคตอาจจะเอาไว้บรรทุกสินค้าส่งไปกัมพูชาแบบบทความข้างบนนี้ได้ Rolling Eyes

สอบราคาจ้างซ่อมปรับปรุงชานชาลาบรรทุก คสล.ย่านสถานีปราจีนบุรี แขวงบำรุงทางปราจีนบุรี
- - - - - - - - - - - - - - -
เลขที่ ยธ.๐๓๗๐๐/๕/๓๙๙
ซ่อมปรับปรุงชานชาลาบรรทุก คสล.ย่านสถานีปราจีนบุรี ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี
ราคากลาง 703,000.00 บาท

สอบราคาจ้างเหมาซ่อมปรับปรุงกระเบื้องหลังคา,ฝ้าเพดาน,หลังคาคุมชานสถานีปราจีนบุรี ที่ กม. ๑๒๑+๗๘๑.๔๒ บริเวณย่านสถานีปราจีนบุรี แขวงบำรุงทางปราจีนบุรี
- - - - - - - - - - - - - - -
เลขที่ ยธ.๐๗๓๐๐/๗/๔๐๑

การรถไฟแห่งประเทศไทย โดย ศูนย์บำรุงทางภาคกลาง ฝ่ายการช่างโยธา มีความประสงค์จะสอบราคาจ้างเหมาซ่อมปรับปรุงกระเบื้องหลังคา,ฝ้าเพดาน,หลังคาคุมชานสถานีปราจีนบุรี ที่ กม. ๑๒๑+๗๘๑.๔๒ บริเวณย่านสถานีปราจีนบุรี แขวงบำรุงทางปราจีนบุรี

ปรับปรุงกระเบื้องหลังคา,ฝ้าเพดาน,หลังคาคุมชานสถานีปราจีนบุรี ที่ กม. ๑๒๑+๗๘๑.๔๒ บริเวณย่านสถานีปราจีนบุรี แขวงบำรุงทางปราจีนบุรี ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี

ราคากลาง 781,000.00 บาท

หมายเหตุ ก่อนหน้านี้เคยประกาศไปแล้วครั้งหนึ่งครับ (ต.ค. 54) แต่สงสัยยังไม่ได้ซ่อม
http://www.railway.co.th/auction/system/Declaration.asp?NumDC=12177

-----------------

เจาะยุทธศาสตร์คมนาคมปี 55-59
ฐานเศรษฐกิจ วันศุกร์ที่ 08 มิถุนายน 2012 เวลา 15:14 น.

การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ของกระทรวงคมนาคมโดยเฉพาะการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศถือเป็นอีกหนึ่งผลงานที่จะพิสูจน์ฝีมือการบริหารของรัฐบาลชุดนี้ว่าสามารถทำได้ตามที่วาดฝันไว้หรือไม่ ล่าสุดได้แต่งตั้งปลัดกระทรวงคมนาคมคนใหม่ หวังผลักดันการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่งภายในและภายนอกภูมิภาคให้เห็นเป็นรูปธรรมโดยเร็ว

Click on the image for full size

+++ 4 เดือนขับเคลื่อนยุทธศาสตร์

นายศิลปชัย จารุเกษมรัตนะ (ว่าที่)ปลัดกระทรวงคมนาคมคนใหม่ ให้สัมภาษณ์พิเศษ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าได้รับมอบหมายจากนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จัดทำแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์และแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ทั้งระบบราง ท่าเทียบเรือ มอเตอร์เวย์ ถึงแม้จะมีระยะเวลาการทำหน้าที่อีกเพียง 4 เดือน

"ต้องเร่งผลักดันโดยยึดถือการปฏิบัติในกรอบแนวคิดตามแผนยุทธศาสตร์ฯของปี 2555-2559 คาดว่าจะสามารถเพิ่มสัดส่วนปริมาณการขนส่งสินค้าทางรถไฟจาก 2% เป็น 5 % และทางน้ำเพิ่มขึ้นจาก 15% เป็น 19% อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนการขนส่งสินค้าต่อ GDP ลง 2% โดยมีกรอบแนวคิดครอบคลุมระบบโลจิสติกส์การขนส่งให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศจากการเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ที่กำลังจะเริ่มในปี 2558 นี้"

+++ ลุ้นงบ 1.5 แสนล้านลุย 86 โครงการ

ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวมีโครงการต่างๆรวมทั้งสิ้น 86 โครงการวงเงินงบประมาณปี 2555-2559 จำนวน 152,038 ล้านบาทแบ่งออกเป็น 3 กลยุทธ์หลัก คือ
1. พัฒนาเครือข่ายโลจิสติกส์ในประเทศให้เชื่อมโยงอย่างบูรณาการทั้งภายในและสู่ต่างประเทศ
2. สนับสนุนการใช้การขนส่งทางรถไฟและทางน้ำเพื่อลดต้นทุนการขนส่งของประเทศ และ
3. พัฒนาการขนส่งด้านทะเลอันดามันเพื่อนำการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ และรองรับการขยายตัวของการค้าระหว่างประเทศจีน-อาเซียน และอาเซียน-อินเดีย

นอกจากจะให้ความสำคัญตามแนวเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ 6 คอร์ริดอร์แล้วยังเร่งพัฒนาประตูการค้าชายแดนต่างๆ คือ
1.ท่าเทียบเรือเชียงแสนแห่งที่ 2 การก่อสร้างถนนจำนวน 9 สายทางวงเงิน 6,831 ล้านบาท ตั้งงบปี 2556 จำนวน 675 ล้านบาท
2.การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 เชื่อมไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว) และจีน 10,080 ล้านบาท การสร้างศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ - เชียงราย 1,552 ล้านบาท สร้างถนน 5 สาย 7,583 ล้านบาท การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 งบ 770 ล้านบาท และโครงการศึกษาออกแบบรายละเอียดทางรถไฟสายเด่นชัย - เชียงราย - เชียงของ 173 ล้านบาท ตั้งวงเงินปี 2556 จำนวน 718 ล้านบาท
3. ด่านหนองคาย จังหวัดหนองคาย เชื่อมต่อสปป.ลาว 15,498 ล้านบาท มีทั้งโครงการปรับปรุงทางรถไฟ 2 สาย 14,802 ล้านบาท การสร้างสถานีขนส่งสินค้า(CY) ที่หนองคาย 696 ล้านบาท ตั้งงบปี 2556 จำนวน 4,575 ล้านบาท
4.ด่านอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เชื่อมต่อกัมพูชา 5,889 ล้านบาทมีทั้งการก่อสร้างถนน 4 ช่องจราจร 3,067 ล้านบาท คือสายทล.356(พนมสารคาม-สระแก้ว) และสายทล.317(จันทบุรี-สระแก้ว) และงานปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัยช่วงชุมทางคลองสิบเก้า-อรัญประเทศ-คลองลึก 2,822 ล้านบาท ตั้งงบปี 2556 จำนวน 1,003 ล้านบาท
5. ด่านแม่สอด จังหวัดตาก เชื่อมต่อกับเมียนมาร์ 315 ล้านบาท ประกอบด้วยโครงการศึกษาความเหมาะสมการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเมย แห่งที่ 2 วงเงิน 15 ล้านบาท และการสร้างสถานีขนส่งสินค้าแม่สอด 300 ล้านบาท ตั้งงบปี 2556 จำนวน 40 ล้านบาท และ
6.ด่านสะเดา จังหวัดสงขลา เชื่อมต่อกับมาเลเซีย 25 ล้านบาท สำหรับการศึกษาออกแบบรายละเอียดโครงการก่อสร้างมอเตอร์เวย์ช่วงหาดใหญ่-ด่านสะเดา โดยเป็นงบประมาณปี 2555

+++ รุกทางน้ำ-ทางรางควบคู่กัน

ทั้งนี้จำแนกเป็นการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังในระยะที่ 3 งบ 30,141 ล้านบาท โครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งสินค้าทางรถไฟ 3,167 ล้านบาท การก่อสร้างถนน 6 เส้นทางเชื่อมโยงผ่านทางสัตหีบ บ้านบึง พนมสารคาม และชลบุรี 2,322 ล้านบาท โดยส่วนนี้ตั้งวงเงินงบประมาณปี 2556 จำนวน 1,764 ล้านบาท แบ่งเป็นงบการท่าเรือแห่งประเทศไทย 1,266 ล้านบาท และงบประมาณแผ่นดิน 498 ล้านบาท
ส่วนการขนส่งสินค้าทางลำน้ำที่อยุธยา 379 ล้านบาท ที่อ่างทอง 1,073 ล้านบาท และก่อสร้างเขื่อนยกระดับในแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อการเดินเรือ 2 แห่ง 14,394 ล้านบาท ตั้งวงเงินปี 2556 ไปดำเนินการ 415 ล้านบาท การขนส่งทางชายฝั่งครอบคลุมจังหวัดชุมพร ตรัง ตราด สมุทรสาคร แหลมฉบัง และระนอง 11,006 ล้านบาท มีทั้งการก่อสร้างท่าเรือชายฝั่ง 6,136 ล้านบาท และสร้างท่าเทียบเรือ A 2,030 ล้านบาท การก่อสร้างถนนสนับสนุนท่าเรือชายฝั่งที่ตราดและระนอง 4,870 ล้านบาท ตั้งงบปี 2556 ไปดำเนินการ 2,017 ล้านบาท

ทางด้านประตูการขนส่งฝั่งทะเลอันดามัน-สะพานเศรษฐกิจ(แลนด์บริดจ์) 28,199 ล้านบาท มีทั้งการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบาราจังหวัดสตูล 12,558 ล้านบาท การก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 วงเงิน 6,164 ล้านบาท การก่อสร้างถนนสายทล.416 (อ.ปะเหลียน-อ.ทุ่งหว้า-อ.ละงู) 2,518 ล้านบาท และการก่อสร้างทางรถไฟสายจะนะ-หาดใหญ่-ปากบารา 26,379 ล้านบาท ตั้งงบประมาณปี 2556 วงเงิน 2,445 ล้านบาท

สำหรับการพัฒนาการขนส่งทางรถไฟวงเงิน 73,450 ล้านบาท มีทั้งการก่อสร้างทางคู่ 6 โครงการ 71,351 ล้านบาท การก่อสร้างทางรถไฟสายใหม่เส้นทางมหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม 42,306 ล้านบาท และการสร้างถนนเชื่อมโยงทางรถไฟ 3 สายทาง 2,098 ล้านบาท โดยตั้งงบปี 2556 ไปดำเนินการ 11,704 ล้านบาท

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,747 10-13 มิถุนายน พ.ศ. 2555
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Tohoku_Line
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 08/04/2010
Posts: 193
Location: Bangkok/Ubonratchathani

PostPosted: 18/06/2012 8:22 am    Post subject: Reply with quote

สพพ.เซ็น 1.6 พันล้านช่วยสปป.ลาว

Click on the image for full size

สพพ.เซ็นงบ 1,650 ล้านบาทช่วยสปป.ลาวสร้างทางรถไฟช่วงท่านาแล้ง-เวียงจันทน์ คาด 2 ปีแล้วเสร็จ เปิดทางผู้รับเหมาไทยได้สิทธิ์เลือกก่อน ใช้รางขนาดมิเตอร์เกจที่พร้อมขยายเป็นสแตนดาร์ดเกจเชื่อมโยงหนองคายและแหลมฉบังได้ทันที เผยสปป.ลาวเล็งต่อยอดเชื่อมชายแดนจีนและเพิ่มเส้นทางในพื้นที่ระยะต่อไป

นายอรรคศิริ บุรณศิริ ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน(องค์การมหาชน)(สพพ.)หรือ NEDA เปิดเผยว่า ประเทศไทยได้ให้ความช่วยเหลือแก่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.)เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2553 ที่อนุมัติให้สพพ.ดำเนินการให้ความช่วยเหลือทางการเงินจำนวน 1,650 ล้านบาทในโครงการก่อสร้างทางรถไฟเส้นทางดังกล่าวระยะทาง 7.75 กิโลเมตรโดยเป็นการให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าร้อยละ 30 คิดเป็นเงินไม่เกิน 495 ล้านบาท และเงินกู้ร้อยละ 70 คิดเป็นเงินไม่เกิน 1,155 ล้านบาท จำแนกเป็น ค่างานก่อสร้าง 1,476 ล้านบาท ค่าวิศวกรที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง 78 ล้านบาท ค่าบริหารจัดการของสปป.ลาว 18 ล้านบาท ค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด 78 ล้านบาท

โครงการนี้นับเป็นระยะที่ 2 ต่อจากช่วงหนองคาย-ท่านาแล้งที่ปัจจุบันเปิดให้บริการแล้ว นับจากวันนี้จะเป็นการเริ่มดำเนินการหาผู้รับเหมาเพื่อเริ่มดำเนินการก่อสร้าง คาดว่างานก่อสร้างจะแล้วเสร็จภายใน 2 ปีนี้ โดยเงื่อนไขในสัญญาจะเปิดโอกาสให้ผู้รับเหมาไทยได้รับสิทธิ์เลือกก่อนรายอื่นๆ ซึ่งสพพ.คัดเลือกผู้รับเหมาชั้นพิเศษให้สปป.ลาวพิจารณาอีกที โดยขอบเขตงานครอบคลุมงานก่อสร้างทางรถไฟท่านาแล้ง-นครเวียงจันทน์ บริเวณบ้านคำสวัสดิ์ ระยะทางรวม 7.50 กิโลเมตร และงานปรับปรุงอาณัติสัญญาณ งานก่อสร้างสถานีหรือเมนสเตชันที่นครหลวงเวียงจันทน์ งานก่อสร้างย่านเก็บกองตู้คอนเทนเนอร์ที่สถานีท่านาแล้ง งานก่อสร้างอาคารสำนักงานการรถไฟลาว และอาคารที่พักเจ้าหน้าที่ งานก่อสร้างจุดตัดทางรถไฟบริเวณบ้านคำสวัสดิ์ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จเปิดให้บริการได้แล้วจะสามารถตอบสนองยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศจากแลนด์ลอร์ดให้เป็นแลนด์ลิงก์ที่เชื่อมโยงและรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน รองรับการขนส่งสินค้าและบริการรวมถึงการเดินทางของสปป.ลาวสู่ไทยและประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ตลอดจนการขนส่งสินค้าออกสู่ท่าเรือแหลมฉบังได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้น

ผู้อำนวยการสพพ.กล่าวอีกว่านอกจากนี้สปป.ลาวยังเล็งต่อยอดการพัฒนาเส้นทางรถไฟภายในประเทศให้เชื่อมโยงสู่เมืองต่าง ๆ ได้อย่างทั่วถึงในระยะต่อไป นอกเหนือจากต้องการเชื่อมโยงไปยังชายแดนของจีนตอนใต้ โดยรางรถไฟในโครงการนี้ใช้รูปแบบรางขนาดมิเตอร์เกจและสามารถปรับเป็นสแตนดาร์ดเกจได้อีกด้วย

"ประโยชน์ของโครงการนี้จะช่วยให้การคมนาคมขนส่งระบบรางระหว่างไทยกับสปป.ลาวมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น สามารถช่วยลดต้นทุนการขนส่งสินค้าอุปโภค บริโภคเข้าไปยังนครหลวงเวียงจันทน์ได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น เกิดการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ช่วยสร้างโอกาสให้ผู้รับเหมาและนักธุรกิจไทยในการประกอบธุรกิจตลอดจนการรับเหมาก่อสร้างในระยะต่าง ๆ อีกทางหนึ่งด้วย ทั้งนี้ไทยได้เปลี่ยนสถานะจากประเทศผู้รับความช่วยเหลือมาเป็นประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือมาตั้งแต่ปี 2534 ปัจจุบันได้ให้ความช่วยเหลือประเทศในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงไปแล้วทั้งสิ้นจำนวน 37 โครงการคิดเป็นงบประมาณ 10,587 ล้านบาท"

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,749 17-20 มิถุนายน พ.ศ. 2555
http://thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=127091:-16-&catid=128:-real-estate-&Itemid=478
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 164, 165, 166 ... 486, 487, 488  Next
Page 165 of 488

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©