View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47510
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 14/11/2012 8:45 am Post subject: |
|
|
ทำรถไฟฟ้าบางขุนนนท์-มีนบุรี เวนคืนอื้องบพุ่ง ถึง1.78 แสนล้าน
เดลินิวส์ วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน 2555 เวลา 07:35 น.
เมื่อวันที่ 13 พ.ย. ที่โรงแรมใบหยกสกาย ประตูน้ำ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จัดการประชุมปฐมนิเทศ งานศึกษาทบทวนรายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ จัดเตรียมเอกสารประกวดราคา และดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐฯ พ.ศ. 2535 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี โดยที่ปรึกษาได้ชี้แจงขอบเขตการทำงาน ภายใต้ระยะเวลา 10 เดือน
แนวเส้นทางโครงการมีจุดเริ่มต้นที่สถานีบางขุนนนท์เป็นโครงสร้างใต้ดินไปตามแนวเขตทางรถไฟสายบางกอกน้อย ผ่านโรงพยาบาลศิริราช ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ผ่านใต้ถนนราชดำเนิน หลานหลวง ยมราช ถนนเพชรบุรี ถนนราชปรารภ ดินแดง เลี้ยวไปตามถนนวิภาวดีรังสิต ผ่านศาลาว่าการ กทม. 2 เลี้ยวขวาไปเชื่อมกับรถไฟฟ้าใต้ดินสายเฉลิมรัชมงคลที่สถานีศูนย์วัฒนธรรม แล้วเข้าถนนพระราม 9 ถนนรามคำแหง ก่อนขึ้นเป็นยกระดับบริเวณหมู่บ้านสัมมากร และไปสิ้นสุดที่จุดตัดกับถนนสุวินทวงศ์ บริเวณมีนบุรี รวมระยะทาง 35.4 กม. เป็นใต้ดิน 26.2 กม. ยกระดับ 9.2 กม. มี 29 สถานี
เป็นสถานีใต้ดิน 22 สถานี ได้แก่
1. บางขุนนนท์
2. ศิริราช
3. สนามหลวง
4. อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
5. หลานหลวง
6. ยมราช
7. ราชเทวี
8. ประตูน้ำ
9. ราชปรารภ
10. รางน้ำ
11. ดินแดง
12. ประชาสงเคราะห์
13. ศูนย์วัฒนธรรมฯ
14. สถานี รฟม.
15. ประดิษฐมนูธรรม
16. รามคำแหง 12
17. รามคำแหง
18. ราชมังคลา
19. หัวหมาก
20. ลำสาลี
21. ศรีบูรพา
22. คลองบ้านม้า
และเป็นสถานียกระดับอีก 7 สถานี ได้แก่
1. สัมมากร
2. น้อมเกล้า
3. ราษฎร์พัฒนา
4. มีนพัฒนา
5. เคหะรามคำแหง
6. มีนบุรี
7. สุวินทวงศ์
นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการ รฟม. เปิดเผยว่า โครงการนี้ ใช้งบลงทุนสูงถึง 1.78 แสนล้านบาท เพราะก่อสร้างใต้ดินเป็นส่วนใหญ่และมีการเวนคืนค่อนข้างมาก ส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณทางขึ้นลงสถานี และปล่องระบายอากาศ คาดว่าโครงการนี้จะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2557 โดยเริ่มก่อสร้างช่วงจากศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรีก่อน เงินลงทุน 5.5 หมื่นล้านบาท เพราะศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้ว ซึ่งมีเส้นทางเปลี่ยนจากเดิมเล็กน้อยที่ช่วงจากสถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ ไปถนนรามคำแหง ที่แต่เดิมจะผ่านไปใต้ถนนเทียมร่วมมิตร เปลี่ยนเป็นถนนพระราม 9 แทน ซึ่งจะรองรับการเดินทางของประชาชนได้มากกว่า และก่อสร้างได้สะดวกขึ้นเพราะถนนกว้างกว่า ส่วนการร่วมมือกับการเคหะฯ ในการพัฒนาแผนอสังหาริมทรัพย์ตามแนวสายทาง อยู่ระหว่างการร่างแผนธุรกิจในการก่อตั้งบริษัทลูก คาดว่าจะใช้เวลาอีกเป็นปี. |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 44100
Location: NECTEC
|
Posted: 14/11/2012 11:20 am Post subject: |
|
|
รฟม.เร่งออกแบบรถไฟฟ้าสีส้มเชื่อม กทม.ฝั่งตะวันออก-ตก ตั้งเป้าเปิดบริการปี 62
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 13 พฤศจิกายน 2555 18:46 น.
รฟม.เปิดเวทีรับฟังเสียงประชาชน เดินหน้าก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี มูลค่า 1.5 แสนล้านบาท ตั้งเป้าเปิดบริการปี 62 ปรับแนวไปตามถนนพระราม 9 ก่อนเข้ารามคำแหง เหตุชุมชนหนาแน่นกว่า เผยเส้นหลักเชื่อม กทม.ฝั่งตะวันออก-ตก และต่อเชื่อมรถไฟฟ้าได้ 8 สาย ลงทุนคุ้มค่าเหตุผลตอบแทนกว่า 19%
นอกจากนี้ยังเป็นเส้นทางแนวตะวันออก-ตะวันตกที่สามารถเข้าสู่ใจกลางกรุงเทพมหานครและเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้าอื่นๆ อีก 8 เส้นทาง ได้แก่ โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช (บริเวณบางขุนนนท์) โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ (บริเวณบางขุนนนท์) โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ (บริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ) โครงการรถไฟฟ้า BTS (บริเวณทางแยกราชเทวี) โครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (บริเวณถนนราชปรารภ) รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (บริเวณศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง (บริเวณแยกลำสาลี) โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี (บริเวณทางแยกร่มเกล้า)
โดยเป็นระบบที่มีสมรรถนะและความปลอดภัยสูง สามารถขนส่งผู้โดยสารอย่างน้อย 55,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง มีศูนย์ซ่อมบำรุงอยู่ที่ห้วยขวาง บริเวณเดียวกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
ทั้งนี้ คาดว่าเมื่อเปิดให้บริการในปี 2562 และเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย จะมีปริมาณผู้โดยสาร 595,750 คนต่อเที่ยวต่อวัน และในปี 2602 จะมีปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเป็น 1,548,500 คนต่อเที่ยวต่อวัน และโครงการนี้มีความคุ้มค่าต่อการลงทุน มีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจร้อยละ 19.4 |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47510
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 14/11/2012 2:32 pm Post subject: |
|
|
ผอ.สนข. เผย ได้ที่ปรึกษาระบบตั๋วร่วมแล้ว
INN News วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2555 13:13น.
ผอ.สนข. เผย ได้ที่ปรึกษาระบบตั๋วร่วมแล้ว รอคลังเคาะค่าจ้าง คาด กลางปีหน้าได้ระบบมาตรฐานกลางทุกระบบขนส่ง
ดร.จุฬา สุขมานพ ผอ.สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรหรือ สนข. เปิดเผยถึงความคืบหน้าระบบตั๋วร่วมว่า ขณะนี้ สนข. ได้ บริษัทที่ปรึกษาระบบตั๋วร่วมแล้ว ซึ่งอยู่ระหว่าง กระทรวงการคลัง พิจารณาวงเงินในการจัดจ้างที่ปรึกษา โดยหลังจากเรื่องดังกล่าวได้ข้อสรุปแล้ว บริษัทที่ปรึกษาจะทำการศึกษาทันที ซึ่งประมาณกลางปี 2556 น่าจะได้ระบบมาตรฐานกลางของตั๋วร่วมที่ทุกระบบขนส่งมวลชนสามารถใช้ร่วมกันได้ เช่น รถเมล์ เรือ ทางด่วน รถไฟฟ้า เป็นต้น
นอกจากนี้ เรื่องศูนย์คมนาคมบางซื่อ ในเดือนนี้น่าจะเห็นรูปแบบ หรือ รายละเอียดของโครงการ ซึ่งเบื้องต้นภายในศูนย์คมนาคมบางซื่อ จะประกอบไปด้วย สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม สนข. การรถไฟแห่งประเทศไทย รวมทั้ง จะเป็นศูนย์กลางระบบคมนาคมในการเชื่อมต่อทั้งรถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่ ของเส้นทางภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ |
|
Back to top |
|
|
headtrack
1st Class Pass (Air)
Joined: 30/05/2009 Posts: 1627
Location: ละแวกภาคกลางตอนบน และภาคเหนือตอนล่าง
|
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 44100
Location: NECTEC
|
Posted: 15/11/2012 12:07 am Post subject: |
|
|
โผบัญชีสถานีสายส้ม จาก รฟม.เร่งออกแบบรถไฟฟ้าสีส้มเชื่อม กทม.ฝั่งตะวันออก-ตก ตั้งเป้าเปิดบริการปี 62
สถานีใต้ดิน 22 สถานี
1. บางขุนนนท์
2. ศิริราช
3. สนามหลวง
4. อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
5. หลานหลวง - น่าจะเป็นที่ สะพานผ่านฟ้า
6. ยมราช
7. ราชเทวี
8. ประตูน้ำ
9. ราชปรารภ
10. รางน้ำ
11. ดินแดง
12. ประชาสงเคราะห์
13. ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
14. รฟม. คงไม่ไกลจาก อาคารว่องวานิชหละมั้ง หรือไม่ก็แถวหน้าโรงพยาบาลปิยะเวช
15. ประดิษฐมนูธรรม - แถวๆ ตึกมหาจักร หนะ สงงัยกะเก้งกำไรที่แถวส
16. รามคำแหง 12 - กะให้อยู่ หน้า เดอะมอลล์ 3 รามคำแหงชัดๆ
17. รามคำแหง - กะให้อยู่หน้า ม. รามคำแหง ปากซอยวัดเทพลีลา (รามคำแหง 39)
18. ราชมังคลา - หน้าสนามกีฬาหัวหมาก - ไม่ผิดกติกา
19. หัวหมาก
20. ลำสาลี
21. ศรีบูรพา - ตรงแยกบ้านม้า
22. คลองบ้านม้า
และสถานียกระดับ 7 สถานี
23. สัมมากร
24. น้อมเกล้า - เตรียมอุดมน้อมเกล้า
25. ราษฎร์พัฒนา - แยกมิสทีน
26. มีนพัฒนา - ตึกบอดี้เทค
27. เคหะรามคำแหง
28. มีนบุรี - ตรง บิ๊กซีร่มเกล้าและ
29. สุวินทวงศ์ -แยกสุวินทวงศ์ |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 44100
Location: NECTEC
|
Posted: 15/11/2012 8:25 pm Post subject: |
|
|
รฟม.ตีกลับแผนซื้อรถไฟฟ้า 800 ตู้ เผย ปี 55 ขาดทุน 675 ล.
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 15 พฤศจิกายน 2555 18:59 น.
น.ส.รัชนี ตรีพิพัฒน์กุล ประธานคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการ รฟม. ได้มีสรุปผลประกอบการดำเนินงานของ รฟม. ซึ่งในปี 2555 มีรายได้ 581 ล้านบาท กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 1,995 ล้านบาท รายจ่าย 3,543 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 675 ล้านบาท โดยเทียบกับปีก่อน บริษัทขาดทุนประมาณ 11,900 ล้านบาท มีหนี้เป็นสกุลเงินเยน ซึ่งคิดเป็นมูลค่าประมาณ 80,000 ล้านบาท โดยในขณะนี้ ได้มีแผนจะแปลงสกุลหนี้เงินกู้ เพื่อทำประกันความเสี่ยง
นอกจากนี้ เรื่องการจัดซื้อจัดหารถไฟฟ้า 800 ตู้ ได้มอบหมายให้ ผู้ว่าการรถไฟฟ้า ไปทำข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องดังกล่าว รวมทั้งการศึกษาเจาะลึกในแต่ละโครงการรถไฟฟ้า ซึ่งจะสอดคล้องกับนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แล้วนำกลับมาหารือกันอีกครั้ง ในวันที่ 22 พฤศจิกายนนี้
รวมทั้งจะมีการหารือเรื่องโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วง บางซื่อ-ท่าพระ
นอกจากนี้ ในที่ประชุมคณะกรรมการ รฟม. ได้แต่งตั้งผู้บริหาร CFO เพื่อทำหน้าที่บริหารความเสี่ยงด้านการเงิน คือ นายธนสาร สุรวุฒิกุล ส่วนเรื่องแผนการเพิ่มรายได้นั้น ขณะนี้ เรื่องการแก้ พ.ร.บ.การรถไฟฟ้า เพื่อแก้ไขกรอบวงเงินจากเดิม ถ้ามูลค่าที่ดินราคาเกิน 10 ล้านบาท ต้องเข้าเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เป็นถ้ามูลค่าที่ดินราคา 100 ล้านบาท จึงค่อยนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ รฟม.สามารถดำเนินงานได้สะดวกขึ้น |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 44100
Location: NECTEC
|
Posted: 16/11/2012 10:47 am Post subject: |
|
|
บอร์ดเด้งแผนซื้อรถไฟฟ้า800คัน สั่งรฟม.ทบทวนเชิงลึก ปตท.พร้อมจ่ายค่าเช่าที่
ข่าวเศรษฐกิจ
ไทยโพสต์
16 พฤศจิกายน 2555 00:00 น.
บอร์ดตีกลับแผนจัดซื้อรถไฟฟ้า 800 คันมูลค่ากว่า 3 หมื่นล้านบาท สั่ง รฟม.ศึกษาข้อมูลแผนรายละเอียดการเดินรถแต่ละสายในเชิงลึก ก่อนเสนอให้บอร์ดพิจารณาใหม่ในวันที่ 22 พ.ย.นี้ ด้าน ปตท.พร้อมเจรจาค่าเช่าที่กับ ร.ฟ.ท. แต่ขอเจรจาก่อนระบุรถไฟค้างหนี้น้ำมันกว่า 1 หมื่นล้าน
นางสาวรัชนี ตรีพิพัฒน์กุล ประธานกรรมการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการ ว่า ได้สั่งการให้ผู้บริหาร รฟม.ไปศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผนการจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้าล็อตใหญ่ 800 ตู้ มูลค่าประมาณ 3-4 หมื่นล้านบาท เนื่องจากข้อมูลที่เสนอมายังขาดข้อมูลเชิงลึก รวมถึงข้อดี-ข้อเสีย รูปแบบการเดินรถ และความสามารถในการบริหารจัดการของภาครัฐและงบประมาณ โดยให้ศึกษาแยกเป็นแต่ละสายทาง เนื่องจากเห็นว่าแต่ละสายทางมีข้อจำกัดที่แตกต่างกัน จากนั้นจะนำเสนอเข้าที่ประชุมบอร์ดนัดพิเศษที่จะมีขึ้นในวันที่ 22 พ.ย.2555 นี้
ทั้งนี้ ในวันดังกล่าวจะมีการหารือเกี่ยวกับรูปแบบการเดินรถของโครงการรถไฟฟ้าทั้งหมดว่าควรใช้รูปแบบใด ซึ่งทางรฟม.ได้เตรียมไว้ 7 แนวทาง ประกอบด้วย
1.Private Public Partnership (PPP) Net Cost หรือการลงทุนแบบเอกชนร่วมทุน โดยเอกชนเป็นผู้เดินรถและซ่อมบำรุง พร้อมทั้งรับความเสี่ยงค่าโดยสาร และจ่ายผลตอบแทนให้รัฐ
2.PPP Gross Cost หรือการลงทุนแบบเอกชนร่วมทุน โดยรัฐเป็นผู้รับความเสี่ยงค่าโดยสาร และจ้างเอกชนเป็นผู้เดินรถและซ่อมบำรุง โดยรัฐจ่ายค่าจ้างเดินรถ
3.PPP Modified Gross Cost หรือการลงทุนแบบเอกชนร่วมทุน ในลักษณะจ้างเดินรถคล้ายกับ PPP Gross Cost แต่เอกชนจะได้รับค่าจ้างเดินรถโดยมีส่วนเพิ่มหรือลดตามจำนวนผู้โดยสาร
4.Public Sector Comparator (PSC) Net Cost หรือการลงทุนแบบรัฐลงทุนทั้งหมด แต่จ้างเอกชนเดินรถและบำรุงรักษา โดยให้เอกชนรับความเสี่ยงค่าโดยสารและจ่ายผลตอบแทนให้รัฐ
5.PSC Gross Cost หรือรัฐลงทุน โดยรัฐเป็นผู้รับความเสี่ยงค่าโดยสาร และจ้างเอกชนเป็นผู้เดินรถและซ่อมบำรุง โดยรัฐจ่ายค่าจ้างเดินรถ
6.PSC Modified Gross Cost หรือรัฐลงทุนในลักษณะจ้างเดินรถคล้ายกับ PPP Gross Cost แต่เอกชนจะได้รับค่าจ้างเดินรถโดยมีส่วนเพิ่มหรือลดตามจำนวนผู้โดยสาร และ
7.State Owned Enterprise (SOE) หรือรัฐลงทุนและเป็นผู้เดินรถเอง
นางสาวรัชนีกล่าวว่า ในปี 2555 รฟม.มีรายได้รวม 581 ล้านบาท แต่มีรายจ่ายถึง 1,995 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม รฟม.มีแผนที่จะเพิ่มรายได้จากค่าเช่าพื้นที่บริเวณสถานีรถไฟฟ้า และอยู่ระหว่างเสนอเรื่องแก้ไข พ.ร.บ.การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ.2543 หมวดที่เกี่ยวกับการให้เช่าหรือให้สิทธิ์ใดๆ ในอสังหาริมทรัพย์ของ รฟม. ซึ่งกฎหมายเดิมกำหนดว่าหาก รฟม.คิดมูลค่าให้เช่าหรือให้สิทธิ์ใดๆ เกิน 10 ล้านบาท จะต้องขอความเห็นชอบจาก ครม. ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจ ซึ่ง รฟม.ได้เสนอขอขยายวงเงินมูลค่าให้เช่าเป็น 100 ล้านบาท เพื่อให้การทำงานของ รฟม.คล่องตัวมากขึ้น
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท. กล่าวว่า ปตท.พร้อมเจรจาค่าเช่าที่ดินตามที่ นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้เสนอข่าวว่าจะขอจัดเก็บค่าเช่าที่ดิน ร.ฟ.ท.จากการที่ ปตท.เข้าไปใช้ประโยชน์ ซึ่งจะหมดสัญญาในช่วงต้นปี 2556 แต่การจัดเก็บจะเป็นรูปแบบใดคงจะต้องพิจารณาตามเงื่อนไข รวมถึงเงื่อนไขที่ ร.ฟ.ท.เสนอให้หักกลบหนี้ค้างชำระค่าน้ำมันเชื้อเพลิงที่ ร.ฟ.ท.เป็นหนี้ ปตท.กว่า 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งคงต้องเจรจาเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา ปตท.ได้ชำระค่าเช่าที่ดินในพื้นที่ตั้งปัจจุบันตามสัญญามาโดยตลอดอยู่แล้ว และในอนาคต ปตท.ก็มีแผนที่จะจัดหาที่ดินเพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจในกลุ่มอยู่แล้ว.
+++++++++++++++
บอร์ดตีกลับ ซื้อรถไฟฟ้า800ตู้ 22พ.ย.เคาะรูปแบบเดินรถสายเขียว-น้ำเงิน
ข่าวทั่วไทย - เดลินิวส์
วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2555 เวลา 07:27 น.
เมื่อวันที่ 15 พ.ย. นางสาวรัชนี ตรีพิพัฒน์กุล ประธานคณะกรรมการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (บอร์ด รฟม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ด ว่า ที่ประชุมมีการหารือเรื่องการซื้อรถไฟฟ้า 800 ตู้ ซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุปโดยให้ รฟม.กลับไปจัดทำรายละเอียดโครงการมาให้ชัดเจนกว่านี้ เนื่องจากเป็นโครงการใหญ่ที่ต้องใช้ความรอบคอบเป็นอย่างมาก ซึ่งจะให้นำกลับมาประชุมบอร์ดวาระพิเศษในวันที่ 22 พ.ย. พร้อมกับเรื่องการพิจารณาเลือกรูปแบบการเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย บางซื่อ-ท่าพระ หัวลำโพง-บางแค และสายสีเขียว แบริ่ง-สมุทรปราการ ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างว่าจะใช้รูปแบบการเดินรถอย่างไร ทั้งนี้ นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการ รฟม. เสนอให้ใช้รูปแบบ PPP Gross cost จ้างเดินรถในทุกสาย เพราะเห็นว่าเป็นวิธีการที่เหมาะสม แต่ นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เสนอว่ารถไฟฟ้าสายต่าง ๆ มีข้อจำกัดในการดำเนินการที่แตกต่างกัน จึงเสนอให้ รฟม.พิจารณารูปแบบการเดินรถเป็นรายสายจึงจะมีความเหมาะสมมากที่สุด ซึ่งจะมีผลกับจำนวนรถไฟฟ้าที่จะซื้อ หากพิจารณาเห็นว่าในบางสายควรให้เอกชนซื้อรถมาดำเนินการเอง ก็จะต้องลดจำนวนรถไฟฟ้าที่ รฟม.จะซื้อเองลงตามสัดส่วน
นางสาวรัชนี กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ รฟม.ได้รายงานผลประกอบการ รฟม.ในปีงบประมาณ 2555 ขาดทุนสุทธิ 675 ล้านบาท ลดลงจากปีที่แล้วที่ขาดทุน 11,900 ล้านบาท โดยได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ค่าเงินบาทแข็งตัว 1,995 ล้านบาท ทั้งนี้มีรายได้จากค่าโดยสารและค่าเช่าพื้นที่ 139 ล้านบาท มีรายได้ที่รวมเงินอุดหนุนจากรัฐบาล 581 ล้านบาท มีรายจ่ายรวมค่าเสื่อมราคาและดอกเบี้ย 3,543 ล้านบาท ทั้งนี้เห็นว่า รฟม.ควรมีการแปลงหนี้จากสกุลเงินเยนให้เป็นสกุลเงินบาท โดยดำเนินการบางส่วนจากหนี้ทั้งหมด 80,000 ล้านบาท เพื่อลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งต้องหารือร่วมกับสำนักบริหารหนี้สาธารณะและต้องดูตามสถานการณ์ค่าเงินในแต่ละช่วงเวลาก่อน ซึ่งทราบว่ากลางปีหน้าค่าเงินบาทจะแข็งขึ้น การเปลี่ยนสกุลเงินเป็นบาทจะช่วยลดความเสี่ยง ทำให้การชำระหนี้ไม่ต้องผันผวนตามอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้มี นายธนสาร สุรวุฒิกุล หัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านการเงิน หรือซีเอฟโอ ที่เพิ่งแต่งตั้งดูแลเรื่องนี้อยู่ สำหรับแผนพัฒนาที่ดินเพื่อหารายได้เพิ่มของ รฟม.นั้น ล่าสุดได้ส่งเรื่องไปยังกระทรวงคมนาคมตั้งแต่วันที่ 24 ต.ค. ที่ผ่านมา เพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขอปรับแก้พระราชบัญญัติ รฟม. จากเดิมกำหนดให้การลงทุนตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป ต้องเสนอขอความเห็นชอบจาก ครม.ก่อน เปลี่ยนเป็นการลงทุนตั้งแต่ 100 ล้านบาท ค่อยเสนอขอความเห็นชอบจาก ครม. เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการทำงาน. |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 44100
Location: NECTEC
|
Posted: 25/11/2012 2:23 am Post subject: |
|
|
สุวินทวงศ์-หนองจอกเฮได้ใช้สายสีชมพู ดร.จุฬา ยัน เสร็จทันปี 60 ชัวร์
คมนาคม/ลอจิสติกส์
สยามธุรกิจ
ฉบับที่ 1351 ประจำวันที่ 10-13 พฤศจิกายน 2555
คนย่านสุวินทวงศ์-หนองจอก ได้เฮ รถไฟฟ้าสายสีชมพู ไปสุวินทวงศ์ตามคำเรียกร้อง เหตุสามารถต่อขยายเส้นทาง ในอนาคตได้ดีกว่ามาหยุดอยู่แต่ตลาดมีนฯ แต่จะทำ Sky walk เชื่อมตลาดกับสถานีรถไฟฟ้า ให้คนเดินทางเข้าตลาดได้ ดร.จุฬา ยืน ยัน แม้จะเริ่มสร้างช้า 6 เดือนแต่แล้วเสร็จทันใช้ปี 60 เช่นกัน
ดร.จุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการ สำนัก งานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผย สยามธุรกิจ ถึงความคืบหน้า รถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร วงเงิน 5.4 หมื่นล้านบาท ว่า ขณะนี้ สนข.ได้ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน แห่งประเทศไทย (รฟม.) ไปศึกษาเพิ่มเติมว่าระหว่างที่รถไฟฟ้าสายสีชมพูไปหยุดแค่ตลาดมีนบุรีกับต่อขยายไปทางแนวถนนสุวินทวงศ์นั้น อย่างไหนจะดีกว่ากันเมื่อต้องมีการต่อขยายเส้นทางในอนาคต โดยให้เวลา 1 เดือน คาดว่าปลายเดือนพ.ย.นี้น่าจะสรุปได้ว่าแบบไหนดีกว่า
ตามความเห็นของผม ผมว่าถ้าเรามองถึงประโยชน์ของการต่อขยายเส้นทางในอนาคตซึ่งอาจจะต่อไปถึงฉะเชิงเทราแล้วการวางสายสีชมพูออกไปทางแนวถนนสุวินทวงศ์ผมว่าดีกว่ามาหยุดอยู่แค่ตลาดมีนบุรี ปัจจุบันคนที่อาศัยอยู่ย่านหทัยราษฎร์-นิมิตใหม่-หนองจอก ก็เยอะ เขาจะได้เข้ามาใช้ประโยชน์โครงการได้ด้วย ส่วนบริเวณตลาดมีนบุรีเราก็สามารถทำทางเดินเชื่อม หรือ Skywalk เข้าไปยังตลาดมีนบุรี ระยะทางประมาณครึ่งกิโลเมตร เหมือนอย่างที่มาบุญครอง ดังนั้นปัญหาที่ว่ารัฐบาลทิ้งตลาดก็หมดไป
การขยายออกไปทางแนวถนนสุวินท วงศ์จะทำให้การดำเนินการสายสีชมพูล่าช้าออกไปแค่ไหนนั้น ดร.จุฬา กล่าวว่า การขยายเส้นทางออกไปอีกประมาณ 4-5 กิโลเมตร อาจจะทำให้โครงการล่าช้าไปประมาณ 6 เดือน เนื่องจากต้องใช้เวลาในการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม แม้ว่าจะเริ่มก่อสร้างช้าไปประมาณ 6 เดือน แต่ในช่วงเวลาก่อสร้างสามารถเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จทันเปิดใช้ในปี 2560 ได้
นอกจากนี้ จะมีการทำศูนย์คมนาคม ขนส่งขนาดรองอยู่บริเวณสถานีรถไฟฟ้าสุวินทวงศ์ เพื่อให้รถต่างจังหวัด หรือรถขนส่งสาธารณะมาจอดเพื่อรับ-ส่งผู้โดย สารเข้าระบบรถไฟฟ้า โดยไม่ต้องเข้ามาในเมือง ต่อไปรถทัวร์ต่างจังหวัดก็ไม่ต้องเข้ามาที่หมอชิตแล้ว นอกจากนี้ รฟม.ก็จะทำสถานที่จอดรถ (Park & Ride) ให้ประชาชนที่มาจากรอบนอกก็เอารถมาจอดแล้วนั่งรถไฟฟ้าเข้าเมือง ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาการจราจรด้วย
ดร.จุฬา กล่าวต่อว่า ในปี 2556-2557 จะมีการประมูลรถไฟฟ้าหลายสาย ซึ่งมีทั้งสายสีชมพู สายสีส้ม สายสีเขียว และส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตลิงค์ สำหรับแอร์พอร์ตลิงค์นั้นช่วงพญาไท-บางซื่อ จะเปิดประมูลในปลายปีนี้ ส่วนช่วงบางซื่อ-ดอนเมืองเปิดประมูลปี 2557 ดังนั้น ในปี 2558-2560 รถไฟฟ้าจะทยอยเปิดใช้เรื่อยๆ อย่างสายสีม่วงเปิดใช้ปี 2558 โดยโครงข่ายรถไฟฟ้า 10 สายจะเปิดใช้อย่าง สมบูรณ์ 410 กิโลเมตรในปี 2562 ถึงตอน นั้นภาพการเดินทางในกรุงเทพมหานครจะเปลี่ยนไป การจราจรในเมืองจะติดขัดน้อยลง หรือไม่ติดเลย เพราะคนที่เดินทางเข้ามาในเมืองจะต้องจอดรถไว้นอกเมืองแล้วนั่งรถไฟฟ้าเข้ามา และประชาชนก็จะสามารถเดินทางเชื่อมต่อได้ทุกระบบ
ในระหว่างที่ก่อสร้างรถไฟฟ้า สนข.ก็ต้องเร่งดำเนินการเรื่องตั๋วไปด้วย เมื่อรถไฟฟ้าเสร็จก็จะได้ใช้ระบบตั๋วร่วม มีตั๋วไบเดียวสามารถเดินทางได้ทุกระบบในราคา 20 บาทตลอดสาย ประชาชนก็จะได้รับความสะดวกสบายในการเดินทาง ภาพการเดินทางของคนกรุงเทพมหานครจะเปลี่ยน จะใช้รถน้อยลง รถก็จะไม่ติดเหมือนทุกวันนี้ |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 25/11/2012 11:03 am Post subject: |
|
|
พอสร้างเสร็จแล้ว ค่าโดยสารคงไม่ราคาเดียว 20 บาท นะครับ |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47510
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 26/11/2012 12:07 am Post subject: |
|
|
โมโนเรล มีจุดอ่อนตรงที่ทำความเร็วได้ไม่มาก และรับ-ส่งผู้โดยสารได้คราวละไม่มากเช่นกันครับ เหมาะสำหรับวิ่งในเขตเมืองและย่านพาณิชย์ที่มีผู้โดยสารขึ้น-ลงบ่อย ตลอดเวลา
ไม่เหมาะสำหรับการโดยสารระยะทางไกล ๆ และเป็น commuter ครับ เหมาะเป็น shuttle หรือใช้ในสถานที่ท่องเที่ยว เพราะจุคนน้อย หากผู้โดยสารนั่งไกลและเก็บค่าโดยสารอัตราเดียวตลอดสาย จะทำให้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่า
ปัจจัยที่ทำให้จำเป็นต้องสร้างเป็นโมโนเรลก็คือ เขตทางหรือถนนที่แคบ และซอกแซกไปตามโค้งแคบ ๆ ได้ดี เท่านั้นเองครับ |
|
Back to top |
|
|
|