View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
headtrack
1st Class Pass (Air)
Joined: 30/05/2009 Posts: 1627
Location: ละแวกภาคกลางตอนบน และภาคเหนือตอนล่าง
|
Posted: 18/09/2012 8:13 pm Post subject: |
|
|
...ปิดตำนานรถค่ำ พล.-กท. ที่เคยเห็นกันมาแต่เด็ก...!?!
...ชะรอยช่วงกลางคืน ที่ พล. จะมีชุดรถอีกหนึ่งขบวนนอนรอออกยามเช้า เช่นที่ ตะพานหิน หรือ นครสวรรค์
ดีเซลก็มีโอกาสได้นอนหนึ่งคืน หรือไม่ก็มีโอกาสสวิงกับดีเซลด่วนดำยามเกิดปัญหา...!?! _________________
Find me on Instagram: @632knongtsaikhaow |
|
Back to top |
|
|
srinopkun
1st Class Pass (Air)
Joined: 08/04/2010 Posts: 2940
Location: นครปฐม
|
Posted: 18/09/2012 9:04 pm Post subject: |
|
|
ท่าน ผตก. คงได้กลับบ้านไปพักผ่อนเต็มที่ซักที 555 ... อดแวะโน่นแวะนี่หลังเลิกงาน
เพราะปกติพลาด ข.105 ยังมี ข.115 ที่จอดท่าเรือ
|
|
Back to top |
|
|
KT-Station
2nd Class Pass (Air)
Joined: 03/11/2009 Posts: 948
Location: โรงเรียนบ้านหนองขุ่นเหล่าหลักวิทยา
|
Posted: 18/09/2012 10:06 pm Post subject: |
|
|
ขออนุญาตแสดงความคิดเห็น โดยส่วนตัวกระผมไม่ทราบถึงความตื้นลึกหนาบาง
ของภายในระบบฯ หรอกครับ ถ้าจะปรับยกเลิกขบวนรถนั้น กระผมมีความเห็น
ไม่ค่อยสู้ดีนัก เพราะต่างคนต่างจิตต่างใจ เราบอกว่าควรยกเลิกไป แต่เราต้องเห็นใจ
ผู้โดยสารที่ขึ้นลงต้นทาง-ปลายทาง ณ ยังสถานีนั้นๆด้วยครับ เพราะบางคนเขา
ก็มีความจำเป็นของเขาที่จะต้องใช้บริการ ถามว่า เราเปิดเดินรถทำไม คำตอบคือ
1. เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการโดยสารให้กับผู้โดยสาร ทั้งเชิงพาณิชย์และเชิงสังคม
2. ด้านการขนส่งและกระจายสินค้าการพาณิชย์
เอาล่ะครับ กระผมเป็นบุคคลภายนอกครับ มองเรื่องการใช้ในด้านการโดยสาร ทั้งเชิงพาณิชย์และเชิงสังคมของผู้โดยสาร เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน ทั้งปัญหาหัวรถจักร ปัญหารถเสียเวลา ปัญหาโบกี้โดยสารไม่เพียงพอ ปัญหาผู้โดยสารบางขบวนน้อย ควรปฏิรูป รื้อ หรือปรับระบบด้านการโดยสารใหม่ดังนี้
1. ปรับประเภทขบวนรถสายยาวให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวพอ คือ ด่วนพิเศษ และเฉพาะขบวนที่ลากด้วยรถจักร ต้องพ่วงทุกประเภทโบกี้ภายในขบวนเดียวนั้น เพราะปัจจุบัน ผู้โดยสารมองที่ราคาถูกและขึ้นอยู่กับเวลาที่ไปซื้อตั๋ว คือพอซื้อตั๋วปุ๊บ ก็ขึ้นรถปั๊บ หรืออาจจะรอสักหน่อยก็ไม่เสียหาย แต่ก็ต้องไม่นานเป็นชั่วโมง
2. ปรับเวลาให้เหมาะสมจริงๆตามสภาพปัจจุบัน โดยเผื่อเวลาสำหรับขบวนรถโดยสารให้เหมาะตามสภาพจริง และเพิ่มระยะรับส่งเฉพาะต้นทางปลายทางเท่านั้น เช่นสมมติ ข.ด่วนพิเศษ กรุงเทพ-เชียงใหม่ ออกกรุงเทพ 20.00น. จอดเกือบทุกสถานีจนกระทั่งถึงลพบุรี หลังจากนั้นยิงยาวไม่จอดจนกระทั่งถึงอุตรดิตถ์ ประมาณ 03.30น. และจอดพักเติมน้ำที่ศิลาอาสน์ หลังจากนั้นก็หยุดรับส่งเกือบทุกสถานีไปจนถึงเชียงใหม่ เป็นต้น
3. การเดินรถกลางวันควรเป็นรถดีเซลรางทุกชนิดทำขบวน เพราะดีเซลรางทำเวลาได้ เช่นสมมติ เช่น ด่วนพิเศษ กรุงเทพ-หนองคาย ออก 07.00 น. ถึง 18.30 น. ใช้เวลา 11.30 ชม.(การนี้ควรรวมขบวนกับ ข.อุบลฯ แล้วไปแยกกันที่ถนนจิระ เพื่อเป็นการไม่เพิ่มประมาณความจุในเส้นทางมากนัก และประหยัดพลังงานเพิ่มขึ้น)
และทำขบวนสักบางขบวนที่เก็บตกผู้โดยสารช่วงกลางคืน โดยใช้ THN/NKF ทำขบวน เช่นสมมติ ด่วนพิเศษ กรุงเทพ-ศิลาอาสน์ และปรับเวลาออกเป็น 22.30น. ถึง 7.35น.ใช้เวลา 9.05 ชม.ระยะรับ-ส่งคล้าย ข.115 ปัจจุบัน และให้ทำขบวนแทน ข.403 ไปในตัว เหมือนกับ ข.178 ที่ช่วยการโดยสารนครปฐม-ธนบุรี
สำหรับสายใต้ควรเอารถนั่งแดวูและสปรินเตอร์ ทำช่วงเย็นด้วย เช่นสมมติ ข.ด่วนพิเศษนั่งปรับอากาศ กรุงเทพ-หาดใหญ่/กรุงเทพ-สุไหงโกลก(พ่วงไปด้วยกัน) ออก 18.50น. ถึงหาดใหญ่ 08.10น. ถึงสุไหงโกลก 12.15น.ใช้เวลาถึงสุไหงโกลก 17.25 ชม. (ควรเพิ่มระยะการจอดเหมือนดังกล่าวไว้ในข้อ 2)
4. กลางคืนควรเป็นรถจักรลากจูงทำขบวน เพราะแน่นอนว่า การลากจูงโดยหัวรถจักรช้ากว่ารถดีเซลราง เช่นสมมติ ข.ด่วนพิเศษนครพิงค์ กรุงเทพ-เชียงใหม่ ออก 19.00 น.ถึง 09.55 น. ใช้เวลา 14.55 ชม. เป็นต้น
5.ควรปรับการคำนวณค่าโดยสารใหม่ทั้งหมด เพราะระยะใกล้เสียเปรียบ ระยะไกลได้เปรียบ มีที่ไหน ค่าโดยสารด่วนพิเศษนั่งแดวู กรุงเทพ-นครราชสีมา ราคา 395 บาท นี่ถ้าเพิ่มอีก 25 บาท ได้นั่งรถทัวร์ ม.4พ สมบัติทัวร์ไปขอนแก่นเลยนะนั่น..
ถึงอย่างไรเสีย นี่ก็เป็นแค่ความเห็นเพียงบางส่วนของกระผมนะครับ ถ้าพี่ๆท่านใดเห็นว่า เอ.. มันไม่ใช่ในมุมมองความเห็นของพี่ๆ ก็สามารถแนะนำได้ครับ ยินดีรับฟังครับ..
ปล.ตอนนี้ผมกำลังทำผังเวลาและกำหนดขบวนรถแบบสมมติ (ในทางมุมมองของกระผมอยู่) เดี๋ยวถ้าทำเสร็จจะรีบส่งให้ดูเลยครับ ขอขอบคุณสำหรับการอ่านความคิดเห็นกระผมครับ.. |
|
Back to top |
|
|
KT-Station
2nd Class Pass (Air)
Joined: 03/11/2009 Posts: 948
Location: โรงเรียนบ้านหนองขุ่นเหล่าหลักวิทยา
|
Posted: 18/09/2012 10:29 pm Post subject: |
|
|
thanaratKK wrote: | เฮียวิศครับ สายอุบลรถฟรีคือ ข.145/146 ครับ แต่ชุดรถจะสัมพันธ์กับ ข.139/136 เพราะต้องใช้สลับชุดกัน
---------------
ตอนนี้การรถไฟฯ เสียรถจักรออกจากสาระบบไปอีก 1 คัน เมื่อไม่นานมานี้ คือ 4544
การทำให้มันพังมันรวดเร็วกว่าการทำให้มันใช้งานได้สมบูรณ์
ในใจผมคิดว่า ถ้าฟื้น 137/138 แล้วให้เป็นรถฟรีไปแทน 133/134 อาจจะพอช่วยได้ แต่ตอนนี้ต้องลบความคิดนั้นเสียแล้ว สายที่มีความหนาแน่นในการโดยสารอย่างสายอุบลฯ ยังต้องจากไป 1 ขบวน
ถ้าเทียบระหว่าง 141 กับ 143
141 บางวันไปทับเวลา 143 เบียด 421 ต่อกันเป็นทอดๆ เมื่อมันไปเบียดเวลาบ่อยๆ จึงทำให้ 143 กลายเป็นรถโล่งไปไม่รู้ตัว ยกเว้นสถานีที่จอดแตกต่างกัน |
ตามความเห็นของผม ถ้ากล่าวถึง ข. 141 แล้ว ทำไมผู้โดยสารถึงเยอะ เพราะปฏิเสธจำยอมไม่ได้ต่างหาก เพราะแน่นอนว่าผู้โดยสารทุกสายจะหนาแน่นมากในช่วง19.00 ถึง 21.00น. เช่นเดียวกับส่วนผู้โดยสารสายนี้ ขบวนก่อนหน้า 141 นั้น ทั้ง 2 ขบวน ไม่จอดในสถานีย่อยที่พวกเขาจะลง และ 73 ก็ไปถึงแค่ศีขรภูมิ ทั้งๆที่น่าจะไปต่อได้ แน่นอนว่าทางเลือกนั้นต้องเป็น ข.141 ซึ่งเราก็ทราบกันดีพักหลัง 141 ชอบงอแง แต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร คงต้องแล้วแต่ตามบุญตามกรรมของผู้โดยสารแล้วล่ะครับ |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43930
Location: NECTEC
|
Posted: 19/09/2012 1:11 am Post subject: |
|
|
^^^
เหอะเหอะ จะมีรถดีเซลรางพอทำขบวนรถกลางวันอยู่อีกหรือครับ? ไม่ว่าจะรถดีเซลรางลมโชย หรือ รถแอร์สปรินเตอร์ ก็ขาดมือ ทั้งนั้น ... ชั้นแต่กรณี ที่แก่งคอยต้องการรถดีเซลรางลมโชย 25 ชุดรถ แต่มีใช้งานจริงแค่ 6 ชุดรถ ... |
|
Back to top |
|
|
KT-Station
2nd Class Pass (Air)
Joined: 03/11/2009 Posts: 948
Location: โรงเรียนบ้านหนองขุ่นเหล่าหลักวิทยา
|
Posted: 19/09/2012 3:30 am Post subject: |
|
|
Wisarut wrote: | ^^^
เหอะเหอะ จะมีรถดีเซลรางพอทำขบวนรถกลางวันอยู่อีกหรือครับ? ไม่ว่าจะรถดีเซลรางลมโชย หรือ รถแอร์สปรินเตอร์ ก็ขาดมือ ทั้งนั้น ... ชั้นแต่กรณี ที่แก่งคอยต้องการรถดีเซลรางลมโชย 25 ชุดรถ แต่มีใช้งานจริงแค่ 6 ชุดรถ ... |
กระผมไม่แน่ใจว่า ข้อมูลจำนวนรถปัจจุบันนี้ น้อยกว่านี้ขนาดไหน หากน้อยกว่านี้ไม่มาก เช่น จำนวนใช้งาน ADR หากมีตอนนี้ 20 คัน ก็ถือว่ายังพอจัดชุดรถได้ หรือจะเป็นรถลมโชย(อย่างที่พี่ว่า) ลองหากนำมาวิ่ง 60 คัน ที่เหลือพัก มันก็ยังพอจัดชุดรถได้ ถ้าเราบริหารรถให้มันเหมาะสมกับจำนวนและเวลาในปัจจุบัน มันก็เกิดความสมดุลย์ได้ครับพี่วิศรุต..
กระผมขออนุญาตสมมติประเภทเดินขบวนรถดีเซลราง คร่าวๆ ดังนี้ครับ
ขบวนรถด่วนพิเศษนั่งปรับอากาศ(เฉพาะ ASR,ADR)
1. ข.ด่วนพิเศษนั่งปรับอากาศ กรุงเทพ-เชียงใหม่ ออก 08.00น.ถึง 20.25น.ใช้เวลา 12.25 ชม. ชุดรถ ADR 3 คัน (ขากลับ ออก ชม. 09.00น.)
2. ข.ด่วนพิเศษนั่งปรับอากาศ กรุงเทพ-อุบลราชธานี ออก 23.15น.ถึง 7.55น.ใช้เวลา 8.40 ชม. ชุดรถ ADR 3 คัน (ขากลับ ออก อน. 14.50น.ดังเดิม)
3. ข.ด่วนพิเศษนั่งปรับอากาศ กรุงเทพ-สุไหงโกลก ออก 18.50น.ถึง 12.15น.ใช้เวลา 17.25 ชม. ชุดรถ ADR 2 คัน (ขากลับ ออก โล.16.10น.หรือจะเลื่อนเร็วกว่านั้นก็ยังได้)
4. ข.ด่วนพิเศษนั่งปรับอากาศ กรุงเทพ-หาดใหญ่(พ่วงรวม ดพ.โล.) ออก 18.50น.ถึง 08.10น.ใช้เวลา 13.20 ชม. ชุดรถ ADR 2 คัน (ขากลับ ออก หใ.20.10น.หรือจะเลื่อนเร็วกว่านั้นก็ยังได้)
5. ข.ด่วนพิเศษนั่งปรับอากาศ กรุงเทพ-หาดใหญ่ ออก 07.10น.ถึง 20.30น.ใช้เวลา 13.20 ชม. ชุดรถ ASR 2 คัน (ขากลับ ออก หใ.07.30น.)
ขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลราง(เฉพาะ ATR,THN/NKF) บางขบวนพอคร่าวๆครับ
1. ข.ด่วนพิเศษดีเซลราง กรุงเทพ-เชียงใหม่ ออก 06.00น.ถึง 19.55น.ใช้เวลา 13.55 ชม. ชุดรถ THN/NKF 3 คัน (ขากลับ ออก ชม. 07.00น.)
2. ข.ด่วนพิเศษดีเซลราง กรุงเทพ-เชียงใหม่ ออก 07.00น.ถึง 20.55น.ใช้เวลา 13.55 ชม. ชุดรถ ATR 1 คัน THN/NKF 3 คัน (ขากลับ ออก ชม. 08.00น.)
3. ข.ด่วนพิเศษดีเซลราง กรุงเทพ-หนองคาย ออก 06.40น.ถึง 18.10น.ใช้เวลา 11.30 ชม. ชุดรถ THN/NKF 2 คัน (ขากลับ ออก ชม. 06.30น.)
4. ข.ด่วนพิเศษดีเซลราง กรุงเทพ-หนองคาย ออก 08.10น.ถึง 19.40น.ใช้เวลา 11.30 ชม. ชุดรถATR 1 คัน THN/NKF 2 คัน (ขากลับ ออก ชม. 08.00น.)
5. ข.ด่วนพิเศษดีเซลราง กรุงเทพ-อุบลราชธานี ออก 06.40น.ถึง 17.10น.ใช้เวลา 10.20 ชม. ชุดรถ ATR 1 คัน THN/NKF 3 คัน (ขากลับ ออก ชม. 07.30น.)
6. ข.ด่วนพิเศษดีเซลราง กรุงเทพ-อุบลราชธานี ออก 08.10น.ถึง 18.40น.ใช้เวลา 10.20 ชม. ชุดรถ ATR 1 คัน THN/NKF 3 คัน (ขากลับ ออก ชม. 09.00น.)
7. ข.ด่วนพิเศษดีเซลราง กรุงเทพ-หาดใหญ่ ออก 06.30น.ถึง 22.25น.ใช้เวลา 15.55ชม. ชุดรถ ATR 1 คัน THN/NKF 2 คัน (ขากลับ ออก - น.)
8. ข.ด่วนพิเศษดีเซลราง กรุงเทพ-ตรัง ออก 06.30น.ถึง 21.25น.ใช้เวลา 14.55ชม. ชุดรถ THN/NKF 2 คัน (ขากลับ ออก - น.)
9. ข.ด่วนพิเศษดีเซลราง กรุงเทพ-นครศรีธรรมราช ออก 06.30น.ถึง 21.15น.ใช้เวลา 14.45ชม. ชุดรถ THN/NKF 2 คัน (ขากลับ ออก - น.)
และยังไม่นับปลายทางTHN/NKF ที่ศิลาอาสน์ พิษณุโลก สุราษฎร์ธานี ชุมพร และอื่นๆ
ส่วนรถชานเมืองใช้หัวรถจักรลากจูง แทนเป้าหมายเดิม เพราะต้องเข้าใจว่าจำนวนรถไม่เพียงพอ ส่วนรถในแขวงสมุทรสาคร คงเดิมไว้
คร่าวๆประมาณนี้ครับพี่..
ผมอ้างอิงข้อมูลจำนวนตามนี้ ซึ่งกำหนดเวลาข้างต้น จะเผื่อรถไว้ด้วยครับ http://58.181.223.131/Ics_Mech_NEW/DRC/FrmTESTGrid.aspx |
|
Back to top |
|
|
thanaratKK
2nd Class Pass (Air)
Joined: 07/04/2011 Posts: 778
Location: มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย
|
Posted: 19/09/2012 7:58 am Post subject: |
|
|
รถดีเซลรางนั้นต้องคำนึงถึงระยะทางด้วยนะครับ เนื่องจากการใช้งานควรจะอยู่ในระยะสั้น-กลาง ซึ่งที่เห็นในปัจจุบันวิ่งเกินกำลังมันตลอดครับ แถมไปถึงก็ตีกลับทันที ทำให้รถไม่ได้พัก
จำนวนรถดีเซลรางในระบบครับคร่าวๆ ครับ
THN+NKF 100 คัน(อยู่สายแม่กลองประมาณ 18-20 คัน)
RHN (63 คัน มี กซข.30 คัน จึงมี 30 ชุด แต่ตอนนี้ใช้ได้ 17-18 ชุด ต่อวัน)
ATR 11 คัน(อยู่สายแม่กลอง 1 คัน)
ASR เหลือใช้งานตอนนี้ประมาณ 6-7 คัน (อยู่โรงงานมักกะสัน 10 คัน)
ADR เหลือใช้งานตอนนี้ประมาณ 25 คัน (อยู่โรงงานมักกะสัน 9 คัน)
http://58.181.223.131/DRC/Drc_K.pdf
หากรถวิ่งไกล อาจจะเจอตัดระยะแบบ ข.9/10/11/12/76/77 ที่เป็นอยู่ก็ไ้ด้ครับ
เพิ่มเติมครับ
อย่าลืมการนำรถ THN/NKF ไปใช้ในรถธรรมดาด้วยนะครับ ยังไงก็ตามรถพวกนี้ยังต้องวิ่งให้บริการชาวบ้านอยู่ครับ |
|
Back to top |
|
|
casanotoey
3rd Class Pass (Air)
Joined: 03/07/2006 Posts: 412
|
Posted: 19/09/2012 8:25 am Post subject: |
|
|
ผมว่าให้กลับไปดูตารางรถไฟปี 2520 จะดีมาก ข ธรรมดามีมาก แต่ใช้เวลาวิ่งเหมือนรถเร็ว ไม่เหมือนปัจจุบัน รถเร็วมีมากแต่ใช้เวลาวิ่งยิ่งกว่ารถธรรมดา |
|
Back to top |
|
|
digimontamer
3rd Class Pass (Air)
Joined: 12/05/2009 Posts: 487
|
Posted: 19/09/2012 7:39 pm Post subject: |
|
|
1. 115/116 อันนี้ผมก็เห็นด้วยครับ มันเป็นรถเร็วทหารม้าจริงๆ (แม้ 116 ขาเข้าจะพอมีผู้โดยสารบ้างก็ตาม) แต่เสียดายเหมือนกัน เพราะ 115 ไปถึงพิษณุโลกเวลาค่อนข้างดี
2. 143/144 คราวก่อนหยุดวิ่งไป คนสรรเสริญไปทีแล้ว ยังวางแผนจะหยุดวิ่งอีกหรือ จำนวนคนก็ไม่ได้น่าเกลียดอะไรเลยนา
3. 10/11 อันนี้ยอมรับครับว่าสู้รถทัวร์ไม่ได้ และควรยกเลิก |
|
Back to top |
|
|
KT-Station
2nd Class Pass (Air)
Joined: 03/11/2009 Posts: 948
Location: โรงเรียนบ้านหนองขุ่นเหล่าหลักวิทยา
|
Posted: 20/09/2012 10:55 am Post subject: |
|
|
thanaratKK wrote: | รถดีเซลรางนั้นต้องคำนึงถึงระยะทางด้วยนะครับ เนื่องจากการใช้งานควรจะอยู่ในระยะสั้น-กลาง ซึ่งที่เห็นในปัจจุบันวิ่งเกินกำลังมันตลอดครับ แถมไปถึงก็ตีกลับทันที ทำให้รถไม่ได้พัก
จำนวนรถดีเซลรางในระบบครับคร่าวๆ ครับ
THN+NKF 100 คัน(อยู่สายแม่กลองประมาณ 18-20 คัน)
RHN (63 คัน มี กซข.30 คัน จึงมี 30 ชุด แต่ตอนนี้ใช้ได้ 17-18 ชุด ต่อวัน)
ATR 11 คัน(อยู่สายแม่กลอง 1 คัน)
ASR เหลือใช้งานตอนนี้ประมาณ 6-7 คัน (อยู่โรงงานมักกะสัน 10 คัน)
ADR เหลือใช้งานตอนนี้ประมาณ 25 คัน (อยู่โรงงานมักกะสัน 9 คัน)
http://58.181.223.131/DRC/Drc_K.pdf
หากรถวิ่งไกล อาจจะเจอตัดระยะแบบ ข.9/10/11/12/76/77 ที่เป็นอยู่ก็ไ้ด้ครับ
เพิ่มเติมครับ
อย่าลืมการนำรถ THN/NKF ไปใช้ในรถธรรมดาด้วยนะครับ ยังไงก็ตามรถพวกนี้ยังต้องวิ่งให้บริการชาวบ้านอยู่ครับ |
ครับ ขอบคุณพี่ธนรัตน์ มากครับ คือ ก่อนอื่นต้องขอให้พี่อ่านทำความเข้าใจรายละเอียดที่ผมกล่าวก่อนนะครับ ค่อยเชื่อมโยงประเด็น..
ผมพอสรุปความเข้าใจและขอคิดเห็นต่อความเห็นของพี่ธนรัตน์ ดังนี้
1.จริงอยู่ครับ ที่ ณ ปัจจุบัน เราใช้งานรถดีเซลหนักจริงๆ แต่ ณ ปัจจุบัน ถ้าพูดถึงยุบหรือยกเลิกขบวนรถนะครับ (เฉพาะเรื่องนี้) ควรนำรถชนิดนี้มาจัดสรร แบบที่ผมกล่าวดีกว่ามั้ย อย่างน้อยรถไปขาเดียวแล้วได้พัก ระยะทางอาจไกลก็จริง แต่เมื่อเทียบกับรถเสียเวลาขาไป แล้วตีกลับเลย ระยะทางผมว่า ยาวกว่ากันมากครับ อาทิเช่น ดพ.ข. 9/10 กรุงเทพ-เชียงใหม่-กรุงเทพ หากรถเสียเวลาเกิน 30 นาที นั่นแสดงว่ารถจะต้องวิ่งต่อเนื่อง 1,502 กิโลเมตร เมื่อเปรียบเทียบกับระยะทางขาไปขาเดียว กรุงเทพ-สไหงโกลก ระยะทาง 1,159 กิโลเมตร จะเห็นว่าสายเชียงใหม่จะสูงกว่า 343 กิโลเมตรเชียวครับ และบางครั้งเผลอๆเสียเวลามาก ก็ไปไม่ถึงปลายทางเพราะรถจะต้องตัดระยะทางทำอีกขบวนกลับ และขนผู้โดยสารขึ้นรถทัวร์ไปส่งปลายทางแทน เสียทั้งค่ารถทัวร์เพิ่ม เสียทั้งความเชื่อมั่นของผู้โดยสาร เรียกได้ว่า เสียนกตัวเดียว เสียทั้ง 2 ต่อเลย..
2.เรื่องของรถชานเมือง ณ ปัจจุบัน ผมได้กล่าวแล้วว่า ควรใช้รถจักรทำขบวนแทน แน่นอนครับว่า ด้วยสถานะปัจจุบัน เรามีรถค่อนข้างจำกัด ด้วยอุบัติเหตุชนรถชาวบ้านบ้าง เข้าซ่อมบ้าง ประกอบกับรถดีเซลรางปัจจุบันไม่มีเวลาพักมาก ดังนั้น เพือ่การจัดสรร-รถ ควรทำอย่างที่ผมว่า คือใช้รถจักรแทน อาจเสียเวลากว่ากันหน่อย แต่ก็ไม่เสียหายมากนักกับสถานะที่เรามีรถจำกัดในปัจจุบันครับ ผมขอยกตัวอย่างสักนิด เช่น กรุงเทพ-ฉะเชิงเทรา ถ้าใช้ดีเซลรางทำขบวน ใช้เวลาประมาณ 1.30 ชม. ถ้าใช้รถจักรดีเซลทำขบวน ใช้เวลาประมาณ 1.50 ชม. ซึ่งห่างกัน 20 นาที ถือว่ายังอยู่ในเกณฑ์ไม่มากไปและน้อยไป และปัจจุบัน รถธรรมดาและรถชานเมืองส่วนใหญ่ตอนนี้ก็นำรถจักรดีเซล มาทำการแทน..
ครับผมพอจะสรุปความเข้าใจคร่าวๆ ของพี่ธนรัตน์มาให้ดู และท้ายที่สุด ต้องขอขอบคุณเรื่องข้อมูลจำนวนรถดีเซลรางแต่ละแขวงด้วยครับ ที่ทำให้ได้ทราบข้อมูลกัน.. |
|
Back to top |
|
|
|