View previous topic :: View next topic
Author
Message
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44090
Location: NECTEC
Posted: 20/08/2012 9:54 am Post subject:
^^^^
เวอร์ชัน ASTV เป็นดั่งนี้
กทม.ฟังความเห็นจ่อสร้างรถไฟฟ้ารางคู่สายบางนา-สุวรรณภูมิ เชื่อมต่อ BTS บางนา
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 สิงหาคม 2555 22:23 น.
กทม.รับฟังความคิดเห็นโครงการศึกษาพัฒนาระบบขนส่งมวลชนขนาดรองระบบรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบาสายบางนา-สุวรรณภูมิ เชื่อมต่อ BTS บางนา คาดเริ่มก่อสร้างปี 2557 ระยะเวลา3 ปี ใช้งบประมาณ 25,000 ล้านบาท
วันนี้ (17 ส.ค.) นายอรวิทย์ เหมะจุฑา รองผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง เป็นประธานเปิดการประชุมเพื่อการประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็นโครงการศึกษาพัฒนาระบบขนส่งมวลชนขนาดรองระบบรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา (Light Rail Transit : LRT) สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ณ โรงแรมเมเปิล ถนนศรีนครินทร์ เขตบางนา โดยมีผู้แทนส่วนราชการและประชาชนที่อาศัยตลอดแนวเส้นทาง เข้าร่วมการประชุม
นายอรวิทย์กล่าวว่า กรุงเทพมหานครได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาพัฒนาระบบขนส่งมวลชนขนาดรองในเขตศูนย์กลางธุรกิจที่ระบบหลักเข้าไม่ถึง โดยศึกษาพัฒนาระบบขนส่งมวลชนขนาดรองในแนวเส้นทางสายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านวิศวกรรม ด้านเศรษฐกิจ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน พร้อมทำหน้าที่ที่ปรึกษาตามที่กำหนดใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2553 เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจร รวมถึงอำนวยความสะดวกให้ประชาชนในพื้นที่บริเวณถนนบางนา-ตราด ถนนสุขุมวิทและจังหวัดสมุทรปราการ และเสริมประสิทธิภาพการให้บริการขนส่งมวลชนระบบรางเข้าถึงพื้นที่ได้มากขึ้น โดยใช้ต้นทุนในการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนาดรองต่ำกว่าระบบขนส่งมวลชนหลัก จากเดิมที่ได้มีการจัดประชุมสัมมนาครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 30 ก.ย. 52 ณ โรงแรมเอเชีย เขตราชเทวี โดยรูปแบบเป็น Monorail แต่เนื่องจากกายภาพของเส้นทางเป็นแนวเส้นตรง ซึ่งมีความเหมาะสมที่จะเป็นรูปแบบ Light Rail มากกว่า ดังนั้น จึงได้ปรับเปลี่ยนจากรถไฟฟ้ารางเดี่ยวมาเป็นรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา แต่แนวเส้นทางยังคงเป็นเส้นทางเดิม โดยคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2557 ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปี ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 25,000 ล้านบาท
สำหรับแนวเส้นทางโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นแนวเส้นทางรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา มีระยะทางประมาณ 18.3 กิโลเมตร โดยมีพื้นที่ดำเนินโครงการฯ ตามแนวถนนบางนา-ตราด ผ่านพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 4 แห่ง ได้แก่
องค์การบริหารส่วนตำบลบางแก้ว
องค์การบริหารส่วนตำบลราชาเทวะ
องค์การบริหารส่วนตำบลบางพลีใหญ่ และ
องค์การบริหารส่วนตำบลบางโฉลง
เพื่อรองรับการขนส่งมวลชนเชื่อมต่อกับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในส่วนต่อขยายที่ 2 ด้านทิศใต้ โดยแนวเส้นทางวิ่งเริ่มจากจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้า BTS สถานีบางนา และอุดมสุข ผ่านศูนย์ประชุมแห่งชาติไบเทค ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลบางนา ตัดผ่านถนนศรีนครินทร์ ตัดผ่านวงแหวนกาญจนาภิเษกด้านตะวันออก ถนนวัดกิ่งแก้ว ในช่วงต้น แนวเส้นทางจะหยุดที่บริเวณธนาซิตี้ เมื่อมีการเปิดให้บริการสนามบินสุวรรณภูมิด้านใต้จึงทำส่วนต่อขยายโดยเลี้ยวซ้ายเข้าทางสนามบินสุวรรณภูมิด้านใต้สุดเส้นทางที่สนามบินสุวรรณภูมิ มีสถานีหลัก 12 สถานี และส่วนต่อขยายอีก 2 สถานี รูปแบบโครงสร้างเป็นโครงสร้างยกระดับตลอดทั้งสาย
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47497
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 20/08/2012 5:59 pm Post subject:
รฟม.ดันรถไฟฟ้า 200 กม.ปี 62 ผู้โดยสาร 3 ล้านคน/วัน,ร่วมกคช.ผุดบ้านตามเส้นทาง
ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 20 สิงหาคม 2555 16:58:06 น.
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เร่งเครื่องสร้างรถไฟฟ้าเพิ่มเป็น 200 กม.จาก 20 กม.ในปัจจุบันให้แล้วเสร็จในปี 58 และเปิดให้บริการครบปี 62 ใช้เงินลงทุนมากกว่า 6 แสนล้านบาท คาดจะมีผู้โดยสารเข้าระบบราว 3 ล้านคน/วัน หลังวิ่งรถไฟฟ้าครบ 10 สาย พร้อมร่วมมือกับการเคหะแห่งชาติ(กคช.)ผุดโครงการที่อยู่อาศัยตามแนวเส้นทาง เบื้องต้นมองที่ลำลูกกา, หัวหมาก และมีนบุรี ราว 1.5 แสนยูนิต
นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการ รฟม.คาดว่า ภายในปี 62 จะมีการเดินทางรถไฟฟ้า 10 เส้นทางภายในปี 62 และจะทำให้มีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเป็น 3 ล้านคน/วัน จากปัจจุบันที่ บมจ.รถไฟฟ้ากรุงเทพ(BMCL)เดินรถ 20 กม. มีจำนวนผู้โดยสารกว่า 2 แสนคน/วัน และจะทำให้โครงการคุ้มทุนได้เร็วขึ้น
ในส่วน รฟม.รับผิดชอบ 6 เส้นทาง ที่ต้องใช้งบลงทุนกว่า 6 แสนล้านบาทจากเส้นทางปัจจุบันที่ลงทุนไปประมาณ 1 แสนล้านบาท โดยระยะทางเพิ่มขึ้นเป็น 200 กม. หรือภารกิจของ รฟม.จะทำมากขึ้น 10 เท่า ใช้เงินลงทุนเพิ่มขึ้น 6 เท่า โดยในช่วง 20 ปีของ รฟม.มีรถไฟฟ้าให้บริการเพียง 1 เส้นทางเท่านั้น นอกจากนี้ รฟม.จะแสวงหารายได้จากอสังหาริมทรัพย์ โดยจะหารูปแบบให้เอกชนเข้ามาร่วมมือมากขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นลักษณะร่วมพัฒนาบนที่ดินของ รฟม.
อนึ่ง รถไฟฟ้า 6 เส้นทางที่อยู่ในความรับผิดชอบของรฟม.นอกเหนือเส้นทางปัจจุบัน ได้แก่
1) สายสีน้ำเงินส่วนต่อขาย ช่วงหัวลำโพง-บางแคและช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง 27 กม.
2) สายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ระยะทาง 23 กม. ทั้งสองสายอยู่ระหว่างการก่อสร้าง
3) สายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี
4) สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี
5)สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง และ
6) สายสีเขียวเข้ม ช่วงลำลูกกา-สมุทรปราการ
โดยทั้ง 4 เส้นทางยังไม่ได้ก่อสร้าง
ด้านนายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ประธานกรรมการ กคช. กล่าวว่า กคช.จะร่วมมือกับ รฟม. และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)ในการสร้างโครงการที่อยู่อาศัยตามแนวรถไฟฟ้า เน้นที่อยู่นอกเมืองและราคาไม่แพงเพื่อขนส่งประชาชนเข้าเมืองง่ายขึ้น เบื้องต้นที่เล็งพื้นที่โครงการได้แก่ ลำลูกกา ซึ่งอยู่ในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเชียว ช่วงลำลูกกา - สมุทรปราการ , รามคำแหง บางกะปิ อยู่ในแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม และ มีนบุรี ที่อยู่ในแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู
กคช.คาดว่าจะสร้างที่อยู่อาศัยได้ประมาณ 1.5 แสนยูนิต เพื่อรองรับประชาชนที่ปัจจุบันบุกรุกแนวคูคลอง เช่น คลองเปรมประชากร คลองแสนแสบ และประชาชนที่อาศัยตามพื้นที่ฟลัดเวย์ให้ย้ายเข้ามาพักอาศัยในโครงการดังกล่าว โดยคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปีหน้า ที่อยู่อาศัยจะอยู่ห่างจากแนวรถไฟฟ้า 5-10 กม.ราคาประมาณ 6 แสนบาทต่อยูนิต
นายสุชัชวีร์ กล่าวว่า การเริ่มโครงการช้ามองเป็นโอกาสให้มีการออกแบบสถานีแต่ละเส้นทาง หรือจุดขึ้นลงให้ใกล้กับโครงการที่อยู่อาศัยที่การเคหะฯร่วมกับรฟม.
ส่วนนายณรงค์ ป้อมหลักทอง นักวิชาการ จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย( TDRI) กล่าวว่า รฟม.ไม่ควรเข้ามาเป็นผู้บริหารเดินรถเอง แต่ให้เป็นเพียงผู้กำกับดูแล เพราะจะสวนทางกับนโยบายในการเข้ามาเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐและเอกชน (the Public-Private Partnership Program:PPP )ที่เปิดให้เอกชนเข้ามาดำเนินการ
ขณะเดียวกัน รฟม.ต้องมีความรู้เทคโนโลยี และการซ่อมบำรุงเพื่อประเมินต้นทุนของเอกชนได้ถูกต้อง รวมทั้งต้องไม่ให้ใช้เทคโนโลยีใดเทคโนยีหนึ่งในการบริหารการเดินรถไฟฟ้า ควรจะเป็นระบบเปิดให้เชื่อมโยงต่อกับทุกระบบได้ ขณะที่ราคาค่าโดยสารแล้วแต่ รฟม.ต้องการจะกำหนดเท่าไร จะให้เป็น 10 หรือ 20 บาทก็ย่อมได้ แต่ต้องตอบได้ถึงความเหมาะสมเพราะใช้เงินจากงบประมาณมาอุดหนุน
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47497
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 20/08/2012 8:55 pm Post subject:
ทีดีอาร์ไอ หนุนรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย
ไทยรัฐออนไลน์ 20 สิงหาคม 2555, 20:10 น.
ทีดีอาร์ไอ หนุน รัฐบาลทำค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย โดยส่วนต่างของค่าโดยสารรัฐจะต้องเข้าไปชดเชย ชี้โครงการรถคันแรก ถือเป็นนโยบายขัดแย้งกับโครงการดังกล่าวอย่างสิ้นเชิง...
เมื่อวันที่ 20 ส.ค. การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้จัดสัมมนาวิชาการ เรื่อง ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกับการพัฒนาประเทศ เนื่องในโอกาสวันคล้ายการก่อตั้ง รฟม.ครบ 20 ปี โดยมีนักวิชาการจากหลายๆ สถาบัน เข้าร่วมสัมมนา โดย นายณรงค์ ป้อมหลักทอง นักวิชาการจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ได้บรรยายเรื่องระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ความฝัน ความหวัง และอนาคตประเทศไทย ว่า ทีดีอาร์ไอเห็นด้วยที่รัฐบาลจะผลักดันโครงข่ายรถไฟฟ้าและเก็บค่า โดยสาร 20 บาทตลอดสาย ซึ่งแม้ว่าหลายฝ่ายจะมองว่านโยบายดังกล่าวเป็นการประชานิยม แต่ความเป็นจริง เมื่อฝ่ายการเมืองเข้ามาบริหารประเทศ ก็มีเป้าหมายชัดเจนที่ได้รับความยอมรับจากประชาชนที่เลือกตั้งมาอยู่แล้ว
ทั้งนี้ สิ่งสำคัญคือเรื่องการกำหนดค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย โดยส่วนต่างของค่าโดยสารของแต่ละคนที่รัฐบาลเข้าไปชดเชยนั้น ในต่างประเทศมีการดำเนินการเช่นเดียวกัน เช่น นอร์เวย์ รัฐบาลเข้าไปชดเชยค่าโดยสารเกือบ 100% ทำให้ประชาชนใช้บริการระบบขนส่งมวลชนในราคาถูกมาก ขณะที่อังกฤษก็มีการชดเชยร้อยละ 50 อย่างไรก็ตาม ในทางวิชาการเห็นว่า หากรัฐบาลจะผลักดันโครงการให้กับประชาชน ก็ต้องผสมผสานในหลายนโยบาย ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยส่วนตัวเห็นว่ามีหลายโครงการ เช่น โครงการรถยนต์คันแรก ซึ่งทำให้มีผู้ซื้อรถยนต์มากขึ้น ไม่สนับสนุนคนให้ใช้บริการขนส่งมวลชน ถือเป็นนโยบายขัดแย้งกับการที่รัฐบาลพยายามสร้างโครงข่ายรถไฟฟ้าและจูงใจให้มีผู้ใช้บริการมากขึ้น
นอกจากนี้ ยังเห็นด้วยที่รัฐบาลจะเร่งขยายโครงข่ายรถไฟฟ้า 10 เส้นทาง ให้ครอบคลุมพื้นที่ กทม.และปริมณฑล เนื่องจากเมืองไทยเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ก็จะมีการเคลื่อนย้ายการลงทุน การค้ามากขึ้น ซึ่งการแก้ปัญหาจราจรถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะจูงใจให้มีผู้ลงทุนในประเทศ ขณะเดียวกัน การสร้างให้เมืองหลวงมีระบบขนส่งมวลชนที่ดี ก็จะสร้างคุณภาพชีวิตที่มีคุณค่า ทำให้ประชาชนได้รับบริการที่ดีขึ้น
ขณะที่ นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และประธานบอร์ดการเคหะแห่งชาติ กล่าวว่า เร็วๆ นี้ฝ่ายบริการของ กคช. จะหารือกับประธานบอร์ด รฟม. และการรถไฟแห่ง ประเทศไทย เพื่อผลักดันโครงการตามนโยบายรัฐบาล ที่จะจัดหาที่อยู่อาศัยใหม่ให้ประชาชนที่เข้าไปบุกรุกพื้นที่แนวชายคลองและ แม่น้ำต่างๆ ซึ่งขณะนี้มีกว่า 150,000 ครัวเรือน ซึ่งการหารือกันนั้นเพื่อผลักดันให้ กคช. ไปจัดสร้างที่อยู่อาศัยตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าให้ประชาชนกลุ่มดังกล่าว ซึ่งขณะนี้มีความเป็นไปได้ที่รถไฟฟ้าหลายเส้นทาง ทั้งสีเขียวที่จะมีส่วนต่อขยายไปลำลูกกา สายสีส้มและสายสีชมพู ซึ่งจะมีกลุ่มผู้ใช้บริการที่ชัดเจน.
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44090
Location: NECTEC
Posted: 21/08/2012 6:05 pm Post subject:
รฟม.เชื่อรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายใช้ได้ภายใน 2 ปี
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 21 สิงหาคม 2555 13:18 น.
นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการผลักดันราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ตามนโยบายรัฐบาลว่า รฟม.ได้เริ่มทำงานและเจรจากับคู่สัญญาเดินรถ คือ บริษัทรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีเอ็มซีแอลบ้างแล้ว ตามแผนงานการเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย น่าจะสามารถนำมาใช้ได้ภายใน 2 ปีข้างหน้าหรือปี 2557 ระหว่างนี้ รฟม.จะเดินหน้าเจรจาเพื่อให้บรรลุผลทั้งกับบีเอ็มซีแอล และบีทีเอส
ส่วนสาเหตุสำคัญที่ต้องรออีก 2 ปีข้างหน้า จึงจะเก็บค่าโดยสารอัตราดังกล่าว นายยงสิทธิ์ กล่าวว่า เนื่องจากหากมีการเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย เชื่อว่าจะทำให้ปริมาณผู้ใช้รถไฟฟ้าสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อถึงเวลาดังกล่าวต้องมีปริมาณรถเพียงพอต่อความต้องการของผู้โดยสาร ปัจจุบันบีเอ็มซีแอล มีรถไฟฟ้าใช้หมุนเวียนในระบบ 19 คัน โดยเชื่อว่าต้องเพิ่มอย่างน้อย 1 เท่าตัว เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้งานในช่วงเวลาดังกล่าว
นายยงสิทธิ์ กล่าวว่า ในส่วนของ รฟม.ยืนยันว่า หลังจากนี้จะเร่งพัฒนาขยายโครงข่ายรถไฟฟ้าต่อเนื่อง ซึ่งตามแผนงาน รฟม. มีโครงการรับผิดชอบทั้งส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน และรถไฟฟ้าสีม่วง ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้าง
นอกจากนี้ ยังมีโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายไปบางคูวัด สายสีส้มบางกะปิ-บางบำหรุ สายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง และสายสีชมพู มีนบุรี-ติวานนท์ ซึ่งทั้งหมดจะใช้งบประมาณในการลงทุนประมาณ 500,000 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการรวม 6-7 ปี ประเทศไทยจะมีโครงข่ายรถไฟฟ้าใช้มากกว่า 200 กิโลเมตร เช่นเดียวกับเมืองใหญ่ๆ ที่มีการนำระบบรถไฟฟ้ามาเป็นขนส่งมวลชนหลัก ส่วนบทบาทในอนาคตนั้น รฟม.ควรจะเป็นผู้บริหารการเดินรถเอง เนื่องจากจะสามารถเป็นองค์กรจัดหารายได้ด้วยตนเองและนำรายได้มาขยายการลงทุน โดยไม่ต้องพึ่งงบประมาณภาครัฐอย่างเดียว
นายยงสิทธิ์ กล่าวถึงความล่าช้าในการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสายสีน้ำเงิน เนื่องจากปัญหาอุทกภัยในช่วงที่ผ่านมานั้นว่า รัฐบาลเตรียมเยียวยาโดยเฉพาะการขยายกรอบระยะเวลาก่อสร้างตามสัญญาให้เอกชนที่รับงานก่อสร้าง แต่ต้องหยุดงานก่อสร้างช่วงน้ำท่วมโดยการขยายกรอบและระยะเวลานี้จะไม่เกิน 180 วัน ซึ่งต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
//---------------------------------------------
รฟม.คาดต้นปี 2557 เก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าMRT 20 บาทตลอดสาย
มติชน วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555 เวลา 23:39:50 น.
นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่ากาการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)กล่าวว่า ภายในต้นปี 2557 จะเริ่มเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายสำหรับรถไฟฟ้าใต้ดิน หรือMRT ที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน ขณะนี้ รฟม.ได้หารือกับ บมจ. รถไฟฟ้ากรุงเทพ (BMCL) ผู้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้า MRT แล้วโดยรฟม.จะชดเชยรายได้ให้บีเอ็มซีแอล หากพบว่าภายหลังการลดค่าโดยสารทำให้ BMCL มีรายได้จากค่าโดยสารลดลงจากปัจจุบันปีละ 1,000 ล้านบาท เบื้องต้นอาจจะนำเงินจากค่าสัมปทานที่รฟม.จะได้รับจาก BMCL มาชดเชยรายได้
ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อนั้น คาดว่าจะเริ่มเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายได้ภายในปี 2558 และในปี 2562 จะเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายได้ครบทั้ง 10 สาย ตามนโยบายที่รัฐบาลประกาศไว้
//-----------------------------------------
รฟม.คาดต้นปี 57 เก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย ชดเชย BMCL ปีละ 1 พันลบ.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
24 สิงหาคม 2555 เวลา 18:40:37 น.
นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่ากาการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)กล่าวว่า ภายในต้นปี 2557 จะเริ่มเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายสำหรับรถไฟฟ้า MRT ที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน ขณะนี้ รฟม.ได้หารือกับ บมจ. รถไฟฟ้ากรุงเทพ (BMCL) ผู้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้า MRT แล้ว
รฟม.จะชดเชยรายได้ให้บีเอ็มซีแอล หากพบว่าภายหลังการลดค่าโดยสารทำให้ BMCL มีรายได้จากค่าโดยสารลดลงจากปัจจุบันปีละ 1,000 ล้านบาท เบื้องต้นอาจจะนำเงินจากค่าสัมปทานที่รฟม.จะได้รับจาก BMCL มาชดเชยรายได้
ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อนั้น คาดว่าจะเริ่มเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายได้ภายในปี 2558 และในปี 2562 จะเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายได้ครบทั้ง 10 สาย ตามนโยบายที่รัฐบาลประกาศนโยบายไว้
ขณะที่ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมช.คมนาคม กล่าวภายหลัง นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเป็นประธานพิธีเริ่มเดินเครื่องหัวเจาะอุโมงค์โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ ว่า นายกรัฐมนตรีกำชับให้กระทรวงคมนาคมเร่งดำเนินนโยบายค่ารถโดยสารไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ในเส้นทางที่มีความพร้อมก่อน โดยไม่ต้องรอโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างให้แล้วเสร็จ
ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคม ตั้งเป้าภายในเดือน ก.ย.นี้ จะเริ่มจัดเก็บค่าโดยสารโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง หรือแอร์พอร์ตเรลลิงค์ ในอัตรา 20 บาทตลอดสาย เฉพาะช่วงเวลา 10.00-16.00 น.
สาเหตุที่เก็บอัตราค่าโดยสารเฉพาะช่วงเวลา เนื่องจากต้องการเพิ่มปริมาณผู้โดยสารในช่วงนอกเวลาเร่งด่วน ส่วนเวลาเร่งด่วนเวลา 06.00-09.00 น. พบว่าปริมาณผู้โดยสารสูงกว่าความจุของรถไฟฟ้าแล้ว โดยคาดว่าเมื่อจัดเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย จะทำให้ปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้นประมาณ 15% โดยปัจจุบันมีค่าโดยสาร 15-40 บาท
//----------------------------------------------------------------
รฟม.เล็งจับมือการเคหะฯ ตั้งบริษัทลูกสร้างที่อยู่ตามแนวรถไฟฟ้า
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 20 สิงหาคม 2555 23:54 น.
รฟม.เดินหน้าแก้ระเบียบปลดล็อก ห้ามพัฒนาเชิงพาณิชย์ หวังเพิ่มรายได้สร้างกำไร เตรียมจับมือ ร.ฟ.ท.และการเคหะฯ ตั้งบริษัทลูกผุดที่อยู่ตามแนวรถไฟฟ้าสีเขียว, ชมพู และส้ม เพิ่มผู้โดยสารเข้าระบบ ยงสิทธิ์ เผยผู้โดยสารรถใต้ดินยังต่ำเป้าเหตุโครงข่ายไม่ครอบคลุม ยันอีก 8 ปีเพิ่มอีก 200 กม.แน่
นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนาวิชาการเรื่องระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกับการพัฒนาประเทศ วานนี้ (20 ส.ค.) ว่า การพัฒนารถไฟฟ้าของ รฟม.ในอนาคตจะมุ่งเน้นการเพิ่มรายได้และสร้างกำไร โดยการพัฒนาเชิงธุรกิจ ทั้งเรื่องของสินค้าและการโฆษณาให้เข้ามามากขึ้น เพื่อลดภาระต้นทุนไม่ต้องรอให้สร้างรถไฟฟ้าทั้ง 10 สายทั้งหมด ซึ่งจะต้องมีการปรับแก้กฎหมายเพื่อให้ รฟม.สามารถนำพื้นที่มาพัฒนาในเชิงพาณิชย์ได้ ในขณะที่จำนวนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินประมาณ 2 แสนคนต่อวัน ยังต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ที่จะต้องมีผู้ใช้บริการ 4-5 แสนคนต่อวัน ทั้งนี้ ประชาชนยังปรับตัวช้า ประกอบกับโครงข่ายรถไฟฟ้าไม่ครอบคลุม โดย 20 ปีมีเพียง 2 สาย คือ รถไฟฟ้าใต้ดิน และรถไฟฟ้าบีทีเอส ระยะทางรวมประมาณ 50 กิโลเมตรเท่านั้น
ทั้งนี้ ตามแผนจะมีการก่อสร้างรถไฟฟ้าอีก 6 เส้นทาง ระยะทาง 200 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 6 แสนล้านบาท โครงข่ายจะเพิ่มเป็น 10 เท่า ซึ่งจะเปิดให้บริการในปี 2562 รวมระยะเวลา 4 ปี การเดินทางของคนกรุงเทพฯ จะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจจะถึง 50% การเปิดให้บริการ 20 บาทตลอดสาย ก็ทำให้โครงสร้างรายได้คุ้มทุนได้แต่รัฐบาลจะต้องใช้งบอุดหนุนเป็นจำนวนมหาศาล จำเป็นต้องแก้ระเบียบเพื่อให้นำพื้นที่ 1,000 ไร่มาพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด จากปัจจุบันเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงอย่างเดียว
นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง กล่าวว่า การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนจะต้องควบคุมไปกับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์โดยออกแบบให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น รฟม. การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และการเคหะแห่งชาติ จะร่วมกันตั้งเป็นบริษัทลูกมาบริหารจัดการด้านที่อยู่อาศัย โดยพิจารณาจัดหาพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า เช่น สายสีเขียว บริเวณลำลูกกา สายสีชมพู มีนบุรี สายสีส้ม บางกะปิ ซึ่งแนวทางดังกล่าวขณะนี้ได้ทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันแล้ว ตามนโยบายของรัฐบาลในการย้ายผู้บุกรุกริมคลองประมาณ 150,000 รายออกจากพื้นที่เพื่อเปิดทางระบายน้ำ
ด้านนายสมพงษ์ จิรบันดาลสุข หัวหน้าฝ่ายวางผังพัฒนาพื้นที่ด้านตะวันตก สำนักผังเมือง กทม. กล่าวว่า ร่างผังเมืองรวม กทม.ฉบับใหม่ที่อยู่ระหว่างการจัดทำรายละเอียดก่อนประกาศใช้ ได้มีการพิจารณาการใช้พื้นที่รองรับการขยายเส้นทางรถไฟฟ้าไว้แล้ว และยังกำหนดการใช้พื้นที่ในส่วนต่างๆ ให้เกิดความสมดุลของที่อยู่อาศัยและแรงงาน เปิดโอกาสให้สามารถก่อสร้างโรงงาน หรือออฟฟิศ หรือพื้นที่ธุรกิจต่างๆ นอกเมืองได้ แต่ยังคงพื้นที่เกษตรกรรมรักษาพื้นที่ระบายน้ำไว้เพื่อลดความหนาแน่นการเดินทางเข้าเมืองช่วงเช้า ทำให้พื้นที่ย่านมีนบุรี วงเวียนใหญ่ และอ่อนนุชเป็นพื้นที่สีแดงมากขึ้น
ขณะที่พื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าสามารถก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยได้ในระยะ 500 ม.จากชานชาลาสถานี แต่เดิมกำหนดไว้ 500 ม.จากจุดกึ่งกลางสถานี และหากเป็นสถานีใหญ่ที่มีอาคารจอดแล้วจร จะสามารถสร้างอาคารได้ใหญ่ขึ้นกว่าสถานีทั่วไปอีก 20% นอกจากนี้ยังมีการวางผังคมนาคมเพิ่มขึ้นจากผังเมืองรวมฉบับก่อน โดยกำหนดให้ซอยต่างๆ มีความกว้างเป็นมาตรฐานมากขึ้น อย่างน้อยต้องไม่น้อยกว่า 12 ม. โดยห้ามสร้างอะไรล้ำแนวเด็ดขาด เพื่อให้การเดินทางออกจากซอยไปขึ้นรถไฟฟ้าได้สะดวกรวดเร็ว
//---------------------------------------------------------
^^^^
เห็นข่าวนี่รู้แต่ว่าขนาด สยามธุรกิจที่เป็นปากกระบอกเสียงรัฐบาลก็แจกกล้วยให้ รฟม. ในนโยบายเอาที่ดินรฟม. ไปพัฒนาในเชิงพาณิชย์ ดังกล่าว นี่ถ้ารู้ว่า รัฐบาลรู้เห็นเป็นใจด้วยแล้ว ชะรอบ สยามธุรกิจ ต้องขอให้รัฐบาลจ่ายค่าโฆษณาเพิ่ม แลกกะการเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ ไม่งั้น จะแจกกล้วยให้รัฐบาลด้วย Last edited by Wisarut on 25/08/2012 3:29 am; edited 1 time in total
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47497
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 23/08/2012 5:01 pm Post subject:
คมนาคมเปิดแผนลงทุนปี 56-63 กว่า 1.9 ล้านลบ. เน้นพัฒนาขนส่งระบบราง
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 23 ส.ค. 2555 เวลา 16:30:50 น.
นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.คมนาคม กล่าวบรรยายพิเศษหัวข้อ "เปิดแผนการลงทุนโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน" ว่า แผนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทั้งการพัฒนาระบบการคมนาคม ทางบก น้ำ และอากาศ ภายใต้งบประมาณ 1.9 ล้านล้านบาท ตั้งแต่ปี 56-63 จะมุ่งเน้นการขนส่งทางรางสูงสุด 65% , ทางน้ำ 6.51%, ทางอากาศ 4.24% ส่วนการลงทุนทางถนนอยู่ที่ 24.2% โดยรัฐบาลให้ความสำคัญกับการลงทุนระบบรางมากที่สุด
ทั้งนี้ รัฐบาลจะเร่งดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทางทั่วประเทศ รวมทั้งรถไฟรางคู่เพื่อลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์จากปัจจุบันต้นทุนโลจิสติกส์ทั้งหมดอยู่ที่ 15.2% โดยกระทรวงคมนาคมมีเป้าหมายจะลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ให้เหลือที่ 5% ภายใน 4 ปี โดยมุ่งหวังว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงจะช่วยลดระยะเวลาการขนส่งและการเดินทางได้มากขึ้น
ส่วนแผนการลงทุนรถไฟฟ้า 10 เส้นทาง ระยะทาง 464 กิโลเมตรนั้น ภายในสิ้นปีนี้คาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ก่อน 3 เส้นทาง นอกจากนี้จะเร่งปรับปรุงรางรถไฟทั่วประเทศ หลังจากที่มีอุบัติเหตุรถไฟตกราง ซึ่งขณะนี้กระทรวงคมนาคมกำลังเร่งดำเนินการเปลี่ยนไม้หมอนรางรถไฟทั่วประเทศทั้งหมดที่มีระยะทาง 4,000 กิโลเมตร โดยจะทยอยเปลี่ยนเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ
สำหรับโครงการลงทุนทางอากาศนั้น รัฐบาลจะเร่งขยายสนามบินสุวรรณภูมิเฟส 2 วงเงิน 62,500 ล้านบาท เพื่อรองรับปริมาณผู้โดยสารจาก 45 ล้านคนเป็น 60 ล้านคน การสร้างรันเวย์ที่ 3 วงเงิน 13,800 ล้านบาท การขยายอาคารผู้โดยสารหลักด้านทิศตะวันออก การก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินรอง และงานระบบสาธารณูปโภค, การปรับปรุงการใช้ประโยชน์สนามบินดอนเมือง 3,200 ล้านบาท และการพัฒนาระบบบริการการเดินอากาศ
ขณะที่โครงการลงทุนทางน้ำ จะเร่งพัฒนาท่าเรือน้ำลึกซึ่งจะมีการจัดหาท่าเรือเพิ่มเติมบริเวณจังหวัดสงขลา แต่ยังไม่ได้ระบุสถานที่แน่ชัดว่าจะที่ใด ส่วนท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังจะเร่งพัฒนาในเฟส 1 และเฟส 2 ให้มีขีดความสามารถและเพิ่มประสิทธิภาพอย่างเต็มที่
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47497
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 25/08/2012 5:55 am Post subject:
รฟม.คาดต้นปี 57 เก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย ชดเชย BMCL ปีละ 1 พันลบ.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 24 ส.ค. 2555 เวลา 18:40:37 น.
นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)กล่าวว่า ภายในต้นปี 2557 จะเริ่มเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายสำหรับรถไฟฟ้า MRT ที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน ขณะนี้ รฟม.ได้หารือกับ บมจ. รถไฟฟ้ากรุงเทพ (BMCL) ผู้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้า MRT แล้ว
รฟม.จะชดเชยรายได้ให้บีเอ็มซีแอล หากพบว่าภายหลังการลดค่าโดยสารทำให้ BMCL มีรายได้จากค่าโดยสารลดลงจากปัจจุบันปีละ 1,000 ล้านบาท เบื้องต้นอาจจะนำเงินจากค่าสัมปทานที่รฟม.จะได้รับจาก BMCL มาชดเชยรายได้
ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อนั้น คาดว่าจะเริ่มเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายได้ภายในปี 2558 และในปี 2562 จะเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายได้ครบทั้ง 10 สาย ตามนโยบายที่รัฐบาลประกาศนโยบายไว้
ขณะที่ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมช.คมนาคม กล่าวภายหลัง นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเป็นประธานพิธีเริ่มเดินเครื่องหัวเจาะอุโมงค์โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ ว่า นายกรัฐมนตรีกำชับให้กระทรวงคมนาคมเร่งดำเนินนโยบายค่ารถโดยสารไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ในเส้นทางที่มีความพร้อมก่อน โดยไม่ต้องรอโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างให้แล้วเสร็จ
ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคม ตั้งเป้าภายในเดือน ก.ย.นี้ จะเริ่มจัดเก็บค่าโดยสารโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง หรือแอร์พอร์ตเรลลิงค์ ในอัตรา 20 บาทตลอดสาย เฉพาะช่วงเวลา 10.00-16.00 น.
สาเหตุที่เก็บอัตราค่าโดยสารเฉพาะช่วงเวลา เนื่องจากต้องการเพิ่มปริมาณผู้โดยสารในช่วงนอกเวลาเร่งด่วน ส่วนเวลาเร่งด่วนเวลา 06.00-09.00 น. พบว่าปริมาณผู้โดยสารสูงกว่าความจุของรถไฟฟ้าแล้ว โดยคาดว่าเมื่อจัดเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย จะทำให้ปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้นประมาณ 15% โดยปัจจุบันมีค่าโดยสาร 15-40 บาท
ที่มา : อินโฟเควสท์ Last edited by Mongwin on 26/08/2012 9:13 am; edited 1 time in total
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44090
Location: NECTEC
Posted: 25/08/2012 9:22 pm Post subject:
รฟม.เจรจา BMCL เก็บ 20 บ.รถใต้ดินนำร่อง ใช้ค่าสัมปทานชดเชยส่วนต่างไม่รอครบ 10 สาย
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 24 สิงหาคม 2555 18:09 น.
ยิ่งลักษณ์ กดปุ่มเดินเครื่องหัวเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-บางแค) รฟม.เร่งสปีดดันเปิดเดินรถปี 60 ได้ตามแผน หลังงานยังล่าช้ากว่าแผนกว่า 3% ยงสิทธิ์ ชี้โครงข่ายจะเป็นวงกลมช่วยผู้โดยสารเป็น 1 ล้านคนต่อวัน ครบ 10 สายทะลุ 5ล้านคนต่อวัน เผยเตรียมเจรจาBMCL ชดเชยส่วนต่างรายได้เร่งเก็บ 20 บาทตลอดสายรถไฟใต้ดินสายแรกนำร่อง ไม่รอครบ 10 สาย
เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานเริ่มเดินเครื่องหัวเจาะอุโมงค์ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ บริเวณสถานีรถไฟฟ้าหัวลำโพง ซึ่งเป็นการก่อสร้างเส้นทางใต้ดิน สัญญาที่ 1 ช่วงหัวลำโพง-สนามไชย (งานออกแบบควบคู่การก่อสร้าง) มีบริษัท อิตาเลียน-ไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD เป็นผู้รับเหมา วงเงิน 11,441,075,580 บาท
นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายได้เริ่มก่อสร้างตั้งแต่เดือนเมษายน 2554 โดยงานโยธามีความคืบหน้า 21.62 % โดยแผนงานกำหนดไว้ที่ 25.11% จึงล่าช้ากว่าแผน 3.48% ซึ่งจะเร่งการก่อสร้างเพื่อเปิดเดินรถให้ได้ตามที่แผนแม่บทกำหนด ในปี 2560 โดยในส่วนของการขุดเจาะและก่อสร้างอุโมงค์จะใช้เวลาประมาณ 2 ปี แล้วเสร็จในปลายปี 2557 โดยจะสามารถขุดเจาะได้วันละ 10-15 เมตร รวมเนื้อดินทั้งหมด 4 แสนคิว หลังจากนั้นจะเป็นการก่อสร้างสถานี วางราง ติดตั้งระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้า
ทั้งนี้ โครงการช่วงดังกล่าวจะต่อเชื่อมกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ (สายเฉลิมมหานคร) ที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบันเป็นวงกลม ซึ่งจะส่งผลให้การเดินทางมีความสะดวกมากขึ้นเช่นเดียวกับเมืองใหญ่ เช่น ลอนดอน โตเกียว ที่โครงข่ายรถไฟฟ้าเป็นวงกลม และคาดว่าเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการจำนวนผู้โดยสารรถไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นจาก 2 เสนคนต่อวันในปัจจุบันเป็น 1 ล้านคนต่อวัน โดยมีโครงข่ายรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) เป็นตัวป้อนผู้โดยสารเข้าระบบด้วย และหาก รฟม.ดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าในส่วนที่รับผิดชอบครบ 6 สาย (สีน้ำเงิน, สีม่วง, สีเขียว, สีชมพู, สีเหลือง, สีส้ม) ในปี 2562 ผู้โดยสารจะเพิ่มเป็น 3 ล้านคนต่อวัน ซึ่งสายสีชมพู ช่วงมีนบุรี-แคราย คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ต้นปี2556 แล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการได้ในปี 2561 เป็นต้น และหากรวมรถไฟฟ้าที่อยู่ในความรับผิดชอบของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ซึ่งจะครบ 10 สายผู้โดยสารรถไฟฟ้ารวมจะเป็น 10 ล้านคนต่อวัน
การเจาะอุโมงค์จะดำเนินการได้ทันที เพราะปัญหาสถานีวัดมังกรได้เจรจากับประชาชนได้ข้อยุติแล้ว อยู่ในขั้นตอนการรื้อถอนและจ่ายค่าชดเชย โดยคาดว่าจะส่งมอบพื้นที่ให้ ITD ได้ภายใน 1 เดือน โดยการรื้อย้านสาธารณูปโภคบริเวณวัดมังกรและสถานีวังบูรพา งานขุดดินในพื้นที่ Cut &Cover เป็นงานก่อสร้างที่สำคัญในการเตรียมสำหรับการขุดเจาะอุโมงค์ที่สถานีหัวลำโพง นางยงสิทธิ์กล่าว
เจรจา BMCL ชดเชยส่วนต่าง เร่งเก็บ 20 บาทรถไฟฟ้าใต้ดินปี 57
นายยงสิทธิ์กล่าวว่า การจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายนั้น คาดว่าจะดำเนินการได้ในปี 2557 ซึ่งเร็วกว่าเดิมที่คาดว่าจะต้องรอให้เปิดเดินรถสายสีม่วงปี 2558 หรือรอให้ครบ 10 สายก่อนจึงจะดำเนินการได้ โดยจะมีการเจรจากับบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BMCL เพื่อเริ่มใช้กับรถไฟฟ้าใต้ดินก่อน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการประเมินจำนวนผู้โดยสารที่จะเพิ่มขึ้นหากมีการจัดเก็บค่าโดยสาร 20 บาท และประเมินรายได้เพื่อเปรียบเทียบกับรายได้ที่ BMCL ในฐานะผู้รับสัมปทานประเมินไว้ในสัญญา ซึ่งหากต่ำกว่าที่ประเมินรัฐจะต้องชดเชยส่วนต่าง แต่หากสูงกว่าจะไม่มีการชดเชย นอกจากนี้จำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นจะต้องนำมาประเมินเพื่อจัดหาขบวนรถเพิ่มเพื่อรองรับการให้บริการด้วยโดยจะสรุปให้ได้ภายในสิ้นปี 2555
โดยปัจจุบัน BMCL มีรายได้ประมาณ 2,000 ล้านบาทต่อปี มีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 5% ต่อปี ส่วนแนวทางการชดเชยอาจจะใช้วิธีหักค่าสัมปทานที่ รฟม.จะได้รับ BMCL ในปีที่ 11 ( ปี 2558) ของสัมปทานได้ เพื่อไม่ให้เป็นภาระต่องบประมาณ โดยคาดว่าในปีแรกผู้โดยสารจะเพิ่มประมาณ 20% ทำให้อา
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47497
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 28/08/2012 5:05 pm Post subject:
"ยงยุทธ วิชัยดิษฐ" ประกาศ ค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาท ตลอดสาย ไม่ได้โม้ ได้เห็นแน่ !!!
มติชนออนไลน์ วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555 เวลา 14:59:02 น.
เมื่อไม่นานมานี้ นายวัชระ เพชรทอง ส.ส. ประชาธิปัตย์ ได้ยื่นกระทู้ถามรัฐบาล เรื่อง การควบคุมราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าในอัตรา ๒๐ บาท ตลอดสาย
นายวัชระ ทวงสัญญาว่า ตามที่รัฐบาลได้สัญญากับประชาชนว่าจะเก็บค่ารถไฟฟ้า ๒๐ บาท ตลอดสาย ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าเป็นประจำต่างคาดหวังเกี่ยวกับราคา ค่าโดยสารรถไฟฟ้าที่ประหยัดค่าใช้จ่าย เนื่องจากปัจจุบันมีค่าครองชีพที่สูงขึ้น ดังนั้น หากมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางประจำวันโดยรถไฟฟ้าที่สามารถควบคุมราคาได้ จะเป็นการส่งเสริมให้ประหยัดการใช้จ่าย ของประชาชนและช่วยลดปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง จึงขอเรียนถามว่า รัฐบาลจะควบคุมราคา ค่าโดยสารในราคา ๒๐ บาทตลอดสาย โดยมีมาตรการควบคุมหรือไม่และจะเริ่มดำเนินการเมื่อใด อย่างไร
ล่าสุด นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี ตอบกระทู้ว่า จากข้อมูลของกระทรวงคมนาคมทราบว่า ปัจจุบันกระทรวง ฯ อยู่ระหว่างศึกษา รายละเอียดในการดำเนินการ เพื่อควบคุมราคาค่าโดยสาร ๒๐ บาท ตลอดสาย ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับแผนการพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า ๑๐ สาย ระยะทางกว่า ๔๖๔ กิโลเมตร ของรัฐบาลโดยควรดำเนินงานเมื่อมีการเปิดให้บริการโครงข่ายของรัฐบาลเพิ่มเติมในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งจะสอดคล้องกับการใช้ระบบตั๋วร่วมบัตรเดียว โดยผ่านองค์กรกำกับดูแลเพื่อบริหารจัดการระบบ ศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง (Central Clearing House : CCH) เพื่อความสะดวกและลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชนต่อไป
ทั้งนี้ หน่วยงานให้บริการด้านรถไฟในสังกัดกระทรวงคมนาคมประกอบด้วยการรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ซึ่งให้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน และบริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ซึ่งให้บริการรถไฟฟ้า Airport Rail Link มีความพร้อมที่จะให้บริการตามนโยบายของรัฐบาล
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44090
Location: NECTEC
Posted: 28/08/2012 5:18 pm Post subject:
^^^
อย่างเก่งก็ 20 บาทนอกเวลาเร่งด่วน (Non-Rush Hour) ท่าจะเป็นไปได้กระมัง ถ้าข้ามจังหวัด 1 ครั้งคิด 30 บาทและ ข้ามจังหวัด 2 ครั้ง คิด 40 บาทก็ยังพอทนนะ แต่ที่ไม่น่าชื่นชมเห็นจะได้แก่ การบีบให้ รฟม. ตั้งบริษัทลูก จัดการเรื่องระบบตั๋ว 20 บาท ตามข่าวต่อไปนี้ครับ
//---------------------------------------------------------------------------
รื้อใหม่ลงทุนเดินรถไฟฟ้า10สาย สั่ง"รฟม."ตั้งบริษัทลูกบริหารเร่งผลงานตั๋ว20บาท
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์: 28 สิงหาคม 2555 เวลา 12:35:01 น.
นายศิลปชัย จารุเกษมรัตนะ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า มอบหมายให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กลับไปทบทวนแผนการลงทุนระบบเดินรถโครงการรถไฟฟ้า 10 สายทาง ให้สอดคล้องนโยบายของรัฐบาลในการจัดเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายทั้งระบบ จากเดิมรูปแบบ PPP Gross Cost โดยรัฐบาลจ่ายคืนเอกชนเป็นค่าจ้างรายปี เนื่องจากต้นทุนสูงและทำให้เป็นภาระรัฐบาลมากเกินไป
"รูปแบบใหม่อาจให้ รฟม.ตั้งบริษัทลูกมาลงทุนระบบ ตัวรถไฟฟ้า และบริหารจัดการเดินรถเอง วิธีเดิมที่เอกชนลงทุนจะคิดกำไรการคืนทุนอยู่ที่ 12.5% แต่ถ้ารัฐลงทุนเอง จะมีภาระต้นทุนการเงินต่ำกว่าเอกชน ซึ่งจะง่ายต่อการเก็บค่าโดยสารราคาถูก และผลักดันให้ระบบตั๋วร่วมเกิดได้เร็วขึ้น"
ทั้งนี้จากผลการวิเคราะห์ของ สนข. การดำเนินนโยบายเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายทั้งระบบ ยกเว้นรถไฟฟ้าบีทีเอส รายได้จากค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายจะครอบคลุมค่าใช้จ่ายในส่วนค่าบริหารจัดการเดินรถและซ่อมบำรุงเท่านั้น แต่ไม่ครอบคลุมค่าลงทุนงานระบบไฟฟ้า อาณัติสัญญาณ ตัวรถไฟฟ้า และค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย
ทั้งนี้หากจะเปิดให้เอกชนลงทุนรูปแบบ PPP เหมือนโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) และสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค) ที่ได้มีการว่าจ้างเอกชนลงทุนและเดินรถ ทำให้รัฐมีภาระเพิ่ม เพราะรัฐจะมีรายได้จากการจัดเก็บจากค่าโดยสารไม่เพียงพอต่อรายจ่ายที่ต้องจ้างเอกชน และส่งผลกระทบทำให้มีปัญหาขาดทุนจำนวนมาก
สำหรับความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง หรือไฮสปีดเทรน 4 สาย ล่าสุดได้หารือร่วมกับคณะทำงานจากประเทศจีนที่ศึกษาโครงการนำร่อง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ โดยหารือเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรค ตามแผนคาดว่าจะสรุปผลการศึกษาได้ในอีก 5 เดือนข้างหน้า
เมื่อถึงตอนนั้นจะได้ข้อสรุปในเรื่องรายละเอียดโครงการ การเวนคืน ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เงินลงทุน และการเปิดประมูลก่อสร้าง คาดว่าจะเริ่มประมูลได้ปลายปีหน้าเป็นต้นไป ส่วนจะเป็นสายไหนยังต้องรอดูผลการศึกษาที่สรุปออกมาก่อน
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47497
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 29/08/2012 4:54 am Post subject:
ภาพรวมโครงการรถไฟฟ้า 10 สายทาง
สำนักข่าวไทย วันอังคาร ที่ 28 ส.ค. 2555
อสมท 28 ส.ค.-ไปดูภาพรวมของโครงการรถไฟฟ้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายพัฒนาระบบรางเพื่อขนส่งมวลชนของรัฐบาลที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา รวมทั้งสิ้น 10 สายทาง และจะเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายทั้งระบบ
โครงการรถไฟฟ้า 10 สายทางที่เป็นนโยบายรัฐบาล จะมีระยะทางรวมกัน 464 กิโลเมตร โดยเชื่อมโยงตั้งแต่ใจกลางเมืองไปจนถึงจังหวัดรอบกรุงเทพฯ ด้วย ซึ่งแต่ละสายทางก็มีความคืบหน้าแตกต่างกันออกไป
รถไฟฟ้าที่เปิดบริการแล้ว ขณะนี้มี 3 โครงการระยะทางรวม 79.5 กิโลเมตร ได้แก่ รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดิน ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต ลิงค์ จากพญาไทไปถึงสนามบินสุวรรณภูมิ
ส่วนโครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ขณะนี้มี 5 โครงการ ระยะทาง 83 กิโลเมตร เช่น รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ซึ่งจะเปิดบริการในปีนี้ สายสีม่วง บางซื่อ-ตลิ่งชัน และสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค
ขณะที่โครงการที่อยู่ระหว่างประกวดราคา ทั้งงานโยธาและงานระบบรางรวมทั้งขบวนรถไฟฟ้ามี 1 โครงการ คือ สายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26 กิโลเมตร
ในปีนี้กระทรวงคมนาคมยังตั้งเป้าหมายจะเปิดประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าอีก 4 โครงการ ระยะทางรวม 54.2 กิโลเมตร อาทิ รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต ลิงค์ ส่วนต่อขยายเชื่อมสนามบินดอนเมืองกับสุวรรณภูมิ
และปีหน้ายังมีโครงการรถไฟฟ้าที่จะประกวดราคาอีก 6 โครงการ ระยะทางรวมกว่า 100 กิโลเมตร ทั้งสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-มักกะสัน สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี
สำหรับโครงการรถไฟฟ้าอีก 4 โครงการมีแผนจะประกวดราคาภายในปี 2557 ระยะทาง 62.7 กิโลเมตร มีทั้งสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ และสายสีส้ม ช่วงจรัญสนิทวงศ์-ศูนย์วัฒนธรรม
ขณะเดียวกันยังมีโครงการรถไฟฟ้าอีก 5 โครงการ ระยะทาง 53.6 กิโลเมตร ที่มีแผนจะต่อขยายโครงการเพื่อให้ครบ 464 กิโลเมตร อาทิ รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงหัวลำโพง-บางบอน และช่วงบางแค-พุทธมณฑล.
Back to top