RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311918
ทั่วไป:13582785
ทั้งหมด:13894703
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 186, 187, 188 ... 486, 487, 488  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46911
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/12/2012 6:38 pm    Post subject: Reply with quote

“ชัชชาติ” สั่งเปลี่ยน รฟท.รับเงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐานกว่า 1.3 ล้านล้านบาท
By สำนักข่าวไทย TNA News | 7 ธ.ค. 2555 18:20

กรุงเทพฯ 7 ธ.ค.- นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่ารัฐบาลมีแผนที่จะลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเป็นเงิน 2.2 ล้านล้านบาท โดยสัดส่วนร้อยละ 65 ของวงเงินดังกล่าว หรือประมาณ 1.3 ล้านล้านบาท เป็นเงินลงทุนที่จะใช้เพื่อพัฒนาระบบรถไฟ และเป็นการพลิกโฉมประเทศ ดังนั้น การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จำเป็นต้องเปลี่ยนตัวเองเพื่อที่จะรองรับการดำเนินงานดังกล่าว

“วันนี้ รฟท.ต้องเปลี่ยน โดยรัฐจะลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน งานราง และให้หน่วยงานลงทุนรถไฟฟ้าและอื่นๆ ที่อยู่เหนือราง เพื่อใช้ให้บริการเดินรถไฟ แต่หากวันนี้ไม่ทำอะไร รฟท.จะเจ๊ง ซึ่งปัจจุบันประสบปัญหาขาดทุนปีละกว่า 10,000 ล้านบาท เฉลี่ยนาทีละ 20,000บาท โดยนายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการ รฟท.จะต้องเตรียมพนักงานเพื่อที่จะเดินหน้าไปพร้อมกับรัฐบาล โดยต้องเลือกบุคลากรที่มีความสามารถคัดมาทำงานร่วมกัน เพื่อผลักดันให้ รฟท.เดินหน้าต่อไปได้” นายชัชชาติ กล่าว

สำหรับแนวทางการปรับปรุง รฟท.นั้น รัฐบาลจะต้องรับภาระหนี้สินจากการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ที่เหลือให้ รฟท.รับผิดชอบ โดยปัจจุบันมีหนี้สินรวม 9.8 หมื่นล้านบาท ส่วนรายได้ จะมาจากการบริหารทรัพย์สินและที่ดินที่มีอยู่ ซึ่งเฉพาะที่ดิน 3 แปลงย่านพหลโยธิน มักกะสัน และสถานีแม่น้ำ ที่ยังไม่ได้พัฒนามีมูลค่ากว่า 8.4 หมื่นล้านบาท เรื่องหนี้สิ้นจึงไม่น่าเป็นห่วง แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ ปริมาณผู้โดยสารและปริมาณการขนส่งสินค้ามีแนวโน้มลดลงตลอด เนื่องจากการเดินทางรถไฟไม่ใช่รูปแบบการเดินทางหลักของประชาชน โดยปริมาณผู้โดยสาร 1 ปี อยู่ที่ประมาณ 45 ล้านคน ขณะที่องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) มีปริมาณผู้โดยสารวันละ 3 ล้านคน.-สำนักข่าวไทย

----

สั่งปรับโครงสร้างรถไฟแก้ขาดทุน2หมื่น/นาที
โพสต์ทูเดย์ 07 ธ.ค. 2555, 17:42 น.

“ชัชชาติ” สั่งเปลี่ยนรฟท.รับเงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐานกว่า 1.3 ล้านล้านบาท หวังแก้ปัญหาขาดทุนนาทีละ 2 หมื่นบาท

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังงานประชุมเชิงปฏิบัติการ “การปฏิรูปรถไฟไทย” ว่า รัฐบาลมีแผนที่จะลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเป็นเงิน 2.2 ล้านล้านบาท โดยสัดส่วน 65% ของวงเงินดังกล่าว หรือประมาณ 1.3 ล้านล้านบาท เป็นเงินลงทุนที่จะใช้เพื่อพัฒนาระบบรถไฟ และเป็นการพลิกโฉมประเทศ รัฐบาลจะรับภาระหนี้สินจากการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ที่เหลือให้ร.ฟ.ท.รับผิดชอบ โดยปัจจุบันมีหนี้สินรวม 9.8 หมื่นล้านบาท ส่วนรายได้ จะมาจากการบริหารทรัพย์สินและที่ดินที่มีอยู่ ซึ่งเฉพาะที่ดิน 3 แปลงย่านพหลโยธิน มักกะสัน และสถานีแม่น้ำ ที่ยังไม่ได้พัฒนามีมูลค่ากว่า 8.4 หมื่นล้านบาท แต่ที่น่าเป็นห่วง คือ ปริมาณผู้โดยสารและปริมาณการขนส่งสินค้ามีแนวโน้มลดลง โดยปริมาณผู้โดยสาร 1 ปี อยู่ทีประมาณ 45 ล้านคน ขณะที่องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) มีปริมาณผู้โดยสารวันละ 3 ล้านคน

“วันนี้รฟท.ต้องเปลี่ยน โดยรัฐจะลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน งานราง และให้หน่วยงานลงทุนรถไฟฟ้าและอื่นๆที่อยู่เหนือราง เพื่อใช้ให้บริการเดินรถไฟ แต่หากวันนี้ไม่ทำอะไร รฟท.จะเจ๊ง ซึ่งปัจจุบันประสบปัญหาขาดทุนปีละกว่า 1 หมื่นล้านบาท เฉลี่ยนาทีละ 2 หมื่นบาท” นายชัชชาติ กล่าว

นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการ รฟท. กล่าวว่า สิ่งแรกที่ตนจะดำเนินการ คือ ปรับปรุงการให้บริการ สร้างรางให้มีความแข็งแรง จัดหาหัวรถจักร ขบวนรถไฟ และแคร่สินค้า เพื่อที่จะนำมาให้บริการที่มีความตรงเวลา ปลอดภัย โดยจะเร่งจัดซื้อจัดจ้างให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี ซึ่งต้องให้กระทรวงการคลังสนับสนุนและประสานความร่วมมือในการจัดสรรงบประมาณ ซึ่งครม.อนุมัติกรอบวงเงินไว้แล้วที่ 1.76 แสนล้านบาท

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า ต้องการผลักดันให้ตั้งกรมรถไฟหลวง เพื่อทำหน้าที่ในการก่อสร้างทางรถไฟ ลักษณะเหมือนกับการทางหลวงที่ก่อสร้างถนน ส่วนรฟท.ให้มีหน้าที่ให้บริการเดินรถไฟ ซึ่งอนาคตจะไม่มีหน่วยงานเดินรถไฟเพียงหน่วยเดียว แต่เอกชนสามารถที่จะเข้ามาให้บริการเดินรถไฟได้ เพื่อให้เกิดการแข่งขัน และใช้โครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลให้เกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนั้นให้ตั้งบริษัทบริหารทรัพย์สิน เพื่อเพิ่มรายได้จากสินทรัพย์ที่มีอยู่

นายโชคชัย คัมภิรานนท์ ประธานกรรมการ บริษัท เอ็น.ดี.ซี.โลจิสติกส์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาตนในฐานะผู้ให้บริการขนส่งทางรถไฟ พยายามทำความเข้าใจกับผู้ใช้บริการซึ่งเป็นผู้ส่งออก เกี่ยวกับธรรมชาติของการขนส่งทางรถไฟที่มีปัญหาล่าช้า เช่น จองเรือขนส่งสินค้าสำรองเผื่อสำหรับตู้สินค้าที่ขนส่งทางรถไฟมาล่าช้า แต่ก็มีความหวังว่าอนาคตจะดีขึ้น และยืนยันว่าผู้ใช้บริการมีความต้องการขนส่งสินค้าทางรถไฟ ทั้งจากผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมยาง และแป้งมัน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43745
Location: NECTEC

PostPosted: 07/12/2012 7:54 pm    Post subject: Reply with quote

เวิร์กชอป “ปฏิรูปรถไฟ” รื้อโครงสร้างพัฒนาที่ 3 แปลงใหญ่แก้ขาดทุน-ล้างหนี้แสนล้าน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 7 ธันวาคม 2555 16:51 น.


“คมนาคม” จัดเวิร์กชอป “ปฏิรูปรถไฟไทย” เปิดเวทีรับฟังความเห็นเอกชนร่วมแก้ปัญหาสะสม เตรียมความพร้อมองค์กรรับการลงทุนปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ “ชัชชาติ” ยันต้องเปิดรางให้เอกชนร่วมใช้เพื่อให้มีการแข่งขัน ดันพัฒนาที่ดิน 3 แปลงใหญ่หารายได้เพิ่มเอาไปชดเชยขาดทุนและหนี้กว่า 9 หมื่นล้าน ด้าน “ประภัสร์” หวั่นเปิดเอกชนเดินรถอาจคุมค่าโดยสารยาก

วันนี้ (7 ธ.ค.) กระทรวงคมนาคมได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “การปฏิรูปรถไฟไทย” โดยมีหน่วยงานและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น โดยนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า รัฐบาลจะมีการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานวงเงิน 2.2 ล้านล้านบาท โดยเป็นของรถไฟถึง 60% มีเป้าหมายเพื่อปรับเปลี่ยนการขนส่งจากถนนไปสู่ระบบราง ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่มีสูงถึง 7 แสนล้านบาทต่อปีลงได้ โดยตามแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ครั้งใหญ่ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ให้ความสำคัญต่อการปรับปรุงรถไฟและถือเป็นเรื่องใหญ่เพราะจะช่วยพลิกโฉมประเทศ ลดต้นทุนการขนส่งทำให้ไทยแข่งขันได้

ดังนั้น ร.ฟ.ท.จะต้องมีความพร้อมที่จะลงทุนปรับโครงสร้างดังกล่าว เนื่องจากปัจจุบันมีหนี้สินประมาณแสนล้านบาทและยังขาดทุนประมาณ 1.4 หมื่นล้านบาทต่อปี หรือคิดเป็น 1.5 ล้านบาทต่อชั่วโมง ซึ่งนายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. จะต้องทำความเข้าใจกับพนักงานเพื่อเตรียมพร้อมด้านบุคลากรให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง และต้องคัดสรรพนักงานที่มีความรู้ความสามารถตั้งขึ้นเป็นดรีมทีมเพื่อช่วยขับเคลื่อนงานทั้งหมดให้เป็นไปตามเป้าหมาย

นายชัชชาติกล่าวว่า ร.ฟ.ท.ต้องหาทางจัดการหนี้สินที่มี โดยหลักคือนำที่ดินที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์กว่า 3 หมื่นไร่มาพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อหารายได้จากส่วนนี้มาชดเชยผลขาดทุนและหนี้สินกว่า 3 หมื่นล้านบาทซึ่งเป็นส่วนของการลงทุนโครงการแอร์พอร์ตลิงก์และภาระบำนาญ ส่วนที่เหลือรัฐต้องรับภาระ ขณะที่ทรัพย์สินที่เป็นรางนั้นต้องปรับการบริหารเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดเช่นกัน โดยมี 2 รูปแบบ คือ 1. เปิดให้เอกชนมาร่วมลงทุนและเดินรถ 2. เปิดให้เอกชนหลายรายนำรถมาวิ่งบนรางได้โดยจ่ายค่าเช่า ซึ่งจะทำให้เกิดการแข่งขัน

“ตอนนี้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำลังศึกษาการปรับโครงสร้างอย่างไร ที่ผ่านมาละเลยไม่แก้ปัญหาอย่างจริงจัง มีแต่คิดที่จะลงทุนแต่ไม่ได้ดูโครงสร้างที่จะรองรับการลงทุน ซึ่งการจะปรับอย่างไรสำคัญจะต้องฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนร่วมทั้งภาคเอกชน และผู้ประกอบการด้วย”

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า การปฏิรูประบบรถไฟไทยให้มีประสิทธิภาพ จะต้องปฏิรูปองค์กรให้กลับไปเป็นหน่วยงานราชการ ซึ่งอาจจะต้องกลับไปเป็นกรมรถไฟเหมือนก่อนหน้านี้ เพื่อโอนทั้งทรัพย์สินและหนี้สินของ ร.ฟ.ท.ที่มีอยู่ 98,000 ล้านบาทให้รัฐรับภาระเพื่อล้างหนี้ และให้กรมรถไฟทำหน้าที่ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน โดยใช้งบประมาณจากรัฐ เหมือนกรมทางหลวง (ทล.) ที่มีหน้าที่สร้างถนนอย่างเดียว แล้วแยกทรัพย์สินส่วนของการเดินรถออกโดยให้ ร.ฟ.ท.เป็นผู้บริหารจัดการและเปิดให้เอกชนสามารถเข้ามาเช่ารางเดินรถได้ ทำให้รัฐมีรายได้กลับมาพัฒนาระบบรางต่ออีก

ด้านนายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. กล่าวว่า การเปิดให้เอกชนเข้ามาแข่งขันเดินรถอาจทำให้ควบคุมอัตราค่าโดยสารได้ยาก ส่วนการจัดซื้อหัวรถจักรใหม่และการซ่อมแซมรางขณะนี้ ร.ฟ.ท.ได้อนุมัติงบ 1.76 แสนล้านบาท มีเวลาดำเนินงานถึงปี 2563 แต่ยังมีปัญหาที่ต้องเร่งประกวดราคาภายใน 2 ปี เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่ถูกปรับเปลี่ยนตามการเมือง ขณะที่เรื่องหนี้สินยอมรับว่าจะต้องแก้ไข แต่ไม่เห็นด้วยกับการโอนล้างหนี้เพราะหนี้สินของประเทศก็ยังคงมีอยู่ ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.มีรางรถไฟยาวประมาณ 4,000 กิโลเมตร แต่มากกว่าครึ่งทรุดโทรม ขณะที่หัวรถจักรก็ชำรุด ใช้ได้ประมาณ 100 คันเท่านั้น ผู้โดยสารจึงลดลงเรื่อยๆ ขณะที่บ้านพักพนักงานก็ทรุดโทรมมาก

สำหรับปัญหาของ ร.ฟ.ท.ในเรื่องการเดินรถ คือมีระยะทาง 4,043 กิโลเมตร เป็นทางเดี่ยวถึง 91.1% ทำให้เกิดความล่าช้าในการรอสับหลีก รางมีสภาพเก่า จำเป็นต้องปรับปรุงถึง 2,835 กิโลเมตร มีหัวรถจักรหมุนเวียนใช้เพียง 142 คัน โดยเป็นหัวรถจักรที่มีอายุใช้งานมากกว่า 25 ปีถึง 104 คัน มีจุดตัดกับถนนเฉลี่ยทุกๆ 2 กิโลเมตร ไม่มีเครื่องกั้น 988 จุด และเป็นทางลักผ่าน 540 จุดทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อย

ส่วนปัญหาด้านการบริหารจัดการ มีหนี้สินถึง 98,060 ล้านบาท แบ่งเป็นหนี้โครงสร้างพื้นฐาน รถจักรและล้อเลื่อน หนี้ค่าน้ำมันกับ ปตท.และบำเหน็จบำนาญ 21,962 ล้านบาท หนี้จากการดำเนินงาน 42,860 ล้านบาท หนี้จากโครงการแอร์พอร์ตลิงก์ 33,237 ลานบาท ไม่ได้ปรับค่าโดยสารรถชั้น 3 มาตั้งแต่ปี 2528 ส่วนชั้น 1 และ 2 ตั้งแต่ปี 2539 จัดเก็บค่าโดยสารต่ำกว่าต้นทุนมาก

การปฏิรูปโครงสร้าง ร.ฟ.ท.ได้ตั้งหน่วยธุรกิจ 3 หน่วย คือ หน่วยธุรกิจด้านเดินรถโดยสารและสินค้า หน่วยธุรกิจด้านซ่อมบำรุงรถจักรและล้อเลื่อน หน่วยธุรกิจด้านบริหารทรัพย์สิน ส่วนแนวทางการลดภาระหนี้สินและเพิ่มรายได้นั้น ร.ฟ.ท.จะต้องนำที่ดินที่มีศักยภาพมาพัฒนาในรูปแบบชุมชนใหม่ ที่มีทั้งที่พัก ศูนย์การค้า อาคารสำนักงาน โรงแรม และโรงพยาบาล เช่น ย่านมักกะสัน พื้นที่ 512 ไร่ มูลค่า 296,680 ล้านบาท ย่านพหลโยธิน กม.11 พื้นที่ 359 ไร่ มูลค่า 133,595 ล้านบาท ย่านสถานีแม่น้ำ พื้นที่ 277 ไร่ มูลค่า 12,242 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46911
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/12/2012 8:24 am    Post subject: Reply with quote

8 12 55 จุดเปลี่ยนประเทศไทย ปรับปรุงการรถไฟแห่งประเทศไทย part 1



part 2 Arrow http://www.youtube.com/watch?v=lr2e_sQ5XXA

part 3 Arrow http://www.youtube.com/watch?v=EoHn-_enTpo

part 4 Arrow http://www.youtube.com/watch?v=0m55xDTWIvI
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Tohoku_Line
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 08/04/2010
Posts: 193
Location: Bangkok/Ubonratchathani

PostPosted: 10/12/2012 11:55 am    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.เร่งTORประมูล50หัวรถจักร

"ประภัสร์" เร่งทีโออาร์ประมูล 50 หัวรถจักรค่ากว่า 6 พันล้าน วงในเผยล็อตนี้สู้กันมันหยดแน่ ปูดมี เจ๊ ด. พรรคการเมืองใหญ่ ที่หนุนโรงงานซื่อหยางจากจีนส่งทีมงานพร้อมเอกสารถึงมือผู้ว่าการร.ฟ.ท. แล้ว

ด้าน "ป่าไม้สันติ" บ่ยั่นนำบิ๊ก CSR กรุ๊ปและแบงก์ออฟไชน่าจากจีนบุกคมนาคมพบ "ชัชชาติ-ประภัสร์" สยบข่าวลือไม่มีศักยภาพพร้อมผลิตหัวรถจักรส่งมอบตามสัญญาแน่
ประภัสร์ จงสงวน นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าขณะนี้ได้กำชับให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเร่งจัดทำทีโออาร์สำหรับการประมูลหัวรถจักรดีเซลไฟฟ้าทดแทน GE จำนวน 50 คัน คิดเป็นงบประมาณรวม 6,562 ล้านบาท หลังจากเปิดประมูลล็อตแรกจำนวน 20 คัน และบริษัท ป่าไม้สันติ จำกัด ตัวแทนจำหน่ายโดยตรงของบริษัท ซีเอสอาร์ คอร์ปอเรชั่น จากประเทศจีน ชนะการประมูลไป ทั้งนี้ คาดว่าจะเซ็นสัญญาภายในเดือนธันวาคมนี้ หลังกระทรวงการคลังพิจารณาแหล่งเงินทุนสนับสนุนโครงการดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว

โดยหัวรถจักรทั้ง 20 หัวที่ประมูลผ่านพ้นไปแล้วนั้นการรถไฟฯจะนำไปใช้ในเส้นทางศรีราชา-แหลมฉบังเป็นหลักเพื่อการขนสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเนื่องจากเส้นทางดังกล่าวได้ดำเนินการให้เป็นทางคู่และเปิดให้บริการไปเมื่อไม่นานมานี้ เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือผ่านเส้นทางดังกล่าวตามที่มีแผนก่อสร้างช่วงคลองสิบเก้า-แก่งคอยในระยะต่อไป

ด้านนายพีระศักดิ์ วยากรณ์วิจิตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ป่าไม้สันติ จำกัด กล่าวว่า หลังจากบริษัทชนะการประมูลการจัดซื้อหัวรถจักรของร.ฟ.ท.ขนาด 20 ตัน/เพลา จำนวน 20 หัวมูลค่า 1,916 ล้านบาท ก็เกิดกระแสข่าวลือว่าบริษัทไม่สามารถผลิตหัวรถจักรส่งมอบให้ร.ฟ.ท.ได้ บริษัทจึงได้นำนายชู ซองเสียน ประธานบริษัท ซีเอสอาร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด นายหวัง ฮองเนียน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซีเอสอาร์ ซีซิเยี่ยน จำกัด และผู้บริหารแบงก์ออฟไชน่าของจีนเข้าพบนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและนายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการร.ฟ.ท.อย่างเป็นทางการ เพื่อยืนยันความพร้อมการผลิตหัวรถจักรที่ป่าไม้สันติประมูลได้ทั้งหมด โดยกำหนดส่งมอบหัวแรกใน 15 เดือนนับจากวันเซ็นสัญญา

"ขณะนี้บริษัทเร่งเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าร่วมแข่งขันประมูลจัดหารถจักรและล้อเลื่อนที่การรถไฟฯมีแผนกำหนดไว้แล้วตามกรอบงบประมาณแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของร.ฟ.ท.ระยะเร่งด่วน พ.ศ.2553-2557 ไม่ว่าจะเป็นรถจักรดีเซลไฟฟ้าทดแทน GE 50 คัน งบประมาณ 6,562 ล้านบาท และการจัดหารถโดยสารบริการเชิงพาณิชย์ 115 คัน งบประมาณ 4,981 ล้านบาท เช่นเดียวกับกรณีการประมูล 308 แคร่ที่ต้องยกเลิกไปแล้วถึง 3 ครั้งนั้นก็พร้อมเข้าร่วมประมูลต่อไป"

ขณะที่แหล่งข่าวจากร.ฟ.ท.ให้ความเห็นว่าการประมูลจัดซื้อหัวรถจักรครั้งต่อไป เชื่อแน่ว่าต่อสู้กันรุนแรงกว่าครั้งที่ผ่านมา โดยเขาอ้างว่ามีนักการเมืองใหญ่อักษรย่อ เจ้ ด. จากพรรคการเมืองใหญ่พรรคหนึ่ง ที่สนับสนุนโรงงานซื่อหยางของจีนได้ส่งทีมงานยื่นหนังสือถึงมือผู้ว่าร.ฟ.ท.เรียบร้อยแล้ว แม้จะเป็นตัวแทนของผู้ผลิตรายใหญ่จากจีนโรงงานเดียวกันก็ตาม แต่เชื่อว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นแน่ๆ จึงขอให้ติดตามอย่ากะพริบตาว่าบริษัทป่าไม้สันติฯจะชนะการประมูลครั้งต่อไปอีกหรือไม่

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 2,799 วันที่ 9-12 ธันวาคม พ.ศ. 2555

http://thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=158168:tor50&catid=128:-real-estate-&Itemid=478

คราวนี้คงต้องจับตาดูกัน ว่าขาใหญ่กลุ่มการเมืองจะซัดกันเองในการประมูลครั้งต่อไปกันมากน้อยแค่ไหน
แต่ก็นะ อยากเห็นรถจักรญี่ปุ่น ยุโรปหรืออเมริกาใหม่บ้างจัง จะได้เอามาเปรียบเทียบกับรถจักรจีนว่าศักยภาพจะต่างกันแค่ไหน คนที่อนุมัติประมูลจะได้เห็นดำเห็นแดงไปเลย
Back to top
View user's profile Send private message
alderwood
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 10/04/2006
Posts: 6593
Location: กรุงเทพ-ราชสีมา

PostPosted: 10/12/2012 1:53 pm    Post subject: Reply with quote

Quote:
ปูดมี เจ๊ ด. พรรคการเมืองใหญ่ ที่หนุนโรงงานซื่อหยางจากจีนส่งทีมงานพร้อมเอกสารถึงมือผู้ว่าการร.ฟ.ท. แล้ว


หึหึ เมดอินไชน่า Evil or Very Mad
_________________
รักรถไฟมั่นใจโคปเตอร์ || Railway Racing Team || Korat Spotter
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website MSN Messenger
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43745
Location: NECTEC

PostPosted: 10/12/2012 11:05 pm    Post subject: Reply with quote

คค.เร่งพัฒนาร.ฟ.ท.หลังขาดทุนช.ม.ละ1.5ล.
ข่าวเศรษฐกิจ
INN News
วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ.2555 13:52น.

กระทรวงคมนาคม เดินหน้ายกเครื่องการรถไฟฯ หลังถูกละเลย พบขาดทุนเฉลี่ย ช.ม. ละ 1.5 ล้านบาท เล็งพัฒนาที่ดินเพิ่มมูลค่า
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ปัจจุบันใช้การขนส่งสินค้าทางรถไฟน้อยมากทำให้ประเทศไทยสิ้นเปลืองด้านพลังงานมาก โดยแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานวงเงิน 2 ล้านล้านบาทนั้น จะมีแผนลงทุนด้านรางถึง 60% แต่ทางเอกชนได้แสดงความกังวลด้วยว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยพร้อมกับการพัฒนาหรือไม่ รวมทั้งในการรถไฟฯ นั้น มีหนี้สินอยู่ในขณะนี้กว่าแสนล้านบาท โดยปีที่ผ่านมา ขาดทุนถึง 14,000 ล้านบาท ซึ่งคิดเฉลี่ยชั่วโมงละ 1,500,000 บาท ทั้งนี้ที่ผ่านมาการลงทุนด้านรางได้ถูกละเลยมาเป็นระยะเวลานานและสำหรับแนวคิดเรื่องกรมการรถไฟเหมือนอย่างสมัยก่อนนั้น เมื่อในปัจจุบันได้มีการปรับมาเป็นรัฐวิสาหกิจ ทำให้หน่วยงานต้องรับภาระหนี้สินเนื่องจากการลงทุน โดยอนาคตอาจมีการปรับระบบรางให้เป็นโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งกำลังให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำการศึกษาส่วนในเรื่องของที่ดิน ที่มีอยู่กว่า 2 แสนไร่นั้น ก็ต้องมีการบริหารจัดการที่เหมาะสม ขณะนี้ได้มอบหมายให้ นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย ดำเนินการ รวมทั้งในการทำความเข้าใจให้ร่วมกับพนักงานด้วย นอกจากนี้ ส่วนตัวมองว่า ถ้าในปัจจุบันรถไฟไทย ไม่มีการปฏิรูปรถไฟไทย ในอีก 7 - 8 ปีข้างหน้า รถไฟอาจไม่แข่งขันกับประเทศ
อื่นได้

//---------------------------------------------
คมนาคม ถกหามาตรการ จี้ รฟท. สางหนี้กว่า 9 หมื่นล้าน
ผู้สื่อข่าว : ไกรโชติ พรหมมิ
ข่าวจริง สปริงนิวส์ ทันเหตุการIN
วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ.2555 20:11:49

ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทยเสนอให้ลอยตัวราคาค่าโดยสารหากจะเปิดโอกาสให้มีผู้ให้บริการทางรางแข่งกับการรถไฟ พร้อมปรับปรุงการทำงานด้วยการซื้อเครื่องจักรและระบบใหม่ทั้งหมด
ในการประชุมเชิงปฎิบัติการหรือเวิรค์ชอปการปฎิรูปรถไฟไทยซึ่งกระทรวงคมนาคมจัดขึ้นเพื่อรวบรวมข้อคิดเห็นการพัฒนาการขนส่งทางรางให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และพัฒนาระบบโลจิกสติส์เพื่อให้ผู้ประกอบการมาใช้การขนส่งทางรางลดต้นทุนการขนส่งรวมทั้งปรับปรุงการให้บริการให้มีความสะดวกและมีมาตรฐานความปลอดภัย

นายจุฬา สุมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร มองว่าการปฎิรูปรถไฟจะต้องแยกภาระกิจหน้าที่ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย ดูแลอยู่โดยต้องส่งเสริมให้มีผู้ใช้บริการด้านรถไฟมากขึ้น โดยจะต้องแยกโครงสร้างพื้นฐานออกจากการเดินรถ และมองว่าจะต้องปรับเปลี่ยนจากการที่การรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นผู้ผูกขาดการให้บริการด้านรางทั้งหมดเพื่อเปิดเสรีและมีการแข่งขัน

นายจุฬา กล่าวต่อว่า ในส่วนหนี้สิน 98,000 ล้านบาทจะต้องลดภาระโดยจะต้องนำโครงสร้างพื้นฐานด้านการรถไฟกลับมาเป็นของรัฐ โดยจะต้องนำภาระหนี้ภาระสะสมของรางออกมาด้วย ทำให้การรถไฟมีหนี้สินน้อยลง และเสนอให้รื้อฟื้นกรมรถไฟหลวง ขึ้นมาเป็นหน่วยงานภาครัฐที่จะดูแลระบบรางรวมถึงการลงทุนระบบราง ของรัฐบาลที่มีแผนจะใช้งบประมาณร้อยละ 60 ของงบประมาณการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท รวมทั้งเป็นหน่วยงานด้านการกำกับดูแลด้านความปลอดภัยขนส่งทางรางเช่นเดียวกับกรมการขนส่งทางบกหรือกรมเจ้าท่า และทำหน้าที่ในการออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ประกอบการที่จะเข้ามาเป็นผู้ดำเนินการทางรางด้วย ส่วนภาคการบริการจะมีผู้ประกอบการรายอื่นๆเข้ามาแข่งขันกับการรถไฟที่จะเป็นผู้ให้บริการเช่นเดียวกัน

นอกจากนี้จะต้องมีการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจเข้ามารับโอนและบริหารทรัพย์สินที่เป็นของรถไฟโดยเฉพาะที่ดินของการรถไฟที่มีอยู่มาก ซึ่งรัฐวิสาหกิจนี้จะทำหน้าที่เป็นโฮลดิ้งคัมปานี ร่วมลงทุนในโครงการต่างๆ เช่นโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่จะเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนโดยรัฐวิสาหกิจนี้จะนำทรัพย์สินที่เป็นที่ดินที่จะใช้วางรางตีราคาเป็นหุ้นเพื่อร่วมในการลงทุน

ด้าน นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ไม่สนับสนุนแนวทางนี้เนื่องจากขัดกับวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยมองว่าหากดำเนินการตามโครงสร้างดังกล่าวจะไม่สามารถควบคุมค่าโดยสารได้ ซึ่งที่ผ่านมาค่าโดยสารของการรถไฟไม่ได้เพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2528 หากใช้โครงสร้างดังกล่าวต้องปล่อยลอยตัวค่าโดยสาร และมองว่าปัญหาของการรถไฟมาจากข้อจำกัดของนโยบายภาครัฐที่ไม่มีการส่งเสริมอย่างจริงจัง แต่เชื่อว่ารัฐบาลมองเห็นว่าการพัฒนาการรถไฟจะสร้างผลตอบแทนทางเศรษฐกิจมากกว่างบประมาณที่จัดมาเพื่อการลงทุนในอนาคต นับสินเท่า แต่ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจะต้องนำมาคิดเป็นตัวเลขหักหนี้สินทางบัญชีเพื่อให้การรถไฟมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น และมองว่าภายในวาระการดำรงตำแหน่งจะเร่งการจัดซื้อรางรถไฟ หัวรถจักร ตู้โดยสารและแคร่สินค้าใหม่ตามแผนจัดซื้อเพื่อพัฒนาการให้บริการและทำให้การรถไฟแห่งประเทศไทยกลับมาเป็นองค์กรแห่งความภาคภูมิใจของประเทศ


//----------------------------
รมว.คมนาคมทุ่มงบเปลี่ยนรฟท.

By สำนักข่าวไทย TNA News | 7 ธ.ค. 2555 19:34 | 47 views | View Comment
“ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” รมว.คมนาคม เผยรัฐบาลมีแผนที่จะลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเป็นเงิน 2.2 ล้านล้านบาท โดยสัดส่วน 65% ของวงเงินดังกล่าว (ประมาณ 1.3 ล้านล้านบาท) เป็นเงินลงทุนที่จะใช้เพื่อพัฒนาระบบรถไฟ และเป็นการพลิกโฉมประเทศ ระบุวันนี้ รฟท.ต้องเปลี่ยน โดยรัฐจะลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน งานราง และให้หน่วยงานลงทุนรถไฟฟ้าและอื่นๆที่อยู่เหนือราง
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46911
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/12/2012 7:34 am    Post subject: Reply with quote

โอท็อป-เทรน สูตรสำเร็จกิน-เที่ยว-ช็อปครบ
วันพุธที่ 12 ธันวาคม 2012 เวลา 10:09 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ

หนึ่งในนโยบายประชานิยมที่พรรคเพื่อไทยได้หาเสียงเอาไว้ก่อนการเลือกตั้ง โครงการที่ 9 ยกระดับพัฒนา โอท็อป ล่วงเลยมาปีเศษ เพื่อไทยจึงปัดฝุ่นโครงการนี้อย่างจริงจัง เพื่อหวังปั๊มรายได้จากโครงการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (โอท็อป) กระจายสู่รากหญ้า ส่วนเด้งที่สองยังเป็นฟื้นฟูโครงการที่เคยคิกออฟสมัย "ทักษิณ ชินวัตร" ให้เปรี้ยงปร้างอีกครั้ง

Click on the image for full size

กระทั่งนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ปิ๊งไอเดียบรรเจิดหลังจากเห็นรถไฟสายโอท็อปที่ประเทศญี่ปุ่น จึงนำมาประยุกต์ใช้ในเมืองไทย โดยเป็นการบูรณาการของ 3 หน่วยงานคือการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และกรมการพัฒนาชนบท (พช.) ได้ช่วยกันเนรมิต "โอท็อป-เทรน" ขึ้นและประเดิมเส้นทาง "มนต์เสน่ห์ทะเลวัง" กรุงเทพฯ-หัวหินเป็นรูตแรก

ต่อเรื่องนี้ผู้เกี่ยวข้องโดยตรง "สมชาย ชมพูน้อย" ผอ.สำนักงานภูมิภาค ภาคกลาง ททท. บอกว่า ตามแผนจะมีโอท็อป-เทรน 3 เส้นทางคือกรุงเทพฯ-หัวหิน กรุงเทพฯ-กาญจนบุรีและกรุงเทพฯ-อยุธยา ใช้งบประมาณ 10 ล้านบาท ในการปรับปรุงขบวนทั้งภายในและภายนอกให้เข้ากับคอนเซ็ปต์ อย่างเส้นทางหัวหินได้ แรพขบวนรถเป็นภาพไฮไลต์ของแหล่งกิน แหล่งเที่ยวในเส้นทางนั้น พร้อมกันนี้ก็จะนำผลิตภัณฑ์โอท็อปมาตกแต่งภายใน อาหาร เครื่องดื่ม บริการก็จะเสิร์ฟแต่สินค้าที่มีตราโอท็อปทั้งสิ้น แถมด้วยโปรแกรมพาทัวร์สัมผัสแหล่งผลิตสินค้าโอท็อปเด็ด ๆ ในแต่ละพื้นที่ด้วย

"เดิมจะเริ่มขายตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยนายกฯเป็นประธานเปิดงานได้เลื่อนจึงต้องเลื่อนการขายตั๋วตาม แต่ขณะนี้ก็มีบริษัททัวร์ขายบ้างประปราย มีราคาพิเศษ 3 แบบและจะขายเพียง 3 เดือนช่วงโปรโมตเท่านั้น คือไป-กลับ 900 บาท เที่ยวเดียว 500 บาท รวมมื้อเที่ยง อาหารว่าง แบบที่ 2 ราคา1,672 บาท รวมห้องพักในหัวหิน 1 คืนและราคา 2,999 บาท เป็นราคาแพ็กเกจซื้อผ่านบริษัททัวร์ 12 แห่ง ออกจากหัวลำโพง 9.20 น. ถึงหัวหิน 13.30 น. จุผู้โดยสารได้ราว 200 คน"

กลุ่มทาร์เก็ตมาร์เก็ตจะเป็นนักท่องเที่ยวไทย-ต่างชาติ รวมถึงตลาดอินเซนทีฟ จัดประชุม สัมมนา ที่ต้องการความแปลกใหม่ย้อนยุค พนักงานต้อนรับจะแต่งกายในสมัยรัชกาลที่ 7 มีการนำเสนอเรื่องราวประวัติศาสตร์ ผ่านพระราชวังถึง 4 รัชกาล เป็นภาษาไทย-อังกฤษ เสิร์ฟอาหารคาว หวาน ที่ขึ้นชื่อในแต่ละท้องถิ่น ทั้งส้มโอนครชัยศรี ขนมหวานเมืองเพชร แถมยังมีห้องคาราโอเกะ เลานจ์ อินเตอร์เน็ต บริการ เรียกว่าบริการเทียบชั้นการบินไทยทีเดียว ขณะนี้เริ่มมีสถาบันการศึกษาและบริษัทนำเที่ยวให้ความสนใจเหมาโบกี้เป็นจำนวนมาก ผอ.ททท.ย้ำ

นอกจากโอท็อป-เทรน แล้ว ในส่วนของกรมการพัฒนาชุมชนในฐานะหน่วยงานต้นน้ำยังเดินหน้ากระตุ้นการขายสินค้าโอท็อป ด้วยการเตรียมเปิดจุดขายและกระจายสินค้าในกทม.เพิ่มถึง 5 จุด อาทิ ใต้ทางด่วน เพลินจิต สีลม รามอินทรา ใต้สถานีจตุจักร รฟม. และศูนย์ใหญ่ที่ตลาดรัฐประชา มาร์เก็ต สนามหลวง 2 ที่อยู่ระหว่างการตกแต่งสถานที่ จัดดิสเพลย์สินค้าที่จะวางขาย

"วีระศักดิ์ ประภาวัฒน์เวช" ผอ.สำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น และวิสาหกิจชุมชน พช. ระบุว่า "ศูนย์กระจายสินค้าที่สนามหลวง 2 จะเป็นแหล่งกระจายสินค้าโอท็อปจากทั่วประเทศ รองรับได้ 480 บูธ ใช้งบประมาณราว 80 ล้านบาท คาดเปิดบริการเดือนกุมภาพันธ์ปี 2556 ส่วนพื้นที่ใต้ทางด่วนใจกลางเมือง อย่าง เพลินจิต สีลม จะเปิดขายถึงเที่ยงคืนเพราะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติมา มีบริการอินเตอร์เน็ตไว-ไฟ แต่ละที่จะมีสินค้าหลากหลายสับเปลี่ยนกันมาขายคาดเปิดขายต้นปี 56

"เฉพาะใต้ทางด่วนรามอินทรายังจะใช้เป็นแหล่งกระจายสินค้าเกษตร ที่ราคาตกต่ำ ตามฤดูกาลอย่างลองกอง เงาะ มีบริการอาหารไทย 4 ภาค สวนเกษตร เนื่องจากสถานที่กว้างขวางถึง 8 ไร่ จึงมีที่จอดรถสะดวกสบาย"

ดังนั้นโอท็อป-เทรนและการเปิด 5 จุดขายใหม่ จึงทำให้เกิดความชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น และเป็นการเดินตามยุทธศาสตร์พัฒนาโอท็อป หลังจากมีการจัดแบ่งสินค้าออกเป็น 4 ระดับคือ เกรด เอ สินค้าประเภทดาวเด่นสู่สากล เกรด บี อนุรักษ์คุณค่า ผลิตได้ครั้งละ 30 ชิ้นต่อปี เกรด ซี เตรียมพร้อมในการผลิตฉายแววที่ส่งออกได้ และเกรด ดี สินค้าที่อยู่ในรายการสู่การพัฒนา ภายใต้เป้าหมายโตปีละ 10% สิ้นปี 2555 คาดว่าจะทำยอดขายได้ 7.9 หมื่นล้านบาทมีการบูรณาการตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำหลังจากปีที่แล้วชะงักเพราะเหตุน้ำท่วมใหญ่แหล่งผลิตและสินค้าเสียหายไปมาก

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 2,800 วันที่ 13-15 ธันวาคม พ.ศ. 2555
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46911
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/12/2012 8:41 am    Post subject: Reply with quote

หนองคาย-รวบโจรรถไฟ
วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ปีที่ 22 ฉบับที่ 8051 ข่าวสดรายวัน หน้า 15

วันที่ 13 ธ.ค. ร.ต.ต.สมสดี สุทธิประภา รอง สวป.ประจำสถานีรถไฟหนองคาย จับกุมนายศรีโพธิ์ คล้ายเหมือน อายุ 54 ปี อยู่บ้านเลขที่ 79 ม.5 ต.วังม่วง อ.วังม่วง จ.สระบุรี ผู้ต้องหาก่อเหตุลักทรัพย์ ผู้โดยสารรถไฟ บนขบวนรถเร็วที่ 133 กรุงเทพฯ-หนองคาย พร้อมกระเป๋าเป้สีดำของผู้เสียหาย 1 ใบ สอบสวนผู้ต้องหารับสารภาพว่าลงมือก่อเหตุมานานแล้ว จึงควบคุมตัวไว้ดำเนินคดี
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
nutsiwat
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 03/03/2011
Posts: 684
Location: สถานีเรณูนคร

PostPosted: 14/12/2012 6:20 pm    Post subject: Reply with quote

คราวนี้คงต้องจับตาดูกัน ว่าขาใหญ่กลุ่มการเมืองจะซัดกันเองในการประมูลครั้งต่อไปกันมากน้อยแค่ไหน
แต่ก็นะ อยากเห็นรถจักรญี่ปุ่น ยุโรปหรืออเมริกาใหม่บ้างจัง จะได้เอามาเปรียบเทียบกับรถจักรจีนว่าศักยภาพจะต่างกันแค่ไหน คนที่อนุมัติประมูลจะได้เห็นดำเห็นแดงไปเลย

ครับ ผมเองก็อยากจะเห็นรถจักรจากยุโรป ญี่ปุ่น โดยเฉพาะแถบอเมริกา ถึงแม้หัวรถจักรจะมีราคาค่อนข้างที่จะแพงมาก ๆ ซึ่งราคาพอ ๆ กับเครื่องบินย่อม ๆ ลำหนึ่ง แต่ด้วยเทคโนโลยีและความแข็งแกร่งทนทานแล้ว หัวรถจักรที่เรากำลังจะได้รับ จำนวน 50 หัว คงจะเทียบไม่ได้ ไม่รู้ว่าใช้ ๆ ไปจะน๊อก หรือเสียกลางทางหรือไม่

อย่างหัวรถจักร Alstom และ GE ซึ่งมาจากยุโรปและอเมริกา ในตอนนี้ก็ยังใ้ช้งานอยู่ ทั้งซ่อมและปรับปรุง ก็ยังใช้การได้ดี เพราะเราจะุคุ้นเคยกับหัวรถจักรเหล่านี้มาตลอดนะครับ


Laughing สถานีต่อไป สถานีรถไฟเรณูนคร Laughing
Back to top
View user's profile Send private message Yahoo Messenger MSN Messenger
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46911
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/12/2012 7:05 am    Post subject: Reply with quote

ชัชชาติ+ประภัสร์
เดลินิวส์ วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม 2555

ไทย เป็นประเทศที่มีรถไฟใช้เป็น อันดับแรก ๆ ของ เอเชีย

ความสนใจในกิจการรถไฟของไทย เริ่มในรัชกาลของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เมื่อ ปี 2429 กิจการรถไฟได้ถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรก โดยรัฐบาลได้อนุมัติสัมปทานแก่บริษัทของชาวเดนมาร์กให้สร้างทางรถไฟ ระยะทาง 21 กม. ระหว่างกรุงเทพฯ ไปสมุทรปราการ

ใน เดือนตุลาคม 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง กรมรถไฟหลวง ขึ้นมาโดยสังกัดกระทรวงโยธาธิการ

26 มีนาคม 2439 พระองค์เสด็จทรงประกอบพระราชพิธีเปิดการเดินรถไฟระหว่าง กรุงเทพฯ-อยุธยา ระยะทาง 71 กม.

1 กรกฎาคม 2494 กรมรถไฟหลวงเปลี่ยนฐานะเป็น รัฐวิสาหกิจ ประเภทสาธารณูปการ ภายใต้ชื่อว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย ภายใต้ พ.ร.บ.การรถไฟฯ ฉบับ พ.ศ. 2494 รัฐฯ คุมการแต่งตั้งและปลดผู้บริหาร คุมเรื่องเงินเดือนพนักงาน คุมอัตราค่าโดยสารและค่าระวาง คุมการเปิดปิดเส้นทางและการบริการ และคุมการลงทุนทั้งหมด ถ้าขาดทุนรัฐฯ จะชดเชยให้เท่าจำนวนที่ขาด

จากอดีตถึงปัจจุบัน รถไฟของไทยมีการพัฒนาที่ช้ามาก

ไม่พัฒนาแล้ว ยังขาดทุนมาก ถึงปีละประมาณ หนึ่งหมื่นล้านบาท

ซ้ำยัง เป็นหนี้ อีกเกือบ แสนล้านบาท ด้วยซ้ำไป

อะไรที่แย่ ๆ ไปรวมตัวอยู่ที่รถไฟของไทยเกือบหมด เช่น สภาพรถไฟแย่ การบริการแย่ การบริหารจัดการแย่ การพัฒนาแย่ และอีกร้อยแย่พันแย่ซึ่งไม่สามารถนำมากล่าวถึงได้หมด

ประชาชนคนไทยเฝ้าแต่รอคอยว่า เมื่อไหร่หนอ รถไฟของไทยจึงจะก้าวไปไกล เหมือนเช่นประเทศอื่น ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น เกาหลี หรือจีนก็ตามที

ทุกคนรู้ดีว่า การรถไฟแห่งประเทศไทยมีที่ดินอยู่ในครอบครองรวมถึง 234,976.96 ไร่ เป็นที่ดินเพื่อเดินรถซึ่งเป็น ธุรกิจหลัก ประมาณ 198,674.71 ไร่ และเป็นที่ดินสำหรับ การพาณิชย์ จำนวน 36,302.18 ไร่ มีทั้งที่ดินซึ่งมีศักยภาพต่ำไล่ไปจนถึงศักยภาพสูง

คำถามมีว่า แล้ว ทำไม ผู้บริหารของการรถไฟฯ จึง ไม่มีความสามารถ ในการใช้ที่ดินดังกล่าวให้เกิดประโยชน์และ นำมาเป็นรายได้ พัฒนารถไฟของไทยกันสักที

คำถามดังกล่าวนี้ เริ่มจะมีคำตอบชัดเจนยิ่งขึ้น เมื่อประเทศไทยมีคนชื่อ “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” เป็น รมว.คมนาคม และมีคนชื่อ “ประภัสร์ จงสงวน” เป็นผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย

“ชัชชาติ” นั้น เป็นคน เอาจริงเอาจังต่องาน และสามารถทำความฝันให้เป็นความจริงได้ เรื่องนี้เป็นที่รู้กันทั่ว มิฉะนั้นคงไม่ได้รับความไว้วางใจให้ขึ้นมาเป็น รมว.คมนาคม ด้วยอายุเพียง 46 ปี เริ่มต้น “ชัชชาติ” ก็จัด สัมมนาระดมความเห็น เรื่องการปรับปรุงและปฏิรูประบบการทำงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ส่วน “ประภัสร์” นั้น ได้เคยฝากฝีไม้ลายมือเอาไว้มากตอนเป็น ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เคยเป็นรองผู้ว่าการฝ่ายกฎหมายและกรรมสิทธิ์ที่ดินของ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย มาแล้วด้วย เชื่อว่าด้วยประสบการณ์ที่สูงส่งและรูปแบบการทำงานที่เข้มและเอาจริงเอาจัง คงทำให้ ฝันของประชาชนคนไทย เกี่ยวกับรถไฟ เป็นจริง ได้สักทีหนึ่ง

“ชัชชาติ” เอาจริง “ประภัสร์” เอาจริง และ ถ้า “รัฐบาล” ก็เอาจริงด้วย การรถไฟแห่งประเทศไทย คงดีขึ้นกว่าเดิม ไม่มาก
ก็น้อย.

อนุภพ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 186, 187, 188 ... 486, 487, 488  Next
Page 187 of 488

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©