View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
rimura
2nd Class Pass (Air)
Joined: 16/08/2006 Posts: 778
Location: Suan luang Rama IX, Pravet, Bangkok
|
Posted: 14/02/2012 8:22 pm Post subject: |
|
|
พวกกล่องพ่วงต่างๆที่มีกันอยู่เยอะแยะมากมายไปหมด ก็คือการไปเปลี่ยนค่าหรือแปลงสัญญาณควบคุมอุปกรณ์กันเป็นส่วนใหญ่นั่นล่ะครับ เพียงแต่ว่าเมื่อไหร่ที่โรงงานผู้ผลิตต้องการปรับสเปคของเครื่องยนต์ให้มีกำลังสูงขึ้น ก็จะปรับเปลี่ยนโปรแกรมที่ป้อนลงไป ซึ่งก็จะเกี่ยวข้องกับ ค่าแรงดันในระบบ ระยะเวลาในยกตัวของหัวฉีด ฯลฯ คล้ายคลึงกับการพ่วงกล่องทั้งหลาย แต่ที่ต่างก็คืออาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์บางตัวเพื่อให้ทำงานได้ดีขึ้น แข็งแรงทนทานมากขึ้นตามไปด้วย
ใช่แล้วครับ อย่างที่กล่าวมา เครื่องดีเซลทุกระบบมันก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียอยู่ในตัวของมันเอง อยู่ที่ว่าจะเลือกเอาระบบอย่างไหน มาใช้ในงานอะไร เพราะเครื่องยนต์ดีเซลแบบที่ระบบสั่งจ่ายเชื้อเพลิงเน้นแบบกลไกเป็นหลัก ก็ยังมีข้อได้เปรียบที่การซ่อมบำรุงทำได้ง่าย ไม่ซับซ้อนมาก ราคาถูกเพราะไม่ต้องการความละเอียดในการออกแบบที่สูงมาก สามารถใช้งานในสภาพแวดล้อมที่จำกัดได้
และโดยเหตุผลหลักๆที่บรรดารถยนต์เปลี่ยนมาใช้ระบบคอมมอนเรลควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ก็เป็นเรื่องของความต้องการลดมลภาวะให้ต่ำลง และต้องการกำลังของเครื่องยนต์ที่สูงขึ้น ตอบสนองดีขึ้น ที่ความจุเท่าเดิมหรือเล็กลงครับ |
|
Back to top |
|
|
Cummins
2nd Class Pass
Joined: 28/03/2006 Posts: 719
Location: มหาวิทยาลัยราชมงคลอิสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา
|
Posted: 15/10/2012 3:44 pm Post subject: ต่อซะหน่อย |
|
|
ก็ห่างหายไปนานด้วยภารกิจต่างๆ ที่แทบจะไม่มีเวลาหายใจหายคอเอาเลยทีเดียวครับแต่เมื่อเห็นจำนวนเพจวิวก็ต้องทำใจหาเวลามาเขียนให้อ่านกันต่อครับ ที่เขียนค้างไว้ก็คือเรื่องของปั๊มเดี่ยวเฉพาะของเครื่องยนต์ดีเซล ก่อนอื่นก็ขอทบทวนนิดนึงก่อนนะครับว่า เรื่องของเครื่องยนต์ดีเซลนั้นมีเรื่องตลกที่ตลกไม่ออกอยู่นิดนึงตรงที่ว่านักประดิษฐ์ที่คิดค้นเครื่องยนต์ดีเซล (ก่อนนั้นยังไม่ได้ถูกเรียกว่าเครื่องยนต์ดีเซล) ขึ้นมานั้น ดันลืมคิดว่าจะหาทางฉีดเชื้อเพลิงผ่านอากาศที่ถูกอัดให้มีความดันสูงอยู่ในกระบอกสูบได้อย่างไร ดังนั้นจึงเป็นที่มาของระบบปั๊มฉีดเชื้อแบบต่างๆ นาๆ ทั้งที่กล่าวมาแล้วส่วนหนึ่ง และกำลังจะกล่าวในอีกต่อไปครับ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้นว่าในยุคแรกนั้นเครื่องยนต์ดีเซลใช้อากาศแรงอัดสูง (ราวๆ 2000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) เป่าเชื้อเพลิงเข้าไปในกระบอกสูบแต่มีข้อจำกัดมากมายจึงทำให้ระบบนี้ไม่สามารถพัฒนาต่อไปได้ จึงถูกเปลี่ยนมาเป็นวิธีการฉีดด้วยกำลังดันของเชื้อเพลิงซึ่งยังคงใช้อยู่มาจนถึงทุกวันนี้ จึงทำให้ต้องมีปั๊มแบบต่างๆ เพื่อทำหน้าที่ในการสูบส่งเชื้อเพลิงไปยังห้องเผาไหม้ และปั๊มเดี่ยวเฉพาะสูบก็เป็นปั๊มที่เป็นปั๊มแบบพื้นฐานที่ใช้คู่กับเครื่องยนต์ดีเซลในเวลาต่อมาตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน ในอดีตนั้นเครื่องยนต์ดีเซลมีขนาดใหญ่มีพื้นที่ในการติดตั้ง จึงสามารถใช้ปั๊มเดี่ยวเฉพาะสูบแบบตัวต่อตัวได้ แต่ต่อมาเมื่อเครื่องยนต์มีขนาดเล็กลง ที่ความเร็วรอบในการทำงานสูงขึ้นมีการประยุกต์ไปใช้งานหลากหลายลักษณะทำให้เกิดข้อจำกัดในสร้าง และควบคุมเครื่องยนต์ดังนั้นระบบฉีดเชื้อเพลิงจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาให้สอดคล้องกับวิวัฒนาการของเครื่องยนต์เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการทำงานที่สูงที่สุด และเมื่อยังไม่สามารถหาระบบที่ดีกว่าเข้าทดแทนได้ (ในเวลานั้น) ดังนั้นจึงจำเป็นต้องหาวิธีในการพัฒนาระบบที่มีอยู่ ในระบบปั๊มเดี่ยวเฉพาะสูบแบบตัวต่อตัวก็เช่นกัน เมื่อระบบไม่สอดคล้องกับเครื่องที่ได้รับการพัฒนาไปจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาโดยนำเอาชุดลูกปั๊มและระบบควบคุมของปั๊มเดี่ยวเฉพาะสูบมาประกอบรวมในเรือนปั๊มเดียวกันมีระบบขับเคลื่อนและระบบควบคุมทั้งหมดอยู่ในตัวเรือนเดียวกันทำให้มีขนาดเล็กลงสามารถติดตั้งเข้ากับเครื่องยนต์ได้ง่ายขึ้น แต่เนื่องจากชุดลูกปั๊มถูกประกอบเข้ากับเรือนปั๊มในลักษณะแถวเรียงเดี่ยวจึงถูกเรียกว่าปั๊มแบบอินไลน์ (In-line type) จึงเป็นที่รู้กันว่ามันคือปั๊มเดี่ยวเฉพาะสูบที่รวมเอาชุดลูกปั๊ม และระบบต่างๆ ไว้เป็นยูนิตเดียวกันนั่นเอง
Uploaded with ImageShack.us
จากรูปแสดงให้เห็นปั๊มแบบเดี่ยวเฉพาะสูบชนิดแถวเรียงเดี่ยวประกอบด้วยชุดลูกปั๊ม 6 ชุดอยู่ตัวเรือนเดียวกัน ใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล 6 สูบซึ่งมีอุปกรณ์ส่วนควบครบคือมีทั้งอุปกรณ์ขับเคลื่อนลูกปั๊มซึ่งรับกำลังขับเคลื่อนมาจากเพลาข้อเหวี่ยง อุปกรณ์ควบคุมองศาจุดระเบิด ปั๊มป้อน และเครื่องควบคุมความเร็วซึ่งรายละเอียดโครงสร้างและหลักการทำงานจะได้ค่อยๆ ทยอยกล่าวโดยละเอียดต่อไปครับ _________________ อดีตโชเฟอร์ล้อเหล็ก |
|
Back to top |
|
|
Cummins
2nd Class Pass
Joined: 28/03/2006 Posts: 719
Location: มหาวิทยาลัยราชมงคลอิสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา
|
Posted: 15/10/2012 11:08 pm Post subject: |
|
|
ครับถึงตอนนี้เรามาดูโครงสร้างและส่วนประกอบภายในของปั๊มเดี่ยวเฉพาะสูบแบบแถวเรียงกันนะครับ เพราะหลังจากที่เครื่องยนต์ดีเซลถูกพัฒนาและสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์ มีการใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องยนต์ดีเซลในประเทศเยอรมันก็ได้พัฒนาระบบฉีดเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ดีเซลด้วยตัวเอง โดยบริษัทโรเบิร์ต บอสช์ เป็นผู้วิจัยพัฒนา โดยกำหนดเป็นมาตรฐานเดียวกันเพื่อความสะดวกในการซ่อมบำรุง และลดภาระของผู้สร้างเครื่องยนต์ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน เพิ่มความสะดวกให้ผู้ใช้และผู้ซ่อมบำรุงและยังคงใช้เป็นมาตรฐานปั๊มดีเซลมาจนถึงทุกวันนี้
Uploaded with ImageShack.us
จากรูปจะเป็นรูปแสดงโครงสร้างของปั๊มเดี่ยวเฉพาะสูบแบบแถวเรียงเดี่ยวเราจะเห็นว่าก็จะมีโครงสร้างและส่วนประกอบหลักเหมือนกับปั๊มเดี่ยวเฉพาะสูบแบบตัวใครตัวมันทุกประการ เพียงแต่นำชุดลูกปั๊มเข้ามาประกอบเข้าในตัวเรือนเดียวกัน และใส่เพลาลูกเบี้ยวเข้าไปเพื่อใช้ขับเคลื่อนชุดลูกปั๊มทั้งหมดโดยลำดับการเตะของลูกเบี้ยวจะเป็นไปตามลำดับการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ ส่วนกำลังงานที่ใช้ขับเพลาลูกเบี้ยวนั้นส่งกำลังมาจากเพลาข้อเหวี่ยงของเครื่องยนต์โดยส่งผ่านเฟือง โซ่ หรือสายพานก็ได้ โดยที่เครื่องยนต์สี่จังหวะเพลาลูกเบี้ยวของปั๊มจะถูกทดให้หมุนช้ากว่าเพลาข้อเหวี่ยงในอัตรา 2:1 แต่ถ้าเป็นเครื่องยนต์สองจังหวะจะหมุนเท่าเพลาข้อเหวี่ยง ส่วนรูปต่อไปก็จะเป็นรูปตัดตลอดความยาวที่แสดงให้เห็นส่วนประกอบภายในทั้งหมด และช่องทางน้ำมันเชื้อเพลิงตั้งแต่น้ำมันแรงดันต่ำที่ป้อนเข้าปั๊ม จนกระทั่งน้ำมันแรงดันสูงฉีดออกหัวฉีด ดังแสดงให้เห็นเป็นเส้นทึบสีดำ
Uploaded with ImageShack.us
นอกจากโรเบิร์ต บอสช์ แล้วยังมีผู้ผลิตๆ อีกหลายกลุ่ม หลายบริษัท เช่น CAV แห่งประเทศอังกฤษ อเมริกัน บอสช์ แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผู้สร้างเครื่องยนต์อีกหลายๆ บริษัทที่พัฒนาระบบเชื้อเพลิงขึ้นใช้เองเช่น แคตเตอร์พิลล่า เยนเนอร์รัลมอเตอร์ แต่ก็ยังคงโครงสร้างพื้นฐานและหลักการ ของแจ็คปั๊ม คือขับเคลื่อนลูกปั๊มด้วยลูกเบี้ยว และคอยล์สปริง โดยยังใช้หลักการการควบคุมปริมาณน้ำมันโดยการบิดหมุนลูกปั๊มเพื่อเปลี่ยนตำแหน่งร่องเฉียงคล้ายๆ กันหมดเพียงมีรายละเอียดปลีกย่อยต่างออกไปเพื่อวัตถุประสงค์ในสมรรถนะของเครื่องยนต์ หรือเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิบัตร _________________ อดีตโชเฟอร์ล้อเหล็ก |
|
Back to top |
|
|
Cummins
2nd Class Pass
Joined: 28/03/2006 Posts: 719
Location: มหาวิทยาลัยราชมงคลอิสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา
|
Posted: 20/10/2012 5:13 pm Post subject: |
|
|
อีกประการหนึ่งก็คือเพื่อป้องกันการขาดแคลนชิ้นส่วนอะไหล่ในยามสงคราม ซึ่งเราจะเห็นว่ากลุ่มผู้ผลิตเครื่องยนต์ในสหรัฐอเมริกาหลายๆ ยีห้อ เช่น แคตเตอร์พิลล่า คัมมินส์ จีเอ็ม ซึ่งผู้ผลิตเครื่องยนต์เหล่านี้จะพัฒนาระบบฉีดเชื้อเพลิงเป็นของตัวเองก็เพื่อป้องกันสภาวะการขาดชิ้นส่วนอะไหล่ในกรณีที่กล่าวมา และเราจะเห็นว่าเครื่องยนต์ในยี่ห้อที่กล่าวมานี้ต่างก็ได้รับคัดเลือกให้ใช้เป็นเครื่องยนต์ต้นกำลังในราชการทหารทั้งสิ้นที่นี่เราจะมาดูโครงสร้างของปั๊มเดี่ยวเฉพาะสูบแบบแถวเรียงของผู้ผลิตอื่นๆ กันบ้างครับว่าเหมือนหรือต่างกับของโรเบิร์ต บอสช์อย่างไร
Uploaded with ImageShack.us
จากรูปเป็นปั๊มที่ออกแบบและสร้างโดยบริษัท CAV แห่งประเทศอังกฤษ ใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลที่ผลิตในประเทศอังกฤษทั้งหมดเช่น เปอร์กิน และเลย์แลนด์ เป็นต้น
และรูปต่อมาเป็นของยี่ห้อซิมม์ครับ ซึ่งผู้สร้างก็คือ CAV เข้าใจว่าน่าจะเป็นปั๊มที่มีขนาดที่เล็กกว่าขนาดมาตรฐานของ CAV ตามรูปที่แสดงต่อไปซึ่งบอกไว้เพียงเป็นปั๊มแบบ SPE ของซิมม์
Uploaded with ImageShack.us _________________ อดีตโชเฟอร์ล้อเหล็ก |
|
Back to top |
|
|
Cummins
2nd Class Pass
Joined: 28/03/2006 Posts: 719
Location: มหาวิทยาลัยราชมงคลอิสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา
|
Posted: 20/10/2012 11:45 pm Post subject: |
|
|
นอกจากนี้โรเบิตร์บอสช์แล้ว ยังมี อเมริกันบอสช์ ครับ เรื่องที่มาที่ไปนี้ผมไม่ค่อยแน่ใจเท่าไรนัก แต่อเมริกัน บอสช์น่าเกิดขึ้นหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 คือหลังจากที่เยอรมันแพ้สงครามการพัฒนาเครื่องจักรเครื่องยนต์เพื่อใช้เป็นต้นกำลัง เป็นเครื่องจักรเครื่องกลในการก่อสร้าง และการขนส่งเพื่อการพัฒนาประเทศก็เริ่มมีมากขึ้นเข้าใจว่า สหรัฐอเมริกาน่าจะบีบบังคับเอาเทคโนโลยีเครื่องยนต์ดีเซลจากเยอรมันรวมทั้งเทคโนโลยีของระบบฉีดเชื้อเพลิงด้วยจึงทำให้ได้รูปแบบปั๊มแบบแถวเรียงเดี่ยวของ อเมริกันบอสช์ ดังรูป
Uploaded with ImageShack.us
จากรูปเป็นปั๊มขนาด A ของอเมริกันบอสช์ครับใช้กับเครื่องยนต์ขนาดเล็ก เช่น ฟอร์ด อินเตอร์เนชั่นแนล จอนห์เดียร์ เป็นต้นและยังมีขนาดที่ใหญ่กว่าซึ่งใช้สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลหมุนเร็วขนาดใหญ่กว่า 200 ขึ้นไปเช่นเครื่องยนต์ยี่ห้อ อินเตอร์เนชั่นแนล และ Mack เป็นต้น
Uploaded with ImageShack.us _________________ อดีตโชเฟอร์ล้อเหล็ก |
|
Back to top |
|
|
Cummins
2nd Class Pass
Joined: 28/03/2006 Posts: 719
Location: มหาวิทยาลัยราชมงคลอิสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา
|
Posted: 21/10/2012 11:28 pm Post subject: |
|
|
คราวนี้เรามาดูปั๊มแบบแถวเรียงเดี่ยวของแคตเตอร์พิลล่ากันบ้าง แคตเตอร์พิลล่านั้นถือได้ว่าเป็นผู้ผลิตเครื่องจักรกลและเครื่องยนต์ดีเซลต้นกำลังชั้นแนวหน้าของประเทศสหรัฐอเมริกาครับโดยพัฒนาระบบเครื่องยนต์ดีเซลหมุนเร็วของตัวเองวัตถุประสงค์ก็เพื่อทดแทนเครื่องจักรไอน้ำ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และครั้งที่สอง โดยเฉพาะอย่ายิ่งเมื่อหลังจากสงครามโลกครั้งที่สองจบสิ้นลง หลายๆ ประเทศต่างเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์กันอย่างเต็มที่ไม่เว้นกระทั่งญี่ปุ่นที่ถือว่าบอบช้ำจากสงครามมากที่สุด
สำหรับแคตเตอร์พิลล่านั้นได้พัฒนาเครื่องยนต์ดีเซลหมุนเร็วจนกระทั่งมีระบบเครื่องยนต์พื้นฐานที่เป็นของตัวเอง อย่างเช่นระบบห้องผาไหม้ล่วงหน้าของแคตเตอร์พิลล่าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะที่ไม่เหมือนใคร และระบบปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีเอกลักษณ์ที่เป็นของตัวเองเป็นต้น แต่จริง ๆ แล้วระบบพื้นฐานของปั๊มแคตก็ยังแจ็คปั๊มที่ควบคุมปริมาณน้ำมันด้วยการบิดหมุนลุกปั๊มเพื่อเปลี่ยนตำแหน่งร่องเฉียงนั่นเองล่ะครับเพียงแต่สร้างให้มีรูปร่างลักษณะและระบบอุปกรณ์ส่วนควบต่างๆ ให้แตกต่างออกไปซึ่งปัจจุบันนี้แบ่งออกตามลักษระการควบคุมได้สองแบบใหญ่ๆ คือ
1. การควบคุมปริมาณน้ำมันแบบบิดหมุนลูกปั๊มซึ่งแคตเตอร์พิลล่าเรียกว่า Scroll Fuel System มีโครงสร้างดังรูป
Uploaded with ImageShack.us
ซึ่งรูปแรกนี้จะเป็นวงจรน้ำมันเชื้อเพลิงทั้งหมดตั้งแต่ถังจนถึงหัวฉีดครับ โดยเริ่มต้นจากถังน้ำมัน (1) เมื่อเริ่มสตาร์ทเครื่องยนต์ ปั๊มป้อน (Transfer pump) (9) ซึ่งเป็นปั๊มแบบเฟืองฟันนอกจะถูกขับโดยเครื่องยนต์ก็จะเริ่มต้นทำงานสูบน้ำมันจากถังผ่านตะแกรงกรอง (Strainer) (8) ก่อนที่ป้อนเข้าสู่หม้อกรอง (Filter) (4) และป้องเข้าสู่ปั๊มแรงดันสูง (5) โดยมีลิ้นควบคุมความดัน (3) ทำหน้าที่ควบคุมความดันในระบบให้เพียงพอต่อการใช้งานอยู่ที่ประมาณ 30-35 ปอนด์ต่อตารางนิ้วที่รอบสูงสุด เพื่อป้อนให้กับปั๊มแรงดันสูงต่อไป ทีนี้เราก็มาดูโครงสร้างของปั๊มแรงดันสูงกันต่อไป
Uploaded with ImageShack.us
โครงสร้างของปั๊มแคตนั้นจะประกอบไปด้วยเสื้อปั๊ม (1) ที่มีช่องรับน้ำมันแรงดันต่ำอยู่ภายใน (ตรงหัวลูกศร) เพื่อป้อนน้ำมันเข้ากับกระบอกปั๊ม (2) ส่วนลูกปั๊ม (5) สวมอยู่ในกระบอกปั๊มวางอยู่บนลูกกระทุ้ง (8) โดยมีแผ่นรองสอดที่กึ่งกลางลูกปั๊มส่วนสปริงปั๊ม (6) ด้านบนจะยันอยู่กับกระบอกปั๊มโดยที่บ่าด้านล่างของกระบอกปั๊มจะยันอยู่กับเสื้อปั๊มโดยมีแหวนกันรั่วกั้นไว้ ที่ด้านล่างของลูกปั๊มจะมีเฟืองวงแหวน (4) รัดอยู่เพื่อขบกับเฟืองที่ก้านบังคับ (7) และเมื่อเราชักก้านบังคับ (7) ให้เคลื่อนที่ไปมาก็จะทำให้ลูกปั๊มบิดหมุนไปมาซึ่งจะทำให้ร่องเฉียงที่ลูกปั๊มเปลี่ยนตำแหน่งไปทำให้สามารถควบคุมปริมาณน้ำมันที่จะส่งออกไปได้ ส่วนเพลาลูกเบี้ยว (9) ที่ประกอบอยู่ที่ด้านล่างนั้นทำหน้าที่ขับเคลื่อนลูกปั๊มโดยรับกำลังขับเคลื่อนมาจากเพลาข้อเหวี่ยง และเมื่อลูกปั๊มอัดน้ำมันออกจากกระบอกปั๊มน้ำมันก็จะดันผ่านลิ้นส่ง (3) เอาชนะแรงสปริงที่ลิ้นส่งไปยังหัวฉีดต่อไป โดยชุดลิ้นส่งและฝาครอบลิ้นส่งจะถูกขันยึดเข้ากับเสื้อปั๊มโดยแหวนเกลียวกดทั้งฝาครอบลิ้นส่ง ตัวลิ้นส่ง และกระบอกปั๊มเข้าด้วยกันโดยระหว่างลิ้นส่งกับกระบอกปั๊มจะสัมผัสกันด้วยความเรียบเท่านั้น จะไม่มีแหวนกันรั่วใด ๆ ทั้งสิ้น _________________ อดีตโชเฟอร์ล้อเหล็ก |
|
Back to top |
|
|
ice1234
3rd Class Pass
Joined: 09/04/2010 Posts: 100
Location: เชียงใหม่ - ย่านศิลาอาสน์ - หลักสี่
|
Posted: 22/10/2012 12:08 am Post subject: |
|
|
Page เจ๋งจริงครับ ผมชอบเรื่องเครื่องยนต์มาก แต่ไม่ได้เรียนสาขาด้านนี้ ชอบเข้ามาอ่านอยู่บ่อยๆ ขอติดตามชมเทนโนโลยีเครื่องยนต์ด้วยครับ _________________
|
|
Back to top |
|
|
Cummins
2nd Class Pass
Joined: 28/03/2006 Posts: 719
Location: มหาวิทยาลัยราชมงคลอิสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา
|
Posted: 22/10/2012 9:17 pm Post subject: |
|
|
2. ปั๊มแบบ Sleeve metering ปั๊มแบบ Sleeve metering ของแคตเตอร์พิลล่านี้โครงสร้างพื้นฐานก็ยังเป็น
แจ็คปั๊มขับเคลื่อนด้วยลูกเบี้ยวและคอยล์สปริงเหมือนเดิม แต่ต่างกันที่วิธีการควบคุมปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง จากวิธีการเปลี่ยนตำแหน่งร่องเฉียงโดยการบิดหมุนลูกปั๊ม เป็นวิธีการเปลียนตำแหน่งแหวนปรับแต่งปริมาณน้ำมันที่สวมอยู่กับลูกปั๊มตามโครงสร้างของปั๊มตามรูป
Uploaded with ImageShack.us
จากโครงสร้างนั้นเราจะเห็นว่าชุดลูกปั๊ม(7) จะวางอยู่บนลูกกระทุ้ง(11) และถูกขับด้วยเพลาลูกเบี้ยว(12) สปริงลูกปั๊ม(4) ซึ่งด้านบนของสปริงจะยันอยู่กับกระบอกปั๊มเหมือนเดิม ส่วนด้านล่างของสปริงนั้นจะยันอยู่กับแผ่นล็อคลูกปั๊ม(6) ที่เสียบเข้ากับร่องที่กึ่งกลางของลูกปั๊มเราจะเห็นว่าจากโรงสร้างดังกล่าวจะทำให้ลูกปั๊มเคลื่อนที่ขึ้นด้วยการเตะของลูกเบี้ยวและกลับด้วยสปริงได้ ส่วนการควบคุมปริมาณน้ำมันนั้นทำได้โดยขยับแหวนปรับปริมาณน้ำมัน(8) ที่สวมอยู่ตอนล่างของลูกปั๊มขึ้นลง โดยก้านบังคับน้ำมัน(11) จะทำให้สามารถควบคุมปริมาณน้ำมันได้ สิ่งที่ต่างกันของปั๊มทั้งสองระบบนี้คือการหล่อลื่นกลไกของปั๊ม โดยในปั๊มระบบ Scroll ส่วนล่างที่เป็นส่วนขับเคลื่อนนั้นจะหล่อลื่นด้วยน้ำมันหล่อลื่นจากเครื่องยนต์ แต่ในระบบ Sleeve metering ในห้องปั๊มรวมไปถึงห้องเพลาลูกเบี้ยวจะบรรจุไว้ด้วยน้ำมันเชื้อเพลิงความดันประมาณ 30-40 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว เพื่อบรรจุเข้ากระบอกปั๊มและหล่อลื่น ต่อไปเราจะมาดูวิธีการควบคุมปริมาณน้ำมันกันครับ
Uploaded with ImageShack.us
จากรูปที่แสดง (กรุณาดูประกอบกันทั้งสองรูป) ให้ดูรูป A จะเป็นการแสดงให้การประจุน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ากระบอกปั๊มกล่าวคือ เมื่อลูกปั๊มเคลื่อนที่ลงจนกระทั้งรูประจุน้ำมันที่ลูกปั๊ม(5) พ้นขอบกระบอกปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงที่ถูกปั๊มป้อนประจุเข้ามาในเสื้อปั๊มจะไหลผ่านรูประจุ(5)เข้าสู่กระบอกปั๊ม(3) และเมื่อลูกเบี้ยวหมุนต่อไปลูกปั๊มจะถูกดันขึ้นโดยลูกเบี้ยวตามรูป B จนกระทั่งรูประจุ(5) ถูกปิดโดยขอบของกระบอกปั๊มถึงตอนนี้น้ำมันเชื้อเพลิงจะถูกกักไว้ในกระบอกปั๊มเป็นการเตรียมฉีด และเมื่อลูกปั๊มเคลื่อนที่ต่อไปน้ำมันก็จะถูกลูกปั๊มดันออกจากกระบอกปั๊มผ่านลิ้นจ่าย(1) ออกไปยังหัวฉีด ส่วนรูป C เป็นการสิ้นสุดการฉีด กล่าวคือลูกปั๊มถูกลูกเบี้ยวเตะให้เคลื่อนที่ขึ้นจนกระทั่งรูระบาย(9) พ้นขอบแหวนควบคุมปริมาณน้ำมัน(8) น้ำมันในกระบอกปั๊มจะถูกระบายกลับทำให้การฉีดน้ำมันสิ้นสุดลง
ส่วนการควบคุมปริมาณน้ำมันนั้นทำได้โดยเปลี่ยนตำแหน่งของแหวนควบคุมปริมาณน้ำมัน(8) ที่สวมอยู่ตอนล่างของลูกปั๊ม(9) ด้วยก้านบังคับ(10) กล่าวคือก้านบังคับบิดทวนเข็มนาฬิกาแหวนควบคุมปริมาณน้ำมันจะถูกเลื่อนขึ้นจะเห็นว่าลูกปั๊มต้องเลื่อนขึ้นไปมากกว่าที่รูระบายน้ำมัน(9) จะพ้นขอบวงแหวนควบคุม โดยเทียบระยะการเคลื่อนที่หลังจากที่ขอบกระบอกปั๊มปิดรูประจุผลก็คือปริมาณการฉีดจะมากขึ้น ในเวลาเดียวกันถ้าบิดก้านบังคับตามเข็มนาฬิกาแหวนควบคุมปริมาณน้ำมันจะถูกเลื่อนลงถึงตอนนี้เมื่อลูกปั๊มเลื่อนขึ้นเพื่อฉีดน้ำมันรูระบาย(9) จะพ้นขอบวงแหวนควบคุมเร็วขึ้นทำให้ปริมาณการฉีดน้ำมันลดลง และถ้าเลื่อนแหวนควบคุมต่ำลงไปอีกจะกระทั่งเมื่อลูกปั๊มเลื่อนขึ้นรูประจุยังไม่ปิด และรูระบายเปิดก่อนจะทำให้ไม่มีการฉีดน้ำมันจะเป็นการดับเครื่องยนต์ซึ่งตอนนี้จะเห็นว่าเราสามารถควบคุมการจ่ายน้ำมันของปั๊มได้ _________________ อดีตโชเฟอร์ล้อเหล็ก |
|
Back to top |
|
|
alderwood
1st Class Pass (Air)
Joined: 10/04/2006 Posts: 6593
Location: กรุงเทพ-ราชสีมา
|
Posted: 09/11/2012 3:48 am Post subject: Re: ขุดมั่งน้า ก็มาว่าเรื่องของเครื่องยนต์ดีเซลบ้าง |
|
|
Cummins wrote: | ประกาศลิขสิทธิ์ wrote: | บทความเรื่องเครื่องยนต์ดีเซลดังต่อไปนี้ เฉพาะในส่วนของข้อความทางวิชาการ ซึ่งทำการเรียบเรียงและถ่ายทอดด้วยตัวเจ้าของผลงานเอง ถือเป็นงานเขียนที่มีลิขสิทธิ์ อันเป็นงานอันได้รับความคุ้มครอง ตามกฎหมาย ทรัพย์สินทางปัญญาของไทยโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งถือเป็นสิทธิ ของเจ้าของผลงาน และ/หรือ ของเว็บไซต์รถไฟไทยดอทคอมแต่เพียงผู้เดียว ห้ามมิให้ผู้ใด กระทำการอันละเมิดต่อลิขสิทธิ์ดังกล่าว อาทิ นำไปจัดพิมพ์เพื่อจำหน่าย หรือคัดลอกส่วนหนึ่งส่วนใด หรือทั้งหมด ไปเผยแพร่ยังสื่ออื่น หรือเว็บไซต์อื่นๆ โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งผู้ละเมิดต่อลิขสิทธิ์ดังกล่าว จะถูกดำเนินคดีตามกฏหมายที่บัญญัติไว้อย่างถึงที่สุด |
|
อ.กิตติจั่วหัวไว้ซะขนาดนี้ มันเคยอ่านไหมนี่ copy ไปอย่างหน้าตาเฉย
http://www.thaiairsoftgun.com/board/index.php?topic=100334.0
ยังไม่หมดแค่นี้ ยังมีอีก ทั้งของอ.กิตติ กับอ.นคร อีกกระทู้
http://www.thaiairsoftgun.com/board/index.php?topic=84725.0
หมายเหตุ อ้างอิงจากกระทู้ที่แล้ว
_________________ รักรถไฟมั่นใจโคปเตอร์ || Railway Racing Team || Korat Spotter
|
|
Back to top |
|
|
milkonline
2nd Class Pass (Air)
Joined: 02/07/2009 Posts: 810
Location: อ.เมือง จ.ลพบุรี
|
Posted: 09/11/2012 1:20 pm Post subject: |
|
|
[quote=น้าแมว]ขุด ขุด และขุด
ได้ข่าวมาว่า มีคนแอบเนียนกดปุ่ม Ctrl+C แล้วก็ Ctrl+V บทความนี้ไป ไม่อ้างอิงที่มา หรือแม่แต่ชื่อคนเขียน เอาไปแปะยังกับไปเขียนซะเอง แถมคนนั้นก็ยังเป็นสมาชิกเว็บนี้ด้วย เท่านั้นไม่พอ ได้ข่าวว่ามีไปแอบอ้างว่าเป็นช่างซ่อมรถไฟ แล้วก็พนักงานรถจักรอีกด้วย [/quote]
รู้กันเลยทีเดียว ว่าผู้นั้นเป็นใคร _________________ N-Scale model train lovers.
|
|
Back to top |
|
|
|