View previous topic :: View next topic
Author
Message
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 46896
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 06/08/2012 12:36 am Post subject:
บัณฑิตรฟท. - อินไซด์แคมปัส
เดลินิวส์ วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม 2555
หากการพัฒนาทรัพยากรบุคคลเป็นหนึ่งหลักการสำคัญของเส้นทางสู่ความสำเร็จขององค์กร การที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จับมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ริเริ่มโครงการความร่วมมือพัฒนาบุคลากรการรถไฟแห่งประเทศไทย ภายใต้หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต มจธ. โดยนำบุคลากรระดับฝีมือของการรถไฟที่มีวุฒิการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เข้าศึกษาเพื่อต่อยอดความรู้ในระดับปริญญาตรี ภายใต้หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ก็คือการเดินหน้าไปสู่เป้าหมายนั้น
ผศ.ดร.กิติเดช สันติชัยอนันต์ อาจารย์ประจำภาควิชาครุศาสตร์โยธา มจธ. ในฐานะหัวหน้าโครงการฯ เล่าว่า โครงการฯ นี้เป็นโครงการต่อเนื่อง 3 ปี ระหว่างปีการศึกษา 2553-2555 โดยมีนักศึกษากลุ่มเป้าหมายที่เป็นพนักงาน รฟท. รวม 150 คน ซึ่งปีนี้มีนักศึกษารุ่นแรกของโครงการฯ จบหลักสูตรแล้ว 36 คน ในการเรียนหลักสูตรนี้ประกอบไปด้วยความรู้ด้านเทคนิคชั้นสูงและความรู้เชิงบริหาร รวมถึงต้องทำโครงงานที่เกี่ยวข้องกับสายงาน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการอนุมัติจบหลักสูตร โดยสามารถทำเป็นกลุ่มได้ ซึ่งนักศึกษารุ่นแรกที่จบการศึกษาปีนี้มีผลงานโครงงานรวม 17 ชิ้น โดยทุกชิ้นสามารถใช้ได้จริงแต่อาจต้องนำไปประยุกต์หรือต่อยอดบ้างซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมาก
ยกตัวอย่าง โครงงานการพัฒนาเครื่องวัดขนาดทางและระดับรางในระบบดิจิทัล จากเดิมที่การวัดขนาดทางและระดับรางจะใช้ไม้วัดและอ่านค่าเป็นหน่วยสเกล ก็เปลี่ยนเป็นการใช้เครื่องมือวัดแล้วอ่านค่าเป็นระบบดิจิทัล ซึ่งจะช่วยเรื่องความแม่นยำและลดความผิดพลาดได้มาก นอกจากนี้ยังมีโครงงานการศึกษาพัฒนาเครื่องกั้นอัตโนมัติ ซึ่งเป็นการจำลองการทำงานของเครื่องกั้นโดยใช้ระบบเซ็นเซอร์และอินฟราเรดเข้ามาเป็นตัวบังคับให้คานกั้นทำงานอัตโนมัติ ซึ่งหากผลงานชิ้นนี้ถูกนำไปพัฒนาใช้จริงจะสามารถลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดในบริเวณจุดตัดผ่านรถไฟที่ปัจจุบันมีมากถึง 2,449 จุด บนเส้นทางรถไฟ 4,043 กิโลเมตร ใน 47 จังหวัดได้ เป็นต้น
เรามักคิดกันว่าการรถไฟของไทยล้าหลัง แต่ที่จริงแล้ว รฟท. ถือเป็นหน่วยงานที่มีศักยภาพด้านเทคโนโลยีสูง โดยประเทศไทยเราสามารถประกอบรถจักรได้เองทั้งหัว แม้แต่เรื่องงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและมีประโยชน์ก็มีอยู่มากซึ่งจำเป็นต้องมีบุคลากรที่มีความรู้จริง ๆ เข้าไปขับเคลื่อน ดังนั้นการพัฒนาและจุดประกายให้แก่บุคลากรของ รฟท. ครั้งนี้ ก็น่าจะเป็นอีกแรงผลักดันให้เกิดก้าวต่อไปเพื่อพลิกโฉมการรถไฟของไทยให้กลับมายิ่งใหญ่ได้อีกครั้ง ผศ.ดร.กิติเดช กล่าว
ด้าน นายพิสิษฐ์ ฟักสุขจิตต์ หรือ พี่ต้น พนักงานรถจักร 5 ช่างเครื่อง 1 นักศึกษารุ่นแรกของโครงการฯ กล่าวว่า ตนและเพื่อน ๆ ที่เรียนด้วยกันได้ทำโครงงานชุดทดสอบอุปกรณ์ระบบลมอัดรถจักร ALSTHOM ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับใช้ตรวจเช็กอุปกรณ์ระบบห้ามรถรถจักรก่อนนำไปติดตั้งในรถจักร เพราะการทำงานของหัวรถจักรต้องพึ่งพาระบบลมเป็นสำคัญ ดังนั้นการทดสอบอุปกรณ์ว่าใช้ได้จริงก่อนนำไปติดตั้งจะช่วยให้เกิดความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน จากเดิมที่การทดสอบอุปกรณ์ระบบลมนั้นทำได้ด้วยการนำไปติดตั้งและทดลองใช้ดู ซึ่งหากเกิดข้อบกพร่องก็ทำให้เสียเวลาและบางครั้งอาจแก้ไขไม่ทันการ
ผมทำงาน รฟท. 19 ปีแล้ว แต่ก็ยินดีที่ได้มาเรียนเพิ่มเติมในส่วนที่ยังไม่รู้ ตลอดระยะเวลา 2 ปี ของการเรียน รู้สึกสนุก แม้จะเหนื่อยอยู่บ้างเพราะต้องเรียนและทำงานไปด้วย แต่สิ่งที่ได้มานั้นคุ้มค่า โดยเฉพาะการได้รู้จักกับครูบาอาจารย์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค และคอยให้คำปรึกษาตลอดในระหว่างเรียน แต่หลังจากเรียนจบแล้วอาจต้องมาขอความรู้เพิ่มเติมอีก เพราะปัจจุบันเทคโนโลยีที่ รฟท.มีอยู่ มีวิวัฒนาการไปไกลมากแล้วแต่บุคลากรรุ่นใหม่ ๆ ที่จะใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นยังมีจำกัด ดังนั้นผมหวังว่าความสำเร็จของบัณฑิตในโครงการฯ นี้ หมายถึงก้าวต่อไปที่สดใสของวงการรถไฟไทย นายพิสิษฐ์ กล่าว.
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 46896
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 06/08/2012 6:07 pm Post subject:
TOR ประกวดราคาซื้อเครื่องอะไหล่สำหรับรถดีเซลราง THN.,NKF. และ ATR. จำนวน 2 รายการ
6 ส.ค. 55
เนื่องจากการรถไฟฯ ได้มีการจัดหารถดีเซลราง THN., NKF. และ ATR. มาใช้งานตั้งแต่ปี พ.ศ.2526
-2528 จำนวน 116 คัน ซึ่งติดตั้งเครื่องถ่ายทอดกำลังที่เรียกว่า Torque Converter ซึ่งเป็นระบบส่งผ่านกำลัง
โดยใช้คลัช ทำให้มีแรงกระแทกและการเสียดสีสูง มีอุปกรณ์ภายในและอุปกรณ์ควบคุมที่มีจำนวนมากและ
ซับซ้อน ทำให้มีอายุการใช้งานหลังซ่อมหนักมีค่าเฉลี่ยต่ำ (เฉลี่ย 340,000 กม.) และมีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ ค่า
ซ่อมบำรุงสูง จึงมีผลให้ Availability และ Reliability ต่ำ ฝ่ายการช่างกล ได้ทดลองติดตั้งเครื่องถ่ายทอดกำลัง
แบบ Turbo Transmission ทดแทนบางส่วนแล้วตั้งแต่ ปี 2529 ผลการเปรียบเทียบแล้วปรากฏว่าใช้งานได้ดี
เนื่องจากเป็นระบบส่งผ่านกำลังโดยใช้การเปลี่ยนแปลงพลังงานของเหลว (น้ำมัน) ซึ่งมีความนุ่มนวลกว่า จึงทำ
ให้อายุการใช้งานนานกว่า (ประมาณ 870,000 กม./รอบอายุการซ่อมหนัก) ดูแลรักษาง่าย ค่าซ่อมบำรุงต่ำกว่า
ฝ่ายการช่างกล จึงมีนโยบายจัดหามาทดแทนของเดิมโดยมีโครงการจัดหา 3 เฟส ได้ดำเนินการจัดหาแล้ว เฟสที่
1 และ 2 จำนวน 12 และ 24 sets. ครั้งนี้เป็นการจัดหาครั้งสุดท้าย จำนวน 36 sets. ก็จะครบจำนวน
1) 36 (Thirty Six) Units of Turbo Transmission for Diesel Railcars
SRT. Requirement No. R - 127 / 2555
2) 36 (Thirty Six) Units of Cardan Shaft for Diesel Railcars
SRT. Requirement No. R - 126 / 2555
ราคากลาง 258,501,248.64 บาท Last edited by Mongwin on 06/08/2012 6:20 pm; edited 2 times in total
Back to top
alderwood
1st Class Pass (Air) Joined: 10/04/2006 Posts: 6593
Location: กรุงเทพ-ราชสีมา
Posted: 06/08/2012 6:17 pm Post subject:
คิดว่าคงไม้พ้นยี่ห้อ Voith Turbo รุ่น T 211 r ครับ _________________ รักรถไฟมั่นใจโคปเตอร์ || Railway Racing Team || Korat Spotter
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 46896
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 11/08/2012 9:57 am Post subject:
พิจิตรซ่อมบำรุงรางรถไฟหลังฝนตกชุกในพื้นที่
เนชั่น 77 ช่อง 77 จังหวัด 11/08/2012 09:34:04
พิจิตรซ่อมรางรถไฟเพื่อความสมบูรณ์พร้อมตัดต้นไม้ริมทางหลังฝนตกชุกในพื้นที่
เจ้าหน้าที่การรถไฟในการซ่อมบำรุงรางรถไฟ ในเขตพื้นที่จังหวัดพิจิตร โดยใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ดำเนินการตรวจสอบความแข็งแรงของรางรถไฟ พร้อมกับซ่อมแซมรางรถไฟให้อยู่ในสะภาพที่สมบูรณ์พร้อมใช้งาน วิธีการเจ้าหน้าที่จะใช้เครื่องจักรในการตรวจสอบตลอดทั้งสายทางจากนั้นจะใช้เครื่องจักรในการเขย่าหินที่อยู่ใต้รางบริเวณที่เกิดความไม่สมบูรณ์ของรางเพื่อให้หินขยับตัวไปช่องว่างที่มีอยู่เนื่องจากหินมีมุมและเหลี่ยมที่จะหมุนปรับไปตามแรงเขย่าจนเข้าเหลี่ยมกันและเมื่อได้รับการอัดแน่นเพื่อความแข็งแกร่งของราง พร้อมกันนี้ได้ตัดต้นไม่ริมทางรถไฟเพื่อป้องกันไม่หักล้มขวางทางรถไฟ
สำหรับการซ่อมบำรุงรางรถไฟในพื้นที่จังหวัดพิจิตรเป็นการซ่อมบำรุงทางเพื่อความปลอดภัยของการเดินรถไฟซึ่งเป็นการเดินทางที่ประชาชนใช้บริการจำนวนมาก การซ่อมบำรุงทางให้อยู่ในสะภาพที่สมบูรณ์ที่สุดเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ โดยเฉพาะในช่วงฝนตกชุกที่อาจจะส่งผลให้เกิดการกัดเซาะรางรถไฟจนเสียหาย และตัดต้นไม้ริมทางรถไฟเพื่อป้องกันเหตุต้นไม้หักล้มขาวงทางรถไฟ ซึ่งจะส่งผลกระทบกับการให้บริการประชาชนได้
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 46896
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 12/08/2012 7:36 am Post subject:
การรถไฟฯชวนเที่ยวงาน'เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาราชินี'
ฐานเศรษฐกิจ วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม 2012 เวลา 07:05 น.
การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.)จัดงาน เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาราชินี เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในวันที่ 12 สิงหาคม 2555 เพื่อให้ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่การรถไฟฯ และประชาชนผู้ใช้บริการสถานีรถไฟกรุงเทพฯ มีโอกาสแสดงความจงรักภักดีและร่วมทำบุญเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ
ภายในงานจะได้จัดให้มีนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติและกิจกรรมการแสดงต่างๆบนเวที ตั้งแต่เวลา07.00 11.00 น. ณ สถานีรถไฟกรุงเทพฯ (หัวลำโพง)
โดยในช่วงเช้า มีพิธีการทางศาสนา ถวายภัตตาหารพระสงฆ์ จำนวน 9 รูป พิธีทำบุญใส่บาตรพระสงฆ์ จำนวน 59 รูป ส่วนกิจกรรมการแสดงบนเวที
เช่น รำถวายพระพร การขับร้องเพลงเกี่ยวกับแม่ : เพลงค่าน้ำนม เพลงเพื่อแม่ และ เพลงแม่(เพลงแหล่) นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา มหาราชินี เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ และเผยแพร่พระราชกรณียกิจของพระองค์ สาธิตการทำ / ผลิตสินค้าหัตถกรรมที่ได้รับการสนับสนุน และส่งเสริมจาก ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร พระนครศรีอยุธยา กิจกรรมส่งเสริมสายใยรักแม่ ลูกเนื่องในโอกาสวันแม่แห่งชาติ (ผู้โดยสารที่อยู่ภายในบริเวณงานที่เป็นคู่แม่/ลูก สามารถมารับมาลัยดอกมะลิ และของที่ระลึกจากการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ที่โต๊ะลงทะเบียน)
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43735
Location: NECTEC
Posted: 12/08/2012 6:05 pm Post subject:
ร.ฟ.ท.สนองพระราชดำรินำโบกี้รถไฟสร้างปะการังเทียม
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 12 สิงหาคม 2555 13:58 น.
นายวิโรจน์ เตรียมพงศ์พันธุ์ รองผู้ว่าการกลุ่มยุทธศาสตร์และอำนวยการ รักษาการผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า สำหรับปี 2555 ซึ่งเป็นพระวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา การรถไฟแห่งประเทศไทย จึงได้จัดงานเพื่อเทิดพระเกียรติพระองค์ขึ้น ในวันที่ 12 สิงหาคม 2555 ที่บริเวณสถานีรถไฟหัวลำโพง ภายใต้งานชื่อ "เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาราชินี" พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปและผู้เดินทางโดยรถไฟได้มีส่วนร่วมแสดงความจงรักภักดีและแสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณถวายแด่พระองค์ท่าน
นอกจากนี้ การรถไฟฯ ได้มีการดำเนินงานเพื่อสนองพระราชดำริของพระองค์มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโครงการฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งทะเล ด้วยการนำตู้รถไฟไปจัดวางในท้องทะเลเพื่อสร้างแนวปะการังเทียม ระหว่างปี 2544-2553 ที่ผ่านมา เป็นจำนวน 583 ตู้
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 46896
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 14/08/2012 1:51 pm Post subject:
ข้อสงสัยรถไฟขบวน 234
วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555 เวลา 18:58 น. ข่าวสดออนไลน์
เรียน บ.ก.ข่าวสด ฝากไปยังผู้ว่าฯการรถไฟฯ
ด้วยปรากฏว่ารถไฟขบวน 234 รับผู้โดยสารจากต้นทางสถานีสุรินทร์ถึงปลายทางสถานีกรุงเทพฯ มีตู้โดยสารประมาณ 6-7 ตู้ มีพนักงานประมาณ 3-4 คน ทุกวันจะมีผู้โดยสารแน่นเพราะตู้มีน้อยไม่พอกับผู้โดยสารและเป็นขบวนที่รัฐบาลบริการฟรี
ที่ผมต้องเรียนให้ผู้ว่าฯการรถไฟฯทราบคือ พนักงานประจำมีเพียง 3-4 คน ทำไมต้องกันที่สำหรับพนักงานไว้เกือบทั้งคันรถ คือตู้สุดท้ายเขาจะเหลือไว้ให้ผู้โดยสารเพียง 2 ล็อกประมาณ 16 ที่นั่ง สำรองให้ภิกษุประมาณ 3 ล็อก นอกนั้นเขาจะเอาเชือกมากั้นไว้สำหรับพนักงานแบ่งเป็น 2 ตอนด้วย ตอนท้ายห้ามไม่ให้ใครเดินผ่าน
ส่วนคนเฒ่าคนแก่ ต้องยืนเบียดเสียดยัดเยียดกันอย่างทรมาน ถามผู้โดยสารทั่วไปเขาบอกว่า เขากันไว้ให้สาวๆ นั่ง แล้วก็จริงอย่างเขาว่า ส่วนท้ายสุดเห็นเขาล้อมวงทำอะไรกันอยู่ไม่รู้ ผมไม่มีหลักฐานเพราะไม่ได้ถ่ายคลิปหรือถ่ายรูปเอาไว้
ดังนั้นจึงเรียนมาขอให้ท่านผู้ว่าฯการรถไฟแห่งประเทศไทย สอบสวนโดยด่วน
ขอแสดงความนับถือ
ผู้โดยสารรถไฟ
-------------------------------------
ตอบผู้โดยสารรถไฟ
หวังว่าผู้ว่าฯการรถไฟฯจะมีคำชี้แจงให้คุณทราบโดยเร็วไว ไม่ชักช้าเหมือนขบวนรถไฟ ว่าเหตุใดจึงมีการกันที่นั่งให้พนักงานมากมายขนาดนั้น
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 46896
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 15/08/2012 12:13 pm Post subject:
จังหวัดอุตรดิตถ์ ประชุมเตรียมการต้อนรับ ครม.สัญจร โดยเตรียมเสนอโครงการก่อสร้างถนนจาก ครม.ที่จะเดินทางมาจังหวัดอุตรดิตถ์ประมาณเดือนตุลาคม 2555
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดอุตรดิตถ์ รายงาน 15 ส.ค.55
จังหวัดอุตรดิตถ์ ประชุมเตรียมการต้อนรับ ครม.สัญจร โดยเตรียมเสนอโครงการก่อสร้างถนนจาก ครม.ที่จะเดินทางมาจังหวัดอุตรดิตถ์ประมาณเดือนตุลาคม 2555
วันนี้ (15 ส.ค.55) ที่ห้องประชุมตรอนตรีสินธุ์ ศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ นายเฉลิมชัย เฟื่องคอน รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นประธานประชุมหารือเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณโครงการก่อสร้างถนนจาก ครม.(ครม.สัญจรที่จะเดินทางมาจังหวัดอุตรดิตถ์ ประมาณเดือนตุลาคม 2555) โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ แขวงการทางอุตรดิตถ์ที่ 1 สำนักทางหลวงชนบทที่ 9 หน่วยงานกรมทางหลวงชนบท ผู้แทนสภาอุตสาหกรรม ในการหาแนวทางว่าจะเสนอโครงการอะไรบ้าง อีกทั้งการตั้งงบประมาณในการศึกษา ซึ่งที่ประชมเสนอให้แต่ละหน่วยงานที่จะเสนอโครงการต้องทำภาพกราฟฟิคให้ทางจังหวัดพิจารณาก่อนเสนอ ครม.อีกครั้ง
โดยในส่วนของภาคเอกชนจังหวัดอุตรดิตถ์ เตรียมเสนอของบประมาณพัฒนาจังหวัดเพื่อเตรียมความพร้อม 3 เรื่อง คือ การของบทำทางลอดอุโมงค์ ตรงสี่แยกวังสีสูบ สาย 11 (ทางหลวง 1045) จะเป็นเส้นทางเชื่อมเหนือ-ใต้ AEC) งบประมาณ 300-500 ล้านบาท ,การขนส่งทางราง รถไฟความเร็วสูง โดยมองว่าจะใช้สถานีรถไฟศิลาอาสน์เป็นจุดขนถ่ายสินค้า จะช่วยลดต้นทุนการขนส่งได้ 19% และ เรื่องด่านภูดู่ ที่จะต้องมีการจัดบุคลากรเข้ามาดำเนินการอย่างเต็มรูปแบบเตรียมรับการเข้าสู่การเป็นประชาคม อาเซียน
ทั้งนี้ทางจังหวัดจะได้พิจารณาเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเพื่อให้มีความพร้อมในการประชุม ครม.สัญจรที่จังหวัดอุตรดิตถ์ในเดือนตุลาคม 2555 ต่อไป
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 46896
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 17/08/2012 6:53 am Post subject:
ขนส่งระบบราง'คึก' สร้างคน-ความรู้
กรุงเทพธุรกิจ 13 ส.ค. 2555
หลังจากที่รัฐบาลตัดสินใจลงทุนพัฒนาระบบรางของประเทศด้วยเม็ดเงินกว่าล้านล้านบาท ไม่ว่าจะเป็น รถไฟลอยฟ้า รถไฟใต้ดิน รถไฟทางคู่ ไปจนถึงรถไฟความเร็วสูง เป้าหมายเพื่อให้ทัดเทียมและเป็นผู้นำในกลุ่มอาเซียน แต่กลับมีคำถามตามมาถึงความพร้อมกับการลงทุนโครงการขนาดยักษ์ ในขณะที่ยังไม่มีการสร้าง "ความรู้" ขึ้นมารองรับ
จากความกังวลดังกล่าวทำให้ภาคเอกชน ทั้งผู้ให้บริการไฟฟ้าบีทีเอส ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินหรือเอ็มอาร์ที และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) หันมาร่วมมือกับผู้ผลิตชิ้นส่วนในภาคอุตสาหกรรม สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัยและภาครัฐ สร้างองค์ความรู้ด้านการพัฒนาระบบรางให้กับประเทศอย่างจริงจังเป็นครั้งแรก ภายใต้การดำเนินงานของสถาบันพัฒนาระบบขนส่งทางรางและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องของประเทศไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ขอเวลา 7 ปีพร้อมทุกด้าน
นคร จันทศร ที่ปรึกษาผู้อำนวยการโครงการพัฒนาระบบขนส่งทางรางฯ กล่าวว่า สิ่งที่ดำเนินการไปแล้วคือการพัฒนาหลักสูตรวิศวกรรมระบบราง (วศร.) โดยจัดอบรมบุคลากรรุ่นแรกที่มีพื้นฐานวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปแล้ว 30 คน ทั้งยังร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องริเริ่มโครงการนำร่องเพื่อพัฒนาระบบรางให้กับประเทศ อาทิ การศึกษาออกแบบประตูกั้นชานชาลารถไฟฟ้า BTS เพื่อป้องกันอุบัติเหตุผู้โดยสารพลัดตกราง ซึ่งบีทีเอสมีแผนที่จะนำเข้าอุปกรณ์กั้นชานชาลามาจากสิงคโปร์ เพื่อทดลองใช้ที่สถานีสยาม ทาง สวทช.จึงส่งบุคลากรเข้าร่วมศึกษาต้นแบบ เพื่อนำมาพัฒนาต่อในอนาคต
พร้อมกันนี้ สถาบันพัฒนาระบบขนส่งทางรางฯ ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล จัดทำโครงการสหกิจศึกษาเพื่อพัฒนาระบบราง และร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) พัฒนา Driving Simulation จำลองการขับรถไฟด้วยเทคโนโลยีใหม่กว่าที่ใช้อยู่ ณ ปัจจุบัน
นอกจากนี้ได้ผลักดันให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผู้ผลิตในโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย ที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยระบุเป็นข้อกำหนดอยู่ในสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง
"รูปแบบของการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากบริษัทผู้ผลิตมายังประเทศที่ซื้อเทคโนโลยี เป็นแนวทางที่ประสบความสำเร็จในเกาหลีและจีน เป็นกลไกที่ช่วยสร้างความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีระบบรางได้เอง ผลักดันการใช้วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น หลังจากซื้อเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ในช่วง 8-10 ปี" นคร กล่าว
จากประสบการณ์กว่า 40 ปี ในฐานะอดีตรองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย นครเชื่อมั่นว่า ยังไม่สายเกินไปหากรัฐบาลมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเทคโนโลยี ความรู้และบุคลากร ถึงแม้จะเพิ่งเริ่มเดินหน้าในตอนนี้ก็ตาม ขณะที่สถาบันพัฒนาระบบขนส่งทางรางฯ วางแผนไว้ว่าในอีก 7 ปีข้างหน้าจะใช้งบราว 4 พันล้านบาท ในการเตรียมความพร้อมให้กับประเทศ ทั้งด้านการบริหารจัดการ พัฒนากำลังคน ถ่ายทอดเทคโนโลยี ตลอดจนสร้างเครือข่ายการพัฒนาระบบรางให้เกิดขึ้นในประเทศอย่างยั่งยืน
เช่น โรงงานประกอบชิ้นส่วนรถไฟเพื่ออำนวยความสะดวกในการถ่ายทอดเทคโนโลยี 1.7 พันล้านบาท ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ทดสอบ 1 พันล้านบาท ซึ่งอยู่ระหว่างการยื่นข้อเสนอโครงการให้รัฐบาลพิจารณา
ระบบรางอาเซียน 'คึก'
หากมองถึงศักยภาพด้านระบบรางของประเทศในกลุ่มอาเซียน ในวันที่ประตูเออีซีรอที่จะเปิดและเส้นทางคมนาคมเชื่อมถึงกันได้สะดวกขึ้น
ประเทศที่น่าจับตามองมากที่สุดคือ มาเลเซีย ซึ่งมีการพัฒนาระบบรถไฟที่ก้าวหน้าที่สุด โดยในปี 2557 คาดว่ารถไฟทางคู่จะขยายไปทั่วประเทศ อีกทั้งมีสถาบัน Malaysia Railway Academy มุ่งพัฒนาในด้านนี้โดยเฉพาะ ขณะที่อินโดนีเซียได้รับการสนับสนุนจาก JICA ในการพัฒนาเทคโนโลยีผลิตหัวรถจักร ขณะที่เวียดนามเองก็กำลังตะเกียกตะกาย และให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบรางในประเทศเช่นเดียวกัน ทางฝั่งกัมพูชาก็มีศักยภาพไม่แพ้กัน โดยได้รับการสนับสนุนจากธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ในการปรับปรุงทางรถไฟของประเทศ ส่วนพม่าเองแม้จะมีรถไฟทางคู่เพียง 600 กิโลเมตร แต่การตัดสินใจเปิดประเทศทำให้พม่าเป็นอีกคู่แข่งที่น่ากลัว
ที่ปรึกษา สวทช.กล่าวทิ้งท้ายว่า แม้อาเซียนจะไม่มีอุตสาหกรรมหนักอย่างโรงถลุงเหล็ก ซึ่งเป็นวัตถุดิบต้นน้ำของอุตสาหกรรมระบบราง แต่ในอนาคตอันใกล้แรงผลักดันจาก AEC จะเป็นปัจจัยที่ทำให้ทุกประเทศในอาเซียนหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาคมนาคมด้วยระบบรางในมุมมองใหม่ เมื่อนั้นประเทศไทยจะยืนอยู่ตรงไหน คงต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาลในวันนี้ว่า มองภาพการพัฒนาระบบรางของประเทศไปในทิศทางใด
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 46896
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Back to top