View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47527
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 26/11/2012 8:07 am Post subject: |
|
|
กทม.ได้แค่ทำโมโนเรล หลังปิดฉากหมดโอกาสทำรถไฟฟ้า สนข.แนะสายเทา-ฟ้าเดินหน้าได้เลย
เดลินิวส์ วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2555 เวลา 07:29 น.
นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า จากที่ขณะนี้รัฐบาล โดยที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการขนส่งและจราจรทางบก (คจร.) ได้เร่งรัดแผนดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล 10 สาย ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ 3 หน่วยงาน คือ กทม.ดูแลรถไฟฟ้าสายสีเขียวซึ่งมีบริษัทระบบขนส่งมวชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส เป็นผู้ให้บริการ ส่วนที่เหลืออยู่ในความรับผิดชอบของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)โดยจะเปิดให้บริการครบทั้ง 10 สายได้ภายในปี 2562 รวมระยะทางทั้งสิ้น 464 กิโลเมตร ทั้งนี้ในส่วนของกรุงเทพมหานคร (กทม.) นั้น ที่ผ่านมาทราบว่า กทม.ได้ศึกษาความเหมาะสมโครงการระบบขนส่งมวลชน 4 สายซึ่งมีทั้งโมโนเรลและไลท์เรล ทั้งที่ กทม.มีความพร้อมทั้งในเรื่องของแบบการก่อสร้างและงบประมาณที่จะดำเนินการอยู่แล้ว แต่ยังไม่สามารถก่อสร้างได้ โดยโมโนเรลสายแรกที่ กทม.เสนอก่อสร้างสายสยาม-สามย่านนั้นอยู่ในขั้นตอนเพื่อขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรี เนื่องจากเป็นการก่อสร้างโครงการในพื้นที่ชั้นในกรุงเทพฯ ซึ่งการรอขั้นตอนที่เกี่ยวข้องทำให้ กทม.ไม่สามารถเดินหน้าโครงการฯ ดังกล่าวต่อไปได้ในขณะนี้
นายจุฬา กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามหาก กทม.ต้องการทำโครงการระบบขนส่งฯ ให้เกิดขึ้นได้เร็ว น่าจะพิจารณาดำเนินการในส่วน สายสีเทา (วัชรพล-สะพานพระราม 9) และสายสีฟ้า (ดินแดง-สาทร) ที่ได้รับความเห็นชอบจาก คณะกรรมการจัดระบบการขนส่งและจราจรทางบก (คจร.) เมื่อปี 2553 เรียบร้อยแล้ว เป็นโครงการที่อยู่ในความรับผิดชอบของ กทม.และแนวเส้นทางและการศึกษาความเหมาะสม สนข.ก็มีการศึกษาเบื้องต้นไว้แล้ว ซึ่งหาก กทม.มีความพร้อมในเรื่องงบประมาณที่จะดำเนินการ ก็สามารถประสานขอแบบเบื้องต้นจาก สนข.นำไปดำเนินการออกแบบรายละเอียดและประกวดราคาก่อสร้างได้เลย จะทำให้ผลักดันให้เกิดระบบขนส่งมวลชนสายใหม่รองรับการเดินทางของประชาชนได้รวดเร็วขึ้น หาก กทม.จะศึกษาทำในเส้นทางอื่น ๆ ที่ไม่อยู่ในแผนแม่บทขนส่งมวลชนที่ สนข.ได้พิจารณาไว้ กทม.ก็ต้องเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาตามลำดับต่อไป
รายงานข่าวแจ้งว่าที่ผ่านมา กทม.จะมุ่งเน้นทำส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียว แต่ถูกรัฐบาลตัดตอนไปให้ รฟม.ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องระบบขนส่งมวลชนโดยตรงดำเนินการ จะต่อขยายออกไปถึงสมุทรปราการและลำลูกกา ฉะนั้นถือว่าหมดโอกาสที่จะทำรถไฟฟ้าต่อ แต่ทั้งนี้ กทม.ยังมีโอกาสทำรถไฟฟ้าสายรองหรือโมโนเรล เพื่อเชื่อมต่อเส้นทางหลักได้.
----
เซ็นทรัล-บิ๊กซีรุมจีบรฟม.ขอเชื่อมพื้นที่กับสถานีรถไฟฟ้า
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 พฤศจิกายน 2555 19:52 น.
รฟม.เผยเซ็นทรัลเสนอขอเชื่อมพื้นที่เข้าสถานี รถไฟฟ้าสีม่วงและน้ำเงินรวม 5 จุด. ส่วนบิ๊กซี่สนใจใช้ที่จอดรถผุดซุปเปอร์มาร์เก็ต(เอ็กเพรส) "ยงสิทธิ์"ชี้ต้องเร่งวางแผนเพิ่มรายได้เชิงพาณิชย์ตามแนวเส้นทาง เน้นเปิดพื้นที่ใหม่เจรจาเจ้าของร่วมพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่ม
นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการการถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีเอกชนแสดงความสนใจให้รฟม.ต่อเชื่อมสถานีรถไฟฟ้าเข้าไปในกับพื้นที่เช่น กลุ่มเซ็นทรัล เสนอขอเชื่อมสถานีรถไฟฟ้ากับพื้นที่ของตัวเองรวม 5 จุด โดยอยู่ในแนวรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) 2 จุด และสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย (หัวลำโพง-บางแคและบางซื่อ-ท่าพระ) 3 จุด ซึ่งบางจุดยังเป็นพื้นที่ว่างที่คาดว่าทางเซ็นทรัลจะมีการพัฒนาในอนาคต โดยจะเป็นรูปแบบเดียวกับสถานีพระราม9 ของรถไฟฟ้าใต้ดินที่เชื่อมกับเซ็นทรัลพระราม9 ทำให้ห้างมีคนเข้าไปใช้บริการจาก 2 หมื่นคนต่อวันเป็น 4 หมื่นคนต่อวัน นอกจากนี้ทางบิ๊กซี่ ยังแสดงความสนใจพื้นที่ในส่วนจอดรถหลังสถานี (Park&Ride) เพื่อตั้งบิ๊กซี่เอ็กเพรส เป็นต้น
"หลังจากนี้ การประสานหรือเจรจากับเจ้าของอาคารหรือที่ดินที่อยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้าจะต้องทำก่อนเพื่อให้สามารถวางแผนในการเตรียมพื้นที่และออกแบบเผื่อพื้นที่เชิงพาณิชย์ไว้ได้อย่างเหมาะสม ต้องปรับแนวคิดจากเดิมที่รถไฟฟ้าวิ่งหาพื้นที่ที่มีความหนาแน่น ซึ่งเจ้าของที่ดินได้ประโยชน์ที่ดินมีราคาแพง มาเป็นการวิ่งหาที่ว่างหรือหนาแน่นน้อย เพราะเมื่อมีรถไฟฟ้าและมีสิ่งอำนวยความสะดวก คนจะมาหา ช่วยลดต้นทุนโครงการลงด้วย"นายยงสิทธิ์กล่าว
ทั้งนี้ต้องยอมรับว่ารถไฟฟ้า 6 สายของรฟม.ได้ออกแบบไว้แล้วเป็นส่วนใหญ่จะมีที่ยังสามารถวางแผนตามแนวคิดดังกล่าวได้ คือ สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี-) และสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ที่ยังมีพื้นที่บางจุดหนาแน่นน้อย
นายยงสิทธิ์กล่าวว่า แนวคิดในการพัฒนารฟม.อย่างยั่งยืน นอกจากการเพิ่มโครงข่ายรถไฟฟ้าให้เป็นไปตามแผนแล้วจะต้องเพิ่มรายได้โดยเพิ่มความสะดวกในการเข้าใช้บริการ เพิ่มรายได้จากร้านค้า โฆษณา พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ด้วย ซึ่งรฟม.มีพื้นที่ประมาณ 1,000 ไร่ที่ศูนย์ซ่อมบำรุงจะมีการจ้างที่ปรึกษาเพื่อปรับปรุงแผนพัฒนาใหม่
นอกจากนี้จะต้องลดต้นทุน,ให้เอกชนร่วมลงทุนหรือให้สัมปทานPPP,โอนหนี้สินกว่าแสนล้านบาทในส่วนโครงสร้างพื้นฐานงานโยธา ซึ่งไม่คืนทุนและค่าเสื่อมราคาเพื่อให้มีกำไร,จัดตั้งบริษัทลูกขึ้นมาดำเนินการ 5 เรื่อง คือ บริษัทพัฒนาธุรกิจ (เช่าพื้นที่,โฆษณา) บริษัทเดินรถ บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บริษัทวิศวกรรมที่ปรึกษาและบริษัทบริหารการเชื่อมต่อและที่จอดรถ
ปัจจุบันรฟม.มีรายได้จากค่าเช่าพื้นที่และโฆษณาประมาณ 135 ล้านบาทต่อปี ส่วนบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีเอ็มซีแอลมีรายได้ประมาณ100 กว่าล้านบาทต่อปี ซึ่งเป็นสัดส่วนที่น้อยเพราะการเริ่มต้นหารายได้เชิงพาณิชย์ช้า มาคิดภายหลัง แต่เชื่อว่าหลังจากนี้จะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น หากมีโครงข่ายรถไฟฟ้าถึง 200 กิโลเมตร ตามแผนงานที่กำหนด เพราะรถไฟฟ้าจะมีถึง 200 สถานี ส่งผลให้มีรายได้ที่ไม่ใช่ค่าโดยสารประมาณ 10,000 ล้านบาทต่อปี |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47527
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 27/11/2012 12:04 pm Post subject: |
|
|
รฟม.เปิดประมูลรถไฟสีชมพูกลางปี 56 เจรจา BLAND ตั้งสถานี-โรงจอดในเมืองทองฯ
ข่าวหุ้น วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน 2555 เวลา 11:34:36 น.
นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รฟม.จะเปิดประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรีในช่วงกลางปี 56 โดยอยู่ระหว่างเจรจากับ บริษัท บางกอกแลนด์จำกัด (มหาชน) หรือ BLAND ที่จะตัดเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพูเข้าเมื่อทองธานีจำนวน 2 สถานี และใช้เป็นโรงจอด และซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าด้วย ซึ่งต้องใช้พื้นที่ประมาณ 30 ไร่ และใช้วงเงินลงทุนประมาณ 1.5 พันล้านบาท จึงส่งให้สำนักงานกฤษฎีกาตีความว่าเข้าข่ายต้องใช้ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ หรือไม่ โดยได้ส่งเรื่องไปเป็นเวลา 1 เดือนแล้ว
ทั้งนี้ BLAND เสนอให้ใช้ที่ดินโดยไม่คิดค่าเช่า ส่วนนี้จะทำให้ รฟม.ประหยัดค่าเวนคืนที่ดิน แต่มีเงื่อนไขให้บริษัทสามารถสร้างอาคารเหนือโรงจอดรถไฟฟ้าที่อยู่ชั้นใต้ดิน
สำหรับเหตุผลที่ รฟม.เลือกเมืองทองธานีเป็นจุดผ่านของเส้นทางเดินรถไฟฟ้าสายสีชมพู เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีการจัดงานอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะมีจำนวนผู้ที่ต้องการเดินทางจำนวนมาก และเป็นแหล่งชุมชน ซึ่งคาดว่าจะมีผู้โดยสารใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีชมพูเพิ่มขึ้นวันละ 2 แสนคน หรือไม่น้อยกว่าผู้ที่เยี่ยมชมงานไม่น้อยกว่า 15 ล้านคนต่อปี
นอกจากนี้ รฟม.ประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ระยะทาง 25.5 กม.ในช่วงต้นปี 56 และในช่วงปลายปีหน้าจะเปิดประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี ระยะทาง 37.5 กม.
โดยจากนี้ต่อไปนอกเหนือจากการพัฒนารถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพและปริมณฑลแล้ว รฟม.จะเข้าไปวางแผนพัฒนารถไฟฟ้าในจังหวัดใหญ่ๆ ในภาคต่างๆ เพื่อดึงดูดให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งมวลชนให้มากขึ้นแทนการใช้รถส่วนบุคคล ได้แก่ เชียงใหม่ ภูเก็ต และ พัทยา เป็นต้น |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 44100
Location: NECTEC
|
Posted: 27/11/2012 11:47 pm Post subject: |
|
|
เล็งผุดศูนย์ซ่อม รถไฟฟ้าสีชมพู ที่เมืองทองธานี
ข่าวเศรษฐกิจ
ไทยโพสต์ 28 November 2555 - 00:00
รฟม.เร่งเจรจาขอใช้พื้นที่ 30 ไร่ของบางกอกแลนด์ สร้างศูนย์ซ่อมและโรงจอดรถ สายสีชมพู แคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี พร้อมเพิ่มสถานีอีก 2 แห่ง รองรับผู้โดยสารในย่านเมืองทองธานี คาดใช้งบลงทุนกว่า 1 พันล้านบาท คาดเปิดประมูลกลางปี 56
นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจากับทางบริษัท บางกอกแลนด์ (BLAND) เพื่อตัดเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี เข้าเมืองทองธานี และใช้เป็นโรงจอดและซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าคาดว่าจะใช้พื้นที่ประมาณ 30 ไร่ และจะต้องใช้วงเงินลงทุนเพิ่มกว่า 1,000 ล้านบาท ดังนั้น รฟม.จึงส่งให้สำนักงานกฤษฎีกาตีความว่าเข้าข่ายต้องใช้ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ หรือไม่ โดยได้ส่งเรื่องนี้ไป 1 เดือนแล้ว คาดว่าภายในกลางปี 2556 จะสามารถเปิดประกวดราคาได้
ทั้งนี้ รฟม.วางแผนการใช้เส้นทางผ่านเมืองทองธานี มีจำนวน 2 สถานี และ ทำโรงจอดรถไฟฟ้า ซึ่งต้องใช้พื้นที่เกือบ 30 ไร่ ในเมืองทองธานี คาดใช้เงินลงทุนทั้งสิ้นประมาณ 1,500 ล้านบาท โดย บางกอกแลนด์ เสนอให้ใช้ที่ดินโดยไม่คิดค่าเช่าซึ่งส่วนนี้จะทำให้ รฟม.ประหยัดค่าเวนคืนได้ แต่มีเงื่อนไขให้บางกอกแลนด์สามารถสร้างอาคารเหนือโรงจอดรถไฟฟ้าที่อยู่ชั้นใต้ดินได้
เหตุผลที่ รฟม.เลือกเมืองทองธานีเป็นจุดผ่านของเส้นทางเดินรถไฟฟ้าสายสีชมพู เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีการจัดงานอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะมีจำนวนผู้ที่ต้องการเดินทางจำนวนมากและเป็นแหล่งชุมชน ซึ่งคาดว่าหากตัดเส้นทางไปจะทำให้มีผู้โดยสารใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีชมพูเพิ่มขึ้นวันละ 2 แสนคน หรือไม่น้อยกว่าผู้ที่เยี่ยมชมงานไม่น้อยกว่า 15 ล้านคนต่อปี นายยงสิทธิ์ กล่าว
นายยงสิทธิ์ กล่าวว่า ส่วนความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต- สะพานใหม่-คูคต คาดว่าจะเริ่มประกวดราคาได้ต้นปี 56 และในช่วงปลายปีหน้า จะเปิดประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี. |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47527
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 07/12/2012 9:16 am Post subject: |
|
|
คมนาคมชงครม.อนุมัติ BMCL เดินรถไฟสายสีม่วง
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 7 ธันวาคม 2555 08:56
คมนาคมเตรียมเสนอครม.สัปดาห์หน้า ขออนุมัติจ้าง BMCL เดินรถไฟฟ้าสายสีม่วง "บางใหญ่-บางซื่อ"
...
...
ส่วนความคืบหน้ารถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม. วงเงิน 5.4 หมื่นล้านบาท รมว.คมนาคม กล่าวว่า ให้ รฟม. สรุปรายละเอียดข้อมูล เปรียบเทียบให้เห็นว่าตามแผนเดิมจะหยุดที่ตลาดมีนบุรี แต่มีการเสนอให้ขยายไปทางแนวถนนสุวินทวงศ์ ต้องพิจารณาปริมาณผู้โดยสาร แนวเส้นทาง ความเป็นไปได้ทางเทคนิค และจะยกเลิกสถานีมีนบุรีหรือไม่ ต้องพิจารณาและมีเหตุผลที่รอบคอบและชัดเจน |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 44100
Location: NECTEC
|
Posted: 07/12/2012 5:54 pm Post subject: |
|
|
แนะรัฐลงทุน "รถไฟฟ้ามวลเบา" 14 โครงข่ายถนนทะลุทั่ว กทม.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
4 ธันวาคม 2555 เวลา 14:09:15 น.
ดร.โสภณ พรโชคชัย ซีอีโอ "AREA-บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส" นำเสนอบทความ "รถไฟฟ้ามวลเบา-Light Rail Transit" หรือรถไฟฟ้าขนาดเบา โดยเทียบเคียงจากตัวอย่างจริงในประเทศสิงคโปร์โดยระบบรถไฟฟ้า (Mass Rapid Transit) ของสิงคโปร์ เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2530 มีผู้ใช้บริการ 2.406 ล้านคน ประกอบด้วย 102 สถานี รวมระยะทาง 148.9 กม. บนพื้นที่ 625 ตร.กม.เท่านั้น
ลักษณะของรถไฟฟ้าขนาดเบาคล้ายกับระบบรถไฟฟ้าที่เชื่อมระหว่างอาคารท่าอากาศยานของท่าอากาศยานใหญ่ ๆ ทั่วโลก โดยมากเป็นรถไฟฟ้าตู้เดียวหรือไม่กี่ตู้
ในที่นี้หยิบตัวอย่างพื้นที่ Punggol ในฐานะเมืองใหม่ที่มีระบบรถไฟฟ้ามวลเบาวิ่ง เป็นเมืองที่มีขนาดประมาณ 9.57 ตร.กม. หรือประมาณ 5,981 ไร่ ขณะที่บริเวณที่อยู่อาศัยมีขนาดเพียงประมาณ 2,000 ไร่ มีที่อยู่อาศัย 16,000 หน่วย อัตราค่าโดยสารกำหนดไว้ตั้งแต่ 20-25 บาท นับว่าถูกมากสำหรับคนสิงคโปร์ที่มีรายได้มากกว่าคนไทยประมาณ 6 เท่า
ข้อเสนอแนะของ "อ.โสภณ" ก็คือ มหานครกรุงเทพ น่าจะลงทุนทำรถไฟฟ้ามวลเบาให้เป็นระบบเสริมการเดินทาง เชื่อมกับรถไฟฟ้าสายหลัก อย่างน้อยมี 14 โครงข่ายถนนที่มีชุมชนหนาแน่น ได้แก่
1.ถนนพญาไท บรรทัดทอง อังรีดูนังต์ (Monorail ที่กทม. อยากทำ)
2.ถนนเจริญกรุง (ถนนตก) ตรอกจันทน์ เซนต์หลุยส์
3.ถนนทองหล่อ ซอยสุขุมวิท 49 (ซอยกลาง) เอกมัย
4.ถนนอ่อนนุชและบริเวณใกล้เคียง
5.ถนนสรรพาวุธและบริเวณใกล้เคียง
6.ถนนเทียมร่วมมิตร (แทนทางสายส้มที่โดนย้ายที่)
7.ถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญ ชานเมือง ประชาสงเคราะห์
8.ถนนอินทามระ
9.ถนนประชาชื่น - ประชาราษฎร์สาย 1 (เชื่อมสายชมภูและม่วงเข้าด้วยกัน)
10.ถนนรัชดาภิเษก - พหลโยธิน (ช่วง ราชภัฏจันทร์เกษม)
11.ถนนประดิพัทธ์ - อารีย์สัมพันธ์
12.ถนนพระราม 1 พระราม 6 เพชรบุรี (กทม. เองก็อยากทำอยู่เหมือนกัน)
13.ถนนสี่พระยา เจริญกรุง สุรวงศ์
14.ถนนเจริญนคร สมเด็จเจ้าพระยา เป็นต้น
กรุงเทพมหานครกำลังจะเลือกตั้งผู้ว่าราชการคนใหม่ในเดือน ก.พ. 2556 นอกจากนโยบายหาเสียงเรื่องทำที่กลับรถเกือกม้า โครงการรถไฟฟ้าขนาดเบา ก็นับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47527
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 12/12/2012 7:07 am Post subject: |
|
|
กมธ.จี้คมนาคม-รฟม. ปรับเส้นทางสายสีชมพู
แนวหน้า วันพุธ ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555, 06.00 น.
แหล่งข่าวจาก กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ นายปวีณ แซ่จึง ประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.)การปกครองท้องถิ่น สภาผู้แทนราษฏร ได้ทำหนังสือถึง กระทรวงคมนาคม และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เพื่อส่งรายงานผลการพิจารณาการกำหนดแนวเส้นทางรถไฟฟ้า สายสีชมพู(ช่วงแคราย-มีนบุรี)ที่เหมาะสม โดยแนวเส้นทางเดิมจาก ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะสิ้นสุดที่ตลาดมีนบุรี และทางเลือกที่ 2 แนวเส้นทางไปถนนสุวินทวงศ์
โดยคณะกรรมาธิการฯเห็นว่ารัฐบาลควรพิจารณาก่อสร้างไปตามแนวเส้นทางที่ 2 สิ้นสุดที่ถนนสุวินทวงศ์จะมีความเหมาะสมกว่า เพราะคุ้มค่าต่อการลงทุน และสามารถรองรับประชาชนในพื้นที่ได้ครอบคลุมมากกว่า
ทั้งนี้จากการที่ กรรมาธิการฯได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)รฟม. ผู้แทนหน่วยงานต่าง ๆ เข้าให้ข้อมูล รวมทั้งได้ลงพื้นที่เพื่อจัดทำประชาพิจารณ์การดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูนี้ หลังจากได้รับการร้องเรียนจากประชาชนในพื้นที่ เพื่อขอให้มีการปรับเปลี่ยนและขยายเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพูให้มีความเหมาะสม จากเส้นทางเดิมที่สิ้นสุดตลาดมีนบุรี แต่หลังทำการสำรวจ-ออกแบบ และทำประชาพิจารณ์แล้วทุกฝ่ายเห็นควรเสนอทบทวนปรับเปลี่ยนเส้นทางไปตามถนนสุวินทวงศ์ไปสิ้นสุดถนนสุวินทวงศ์ (การไฟฟ้ามีนบุรี)
ก่อนหน้านี้ประธานบอร์ด รฟม.ได้ทำความเห็นคัดค้านการปรับเปลี่ยนสายทางดังกล่าว โดยเห็นว่าแนวทางเดิมมีความเหมาะสมอยู่แล้ว และการปรับเปลี่ยนขยายสายทางเพิ่มเติมจะทำให้โครงการล่าช้า
ไหน ๆ โครงการนี้ก็ต้องล่าช้าออกไปร่วมปีอยู่แล้ว จากปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นและมูลค่าโครงการที่เพิ่มขึ้นซึ่งน่าจะอยู่ที่ 50,000-60,000 ล้านบาท ก็น่าจะถือโอกาสนี้ทบทวนสายทางให้มันสะเด็ดน้ำไปทีเดียว อย่าลืม ว่า โครงการรถไฟฟ้านี้ไม่ได้ลงทุนแค่พันสองพันล้านแต่ลงทุนเป็นหลายหมื่นล้านบาทและต้องใช้กันไปเป็น 50 เป็น 100 ปี ยิ่งโครงการนี้มีการจัดทำประชาพิจารณ์ ระดมความเห็นจากประชาชนทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม หากทำแล้วกระทรวงคมนาคมและรัฐบาลไม่ยอมรับฟังก็ไม่รู้จะมีประชาพิจารณ์ไปทำไม แหล่งข่าว กล่าว |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 44100
Location: NECTEC
|
Posted: 12/12/2012 9:25 am Post subject: |
|
|
เสนอรฟม.ทบทวนสายสีชมพู สิ้นสุดถนนสุวินทวงศ์เหมาะสม
โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 11 ธันวาคม 2555 22:10 น.
ASTVผู้จัดการรายวัน -เผยกมธ.ปกครองท้องถิ่นส่งหนังสือเสนอแนะ"คมนาคม-รฟม." หาความเหมาะสมสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู ชี้สิ้นสุดถนนสุวินทวงศ์ดีกว่า
รายงานข่าวแจ้งถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ว่า สิ้นเดือนที่ผ่านมา นายปวีณ แซ่จึง ประธานคณะกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น ได้ทำหนังสือถึงกระทรวงคมนาคมและการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เพื่อส่งรายงานผลการพิจารณาการกำหนดแนวเส้นทางรถไฟฟ้า สายสีชมพูที่เหมาะสม ระหว่างสายทางเดิม จากศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะสิ้นสุดที่ตลาดมีนบุรีและทางเลือกที่ 2 แนวเส้นทางถนนสุวินทวงศ์ โดยคณะกรรมาธิการฯเห็นว่ารัฐบาลควรพิจารณาก่อสร้างไปตามแนวเส้นทางที่ 2 สิ้นสุดที่ถนนสุวินทวงศ์จะมีความเหมาะสมกว่า เพราะคุ้มค่าต่อการลงทุน และสามารถรองรับประชาชนในพื้นที่ได้ครอบคลุมมากกว่า
ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ทางกรรมาธิการฯได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งสนข. รฟม. ผู้แทนหน่วยงานต่าง ๆ เข้าให้ข้อมูล รวมทั้งได้ลงพื้นที่เพื่อจัดทำประชาพิจารณ์การดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูนี้ หลังจากได้รับการร้องเรียนจากประชาชนในพื้นที่ เพื่อขอให้มีการปรับเปลี่ยนและขยายเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพูให้มีความเหมาะสม จากเส้นทางเดิมที่สิ้นสุดตลาดมีนบุรี แต่หลังทำการสำรวจ-ออกแบบและทำประชาพิจารณ์แล้วทุกฝ่ายเห็นควรเสนอทบทวนปรับเปลี่ยนเส้นทางไปตามถนนสุวินทวงศ์ไปสิ้นสุดถนนสุวินทวงศ์ (การไฟฟ้ามีนบุรี)
ตอนนี้ ยังมีเวลา อีกทั้ง โครงการก็ยังไม่รุดหน้าเท่าที่ควร จึงเป็นเรื่องที่ดีในการดูและทบทวนสายทางให้ดีขึ้น อย่าลืม ว่า โครงการรถไฟฟ้านี้ไม่ได้ลงทุนแค่พันสองพันล้านแต่ลงทุนเป็นหลายหมื่นล้านบาทและต้องใช้กันไปเป็น 50 เป็น 100 ปี จนชั่วลูกชั่วหลาน จึงไม่อาจจะทำเอาแบบสุกเอาเผากิน ยิ่งโครงการนี้มีการจัดทำประชาพิจารณ์ ระดมความเห็นจากประชาชนทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม หากทำแล้วกระทรวงคมนาคมและรัฐบาลไม่ยอมรับฟังก็ไม่รู้จะมีประชาพิจารณ์ไปทำไม |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47527
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 13/12/2012 7:19 am Post subject: |
|
|
'ชัชชาติ'ยันจำเป็นสร้างรถไฟฟ้าสีชมพูผ่านตลาดมีน
ไทยรัฐออนไลน์ 13 ธันวาคม 2555, 04:00 น.
"ชัชชาติ" ยอมรับมีผู้เห็นด้วยและค้านก่อสร้างรถไฟฟ้าสีชมพูผ่านตลาดมีนบุรี เพราะหวั่นรถติด สั่งจัดระเบียบรถโดยสารล่วงหน้าแก้ปัญหาจราจร ยันจำเป็นต้องสร้าง คาดประกวดราคาเดือน ก.พ.ปีหน้า...
เมื่อวันที่ 12 ธ.ค.2555 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ว่า จากที่ได้ไปสอบถามประชาชนที่อาศัยบริเวณตลาดมีนบุรี พบว่า ประชาชนมีความเห็นต่างกันกรณีที่แนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพูผ่านตลาดมีนบุรี โดยมีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย สาเหตุที่ไม่เห็นด้วยเพราะกังวลปัญหารถติด แต่ไม่ได้คัดค้านโครงการรถไฟฟ้า ดังนั้น จึงได้มอบหมายให้กรมการขนส่งทางบก องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ร่วมกันจัดระเบียบรถโดยสารสาธารณะบริเวณดังกล่าว โดยไม่ต้องรอให้โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูเริ่มก่อสร้าง
ตลาดมีนบุรีถือเป็นศูนย์คมนาคมแห่งหนึ่งที่สำคัญ เพราะมีรถโดยสารสาธารณะ ทั้งรถตู้ ขสมก. รถเมล์ และรถโดยสาร บขส. ให้บริการเข้าออกวันละประมาณ 1 หมื่นเที่ยว ประกอบกับบริเวณดังกล่าวยังมีกิจกรรมหลายอย่าง ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่ระบบรถไฟฟ้าต้องเข้าไปรับส่งผู้โดยสารในตลาดมีนบุรี ส่วนกรณีที่ประชาชนบางส่วนเสนอให้แนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพูผ่านถนนสุวินทวงศ์ แทนการเข้าไปตลาดมีนบุรีนั้น จะได้สำรวจปริมาณผู้โดยสารในเส้นทางดังกล่าวว่ามีมากน้อยเพียงใด หากพบว่ามีจำนวนมาก อาจสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพูช่วงมีนบุรีออกเป็น 2 เส้น ลักษณะคล้ายตัว Y
อย่างไรก็ตาม เส้นทางที่เสนอใหม่นั้น มีระยะห่างจากเส้นทางเดิมไม่มาก ประมาณ 800 ม. หากสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าเพียงเส้นทางเดียว จะง่ายในการจัดระบบรถฟีดเดอร์ที่รับส่งผู้โดยสารเข้าระบบรถไฟฟ้าได้ง่ายกว่า โดยคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะเลือกแนวทางใด ก่อนที่จะเสนอให้กระทรวงคมนาคม และ ครม.พิจารณาอนุมัติโครงการต่อไป คาดว่าจะประกวดราคาได้ในเดือน ก.พ. 2556
สำหรับรูปแบบการประกวดราคานั้น เนื่องจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู เป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยว จึงกำหนดให้ออกแบบไปพร้อมก่อสร้าง และประกวดราคาระบบรถไฟฟ้าก่อนงานโยธา ซึ่งจะกำหนดมาตรฐานระบบรถไฟฟ้าเป็นมาตรฐานกลาง เบื้องต้น รฟม. เสนอให้แบ่งสัญญาก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูออกเป็น 6 สัญญา เช่น งานระบบรถไฟฟ้า งานโยธา งานระบบไฟฟ้า และอื่นๆ เพื่อให้เกิดการแข่งขัน ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ ซึ่งพบว่ามีความล่าช้าประมาณ 2 เดือน เนื่องจากปัญหาเรื่องการปรับแบบ ซึ่งจะได้เร่งรัดกระบวนการเพื่อนำเสนอให้ ครม.พิจารณาอนุมัติดำเนินโครงการไป พร้อมกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู. |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 44100
Location: NECTEC
|
Posted: 14/12/2012 11:51 am Post subject: |
|
|
ดึงสายสีชมพูเข้าตลาดเอื้อนายทุน
ข่าวทั่วไทย เดลินิวส์
วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม 2555 เวลา 07:35 น.
นายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า ตามที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี โดยมีแนวปลายเส้นทางช่วงมีนบุรีอยู่ที่ตลาดมีนบุรี ซึ่งก่อนหน้านี้กลุ่ม ส.ส.กทม.ในพื้นที่ดังกล่าวเห็นว่าเส้นทางเข้าตลาดมีนบุรีมีประชาชนใช้น้อย จึงจัดทำประชาพิจารณ์อีกครั้งโดยเชิญชาวบ้านย่านมีนบุรีมาร่วมแสดงความเห็นจนได้ข้อสรุปเป็นมติที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายว่า จะเปลี่ยนจุดปลายทางจากตลาดมีนบุรีเป็นที่ถนนสุวินทวงศ์แทน เพราะสามารถรองรับประชาชนในพื้นที่คลองสามวา มีนบุรี และหนองจอกได้มากกว่า อีกทั้งคนที่จะนั่งรถไฟฟ้าเพื่อไปตลาดมีน้อยกว่าคนชานเมืองที่ต้องการนั่งรถไฟฟ้าเข้าเมือง จึงได้เสนอแผนที่ได้ทำประชาพิจารณ์ไปให้ รฟม.พิจารณา แต่ รฟม.กลับยืนยันว่าจะก่อสร้างตามแนวเส้นทางเดิม เพราะได้ศึกษารายละเอียดโครงการไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งตนเห็นว่าไม่ถูกต้อง การทำโครงการควรเรียกประชาชนไปแสดงความเห็น ไม่ใช่เรียกไปนั่งฟังเฉย ๆ อีกทั้งหากยืนกรานตามเส้นทางเดิมมีแต่นายทุนเท่านั้นที่ได้ประโยชน์ แต่ประชาชนจำนวนมากกว่าเสียประโยชน์ทำไมไม่พิจารณาใหม่ เรื่องนี้ทาง ส.ส.ในพื้นที่ดังกล่าว จะหารือกับนายกรัฐมนตรี เพื่อให้พิจารณาถึงความเหมาะสมในเรื่องนี้ต่อไป.
//------------------------------------------
พอไม่ได้อย่างใจก็อาละวาดฟาดงวงฟาดงายังกะช้างตกมัน แถมยืมปากหนังสือพิมพ์ มาทำโฆษณาชวนเชื่อเลยนะเอ็งนี่ |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47527
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 17/12/2012 8:11 am Post subject: |
|
|
ระบบคมนาคมขยายสู่ฝั่งธนฯ อีก 3-4 ปี การจราจรคล่องตัว
เดลินิวส์ วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม 2555 เวลา 07:53 น.
กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงที่มีความเจริญเพิ่มขึ้นในทุก ๆ ด้าน มีการพัฒนาทั้งด้านคมนาคม ที่อยู่อาศัย เศรษฐกิจการค้า ที่ไม่หยุดนิ่ง ทุกวันนี้ความเจริญทั้งหลายเหมือนจะล้นทะลักพื้นที่ 1,568.737 ตร.กม. แล้ว และเริ่มกระจายไปสู่จังหวัดปริมณฑลทั้งนนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ
ด้านการคมนาคม ต้องยอมรับว่ากรุงเทพฯ ฝั่งพระนครมีความเจริญและมีระบบโครงข่ายถนน ทางด่วน และรถไฟฟ้า ที่มากกว่าฝั่งธนบุรี เห็นได้อย่างชัดเจนคือ ระบบทางด่วนที่มีโครงข่ายเฉพาะด้านฝั่งพระนครเป็นส่วนมาก มีทางด่วนเข้าไปถึงฝั่งธนบุรีเพียงเส้นทางเดียวเท่านั้น คือ ทางด่วนขั้นที่ 1 ลงที่ดาวคะนองและถนนสุขสวัสดิ์ ทำให้คนย่านฝั่งธนฯของกรุงเทพฯ โซนตลิ่งชัน บางพลัด ทวีวัฒนา บางแค รวมถึงย่านบางกรวย บางใหญ่ บางบัวทอง ของ จ.นนทบุรี ไม่มีทางเลือกในการเดินทาง
แต่ในช่วงนี้เหมือนหน่วยงานราชการจะให้ความสำคัญกับพื้นที่ย่านฝั่งธนฯ มากขึ้น ขณะนี้เริ่มมีโครงการก่อสร้างทางด่วนขยายมาทางด้านนี้บ้างแล้ว โดยโครงการแรกที่เริ่มลงพื้นที่ก่อสร้างแล้วเมื่อวันที่ 15 ธ.ค.ที่ผ่านมา คือ โครงการก่อสร้างทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอก ระยะทาง 16.7 กม. ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ซึ่งมีแนวเส้นทางเริ่มต้นที่ถนนกาญจนาภิเษก บริเวณโรงกรองน้ำมหาสวัสดิ์ ใกล้ทางแยกต่างระดับฉิมพลี จากนั้นแนวเส้นทางจะใช้พื้นที่เขตทางรถไฟสายตะวันตกข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระรามที่ 6 จนถึงบริเวณบางซื่อ และเชื่อมต่อกับทางพิเศษศรีรัช บริเวณด้านเหนือของสถานีขนส่งหมอชิต 2 เป็นถนนขนาด 6 ช่องจราจร ทางขึ้น-ลง รวม 6 แห่ง ได้แก่
1. ย่านถนนกาญจนาภิเษก
2. แยกถนนราชพฤกษ์
3. แยกต่างระดับบรมราชชนนี
4. บางบำหรุย่านถนนสิรินธร
5. จรัญสนิทวงศ์ซอย 97
6. บริเวณพระรามที่ 6 และ
7. ถนนกำแพงเพชร ตรงทางแยกต่างระดับด่วนขั้นที่ 2 ผ่านเขตจตุจักร บางซื่อ บางพลัด ตลิ่งชัน ของ กทม. และอำเภอบางกรวย จ.นนทบุรี ใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี คาดว่าเปิดใช้ได้ประมาณปลายปี 2559
โครงการที่สอง เป็นโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ (N1,N2,N3) ระยะทาง 43.2 กม. ของ กทพ. โดยก่อสร้างเป็นทางยกระดับในแนวเหนือใต้ จากถนนศรีนครินทร์ ไปที่ถนนนวมินทร์ ผ่านถนนเกษตรนวมินทร์ทั้งเส้น เข้าถนนงามวงศ์วาน รัตนาธิเบศร์ สิ้นสุดที่วงแหวนรอบนอกตะวันตก อยู่ระหว่างทบทวนการศึกษาความเหมาะสมโครงการกำหนดแล้วเสร็จในเดือน ส.ค. 2556 จากนั้นจะเสนอขออนุมัติโครงการ คาดว่าจะก่อสร้างได้ ในปี 2558 โดยจะเริ่มก่อสร้างในช่วง N 2 (สี่แยกเกษตรศาสตร์-ถนนนวมินทร์) ระยะทาง 9.2 กม. และช่วง N 3 (ถนนนวมินทร์-ถนนศรีนครินทร์จุดบรรจบระหว่างทางพิเศษศรีรัช) ระยะทาง 11.5 กม.ก่อน เนื่องจากมีโครงสร้างตอม่ออยู่แล้ว และจะทยอยสร้างในส่วนของ N 1 ที่มีแนวเส้นทางเริ่มจากแยกเกษตรศาสตร์ ผ่านถนนงามวงศ์วาน เข้าถนนรัตนาธิเบศร์ สิ้นสุดที่ทางแยกต่างระดับบางใหญ่ถนนวงแหวนตะวันตก ระยะทาง 22.5 กม. ซึ่งโครงการนี้จะทำให้การเดินทางจากด้านตะวันออก-ตะวันตกของกรุงเทพฯ สะดวกมากขึ้นโดยไม่ต้องผ่านใจกลางเมือง
นอกจากนี้ กทพ.ยังอยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสมด้านวิศวกร เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการทางพิเศษสายดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก ที่เบื้องต้นโครงการนี้จะมีการก่อสร้างเป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร มีจุดเริ่มต้นเชื่อมต่อกับทางพิเศษเฉลิมมหานครบริเวณทางแยกต่างระดับดาวคะนอง มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตกตามแนวถนนพระรามที่ 2 และไปสิ้นสุดที่ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก โดยจะจัดสัมมนารับฟังความเห็นผลสรุปโครงการว่าเหมาะสมควรก่อสร้างหรือไม่อีกครั้งประมาณเดือน มี.ค. 2556 ซึ่งโครงการนี้จะช่วยเพิ่มโครงข่ายทางพิเศษในแนวรัศมีชั้นนอก รองรับการเดินทางจากพื้นที่รอบนอกเข้าสู่พื้นที่ชั้นในของกรุงเทพฯ โดยเชื่อมโยงกับทางพิเศษสายต่าง ๆ รวมทั้งช่วยแบ่งเบาปริมาณจราจรบนถนนที่อยู่ในแนวขนานกับแนวเส้นทางโครงการ เช่น ถนนพระรามที่ 2 ถนนเอกชัย
อีกโครงการเป็นโครงการของกรมทางหลวง (ทล.) ที่จะพัฒนาวงแหวนรอบนอก กทม.ด้านตะวันตก (บางขุนเทียน-บางปะอิน) ระยะทาง 70 กม. ให้เป็นระบบปิดและเก็บค่าผ่านทางตามมติ ครม.เหมือนกับวงแหวนฯส่วนอื่นที่เก็บค่าผ่านทางไปแล้ว ได้แก่ วงแหวนตะวันออก (บางปะอิน-บางพลี) และด้านใต้ (บางพลี-บางขุนเทียน) โดยก่อสร้างเป็นทางยกระดับบนถนนวงแหวนตะวันตก ตั้งแต่ต่างระดับบางขุนเทียนถึงสะพานข้ามคลองลำโพธิ์ โดยเก็บค่าผ่านทางสำหรับผู้ที่วิ่งด้านบน และขยายถนนเพิ่มตั้งแต่สะพานข้ามคลองลำโพธิ์ถึงบางปะอิน เก็บค่าผ่านทางผู้ที่วิ่งในช่องทางด่วน ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสม ก่อนเลือกมาเดินหน้าก่อสร้างในอีก 5-10 ปี แนวเส้นทางครอบคลุมพื้นที่ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา บางแค บางบอน บางขุนเทียน ของ กทม. อ.ปากเกร็ด บางบัวทอง บางใหญ่ บางกรวย จ.นนทบุรี อ.สามโคก ลาดหลุมแก้ว เมือง จ.ปทุมธานี อ.บางปะอิน บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา นอกจากนี้ที่บริเวณต่างระดับบางใหญ่ยังเป็นจุดเริ่มต้นโครงการใหญ่ของ ทล.อีก 1 โครงการ คือ มอเตอร์เวย์สายบางใหญ่-บ้านโป่ง-กาญจนบุรี ระยะทาง 100 กม. ซึ่งอยู่ในแผนลำดับต้น ๆ ที่ ทล.จะหยิบมาเดินหน้าก่อสร้างในเร็ว ๆ นี้
พล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย ผู้บังคับการตำรวจจราจร (ผบก.จร.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันการจราจรย่านฝั่งธนฯ ถือว่าติดขัด หากมีระบบทางด่วนเพิ่มขึ้นในย่านนี้ จะช่วยให้การระบายรถทำได้ดีขึ้น โดยเฉพาะการเก็บค่าผ่านทางวงแหวนตะวันตก หากมีการก่อสร้างถนนเพิ่มขึ้นจะช่วยแก้ปัญหาการจราจรได้ดี รวมถึงระบบทางด่วนขั้นที่ 3 ที่เป็นแนวเหนือใต้ ช่วยให้ประชาชนมีทางเลือกในการเดินทางที่หลากหลาย และทำให้การเชื่อมต่อวงแหวนรอบนอกมีความสมบูรณ์ ผู้ขับขี่ที่ไม่ต้องการวิ่งเข้าเมืองมีทางเลือกมากขึ้น ซึ่งช่วยลดปัญหาการจราจรแออัดในเมืองได้
ความเจริญด้านการคมนาคมที่ขยายมาถึงทางฝั่งธนบุรี และฝั่งตะวันตกของ กทม. มิได้มีเพียงแต่ทางด่วนที่ใช้ขนรถเท่านั้น แต่ยังมีโครงการขนคนด้วยระบบรถไฟฟ้าพาดผ่านเข้ามาด้วย ทั้งรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายบีทีเอสจากวงเวียนใหญ่ไปถึงบางหว้า โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ หัวลำโพง-บางแค ซึ่งเป็นโครงการที่เดินหน้าก่อสร้างแล้วทั้งสิ้น โดยเส้นบางหว้าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2556 ส่วนสายสีม่วงเปิดให้บริการปลายปี 2558 และสายสีน้ำเงินเปิดให้บริการในปี 2559
ก่อนที่ความเจริญจะเข้าถึง คนที่อยู่ตามแนวเส้นทางโครงการต่าง ๆ คงต้องเตรียมทำใจกับความเปลี่ยนแปลงไว้ก่อน ทั้งเรื่องการเวนคืน ปัญหาการจราจรระหว่างก่อสร้าง ความไม่สะดวกต่าง ๆ หากสามารถแลกได้กับการจราจรที่คล่องตัวขึ้น ช่วยประหยัดเวลาในการเดินทางได้ ก็ถือว่าคุ้มค่า.
ประพิม เก่งกรีฑาพล / รายงาน |
|
Back to top |
|
|
|