View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46876
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 20/07/2012 11:25 am Post subject: |
|
|
ผู้ว่ารฟม.ชงตั้งตำแหน่ง"ซีเอฟโอ" ดึง"รณชิต -ชัยสิทธิ์" กลับนั่งรองฯตามเดิม
วันศุกร์ที่ 20 กรกฏาคม 2012 เวลา 10:35 น.
นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการรฟม. ว่ามติของคณะกรรมการได้เห็นชอบตามที่ตนเสนอให้แต่งตั้งนายรณชิต แย้มสอาด ที่ปรึกษา รฟม. กลับมาทำหน้าที่รองผู้ว่าการ รฟม. ฝ่ายปฏิบัติการ
และแต่งตั้งนายชัยสิทธิ์ คุรุรัตน์ ที่ปรึกษา รฟม. กลับมาเป็นรองผู้ว่าการ รฟม. ฝ่ายกลยุทธ์ เนื่องจากขณะนี้ รฟม.มีงานในความรับผิดชอบที่ต้องเร่งเดินหน้าหลายโครงการ และมีหลายสัญญาก่อสร้างรถไฟฟ้าที่ดำเนินการอยู่ โดยมีหลายโครงการที่จะเริ่มประกวดราคา จึงอยากให้มีผู้เชี่ยวชาญมาช่วยกันทำงาน ซึ่งทั้ง 2 คน เป็นผู้มีความสามารถ
นอกจากนี้ตนยังได้เสนอบอร์ดปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ ให้เพิ่มตำแหน่งซีเอฟโอ ทำหน้าที่บริหารความเสี่ยงด้านการเงิน มีตำแหน่งเทียบเท่ารองผู้ว่าการ ซึ่งทำให้มีรองผู้ว่าการ 5 ตำแหน่ง จากเดิม 4 ตำแหน่ง และเพิ่มตำแหน่งผู้ช่วยผู้ว่าการเพิ่มอีก 2 ตำแหน่ง เป็น 6 ตำแหน่ง |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43714
Location: NECTEC
|
Posted: 20/07/2012 8:31 pm Post subject: |
|
|
ยงสิทธิ์ ลดขัดแย้งตั้ง รณชิต-ชัยสิทธิ์ คัมแบ็กรองผู้ว่าฯ รฟม.
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 20 กรกฎาคม 2555 14:04 น.
ยงสิทธิ์ ประเดิมงานแรกเสนอบอร์ด รฟม.ตั้ง รณชิต-ชัยสิทธิ์ นั่งรองผู้ว่าฯ รฟม.เหมือนเดิม ซื้อใจสลายขั้วลดขัดแย้ง เดินหน้าปรับโครงสร้าง รฟม. เพิ่ม CFO และผู้ช่วยผู้ว่าฯ ตั้งเป้าเดินหน้าเร่งงานรถไฟฟ้า 6 สายตามนโยบาย ต้องใช้คนมีประสบการณ์ช่วยทำงาน เล็งพัฒนาธุรกิจหารายได้เสริม ส่วนบอร์ดรับทราบผลเจรจาจ้าง BMCL เดินรถสีม่วงวงเงิน 8.4 หมื่น ล. ลดจากที่เสนอ 9.3 หมื่น ล. ตลอด 30 ปี เตรียมเสนอ ครม. พร้อมเล็งรีไฟแนนซ์เงินกู้ 8 หมื่น ล. หลังปี 54 ขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนหมื่น ล.
นางรัชนี ตรีพิพัฒน์กุล ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมบอร์ด รฟม.เมื่อวันที่ 19ก.ค.ได้เห็นชอบโยกย้ายผู้บริหารรฟม.ตามที่นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าฯรฟม.คนใหม่เสนอ โดยโยกย้ายนายรณชิต แย้มสอาด จากที่ปรึกษาระดับ 14 เป็นรองผู้ว่าฯ รฟม.(ปฎิบัติการ) และโยกย้ายนายชัยสิทธิ์ คุรุรัตน์ จากที่ปรึกษาระดับ 14 เป็นรองผู้ว่าฯ รฟม.(กลยุทธ์) เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับโครงสร้าง รฟม.ใหม่ซึ่งได้มีการสรรหาผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน (CFO) ระดับเท่ากับรองผู้ว่าฯ รฟม.เข้ามาบริหารจัดการการเงินและการพัฒนาธุรกิจเพื่อหารายได้เพิ่มตามคำสั่งของกระทรวงการคลัง
นายยงสิทธิ์กล่าวว่า การโยกย้ายนายรณชิต และนายชัยสิทธิ์มาเป็นรองผู้ว่าฯ ซึ่งเป็นตำแหน่งเดิมนั้นเป็นวิธีการที่ดีที่สุด เพราะนอกจากเป็นการจัดกำลังคนที่มีประสบการณ์มาทำงานตามศักยภาพแล้ว เนื่องจาก รฟม.มีงานมากแล้ว ยังเป็นการสร้างบรรยากาศในการทำงานลดความขัดแย้งในองค์กรด้วย ซึ่งหลังจากนี้จะมีการเพิ่มระดับผู้ช่วยผู้ว่าการฯ อีก 2 คนด้วย รวมกับผู้ช่วยผู้ว่าการฯ ที่เดิมมี 4 คนเป็น 6 คน ซึ่งเป็นการเพิ่มกำลังคนเพื่อให้เหมาะสมกับภารกิจของ รฟม.
ในการทำงานช่วง 1-3 เดือนแรกจะเร่งจัดสรรกำลังคนที่มีอยู่ให้สอดคล้องกับงานที่มีก่อน และจะต้องมีการเพิ่มคนในส่วนที่มีไม่เพียงพอ เพราะพบว่างานบางเรื่องคนรับผิดชอบหลักเพียงคนเดียวซึ่งจะทำให้งานหนักเกินไป การส่งต่องานมีสภาพเป็นคอขวด ซึ่งเป้าหมายในการทำงานของผมคือ เร่งรัดการเซ็นสัญญารถไฟฟ้า 6 สายให้ครบตามนโยบายรัฐบาล นอกจากนี้จะต้องทำแผนการพัฒนาธุรกิจเพื่อหารายได้เพิ่มให้องค์กรด้วย นายยงสิทธิ์กล่าว
BMCL ลดค่าจ้างเดินรถสีม่วงเหลือ 8.4 หมื่น ล.
นอกจากนี้ที่ประชุมบอร์ด รฟม.ได้รับทราบผลการเจรจาค่าบริหารการเดินรถและค่าซ่อมบำรุงสัญญาที่ 4 โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ กับบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BMCL ซึ่งคณะกรรมการมาตรา 13 ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35) ได้ยุติแล้วที่วงเงินประมาณ 84,000 ล้านบาท จากที่ BMCL เสนอ 93,475 ล้านบาทตลอดอายุสัญญา 30 ปี รูปแบบ PPP โดยอยู่ระหว่างการสรุปรายละเอียดเสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ พร้อมกันนี้ ในส่วนของ รฟม.จะมีการทำแผนการบริหารการเดินรถเองเพื่อเป็นข้อมูลประกอบเปรียบเทียบ หาก ครม.ไม่เห็นแก่ผลการเจรจากับ BMCL โดยพบว่าหาก รฟม.เดินรถเองจะมีต้นทุนต่ำกว่าจ้างเอกชนเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยกรณีรัฐกู้เงินลงทุนเองจะต่ำกว่าประมาณ 1-2%
รวมถึงเห็นชอบผลการเจรจาต่อรองราคางานโยธาระบบรางโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) สัญญา 6 มูลค่า 3,638 ล้านบาท ซึ่ง บมจ.อิตาเลียนไทยฯ ยอมปรับลดราคาลงเหลือ 3,585 ล้านบาทต่ำกว่ากรอบวงเงินและลดจากวงเงินที่เสนอ 4,142 ล้านบาทเกือบ 20% โดยวงเงินที่ปรับลด เช่น เอกชนยอมรับผิดชอบค่าภาษีศุลกากรนำเข้าชิ้นส่วนประมาณ 192 ล้านบบาท เป็นต้น ส่วนสาเหตุที่ยอมลดลงต่ำกว่ากรอบราคาเพราะอาจจะประเมินแล้วว่าหากไม่ลดจะต้องเปิดประมูลใหม่ซึ่งไม่แน่ว่าจะได้งานหรือไม่
นายรัชนีกล่าวว่า ขณะนี้ รฟม.อยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อรีไฟแนนซ์เงินกู้ วงเงินประมาณ 80,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินกู้สกุลเยน เนื่องจากมีความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนสูง โดยปี 2554 ต้องขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนถึง 10,000 ล้านบาท ส่วนปี 2555 ช่วง 8 เดือนที่ผ่านมามีกำไรประมาณ 1,080 ล้านบาท ซึ่งหลังจากได้ตั้งอนุกรรมการบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนเงินกู้ และหารือกฤษฎีกาแล้วว่า รฟม.สามารถดำเนินการได้ โดยร่วมกับสำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ซึ่งอยู่ระหว่างเตรียมเสนอรายละเอียดการรีไฟแนนซ์ต่อ สบน.สิ้นเดือนกรกฎาคมนี้ |
|
Back to top |
|
|
nutsiwat
2nd Class Pass
Joined: 03/03/2011 Posts: 684
Location: สถานีเรณูนคร
|
Posted: 21/07/2012 1:10 pm Post subject: |
|
|
Mongwin wrote: | สายสีเหลือง ผมว่าถนนลาดพร้าวอิ่มตัวแล้วครับ ยากที่จะสร้างอะไรเพิ่มเติมเข้าไปแล้ว ไม่ว่าทางยกระดับหรือรถไฟฟ้า แม้แต่โมโนเรล
ย้ายสาธารณูปโภคก็ยากมาก
เป็นรถไฟใต้ดินแบบสายสีน้ำเงิน ก็งบประมาณสูง ไม่มีพื้นที่สร้างสถานี (ทางลง) ด้วยครับ
อีกอย่าง การเชื่อมโยงกับสายอื่นก็ไม่ค่อยดี ค่อนข้างโดดเดี่ยว คล้ายรถไฟสายบ้านแหลม-แม่กลอง |
ผมว่าเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ควรจะทำเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินโดยเชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร (บางซื่อ - หัวลำโพง) ที่สถานีรถไฟฟ้ารัชดา/ลาดพร้าว เพราะเนื่องจาก ถ.ลาดพร้าว มีการจราจรที่คับคั้ง และหนาแน่นจากห้าแยกลาดพร้าว จนไปถึงสีแยกลำสาลี เพราะเป็นย่านผู้คนอาศัยหนาแน่นมาก หากมีการก่อสร้างเส้นทางสายดังกล่าว ผู้ที่ทำงานก็สามารถใช้การเดินทางของเส้นทางสายนี้ได้โดยสะดวก ถึงแม้การลงทุนก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินจะมีงบประมาณที่ค่อนข้างสูงก็ตาม โดยการก่อสร้างอาจจะสร้างเป็นแบบใต้ดินตั้งแต่สถานีรัชดา/ลาดพร้าว ไปจนถึงสถานีแยกลำสาลี จากนั้นก็สร้างเป็นแบบลอยฟ้าไปจนถึงสถานีพัฒนาการ และอาจจะขยายต่อไปจนถึงสถานีรถไฟฟ้าสมุทรปราการ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าของกรุงเทพมหานคร (BTS) ได้
เพราะทุกวันนี้ถนนแถบทุกที่ที่จะให้รถวิ่งมีไม่เพียงพอสำหรับการขับขีและการเดินทางได้โดยสะดวก เพราะรถยนต์มีมาก แม้กระทั่งบนทางด่วนบางวันที่ฝนตก สิ้นเดือนเงินเดือนออก หรือจะเป็นช่วงเวลาที่เลิกงาน รถบนท้องถนนแถบจะไม่สามารถไปไหนได้ บางครั้งต้องอยู่บนรถนานเป็นชั่วโมงในจุด ๆ นั้น เพราะฉนั้นรถไฟฟ้าจึงมีหนทางเลือกหนึ่งในการเดินทางที่สามารถช่วยแบ่งเบาผู้คนในการเดินทางไปที่ไหนได้คล่องตัวและสะดวกยิ่งขึ้นนะครับ ในเส้นทางไหนหากมีการก่อสร้างได้ อยากจะให้รัฐบาลนำงบประมาณไปใช้ในการก่อสร้างในเส้นทางนั้น ลองดูนะครับ อีก 10 ปี 20 ปีข้างหน้า กรุงเทพฯ จะแออัดมากขนาดไหน หากไม่มีความคิดที่จะหาเมืองหลวงและก่อสร้างเมืองหลวงแห่งใหม่ มาทดแทนกรุงเทพฯ นะครับ |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46876
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 24/07/2012 12:35 pm Post subject: |
|
|
โครงการที่ถูกลืม!อุโมงค์ลอดสามแยกไฟฉาย กทม.ปรับแบบ3ปี ลุ้นต.ค.นี้ตอกเข็มรอบใหม่
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 24 ก.ค. 2555 เวลา 09:30:49 น.
อุโมงค์ลอดสามแยกไฟฉาย หนึ่งในโครงการเจ็ดชั่วอายุคนของ "สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร" กำลังจะสร้างอยู่ดี ๆ ปรากฏว่ามีการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระ) ทับซ้อนพื้นที่ตามแนวถนนจรัญสนิทวงศ์ ทำให้ต้องปรับแบบใหม่
ประเด็นคือใช้เวลา "ปรับแบบ" อย่างเดียว 3 ปีเต็ม ความคืบหน้าล่าสุด "วินัย ลิ่มสกุล" ผู้อำนวยการสำนักการโยธา กทม.ชี้แจงว่า สาเหตุที่ล่าช้าเพราะต้องเสียเวลาปรับแบบ เนื่องจากไซต์โครงการกลายเป็นพื้นที่ทับซ้อนระหว่าง "กทม.-กรุงเทพมหานคร" ในฐานะเจ้าของโครงการอุโมงค์ลอดฯ กับ "รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย" เจ้าของโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินดังกล่าว
ลำพังมีโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐ 2 หน่วยงานทับซ้อนกันก็สร้างปัญหาจราจรในพื้นที่ติดขัดเป็นเท่าทวีคูณอยู่แล้ว แต่การออกแบบเนื่องจากต่างหน่วยงานจึงกลายเป็นว่าต่างคนต่างออกแบบ ผลลัพธ์ในวันนี้ แทนที่จะ "ประสานงาน" กลับกลายเป็นการ "ประสานงา" เข้าอย่างจัง เมื่อ รฟม.ออกแบบให้มีสถานีรถไฟฟ้าสีน้ำเงินอยู่ในแนวเดียวกับอุโมงค์ลอดฯของ กทม.
"ที่ผ่านมา กทม.ต้องยุติการก่อสร้างอุโมงค์ลอดฯไว้ก่อน และตั้งคณะทำงานร่วมกับ รฟม.เพื่อหารือในการแก้ไขแบบใหม่ ถือว่ามีข่าวดีเพราะล่าสุดได้ข้อยุติแล้ว"
แบบใหม่ที่เป็นข้อยุติก็คือ ปรับลดความยาวของทางลอดและลดความกว้างลง ช่วยเพิ่มความกว้างของทางเท้าจากเดิม 1.50 เมตร เป็น 2.50 เมตร ผลพลอยได้คือประชาชนสามารถใช้พื้นที่ทางเท้าได้กว้างขวางมากขึ้น
รายละเอียดของการปรับแบบ ตัวอุโมงค์จะก่อสร้างเป็นทางลอด กว้างประมาณ 10.60 เมตร ความยาวประมาณ 594.45 เมตร ขณะที่ความยาวโครงการประมาณ 1,250 เมตร
โดยผนังพืด (Diaphragm wall) ที่อยู่ภายในของทางลอดจะมีความหนา 1 เมตร ความลึกประมาณ 35.45 เมตรจากระดับผิวถนน และตำแหน่งเสาของรถไฟฟ้าที่จะอยู่ติดกับผนังพืดของทางลอดจะถูกออกแบบให้เป็นเสาเข็มเจาะแบบผนังพืด (Barrette Pile) ขนาด 1x5 เมตร และ 1x12 เมตร ความลึกประมาณ 57.95 เมตร (จากระดับผิวถนน)
ทั้งหมดนี้ตอบโจทย์ง่าย ๆ ว่า ผนังอุโมงค์ลอดฯของ กทม. สามารถรองรับการถ่ายเทน้ำหนักจากโครงสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินของ รฟม.ได้นั่นเอง
"ตอนนี้ กทม.ได้ส่งแบบแก้ไขงานก่อสร้างอุโมงค์บางส่วนให้กับบริษัทผู้รับเหมาแล้ว ในเวลาเดียวกันก็ได้เสนอเรื่องตามขั้นตอนให้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. เพื่อพิจารณาอนุมัติแบบก่อสร้างด้วย
คาดว่าจะได้รับการอนุมัติและจะเริ่มกลับมาลงมือตอกเสาเข็มเพื่อก่อสร้างโครงการได้อีกครั้งภายในเดือนตุลาคมนี้ โดย กทม.ขยายเวลาตามสัญญาก่อสร้างเป็น 1,465 วัน เพราะบวกช่วงเวลาที่เสียไปกับการปรับแบบด้วย" คำกล่าวของ "ผอ.วินัย"
ทั้งนี้ โครงการก่อสร้างอุโมงค์สามแยกไฟฉาย เป็นหนึ่งในโครงการแก้ไขปัญหาจราจรเร่งด่วนระยะกลางของ กทม.ตามมติคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ลักษณะโครงการเดิมเป็นการก่อสร้างทางลอดใต้ทางแยกไฟฉาย ในแนวถนนจรัญสนิทวงศ์
มีความยาวทางลอดประมาณ 827 เมตร ขนาด 3 ช่องจราจร กว้าง 12 เมตร ความสูงช่องลอดประมาณ 5 เมตร ความยาวรวมทั้งโครงการ 1,250 เมตร ใช้งบประมาณ 788 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้าง 820 วัน โดยมี "KPV-บริษัท กำแพงเพชรวิวัฒน์ก่อสร้าง จำกัด" เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง กำหนดเริ่มงาน 28 ตุลาคม 2552 ตามสัญญาเดิมจะต้องแล้วเสร็จไม่เกิน 25 มกราคม 2555
กล่าวสำหรับประชาชนที่พักอาศัยในพื้นที่ เพื่อไม่ให้หลงดีใจเก้อ "ประชาชาติธุรกิจ" สอบถามความคืบหน้าไปยัง "KPV" ผู้รับเหมาก่อสร้างอุโมงค์ลอดสามแยกไฟฉาย
แหล่งข่าวจากบริษัท KPV ระบุว่า ขณะนี้บริษัทได้ดำเนินงานตามรายละเอียดของแผนงานไปบ้างแล้ว โดยมีเนื้องานหลักแบ่งเป็น 5 ส่วน ประกอบด้วย การก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค (ตัวอุโมงค์), ระบบไฟฟ้า, ระบบประปา, ระบบโทรศัพท์ และระบบการสื่อสาร
ผลงานก่อสร้างตามสัญญาพบว่า มีงานที่แล้วเสร็จ 1 ระบบคือการสื่อสารโทรคมนาคม ซึ่งติดตั้งเสร็จเรียบร้อยตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา ขณะเดียวกัน งานฝังหรือติดตั้งระบบใต้ดิน ได้แก่ ระบบไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ภาพรวมคืบหน้าไปแล้วกว่า 70% ตามแผนคาดว่าจะแล้วเสร็จทั้ง 3 ส่วนภายในปลายปีนี้
"เหลือเพียงการก่อสร้างอุโมงค์เท่านั้นที่ยังไม่มีการดำเนินงานใด ๆ เนื่องจาก กทม.อยู่ระหว่างแก้ไขรูปแบบเพิ่มเติม ทั้งเรื่องการร้องเรียนและเสียงคัดค้านจากชาวบ้านที่อยู่ในบริเวณพื้นที่ก่อสร้างว่า ตัวอุโมงค์อาจมีผลกระทบต่อการทำมาค้าขายย่านริมฟุตปาท" แหล่งข่าวกล่าวย้ำ
สรุปคนฝั่งธนฯยังต้องลุ้นกันต่อไปว่า อุโมงค์ลอดฯ vs รถไฟฟ้า โครงการไหนจะเสร็จก่อนกัน...กันแน่ |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 24/07/2012 10:24 pm Post subject: |
|
|
ตัวอย่างอุโมงค์ลอดสี่แยก ทับซ้อนกับแนวอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินในทุกวันนี้ ก็มีให้เห็นที่ถนนรัชดาภิเษกไงครับ
แต่ความลึกอุโมงค์ลอดอยู่ราวๆ 5 เมตร ส่วนความลึกของอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินนั้นลึก 20 เมตร |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46876
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 24/07/2012 10:43 pm Post subject: |
|
|
ที่ถนนรัชดาภิเษก ไม่ทราบว่าอย่างไหนสร้างก่อนครับ ระหว่างอุโมงค์ลอดกับอุโมงค์รถไฟใต้ดิน |
|
Back to top |
|
|
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
Joined: 29/03/2006 Posts: 3293
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง
|
Posted: 24/07/2012 11:37 pm Post subject: |
|
|
^
กรณีอุโมงค์ลอดทางแยกเหนือสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสุทธิสารและห้วยขวางนั้น เดิม กทม. ไม่ได้มีแผนเรื่องอุโมงค์มาก่อนครับ
พอดีว่า รฟม. จะต้องมีการขุดเปิดหน้าดินเพื่อสร้างสถานีในบริเวณแยกทั้ง 2 แห่ง พอดี กทม. จึงขอให้เพิ่มงานสร้างอุโมงค์ลอดทางแยกขึ้นมา โดย กทม. รับผิดชอบเฉพาะค่าใช้จ่ายส่วนที่เพิ่มขึ้นมาจากการเพิ่มเนื้องานอุโมงค์ลอดทางแยกเท่านั้น
ดังนั้นอุโมงค์ลอดทั้ง 2 แห่งนี้จึงใช้งบในการสร้างน้อยกว่าปกติครับ
สำหรับกรณีสามแยกไฟฉายนี้ต่างกันตรงที่ กทม. มีแผนมาก่อน แล้วพอดีว่า รฟม. ก็จะมาสร้างรถไฟฟ้าผ่านมาตรงจุดนี้ แต่ความแตกต่างที่เป็นปัญหาก็คือ รถไฟฟ้า รฟม. ตรงจุดนี้เป็นระบบลอยฟ้า เมื่อมาสร้างทับแนวอุโมงค์ลอดทางแยก จึงมีปัญหาเรื่องการวางตำแหน่งเสาตอม่อ
แต่ก็ยังดีที่กรณีนี้มีการพูดคุยกันก่อน ถ้าดูจากเนื้อข่าว ก็จะเห็นว่าจะมีการออกแบบให้ผนังอุโมงค์เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างเสาตอม่อด้วย (เสาช่วงนี้น่าจะเป็นรูปยูคว่ำคร่อมเหนืออุโมงค์นะครับ)
ซึ่งจะไม่ทำให้เสากินเนื้อที่ออกไปมาก เมื่อเทียบกับการสร้างเสาตอม่อรถไฟฟ้าผ่านแนวอุโมงค์ลอดทางแยกที่มีมาอยู่ก่อนแล้วอย่างที่แยกบางพลัด เพราะโครงสร้างคงต้องแยกจากกัน เนื่องจากไม่ได้ออกแบบผนังอุโมงค์เผื่อไว้ก่อน
แต่อย่างไรก็ตามโครงสร้างรถไฟลอยฟ้าเหนืออุโมงค์รถยนต์ลอดทางแยกคงดูไม่สวยงามเท่ากรณีอุโมงค์แยกสุทธิสารและห้วยขวางที่เป็นแบบใต้ดินทั้งคู่แน่ๆ
หรือแม้แต่จะเทียบกับโครงสร้างต่างระบบ แต่สลับเป็นสะพานลอยรถยนต์ข้ามทางแยกเหนืออุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน ก็น่าจะมีภาพที่น่าจะดูดีกว่ากรณีที่จะเห็นที่แยกไฟฉายอย่างแน่นอน |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43714
Location: NECTEC
|
Posted: 25/07/2012 10:00 am Post subject: |
|
|
ยงสิทธิ์ คุย 4ปีข้างหน้ารฟม.หารายได้ใช้เอง
ข่าวทั่วไทย - เดลินิวส์
วันพุธที่ 25 กรกฎาคม 2555 เวลา 08:08 น.
นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ตนจะบริหารงาน รฟม.ให้โครงการต่าง ๆ เดินหน้าไปได้อย่างรวดเร็วตามเป้าหมาย เนื่องจากมีผู้ว่าการตัวจริงมาทำงานแล้ว อีกทั้งตำแหน่งบริหารงานในส่วนของรองผู้ว่าการ รฟม.ทั้ง 4 ตำแหน่ง ก็มีครบแล้ว แต่ทั้งนี้โครงสร้างการบริหารงานปัจจุบันมีความเหมาะสมในการบริหารงานรถไฟฟ้าเพียง 1 สาย จึงอยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างองค์กรใหม่รองรับการบริหารงานรถไฟฟ้าที่กำลังมีเพิ่มขึ้น สำหรับการสรรหาตำแหน่งซีเอฟโอ มาทำหน้าที่บริหารความเสี่ยงด้านการเงิน ที่มีตำแหน่งเทียบเท่ารองผู้ว่าการ นั้น ขณะนี้ผู้ได้รับการสรรหาในอันดับที่ 1 ขอถอนตัวไป เนื่องจากเจรจาเรื่องผลตอบแทนไม่ลงตัว จึงเตรียมเรียกผู้ได้รับการสรรหาในอันดับที่ 2 และ 3 มาเจรจาต่อ คาดว่าจะไม่มีปัญหาจะได้ผู้ดำรงตำแหน่งซีเอฟโอเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.ครั้งหน้า ตามที่บอร์ดได้กำชับเงื่อนไขเวลาไว้
นายยงสิทธิ์ กล่าวต่อว่า จากการตรวจสอบความก้าวหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ และสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ หัวลำโพง-บางแค มั่นใจว่าจะแล้วเสร็จทันตามแผนงาน โดยสายสีม่วงจะเปิดให้บริการได้ในปี 2558 ซึ่งจะใกล้เคียงกับการเปิดให้บริการของสายสีน้ำเงินในปี 2559 อย่างไรก็ตามปัจจุบัน รฟม.เป็นองค์กรที่ไม่สามารถหารายได้ได้เอง ต้องพึ่งพิงรายได้จากรัฐบาลใช้เงินจำนวนมากมาก่อสร้างโครงการในการแก้ปัญหาการจราจร ทำให้การบริหารงานไม่คล่องตัว รวมถึงการควบคุมอัตราค่าโดยสารให้มีราคาถูกทำได้ยาก ตนจะเปลี่ยนแปลงตรงนี้ จะทำให้ รฟม.สามารถหารายได้ได้เอง นอกเหนือจากงบประมาณของภาครัฐ ซึ่งจะทำให้สำเร็จภายใน 4 ปี ที่ตนดำรงตำแหน่งผู้ว่าการ รฟม. เชื่อว่าเมื่อค่าโดยสารรถไฟฟ้าถูกลง และ รฟม.มีการก่อสร้างรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้น จะช่วยปัญหาการจราจรได้มาก. |
|
Back to top |
|
|
JITBOON48
3rd Class Pass
Joined: 07/07/2006 Posts: 231
Location: ปากน้ำ สายไหม สัตหีบ
|
Posted: 25/07/2012 4:35 pm Post subject: |
|
|
แล้วที่แยกปิ่นเกล้ารถไฟฟ้าจะข้ามตรงไหนครับ เห็นอุโมงค์ใกล้เสร็จแล้ว |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46876
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 25/07/2012 5:31 pm Post subject: |
|
|
นั่นสิครับ น่าสงสัยมากว่าจะข้ามทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนีไปได้อย่างไร |
|
Back to top |
|
|
|