Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312081
ทั่วไป:13685751
ทั้งหมด:13997832
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 56, 57, 58 ... 284, 285, 286  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44090
Location: NECTEC

PostPosted: 20/08/2012 9:54 am    Post subject: Reply with quote

^^^^
เวอร์ชัน ASTV เป็นดั่งนี้

กทม.ฟังความเห็นจ่อสร้างรถไฟฟ้ารางคู่สายบางนา-สุวรรณภูมิ เชื่อมต่อ BTS บางนา

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 สิงหาคม 2555 22:23 น.


กทม.รับฟังความคิดเห็นโครงการศึกษาพัฒนาระบบขนส่งมวลชนขนาดรองระบบรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบาสายบางนา-สุวรรณภูมิ เชื่อมต่อ BTS บางนา คาดเริ่มก่อสร้างปี 2557 ระยะเวลา3 ปี ใช้งบประมาณ 25,000 ล้านบาท

วันนี้ (17 ส.ค.) นายอรวิทย์ เหมะจุฑา รองผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง เป็นประธานเปิดการประชุมเพื่อการประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็นโครงการศึกษาพัฒนาระบบขนส่งมวลชนขนาดรองระบบรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา (Light Rail Transit : LRT) สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ณ โรงแรมเมเปิล ถนนศรีนครินทร์ เขตบางนา โดยมีผู้แทนส่วนราชการและประชาชนที่อาศัยตลอดแนวเส้นทาง เข้าร่วมการประชุม

นายอรวิทย์กล่าวว่า กรุงเทพมหานครได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาพัฒนาระบบขนส่งมวลชนขนาดรองในเขตศูนย์กลางธุรกิจที่ระบบหลักเข้าไม่ถึง โดยศึกษาพัฒนาระบบขนส่งมวลชนขนาดรองในแนวเส้นทางสายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านวิศวกรรม ด้านเศรษฐกิจ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน พร้อมทำหน้าที่ที่ปรึกษาตามที่กำหนดใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2553 เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจร รวมถึงอำนวยความสะดวกให้ประชาชนในพื้นที่บริเวณถนนบางนา-ตราด ถนนสุขุมวิทและจังหวัดสมุทรปราการ และเสริมประสิทธิภาพการให้บริการขนส่งมวลชนระบบรางเข้าถึงพื้นที่ได้มากขึ้น โดยใช้ต้นทุนในการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนาดรองต่ำกว่าระบบขนส่งมวลชนหลัก จากเดิมที่ได้มีการจัดประชุมสัมมนาครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 30 ก.ย. 52 ณ โรงแรมเอเชีย เขตราชเทวี โดยรูปแบบเป็น Monorail แต่เนื่องจากกายภาพของเส้นทางเป็นแนวเส้นตรง ซึ่งมีความเหมาะสมที่จะเป็นรูปแบบ Light Rail มากกว่า ดังนั้น จึงได้ปรับเปลี่ยนจากรถไฟฟ้ารางเดี่ยวมาเป็นรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา แต่แนวเส้นทางยังคงเป็นเส้นทางเดิม โดยคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2557 ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปี ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 25,000 ล้านบาท

สำหรับแนวเส้นทางโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นแนวเส้นทางรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา มีระยะทางประมาณ 18.3 กิโลเมตร โดยมีพื้นที่ดำเนินโครงการฯ ตามแนวถนนบางนา-ตราด ผ่านพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 4 แห่ง ได้แก่

องค์การบริหารส่วนตำบลบางแก้ว
องค์การบริหารส่วนตำบลราชาเทวะ
องค์การบริหารส่วนตำบลบางพลีใหญ่ และ
องค์การบริหารส่วนตำบลบางโฉลง

เพื่อรองรับการขนส่งมวลชนเชื่อมต่อกับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในส่วนต่อขยายที่ 2 ด้านทิศใต้ โดยแนวเส้นทางวิ่งเริ่มจากจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้า BTS สถานีบางนา และอุดมสุข ผ่านศูนย์ประชุมแห่งชาติไบเทค ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลบางนา ตัดผ่านถนนศรีนครินทร์ ตัดผ่านวงแหวนกาญจนาภิเษกด้านตะวันออก ถนนวัดกิ่งแก้ว ในช่วงต้น แนวเส้นทางจะหยุดที่บริเวณธนาซิตี้ เมื่อมีการเปิดให้บริการสนามบินสุวรรณภูมิด้านใต้จึงทำส่วนต่อขยายโดยเลี้ยวซ้ายเข้าทางสนามบินสุวรรณภูมิด้านใต้สุดเส้นทางที่สนามบินสุวรรณภูมิ มีสถานีหลัก 12 สถานี และส่วนต่อขยายอีก 2 สถานี รูปแบบโครงสร้างเป็นโครงสร้างยกระดับตลอดทั้งสาย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47497
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/08/2012 5:59 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.ดันรถไฟฟ้า 200 กม.ปี 62 ผู้โดยสาร 3 ล้านคน/วัน,ร่วมกคช.ผุดบ้านตามเส้นทาง
ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 20 สิงหาคม 2555 16:58:06 น.

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เร่งเครื่องสร้างรถไฟฟ้าเพิ่มเป็น 200 กม.จาก 20 กม.ในปัจจุบันให้แล้วเสร็จในปี 58 และเปิดให้บริการครบปี 62 ใช้เงินลงทุนมากกว่า 6 แสนล้านบาท คาดจะมีผู้โดยสารเข้าระบบราว 3 ล้านคน/วัน หลังวิ่งรถไฟฟ้าครบ 10 สาย พร้อมร่วมมือกับการเคหะแห่งชาติ(กคช.)ผุดโครงการที่อยู่อาศัยตามแนวเส้นทาง เบื้องต้นมองที่ลำลูกกา, หัวหมาก และมีนบุรี ราว 1.5 แสนยูนิต

นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการ รฟม.คาดว่า ภายในปี 62 จะมีการเดินทางรถไฟฟ้า 10 เส้นทางภายในปี 62 และจะทำให้มีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเป็น 3 ล้านคน/วัน จากปัจจุบันที่ บมจ.รถไฟฟ้ากรุงเทพ(BMCL)เดินรถ 20 กม. มีจำนวนผู้โดยสารกว่า 2 แสนคน/วัน และจะทำให้โครงการคุ้มทุนได้เร็วขึ้น

ในส่วน รฟม.รับผิดชอบ 6 เส้นทาง ที่ต้องใช้งบลงทุนกว่า 6 แสนล้านบาทจากเส้นทางปัจจุบันที่ลงทุนไปประมาณ 1 แสนล้านบาท โดยระยะทางเพิ่มขึ้นเป็น 200 กม. หรือภารกิจของ รฟม.จะทำมากขึ้น 10 เท่า ใช้เงินลงทุนเพิ่มขึ้น 6 เท่า โดยในช่วง 20 ปีของ รฟม.มีรถไฟฟ้าให้บริการเพียง 1 เส้นทางเท่านั้น นอกจากนี้ รฟม.จะแสวงหารายได้จากอสังหาริมทรัพย์ โดยจะหารูปแบบให้เอกชนเข้ามาร่วมมือมากขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นลักษณะร่วมพัฒนาบนที่ดินของ รฟม.

อนึ่ง รถไฟฟ้า 6 เส้นทางที่อยู่ในความรับผิดชอบของรฟม.นอกเหนือเส้นทางปัจจุบัน ได้แก่
1) สายสีน้ำเงินส่วนต่อขาย ช่วงหัวลำโพง-บางแคและช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง 27 กม.
2) สายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ระยะทาง 23 กม. ทั้งสองสายอยู่ระหว่างการก่อสร้าง
3) สายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี
4) สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี
5)สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง และ
6) สายสีเขียวเข้ม ช่วงลำลูกกา-สมุทรปราการ
โดยทั้ง 4 เส้นทางยังไม่ได้ก่อสร้าง

ด้านนายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ประธานกรรมการ กคช. กล่าวว่า กคช.จะร่วมมือกับ รฟม. และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)ในการสร้างโครงการที่อยู่อาศัยตามแนวรถไฟฟ้า เน้นที่อยู่นอกเมืองและราคาไม่แพงเพื่อขนส่งประชาชนเข้าเมืองง่ายขึ้น เบื้องต้นที่เล็งพื้นที่โครงการได้แก่ ลำลูกกา ซึ่งอยู่ในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเชียว ช่วงลำลูกกา - สมุทรปราการ , รามคำแหง บางกะปิ อยู่ในแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม และ มีนบุรี ที่อยู่ในแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู

กคช.คาดว่าจะสร้างที่อยู่อาศัยได้ประมาณ 1.5 แสนยูนิต เพื่อรองรับประชาชนที่ปัจจุบันบุกรุกแนวคูคลอง เช่น คลองเปรมประชากร คลองแสนแสบ และประชาชนที่อาศัยตามพื้นที่ฟลัดเวย์ให้ย้ายเข้ามาพักอาศัยในโครงการดังกล่าว โดยคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปีหน้า ที่อยู่อาศัยจะอยู่ห่างจากแนวรถไฟฟ้า 5-10 กม.ราคาประมาณ 6 แสนบาทต่อยูนิต

นายสุชัชวีร์ กล่าวว่า การเริ่มโครงการช้ามองเป็นโอกาสให้มีการออกแบบสถานีแต่ละเส้นทาง หรือจุดขึ้นลงให้ใกล้กับโครงการที่อยู่อาศัยที่การเคหะฯร่วมกับรฟม.

ส่วนนายณรงค์ ป้อมหลักทอง นักวิชาการ จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย( TDRI) กล่าวว่า รฟม.ไม่ควรเข้ามาเป็นผู้บริหารเดินรถเอง แต่ให้เป็นเพียงผู้กำกับดูแล เพราะจะสวนทางกับนโยบายในการเข้ามาเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐและเอกชน (the Public-Private Partnership Program:PPP )ที่เปิดให้เอกชนเข้ามาดำเนินการ

ขณะเดียวกัน รฟม.ต้องมีความรู้เทคโนโลยี และการซ่อมบำรุงเพื่อประเมินต้นทุนของเอกชนได้ถูกต้อง รวมทั้งต้องไม่ให้ใช้เทคโนโลยีใดเทคโนยีหนึ่งในการบริหารการเดินรถไฟฟ้า ควรจะเป็นระบบเปิดให้เชื่อมโยงต่อกับทุกระบบได้ ขณะที่ราคาค่าโดยสารแล้วแต่ รฟม.ต้องการจะกำหนดเท่าไร จะให้เป็น 10 หรือ 20 บาทก็ย่อมได้ แต่ต้องตอบได้ถึงความเหมาะสมเพราะใช้เงินจากงบประมาณมาอุดหนุน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47497
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/08/2012 8:55 pm    Post subject: Reply with quote

ทีดีอาร์ไอ หนุนรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย
ไทยรัฐออนไลน์ 20 สิงหาคม 2555, 20:10 น.

ทีดีอาร์ไอ หนุน รัฐบาลทำค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย โดยส่วนต่างของค่าโดยสารรัฐจะต้องเข้าไปชดเชย ชี้โครงการรถคันแรก ถือเป็นนโยบายขัดแย้งกับโครงการดังกล่าวอย่างสิ้นเชิง...

เมื่อวันที่ 20 ส.ค. การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้จัดสัมมนาวิชาการ เรื่อง ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกับการพัฒนาประเทศ เนื่องในโอกาสวันคล้ายการก่อตั้ง รฟม.ครบ 20 ปี โดยมีนักวิชาการจากหลายๆ สถาบัน เข้าร่วมสัมมนา โดย นายณรงค์ ป้อมหลักทอง นักวิชาการจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ได้บรรยายเรื่องระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ความฝัน ความหวัง และอนาคตประเทศไทย ว่า ทีดีอาร์ไอเห็นด้วยที่รัฐบาลจะผลักดันโครงข่ายรถไฟฟ้าและเก็บค่า โดยสาร 20 บาทตลอดสาย ซึ่งแม้ว่าหลายฝ่ายจะมองว่านโยบายดังกล่าวเป็นการประชานิยม แต่ความเป็นจริง เมื่อฝ่ายการเมืองเข้ามาบริหารประเทศ ก็มีเป้าหมายชัดเจนที่ได้รับความยอมรับจากประชาชนที่เลือกตั้งมาอยู่แล้ว

ทั้งนี้ สิ่งสำคัญคือเรื่องการกำหนดค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย โดยส่วนต่างของค่าโดยสารของแต่ละคนที่รัฐบาลเข้าไปชดเชยนั้น ในต่างประเทศมีการดำเนินการเช่นเดียวกัน เช่น นอร์เวย์ รัฐบาลเข้าไปชดเชยค่าโดยสารเกือบ 100% ทำให้ประชาชนใช้บริการระบบขนส่งมวลชนในราคาถูกมาก ขณะที่อังกฤษก็มีการชดเชยร้อยละ 50 อย่างไรก็ตาม ในทางวิชาการเห็นว่า หากรัฐบาลจะผลักดันโครงการให้กับประชาชน ก็ต้องผสมผสานในหลายนโยบาย ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยส่วนตัวเห็นว่ามีหลายโครงการ เช่น โครงการรถยนต์คันแรก ซึ่งทำให้มีผู้ซื้อรถยนต์มากขึ้น ไม่สนับสนุนคนให้ใช้บริการขนส่งมวลชน ถือเป็นนโยบายขัดแย้งกับการที่รัฐบาลพยายามสร้างโครงข่ายรถไฟฟ้าและจูงใจให้มีผู้ใช้บริการมากขึ้น

นอกจากนี้ ยังเห็นด้วยที่รัฐบาลจะเร่งขยายโครงข่ายรถไฟฟ้า 10 เส้นทาง ให้ครอบคลุมพื้นที่ กทม.และปริมณฑล เนื่องจากเมืองไทยเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ก็จะมีการเคลื่อนย้ายการลงทุน การค้ามากขึ้น ซึ่งการแก้ปัญหาจราจรถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะจูงใจให้มีผู้ลงทุนในประเทศ ขณะเดียวกัน การสร้างให้เมืองหลวงมีระบบขนส่งมวลชนที่ดี ก็จะสร้างคุณภาพชีวิตที่มีคุณค่า ทำให้ประชาชนได้รับบริการที่ดีขึ้น

ขณะที่ นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และประธานบอร์ดการเคหะแห่งชาติ กล่าวว่า เร็วๆ นี้ฝ่ายบริการของ กคช. จะหารือกับประธานบอร์ด รฟม. และการรถไฟแห่ง ประเทศไทย เพื่อผลักดันโครงการตามนโยบายรัฐบาล ที่จะจัดหาที่อยู่อาศัยใหม่ให้ประชาชนที่เข้าไปบุกรุกพื้นที่แนวชายคลองและ แม่น้ำต่างๆ ซึ่งขณะนี้มีกว่า 150,000 ครัวเรือน ซึ่งการหารือกันนั้นเพื่อผลักดันให้ กคช. ไปจัดสร้างที่อยู่อาศัยตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าให้ประชาชนกลุ่มดังกล่าว ซึ่งขณะนี้มีความเป็นไปได้ที่รถไฟฟ้าหลายเส้นทาง ทั้งสีเขียวที่จะมีส่วนต่อขยายไปลำลูกกา สายสีส้มและสายสีชมพู ซึ่งจะมีกลุ่มผู้ใช้บริการที่ชัดเจน.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44090
Location: NECTEC

PostPosted: 21/08/2012 6:05 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.เชื่อรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายใช้ได้ภายใน 2 ปี

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 21 สิงหาคม 2555 13:18 น.

นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการผลักดันราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ตามนโยบายรัฐบาลว่า รฟม.ได้เริ่มทำงานและเจรจากับคู่สัญญาเดินรถ คือ บริษัทรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีเอ็มซีแอลบ้างแล้ว ตามแผนงานการเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย น่าจะสามารถนำมาใช้ได้ภายใน 2 ปีข้างหน้าหรือปี 2557 ระหว่างนี้ รฟม.จะเดินหน้าเจรจาเพื่อให้บรรลุผลทั้งกับบีเอ็มซีแอล และบีทีเอส

ส่วนสาเหตุสำคัญที่ต้องรออีก 2 ปีข้างหน้า จึงจะเก็บค่าโดยสารอัตราดังกล่าว นายยงสิทธิ์ กล่าวว่า เนื่องจากหากมีการเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย เชื่อว่าจะทำให้ปริมาณผู้ใช้รถไฟฟ้าสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อถึงเวลาดังกล่าวต้องมีปริมาณรถเพียงพอต่อความต้องการของผู้โดยสาร ปัจจุบันบีเอ็มซีแอล มีรถไฟฟ้าใช้หมุนเวียนในระบบ 19 คัน โดยเชื่อว่าต้องเพิ่มอย่างน้อย 1 เท่าตัว เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้งานในช่วงเวลาดังกล่าว

นายยงสิทธิ์ กล่าวว่า ในส่วนของ รฟม.ยืนยันว่า หลังจากนี้จะเร่งพัฒนาขยายโครงข่ายรถไฟฟ้าต่อเนื่อง ซึ่งตามแผนงาน รฟม. มีโครงการรับผิดชอบทั้งส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน และรถไฟฟ้าสีม่วง ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้าง

นอกจากนี้ ยังมีโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายไปบางคูวัด สายสีส้มบางกะปิ-บางบำหรุ สายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง และสายสีชมพู มีนบุรี-ติวานนท์ ซึ่งทั้งหมดจะใช้งบประมาณในการลงทุนประมาณ 500,000 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการรวม 6-7 ปี ประเทศไทยจะมีโครงข่ายรถไฟฟ้าใช้มากกว่า 200 กิโลเมตร เช่นเดียวกับเมืองใหญ่ๆ ที่มีการนำระบบรถไฟฟ้ามาเป็นขนส่งมวลชนหลัก ส่วนบทบาทในอนาคตนั้น รฟม.ควรจะเป็นผู้บริหารการเดินรถเอง เนื่องจากจะสามารถเป็นองค์กรจัดหารายได้ด้วยตนเองและนำรายได้มาขยายการลงทุน โดยไม่ต้องพึ่งงบประมาณภาครัฐอย่างเดียว

นายยงสิทธิ์ กล่าวถึงความล่าช้าในการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสายสีน้ำเงิน เนื่องจากปัญหาอุทกภัยในช่วงที่ผ่านมานั้นว่า รัฐบาลเตรียมเยียวยาโดยเฉพาะการขยายกรอบระยะเวลาก่อสร้างตามสัญญาให้เอกชนที่รับงานก่อสร้าง แต่ต้องหยุดงานก่อสร้างช่วงน้ำท่วมโดยการขยายกรอบและระยะเวลานี้จะไม่เกิน 180 วัน ซึ่งต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง

//---------------------------------------------

รฟม.คาดต้นปี 2557 เก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าMRT 20 บาทตลอดสาย
มติชน วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555 เวลา 23:39:50 น.


นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่ากาการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)กล่าวว่า ภายในต้นปี 2557 จะเริ่มเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายสำหรับรถไฟฟ้าใต้ดิน หรือMRT ที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน ขณะนี้ รฟม.ได้หารือกับ บมจ. รถไฟฟ้ากรุงเทพ (BMCL) ผู้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้า MRT แล้วโดยรฟม.จะชดเชยรายได้ให้บีเอ็มซีแอล หากพบว่าภายหลังการลดค่าโดยสารทำให้ BMCL มีรายได้จากค่าโดยสารลดลงจากปัจจุบันปีละ 1,000 ล้านบาท เบื้องต้นอาจจะนำเงินจากค่าสัมปทานที่รฟม.จะได้รับจาก BMCL มาชดเชยรายได้


ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อนั้น คาดว่าจะเริ่มเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายได้ภายในปี 2558 และในปี 2562 จะเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายได้ครบทั้ง 10 สาย ตามนโยบายที่รัฐบาลประกาศไว้

//-----------------------------------------

รฟม.คาดต้นปี 57 เก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย ชดเชย BMCL ปีละ 1 พันลบ.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
24 สิงหาคม 2555 เวลา 18:40:37 น.


นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่ากาการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)กล่าวว่า ภายในต้นปี 2557 จะเริ่มเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายสำหรับรถไฟฟ้า MRT ที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน ขณะนี้ รฟม.ได้หารือกับ บมจ. รถไฟฟ้ากรุงเทพ (BMCL) ผู้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้า MRT แล้ว

รฟม.จะชดเชยรายได้ให้บีเอ็มซีแอล หากพบว่าภายหลังการลดค่าโดยสารทำให้ BMCL มีรายได้จากค่าโดยสารลดลงจากปัจจุบันปีละ 1,000 ล้านบาท เบื้องต้นอาจจะนำเงินจากค่าสัมปทานที่รฟม.จะได้รับจาก BMCL มาชดเชยรายได้
ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อนั้น คาดว่าจะเริ่มเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายได้ภายในปี 2558 และในปี 2562 จะเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายได้ครบทั้ง 10 สาย ตามนโยบายที่รัฐบาลประกาศนโยบายไว้

ขณะที่ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมช.คมนาคม กล่าวภายหลัง นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเป็นประธานพิธีเริ่มเดินเครื่องหัวเจาะอุโมงค์โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ ว่า นายกรัฐมนตรีกำชับให้กระทรวงคมนาคมเร่งดำเนินนโยบายค่ารถโดยสารไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ในเส้นทางที่มีความพร้อมก่อน โดยไม่ต้องรอโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างให้แล้วเสร็จ

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคม ตั้งเป้าภายในเดือน ก.ย.นี้ จะเริ่มจัดเก็บค่าโดยสารโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง หรือแอร์พอร์ตเรลลิงค์ ในอัตรา 20 บาทตลอดสาย เฉพาะช่วงเวลา 10.00-16.00 น.

สาเหตุที่เก็บอัตราค่าโดยสารเฉพาะช่วงเวลา เนื่องจากต้องการเพิ่มปริมาณผู้โดยสารในช่วงนอกเวลาเร่งด่วน ส่วนเวลาเร่งด่วนเวลา 06.00-09.00 น. พบว่าปริมาณผู้โดยสารสูงกว่าความจุของรถไฟฟ้าแล้ว โดยคาดว่าเมื่อจัดเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย จะทำให้ปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้นประมาณ 15% โดยปัจจุบันมีค่าโดยสาร 15-40 บาท

//----------------------------------------------------------------

รฟม.เล็งจับมือการเคหะฯ ตั้งบริษัทลูกสร้างที่อยู่ตามแนวรถไฟฟ้า

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 20 สิงหาคม 2555 23:54 น.


รฟม.เดินหน้าแก้ระเบียบปลดล็อก ห้ามพัฒนาเชิงพาณิชย์ หวังเพิ่มรายได้สร้างกำไร เตรียมจับมือ ร.ฟ.ท.และการเคหะฯ ตั้งบริษัทลูกผุดที่อยู่ตามแนวรถไฟฟ้าสีเขียว, ชมพู และส้ม เพิ่มผู้โดยสารเข้าระบบ “ยงสิทธิ์” เผยผู้โดยสารรถใต้ดินยังต่ำเป้าเหตุโครงข่ายไม่ครอบคลุม ยันอีก 8 ปีเพิ่มอีก 200 กม.แน่

นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนาวิชาการเรื่องระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกับการพัฒนาประเทศ วานนี้ (20 ส.ค.) ว่า การพัฒนารถไฟฟ้าของ รฟม.ในอนาคตจะมุ่งเน้นการเพิ่มรายได้และสร้างกำไร โดยการพัฒนาเชิงธุรกิจ ทั้งเรื่องของสินค้าและการโฆษณาให้เข้ามามากขึ้น เพื่อลดภาระต้นทุนไม่ต้องรอให้สร้างรถไฟฟ้าทั้ง 10 สายทั้งหมด ซึ่งจะต้องมีการปรับแก้กฎหมายเพื่อให้ รฟม.สามารถนำพื้นที่มาพัฒนาในเชิงพาณิชย์ได้ ในขณะที่จำนวนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินประมาณ 2 แสนคนต่อวัน ยังต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ที่จะต้องมีผู้ใช้บริการ 4-5 แสนคนต่อวัน ทั้งนี้ ประชาชนยังปรับตัวช้า ประกอบกับโครงข่ายรถไฟฟ้าไม่ครอบคลุม โดย 20 ปีมีเพียง 2 สาย คือ รถไฟฟ้าใต้ดิน และรถไฟฟ้าบีทีเอส ระยะทางรวมประมาณ 50 กิโลเมตรเท่านั้น

ทั้งนี้ ตามแผนจะมีการก่อสร้างรถไฟฟ้าอีก 6 เส้นทาง ระยะทาง 200 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 6 แสนล้านบาท โครงข่ายจะเพิ่มเป็น 10 เท่า ซึ่งจะเปิดให้บริการในปี 2562 รวมระยะเวลา 4 ปี การเดินทางของคนกรุงเทพฯ จะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจจะถึง 50% การเปิดให้บริการ 20 บาทตลอดสาย ก็ทำให้โครงสร้างรายได้คุ้มทุนได้แต่รัฐบาลจะต้องใช้งบอุดหนุนเป็นจำนวนมหาศาล จำเป็นต้องแก้ระเบียบเพื่อให้นำพื้นที่ 1,000 ไร่มาพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด จากปัจจุบันเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงอย่างเดียว

นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง กล่าวว่า การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนจะต้องควบคุมไปกับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์โดยออกแบบให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น รฟม. การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และการเคหะแห่งชาติ จะร่วมกันตั้งเป็นบริษัทลูกมาบริหารจัดการด้านที่อยู่อาศัย โดยพิจารณาจัดหาพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า เช่น สายสีเขียว บริเวณลำลูกกา สายสีชมพู มีนบุรี สายสีส้ม บางกะปิ ซึ่งแนวทางดังกล่าวขณะนี้ได้ทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันแล้ว ตามนโยบายของรัฐบาลในการย้ายผู้บุกรุกริมคลองประมาณ 150,000 รายออกจากพื้นที่เพื่อเปิดทางระบายน้ำ

ด้านนายสมพงษ์ จิรบันดาลสุข หัวหน้าฝ่ายวางผังพัฒนาพื้นที่ด้านตะวันตก สำนักผังเมือง กทม. กล่าวว่า ร่างผังเมืองรวม กทม.ฉบับใหม่ที่อยู่ระหว่างการจัดทำรายละเอียดก่อนประกาศใช้ ได้มีการพิจารณาการใช้พื้นที่รองรับการขยายเส้นทางรถไฟฟ้าไว้แล้ว และยังกำหนดการใช้พื้นที่ในส่วนต่างๆ ให้เกิดความสมดุลของที่อยู่อาศัยและแรงงาน เปิดโอกาสให้สามารถก่อสร้างโรงงาน หรือออฟฟิศ หรือพื้นที่ธุรกิจต่างๆ นอกเมืองได้ แต่ยังคงพื้นที่เกษตรกรรมรักษาพื้นที่ระบายน้ำไว้เพื่อลดความหนาแน่นการเดินทางเข้าเมืองช่วงเช้า ทำให้พื้นที่ย่านมีนบุรี วงเวียนใหญ่ และอ่อนนุชเป็นพื้นที่สีแดงมากขึ้น

ขณะที่พื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าสามารถก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยได้ในระยะ 500 ม.จากชานชาลาสถานี แต่เดิมกำหนดไว้ 500 ม.จากจุดกึ่งกลางสถานี และหากเป็นสถานีใหญ่ที่มีอาคารจอดแล้วจร จะสามารถสร้างอาคารได้ใหญ่ขึ้นกว่าสถานีทั่วไปอีก 20% นอกจากนี้ยังมีการวางผังคมนาคมเพิ่มขึ้นจากผังเมืองรวมฉบับก่อน โดยกำหนดให้ซอยต่างๆ มีความกว้างเป็นมาตรฐานมากขึ้น อย่างน้อยต้องไม่น้อยกว่า 12 ม. โดยห้ามสร้างอะไรล้ำแนวเด็ดขาด เพื่อให้การเดินทางออกจากซอยไปขึ้นรถไฟฟ้าได้สะดวกรวดเร็ว
//---------------------------------------------------------
^^^^
เห็นข่าวนี่รู้แต่ว่าขนาด สยามธุรกิจที่เป็นปากกระบอกเสียงรัฐบาลก็แจกกล้วยให้ รฟม. ในนโยบายเอาที่ดินรฟม. ไปพัฒนาในเชิงพาณิชย์ ดังกล่าว นี่ถ้ารู้ว่า รัฐบาลรู้เห็นเป็นใจด้วยแล้ว ชะรอบ สยามธุรกิจ ต้องขอให้รัฐบาลจ่ายค่าโฆษณาเพิ่ม แลกกะการเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ ไม่งั้น จะแจกกล้วยให้รัฐบาลด้วย


Last edited by Wisarut on 25/08/2012 3:29 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47497
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/08/2012 5:01 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมเปิดแผนลงทุนปี 56-63 กว่า 1.9 ล้านลบ. เน้นพัฒนาขนส่งระบบราง
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 23 ส.ค. 2555 เวลา 16:30:50 น.

นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.คมนาคม กล่าวบรรยายพิเศษหัวข้อ "เปิดแผนการลงทุนโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน" ว่า แผนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทั้งการพัฒนาระบบการคมนาคม ทางบก น้ำ และอากาศ ภายใต้งบประมาณ 1.9 ล้านล้านบาท ตั้งแต่ปี 56-63 จะมุ่งเน้นการขนส่งทางรางสูงสุด 65%, ทางน้ำ 6.51%, ทางอากาศ 4.24% ส่วนการลงทุนทางถนนอยู่ที่ 24.2% โดยรัฐบาลให้ความสำคัญกับการลงทุนระบบรางมากที่สุด

ทั้งนี้ รัฐบาลจะเร่งดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทางทั่วประเทศ รวมทั้งรถไฟรางคู่เพื่อลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์จากปัจจุบันต้นทุนโลจิสติกส์ทั้งหมดอยู่ที่ 15.2% โดยกระทรวงคมนาคมมีเป้าหมายจะลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ให้เหลือที่ 5% ภายใน 4 ปี โดยมุ่งหวังว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงจะช่วยลดระยะเวลาการขนส่งและการเดินทางได้มากขึ้น

ส่วนแผนการลงทุนรถไฟฟ้า 10 เส้นทาง ระยะทาง 464 กิโลเมตรนั้น ภายในสิ้นปีนี้คาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ก่อน 3 เส้นทาง นอกจากนี้จะเร่งปรับปรุงรางรถไฟทั่วประเทศ หลังจากที่มีอุบัติเหตุรถไฟตกราง ซึ่งขณะนี้กระทรวงคมนาคมกำลังเร่งดำเนินการเปลี่ยนไม้หมอนรางรถไฟทั่วประเทศทั้งหมดที่มีระยะทาง 4,000 กิโลเมตร โดยจะทยอยเปลี่ยนเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ

สำหรับโครงการลงทุนทางอากาศนั้น รัฐบาลจะเร่งขยายสนามบินสุวรรณภูมิเฟส 2 วงเงิน 62,500 ล้านบาท เพื่อรองรับปริมาณผู้โดยสารจาก 45 ล้านคนเป็น 60 ล้านคน การสร้างรันเวย์ที่ 3 วงเงิน 13,800 ล้านบาท การขยายอาคารผู้โดยสารหลักด้านทิศตะวันออก การก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินรอง และงานระบบสาธารณูปโภค, การปรับปรุงการใช้ประโยชน์สนามบินดอนเมือง 3,200 ล้านบาท และการพัฒนาระบบบริการการเดินอากาศ

ขณะที่โครงการลงทุนทางน้ำ จะเร่งพัฒนาท่าเรือน้ำลึกซึ่งจะมีการจัดหาท่าเรือเพิ่มเติมบริเวณจังหวัดสงขลา แต่ยังไม่ได้ระบุสถานที่แน่ชัดว่าจะที่ใด ส่วนท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังจะเร่งพัฒนาในเฟส 1 และเฟส 2 ให้มีขีดความสามารถและเพิ่มประสิทธิภาพอย่างเต็มที่
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47497
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/08/2012 5:55 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.คาดต้นปี 57 เก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย ชดเชย BMCL ปีละ 1 พันลบ.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 24 ส.ค. 2555 เวลา 18:40:37 น.

นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)กล่าวว่า ภายในต้นปี 2557 จะเริ่มเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายสำหรับรถไฟฟ้า MRT ที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน ขณะนี้ รฟม.ได้หารือกับ บมจ. รถไฟฟ้ากรุงเทพ (BMCL) ผู้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้า MRT แล้ว

รฟม.จะชดเชยรายได้ให้บีเอ็มซีแอล หากพบว่าภายหลังการลดค่าโดยสารทำให้ BMCL มีรายได้จากค่าโดยสารลดลงจากปัจจุบันปีละ 1,000 ล้านบาท เบื้องต้นอาจจะนำเงินจากค่าสัมปทานที่รฟม.จะได้รับจาก BMCL มาชดเชยรายได้
ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อนั้น คาดว่าจะเริ่มเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายได้ภายในปี 2558 และในปี 2562 จะเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายได้ครบทั้ง 10 สาย ตามนโยบายที่รัฐบาลประกาศนโยบายไว้

ขณะที่ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมช.คมนาคม กล่าวภายหลัง นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเป็นประธานพิธีเริ่มเดินเครื่องหัวเจาะอุโมงค์โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ ว่า นายกรัฐมนตรีกำชับให้กระทรวงคมนาคมเร่งดำเนินนโยบายค่ารถโดยสารไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ในเส้นทางที่มีความพร้อมก่อน โดยไม่ต้องรอโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างให้แล้วเสร็จ

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคม ตั้งเป้าภายในเดือน ก.ย.นี้ จะเริ่มจัดเก็บค่าโดยสารโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง หรือแอร์พอร์ตเรลลิงค์ ในอัตรา 20 บาทตลอดสาย เฉพาะช่วงเวลา 10.00-16.00 น.

สาเหตุที่เก็บอัตราค่าโดยสารเฉพาะช่วงเวลา เนื่องจากต้องการเพิ่มปริมาณผู้โดยสารในช่วงนอกเวลาเร่งด่วน ส่วนเวลาเร่งด่วนเวลา 06.00-09.00 น. พบว่าปริมาณผู้โดยสารสูงกว่าความจุของรถไฟฟ้าแล้ว โดยคาดว่าเมื่อจัดเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย จะทำให้ปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้นประมาณ 15% โดยปัจจุบันมีค่าโดยสาร 15-40 บาท

ที่มา : อินโฟเควสท์


Last edited by Mongwin on 26/08/2012 9:13 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44090
Location: NECTEC

PostPosted: 25/08/2012 9:22 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.เจรจา BMCL เก็บ 20 บ.รถใต้ดินนำร่อง ใช้ค่าสัมปทานชดเชยส่วนต่างไม่รอครบ 10 สาย

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 24 สิงหาคม 2555 18:09 น.



“ยิ่งลักษณ์” กดปุ่มเดินเครื่องหัวเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-บางแค) รฟม.เร่งสปีดดันเปิดเดินรถปี 60 ได้ตามแผน หลังงานยังล่าช้ากว่าแผนกว่า 3% “ยงสิทธิ์” ชี้โครงข่ายจะเป็นวงกลมช่วยผู้โดยสารเป็น 1 ล้านคนต่อวัน ครบ 10 สายทะลุ 5ล้านคนต่อวัน เผยเตรียมเจรจาBMCL ชดเชยส่วนต่างรายได้เร่งเก็บ 20 บาทตลอดสายรถไฟใต้ดินสายแรกนำร่อง ไม่รอครบ 10 สาย

เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานเริ่มเดินเครื่องหัวเจาะอุโมงค์ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ บริเวณสถานีรถไฟฟ้าหัวลำโพง ซึ่งเป็นการก่อสร้างเส้นทางใต้ดิน สัญญาที่ 1 ช่วงหัวลำโพง-สนามไชย (งานออกแบบควบคู่การก่อสร้าง) มีบริษัท อิตาเลียน-ไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD เป็นผู้รับเหมา วงเงิน 11,441,075,580 บาท

นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายได้เริ่มก่อสร้างตั้งแต่เดือนเมษายน 2554 โดยงานโยธามีความคืบหน้า 21.62 % โดยแผนงานกำหนดไว้ที่ 25.11% จึงล่าช้ากว่าแผน 3.48% ซึ่งจะเร่งการก่อสร้างเพื่อเปิดเดินรถให้ได้ตามที่แผนแม่บทกำหนด ในปี 2560 โดยในส่วนของการขุดเจาะและก่อสร้างอุโมงค์จะใช้เวลาประมาณ 2 ปี แล้วเสร็จในปลายปี 2557 โดยจะสามารถขุดเจาะได้วันละ 10-15 เมตร รวมเนื้อดินทั้งหมด 4 แสนคิว หลังจากนั้นจะเป็นการก่อสร้างสถานี วางราง ติดตั้งระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้า

ทั้งนี้ โครงการช่วงดังกล่าวจะต่อเชื่อมกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ (สายเฉลิมมหานคร) ที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบันเป็นวงกลม ซึ่งจะส่งผลให้การเดินทางมีความสะดวกมากขึ้นเช่นเดียวกับเมืองใหญ่ เช่น ลอนดอน โตเกียว ที่โครงข่ายรถไฟฟ้าเป็นวงกลม และคาดว่าเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการจำนวนผู้โดยสารรถไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นจาก 2 เสนคนต่อวันในปัจจุบันเป็น 1 ล้านคนต่อวัน โดยมีโครงข่ายรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) เป็นตัวป้อนผู้โดยสารเข้าระบบด้วย และหาก รฟม.ดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าในส่วนที่รับผิดชอบครบ 6 สาย (สีน้ำเงิน, สีม่วง, สีเขียว, สีชมพู, สีเหลือง, สีส้ม) ในปี 2562 ผู้โดยสารจะเพิ่มเป็น 3 ล้านคนต่อวัน ซึ่งสายสีชมพู ช่วงมีนบุรี-แคราย คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ต้นปี2556 แล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการได้ในปี 2561 เป็นต้น และหากรวมรถไฟฟ้าที่อยู่ในความรับผิดชอบของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ซึ่งจะครบ 10 สายผู้โดยสารรถไฟฟ้ารวมจะเป็น 10 ล้านคนต่อวัน

“การเจาะอุโมงค์จะดำเนินการได้ทันที เพราะปัญหาสถานีวัดมังกรได้เจรจากับประชาชนได้ข้อยุติแล้ว อยู่ในขั้นตอนการรื้อถอนและจ่ายค่าชดเชย โดยคาดว่าจะส่งมอบพื้นที่ให้ ITD ได้ภายใน 1 เดือน โดยการรื้อย้านสาธารณูปโภคบริเวณวัดมังกรและสถานีวังบูรพา งานขุดดินในพื้นที่ Cut &Cover เป็นงานก่อสร้างที่สำคัญในการเตรียมสำหรับการขุดเจาะอุโมงค์ที่สถานีหัวลำโพง” นางยงสิทธิ์กล่าว


เจรจา BMCL ชดเชยส่วนต่าง เร่งเก็บ 20 บาทรถไฟฟ้าใต้ดินปี 57

นายยงสิทธิ์กล่าวว่า การจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายนั้น คาดว่าจะดำเนินการได้ในปี 2557 ซึ่งเร็วกว่าเดิมที่คาดว่าจะต้องรอให้เปิดเดินรถสายสีม่วงปี 2558 หรือรอให้ครบ 10 สายก่อนจึงจะดำเนินการได้ โดยจะมีการเจรจากับบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BMCL เพื่อเริ่มใช้กับรถไฟฟ้าใต้ดินก่อน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการประเมินจำนวนผู้โดยสารที่จะเพิ่มขึ้นหากมีการจัดเก็บค่าโดยสาร 20 บาท และประเมินรายได้เพื่อเปรียบเทียบกับรายได้ที่ BMCL ในฐานะผู้รับสัมปทานประเมินไว้ในสัญญา ซึ่งหากต่ำกว่าที่ประเมินรัฐจะต้องชดเชยส่วนต่าง แต่หากสูงกว่าจะไม่มีการชดเชย นอกจากนี้จำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นจะต้องนำมาประเมินเพื่อจัดหาขบวนรถเพิ่มเพื่อรองรับการให้บริการด้วยโดยจะสรุปให้ได้ภายในสิ้นปี 2555

โดยปัจจุบัน BMCL มีรายได้ประมาณ 2,000 ล้านบาทต่อปี มีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 5% ต่อปี ส่วนแนวทางการชดเชยอาจจะใช้วิธีหักค่าสัมปทานที่ รฟม.จะได้รับ BMCL ในปีที่ 11 ( ปี 2558) ของสัมปทานได้ เพื่อไม่ให้เป็นภาระต่องบประมาณ โดยคาดว่าในปีแรกผู้โดยสารจะเพิ่มประมาณ 20% ทำให้อา
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47497
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/08/2012 5:05 pm    Post subject: Reply with quote

"ยงยุทธ วิชัยดิษฐ" ประกาศ ค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาท ตลอดสาย ไม่ได้โม้ ได้เห็นแน่ !!!
มติชนออนไลน์ วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555 เวลา 14:59:02 น.

เมื่อไม่นานมานี้ นายวัชระ เพชรทอง ส.ส. ประชาธิปัตย์ ได้ยื่นกระทู้ถามรัฐบาล เรื่อง การควบคุมราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าในอัตรา ๒๐ บาท ตลอดสาย

นายวัชระ ทวงสัญญาว่า ตามที่รัฐบาลได้สัญญากับประชาชนว่าจะเก็บค่ารถไฟฟ้า ๒๐ บาท ตลอดสาย ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าเป็นประจำต่างคาดหวังเกี่ยวกับราคา ค่าโดยสารรถไฟฟ้าที่ประหยัดค่าใช้จ่าย เนื่องจากปัจจุบันมีค่าครองชีพที่สูงขึ้น ดังนั้น หากมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางประจำวันโดยรถไฟฟ้าที่สามารถควบคุมราคาได้ จะเป็นการส่งเสริมให้ประหยัดการใช้จ่าย ของประชาชนและช่วยลดปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง จึงขอเรียนถามว่า รัฐบาลจะควบคุมราคา ค่าโดยสารในราคา ๒๐ บาทตลอดสาย โดยมีมาตรการควบคุมหรือไม่และจะเริ่มดำเนินการเมื่อใด อย่างไร

ล่าสุด นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี ตอบกระทู้ว่า จากข้อมูลของกระทรวงคมนาคมทราบว่า ปัจจุบันกระทรวง ฯ อยู่ระหว่างศึกษา รายละเอียดในการดำเนินการ เพื่อควบคุมราคาค่าโดยสาร ๒๐ บาท ตลอดสาย ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับแผนการพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า ๑๐ สาย ระยะทางกว่า ๔๖๔ กิโลเมตร ของรัฐบาลโดยควรดำเนินงานเมื่อมีการเปิดให้บริการโครงข่ายของรัฐบาลเพิ่มเติมในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งจะสอดคล้องกับการใช้ระบบตั๋วร่วมบัตรเดียว โดยผ่านองค์กรกำกับดูแลเพื่อบริหารจัดการระบบ ศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง (Central Clearing House : CCH) เพื่อความสะดวกและลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชนต่อไป

ทั้งนี้ หน่วยงานให้บริการด้านรถไฟในสังกัดกระทรวงคมนาคมประกอบด้วยการรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ซึ่งให้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน และบริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ซึ่งให้บริการรถไฟฟ้า Airport Rail Link มีความพร้อมที่จะให้บริการตามนโยบายของรัฐบาล
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44090
Location: NECTEC

PostPosted: 28/08/2012 5:18 pm    Post subject: Reply with quote

^^^
อย่างเก่งก็ 20 บาทนอกเวลาเร่งด่วน (Non-Rush Hour) ท่าจะเป็นไปได้กระมัง ถ้าข้ามจังหวัด 1 ครั้งคิด 30 บาทและ ข้ามจังหวัด 2 ครั้ง คิด 40 บาทก็ยังพอทนนะ Embarassed Laughing แต่ที่ไม่น่าชื่นชมเห็นจะได้แก่ การบีบให้ รฟม. ตั้งบริษัทลูก จัดการเรื่องระบบตั๋ว 20 บาท ตามข่าวต่อไปนี้ครับ

//---------------------------------------------------------------------------

รื้อใหม่ลงทุนเดินรถไฟฟ้า10สาย สั่ง"รฟม."ตั้งบริษัทลูกบริหารเร่งผลงานตั๋ว20บาท

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์: 28 สิงหาคม 2555 เวลา 12:35:01 น.

นายศิลปชัย จารุเกษมรัตนะ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า มอบหมายให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กลับไปทบทวนแผนการลงทุนระบบเดินรถโครงการรถไฟฟ้า 10 สายทาง ให้สอดคล้องนโยบายของรัฐบาลในการจัดเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายทั้งระบบ จากเดิมรูปแบบ PPP Gross Cost โดยรัฐบาลจ่ายคืนเอกชนเป็นค่าจ้างรายปี เนื่องจากต้นทุนสูงและทำให้เป็นภาระรัฐบาลมากเกินไป

"รูปแบบใหม่อาจให้ รฟม.ตั้งบริษัทลูกมาลงทุนระบบ ตัวรถไฟฟ้า และบริหารจัดการเดินรถเอง วิธีเดิมที่เอกชนลงทุนจะคิดกำไรการคืนทุนอยู่ที่ 12.5% แต่ถ้ารัฐลงทุนเอง จะมีภาระต้นทุนการเงินต่ำกว่าเอกชน ซึ่งจะง่ายต่อการเก็บค่าโดยสารราคาถูก และผลักดันให้ระบบตั๋วร่วมเกิดได้เร็วขึ้น"



ทั้งนี้จากผลการวิเคราะห์ของ สนข. การดำเนินนโยบายเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายทั้งระบบ ยกเว้นรถไฟฟ้าบีทีเอส รายได้จากค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายจะครอบคลุมค่าใช้จ่ายในส่วนค่าบริหารจัดการเดินรถและซ่อมบำรุงเท่านั้น แต่ไม่ครอบคลุมค่าลงทุนงานระบบไฟฟ้า อาณัติสัญญาณ ตัวรถไฟฟ้า และค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย

ทั้งนี้หากจะเปิดให้เอกชนลงทุนรูปแบบ PPP เหมือนโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) และสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค) ที่ได้มีการว่าจ้างเอกชนลงทุนและเดินรถ ทำให้รัฐมีภาระเพิ่ม เพราะรัฐจะมีรายได้จากการจัดเก็บจากค่าโดยสารไม่เพียงพอต่อรายจ่ายที่ต้องจ้างเอกชน และส่งผลกระทบทำให้มีปัญหาขาดทุนจำนวนมาก

สำหรับความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง หรือไฮสปีดเทรน 4 สาย ล่าสุดได้หารือร่วมกับคณะทำงานจากประเทศจีนที่ศึกษาโครงการนำร่อง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ โดยหารือเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรค ตามแผนคาดว่าจะสรุปผลการศึกษาได้ในอีก 5 เดือนข้างหน้า

เมื่อถึงตอนนั้นจะได้ข้อสรุปในเรื่องรายละเอียดโครงการ การเวนคืน ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เงินลงทุน และการเปิดประมูลก่อสร้าง คาดว่าจะเริ่มประมูลได้ปลายปีหน้าเป็นต้นไป ส่วนจะเป็นสายไหนยังต้องรอดูผลการศึกษาที่สรุปออกมาก่อน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47497
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/08/2012 4:54 am    Post subject: Reply with quote

ภาพรวมโครงการรถไฟฟ้า 10 สายทาง
สำนักข่าวไทย วันอังคาร ที่ 28 ส.ค. 2555

อสมท 28 ส.ค.-ไปดูภาพรวมของโครงการรถไฟฟ้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายพัฒนาระบบรางเพื่อขนส่งมวลชนของรัฐบาลที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา รวมทั้งสิ้น 10 สายทาง และจะเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายทั้งระบบ



โครงการรถไฟฟ้า 10 สายทางที่เป็นนโยบายรัฐบาล จะมีระยะทางรวมกัน 464 กิโลเมตร โดยเชื่อมโยงตั้งแต่ใจกลางเมืองไปจนถึงจังหวัดรอบกรุงเทพฯ ด้วย ซึ่งแต่ละสายทางก็มีความคืบหน้าแตกต่างกันออกไป

รถไฟฟ้าที่เปิดบริการแล้ว ขณะนี้มี 3 โครงการระยะทางรวม 79.5 กิโลเมตร ได้แก่ รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดิน ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต ลิงค์ จากพญาไทไปถึงสนามบินสุวรรณภูมิ

ส่วนโครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ขณะนี้มี 5 โครงการ ระยะทาง 83 กิโลเมตร เช่น รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ซึ่งจะเปิดบริการในปีนี้ สายสีม่วง บางซื่อ-ตลิ่งชัน และสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค

ขณะที่โครงการที่อยู่ระหว่างประกวดราคา ทั้งงานโยธาและงานระบบรางรวมทั้งขบวนรถไฟฟ้ามี 1 โครงการ คือ สายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26 กิโลเมตร

ในปีนี้กระทรวงคมนาคมยังตั้งเป้าหมายจะเปิดประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าอีก 4 โครงการ ระยะทางรวม 54.2 กิโลเมตร อาทิ รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต ลิงค์ ส่วนต่อขยายเชื่อมสนามบินดอนเมืองกับสุวรรณภูมิ

และปีหน้ายังมีโครงการรถไฟฟ้าที่จะประกวดราคาอีก 6 โครงการ ระยะทางรวมกว่า 100 กิโลเมตร ทั้งสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-มักกะสัน สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าอีก 4 โครงการมีแผนจะประกวดราคาภายในปี 2557 ระยะทาง 62.7 กิโลเมตร มีทั้งสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ และสายสีส้ม ช่วงจรัญสนิทวงศ์-ศูนย์วัฒนธรรม

ขณะเดียวกันยังมีโครงการรถไฟฟ้าอีก 5 โครงการ ระยะทาง 53.6 กิโลเมตร ที่มีแผนจะต่อขยายโครงการเพื่อให้ครบ 464 กิโลเมตร อาทิ รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงหัวลำโพง-บางบอน และช่วงบางแค-พุทธมณฑล.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 56, 57, 58 ... 284, 285, 286  Next
Page 57 of 286

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©