RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312089
ทั่วไป:13690710
ทั้งหมด:14002799
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 65, 66, 67 ... 284, 285, 286  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44113
Location: NECTEC

PostPosted: 17/12/2012 2:18 pm    Post subject: Reply with quote

"ส.ส.กทม.เพื่อไทย" จี้ รบ.ขยายเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู
เนชั่นทันข่าว
17 ธันวาคม 2555 13:48 น.


ที่พรรคเพื่อไทย วันที่ 17 ธ.ค. 55 เมื่อเวลา 10.30 น.ทีมส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทยได้แก่ นายวิชาญ มีนชัยนันท์ นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ นายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ ร่วม แถลงข่าวถึงกรณีการเรียกร้องให้เปลี่ยนเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) โดยนายวิชาญ กล่าวว่า อยากให้ครม.ทบทวนเส้นทางรถไฟฟ้าสายดังกล่าวที่อยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบ เนื่องจากมีเส้นทางสิ้นสุดปลายทางที่ถ.สีหบุรานุกิจ ซึ่งเป็นที่ตั้งของตลาดมีนบุรีและหน่วยราชการ มีปัญหาการจราจรติดขัด และทับซ้อนกับเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตลิ่งชัน-มีนบุรี) จึงควรขยายเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู จากเดิมสิ้นสุดที่ถ.สีหบุรานุกิจ ออกไปตามแนวถนนสุวินทวงศ์ ซึ่งมีจุดตัดถนนหลายสาย เช่น ถ.หทัยราษฎร์ ถ.สามวา ถ.ร่มเกล้า ถ.นิมิตใหม่ ที่เป็นพื้นที่พักอาศัยที่มีประชาชนอยู่กันอย่างหนาแน่น จากการทำประชาพิจารณ์ คนในพื้นที่ร้อยละ 90 ก็อยากให้มีการขยายเส้นทางออกไปยังถ.สุวินทวงศ์ จะมีประชาชนได้รับประโยชน์มากขึ้นกว่าแสนคน

ด้านนายจิรายุ กล่าวว่า ส.ส.กทม.มีมติร่วมกันไม่เห็นด้วยเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู และต้องการให้มีการขยายเส้นทางออกไป เพราะการศึกษาออกแบบเส้นทางเกิดขึ้นสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ มีใครบางคนไปเขียนเส้นทางให้ไปลงบ่อทองของใครบางคนหรือไม่ จึงไม่สมควรเดินตามแผนแม่บทที่พรรคประชาธิปัตย์เขียนไว้
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47548
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/12/2012 8:50 am    Post subject: Reply with quote

บิ๊กรฟม.เร่งตั้งบริษัทลูก ลุยจัดซื้อที่ดินขยายโครงข่ายรถไฟฟ้า
ฐานเศรษฐกิจ วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม 2012 เวลา 12:05 น.

รฟม.เร่งแผนการตั้งบริษัทลูกเพิ่มความคล่องตัวการบริหารจัดการตามแผนการพัฒนาเชิงพาณิชย์ "ยงสิทธิ์" ระบุอาจให้บริษัทลูกลงทุนจัดซื้อที่ดินเพื่อรองรับการขยายโครงข่ายรถไฟฟ้าและขยายชุมชนเมืองโดยรอบสถานี

ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัดในอนาคต พร้อมดึงภาคเอกชนสร้างมูลค่าเพิ่มที่ดินด้วยโครงข่ายรถไฟฟ้าเข้าไปในพื้นที่ ส่วนการตั้งบริษัทลูกร่วมกับการเคหะฯ คาดชงบอร์ดเสนอครม.ไฟเขียวกลางปี 2556

นายยงสิทธิ์ โรจนศรีกุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าปัจจุบันอยู่ระหว่างการเร่งผลักดันก่อตั้งบริษัทลูกของรฟม.เพื่อให้เกิดความคล่องตัวด้านการบริหารจัดการ โดยเฉพาะการพัฒนาพื้นที่เพื่อเชิงพาณิชย์ที่ในอนาคตรฟม.มีแผนการขยายโครงข่ายเส้นทางรถไฟฟ้าเชื่อมโยงกรุงเทพฯ-ปริมณฑล และจะเพิ่มโครงข่ายออกไปสู่จังหวัดต่างๆในระยะต่อไปอีกด้วย

โดยวัตถุประสงค์ต้องการให้บริษัทลูกเกิดการลงทุนแล้วนำงบประมาณไปจัดซื้อที่ดินสำหรับนำไปพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้า โดยเฉพาะการเกิดเป็นชุมชนเมืองโดยรอบสถานีเช่นตัวอย่างในประเทศญี่ปุ่นและฮ่องกงและเมืองสำคัญๆที่เปิดให้บริการรถไฟฟ้า เนื่องจากที่ผ่านมาแนวเส้นทางเกาะไปตามถนนจึงพัฒนาได้อย่างไม่เต็มศักยภาพ แต่หากสามารถซื้อที่ดินเป็นของรฟม.เองสามารถกำหนดแผนการพัฒนาพื้นที่ได้อย่างเต็มที่

ทั้งนี้แนวคิดในเบื้องต้น จะยึดรูปแบบดำเนินการตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มากกว่าจะปฏิบัติตามพ.ร.บ.รฟม.โดยอาจจะให้รฟม.ถือหุ้น 100% ก็ได้ แต่คงต้องให้ผลการศึกษาออกมาให้ชัดเจนเสียก่อน โดยเส้นทางที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบันคงจะพัฒนาได้เฉพาะในส่วนเดโปเท่านั้น แต่หากได้สถานที่ใหม่ที่ไม่ต้องเกาะแนวถนนน่าจะสามารถพัฒนารูปแบบชุมชนเมืองได้อย่างเต็มที่ให้เกิดมูลค่าเพิ่มมากขึ้น เกิดเป็นเมืองใหม่ที่ขยายความเจริญไปสู่พื้นที่โดยรอบเมืองหรือจังหวัดต่างๆได้มากขึ้นด้วยงบประมาณของรฟม.เอง อาทิ นครนายก นครปฐม ฉะเชิงเทรา

ดังนั้นจึงน่าจะเร่งศึกษาเพื่อนำไปใช้ตามแผนการศึกษาความเหมาะสมในเส้นทางส่วนต่อขยายในระยะต่อไปรองรับไว้ตั้งแต่วันนี้เพราะโครงการรถไฟฟ้าหลายเส้นทางจะแล้วเสร็จตั้งแต่ปี 2558 จึงมีเวลาดำเนินการอีก 2-3 ปี

นายยงสิทธิ์กล่าวอีกว่านอกจากจะมีแนวคิดจัดซื้อที่ดินมาพัฒนาแล้วรฟม.ยังมีแนวคิดให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมตามแผนการพัฒนาขยายโครงข่ายรถไฟฟ้าด้วยการสนับสนุนที่ดินเพื่อก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้า ซึ่งขณะนี้ที่เห็นได้ชัดคือสายสีเขียวช่วงสะพานใหม่-คูคตที่ตัดผ่านพื้นที่ประตูกรุงเทพฯ ของภาคเอกชนเพื่อแลกกับการพัฒนาพื้นที่ของตนเองที่จะสร้างอาคารพาณิชย์และศูนย์การค้าโดยรอบสถานี โดยเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มที่ดินให้สูงขึ้น ส่วนรฟม.ประหยัดงบประมาณที่ร่นระยะทางลงไปได้อีกมากโดยไม่ต้องอ้อมช่วงแยกลำลูกกาตัดพหลโยธิน นอกจากนั้นยังอยู่ระหว่างการเจรจากับเมืองทองธานีที่ต้องการให้แนวรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรีวกเข้าไปในพื้นที่เมืองทองธานีเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้มาใช้บริการเมืองทองธานี

ขณะนี้มีเอกชนแสดงความสนใจให้รฟม.ต่อเชื่อมสถานีรถไฟฟ้าเข้าไปในกับพื้นที่เช่น เซ็นทรัล เสนอขอเชื่อมสถานีรถไฟฟ้ากับพื้นที่ของตัวเองรวม 5 จุด โดยอยู่ในแนวรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) 2 จุด และสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย (หัวลำโพง-บางแคและบางซื่อ-ท่าพระ) 3 จุด ซึ่งบางจุดจะเป็นรูปแบบเดียวกับสถานีพระราม 9 ของรถไฟฟ้าใต้ดิน

"เป็นแนวคิดในการพัฒนารฟม.อย่างยั่งยืนจึงต้องปรับแนวคิดจากเดิมที่รถไฟฟ้าวิ่งหาพื้นที่ที่มีความหนาแน่น ซึ่งเจ้าของที่ดินได้ประโยชน์ที่ดินมีราคาแพง มาเป็นการวิ่งหาที่ว่างหรือชุมชนหนาแน่นน้อย เพราะเมื่อมีรถไฟฟ้าและมีสิ่งอำนวยความสะดวก ประชาชนจะรุกเข้าหา" นายยงสิทธิ์ กล่าวและว่า

สิ่งสำคัญยังช่วยลดต้นทุนโครงการอีกด้วย นอกจากการเพิ่มโครงข่ายรถไฟฟ้าให้เป็นไปตามแผนแล้วจะต้องเพิ่มรายได้โดยเพิ่มความสะดวกในการเข้าใช้บริการ เพิ่มรายได้จากร้านค้า โฆษณา พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ควบคู่กันไปด้วย ปัจจุบันรฟม.มีรายได้จากค่าเช่าพื้นที่และโฆษณาประมาณ 135 ล้านบาทต่อปี ส่วนบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีเอ็มซีแอลมีรายได้ประมาณ 100 ล้านบาทต่อปี

แหล่งข่าวระดับสูงจากรฟม.เปิดเผยว่าวิธีการบริหารจัดการบริษัทลูกรฟม.เพื่อต้องการยืดหยุ่นการแข่งขันทางธุรกิจกับภาคเอกชนให้เกิดความคล่องตัวมากขึ้น อีกทั้งยังมีผลที่จะได้มืออาชีพเข้ามาร่วมบริหารจัดการ เนื่องจากหากรฟม.ไม่ปรับตัวเชื่อว่าการแข่งขันจะสู้ภาคเอกชนไม่ได้และจะเกิดผลกระทบในที่สุดต่อการพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้าในอนาคตต่อไป ทั้งนี้คาดว่าจะเสนอบอร์ดรฟม.และนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้ภายในช่วงกลางปี 2556

"จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้เริ่มต้นการหารือร่วมกับการเคหะแห่งชาติที่แม้ว่าจะเคยเซ็นบันทึกความร่วมมือกันแล้วก็ตาม และเตรียมว่าจ้างให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศึกษาความเหมาะสม รูปแบบและวิธีการที่ต้องการคือตั้งบริษัทลูกของรฟม.เอง และร่วมกับการเคหะ หรือให้รวมเอารฟม. การเคหะฯ และร.ฟ.ท.มาพัฒนาไปในทิศทางเดียวกันซึ่งรายละเอียดทั้งหมดต้องดูว่าครม.จะเห็นชอบด้วยหรือไม่ หรือมีแนวคิดนำเสนอรูปแบบใดบ้างเพื่อรฟม.จะนำไปปฏิบัติต่อไป"

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 2,801 วันที่ 16-19 ธันวาคม พ.ศ. 255
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44113
Location: NECTEC

PostPosted: 22/12/2012 5:01 am    Post subject: Reply with quote

บอร์ด รฟม.ลุยรถไฟฟ้าสีเขียวประกวดราคาต้นปีหน้า
โดย: ทีมข่าวเศรษฐกิจ
ไทยรัฐออนไลน์
22 ธันวาคม 2555, 00:20 น.


บอร์ด รฟม. ไฟเขียวประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต วงเงิน 2.6 หมื่นล้านบาท คาดประกวดราคาได้ต้นปีหน้า ส่วนแนวรถไฟฟ้าสายสีชมพูช่วงแคราย-มีนบุรี ยึดตามแผนเดิม ขณะที่ผลประกอบการปี 55 ขาดทุนสะสม 3.5 หมื่นล้าน...

เมื่อวันที่ 21 ธ.ค.2555 น.ส.รัชนี ตรีพิพัฒน์กุล ประธานกรรมการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ รฟม.ได้มีมติอนุมัติดำเนินการประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ระยะทาง 19 กม. วงเงิน 26,569 ล้านบาท แบ่งการประกวดราคาออกเป็น 4 สัญญา คือ

1.งานโยธาช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ ระยะทาง 12 กม. วงเงิน 16,443 ล้านบาท
2.งานโยธาช่วงสะพานใหม่-คูคต ระยทาง 7 กม. วงเงิน 6,115 ล้านบาท
3.ศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดรถ วงเงิน 3,638 ล้านบาท และ
4.ระบบราง วงเงิน 2,609 ล้านบาท

ทั้งนี้ รฟม.จะเสนอเรื่องให้กระทรวงคมนาคม และ ครม.พิจารณาอนุมัติดำเนินการต่อไป คาดว่าต้นปี 2556 จะสามารถเปิดประกวดราคาได้ ซึ่งเดิมโครงการนี้ได้รับการอนุมัติจาก ครม.ให้ดำเนินการช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ แต่จากการพิจารณาแล้วเห็นว่าการต่อขยายไปถึงคูคตจะเกิดประโยชน์ จึงจะได้เสนอให้ดำเนินการไปพร้อมกัน

นอกจากนั้น ที่ประชุมยังเห็นชอบแนวเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม. มูลค่า 58,624 ล้านบาท โดยยึดตามแนวเส้นทางเดิมคือ เริ่มต้นจากใกล้ทางแยกแคราย ไปตามถนนติวานนท์เข้าสู่ถนนแจ้งวัฒนะที่ห้าแยกปากเกร็ด ผ่านเมืองทองธานี ผ่านศูนย์ราชการแห่งใหม่ ผ่านแยกหลักสี่ ข้ามถนนวิภาวดีและพหลโยธิน และวิ่งไปตามถนนรามอินทราถึงทางแยกมีนบุรี วิ่งเข้าสู่มีนบุรีตามแนวถนนสีหบุรานุกิจ จนถึงสะพานข้ามคลองสามวา และเลี้ยวขวาข้ามคลองแสนแสบและข้ามถนนรามคำแหง มีสถานีปลายทางที่บริเวณใกล้แยกถนนรามคำแหงร่มเกล้า โดยก่อนหน้านี้มีการเสนอให้แนวเส้นทางเข้าไปในเมืองทองธานี รวมทั้งไม่ผ่านตลาดมีนบุรี ไปตามแนวเส้นทางสุวินทวงศ์แทน แต่คณะกรรมการพิจารณาแล้วว่า เส้นทางเดิม ซึ่งเป็นเส้นทางตามแผนแม่บทดีที่สุด แต่ให้ไปศึกษาจัดทำระบบฟีดเดอร์จากบริเวณดังกล่าวมาเชื่อมกับแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู เพื่ออำนวยความสะดวก

สำหรับผลประกอบการปี 2555 รฟม.ขาดทุนสะสมประมาณ 3.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งได้มอบหมายให้หัวหน้าการเงินไปวางแผนการบริหารหนี้สินที่มีอยู่ประมาณ 8 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นเงินสกุลเยน เพื่อลดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน โดยเมื่อปี 2554 รฟม.ขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนกว่า 1 หมื่นล้านบาท.

//------------------------------------------------------------

สส.เพื่อไทยดอดพบ”ชัชชาติ”บีบปรับแนวสายสีชมพู

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 21 ธันวาคม 2555 22:53 น.

สส.เพื่อไทยหอบข้อมูลพบ”ชัชชาติ” บีบ”รฟม.”ปรับแนวรถไฟฟ้าสีชมพู ขณะที่บอร์ดรฟม.ยันเดินหน้าตามแผนแม่บท ยึดแนวเดิม จากศูนย์ราชการ นนท์บุรีสิ้นสุดที่ตลาดมีนบุรี หวั่นล่าช้า ส่วนข้อเสนอปรับแนวตั้งคณะทำงานศึกษาเพิ่มเติม ด้าน”ชัชชาติ”เร่งสรุปข้อมูลเสนอครม.พิจารณา ตั้งเป้าต้องประมูลก.พ. 56ให้ได้ตามแผน

นางสาวรัชนี ตรีพิพัฒน์กุล ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด)การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ดรฟม. เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ได้อนุมัติให้ดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5กิโลเมตร วงเงินลงทุนรวม 58,624 ล้านบาท ตามแนวเส้นทางในแผนแม่บท มีจุดเริ่มต้นจากสถานีศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรีใกล้แยกแคราย ถนนติวานนท์ เลี้ยวเข้าถนนแจ้งวัฒนะ ถนนรามอินทราไปสิ้นสุดปลายทางที่สถานีมีนบุรี ส่วนกรณีที่มี สส.ในพื้นที่เสนอให้เส้นทางไปตามแนวถนนสุวินทวงศ์แทนตลาดมีนบุรีนั้น บอร์ดได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาพิจารณาข้อเสนอดังกล่าว โดยหลักการจะต้องดูแลประชาชนได้รับประโยชน์จากโครงการ พร้อมกันนี้จะสรุปความเห็นของรฟม.ทั้งหมดเสนอไปยังกระทรวงคมนาคมเพื่อพิจารณาต่อไป

“รฟม.ยืนยันดูแลประชาชนทุกคนตามนโยบายการดำเนินโครงการรถไฟฟ้า แต่การยึดตามแผนแม่บทเดิมเพื่อไม่ให้โครงการเกิดความล่าช้า ส่วนการให้บริการประชาชนในแนวถนนสุวินวงศ์นั้น มีหลายแนวทาง เช่น เพิ่มเส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีส้ม(ตลิ่งชัน-มีนบุรี) ระยะทาง 36 กิโลเมตร เป็นฟีดเดอร์เชื่อมต่อกับสายสีชมพู เป็นต้น”นางสาวรัชนี กล่าว

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า จะรวบรวมข้อมูลและความเห็นจากรฟม.และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา ซึ่งจะเร่งหาข้อสรุปเนื่องจากตามแผนจะต้องเปิดประกวดราคาก่อสร้างในเดือนกุมภาพันธุ์ 2556 นี้ ส่วนกรณีที่มีสส.ในพื้นที่เสนอให้ปรับจากที่สิ้นบริเวณตลาดมีนบุรีไปตามแนวถนนสุวินทวงศ์แทนนั้น เป็นเรื่องเทคนิคที่ปรับแก้ได้ เนื่องจากสายสีชมพู ใช้รูปแบบการก่อสร้างจะเป็นการออกแบบไปพร้อมกับการก่อสร้าง (Design & Build) ซึ่งการตัดสินใจจะยึดประชาชนเป็นที่ตั้ง

อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม นายวิชาญ มีนชัยนันท์ ประธานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร พรรคเพื่อไทย ได้เดินทางมาพบนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม นำข้อมูลเรื่องขยายเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพูไปสุวินทวงศ์แทนมีนบุรี ซึ่งรมว.คมนาคมได้รับข้อมูลดังกล่าวไว้ศึกษาข้อดี-ข้อเสีย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47548
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/12/2012 7:25 pm    Post subject: Reply with quote

นายกฯเรียกคมนาคมสางงานระบบราง
เดลินิวส์ วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม 2555 เวลา 17:51 น.

นายกฯเรียกคมนาคมสางงานระบบรางส่งท้ายปี จี้ประมูลรถไฟความเร็วสูงให้ได้ก่อนไตรมาส 3 ปีหน้า พร้อมให้ไปทำแผนให้ชัดเจนใน 1 เดือน ทั้งรูปแบบโครงการ แบ่งสัญญาก่อสร้าง “ชัชชาติ” รับลูกเตรียมให้ร.ฟ.ท.จัดเวิร์คช็อป กลางเดือนม.ค.นี้ พร้อมแจงปัญหาสายสีแดงรังสิต ชงเข้ากลั่นกรองสรุปอีกครั้งสัปดาห์นี้ ส่วนเรื่องรถไฟฟ้า ยันแผนปีหน้าเตรียมประมูล 3 เส้น เขียว ชมพู ส้ม

วันนี้ (24 ธ.ค.) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังการหารือกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ถึงความคืบหน้าการดำเนินโครงการในระบบขนส่งทางรางของประเทศ ว่า ได้รายงานโครงการที่อยู่ในความดูแลของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ล่าสุดทางร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างพิจารณารายละเอียดเพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการประกวดราคา ทั้งการจัดทำรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) รูปแบบโครงการ การแบ่งสัญญาก่อสร้าง และวงเงินลงทุน ให้เสร็จสิ้นภายใน 1 เดือน ก่อนรายงานนายกฯ รับทราบอีกครั้ง ซึ่งเบื้องต้นนายกฯได้เร่งรัดให้ร.ฟ.ท.เปิดประกวดราคาให้ได้ทั้ง 4 สายก่อนไตรมาสที่ 3 ปี 56 นี้

ทั้งนี้ ยังได้รายงานความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต หลังมีปัญหาความล่าช้า โดยเฉพาะการประกวดราคาสัญญาที่ 3 ที่เป็นงานระบบรถไฟฟ้า ยังไม่สามารถประกวดราคาได้ ส่วนสัญญาที่ 1-2 ก็ยังไม่ได้ลงนามในสัญญากับผู้รับจ้างทำให้เสียค่าปรับจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) ไปแล้วประมาณ 100 ล้านบาท ดังนั้นเพื่อให้ได้ข้อสรุปจึงต้องเรื่องทั้งหมดให้คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจในวันที่ 27 ธ.ค. นี้ พิจารณาจากนั้นจึงเสนอที่ประชุมครม.เห็นชอบ

นอกจากนี้ในโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ล่าสุดมี 3 สายทางที่มีความพร้อมประกวดราคาในต้นปี 56 แล้ว คือ สายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่ และสะพานใหม่-คูคต วงเงินรวม 59,912 ล้านบาท และสายสีชมพู แคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี วงเงิน 38,730 ล้านบาท หลังเอกสารประกวดราคาเสร็จ และอีไออีผ่านแล้ว โดยเฉพาะสายสีเขียว กระทรวงคมนาคมเตรียมเสนอครม.เห็นชอบให้ดำเนินโครงการในเดือนม.ค.นี้ ส่วนสายสีส้ม ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี วงเงิน 73,070 ล้านบาท คาดว่าจะสามารถประกวดราคาได้ประมาณปลายปี 56

----

นายกรัฐมนตรี กำชับกระทรวงคมนาคมเร่งรัดโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทุกสายทางที่ยังล่าช้าให้ดำเนินการก่อสร้างเป็นไปตามแผน
สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ 24 ธันวาคม 2555

นายกรัฐมนตรี กำชับกระทรวงคมนาคมเร่งรัดโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทุกสายทางที่ยังล่าช้าให้ดำเนินการก่อสร้างเป็นไปตามแผน รวมถึงเร่งขบวนการประกวดราคาก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงให้เร็วกว่าแผน

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้แสดงความเป็นห่วงโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทุกสายทาง ซึ่งที่ผ่านมาแต่ละโครงการมีความล่าช้า ทั้งโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. รวมถึงโครงการก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และรถไฟแอร์พอร์ตลิงค์ ช่วงบางซื่อ-พญาไท ระยะทาง 7.9 กิโลเมตร วงเงิน 13,590 ล้านบาท ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ ร.ฟ.ท. เป็นผู้รับผิดชอบ ตามแผนทั้ง 2 โครงการจะต้องดำเนินการประกวดราคาหาผู้รับเหมาก่อสร้างภายในปี 2555 แต่ต้องเลื่อนออกไปเพราะติดปัญหาอุปสรรค ดังนั้นคาดว่าต้นปี 2556 จะเริ่มดำเนินการประกวดราคาได้ทั้ง 2 โครงการ

สำหรับแผนการก่อสร้างรถไฟฟ้าของกระทรวงคมนาคม ในปี 2556 ประกอบด้วย
รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-ปากเกร็ด –มีนบุรี ระยะทาง 36 กิโลเมตร วงเงิน 38,730 ล้าน
รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม–มีนบุรี ระยะทาง 20 กิโลเมตร วงเงิน 73,070 ล้านบาท
รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ช่วงสมุทรปราการ-บางปู ระยะทาง 7 กิโลเมตร วงเงิน 10,150 ล้านบาท
รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน และบางซื่อ-หัวลำโพง รวมวงเงิน 36,960 ล้านบาท
รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน ช่วงศิริราช-ตลิ่งชัน ระยะทาง 6 กิโลเมตร วงเงิน 4,281 ล้านบาท
รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง 10 กิโลเมตร วงเงิน 5,252 ล้านบาท
รถไฟแอร์พอร์ตลิงค์ ช่วงดอนเมือง-บางซื่อ ระยะทาง 13.9 กิโลเมตร วงเงิน 19,400 ล้านบาท

นายชัชชาติ กล่าวด้วยว่า นายกรัฐมนตรียังได้เร่งรัดให้กระทรวงคมนาคม ดำเนินการผลักดันโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง โดยดำเนินการประกวดราคาหาผู้รับเหมาก่อสร้างให้เร็วกว่ากำหนดไว้ ที่ช่วงไตรมาสที่ 3 หรือของปี 2556 ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้รับมาดำเนินการเขียนรายละเอียดของโครงการให้มีความชัดเจน ควบคู่กับการดำเนินการจัดประมูล

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม เข้าไปดูสัญญาการเช่าที่ดินการรถไฟแห่งประเทศไทย ของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่จะหมดสัญญาในปลายปี 2555 เบื้องต้นได้มอบหมาย ร.ฟ.ท. ประเมินค่าเช่าที่จะจัดเก็บกับ ปตท. ในการต่อสัญญาออกไปอีก 30 ปี โดยจะต้องเอาผลการวิเคราะห์ของทั้ง 2 ฝ่ายมาประกอบ ก่อนจะสรุปกันอีกครั้ง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44113
Location: NECTEC

PostPosted: 25/12/2012 1:58 am    Post subject: Reply with quote

“ปู”สั่งเร่งแผนประมูลไฮสปีด-มักกะสันคอมเพล็กซ์

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 24 ธันวาคม 2555 20:17 น.

รถไฟฟ้า 10 สาย : นายกฯสั่งเร่งประมูลก่อสร้างรถไฟฟ้า 7 สายทาง 1.8 แสนล้าน

ไทยรัฐออนไลน์ 24 ธันวาคม 2555 (21:15 น.)

“นายกฯ”สั่งคมนาคมปรับแผนเร่งประมูลรถไฟความเร็วสูงก่อนไตรมาส 3 /56 ให้เวลา 1 เดือนรายงานคืบหน้า พร้อมดันทำคลอดมักกะสันคอมเพล็กซ์ หารายได้แก้ขาดทุนร.ฟ.ท. ส่วนรถไฟฟ้า 10 สาย ยังล่าช้า ดันประมูลรวดเดียวปี 56 พร้อมชงกก.กลั่นกรองฯครม.3 โครงการใหญ่ ดันครม.ไฟเขียวซื้อรถเมล์NGV , เซ็นจ้างบีเอ็มซีแอลเดินรถสีม่วงและก่อสร้างรถไฟสีแดงประเดิมต้นปี 56

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ประชุมติดตามความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางและโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งนายกฯ ให้กระทรวงคมนาคมปรับแผนดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ให้ประกวดราคาก่อนไตรมาส 3 ของปี 2556 จากแผนที่จะประกวดราคาในช่วงไตรมาส 3-4 โดยให้ปรับวิธีการทำงานเช่น ดำเนินการด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) และร่างเงื่อนไขการประกวดราคาคู่ขนานไปพร้อมกันพร้อมกันนี้ต้องกำหนดขั้นตอนการทำงานในแต่ละช่วงเวลาให้ชัดเจนว่าหน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบ รวมถึงจะตั้งองค์กรบริหารอย่างไร ใช้เงินลงทุนจากไหน โดยให้รายงานความคืบหน้าหลังจากนี้ 1 เดือน ส่วนนิทรรศการรถไฟความเร็วสูงนั้นจะจัดในเดือนพฤษภาคม 2556

ทั้งนี้ยังได้เร่งดำเนินโครงการมักกะสันคอมเพล็กซ์ เพื่อช่วยลดขาดทุนของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) โดยโครงการจะต้องมีการพัฒนาพื้นที่สำหรับให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากโครงการและสอดคล้องกับนโยบายของรัฐ เช่น ศูนย์โอทอป เป็นต้น ส่วนจะเป็นอย่างไร พื้นที่เท่าไร ร.ฟ.ท.ต้องวางแผนจัดรูปแบบทั้งหมดให้เรียบร้อยก่อนที่จะกำหนดในส่วนที่จะให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุน

ส่วนรถไฟฟ้า 10 สายนั้น นายชัชชาติกล่าวว่า จะดำเนินทุกโครงการตามแผนแม่บทซึ่งในปี 55 มีหลายโครงการที่ประมูลไม่ทัน โดยต้องเร่งประมูลในต้นปี 56 วงเงินรวม 84,352 ล้านบาท คือ

1. สายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) ระยะทาง 18.4 กิโลเมตร วงเงิน 59,912 ล้านบาท,
2. สายสีแดง(ตลิ่งชัน-ศาลายา) ระยะทาง 14 กิโลเมตร วงเงิน 9,950 ล้านบาท,
3. แอร์พอร์ตลิ้งค์ส่วนต่อขยาย(บางซื่อ-พญาไท) ระยะทาง 7.9 กิโลเมตร วงเงิน 13,590 ล้านบาท

ส่วนที่จะประมูลในปี 56 อีก 7 โครงการ ระยะทางรวม 118.4 กิโลเมตร วงเงินรวม 187,843 ล้านบาท คือ
4. สีชมพู(แคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี)ระยะทาง 36 กิโลเมตร วงเงิน 38,730 ล้านบาท,
5. สีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-บางกะปิ-มีนบุรี) ระยะทาง 20 กิโลเมตร วงเงิน 73,070 ล้านบาท,
6. สายสีเขียว (สมุทรปราการ-บางปู) ระยะทาง 7 กิโลเมตร วงเงิน 10,150 ล้านบาท,
7. สีแดง (บางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน,บางซื่อ-หัวลำโพง) ระยะทาง 25.5 กิโลเมตร วงเงิน 36,960 ล้านบาท,
8. สีแดง (ศิริราช-ตลิ่งชัน) ระยะทาง 6 กิโลเมตร วงเงิน 4,281 ล้านบาท,\
9. สีแดง(รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต) ระยะทาง 10 กิโลเมตร วงเงิน 5,252 ล้านบาท,
10. แอร์พอร์ตลิ้งค์ต่อขยาย(บางซื่อ-ดอนเมือง) ระยะทาง 13.9 กิโลเมตร วงเงิน 19,400 ล้านบาท

“รถไฟฟ้าสายสีชมพู ,สายสีส้ม จะประกวดราคาให้ได้ในเดือนมีนาคม 2556 โดยกรณีที่มีสส.กทม.เสนอให้ขยายแนวเส้นทางสายสีชมพูไปที่ถนนสุวินทวงศ์นั้น ในหลักการจะเดินหน้าโครงการตามแผนเดิม เนื่องจากการปรับแนวจะทำให้ต้องเริ่มศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) กันใหม่ ยิ่งจะทำให้ล่าช้า ส่วนการให้บริการประชาชนที่สุวินทวงศ์นั้นต้องศึกษาเพิ่มเติม ซึ่งมีหลายแนวทางให้เลือกเนื่องจากระยะทางจากมีนบุรีถึงสุวรรณภูมิประมาณ 600 เมตร เช่น ทำจุดจอดแล้วจร หรือ Park & Ride ต่อเพื่อเป็นทางเดินเชื่อมกับสถานีมีนบุรี หรือ ปรับแนวสายสีส้มเลี้ยวเข้าไปที่สุวินทวงศ์ ซึ่งให้ทางการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) พิจารณาแนวทางที่เหมาะสม”นายชัชชาติกล่าว

นายชัชชาติกล่าวถึงรถไฟสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต)ว่า นายกฯ กังวลกรณีที่ยังไม่สามารถลงนามในสัญญาได้ ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้เสนอเรื่องต่อที่ประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีที่มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธานในวันที่ 27 ธันวาคมนี้ เพื่อขอลงนามสัญญาที่ 1 (ก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุง) วงเงิน 2.9หมื่นล้านบาท และสัญญาที่ 2( งานโยธาสำหรับทางรถไฟ) ระยะทาง 21 กิโลเมตร ทีวงเงิน 2.12หมื่นล้านบาทก่อนส่วนสัญญา 3 การจัดหาระบบรถไฟฟ้านั้นอยู่ระหว่างการพิจารณา เนื่องจากขณะนี้มีความล่าช้าและต้องเสียค่าปรับเงินกู้องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) ไจก้าประมาณ 100 ล้านบาทแล้ว โดยหากไม่มีปัญหาจะเสนอครม.ต่อไป

นอกจากนี้ยังเสนอผลประกวดราคาสัญญา 4(งานระบบและเดินรถไฟฟ้า) สายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ซึ่งบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)หรือ บีเอ็มซีแอล ได้รับคัดเลือกวงเงิน 8.6 หมื่นล้านบาท ซึ่งกระทรวงได้แนบความเห็นว่าควรต่อรองราคาลงอีกไปด้วย ซี่งการตัดสินใจขึ้นอยู่กับที่ประชุมครม. และโครงการจัดหารถเมล์เอ็นจีวี จำนวน 3,183 คัน วงเงินรวม 13,162ล้านบาท ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) พร้อมค่าจ้างเหมาซ่อมบำรุงอีก 13,858 ล้านบาท รวมมูลค่า 27,020 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น

รถเมล์ธรรมดาหรือรถร้อน1,659 คัน
รถปรับอากาศ 1,524 คัน

หากได้รับความเห็นชอบคาดว่าจะเสนอครม.ได้ในเดือนมกราคม 56
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47548
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/12/2012 8:24 am    Post subject: Reply with quote

รัฐกางแผนลงทุนระบบราง1.18ล้านล้าน
สุทธิชัย หยุ่น คนบ้าข่าว 25 ธ.ค. 55

"ยิ่งลักษณ์" สั่งหน่วยงานเกี่ยวข้องเร่งสั่งเปิดประมูลรถไฟความเร็วสูงคู่ขนานทำ "อีไอเอ" หวังทันไตรมาส 3 ปีหน้า "ชัชชาติ" ยอมรับใช้รูปแบบพีพีพี ทั้งโครงการเป็นไปได้ยาก เล็งตั้งองค์กรใหม่บริหารแทนร.ฟ.ท. ขณะที่ รฟม.-สนข. ดัน 10 เส้นทางโหมเปิดประมูลต้นปีหน้า วงเงินกว่า 3.58 แสนล้าน ชี้หากสำเร็จปี 2562 จะช่วยประหยัดพลังงานได้กว่า 8.5 พันล้าน เผยรัฐบาลเตรียมใช้เงินกู้จาก พ.ร.บ. กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ลงทุนระบบรางระยะ 8 ปี วงเงิน 1.18 ล้านล้านบาท ขณะที่การเปิดประมูลรถไฟฟ้า 14 เส้นทางคาดวงเงินลงทุน 8.3 แสนล้านบาท โดยสภาพัฒน์ระบุไม่สามารถทำในรูปแบบพีพีพี เผยรัฐบาลต้องจำเป็นลงทุนเองทั้งหมด

นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามความคืบหน้าการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงและโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อติดตามความคืบหน้าของงานแต่ละโครงการ ภายหลังการประชุม นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีคมนาคม กล่าวว่า นายกฯ ได้ประชุมเพื่อติดตามความพร้อมการเปิดประมูลงานก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ตามแผนของรัฐบาลใน 4 เส้นทาง ได้แก่
1.กรุงเทพ-เชียงใหม่
2.กรุงเทพ-หนองคาย
3.กรุงเทพ-ระยอง และ
4.กรุงเทพ-หัวหิน
"นายกฯ กังวลใจว่าการดำเนินงานจะล่าช้า เพราะแต่ละเส้นทางต้องจัดทำการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) จึงสั่งให้หน่วยงานต่างๆ เตรียมความพร้อมการประมูลคู่ขนานไปกับการทำอีไอเอ คาดว่าการประมูลโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง จะเริ่มต้นได้ไตรมาส 3 ปี 2556 หรืออาจเร็วกว่า หากมีความพร้อม

“นายกฯ ได้สั่งให้ทำรายละเอียดการประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูง เช่น รูปแบบการประมูล แหล่งที่มาของเงินทุน และรูปแบบองค์กรที่จะบริหารจัดการรถไฟความเร็วสูงว่า จะให้ ร.ฟ.ท. ทำหรือจัดตั้งองค์กรใหม่ เรื่องนี้คงต้องหารือกับหน่วยงานอื่นๆ ทั้ง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) และ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เพื่อบูรณาการแผนต่างๆ เข้าด้วยกัน นายกฯ จะเรียกประชุมความคืบหน้าอีกครั้งเดือนหน้า” นายชัชชาติ กล่าว

เขากล่าวว่า การลงทุนในโครงการรถไฟความเร็วสูง คงจะใช้รูปแบบการลงทุนร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชน (พีพีพี) ทั้งหมดคงทำได้ยาก เนื่องจากการให้บริการคงไม่สามารถคิดราคาค่าโดยสารแพง เพื่อให้โครงการคุ้มทุนโดยเร็วได้ ดังนั้นหากใช้รูปแบบพีพีพี อาจเป็นลักษณะที่ภาครัฐลงทุนระบบรางและเอกชนลงทุนขบวนรถ ขณะนี้อยู่ระหว่างหารูปแบบลงทุนที่เหมาะสมเพื่อเสนอต่อนายกฯพิจารณาอีกครั้ง

เผยรัฐเตรียมดึงงบจากเงินกู้ 2 ล้านล้าน

แหล่งข่าวทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า รัฐบาลได้เตรียมแผนในการพัฒนาการจนส่งระบบรางเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยเฉพาะแผนการใช้วงเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ที่รัฐบาลจะเสนอ พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเข้าสู่ที่ประชุมครม.นัดแรกของปี 2556 โดยในส่วนของรถไฟความเร็วสูงจะมีการดำเนินการใน 4 สายทาง คือ
กรุงเทพ-เชียงใหม่ ระยะเวลา 6 ปี วงเงิน 2.29 แสนล้านบาท,
สายกรุงเทพ-นครราชสีมา ระยะ 5ปี วงเงิน 9.6 หมื่นล้านบาท,
สายกรุงเทพ-หัวหิน ระยะ 5 ปี วงเงิน 8.2 หมื่นล้านบาทและ
สายรถไฟเชื่อมสุวรรณภูมิ-ชลบุรี-พัฒนา-ระยอง ระยะ 5 ปี วงเงิน 7.2 หมื่นล้านบาท
รวม 4 เส้นทาง ประมาณวงเงินกู้ 4.8 แสนล้านบาท

ในส่วนของโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ที่อยู่ในแผนการกู้เงินตาม พ.ร.บ.เงินกู้ประกอบด้วย
โครงการรถไฟชานเมืองรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ ระยะ 4 ปี วงเงิน 5.2 พันล้านบาท ,
โครงการรถไฟฟ้าชานเมืองช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน ระยะ 5 ปี วงเงิน 3.6 หมื่นล้านบาท,
โครงการรถไฟชานเมืองช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะ 5 ปี วงเงิน 9.9 พันล้านบาท,
โครงการรถไฟชานเมืองตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะ 3 ปี วงเงิน 4.2 พันล้านบาทและ
โครงการรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิส่วนต่อขยายช่วงดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท ระยะ 6 ปี วงเงิน 3.2 หมื่นล้านบาท
รวมใช้วงเงินกู้โดยประมาณ 8.9 หมื่นล้านบาท

ทั้งนี้ ในแผนการกู้เงินที่รวบรวมโดย สำนักบริหารหนี้สาธารณะ เกี่ยวกับระบบรางจะใช้วงเงินใน
ปี 2556 จำนวน 18,270 ล้านบาท
ปี 2557 จำนวน 138,058 ล้านบาท
ปี 2558 จำนวน 262,141 ล้านบาท,
ปี 2559 จำนวน 294,484 ล้านบาท,
ปี 2560 จำนวน 261,176 ล้านบาท
ปี 2561 จำนวน 175,218 ล้านบาท
ปี 2562 จำนวน 36,345 ล้านบาท และ
ปี 2563 ไม่มีการใช้วงเงินกู้
ซึ่งทั้งหมดรวมวงเงินทั้งสิ้น 1,185,692 ล้านบาท

จากแผนการใช้วงเงินกู้ดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลได้เตรียมแผนดำเนินการไว้หมดแล้วและเป็นการลงทุนโดยรัฐบาลทั้งสิ้น ที่จะระดมผ่านระบบ PPP น้อยมาก

"ประภัสร์"ขอดูความพร้อมก่อนรับบริหารรถไฟฯ

นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า รถไฟความเร็วสูงที่จะเปิดประมูลเส้นทางแรก คือ สายกรุงเทพ-เชียงใหม่ โดยก่อสร้างช่วงแรกกรุงเทพ-พิษณุโลก ก่อน การก่อสร้างจะออกแบบให้รถไฟวิ่งบนโครงสร้างยกระดับคล้ายกับรถไฟความเร็วสูงของจีน ส่วนหน่วยงานที่จะบริหารเรื่องนี้ ยังมีเวลาพิจารณา อีกหลายเดือนก่อนที่จะเปิดประมูลโครงการ ในส่วนของ ร.ฟ.ท. ต้องดูก่อนว่ามีความพร้อมหรือไม่" ส่วนตัวอยากให้ร.ฟ.ท.ดำเนินการรถไฟความเร็วสูงเอง เพราะมีผลทางจิตวิทยาต่อคนในองค์กร รถไฟความเร็วสูงถือว่าเป็นเทคโนโลยีขั้นสูง แต่ต้องดูตามความเป็นจริงว่าไหวหรือไม่ ถ้าไม่ไหวไปไม่ได้ ก็ต้องตั้งองค์กรใหม่ขึ้นมาบริหารก็ต้องบอกนายกฯตามตรง” นายประภัสร์ กล่าว

นายประภัสร์ กล่าวถึงภาระหนี้สินของ ร.ฟ.ท.เกิดจากการปฏิบัติตามภารกิจและนโยบายตามนโยบายรัฐบาล ทุกองค์กรที่มีภารกิจให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนก็มีหนี้สินทั้งนั้น ต่างจากหน่วยงานอย่าง กรมทางหลวง มีภาระหนี้เกิดขึ้นรัฐบาลก็ตั้งงบประมาณชดเชยให้ ทำให้ไม่มีภาระหนี้สินคงค้าง การดำเนินงานของ ร.ฟ.ท.ในแต่ละปีมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจำนวนมาก ซึ่งตัวเลขตรงนี้น่าจะนำมารวมในทางบัญชีจะทำให้ลดภาระหนี้สินลง

นอกจากนี้ ยังได้รายงานความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล โดยโครงการก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต หลังมีปัญหาล่าช้า โดยเฉพาะการประกวดราคาสัญญาที่ 3 ที่เป็นงานระบบรถไฟฟ้า ยังไม่สามารถประกวดราคาได้ ส่วนสัญญาที่ 1-2 ยังไม่ได้ลงนามสัญญากับผู้รับจ้างทำให้เสียค่าปรับจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจกา) ไปแล้ว 100 ล้านบาท ดังนั้นเพื่อให้ได้ข้อสรุปจะเสนอให้คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจวันที่ 27 ธ.ค. นี้ พิจารณาเพื่อความชัดเจน ก่อนเสนอครม.ต่อไป

รฟม.เข็น 3 เส้นทางเปิดประมูลต้นปี 2556

ส่วนการดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มี 3 เส้นทางที่มีความพร้อมประกวดราคาได้ต้นปี 2556 คือ
สายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ และ
สะพานใหม่-คูคต วงเงิน 59,912 ล้านบาท และ
สายสีชมพู ช่วงแคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี วงเงิน 38,730 ล้านบาท
โดยเฉพาะสายสีเขียว กระทรวงคมนาคม จะเสนอครม.ขอดำเนินโครงการเดือนม.ค.2556 สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี วงเงิน 73,070 ล้านบาท คาดจะประกวดราคาได้ปลายปี 2556 รวมวงเงินก่อสร้าง 3 เส้นทางอยู่ที่ 171,712 ล้านบาท

หวังลดใช้พลังงานปี2562 ได้ 8.5พันล้าน

ทั้งนี้ สนข.ได้รายงานว่าตามแผนปี 2556 มีโครงการรถไฟฟ้าที่พร้อมประกวดราคา 7 เส้นทาง ระยะทางรวม 118.4 กิโลเมตร วงเงินก่อสร้างรวม 187,843 ล้านบาท คือ
สายสีชมพู ช่วงแคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี,
สายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี,
สายสีเขียว ช่วงสมุทรปราการ-บางปู,
สายสีแดงช่วงอ่อนนุช-บางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน/บางซื่อ-หัวลำโพง และ ช่วงศิริราช-ตลิ่งชัน,
สายสีแดงเข้ม รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต และ แอร์พอร์ตเรลลิงค์ ดอนเมือง-บางซื่อ

เมื่อมีการก่อสร้างรถไฟฟ้า 10 เส้นทาง ระยะทางรวม 464 กม. ตามแผนภายในปี 2562 จะช่วยประหยัดพลังงานเฉลี่ย 8,510 ล้านบาทต่อปี เพิ่มขึ้นตามระยะทางของโครงข่ายที่เพิ่มสูงขึ้นจนปีที่ 30 จะประหยัดพลังงานปีละ 59,000 ล้านบาท รวมตลอดระยะเวลา 30 ปี จะประหยัดพลังงานได้ 892,969 ล้านบาท

ชงตั้งหน่วยงานบริหารเฉพาะ

นายชาญวิทย์ อมตะมาทุชาติ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า ขณะนี้ มีคณะทำงานที่เกี่ยวข้องกำลังศึกษารูปแบบการดำเนินการ โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง โดยกำลังศึกษารูปแบบรถไฟความเร็วสูงของจีน ซึ่งรัฐบาลจีนได้หารือกับรัฐบาลไทยในเรื่องนี้ เมื่อเดือนที่ผ่านมา ซึ่งตามที่นายกฯ ต้องการเร่งให้มีการเริ่มต้นประมูลรถไฟความเร็วสูงช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2556 นั้นมีความเป็นไปได้ แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องทำการเร่งการศึกษา ส่วนต่างๆ เช่น ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม รูปแบบการลงทุนของโครงการ และการจัดตั้งองค์กรเพื่อบริหารรถไฟความเร็วสูงที่จะเกิดขึ้น

โดยเบื้องต้น แบบที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย เสนอให้มีการตั้งหน่วยงานขึ้นมาภายใต้สังกัด การรถไฟ มีการถกเถียงถึงความเหมาะสม เนื่องจากก่อนหน้านี้ การดำเนินการแอร์พอร์ตลิงค์ ซึ่งเป็นบริษัทลูกของการรถไฟ ไม่ประสบความสำเร็จ จึงเป็นไปได้ที่จะมีการตั้งองค์กรใหม่ขึ้นมา เพื่อบริการรถไฟความเร็วสูงโดยเฉพาะ

สำหรับรูปแบบการลงทุน ที่อาจจะไม่สามารถทำในรูปแบบพีพีพี รัฐบาลต้องจำเป็นลงทุนเองทั้งหมด อย่างไรก็ตามอาจไม่ต้องใช้การกู้เงินจากต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้ต้นทุนในการดำเนินการกู้เงินต่ำกว่าการกู้เงินจากต่างประเทศ ทั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะหารืออีกครั้งก่อนสรุปแผน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44113
Location: NECTEC

PostPosted: 27/12/2012 9:46 am    Post subject: Reply with quote

ตอนนี้ เวบสำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มเปิดแล้วครับ ดูได้ที่นี่ครับ
http://www.mrta-orangeline.net/
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47548
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/01/2013 9:56 am    Post subject: Reply with quote

คอลัมน์: รายงานพิเศษ: 'หูกวาง' รับนโยบายรัฐบาล เร่งสานรถไฟฟ้าให้ครบทุกเส้นตามแผน
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง -- พุธที่ 2 มกราคม 2556 00:00:10 น.
นันทภัค เมนัช.รายงาน

ตามนโยบายของรัฐบาลภายใต้ "น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" นายกรัฐมนตรี ที่มีนโยบายหลักที่จะมีการขับเคลื่อนการก่อสร้างระบบรางรถไฟฟ้า ทั้งรถไฟฟ้า 10 สาย ในกรุงเทพมหานคร รถไฟฟ้าความเร็วสูง รวมถึงรถไฟทางคู่ ที่จะวิ่งให้บริการระหว่างจังหวัดต่างๆ เพื่อเชื่อมโยงให้บริการผู้โดยสารเข้ามายังเมืองหลวงนั้น วันนี้ "บ้านเมือง" ได้มีรายละเอียดเพื่อนำมาเสนอถึงความคืบหน้าโครงการต่างๆ ต่อสาธารณะ

เร่งสานต่อนโยบาย

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าทุกเส้นทางนั้น ถือเป็นเป้าหมายสำคัญของรัฐบาลที่ต้องการจะเร่งดำเนินการให้โครงการแล้วเสร็จตามแผนที่กำหนดไว้ เพื่อเร่งให้การบริการประชาชนให้เกิดความสะดวกสบาย ซึ่งขณะนี้โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าดังกล่าวนั้นถือว่ามีความคืบหน้า

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้า การร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน (JSC) ครั้งที่ 2 โดยล่าสุดประเทศจีนได้นำผลการศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) รวม 2 เส้นทางมาชี้แจงให้กระทรวงคมนาคมเพื่อรับทราบ ประกอบด้วย เส้นทางรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ได้กำหนดรูปแบบการให้บริการไว้ 2 แนวทาง โดยกำหนดเป็นแนวทางแรกจะวิ่งด้วยความเร็ว 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และแนวทางที่ 2 ความเร็ว 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้งบประมาณดำเนินโครงการ 3 แสนล้านบาท ส่วนเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย กำหนดให้วิ่งด้วยความเร็ว 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง งบประมาณ 1.98 แสนล้านบาท ทั้งนี้ เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าระหว่างไทยและจีน ที่จะมีมากยิ่งขึ้นในอนาคต สำหรับอัตราค่าบริการหากใช้ความเร็ว 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะอยู่ที่ 2.1 บาทต่อคนต่อกิโลเมตร และความเร็ว 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะคิดค่าบริการ 2.5 บาทต่อคนต่อกิโลเมตร นอกจากนี้ เบื้องต้นประเทศจีนต้องการให้สร้างรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ-ภาชี ระยะทางประมาณ 54 กิโลเมตรก่อน เพื่อทดสอบระบบการให้บริการ ขณะที่ชุมทางภาชี ก็เป็นสถานีร่วมของรถไฟความเร็วสูงทั้ง 2 เส้นทางดังกล่าว หากทดสอบแล้วประสบความสำเร็จจะส่งผลให้การก่อสร้างในเส้นทางอื่นๆ รวดเร็วมากขึ้น

"ส่วนการจะต้องมีการปรับเปลี่ยนสถานีกลางบางซื่อ เพื่อรองรับผู้โดยสารของรถไฟความเร็วสูงด้วย เนื่องจากการออกแบบเดิมเน้นให้บริการเฉพาะรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชันเท่านั้น โดยอาจจะต้องเพิ่มชานชาลา และพื้นที่ของสถานีเพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูง ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเพิ่มการให้บริการให้สะดวกมากยิ่งขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงในประเทศลาวนั้น ประเทศจีนได้แจ้งด้วยว่าจะมีการเริ่มก่อสร้างได้อีกประมาณ 1 ปี โดยใช้ความเร็วในการวิ่งให้บริการประมาณ 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทั้งนี้ หากประเทศไทยก่อสร้างแล้วเสร็จก็สามารถเชื่อมต่อไปถึงประเทศจีน รวมถึงมาเลเซียได้ในอนาคต"

แจงความคืบหน้า

สำหรับความคืบหน้าการดำเนินโครงการทุกเส้นทาง คือ กรุงเทพฯเชียงใหม่ เฟสแรก ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 342 กิโลเมตร ขณะนี้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ลงนามในสัญญาจ้างที่ปรึกษาเมื่อเดือนกันยายน 2555 ส่วนเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 256 กิโลเมตร และกรุงเทพฯ-หัวหิน ระยะทาง 225 กิโลเมตร สนข.ลงนามจ้างที่ปรึกษาเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2555 ที่ผ่านมาเช่นกัน ซึ่งคาดว่าจะเปิดประกวดราคาได้ประมาณไตรมาส 3-4 ในปี 2556 โดยจะเปิดประกวดราคาแบบนานาชาติให้ทุกประเทศที่สนใจเข้าร่วมดำเนินโครงการได้

อย่างไรก็ตาม นายชัชชาติ ยังกล่าวถึงกรณีที่นายเหวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน เดินทางเยือนประเทศไทยเมื่อวันที่ 20-21 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ว่าได้มีการหารือเรื่องโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ซึ่งจีนให้ความสนใจอย่างมาก และพร้อมให้ความร่วมมือด้านเทคนิคก่อสร้าง อีกทั้งเสนอให้ก่อสร้างเส้นทางกรุงเทพมหานครนครราชสีมา-หนองคาย-เวียงจันทน์ ให้มีทางออกสู่ทะเล เพื่อความสะดวกในการขนส่งสินค้า โดยเบื้องต้นมองว่าอาจพิจารณาเพิ่มแนวเส้นทางแยกจากสายทางกรุงเทพฯ-หนองคาย เดิมวิ่งคู่ขนานรถไฟทางคู่ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ลงสู่ท่าเรือแหลมฉบัง

สำหรับวงเงินการลงทุนนั้นเบื้องต้นรัฐจะเป็นผู้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมด เนื่องจากหากใช้รูปแบบการร่วมทุนระหว่างรัฐกับเอกชน (PPP) โดยให้เอกชนลงทุนก่อสร้างและรัฐทยอยชำระคืนภายหลังนั้น จะมีต้นทุนทางการเงินสูงกว่ารัฐกู้เงินเองซึ่งจะได้อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างพิจารณาว่าจะให้หน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ โดยเป็นไปได้ว่าอาจมีการตั้งรัฐวิสาหกิจแห่งใหม่ขึ้นมาดูแล ส่วนงานเดินรถมีหลายแนวทางที่กำลังพิจารณาอยู่ ซึ่งมีทั้งกรณีให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) หรือบริษัท รถไฟฟ้า รฟท. จำกัด เป็นผู้เดินรถ หรืออาจเปิดประกวดราคาให้เอกชนมารับงาน

"ขณะนี้เราดูไว้หลายแนวทาง ซึ่งที่ปรึกษาเขากำลังทำ EIA จัดเตรียมรายละเอียดการประมูลและการเดินรถ ซึ่งนายกรัฐมนตรีสั่งให้ทำคู่ขนานกันไปเลย ส่วนเจ้าภาพเรากำลังดูอยู่ว่าจะให้หน่วยงานไหนมารับผิดชอบโครงการ เรื่องการเดินรถก็เป็นไปได้ที่จะให้การรถไฟฯ หรือบริษัท รถไฟฟ้า รฟท.มารับงาน หรืออาจให้เอกชนมารับงาน แต่เรื่องโครงสร้างพื้นฐาน แน่นอนว่ารัฐจะเป็นผู้รับผิดชอบเอง เพราะถ้าให้เอกชนทำแล้วรัฐมาผ่อนจ่ายทีหลังจะมีต้นทุนการเงินสูงกว่ารัฐลงทุนเอง เนื่องจากเวลาเอกชนกู้เงินเขาจะได้ดอกเบี้ยสูงกว่ารัฐกู้"

นายชัชชาติ ก็ยอมรับว่า สำหรับการจัดเก็บค่าโดยสารไม่สามารถนำมาชดเชยค่าก่อสร้างได้ จึงอยากให้พิจารณาที่ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) มากกว่า เพราะหากมีการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงก็จะสร้างความเจริญให้กับชุมชนตามแนวเส้นทาง และเป็นการกระจายเมืองออกสูงต่างจังหวัดด้วย

ศึกษาตัวอย่างบริหาร

นอกจากนี้ ที่ผ่านมาสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้นำคณะผู้บริหาร และสื่อมวลชนเยี่ยมชมการบริหารจัดการพื้นที่เชิงพาณิชย์ การให้บริการการเดินรถ ทั้งนี้ การเยี่ยมชมสถานีดังกล่าวมีทั้งสถานีรถไฟเกียวโต สถานีรถไฟโตเกียว และสถานีรถไฟซากุไดระซึ่งเป็นสถานีรถไฟชินคันเซ็น เพื่อนำมาประยุกต์ใช้เป็นต้นแบบสำหรับการบริหารจัดการสถานีรถไฟในประเทศไทย ซึ่งเราก็ต้องการบริหารสถานีรถไฟฟ้าเป็นแบบคอมเพล็กซ์ ที่จะมีการให้บริการเรื่องของศูนย์กลางแบบครบวงจร ซึ่งประเทศญี่ปุ่นถือว่าเป็นต้นแบบที่ประเทศไทยสามารถนำมาใช้เป็นต้นแบบการดำเนินการโครงการได้

สำหรับพื้นที่ที่เหมาะสมที่ สนข.ได้ระบุนั้น จะอยู่ตรงบริเวณสถานีบางซื่อเหมาะสมที่สุด เนื่องจากจุดดังกล่าวจะมีทั้งรถไฟชานเมือง และรถไฟในเมืองให้บริการ ซึ่ง สนข.จะต้องเป็นหน่วยงานที่ต้องทำการศึกษาก่อน คาดว่าประมาณต้นปีหน้าจะได้ข้อมูลบางส่วนเพื่อนำมาประกอบรายละเอียด ซึ่งที่ผ่านมา สนข.ได้หารือร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ในการจัดทำแผนการพัฒนาพื้นที่ย่านบางซื่อ ซึ่งเป็นของ รฟท.ประมาณ 2,000 ไร่ ให้เป็นศูนย์ประชุม โรงแรม อาคารสำนักงาน และอื่นๆ สำหรับการพิจารณาพื้นที่ดังกล่าวแล้ว พบว่าพื้นที่บริเวณนั้นมีศักยภาพสูง เนื่องจากจะมีโครงการรถไฟฟ้าหลายสายผ่าน และยังมีสถานีกลางบางซื่อ ที่จะเป็นจุดเชื่อมต่อของรถไฟฟ้าในเมือง และรถไฟฟ้าความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ในอนาคตด้วย

"ซึ่งจุดที่เหมาะสมที่จะสามารถทำเป็นสถานีรถไฟในลักษณะเป็นศูนย์กลางแบบคอมเพล็กซ์นั้น ก็คือสถานีบางซื่อ เนื่องจากบริเวณดังกล่าวจะเป็นจุดเชื่อมโยงทั้งรถไฟชานเมือง และรถไฟในเมือง และมีพื้นที่กว้างพอสมควรที่จะสามารถดำเนินการได้ ตามแผนเบื้องต้นในการก่อสร้างสถานีดังกล่าวนั้น คาดว่าจะเป็นลักษณะ 4 ชั้น ซึ่งชั้น 3 และชั้น 4 นั้น น่าจะเป็นชั้นที่ให้บริการเชิงพาณิชย์ ส่วนการให้บริการรางรถไฟนั้น สามารถรองรับได้ถึง 21 ราง โดยแบ่งเป็น ทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ โดย 3 จุดโครงการดังกล่าวนั้น เป็นการเริ่มก่อสร้างระยะแรก ซึ่งคาดว่า สนข.จะดำเนินการศึกษาความเหมาะสมประมาณปี 2556"

รวมโครงสร้างรถไฟไทย

ส่วนโครงการรถไฟที่จะมีการก่อสร้างในส่วนของประเทศไทยทั้งหมด จะประกอบด้วย โครงการระบบรถไฟทางคู่ 6 เส้นทาง ที่มีระยะทางกว่า 873 กิโลเมตร คือ
1.โครงการก่อสร้างทางคู่สายฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ระยะทาง 106 กิโลเมตร วงเงินลงทุนประมาณ 11,348 ล้านบาท
2.โครงการก่อสร้างทางคู่สายลพบุรี-ปากน้ำโพ 118 กิโลเมตร วงเงินลงทุนประมาณ 7,860 ล้านบาท
3.โครงการก่อสร้างทางคู่สายมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กิโลเมตร วงเงินลงทุนประมาณ 11,640 ล้านบาท
4.โครงการก่อสร้างทางคู่สายนครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 165 กิโลเมตร วงเงินลงทุนประมาณ 16,600 ล้านบาท
5.โครงการก่อสร้างทางคู่สายชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 185 กิโลเมตร วงเงินลงทุนประมาณ 13,010 ล้านบาท และ
6.โครงการก่อสร้างทางคู่สายประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กิโลเมตร วงเงินลงทุนประมาณ 17,000 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม คาดว่าหากการก่อสร้างรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน 6 เส้นทางแล้วเสร็จ และเปิดให้บริการได้ในปี 2558 ก็จะส่งผลให้ประเทศไทยมีระบบรถไฟทางคู่รวม 1,124 กิโลเมตร ทั่วประเทศ หรือคิดเป็น 27.8% ของโครงข่ายรถไฟไทย

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงนั้นมีทั้งหมด 4 เส้นทาง ประกอบด้วย
1.กรุงเทพฯ-พิษณุโลก-เชียงใหม่ ระยะทาง 745 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 229,809 ล้านบาท ทั้งนี้ ได้มีการประมาณปริมาณผู้โดยสารที่จะใช้บริการที่ 34,800 คนต่อวัน โดยใช้ระยะเวลาเดินทางประมาณ 3.73 ชั่วโมง
2.กรุงเทพฯนครราชสีมา (โคราช) ระยะทาง 256 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 96,826 ล้านบาท การประมาณปริมาณผู้โดยสารที่จะใช้บริการที่ 24,300 คนต่อวัน โดยใช้ระยะเวลาเดินทางประมาณ 1.59 ชั่วโมง
3.กรุงเทพฯ-หัวหิน ระยะทาง 225 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 82,166 ล้านบาท การประมาณปริมาณผู้โดยสารที่จะใช้บริการที่ 13,800 คนต่อวัน โดยใช้ระยะเวลาเดินทางประมาณ 1.15 ชั่วโมง และ
4.กรุงเทพฯ-ระยอง (ซึ่งเป็นโครงข่ายในอนาคตที่รัฐบาลมีแผนที่จะเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์) สำหรับระยะทางกรุงเทพฯ-ระยอง 221 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 72,265 ล้านบาท การประมาณปริมาณผู้โดยสารที่จะใช้บริการที่ 13,200 คนต่อวัน โดยใช้ระยะเวลาเดินทางประมาณ 1.11 ชั่วโมง

อย่างไรก็ตาม การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้รับการจัดสรรงบประมาณประจำปี 2555 เพื่อศึกษาและพัฒนารถไฟความเร็วสูง หรือรถไฟแอร์พอร์ตลิงค์ ส่วนต่อขยายจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-ชลบุรี-พัทยา ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคของผู้ยื่นข้อเสนอ อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดความคุ้มค่า กระทรวงคมนาคมจึงได้มอบหมายให้ รฟท.ดำเนินการศึกษาและพัฒนารถไฟความเร็วสูงต่อจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-ชลบุรี-พัทยา ให้ครอบคลุมถึงท่าอากาศยานอู่ตะเภา และระยอง เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และรองรับการต่อขยายไปยังจังหวัดระยอง-จันทบุรี-ตราดต่อไปด้วย

โดยที่ผ่านมา นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ระบุว่า ภายใน 1 ปีครึ่งนับจากนี้ จะเปิดประกวดราคาให้ได้ทุกสัญญาที่อยู่ภายใต้งบประมาณปรับปรุง รฟท. 1.7 แสนล้านบาท และจากนั้นอีก 3 ปี การให้บริการของ รฟท.จะสมบูรณ์ครบถ้วน คือ ตรงเวลา ปลอดภัย และสะอาด นอกจากนี้ รฟท.จะเสนอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาสร้างรถไฟความเร็วสูง (Hi Speed Train) กรุงเทพฯ-ระยอง เพิ่มจากเดิมอีก 179 กิโลเมตรไปจนถึง จ.ตราด เพื่อเชื่อมต่อกับประเทศกัมพูชา ซึ่งจะทำให้มีผู้โดยสารเข้าสู่ระบบแอร์พอร์ตเรลลิงค์มากขึ้น โดยขณะนี้ รฟท.อยู่ระหว่างจัดประมูลจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาสายทางเพิ่มเติมดังกล่าว

นอกจากนี้ โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ ที่มีทั้งหมด 10 สาย ซึ่งกำลังเร่งประกวดราคาการก่อสร้างให้เสร็จภายในปี 2558 ประกอบด้วย
1.รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม (ม.ธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต-มหาชัย) ระยะทาง 80.8 กม.
2.รถไฟฟ้าสายชานเมืองสายสีแดงอ่อน (ศาลายา-หัวหมาก) ระยะทาง 54 กม.
3.Airport Rail Link (ดอนเมืองสุวรรณภูมิ) ระยะทาง 50.3 กม.
4.รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม (ลำลูกกา-บางปู) ระยะทาง 66.5 กม.
5.รถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน (ยศเส-บางหว้า) ระยะทาง 15.5 กม.
6.รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-หัวลำโพง-ท่าพระ-พุทธมณฑลสาย 4) ระยะทาง 55 กม.
7.รถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ) ระยะทาง 42.8 กม.
8.รถไฟฟ้าสายสีส้ม (จรัญสนิทวงศ์-มีนบุรี) ระยะทาง 32.5 กม.
9.รถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ระยะทาง 36 กม. และ
10.รถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ระยะทาง 30.4 กม. ประมาณกรอบวงเงินลงทุนทั้งหมด 762,043 ล้านบาท

รฟม.อนุมัติเดินหน้ารถไฟฟ้า

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 20 ธันวาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้มีมติเห็นชอบให้ รฟม.ดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ระยะทาง 19.5 กิโลเมตร วงเงิน 26,569 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น 4 สัญญา คือ
สัญญาที่ 1 งานโยธาช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ วงเงิน 14,207 ล้านบาท
สัญญาที่ 2 งานโยธาสะพานใหม่-คูคต วงเงิน 6,115 ล้านบาท
สัญญาที่ 3 งานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดรถ วงเงิน 3,638 ล้านบาท และ
สัญญาที่ 4 ระบบราง วงเงิน 2,609 ล้านบาท
โดยขั้นตอนจากนี้ รฟม.จะส่งเรื่องไปยังกระทรวงคมนาคม เพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก่อนเปิดประกวดราคา ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการได้ต้นปี 2556


และบอร์ด รฟม.ได้มีมติเห็นชอบให้ รฟม.ดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร วงเงินก่อสร้าง 58,642 ล้านบาท ตามแนวเส้นทางแม่บทคือสิ้นสุดสถานีสุดท้ายที่สถานีมีนบุรีพร้อมทั้งมอบหมายให้ผู้บริหาร รฟม.และที่ปรึกษา ไปศึกษาข้อมูลว่าจะดูแลประชาชนแถบสุวินทวงศ์อย่างไรจึงจะมีความสะดวกในการเดินทางมากที่สุด เพราะก่อนหน้านี้ ส.ส.และประชาชนในพื้นที่สุวินทวงศ์ได้ร้องขอให้ รฟม.ขยายเส้นทางจากมีนบุรีไปจนถึงสุวินทวงศ์

อย่างไรก็ตาม การพัฒนาโครงสร้างเครือข่ายรถไฟของประเทศไทยนั้น ที่ถือว่าเป็นนโยบายหลักของรัฐบาลชุด น.ส.ยิ่งลักษณ์นั้น ถือว่าเป็นความหวังของคนไทยทั้งประเทศที่ตั้งตารอคอย ทั้งนี้ หากแล้วเสร็จตามแผนที่กำหนดนั้น จะสามารถสร้างความสะดวกในการเดินทางอย่างมาก ซึ่งขณะนี้หลายฝ่ายกำลังรอคอยความหวังโครงข่ายนี้ให้แล้วเสร็จสมบูรณ์ นอกจากจะสร้างความสะดวกด้านการเดินทางแล้ว ยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นด้านการลงทุนต่อนักลงทุนต่างชาติ ที่กำลังให้ความสนใจที่จะลงทุนกับประเทศไทยอีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47548
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/01/2013 4:37 pm    Post subject: Reply with quote

โจทย์ 5 ข้อก่อนอำลา "ปลัดคมนาคม" พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี เข็นมอเตอร์เวย์-เร่งไฮสปีดเทรน-แก้รถติด
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 02 ม.ค. 2556 เวลา 15:52:20 น.

นั่งเป็นพ่อบ้านให้ "กระทรวงคมนาคม" มาร่วม 3 เดือน "บิ๊ก น้อย-พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี" ร่วมงานกับ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์ 3" คอยขับเคลื่อนโครงการขนาดใหญ่ที่มีเม็ดเงินลงทุนร่วม 2 ล้านล้านบาท

แม้ในช่วงที่ผ่านมา ภายใต้ชายคาบ้านหลังใหม่ ผลงานจะยังไม่ออกดอกออกผลมากนัก แต่หลังจากปีใหม่นี้ยาวไปถึงวันสุดท้ายก่อนวันเกษียณอายุราชการในวันที่ 30 กันยายน 2556 น่าสนใจว่า "พล.ต.อ.วิเชียร" ให้สัมภาษณ์ว่าวางแผนงานไว้ชัดเจนจะทำอะไรบ้างนับจากนี้

- จะเร่งผลงานอะไรก่อนเกษียณ

ผมตั้งเป้าหมายจะทำ 4-5 เรื่อง สิ่งแรกที่ผมตั้งใจอยากจะให้เกิดในปี 2556 นี้ คือ เริ่มก่อสร้างมอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-โคราช ระยะทาง 196 กิโลเมตรนี้ให้ได้ เพราะออกแบบเสร็จแล้วรอออก พ.ร.ฎ.เวนคืน หาตัวผู้รับเหมามาก่อสร้าง และรูปแบบการลงทุนเท่านั้น ผมจะเร่งหารือร่วมกับท่านรัฐมนตรี (ชัชชาติ สิทธิพันธุ์) เพื่อสรุปรูปแบบการลงทุนโดยเร็ว เรื่องที่ 2 เร่งแก้ปัญหาคอขวดช่วงวังน้ำเขียว จะเร่งขยายถนนสาย 304 จากกบินทร์บุรี-ทับลาน ให้เป็น 4 ช่องจราจร ขั้นตอนการวางแผนจะมีการนำโครงการเข้าสู่การจัดสรรงบประมาณปี 2557 นี้ให้ได้ ปัจจุบันกรมทางหลวงได้ออกแบบเสร็จแล้ว บางช่วงจะมีอุโมงค์และทางลอดช่วงกิโลเมตรที่ 45-49 เพราะผ่านพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน หากเดินหน้าได้ถนนสายนี้จะช่วยแก้ปัญหาการจราจรบนถนนพหลโยธินได้มาก

เรื่องที่ 3 จะเร่งรัดงานก่อสร้างรถไฟฟ้า 10 สายให้เป็นไปตามแผนงาน อย่างน้อยที่สุดภายในเดือนมกราคมนี้รถไฟสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) จะเซ็นสัญญาและเริ่มก่อสร้าง
สายสีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) จะได้เอกชนมาลงทุนเดินรถไฟฟ้า ซึ่งผมได้เซ็นอนุมัติให้นำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว


ส่วนสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) จะคงเส้นทางเดิมและเริ่มประมูลทันที พร้อม ๆ กับสายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) ส่วนสีส้ม (ตลิ่งชัน-มีนบุรี) ผลจากการหารือร่วมกันภายในกระทรวงจะขยายเส้นทางไปถึงสุวินทวงศ์ตามที่ชาวบ้านในพื้นที่ร้องขอ

เรื่องที่ 4 การแก้ไขปัญหาการจราจรในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ปัจจุบันกระทรวงทำทุกวันอยู่แล้ว เช่น ปรับช่องบัตร Easy Pass แก้ปัญหารถติดหน้าด่านทางด่วน

ส่วนวิธีการแก้ปัญหาระยะยาวนั้นเรามีกลไกที่จะทำอยู่แล้ว เพียงแต่ที่ผ่านมาเราทิ้งไปนาน ผมเข้ามาจะเริ่มนำกลับมาดูใหม่และเร่งรัดมากขึ้น สิ่งที่เราทำได้ตอนนี้คือการจัดระเบียบต่าง ๆ เช่น การจอดรถ โดยใช้กฎหมายที่มีอยู่แล้ว ส่วนการเหลื่อมเวลาก็มาดูผลตอบรับอีกทีว่าจะได้ผลมากน้อยแค่ไหน

เรื่องที่ 5 เร่งจัดซื้อรถเมล์ใหม่ที่ใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติหรือรถเมล์ NGV จำนวน 3,183 คันโดยเร็ว ผมเพิ่งเซ็นอนุมัติเข้าสู่การพิจารณาของ ครม.ไปแล้วเช่นกัน คาดว่าจะเริ่มได้ในปี 2556 นี้

- คืบหน้ารถไฟความเร็วสูง

โครงการนี้ผมก็เร่งให้เห็นเป็นรูปเป็นร่างก่อนที่ผมจะเกษียณ แนวทางคือจะเร่งตั้งกรมขนส่งระบบรางขึ้นมาบริหารจัดการระบบรางทั้งหมด โมเดลนี้ต้องให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว กำลังให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ร่างกฎหมายเพื่อนำเสนอให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาก่อนนำเสนอรัฐสภาเพราะต้องออกเป็นกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ

แต่ช่วงรอกฎหมายนี้ กระทรวงคมนาคมจะทำงานควบคู่กันไป คือ ตั้งสำนักงานพัฒนาระบบรางขึ้นมาก่อนเพื่อรองรับโครงการที่จะประมูลกลางปี 2556 คาดว่าจะเริ่มได้ใน 2-3 เดือนนี้ เพราะออกเป็นกฎกระทรวงน่าจะทำได้เร็ว หลังจากนั้น ในอนาคตเมื่อมีพระราชบัญญัติขึ้นมารองรับสำนักนี้ก็จะยุบไป

- ผลงานอื่น ๆ ที่กำลังจะทำ

กำลังดำเนินการในสิ่งที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลเร็ว ๆ นี้ คือ จัดนิทรรศการรถไฟความเร็วสูงขึ้น ระยะเวลา 3 เดือน เริ่มช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2556 ที่อาคารคาร์โก้ 3 ในสนามบินดอนเมือง พื้นที่ 20,000 ตารางเมตร เพื่อสร้างความมั่นใจและความเชื่อมั่นให้กับประชาชนว่ารัฐบาลมีโครงการแบบนี้และจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างกับประเทศของเรา โดยจะนำของจริงมาโชว์เพื่อให้เห็นภาพจริง

โครงการนี้ใช้งบฯกลางของรัฐบาลมาดำเนินการ คาดว่าจะใช้เงินจัดงานประมาณ 500 ล้านบาท เพราะจะต้องปรับปรุงพื้นที่ให้สามารถรองรับกับหัวรถจักรที่เราเชิญชวนต่างชาตินำมาแสดงในงานประมาณ 3-4 ขบวน โครงการนี้เราจะเปิดให้นักลงทุนทั่วโลกเข้ามาร่วมประมูล จึงต้องเปิดกว้างให้ทุกชาติได้มาแสดงเทคโนโลยี ตอนนี้มีหลายชาติที่สนใจ หลัก ๆ มีจีนและญี่ปุ่น ชาติอื่น ๆ ก็มีจากยุโรป เช่น กลุ่มซีเมนส์

แน่นอนว่าภายในงานจะมีพื้นที่เช่าให้กับร้านค้าโอท็อปมาจำหน่ายสินค้าด้วย เพราะทางนายกรัฐมนตรีอยากให้เห็นภาพว่าพอมีไฮสปีดเทรนแล้ว สินค้าเหล่านี้จะมีโอกาสสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้น

- จะใช้ของจีนหรือญี่ปุ่น

เราพยายามบาลานซ์ไม่ให้ผูกมัดใคร โครงการรถไฟความเร็วสูงหรือไฮสปีดเทรนของไทยอาจจะใช้ผสมผสานกัน แม้ว่าจีนจะเป็นพี่เอื้อยแผ่อิทธิพลไปภูมิภาคต่าง ๆ แต่เราก็ต้องดูว่าเหมาะกับเราอย่างไร รับได้หรือไม่ได้


- เรื่องน้ำหนักรถบรรทุก

เรื่องนี้มีการหารือร่วมกับกรมทางหลวงและผู้ประกอบการแล้ว ข้อสรุปคือให้พบกันครึ่งทาง จะขยายเวลาน้ำหนักรถบรรทุกขนาด 7 เพลา 24 ล้อ หรือรถพ่วงน้ำหนัก 58 ตันออกไปอีก 1 ปี จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 1 มกราคม 2556 เปลี่ยนไปสิ้นสุดวันที่ 1 มกราคม 2557 แทน เพราะตามกฎหมายให้แค่ 50.5 ตัน จากนั้นจะปรับลงเหลือ 38 ตัน เพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี และเพื่อไม่ให้เสียเปรียบเพื่อนบ้านที่ให้ขนสินค้าข้ามแดนได้ไม่เกิน 38 ตัน

- ปัญหาผู้บริหารกระทรวงขาดช่วง

ผมเป็นประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) จะให้แต่ละหน่วยส่งคนสมัครเข้ามาแสดงวิสัยทัศน์หน่วยละ 1 คน โดยจุดยืนของผมจะให้เลื่อนตำแหน่งจากระดับซี 9 ขึ้นเป็นระดับ 10 ตอนนี้มีตำแหน่งว่างก็มีผู้ตรวจราชการ 2 ตำแหน่ง รองปลัดกระทรวงด้านโครงสร้าง 1 ตำแหน่ง ผมจะเร่งให้เสร็จโดยเร็วเหมือนกัน เพื่อให้การขับเคลื่อนงานของกระทรวงเดินหน้าไปได้รวดเร็วขึ้น เพราะกระทรวงมีปัญหาเรื่องผู้บริหารระดับสูงขาดแคลนมานาน

ถึงแม้จะเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ก็ตาม แต่กระทรวงคมนาคมในยุคผม จะใช้หลักการบริหาร คุณธรรม ความรู้ ความสามารถ ความเสมอภาค และความเป็นกลางทางการเมือง เพื่อสร้างรากฐานความมั่นคงและมาตรฐานการเป็นข้าราชการที่ดีโปร่งใสในอนาคต
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47548
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/01/2013 1:08 pm    Post subject: Reply with quote

10 รถไฟฟ้าเปิดเส่นทางใหม่ ราคาที่ดินทะยาน
วันพุธที่ 02 มกราคม 2013 เวลา 11:01 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ

ผ่านมาหลายรัฐบาลถึงวันนี้โครงการรถไฟฟ้า 10 สายทาง ที่คนกรุงเทพฯ และปริมณฑล ตั้งตารอคอย เริ่มเห็นเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น หลังรัฐบาลภายใต้การนำของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ประกาศเป็นนโยบายของรัฐบาล พร้อมกำชับให้ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เร่งเครื่องเต็มสูบ หวังสร้างโครงการระบบขนส่งมวลชนระบบราง ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลให้สมบูรณ์ เพื่อเป็นทางเลือกของประชาชน ขณะเดียวกันยังช่วยลดปัญหาจราจรหนาแน่นได้อีกทางหนึ่ง

ดังนั้น ในปี 2556 นี้ จะเป็นปีของการประมูลงานในโครงการรถไฟฟ้าในสายทางที่คั่งค้างอยู่ให้แล้วเสร็จภายในครึ่งปีแรก ทั้งนี้ นายชัชชาติ ได้ประกาศเป้าหมายเอาไว้ว่าการก่อสร้างโครงข่ายรถไฟฟ้า 10 สายทางจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี 2562

Click on the image for full size

เริ่มด้วยโครงการที่อยู่ในความรับผิดชอบของการรถไฟแห่งประเทศ (ร.ฟ.ท.) ซึ่งมี
1.รถไฟสายชานเมืองสายสีแดงเข้ม (ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต – มหาชัย) โดยช่วงบางซื่อ-รังสิต (26 กม.) ในสัญญาที่ 1 (งานโยธาสถานีกลางบางซื่อ และศูนย์ซ่อมบำรุง) ครม. เห็นชอบการปรับเพิ่มกรอบวงเงิน ส่วนสัญญาที่ 2 (งานโยธาช่วงบางซื่อ-รังสิต) กลุ่มบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ฯ เสนอราคาต่ำที่สุด ร.ฟ.ท. อยู่ระหว่างตรวจสอบรายละเอียดและเจรจาราคา ก่อนลงนามในสัญญา ส่วนสัญญาที่ 3 (งานระบบราง อาณัติสัญญาณ และขบวนรถไฟฟ้า อยู่ระหว่างพิจารณาเอกสารซองที่ 1 (PQ) ของ 4 บริษัท ซึ่งมี 2 บริษัทไม่ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้น และ 2 บริษัทมีประเด็นปัญหาเรื่องการมีผลประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งร.ฟ.ท.กำลังพิจารณา

ส่วนในช่วงรังสิต- ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต (10 กม.) ออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จ รายงาน EIA ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ(สผ.) แล้ว เมื่อ 16 มีนาคม 2555 ขณะนี้ร.ฟ.ท. อยู่ระหว่างว่าจ้างที่ปรึกษาจัดเตรียมเอกสารประกวดราคาตามขั้นตอนต่อไป

2. รถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน (ศาลายา - หัวหมาก) อีกหนึ่งโครงการที่ ร.ฟ.ท.รับผิดชอบ ขณะนี้ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา (14 กม.) ศึกษาและออกแบบแล้วเสร็จ รายงาน EIA ช่วงตลิ่งชัน-นครปฐม ได้รับความเห็นชอบแล้ว ขณะที่ช่วงศิริราช-ตลิ่งชัน-ศาลายา ร.ฟ.ท. ได้ปรับแบบและอยู่ระหว่างปรับปรุง EIA ตามความเห็นสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.)

3. Airport Rail Link (สนามบินดอนเมือง – สนามบินสุวรรณภูมิ) ระยะทาง 50.3 กม.
ปัจจุบันในส่วนต่อขยาย ช่วงพญาไท-บางซื่อ (7.9 กม.) ศึกษาความเหมาะสม ออกแบบรายละเอียด แล้วเสร็จ รายงาน EIA ได้รับความเห็นชอบแล้ว ขณะที่ช่วงดอนเมือง-บางซื่อ(13.9 กม.) ศึกษาความเหมาะสม ออกแบบรายละเอียด แล้วเสร็จ รายงาน EIA ได้รับความเห็นชอบเมื่อ 31 ต.ค. 2555 เช่นกัน

4. รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม (ลำลูกกา - บางปู) ระยะทาง 66.5 กม. โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) ในช่วงสมุทรปราการ-บางปู (7 กม.) ออกแบบรายละเอียด เอกสารประกวดราคาแล้วเสร็จ และรายงาน EIA ได้รับความเห็นชอบแล้ว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ (12.8 กม.) ก่อสร้างงานโยธา สัญญาที่ 1 (โครงสร้างทางวิ่งและศูนย์ซ่อมบำรุง) เริ่มงานเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2555 คืบหน้า 2.55% งานสัญญาที่ 2 (ระบบราง) กำหนดยื่นเอกสารประกวดราคาเมื่อ 1 ต.ค. 2555 ที่ผ่านมาโดยมีบริษัทยื่นข้อเสนอ จำนวน 3 ราย แต่บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) เสนอราคาต่ำสุด 2,465 ล้านบาท (ราคากลาง 2,406 ล้านบาท) โดยทาง รฟม. อยู่ระหว่างตรวจสอบราคา คาดว่าลงนามสัญญา และเริ่มก่อสร้าง มีนาคม 2556 ส่วนงานระบบรถไฟฟ้าและเดินรถอยู่ระหว่างปรับปรุงรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการ โดยครอบคลุมส่วนต่อขยายช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ-บางปู งานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินคืบหน้า 94.60% คาดเปิดบริการในปี 2560

สำหรับช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ (11.4 กม.) รฟม. มีความพร้อมประกวดราคา โดยคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ด้านคมนาคมของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือโครงการร่วมกับเอกชน (คชก.) มีมติเห็นชอบรายงาน EIA ฉบับปรับปรุงแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างนำเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ อีกทั้งยังรอพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน กำหนดเปิดบริการในปี 2559

ส่วนช่วงสะพานใหม่-คูคต (7 กม.) ออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จ รายงาน EIA ได้รับความเห็นชอบจาก คชก. อยู่ระหว่างนำเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ มติ ครม. 9 มีนาคม 2553 เห็นชอบในหลักการการต่อขยายโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม จากช่วงหมอชิต–สะพานใหม่ (11.4 กม.) เป็นหมอชิต–สะพานใหม่–คูคต (18.4 กม.) โดยใช้ศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) บริเวณ ต. คูคต ร่วมกับช่วงหมอชิต

5. รถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน (ยศเส - บางหว้า) ระยะทาง 15.5 กม. กรุงเทพมหานคร(กทม.)บริหารโครงการ โดยช่วงตากสิน-บางหว้า (5.3 กม.) อยู่ระหว่างก่อสร้างโดย กทม. ในช่วงราชพฤกษ์-บางหว้า ส่วนช่วงวงเวียนใหญ่-โพธินิมิตร-รัชดาฯ-ราชพฤกษ์ขณะนี้อยู่ระหว่างทดสอบให้บริการเดินรถก่อนเปิดให้บริการในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2556

6. รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ – หัวลำโพง, ท่าพระ - พุทธมณฑล สาย 4) ระยะทาง 55 กม. โดย รฟม.บริหารโครงการ ส่วนก่อสร้างงานโยธา คืบหน้า 24.96% งานระบบรถไฟฟ้าและเดินรถ อยู่ระหว่างคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนตามขั้นตอนของ พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 งานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน คืบหน้า 97.04% เปิดบริการในปี 2559

7. รถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่ - ราษฎร์บูรณะ) ระยะทาง 42.8 กม. ก่อสร้างงานโยธา คืบหน้า 51.08% งานระบบรถไฟฟ้าและเดินรถ อยู่ระหว่างคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 งานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินแล้วเสร็จ คาดเปิดบริการในปี 2559 ช่วงบางซื่อ- ราษฎร์บูรณะ(19.8 กม.) รฟม. อยู่ระหว่างศึกษา/ทบทวนรายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ จัดเตรียมเอกสารประกวดราคา และดำเนินงานตาม พ.ร.บ. ร่วมทุนฯ โดย EIA ได้รับความเห็นชอบแล้ว

8. รถไฟฟ้าสายสีส้ม (จรัญสนิทวงศ์ - มีนบุรี) ระยะทาง 32.5 กม. รฟม. อยู่ระหว่างศึกษาทบทวนรายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ จัดเตรียมเอกสารประกวดราคา และดำเนินการตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ โดยช่วงจรัญสนิทวงศ์- ศูนย์วัฒนธรรม (12.5 กม.) รฟม. อยู่ระหว่างศึกษาทบทวนรายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ จัดเตรียมเอกสารประกวดราคา และดำเนินการตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางกะปิ-มีนบุรี (20 กม.) รฟม. และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ได้ศึกษาออกแบบเบื้องต้น ศึกษาความความเหมาะสม และรายงาน EIA ได้รับความเห็นชอบแล้วจึงสามารถเร่งดำเนินการ(ด้านตะวันออก) ให้เปิดประกวดราคาในปี 2556

9. รถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย - มีนบุรี) ระยะทาง 36 กม. ช่วงแคราย- ปากเกร็ด-มีนบุรี (36 กม.) รฟม.อยู่ระหว่างศึกษา/ทบทวนรายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ จัดเตรียมเอกสารประกวดราคา และดำเนินงานตาม พ.ร.บ. ร่วมทุนฯ (รวมถึงการศึกษาทบทวนรายละเอียดความเหมาะสม ที่จำเป็นสำหรับการเปรียบเทียบทางเลือกระบบขนส่งมวลชนที่เหมาะสมกับโครงการ) รายงาน EIA ได้รับความเห็นชอบแล้ว

10. รถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว - สำโรง) ระยะทาง 30.4 กม. ช่วงลาดพร้าว-พัฒนาการ (12.6 กม.) และช่วงพัฒนาการ-สำโรง (17.8 กม.) ศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้นแล้วเสร็จ รายงาน EIA ได้รับความเห็นชอบแล้ว ปัจจุบันรฟม. อยู่ระหว่างศึกษา/ทบทวนความเหมาะสม ออกแบบรายละเอียด จัดเตรียมเอกสารประกวดราคา และดำเนินงานตาม พ.ร.บ. ร่วมทุนฯ (รวมศึกษาความเหมาะสม ระหว่างรูปแบบ Monorail และ Heavy Rail)

ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน (19 กม.) ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง (6.5 กม.) ร.ฟ.ท. พร้อมประกวดราคา ออกแบบรายละเอียดและจัดเตรียมเอกสารประกวดราคาแล้วเสร็จ ส่วนรายงาน EIA ได้รับความเห็นชอบแล้ว ช่วงศิริราช-ตลิ่งชัน (6 กม.) ศึกษาความเหมาะสม ออกแบบแล้วเสร็จ รายงาน EIA ร.ฟ.ท. อยู่ระหว่างปรับปรุงตามความเห็นของ สผ. ขณะนี้ ร.ฟ.ท. อยู่ระหว่างออกแบบรายละเอียดและจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา โครงการดังกล่าวนี้จัดเป็นเส้นทางรถไฟเชื่อม 3 ศูนย์แพทย์ คือ ศาลายา ศิริราช และรามาธิบดี

Click on the image for full size

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 2,806 วันที่ 3 - 5 มกราคม พ.ศ. 2556
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 65, 66, 67 ... 284, 285, 286  Next
Page 66 of 286

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©