RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312082
ทั่วไป:13685945
ทั้งหมด:13998027
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 58, 59, 60 ... 284, 285, 286  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44092
Location: NECTEC

PostPosted: 03/09/2012 10:03 am    Post subject: Reply with quote

ศึกษาขยายเส้นสายชมพู-ส้ม
ข่าวทั่วไทย - เดลินิวส์
วันจันทร์ที่ 3 กันยายน 2555 เวลา 08:23 น.

นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. ครั้งที่ผ่านมา บอร์ดมีมติให้ รฟม.ไปศึกษาขยายเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี และสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี โดยจะขยายทั้งสองเส้นออกไปทางมีนบุรี ด้านถนนสุวินทวงศ์ ถนนหทัยราษฎร์ ที่เริ่มมีการพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยมากขึ้น เพื่อให้มีจุดเชื่อมต่อใหม่ที่เหมาะสม เพิ่มปริมาณผู้โดยสารให้มากขึ้น ให้สามารถเดินทางได้สะดวกยิ่งขึ้น นอกจากนี้ในส่วนของสายสีชมพูยังมีปัญหาเรื่องสถานที่ก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง หรือเดปโป้ ที่เดิมที่ถนนติวานนท์นั้น ทางจังหวัดจะใช้พื้นที่เป็นศูนย์คนชราและคนพิการ รฟม.ทำให้ต้องหาสถานที่สร้างศูนย์ซ่อมบำรุงใหม่ จึงมีแนวคิดจะหาซื้อที่ราคาถูกย่านมีนบุรีซึ่งเป็นที่โล่งเพื่อก่อสร้าง ตัดปัญหาการเวนคืนที่ดิน และรอใช้ที่ของหน่วยงานราชการแต่อาจติดขัดปัญหาภายหลังอีก ทำให้ใช้ที่ก่อสร้างไม่ได้ ทั้งนี้ รฟม.จะต้องประสานกับสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เพื่อศึกษาแนวเส้นทางที่จะต้องขยาย รวมถึงหาที่สร้างเดปโป้ของสายสีชมพูใหม่ ทั้งนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อแผนการดำเนินการเดิม.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47498
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/09/2012 8:19 pm    Post subject: Reply with quote

1 ปี "คมนาคม"รถไฟฟ้า10สาย...เรื่องเก่าเล่าใหม่ "ไฮสปีดเทรน-ตั๋ว 20 บาท" รอไปลุ้นไป
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 07 ก.ย. 2555 เวลา 11:50:08 น.

8 กันยายนนี้ ถึงคิว "จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ" เจ้ากระทรวงคมนาคม แถลงโชว์ผลงานกระทรวง หลังรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นั่งบริหารประเทศครบ 1 ปี พลิกดูเนื้อในแต่ละนโยบายพบว่าส่วนใหญ่เป็นโปรเจ็กต์สานต่อ ไม่ว่าจะเป็น "นโยบายเร่งด่วน" ตรึงค่าครองชีพของประชาชน เช่น รถเมล์-รถไฟฟรี

เร่งรถไฟฟ้า 10 สาย

ขณะที่เมกะโปรเจ็กต์ "รถไฟฟ้า 10 สาย" ตั้งเป้าประมูลให้เสร็จในปี 2557 เปิดบริการปี 2562 ยังอยู่ระหว่างก่อสร้าง 5 สาย ซึ่งเปิดประมูลตั้งแต่รัฐบาลชุดที่แล้ว ได้แก่
- สีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่)
- สีแดง (บางซื่อ-ตลิ่งชัน)
- สีน้ำเงิน (หัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ) และ
- สีเขียว (แบริ่ง-สมุทรปราการ)

โครงการที่เข้าคิวรอประมูลมีสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) กับรอเปิดประมูลปลายปี 2555 มีสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) และในปี 2556 มีสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) สีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี) และสีแดง (ตลิ่งชัน-ศิริราช)

ส่วน "รถไฟเชื่อมสนามบินสุวรรณภูมิ" ส่วนต่อขยาย "พญาไท-ดอนเมือง" ยังไม่คืบหน้า แม้ในแผนงานเริ่มจ้างที่ปรึกษาและประกวดราคาเดือนตุลาคมนี้

Click on the image for full size

20 บาท-ไฮสปีดเทรนยังต้องรอ

ที่กำลังเข็นสุดฤทธิ์ "ระบบตั๋วร่วม" ใช้ได้ทั้งรถไฟฟ้าและรถเมล์ ยังต้องรอ "กระทรวงคลัง" ไฟเขียวเพื่อขอใช้เงินกู้ดำเนินการ นั่นหมายความว่าอีกหลายปีกว่าจะได้เห็นเป็นรูปธรรม ไม่ต่างจากนโยบายค่าโดยสาร "20 บาทตลอดสาย" ที่ยังไปไม่ถึงดวงดาว รอผลเจรจากับเอกชนรับสัมปทานรถไฟฟ้าใต้ดินและบีทีเอส อย่างน้อย 1-2 ปีกว่าจะเห็นเค้าโครง ไพ่ใบเดียวที่มีในมือ "คมนาคม" ตอนนี้คือนำร่องใช้กับรถไฟฟ้า "แอร์พอร์ตลิงก์" เป็นสายแรกเพื่อดูให้เป็นผลงาน

ฟาก "รถไฟความเร็วสูง" ขั้นตอนยังเป็นเพียงศึกษาและออกแบบ มี 3 สายคือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เฟสแรกถึงพิษณุโลก, กรุงเทพฯ-หัวหิน และกรุงเทพฯ-นครราชสีมา

ด้านการพัฒนาระบบขนส่งทางรางที่รัฐบาลชุดที่แล้วอนุมัติเงินลงทุนไว้ 1.76 แสนล้านบาท มาถึงรัฐบาลชุดนี้สถานะ "อยู่ระหว่างดำเนินการ" ทั้งรถไฟทางคู่เปิดใช้สายที่ 3 ไปแล้ว "ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา-แหลมฉบัง"

ประมูลรถไฟทางคู่ 6 สาย

อีก 6 เส้นทาง รวม 873 กม. ตามแผนจะเปิดประมูลในปีนี้และเปิดบริการในปี 2558 มีช่วง "ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย" ครม.อนุมัติแล้วกำลังประมูลเร็ว ๆ นี้ เงินลงทุนกว่า 1 หมื่นล้านบาท ตามมาติด ๆ

อีก 5 เส้นทาง มี
1.ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ
2.ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ
3.ช่วงนครปฐม-ชุมทางหนองปลาดุก-หัวหิน
4.ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น และ
5.ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร

ส่วน "จัดซื้อหัวรถจักรและรถโบกี้บรรทุกตู้สินค้า" กำลังเปิดประมูล 6 โครงการ เช่น รถจักรดีเซลไฟฟ้า 20 คัน รถจักรดีเซลไฟฟ้าจีอี 50 คัน โครงการปรับปรุง 56 คัน จัดหารถโดยสารรุ่นใหม่บริการ

เชิงพาณิชย์ 115 คัน จัดหารถโบกี้บรรทุกตู้สินค้า 305 คัน ฯลฯ

เข็นเอ็นจีวีเข้า ครม.

โครงการที่ตกค้างและรัฐบาลเพื่อไทยพยายามแจ้งเกิดให้ได้ "นโยบายจัดซื้อรถเมล์ NGV" ที่รัฐบาลชุดที่แล้วทำไม่สำเร็จ โดยปรับลดจาก 4,000 คัน งบประมาณกว่า 6.3 หมื่นล้านบาท เหลือ 3,183 คัน ใช้งบประมาณเพียง 13,162 ล้านบาท เตรียมนำเสนอให้ ครม.พิจารณาเร็ว ๆ นี้เช่นกัน

ที่กำลังเริ่มตั้งไข่ "ทำแผนยุทธศาสตร์ด้านการขนส่ง" รองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมความพร้อมด้านการขนส่งและโลจิสติกส์แล้ว

เพิ่มโครงข่ายสะพาน-ถนน

ขณะเดียวกันมีโครงการกำลังก่อสร้าง เช่น สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณนนทบุรี 1 ถนนต่อเชื่อมถนนราชพฤกษ์-ถนนกาญจนาภิเษก ด่วนสายใหม่เชื่อมศรีรัช-วงแหวนรอบนอกตะวันตก ฯลฯ

รวมถึงการเชื่อมโยงโครงข่ายถนนในการขนส่งสินค้าและบริการระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน เปิดใช้ไปแล้วเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายนปีที่แล้ว มีสะพานข้ามแม่น้ำโขง จ.นครพนม โครงการสะพานข้ามแม่น้ำโขง อ.เชียงของ จ.เชียงราย ผลงานคืบหน้า 46.50%

ลุ้นขยายสุวรรณภูมิเฟส 2

โครงการที่ทำท่าจะลากยาว อาทิ สร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล เขื่อนยกระดับในแม่น้ำเจ้าพระยาและน่าน พัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ฯลฯ ที่น่าจับตาคือโครงการขยาย "สนามบินสุวรรณภูมิเฟส 2" มูลค่าการลงทุนกว่า 6 หมื่นล้านบาทให้แล้วเสร็จในปี 2561 รัฐบาลวาดแผนเปิดประมูลเร็ว ๆ นี้ หลังล่าช้ามานาน จนรัฐบาลเพื่อไทยจำต้องฟื้น "สนามบินดอนเมือง" ที่ปิดตัวไปแล้วมาเปิดให้บริการสายการบินในประเทศอีกครั้ง

ทั้งหมดนี้คือผลงานคมนาคมภายใต้ "รัฐบาลปู" ในช่วง 1 ขวบปีที่ผ่านมา
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44092
Location: NECTEC

PostPosted: 11/09/2012 10:54 am    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size
Click on the image for full size
ข่าวตัดจากประชาชาติธุรกิจ - โดย คุณ gla_c
ตัดระยะสายสีส้ม จาก 37.5 กิโลเมตร ไป 4.2 กิโลเมตรเหลือ 34.7 กิโลเมตร โดยให้หมดระยะที่บางขุนนนท์ เพื่อเชื่อมกะ วงแหวนสายสีน้ำเงิน เพราะ ซ้ำซ้อนกะทางรถไฟฟ้าสายแดง แต่ให้ขยายปลายทางรถไฟฟ้าสายส้มจากมีนบุรีไป เชื่อมกะสายสีชมพูที่ สถานีสุวินทวงศ์ที่แยกถนนคุ้มเกล้าระยะทาง 1.4 กิโลเมตร และ ปรับให้สถานีมีนบุรีอยู่ที่ทางแยกไปถนนร่มเกล้าแทน ขณะที่ ได้มีการขยายสายสีชมพูอีก 5 กิโลเมตรจากแยกมีนบุรีไป ตามถนนสุวินทวงศ์ ก่อนไปหมดระยะที่ ที่ถนนราษฎรอุทิศ โดยเพิ่มสถานีหทัยราษฎร์ สถานีสุวินทวงศ์ เพื่อเชื่อมกะสายสีส้ม นอกเหนือจากสถานีปลายทางถนนราษฎรอุทิศ

//--------------------------------------------------
คมนาคมพร้อมลุยประมูลรถไฟฟ้าสายสีเขียวปี 56
ข่าวเศรษฐกิจ
ไทยรัฐ
11 กันยายน 2555

คมนาคม ทบทวนแผนการลงทุนรถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต วงเงินกว่า 5 หมื่นล้านบาท เป็นแบบ PPP Net Cost หวังประโยชน์ระยะยาว-ประหยัดต้นทุนเดินรถ มั่นใจพร้อมเปิดประมูลปี 56

เมื่อวันที่ 11 ก.ย. นายศิลปชัย จารุเกษมรัตนะ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมติดตามการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ระยะทางประมาณ 18.4 กม. วงเงิน 52,851 ล้านบาท ว่า ที่ประชุมสรุปให้มีการทบทวนรูปแบบการลงทุนจากเดิมที่ ครม.มีมติให้ลงทุน แบบ PPP Gross Cost (พีพีพี กรอสคอส) เป็น PPP Net Cost (พีพีพี เน็ตคอส) แทน เนื่องจากพบว่าจะมีประโยชน์ในระยะยาวมากกว่า รวมทั้งยังช่วยประหยัดต้นทุนการเดินรถ หลังจากนี้จะเสนอให้ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พิจารณาเพื่อนำเสนอให้ ครม.พิจารณาต่อไป

“การลงทุนแบบ PPP Gross Cost ลักษณะเหมือนการลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินเอ็มอาร์ที คือ รัฐบาลลงทุนระบบราง และให้เอกชนลงทุนระบบเดินรถไฟฟ้า ซึ่งเอกชนจะรับความเสี่ยงเรื่องรายได้ค่าโดยสาร และรัฐไม่สามารถลดค่าโดยสารได้เนื่องจากเอกชนต้องทำกำไร ขณะที่การลงทุนแบบ PPP Net Cost นั้น รัฐจะเป็นผู้ลงทุนระบบราง และจ้างเอกชนเดินรถ ซึ่งรัฐจะทำหน้าที่เก็บเงินค่าโดยสารและสามารถกำหนดอัตราค่าโดยสารได้ โดยในอนาคตโครงการรถไฟฟ้าจะใช้รูปแบบการลงทุนแบบ PPP Net Cost ทั้งหมด” นายศิลปชัย กล่าว

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวคาดว่าจะสามารถเปิดประกวดราคาได้ในปี 2556 โดยขณะนี้สถานีบริเวณบางเขนได้ออกแบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว และผ่านการเห็นชอบด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้ว อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมยังเสนอให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ไปพิจารณาเพื่อให้มีผู้ให้บริการเดินรถในสายสีเขียวเป็นรายเดียว ซึ่งจะเป็นบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการเดินรถไฟฟ้าบีทีเอส หรือไม่ก็ได้

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ให้ รฟม.พิจารณาเรื่องค่าจ้างที่ปรึกษา ซึ่งไม่ได้ตั้งงบประมาณในส่วนนี้ไว้ โดยให้พิจารณาวงเงินค่าจ้างที่เหมาะสม โดยเฉพาะกรณีที่โครงการเป็นโครงการขนาดใหญ่ วงเงินลงทุนสูง ค่าจ้างที่ปรึกษาน่าจะต่ำ ไม่ใช่ในอัตราปกติที่คิดสัดส่วนประมาณ 4% ของมูลค่าโครงการ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47498
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/09/2012 2:37 pm    Post subject: Reply with quote

ผุด'เดโป'กลางฟลัดเวย์ รฟม.-การเมืองทึ้งที่เขียวลายเป็นเชิงพาณิชย์รับสายสีส้ม-ชมพู
วันศุกร์ที่ 14 กันยายน 2012 เวลา 10:45 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ

Click on the image for full size

กทม.มึน รฟม.ขอสร้างอาคารศูนย์ซ่อมบำรุงจอดและจรหรือเดโป รถไฟฟ้า2สายส้ม-ชมพูกลางแนวฟลัดเวย์หรือพื้นที่เขียวลาย ตามผังเมืองรวมกำหนดพร้อมยื่นหนังสือขอเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินเพิ่มหวังพัฒนาพื้นที่โดยรอบ

"วิรัตน์ มีนชัยนันท์ " พร้อมชาวบ้านขอเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินพื้นที่รับน้ำเป็นเชิงพาณิชย์ ระบุคลองสามวา มีนบุรี ลาดกระบัง มีสนามบินสุวรรณภูมิ แอร์พอร์ตลิงค์ รถไฟฟ้า ถนนตัดผ่านนำร่องความเจริญ ด้านกทม.ยันต้องตรึงไว้ก่อน

ปัจจุบันร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 ยังคงตรึงพื้นที่โซนตะวันออกเขตคลองสามวามีนบุรีและลาดกระบัง ให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรมหรือบริเวณที่กำหนดให้เป็นฟลัดเวย์ทุ่งรับน้ำหลากทางตอนเหนือระบายลงอ่าวไทยกว่า 2แสนไร่ ท่ามกลางเสียงคัดค้านจากประชาชนในพื้นที่จำนวนมากยื่นแสดงความจำนงขอใช้ประโยชน์ที่ดินเพิ่มขึ้นจำนวนมาก

ต่อเรื่องนี้ ม.ร.ว. เปรมสิริ เกษมสันต์ ผู้อำนวยการสำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ" ถึงการยื่นคำร้องคัดค้านร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 ว่ามีประชาชนจำนวนมากที่เป็นเจ้าของที่ดินมีความจำนงขอใช้ประโยชน์ที่ดินเพิ่มทั่วพื้นที่กทม. ล่าสุดการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) ได้เสนอขอใช้พื้นที่เขียวทแยงขาวหรือที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรมในพื้นที่เขตมีนบุรี ก่อสร้างอาคารศูนย์ซ่อมบำรุงจอดและจรหรือเดโป ของรถไฟฟ้า 2 สายคือสายสีส้ม ช่วงจรัญสนิทวงศ์-มีนบุรี และสายสีชมพูช่วงแคราย-มีนบุรี หรือก่อสร้างอาคารกลางทุ่งพื้นที่เขียวลาย ซึ่งตามปกติ ข้อกำหนดผังเมืองรวมกทม. ห้ามก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ในพื้นที่ดังกล่าว

อย่างไรก็ดี หากรัฐบาลกำหนดแนวสายทางที่ชัดเจนและมีความจำเป็นต้องใช้ ก็ต้องผ่อนผัน แต่ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการผังเมืองหรือ บอร์ดผังเมืองที่มีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานพิจารณาต่อไป

แหล่งข่าวจากสำนักผังเมืองกล่าวเพิ่มเติมว่า พื้นที่เขียวทแยงขาว ปัจจุบันกำหนดเป็นพื้นที่รับน้ำ เหนือจากจังหวัดปทุมธานี ระบายลงอ่าวไทยบริเวณจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งบริเวณดังกล่าว เน้นการใช้พื้นที่ในลักษณะเกษตรกรรม ส่วนการก่อสร้างบ้านทำได้ต้องมีขนาดพื้นที่ 1,000 ตารางวา หรือ 2.5 ไร่ แต่เมื่อหน่วยงานรัฐอย่างรฟม. ประสานขอสร้างอาคารขนาดใหญ่เพื่อเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า และแนวรถไฟฟ้าเข้ามาในพื้นที่ระบายน้ำยิ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อสิ่งปลูกสร้างขวางทางน้ำ หลังจากที่ก่อนหน้านี้สนามบินสุวรรณภูมิได้สร้างในพื้นที่ฟลัดเวย์หรือเขียวทแยงขาวขวางทางน้ำมาแล้ว

ขณะเดียวกันยังมีชาวบ้านและกลุ่มมีนชัยนันท์นักการเมืองและธุรกิจย่านมีนบุรี รวมตัวกันขอใช้พื้นที่ฟลัดเวย์ในเชิงพาณิชย์เพิ่ม โดยอ้างว่ามีรถไฟฟ้าเกิดขึ้น ซึ่งกทม.มองว่า อนาคตยังไม่แน่นอนและไม่แน่ใจว่าจะเกิดขึ้นปีไหน นอกจากนี้ยังมีประชาชนบริเวณแนวรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ ที่อยู่ในพื้นที่เขียวลาย ต้องการใช้ประโยชน์ที่ดินเพิ่มขึ้นในเชิงพาณิชย์

อย่างไรก็ดี กทม.ยืนยันว่าในส่วนการพัฒนาพื้นที่อนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรมที่เพิ่มขึ้นของประชาชน กทม.ไม่สามารถปรับข้อกำหนดร่างผังเมืองรวมกทม.ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 เปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินเพิ่มขึ้นตามที่ต้องการได้ เพราะช่วงที่เกิดอุทกภัยปลายปี2554 ได้ลงสำรวจพื้นที่ดังกล่าวพบว่ามีน้ำท่วมขังจำนวนมาก และหากปล่อยให้พัฒนาเพิ่มขึ้นเกรงว่าจะสร้างผลกระทบตามมาได้
ด้านนายวิรัตน์ มีนชัยนันท์ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พรรคเพื่อไทย เขตมีนบุรี กล่าวว่า ผังเมืองกับสาธารณูปโภคโดยเฉพาะระบบรางควรพัฒนาควบคู่กันไปขณะเดียวกันทราบว่ารัฐบาลต้องการปรับแนวฟลัดเวย์ใหม่ ไปยังคลอง 13 จังหวัดปทุมธานี ผ่านเขตหนองจอก กทม.โดยจะไม่ให้น้ำเหนือไหลผ่านทุ่งฟลัดเวย์เก่าหรือตามที่ผังเมืองรวมกทม.กำหนดคือผ่านเขตคลองสามวา ผ่านเขตมีนบุรี และลาดกระบัง อีกต่อไป ดังนั้นกทม.ควรจะเปิดพื้นที่ดังกล่าวพัฒนาได้อย่างเต็มที่เพราะชาวบ้านเดือดร้อนจากที่ดินไม่มีมูลค่าเพิ่มขณะเดียวกันทำเลโซนตะวันออกมีทั้งสนามบินสุวรรณภูมิ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ อนาคตจะมีรถไฟฟ้าอีก 2 สายคือสายสีชมพูและสายสีส้มเข้ามาในพื้นที่โดยเฉพาะย่านมีนบุรียังไม่รวมถนนสายใหม่ๆ ทั้งถนนคู้ซ้ายคู้ขวา เลียบวาลี ฯลฯ ที่มีการขยายถนนเพิ่ม ซึ่งขณะนี้ราคาที่ดินย่านดังกล่าวขยับจากไร่ละ 2ล้านบาทเป็นไร่ละ 4 ล้านบาท

นายวิรัตน์กล่าวต่อว่า กทม.ต้องปรับปรุงผังเมืองตามข้อเท็จจริง เพื่อให้สอดคล้องกับรฟม. อย่างไรก็ดีที่ผ่านมาได้ส่งหนังสือคัดค้านร่างผังเมืองรวมกทม. เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2555 ก่อนคัดค้าน ที่จะปิดรับคำร้อง 90 วัน ในวันที่ 21 สิงหาคม 2555

"มองว่ากทม.วางผังเมืองโดยไม่แชร์ข้อมูลกับใคร แม้เวลาผ่านไปมีความเจริญเข้ามายังโซนตะวันออกกทม. ราคาที่ดินปรับสูงขึ้นมีถนน สนามบิน รถไฟฟ้า สาธารณูปโภค แต่พื้นที่แห่งนี้ก็ยังเป็นพื้นที่เขียวลายและเป็นอย่างนี้มากกว่า 10 ปีแล้ว ยังคงเป็นพื้นที่เขียวลาย และไม่สามารถทำเป็นเชิงพาณิชย์ได้"

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,775 16-19 กันยายน พ.ศ. 2555
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47498
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/09/2012 3:05 pm    Post subject: Reply with quote

คิดนอกกรอบอีกแล้ว AREA แนะรัฐยกเลิกแผนลงทุนรถไฟฟ้าออกชานเมือง เหตุสิ้นเปลือง-ไม่คุ้มค่า
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 17 ก.ย. 2555 เวลา 14:45:58 น.

ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร AREA (ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส) เผยแพร่บทความหัวข้อ "กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยสาธารณูปโภค" รายละเอียดดังนี้

ดร.โสภณเปิดประเด็นว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ รัฐบาลจีนประกาศจะสร้างถนนซึ่งมีความยาว 2,018 กิโลเมตร โดยมีเป้าหมายที่จะฟื้นฟูการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โครงการดังกล่าวครอบคลุมถึงการสร้างทางหลวงในมณทลเจ้อเจียงและซินเจียง การสร้างโรงงานบำบัดขยะ 9 แห่ง ปรับปรุงโครงการผันน้ำ 2 โครงการ และโครงการท่าเรือและคลังสินค้า 5 โครงการ นอกจากนี้ยังมีโครงการทางเดินรถไฟในชนบท 25 โครงการ ซึ่งอาจมีมูลค่ากว่า 8 แสนล้านหยวน (3.8 ล้านล้านบาท) ยิ่งกว่านั้นระบบรถไฟใต้ดินของจีนจะครอบคลุม 40 เมืองภายในปี 2563 โดยมีเส้นทางยาว 7,000 กิโลเมตร ซึ่งยาวกว่าความยาวปัจจุบัน 4.3 เท่า

แนวคิดของจีนนี้เป็นแนวคิดที่ดีมาก โดยดร.โสภณเคยทำหนังสือถึงรัฐบาลเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2554 ในทำนองเดียวกันโดยได้เสนอให้รัฐบาลเร่งพัฒนาระบบรถไฟฟ้า ด้วยเห็นว่า ระบบรถไฟฟ้าต่าง ๆ ล่าช้ากว่ากำหนดมาก และหลายเส้นทางอาจไม่เหมาะสมเนื่องจากเป็นเส้นทางออกสู่นอกเมือง ทั้งที่ระบบรถไฟฟ้าเหมาะสมสำหรับในเขตเมืองเป็นสำคัญ โดยเสนอให้

1. เร่งก่อสร้างรถไฟฟ้าในเขตเมือง รวมทั้งการขยายเส้นทางใหม่ ๆ เช่น ถ.ลาดพร้าว ถ.สามเสน ถ.พระรามที่ 3 ถ.พระรามที่ 4 ถ.พระรามที่ 9 เป็นต้น

2. ยกเลิกแผนการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายที่ออกนอกเมืองที่ยังไม่ได้ก่อสร้าง เพราะเป็นความสิ้นเปลือง และไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ

3. เพื่อเป็นการระดมทุนที่เพียงพอ การให้สัมปทานควรเป็นลักษณะ BOT (Build, Operate, Transfer)โดยภาคเอกชนที่ลงทุนเป็นผู้รับผิดชอบทั้งด้านเงินลงทุน การออกแบบ ดำเนินการก่อสร้างและการบริหารจัดการโดยเอกชนบริหารจัดการโครงการตามอายุและข้อตกลงแห่งสัญญา และเมื่อสิ้นสุดสัญญา ผู้รับสิทธิจะต้องโอนกรรมสิทธิ์ของกิจการทั้งหมดให้กับหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบ หรือแบบ BTO (Build, Transfer, Operate) หรือ BOO (Build, Own, Operate) ก็ได้ตามความเหมาะสม

การนี้จะส่งผลดีเป็นการเปิดทำเลใหม่ ๆ ในการสร้างที่อยู่อาศัยใจกลางเมือง ซึ่งจะเป็นการเปิดทางเลือกทำเลการอยู่อาศัยมากขึ้น การมีอุปทานที่ดินมาก ย่อมไม่ทำให้ราคาที่อยู่อาศัยสูงจนเกินความสามารถในการซื้อ

นอกจากนี้ รัฐบาลควรสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มเติมอีก 10 สะพาน เนื่องจากสภาพปัญหา: ความเจริญในฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานครขยายตัวอย่างรวดเร็วไปไกลมาก ทำให้การเดินทางไม่สะดวก เพิ่มต้นทุนการเดินทาง ในขณะที่ฝั่งตะวันตก ความเจริญจำกัดกว่าทั้งนี้เนื่องจากขาดสะพานข้ามแม่น้ำที่เพียงพอ

ดังนั้นรัฐบาลควรก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มเติมบริเวณ บริเวณถนนสุโขทัย-ถนนจรัลสนิทวงศ์ 68, ถนนกรุงเกษม-ถนนจรัลสนิทวงศ์ 44, ถนนเจริญกรุง-ถนนทวีธาภิเษก (อุโมงค์), ถนนท่าดินแดง-ถนนราชวงศ์, ถนนสี่พระยา-ถนนเจริญรัถ, ถนนจันทน์-ถนนเจริญนคร 27, ถนนเจริญกรุง-ถนนพระรามที่ 2, ถนนบางนา-ตราด-ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ (ข้ามบางกระเจ้า) และ ถนนสุขุมวิท-ถนนสุขสวัสดิ์ (ปากน้ำ-บางปลากด)

ผลดี ก็คือการมีสะพานข้ามแม่น้ำมากขึ้น ทำให้โอกาสที่ความเจริญจะกระจายไปในเขตใจกลางเมืองด้านตะวันตกก็จะมีมากขึ้น เปิดโอกาสให้ประชาชนฝั่งตะวันตกเดินทางได้สะดวก และถือเป็นการเปิดช่องทางและทำเลในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น

ก่อนหน้านี้ ดร.โสภณ เคยทำหนังสือถึง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในสมัยที่เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2552 ว่ารัฐบาลในขณะนั้นพยายามก่อสร้างรถไฟฟ้าออกไปชานเมืองจำนวนหลายสาย ซึ่งบางสายก็อาจมีความจำเป็น แต่บางสายก็อาจเป็นการสร้างความเข้าใจผิดแก่ประชาชน เช่น ประชาชนผู้มีรายได้ปานกลางอาจคิดว่าจะสามารถซื้อห้องชุดในโครงการอาคารชุดนอกเมืองได้ แต่หากรถไฟฟ้าชานเมืองแล้วเสร็จ ค่าโดยสารอาจเป็นประเด็นปัญหาสำคัญ เพราะผู้โดยสารต้องเสียค่ารถไฟฟ้าอีกเท่าตัว ทำให้ค่าใช้จ่ายในการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าต่อวันอาจตกเป็นเงินถึง 150-200 บาท และเมื่อนั้นประชาชนก็จะตระหนักว่ารถไฟฟ้าชานเมืองบางสายไม่อาจประหยัดค่าเดินทางได้ ต่างจากทางด่วน ซึ่งยังมีรถประจำทางหรือรถตู้ขึ้นทางด่วนในราคาที่ถูกกว่า

ดร.โสภณระบุว่า ข้อเสนอให้เพิ่มความสำคัญของการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าใจกลางเมือง เช่น ที่ครั้งหนึ่งรัฐบาลจะสร้างรถไฟฟ้าจากบางซื่อผ่านถนนสามเสนเข้าเมืองจนถึงหัวลำโพง และควรดำเนินการในพื้นที่ใจกลางเมืองบริเวณอื่น ๆ ทั้งเขตพระนคร สัมพันธวงศ์ ยานนาวา ลาดพร้าว ฯลฯ การสร้างรถไฟฟ้ายังอาจใช้การก่อสร้างระบบรางเบา อย่างไรก็ตามระบบรถด่วนประจำทาง (Bus Rapid Transit: BRT) ไม่ควรสร้างเพราะทำให้เสียช่องทางจราจรไป 1 ช่องทาง และจากประสบการณ์ที่กระผมเคยไปเป็นที่ปรึกษากระทรวงการคลัง อินโดนีเซีย พบว่า ระบบนี้ซึ่งกรุงจาการ์ตาใช้มาก่อนไทยนั้น ไม่มีประสิทธิผลเพียงพอและกลายเป็นปัญหาในระยะยาว

"ในการก่อสร้างรถไฟฟ้าใจกลางเมืองนั้น อาจมีข้อสงสัยว่า จะเป็นการจัดสรรงบประมาณให้เฉพาะผู้อยู่อาศัยในกรุงเทพมหานครหรือไม่ ผมเห็นว่าข้อนี้ไม่ใช่การมุ่งประโยชน์เฉพาะกลุ่ม เพราะการลงทุนนี้จะสามารถคืนทุนโดยไม่เสียภาษีอากรของประชาชน และที่สำคัญยังจะสามารถช่วยให้นครหลวงแห่งนี้สามารถทำการหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยยิ่งขึ้น และหากมีระบบรถไฟฟ้าที่ดียิ่งขึ้น อาคารต่าง ๆ ใจกลางเมืองก็ไม่จำเป็นต้องมีที่จอดรถมากมายเช่นในปัจจุบัน สามารถนำพื้นที่ไปใช้เพื่อการพัฒนาที่เป็นประโยชน์ได้มากขึ้น เพราะการใช้รถส่วนตัวจะลดลง ทำให้ความต้องการใช้ที่จอดรถจะลดลงตามไปด้วย" ดร.โสภณระบุ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
mone
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 04/02/2009
Posts: 76

PostPosted: 17/09/2012 3:45 pm    Post subject: Reply with quote

Quote:
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าต่อวันอาจตกเป็นเงินถึง 150-200 บาท และเมื่อนั้นประชาชนก็จะตระหนักว่ารถไฟฟ้าชานเมืองบางสายไม่อาจประหยัดค่าเดินทางได้ ต่างจากทางด่วน ซึ่งยังมีรถประจำทางหรือรถตู้ขึ้นทางด่วนในราคาที่ถูกกว่า


เป็นงานวิจัยที่สุดยอดเลยครับท่าน คนเมืองยังต้องนั่งรถตู้ไปทำงาน Rolling Eyes
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44092
Location: NECTEC

PostPosted: 17/09/2012 4:45 pm    Post subject: Reply with quote

^^
ดร. แกพูดปดเพื่อ เพื่ามยอดปิดการขายคอนโดในเมืองหงะ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47498
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/09/2012 12:26 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดประชาพิจารณ์ขยายสายสีชมพู-ส้ม
เดลินิวส์ วันพุธที่ 19 กันยายน 2555 เวลา 07:01 น.

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ในฐานะประธานคณะทำงานพิจารณาความเหมาะสมการปรับแบบและแนวเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี และสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะทำงานเมื่อวันที่ 18 ก.ย. ว่า คณะทำงานได้เชิญ นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) บริษัทที่ปรึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องมาประชุมหารือการปรับแบบและแนวเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู และสายสีส้ม ที่ รฟม.รับผิดชอบและอยู่ในขั้นตอนระหว่างการศึกษา ออกแบบรายละเอียด เพื่อเตรียมการประกวดราคาก่อสร้าง ซึ่งการพิจารณาปรับแบบครั้งนี้เป็นไปตามข้อเสนอแนะจาก นายวิชาญ มีนชัยนันท์ ส.ส. กรุงเทพฯ พรรคเพื่อไทย ที่เสนอขอปรับแนวสายทางรถไฟฟ้าสายสีชมพูจากเดิมสิ้นสุดที่ตลาดมีนบุรี ขอให้ยืดระยะทางออกไปอีก 3-4 กม. ขณะเดียวกันรถไฟฟ้าสายสีส้ม เสนอให้ปรับจุดเริ่มต้นโครงการจากเดิมที่ตลิ่งชัน ซึ่งแนวซ้อนทับรถไฟฟ้าสายสีแดง ให้เริ่มต้นที่บางขุนนนท์แทน ส่วนปลายทางให้ยืดจากมีนบุรี ถึงถนนสุวินทวงศ์ เชื่อมต่อกับสายสีชมพู

นายจุฬา กล่าวว่า การประชุมยังไม่ได้ข้อยุติ จึงเสนอจัดประชาพิจารณ์รับฟังความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนเป็นจำนวน 2 ครั้ง ครั้งแรกวันที่ 22 ก.ย.นี้ ในพื้นที่ย่านมีนบุรี ครั้งที่ 2 วันที่ 25 ก.ย. ที่โรงแรมมิราเคิล เมื่อได้ข้อสรุปอย่างไรจะต้องนำเสนอบอร์ด รฟม. พิจารณา ทั้งนี้รถไฟฟ้าสายสีชมพู ขณะนี้ถือว่ามีความพร้อมมากที่สุดและผ่านอีไอเอเรียบร้อยแล้ว ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง คาดว่าจะประกวดราคาได้ภายในสิ้นปี 2555 แต่หากจำเป็นต้องแก้ไขแบบหรือปรับแนวเส้นทาง จะต้องเลื่อนการประกวดราคาออกไป เพราะต้องทำอีไอเอใหม่ ส่วนรถไฟฟ้าสายสีส้ม รฟม. และบริษัทที่ปรึกษาอยู่ระหว่างทยอยทำประชาพิจารณ์กลุ่มย่อยตามพื้นที่แนวเส้นทาง เมื่อแล้วเสร็จก็จะมีการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นใหญ่อีกครั้ง.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47498
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/09/2012 3:51 pm    Post subject: Reply with quote

คนกรุงทำใจรถติดยาว3ปีถึง2558 "รถคันแรก-สร้างรถไฟฟ้า 6 สาย"พ่นพิษวิกฤตจราจร
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 19 ก.ย. 2555 เวลา 11:58:28 น.

ปัจจุบัน "กรุงเทพมหานคร" ติดโผเป็นเมืองที่มีปัญหาการจราจรติดขัดมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก โดยมีปริมาณรถยนต์วิ่งอยู่บนท้องถนนประมาณ 6.8 ล้านคัน เปรียบเทียบกับกรุงเทพฯ มีถนนรองรับประมาณ 5,887 กิโลเมตร จึงเกิดความไม่สมดุลระหว่างรถกับทาง

รถไฟฟ้าสร้างพร้อมกัน 6 สาย

ล่าสุดกระทรวงคมนาคมมีแผนนำระบบขนส่งมวลชนเข้ามาช่วยแก้ปัญหา นอกเหนือจากการตัดถนนใหม่ ๆ แล้ว โครงการรถไฟฟ้าที่กำลังก่อสร้าง 3 สาย มีกำหนดแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการอีก 3-4 ปีข้างหน้า หรือในปี 2558-2560 ประกอบด้วย
1)สายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ ระยะทาง 23 กิโลเมตร กำหนดเปิดบริการเดือนตุลาคม 2558
2)สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค ระยะทาง 27 กิโลเมตร เปิดบริการธันวาคม 2559 และ
3)สายสีเขียวเข้ม ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ระยะทาง 12.8 กิโลเมตร เปิดบริการเมษายน 2560

Click on the image for full size

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปัจจุบันสภาพปริมาณการจราจรของกรุงเทพฯและปริมณฑลเริ่มหนาแน่นขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนหนึ่งมาจากมีรถยนต์ใหม่เข้ามาเติมมากขึ้น รวมถึงในบางพื้นที่มีการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า ซึ่งจะต้องใช้เวลานานกว่าจะเสร็จอย่างน้อย 3-4 ปี ทำให้ปัญหาการจราจรติดหนักรุนแรงมากขึ้น

เช่น ถนนสุขุมวิท รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม (แบริ่ง-สมุทรปราการ) กำลังปิดการจราจรบางส่วนเพื่อก่อสร้าง นอกจากนี้มีถนนติวานนท์ ถนนรัตนาธิเบศร์ ที่เป็นไซต์ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) และถนนจรัญสนิทวงศ์ ถนนเพชรเกษม ถนนเจริญกรุง ที่กำลังก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค)

รถคันแรกซ้ำเติมสถานการณ์

"ปัญหาวิกฤตจราจรในกรุงทพฯไม่ใช่ปัญหาที่ครอบคลุมบริเวณที่เป็นคอขวดตามจุดต่าง ๆ กว่า 280 จุดอีกต่อไปแล้ว การแก้ปัญหาต้องทยอยแก้ไปทีละจุด เช่น ยกเลิกป้ายรถเมล์ ปิดจุดกลับรถ เป็นต้น การปิดการจราจรเพื่อสร้างรถไฟฟ้าก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้รถติดมากขึ้น ส่วนใหญ่แนวรถไฟฟ้าจะสร้างอยู่บนถนนสายหลักที่เป็นเส้นเลือดใหญ่ของการเดินทาง"

นายจุฬากล่าวต่อว่า สนข.กำลังเป็นกังวลในขณะนี้คือภายในอีก 3 ปีข้างหน้า ปริมาณการจราจรในกรุงเทพฯและปริมณฑลจะหนักหนาสาหัสมากขึ้นไปอีก ทั้งรถป้ายแดงตามโครงการรถคันแรกของรัฐบาลที่กำลังทยอยออกมาในปี 2556 เป็นต้นไปจนถึงปี 2558

ขณะเดียวกันกระทรวงคมนาคมกำลังจะก่อสร้างรถไฟฟ้าสายใหม่อีกหลายสาย กระจายไปตามพื้นที่ต่าง ๆ เช่น สายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) สายสีเขียวเข้ม (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ (มักกะสัน-พญาไท-ดอนเมือง) สายสีชมพู (แคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี) สายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) สายสีแดง (ตลิ่งชัน-ศิริราช) เป็นต้น

"โครงการเก่ายังไม่เสร็จ มีโครงการใหม่เข้ามาเพิ่มอีก ยิ่งทำให้ติดหนักเข้าไปใหญ่ แทบจะทุกพื้นที่เลยก็ว่าได้ ทั้งกรุงเทพฯ นนทบุรี สมุทรปราการ ยังไม่นับรวมโครงการตัดถนนใหม่ของ กทม. กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท และทางด่วนสายใหม่จากศรีรัช-วงแหวนรอบนอกตะวันตกของการทางพิเศษฯ ที่มีแผนจะสร้างในปีหน้าอีกต่างหาก"

งัดสารพัดแนวทางรับมือ

นายจุฬากล่าวว่า จากการประมวลภาพทั้งหมดนี้ สนข.กำลังหาแนวทางรับมือกับวิกฤตการจราจรในปีหน้า เพราะถ้าไม่เตรียมการแต่เนิ่น ๆ อาจจะรับมือไม่ไหว โดยปกติแล้วเมื่อมีการก่อสร้างโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่จะต้องมีการแนะนำเส้นทางเลี่ยงให้อยู่แล้ว แต่สถานการณ์ก่อสร้างโครงการของรัฐทั้งในปัจจุบันและเตรียมจะตอกเสาเข็มพร้อมกันเร็ว ๆ นี้ คงจะหาเส้นทางเลี่ยงจุดวิกฤตจราจรได้ลำบาก เช่น ถนนพหลโยธิน รถไฟฟ้าสายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่) จะสร้างบนเกาะกลางถนน ถ้าจะวางแผนให้ผู้ใช้เส้นทางเลี่ยงไปใช้ถนนวิภาวดีรังสิตคงไม่ได้แล้ว เพราะปัจจุบันเส้นวิภาวดีฯก็มีปัญหารถติดเช่นกันทั้งในเวลาเร่งด่วนช่วงเช้าและช่วงเย็น

"มีอีกวิธีการหนึ่งที่เป็นไอเดีย เตรียมจะเสนอคณะรัฐมนตรีให้ปรับเวลาทำงานของหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจใหม่ เพราะปัญหาวิกฤตจราจรช่วงเช้าเพราะเวลาทำงานข้าราชการใกล้ ๆ กัน คือช่วงเวลา 8 โมงครึ่งถึง 9 โมง ส่วนช่วงเย็นจะไม่มากนักเพราะคนกลับบ้านช้า หรืออาจจะเสนอห้ามนำรถยนต์มาทำงานและให้ใช้บริการขนส่งสาธารณะแทน ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า รถเมล์ เรามองไกลไปถึงในระยะยาวอาจจะเก็บภาษีรถทิ่วิ่งเข้ามาในเมืองด้วย"

นายจุฬากล่าวตอนท้ายว่า การแก้จราจรวิกฤตหนัก คนที่ต้องเดินทางอาจจะต้องทำใจ เนื่องจากหลีกเลี่ยงได้ยากจริง ๆ พื้นที่ที่มีปัญหาการจราจรหนาแน่นอยู่แล้ว เมื่อช่องจราจรหายไปฝั่งละ 1 ช่องจราจร เท่ากับหายไป 33.33% ในทางกลับกันจะก่อปัญหาให้รถติดเพิ่มขึ้นอีก 33% เพราะจะต้องบีบจราจรให้แคบลงเพื่อนำผิวจราจรมาใช้เป็นไซต์ก่อสร้างนั่นเอง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47498
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/09/2012 8:04 pm    Post subject: Reply with quote

ก.คมนาคมมีแนวคิดจัดซื้อรถไฟฟ้าครั้งใหญ่หวังได้ราคาถูก
วันพฤหัสบดี ที่ 20 ก.ย. 2555

กรุงเทพฯ 20 ก.ย. - “จารุพงศ์” เผย ก.คมนาคม มีแนวคิดให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ รวมกันจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้าในครั้งเดียว เพื่อสร้างอำนาจต่อรอง หวังได้ราคาถูกลง

นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลัง Dr.Philipp Rosler รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเศรษฐกิจและเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี พร้อมคณะเข้าหารือ ว่า กระทรวงคมนาคมมีแนวคิดให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ ที่มีแผนจัดหาขบวนรถไฟฟ้า รวมกันจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้าในครั้งเดียว โดยจะซื้อครั้งละจำนวนมาก เพื่อสร้างอำนาจต่อรอง ทำให้ราคาต่อขบวนรถไฟฟ้าต่ำลงกว่าการแยกซื้อทีละไม่กี่ขบวน ซึ่งโครงการรถไฟฟ้าในอนาคตที่กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างดำเนินการ 10 สายทาง คาดว่าจะใช้ขบวนรถไฟฟ้าประมาณ 800 ขบวน มาให้บริการ

การดำเนินการในลักษณะนี้จะทำให้เกิดการจัดซื้อในคราวเดียว โดยรัฐบาลจะให้เปิดประกวดราคาหาผู้ผลิตเพียงรายเดียว และให้ผู้ผลิตมาตั้งโรงงานผลิตในประเทศไทย รวมทั้งถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับบุคลากรของไทยด้วย ซึ่งด้านผู้แทนเยอรมนีแสดงความสนใจ และขอให้ช่วยดูแลบริษัทเยอรมันที่เข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทย โดยแจ้งว่า การประกอบธุรกิจของเยอรมนีมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีอยู่แล้ว และยกตัวอย่างสุภาษิตด้วยว่า การซื้อสินค้าแม้ว่าราคาแพง แต่ดีกว่าต้องซื้อสินค้า 2 ครั้ง. - สำนักข่าวไทย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 58, 59, 60 ... 284, 285, 286  Next
Page 59 of 286

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©