Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
View previous topic :: View next topic
Author
Message
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47548
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47548
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 07/01/2013 8:42 am Post subject:
รมต.ฟิตรับปีใหม่ เตรียมชงครม.นัดแรกลุ้นงบฯปี56 คึกคัก
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 7 มกราคม 2556 07:46 น.
เผยประชุมครม.วันนี้ "ปลอด"จ่อชงแผนรับมือภัยแล้ง "คมนาคม"เตรียมขออนุมัติซื้อรถเมล์เอ็นจีวี 3,183 คัน "แรงงาน"เพิ่มเติมขอช่วยผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท "ยุติธรรม"ขอไฟเขียว ก.ม.ขออนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด "คลัง"ชงมาตรการภาษีหนุนควบรวมกิจการสถาบันการเงิน-ประกันภัย ด้าน"พลังงาน"ดัน MOUกรุยทางเอกชนลุยธุรกิจพลังงานในติมอร์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ว่าในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 8 มกราคม 2556 นี้ นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) เตรียมเสนอแผนบริหารจัดการภัยแล้งหรือภาวะน้ำน้อย ให้ที่ประชุมครม.พิจารณา อาทิแผนการขุดเจาะน้ำบาดาลมาช่วยเหลือด้านการอุปโภค-บริโภคให้ได้ร้อยละ 70-80 ของน้ำที่ขุดเจาะมาทั้งหมด ส่วนที่เหลือจะจัดสรรไปช่วยเหลือด้านการเพาะปลูก ,การของบประมาณเพื่อจัดทำระบบท่อส่งน้ำจากบริเวณที่มีน้ำมากไปสู่บริเวณที่มีน้ำน้อย และการจัดทำระบบน้ำบาดาลเพื่ออุปโภค-บริโภค
ทั้งนี้ กบอ. คาดการณ์ว่า ในปี 2556 สถานการณ์ภัยแล้งจะรุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงภาวะภูมิอากาศ โดยพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คาดจะได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง จากปริมาณน้ำฝนในฤดูฝนที่ตกน้อยมาก ส่วนพื้นที่ภาคกลาง เชื่อว่าจะไม่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งมากนัก
นายปลอดประสพ กล่าวเชื่อมั่นอีกว่าสถานการณ์น้ำในปี 2556 ว่า จะไม่เกิดน้ำท่วมแน่นอน หลังจากใช้งบกลางในวงเงิน 120,000 ล้านบาทดำเนินการเกี่ยวกับแนวทางป้องกันและรับมือน้ำท่วม ที่มีการแบ่งงบประมาณใช้ปรับปรุงระบบระบายน้ำ 40,000 ล้านบาท และยกระดับถนน จำนวน 20,000 ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมแล้วใช้งบประมาณในการแก้ปัญหาน้ำท่วมจำนวน 60,000 ล้านบาท
ส่วนนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จะนำเสนอ 3 เรื่อง ให้ ครม.พิจารณา คือโครงการจัดหารถเมล์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ (เอ็นจีวี) จำนวน 3,183 คัน ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) การประกวดราคารถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ สัญญาที่ 4 สัมปทานสำหรับการลงทุน การจัดหาระบบรถไฟฟ้า การให้บริการการเดินรถ และซ่อมบำรุงรักษา ที่บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีเอ็มซีแอล เป็นผู้ชนะการประกวดราคา
ทั้งนี้ ในส่วนของโครงการจัดหารถเมล์เอ็นจีวีของ ขสมก. มั่นใจว่ากระทรวงคมนาคมมีข้อมูลครบถ้วนแล้ว และได้ผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจ ที่มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานแล้ว โดยคณะกรรมการกลั่นกรองฯมีข้อสงสัยเพียงว่า เหตุใดจึงไม่จัดหาเป็นรถปรับอากาศทั้งหมด โดยกระทรวงคมนาคมชี้แจงว่า หากจัดหาเป็นรถเมล์ปรับอากาศทั้งหมด ผู้มีรายได้น้อยจะได้รับผลกระทบ เพราะมีค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 13 บาท แต่หากจัดหาเป็นรถธรรมดา หรือรถร้อนทั้งหมด ซึ่งจัดเก็บค่าโดยสารที่ 7 บาท รายได้ ขสมก.ก็จะน้อยเกินไป จึงต้องจัดหารถปรับอากาศและรถร้อนอย่างละ 50% จึงเชื่อว่า ครม.ไม่น่ามีการท้วงติงเพิ่มเติม
ด้านนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน จะเสนอมาตรการเพิ่มเติม 5 ข้อ เพื่อบรรเทาผลกระทบและช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ โดยเฉพาะเอสเอ็มอี
มาตรการเพิ่มเติม ประกอบด้วย 1.ลดค่าธรรมเนียมห้องพักโรงแรม ที่พัก โดยจะลดอัตราค่าธรามเนียมการประกอบธุรกิจรายปีลงร้อยละ 50 จากปัจจุบันที่จัดเก็บห้องละ 80 บาท ต่อปี เป็นระยะเวลา 3 ปี 2.จัดคลีนิคพัฒนาฝีมือแรงงานเคลื่อนที่ไปยังสถานศึกษาและสถานประกอบการ 3.เพิ่มอัตราค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมสัมมนาของส่วนราชการ โดยให้กระทรวงการคลังไปพิจารณาปรับเพิ่มค่าใช้จ่ายส่วนนี้ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน 4.การจัดคาราวานสินค้าราถูกไปจำหน้ายให้ลูกจ้างในสถานประกอบการซึ่งกระทรวงพาณิชย์รับผิดชอบนำโครงการธงฟ่าไปจัดจำหน่าย 5.ลดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากร้อยละ 3 เหลือร้อยละ 2 ซึ่งจะทำให้รายได้รถลดลงไปประมาณ 20,000 ล้านบาท จากที่เคยจัดเก็บได้ 60,000 ล้านบาทต่อปี
ขณะที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) จะขออนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้ติดยาเสพติด (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ที่ได้แก้ไขตามผลการหารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว
ทั้งนี้ สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 เพื่อกำหนดให้บุคคลซึ่งผ่านการตรวจหรือทดสอบเบื้องต้นว่า มียาเสพติดอยู่ในร่างกาย และสมัครใจจะขอเข้ารับฟื้นฟูสมรรถภาพได้รับการยกเว้น ไม่ต้องถูกแจ้งข้อหายา เสพติด โดยเจ้าพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดียาเสพติดต้องดำเนินการให้บุคคลดังกล่าว ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในสถานพยาบาลตามกฎหมาย เกี่ยวกับยาเสพติด และ มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงเพื่อเป็นหลักฐานในการเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้ติดยาเสพติด หากฝ่าฝืน หรือ ไม่ปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว ถือเป็นความผิดทางอาญา
สำหรับในส่วนของกระทรวงการคลัง(กค.) เตรียมขออนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ.
. และร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยรายจ่ายที่ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ (ฉบับที่ ..) พ.ศ.
. รวม 2 ฉบับ ซึ่งเป็นมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการควบรวมกิจการประเด็นเงินสำรองของสถาบันการเงินและกิจการประกันภัย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทเดิมอันได้ควบเข้ากันหรือเป็นผู้โอนกิจการที่ต้องจดทะเบียนเลิก สำหรับเงินได้ที่เป็นเงินสำรองซึ่งได้กันไว้ตามมาตรา 65 ตรี (1) แห่งประมวลรัษฎากร และต้องนำมารวมเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กัน ตามมาตรา 74 (2) และ (3) แห่งประมวลรัษฎากร และกำหนดให้รายจ่ายของบริษัทใหม่ที่ควบเข้ากันหรือผู้โอนกิจการจากการโอนกิจการทั้งหมด เป็นจำนวนเท่ากับเงินสำรองที่ได้กันไว้ ตามมาตรา 65 ตรี (1) แห่งประมวลรัษฎากร ของบริษัทเดิมอันได้ควบเข้ากันหรือเป็นผู้โอนกิจการที่ต้องจดทะเบียนเลิกเป็นรายจ่ายที่ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65ตรี (20)
ทั้งนี้ กค. เสนอว่า ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี (1) บัญญัติให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสามารถนำเงินสำรองจากเบี้ยประกันภัย และเงินสำรองที่กันไว้เป็นค่าเผื่อหนี้สูญหรือหนี้สงสัยจะสูญ สำหรับหนี้จากการให้สินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ได้กันไว้ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์หรือกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ แล้วแต่กรณี มาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
นอกจากนี้ มาตรา 74 (2) และ (3) บัญญัติให้กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเลิกกัน หรือควบเข้ากันกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอื่น ให้นำเงินสำรองหรือเงินกำไรยกมาจากรอบระยะเวลาบัญชีก่อน ๆ เฉพาะส่วนที่ยังมิได้เสียภาษีเงินได้ ให้นำมารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีสุดท้าย และสำหรับกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลประกอบกิจการประกันภัยให้นำเงินสำรอง ซึ่งได้กันไว้ในรอบระยะเวลาบัญชีก่อน ๆ ตามมาตรา 65 ตรี (1) เฉพาะส่วนที่ยังมิได้นำมาเป็นรายได้มารวมคำนวณเป็นรายได้
ทั้งนี้จากข้อกฎหมายดังกล่าวข้างต้นทำให้เกิดปัญหาและอุปสรรคกรณีบริษัทที่เป็นสถาบันการเงินหรือที่ประกอบกิจการประกันภัยที่เลิกกันหรือควบเข้ากันจะต้องนำเงินสำรองที่กันไว้มารวมคำนวณเป็นรายได้ ซึ่งบริษัทเดิมที่จะควบหรือบริษัทผู้โอนอาจไม่มีสภาพคล่องมากพอที่จะเสียภาษีจากเงินสำรองที่กันไว้ จึงสมควรปรับปรุงกฎหมายเพื่อสนับสนุนการควบรวมกิจการในประเด็นเงินสำรองของสถาบันการเงินและกิจการประกันภัย โดยกำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทเดิมที่จะควบหรือบริษัทผู้โอนสำหรับเงินสำรองซึ่งได้กันไว้และนำมารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีสุดท้าย
กระทรวงพลังงาน(พน.) ขอความเห็นชอบ ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงปิโตรเลียมและทรัพยากรแร่ธาตุ สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์ -เลสเต ว่าด้วยการพัฒนาด้านพลังงาน โดยขออนุมัติให้รมว.พลังงาน (หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากรรม.พลังงาน) เป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจดังกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สาระสำคัญของเรื่องบันทึกความเข้าใจฯ สรุปได้ดังนี้ ขอบเขตของความร่วมมือด้านพลังงานลักษณะกว้าง ๆ ได้แก่ 1.การแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายปิโตรเลียมอุตสาหกรรมปิโตรเลียม และการดำเนินการของสถาบันที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมปิโตเลียมกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง 2 .การร่วมกันจัดเตรียมการศึกษาร่วมและโครงการความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย 3 .การฝึกอบรมหลักสูตรเฉพาะสำหรับผู้เชี่ยวชาญและการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนการเยือนของผู้เชี่ยวชาญ ผู้บริหารในด้านปิโตรเลียมและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
4 .การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างบริษัทน้ำมันแห่งชาติของคู่ภาคี 5. การเข้าร่วมสัมมนา จัดการประชุม และการจัดนิทรรศการร่วมกัน. 6 .การให้ความช่วยเหลือในการกำหนดและนำนโยบายการประชุม และการจัดนิทรรศการร่วมกัน รวมถึงการให้ความช่วยเหลือในการกำหนดและประยุกต์นำนโยบาย กฎหมายและกฎระเบียบไปใช้ในกิจกรรมอุตสาหกรรมปิโตรเลียมของแต่ละฝ่าย
การกำหนดให้มีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อทำหน้าที่ประสานงานและดำเนินการตามกิจกรรม แผนงาน และโครงการความร่วมมือต่าง ๆ โดยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมนั้นแต่ละฝ่ายจะเป็นผู้รับผิดชอบ โดยบันทึกความเข้าใจฯ จะมีผลบังคับใช้เป็นระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่วันที่มีการลงนาม และจะขยายเวลาออกไปโดยอัตโนมัติในแต่ละครั้งอีก 3 ปี หากไม่มีการบอกเลิกบันทึกความเข้าใจฯ ดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบ
ร่างบันทึกความเข้าใจฯ จะเป็นประโยชน์ในการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีและการแลกเปลี่ยนข้อมูลและข้อสนเทศในการลงทุนด้านพลังงานระหว่างไทยและติมอร์ - เลสเต และเป็นการส่งเสริมและเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนไทยแสวงหาโอกาสด้านการค้าและการลงทุนทางพลังงงานในประเทศติมอร์ อีกทั้งบันทึกความเข้าใจฯ นี้มีลักษณะของความร่วมมือเป็นกรอบกว้าง ๆ เพื่อใช้เป็นกรอบการดำเนินความสัมพันธ์ด้านพลังงานและส่งเสริมความร่วมมือด้านปิโตรเลียมและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยไม่เปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทยหรือพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตรหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือกฎหมายระหว่างประเทศ หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวางหรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุนโดยรวมหรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ
นอกจากนี้กระทรวงพลังงาน(พน.) โดยองค์กรร่วมไทย - มาเลเซียขอความเห็นชอบในร่างข้อตกลงว่าด้วยการร่วมกันผลิตปิโตรเลียม (Unitisation Agreement, UA) ระหว่างองค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย (MTJA) และบริษัท Petroliam Nasional Berhad (PETRONAS) สำหรับการร่วมกันผลิตปิโตรเลียมแหล่งสุริยา (Suriya) ในแปลง A - 18 ของพื้นที่พัฒนาร่วมไทย - มาเลเซีย กับแหล่งสุริยา เซลาตัน (Suriya Selatan) ในแปลง PM 2 ของประเทศมาเลเซีย
ทั้งนี้ขอความเห็นชอบยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2552 เรื่อง การทำสัญญาระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเอกชนและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องที่กำหนดให้การทำสัญญาไม่ควรระบุในสัญญาให้มอบข้อพิพาทให้คณะอนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาด เนื่องจากร่างข้อตกลงฉบับนี้ จำเป็นที่จะต้องกำหนดวิธีการระงับข้อพิพาท โดยให้คณะอนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาด เพื่อให้สอดคล้องกับร่างข้อตกลงเบื้องต้น (Head of Agreement, HOA) สำหรับการร่วมกันผลิตปิโตรเลียมแหล่งสุริยา-สุริยา เซลาตัน ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมี่อวันที่ 3 มิถุนายน 2552
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สาระสำคัญของร่างข้อตกลงดังกล่าวเป็นการกำหนดสิทธิและพันธะระหว่างองค์กรร่วมและ PETRONAS รวมถึงการดำเนินงานและการจัดการในการร่วมกันพัฒนาและผลิตปิโตรเลียมแหล่งสุริยา - สุริยา เซลาตัน ในพื้นที่ร่วมผลิต (Unit Area) มีขนาด 173.226 ตารางกิโลเมตร (อยู่ในเขตพื้นที่พัฒนาร่วม 142.017 ตารางกิโลเมตรและพื้นที่ของประเทศมาเลเซีย 31.209 ตารางกิโลเมตร)
โดยกำหนดสัดส่วนแบ่งปันผลผลิตปิโตรเลียมเบื้องต้น (Initial Tract Participation) คือ แปลง A-18 ได้รับร้อยละ 85 และแปลง PM 2 ได้รับร้อยละ 15 และสามารถทำการประเมินสัดส่วนการแบ่งผลผลิตปิโตรเลียมใหม่ (Re-determination)ทุก 5 ปี ในกรณีที่ผลการประเมินมีความแตกต่างกันโดยรวมเกินกว่าร้อยละ 3 ให้มีการปรับสัดส่วนแบ่งปันผลผลิตและแบ่งค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตามสัดส่วนผลผลิตดังกล่าว
ทั้งนี้ ให้ใช้แผนการพัฒนาของแปลง A-18 และขายก๊าซในราคาตามที่กำหนดในสัญญาซื้อขายก๊าซแปลง A-18 และให้มีคณะกรรมการ Unit Management Committee ฝ่ายละ 4 คนเท่า ๆ กัน ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารจัดการและกำกับดูแลการดำเนินงาน ทั้งนี้ ร่างข้อตกลงดังกล่าวได้ยกร่างขึ้นภายใต้หลักการและอยู่ในกรอบของข้อตกลงเบื้องต้นที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลทั้งสองแล้ว ซึ่งร่างข้อตกลงฉบับนี้มีสาระสำคัญและหลักการเช่นเดียวกับร่างข้อตกลงว่าด้วยการร่วมผลิตปิโตรเลียมระหว่างแหล่งภูมี - ภูมีใต้ ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2554
กระทรวงพลังงานยังขออนุมัติให้บริษัท GS Caltex Corporation โอนสัมปทานปิโตรเลียมเลขที่ 1/2547/67 แปลงสำรวจบนบกหมายเลข L10/43 และ L11/43 ให้แก่ บริษัท GS Energy Corporation ในอัตราร้อยละ 30 โดยอาศัยความตามมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2550 และตามมาตรา 22 (7) แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2550 ซึ่งบัญญัติให้เป็นอำนาจของรัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการปิโตรเลียมและต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี โดยให้ออกเป็นสัมปทานปิโตรเลียมเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) ของสัมปทานปิโตรเลียมเลขที่ 1/2547/67 ตามแบบ ชธ/ป3/1 ที่กำหนดในกฎกระทรวงกำหนดแบบสัมปทานปิโตรเลียม พ.ศ. 2555
พณ.ชง 5 ยุทธศาสตร์ลุยธุรกิจในปท.เพื่อนบ้าน
และ กระทรวงพาณิชย์ จะเสนอให้ครม.รับทราบ และเห็นชอบสรุปผลการประชุมคณะทำงานส่งเสริมการสร้างฐานการผลิตในประเทศเพื่อนบ้านและการค้าชายแดน และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไปในเรื่องการสร้างฐานการผลิตในประเทศเพื่อนบ้านและการค้าชายแดน ซึ่งได้ดำเนินการจัดประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน 2 ครั้ง โดยมีรมว.พาณิชย์เป็นประธานคณะทำงานฯ ประธานผู้แทนการค้าไทยเป็นรองประธานคณะทำงานฯ และอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศเป็นคณะทำงานและเลขานุการ และการประชุมคณะทำงานย่อยแต่ละยุทธศาสตร์รวม 4 ครั้ง ในช่วงวันที่ 17 กันยายน - 20 พฤศจิกายน 2555 สรุปดังนี้
1. การวางกรอบยุทธศาสตร์การส่งเสริมการค้าและการลงทุนไปตลาดประเทศเพื่อนบ้านและการค้าชายแดน 5 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย
1.1 ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ระหว่างประเทศและนิคมอุตสาหกรรมในประเทศเพื่อนบ้าน แผนปฏิบัติการนำร่อง โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดนร่วมแม่สอด - เมียวดี
1.2 ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้านในอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น แผนปฏิบัติการนำร่อง โครงการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทย ย้ายหรือขยายการลงทุนอุตสาหกรรมสิ่งทอ และเสื้อผ้าไปขยายการลงทุนในกัมพูชา
1.3 ยุทธศาสตร์ที่ 3 ความมั่นคงทางอาหารที่ผลิตในประเทศหนึ่งและนำไปแปรรูป จำหน่ายอีกประเทศหนึ่ง (ข้าว มันสําปะหลัง ข้าวโพด อ้อย ปศุสัตว์ ไก่ หมู) แผนปฏิบัติการนำร่อง โครงการความร่วมมือ สร้างความมั่นคงและความปลอดภัยด้านอาหารร่วมกัน เพื่อให้กลุ่มประเทศประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นผู้ผลิตอาหารหลักเลี้ยงทวีปเอเชีย กรณีตัวอย่าง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
1.4 ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการท่องเที่ยว การบริการในประเทศเพื่อนบ้าน โดยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยไปลงทุนด้านโรงแรม โรงพยาบาล แผนปฏิบัติการนำร่อง โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวในภูมิภาค 3 เส้นทางประกอบด้วย (1) เส้นทางเชื่อมมรดกโลก: โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวในภูมิภาค เส้นทางเชื่อมมรดกโลก-สุโขทัย-หลวงพระบาง-พุกาม-เสียมราฐ (2) เส้นทางสามเหลี่ยมมรกต: โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวในภูมิภาค เส้นทางสามเหลี่ยมมรกต ไทย-ลาว-กัมพูชา (3) เส้นทาง 5 เชียง: โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวในภูมิภาค เส้นทาง 5 เชียง (เชียงตุง เชียงรุ้ง เชียงใหม่ เชียงราย เชียงของ)
1.5 ยุทธศาสตร์ที่ 5 TETRO (JETRO OF THAILAND) เพื่อเป็นพี่เลี้ยงให้กับนักลงทุนไทยไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน แผนปฏิบัติการนำร่อง ศึกษาโครงสร้างและการบริหารงานของ JETRO เพื่อจัดตั้ง TETRO
2. ประเด็นพิจารณาที่สำคัญ
2.1 การอำนวยความสะดวกทางการค้าไทย-เมียนมาร์ (1) การพัฒนาช่องทางเข้า-ออกสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมาร์ (แม่สอด-เมียวดี) แห่งที่1 เพื่อแก้ไขปัญหาความคับคั่งและแออัดของการขนถ่ายสินค้าบริเวณสะพานฯ แห่งที่ 1 โดยการซ่อมสะพานดังกล่าวมอบให้กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม (คค.) ซึ่งได้รับจัดสรรงบประมาณการซ่อมสะพานดังกล่าว เร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จตามกำหนดสัญญาในเดือนเมษายน พ.ศ. 2557 และให้เทศบาลนครแม่สอดพิจารณาลงทุนจัดสร้างสถานที่ขนถ่ายสินค้าบริเวณถนนที่จะเข้าสู่สะพานฯ แห่งที่ 1
(2) การเร่งก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมาร์ แห่งที่2 กระทรวงคมนาคมรายงานว่าดำเนินการศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจและวิศวกรรมแล้ว โดยมีงบประมาณดำเนินการอยู่ในแผนปี พ.ศ. 2556-2558 มอบให้กระทรวงคมนาคมและกระทรวงการต่างประเทศดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการเชื่อมโยงการขนส่งทางถนนต่อไปถึงเมืองกอกะเร็กของเมียนมาร์อย่างเป็นระบบและครบวงจร
(3) การขยายสนามบินแม่สอด มอบให้กรมการบินพลเรือนเร่ง คค. พิจารณาดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2558 เพื่อรองรับการเติบโตด้านการขนส่งและการท่องเที่ยว
2.2 การพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดนแม่สอด-เมียวดี สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ยกร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ.
. นำเสนอการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีต่อไป ซึ่งสาระสำคัญของร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฉบับนี้กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นเลขานุการคณะฯ ในการจัดทำแผนแม่บทและการกำหนดพื้นที่ที่เหมาะสมจะเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษทั้งส่วนกลางและภูมิภาค รวมทั้ง การพัฒนาระบบการให้บริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จที่สอดคล้องกับระบบ ASEAN Single Window คาดว่าเมื่อประกาศใช้ระเบียบสำนักนายกฉบับ ฯ ดังกล่าวในเร็วๆ นี้ จะสร้างความกระจ่างในการดำเนินการเขตเศรษฐกิจแม่สอด-เมียวดี ที่ล่าช้ามานาน โดยมอบให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเร่งการพิจารณาร่างระเบียบสำนักนายกดังกล่าว
2.3 การส่งเสริมสนับสนุนให้นักลงทุนไทยย้ายฐานการผลิตอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อใช้ประโยชน์จากสิทธิพิเศษทางการค้า โดยจะสนับสนุนนักลงทุนไทยในอุตสาหกรรม สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม รองเท้า ฯลฯ ย้ายฐานการผลิตไปกัมพูชา ทั้งนี้ภาครัฐจะจัดคณะนำนักลงทุนไทยไปสำรวจพื้นที่และเจรจาขอการสนับสนุนจากกัมพูชาในนิคมอุตสาหกรรมโอเนียง และนิคมอุตสาหกรรมศรีโสภณ ระหว่างวันที่ 21-23 มกราคม 2556
2.4 การสนับสนุนการลงทุนด้านแหล่งกระจายสินค้าระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีโครงการนำร่องในการจัดตั้ง Container Yard ณ ท่านาแล้ง สปป.ลาว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในโครงการก่อสร้างทางรถไฟท่านาแล้ง-เวียงจันทน์ สปป.ลาว ของสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (สพพ.) กระทรวงการคลัง เมื่อปี พ.ศ. 2553 โดยมอบให้ สพพ. กระทรวงการคลังเร่งรัดโครงการดังกล่าวให้แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2555
2.5 การดำเนินงานตามความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง Cross Border Transport Agreement (GMS /CBTA) เพื่อส่งเสริมและอำนวยความสะดวกการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าทั้งข้ามแดนและผ่านแดน ซึ่งขณะนี้ทุกประเทศได้ให้สัตยาบันต่อภาคผนวกและพิธีสารครบทั้ง 20 ฉบับ คงเหลือไทยและเมียนมาร์ที่ลงนามยังไม่สมบูรณ์ จึงให้เร่งรัดกระทรวงคมนาคมและกรมศุลกากรกระทรวงการคลังผลักดันการออกกฎหมายที่ค้างอยู่ทั้ง 5 ฉบับ (ร่าง พ.ร.บ.อำนวยความสะดวกในการขนส่งข้ามพรมแดน พ.ศ.
. รอเสนอวุฒิ ร่าง พ.ร.บ.การรับขนของทางถนนระหว่างประเทศ พ.ศ.
. รอเสนอวุฒิสภา ร่าง พ.ร.บ.การรับขนคนโดยสารและสัมภาระทางถนนระหว่างประเทศ พ.ศ.
.อยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของ สคก. ร่าง พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่..)พ.ศ.
. (ในเรื่องเกี่ยวกับข้อบทว่าด้วยการผ่านแดน) อยู่ระหว่างการพิจารณาของ สคก. ร่าง พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่..) พ.ศ.
. ว่าด้วยการอนุตามความตกลง CBTA) อยู่ในระหว่างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร และให้สัตยาบันภาคผนวกและพิธีสารที่เหลือภายใต้ความตกลงฯ ภายในปี พ.ศ. 2556
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47548
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 07/01/2013 1:21 pm Post subject:
"แนวเวนคืนทั่วไทย" ลุยเมกะโปรเจ็กต์ รถไฟฟ้า-ไฮสปีดเทรน-มอเตอร์เวย์
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 07 ม.ค. 2556 เวลา 11:14:28 น.
ผล พวงจากปี 2556 ที่รัฐบาลจะโหมโรงลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ ทั้งรถไฟฟ้า ทางด่วน มอเตอร์เวย์ ทางคู่ รถไฟความเร็วสูง ทำให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในสังกัดกระทรวงคมนาคม ต้องเร่งออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินส่งมอบพื้นที่ให้ผู้รับเหมา เพื่อให้งานเสร็จตามแผนงานรัฐบาลที่วางเป้าไว้
จุดไฮไลต์แนวเวนคืนที่กระทบคนในพื้นที่มีหลายโครงการ กระจายครอบคลุมทั้งพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล หัวเมืองใหญ่
สายสีเขียวจอง ถ.พหลโยธิน
เริ่ม จากรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วง "หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต" ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ต้องเร่งออก พ.ร.ฎ.เวนคืนก่อนประมูลก่อสร้างภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้
ตามแนวเส้น ทางแม้จะสร้างบนเกาะกลางถนนพหลโยธินเป็นหลัก แต่มีสิ่งกีดขวางที่ต้องรื้อและสร้างใหม่ทดแทน ล่าสุด "รฟม." หารือกับ "กทม." รื้อสะพานข้ามแยก 3 แห่งคือ รัชโยธิน-เสนา-เกษตรศาสตร์ เพื่อไม่ให้โครงสร้างสะพานทับซ้อนกับรถไฟฟ้า โดย "แยกรัชโยธิน" ทุบสะพานทิ้งแล้วสร้างอุโมงค์
ส่วน "แยกเสนา-เกษตรศาสตร์" จะลดความยาวของสะพาน จะเวนคืนจุดที่ตั้งสถานีสร้างทางขึ้น-ลง ตลอดเส้นทาง จากจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสที่หมอชิต วิ่งตามแนวถนนพหลโยธิน ข้ามทางยกระดับดอนเมืองโทลล์เวย์บริเวณห้าแยกลาดพร้าว ผ่านแยกรัชโยธิน แยก ม.เกษตรศาสตร์ ถึงพหลโยธินซอย 66 แล้วเบี่ยงซ้ายถึงอนุสาวรีย์หลักสี่ สิ้นสุดที่สะพานใหม่ เลี้ยวขวาสุดเขตกองทัพอากาศ เข้าถนนลำลูกกาถึงคูคตบริเวณคลอง 2 ปลายทางจะเวนคืนใหญ่เพื่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง (ดีโป) หลายร้อยไร่
สีชมพูเวนคืนแยกแคราย-มีนบุรี
สาย สีชมพู "แคราย-มีนบุรี" 34.5 กิโลเมตร หลัง รฟม.ทบทวนแบบและขยับที่ตั้งสถานี และเพิ่มใหม่อีก 6 สถานี จะเวนคืนจุดที่ตั้งสถานี 30 แห่ง ตั้งแต่ต้นทางเชื่อมต่อกับแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) หน้าศูนย์ราชการนนทบุรี เลี้ยวซ้ายแยกแครายเข้าติวานนท์
เลี้ยวขวา แยกปากเกร็ด เข้าแจ้งวัฒนะ แยกหลักสี่ วงเวียนอนุสาวรีย์หลักสี่ เข้ารามอินทรา ถึงแยกมีนบุรีตรงไปตามถนนสีหบุรานุกิจ สิ้นสุดที่ทางแยกร่มเกล้า จะเวนคืนพื้นที่ 147 ไร่ รื้อสิ่งปลูกสร้าง 259 หลัง ค่าชดเชย 4,458 ล้านบาท
สายสีส้มรื้อแนวใหม่
ขณะ ที่สายสีส้ม (ตลิ่งชัน-มีนบุรี) รื้อแนวใหม่เข้าถนนพระรามที่ 9 พร้อมปรับลดระยะทางช่วงแรกลง 4 กม.บริเวณ "ตลิ่งชัน" ร่นมาอยู่ที่ "บางขุนนนท์" ทำให้ระยะทางหดเหลือ 34.5 กม. ปรับแนวตัดเข้าพื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุงของ รฟม. แล้ววกเข้าถนนพระรามที่ 9 หน้าสำนักงาน รฟม. ตรงเข้าถนนรามคำแหง ทั้งเพิ่มสถานีที่ "สุวินทวงศ์" อีก 1 สถานี จากเดิมสิ้นสุดที่ "มีนบุรี"
แนวหลังปรับใหม่ เริ่มต้นที่สถานีบางขุนนนท์ วิ่งไปตามแนวรถไฟสายบางกอกน้อย ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณเชิงสะพานพระปิ่นเกล้า ผ่านใต้ถนนราชดำเนิน เบี่ยงเข้าถนนหลานหลวง ยมราช เข้าถนนเพชรบุรี เลี้ยวเข้าถนนราชปรารภถึงดินแดง
เลี้ยวไปตามถนนวิภาวดีรังสิต ผ่านศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 (ดินแดง) เลี้ยวขวาเชื่อมรถไฟฟ้าใต้ดินที่สถานีศูนย์
วัฒนธรรมฯ แล้วเบี่ยงเข้าถนนพระรามที่ 9 ผ่านถนนประดิษฐ์มนูธรรม เลี้ยวซ้ายเข้าถนนรามคำแหง ผ่านแยกลำสาลี ถนนกาญจนาภิเษก สิ้นสุดที่จุดตัดกับถนนสุวินทวงศ์บริเวณมีนบุรี
รูปแบบก่อสร้างเป็น โครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน 26.2 กม. จาก "สถานีบางขุนนนท์-สถานีคลองบ้านม้า" โครงสร้างจะยกระดับถึงปลายทางที่ "สถานีสุวินทวงศ์" 9.2 กม. จุดเวนคืนหลักในแนวเส้นทาง เป็นจุดที่ตั้งสถานีและจุดใหญ่อยู่ช่วงถนนประชาสงเคราะห์
ร.ฟ.ท.เร่งเคลียร์ผู้บุกรุกทั่ว ปท.
"การ รถไฟแห่งประเทศไทย" (ร.ฟ.ท.) เร่งเคลียร์ผู้บุกรุกแนวเขตทางรถไฟทั่วประเทศ 23,379 รายเปิดเส้นทางสร้างรถไฟทางคู่ รถไฟฟ้าสายสีแดง และรถไฟความเร็วสูงปีนี้ รวมทั้งแผนเจาะอุโมงค์ช่วง "อุตรดิตถ์-เด่นชัย" ในแนวรถไฟความเร็วสูงสายเหนือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ 745 กิโลเมตร, เวนคืนช่วงมาบกะเบาในแนวรถไฟความเร็วสูงสายอีสาน กรุงเทพฯ-หนองคาย ปรับแนวเส้นทางช่วง จ.พระนครศรีอยุธยาและลพบุรีที่จีนศึกษาให้ก่อนหน้านี้
มอเตอร์เวย์เปิดพื้นที่ใหม่
ของ "กรมทางหลวง-ทล." เร่งออก พ.ร.ฎ.เวนคืนมอเตอร์เวย์ใหม่ 2 สาย คือ "สายบางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา" 196 กม. แนวเวนคืนที่ดินอยู่ระหว่าง 400-2,500 เมตร เริ่มที่จุดเชื่อมต่อบางปะอินกับวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก ข้างแนวรั้วมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ผ่านโฮมโปร ผ่านหินกอง เบนไปทางทิศตะวันออกตัดทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ซ้อนทับและใช้เขตทางร่วมกับทางเลี่ยงเมืองสระบุรีด้านตะวันออก
ด้าน ใต้ขนานกับแนวทางหลวงหมายเลข 2 ตัดผ่านทางหลวงหมายเลข 3222 (แก่งคอย-บ้านนา) ผ่านบ้านโคกกรุง ด้านเหนือของวิทยาลัยเกษตรสงเคราะห์สระบุรี เข้าเขตพื้นที่นิคมสร้างตนเองทับกวาง แล้วเข้าเขตพื้นที่ อ.มวกเหล็ก จากนั้นตัดผ่านทางหลวงหมายเลข 2222 ทางเข้าวัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม ตรงไปยัง จ.นครราชสีมาบริเวณบ้านหนองน้ำแดง ผ่านพื้นที่ทหาร ซ้อนทับกับถนนมิตรภาพช่วงเลียบเขื่อนลำตะคอง ตัดข้ามถนนมิตรภาพ บริเวณบ้านคลองไผ่มาสิ้นสุดที่วงแหวนรอบเมืองนครราชสีมา
ตัดผ่าน 3 จังหวัด 12 อำเภอ คือ 1) จ.พระนครศรีอยุธยา ที่ อ.บางปะอิน วังน้อย อุทัย 2) จ.สระบุรี ที่ อ.หนองแค เมืองสระบุรี แก่งคอย มวกเหล็ก 3) จ.นครราชสีมา ที่ อ.ปากช่อง สีคิ้ว สูงเนิน ขามทะเลสอ เมืองนครราชสีมา เวนคืนที่ดิน 2,187 แปลง สิ่งปลูกสร้าง 370 ราย ต้นไม้ยืนต้น 98 ราย ค่าชดเชยกว่า 5,302 ล้านบาท พื้นที่เวนคืนมีทั้งที่ดินเอกชนและส่วนราชการ ที่ราชพัสดุ ทหาร ที่ดิน ส.ป.ก. ส่วนของชาวบ้านจะมีทั้งที่ดินมรดกและ น.ส.3 และกลุ่มนายทุนจากกรุงเทพฯย่านปากช่อง
สาย "บางใหญ่-กาญจนบุรี" 98 กม. จะพาดผ่านพื้นที่ 27 ตำบล 7 อำเภอ ใน 4 จังหวัดคือ นนทบุรี นครปฐม ราชบุรี และกาญจนบุรี มีผู้ถูกเวนคืน 3,727 ราย เนื้อที่ 6,808.5 ไร่
แนว เส้นทางเริ่มต้นบริเวณต่างระดับบางใหญ่ เชื่อมกับถนนวงแหวนรอบนอก ตัดผ่านที่ดิน อ.พุทธมณฑล นครชัยศรี เมืองนครปฐม บ้านโป่ง ท่ามะกา และไปบรรจบทางหลวงหมายเลข 324 (ถนนกาญจนบุรี-อู่ทอง) บริเวณ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี
กทพ.เวนคืนผุดด่วนสายเหนือ
ขณะที่การทาง พิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) วางแผนปี 2556 จะออก พ.ร.ฎ.เวนคืนสร้างทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ (N1, N2, N3) กว่า 40 กม. เงินเวนคืนกว่า 4 หมื่นล้านบาท แนวเส้นทางเริ่มต้นจากแยกบางใหญ่เชื่อมถนนวงแหวนตะวันตก วิ่งบนถนนรัตนาธิเบศร์ ผ่านแยกเกษตร ซ้อนทับไปกับถนนเกษตร-นวมินทร์ ผ่านถนนเสรีไทย รามคำแหง สิ้นสุดที่ศรีนครินทร์ เชื่อมกับทางด่วนขั้นที่ 2 ส่วนดีในแนวถนนมอเตอร์เวย์สายใหม่ กรุงเทพฯ-ชลบุรี
จุดหลัก ๆ เวนคืนบริเวณสร้างแยกต่างระดับ มีแยกบางใหญ่ ราชพฤกษ์ เลี่ยงเมืองนนทบุรี ทางด่วนขั้นที่ 2 บริเวณงามวงศ์วาน ทางเชื่อมโทลล์เวย์ที่ ถ.วิภาวดี แยกเกษตรศาสตร์ ลาดปลาเค้า ทางด่วนรามอินทรา-อาจณรงค์ แยกนวลจันทร์ แยกเสรีไทย รามคำแหง และศรีกรีฑา ช่วงแรกจากบางใหญ่-เกษตรศาสตร์ เวนคืน 778 หลัง ที่ดิน 1,771 แปลง เนื้อที่ 525 ไร่เศษ
กรมทางหลวงชนบท (ทช.) เวนคืนที่ดินตัดถนนใหม่ตามผังเมืองรวมเพื่อแก้ปัญหาจราจรในปริมณฑลและ ภูมิภาค 15 สายทาง โดยในปี 2556 มีงบฯเวนคืนที่ดิน 3,390 ล้านบาท
กทม.เวนคืนถนนกว่า 100 สาย
สำหรับ พื้นที่ กทม. มีโครงการรอเวนคืนที่ดินกว่า 100 สายทาง กระจายทั้ง 50 เขต เชื่อมการเดินทางของเมืองและรอบนอก เช่น ถนนวงแหวนรอบนอก-พุทธมณฑลสาย 2, สายรัตนโกสินทร์สมโภช-นิมิตรใหม่, ขยายถนนอ่อนนุชบริเวณสะพานหนองปรือ, ถนนต่อเชื่อมพหลโยธิน 62-วิภาวดี (ด้านข้างเจ้เล้ง) ถนนพุทธมณฑลสาย 1, โครงการแก้จราจรโดยรอบโรงพยาบาลศิริราช, สร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 4 แห่ง, โครงการต่อเชื่อมถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ กับถนนกรุงเทพฯ-ชลบุรีและถนนกรุงเทพกรีฑา เป็นต้น ทุกสายทางถูกบรรจุในแผนผังเมืองรวมฉบับใหม่ที่จะบังคับใช้เดือนพฤษภาคม 2556 นี้
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44113
Location: NECTEC
Posted: 11/01/2013 12:37 pm Post subject:
เล็งใช้ฟีดเดอร์บีอาร์ที,โมโนเรล เชื่อมเดินทางโซนปทุมฯป้อนสีแดง-สีเขียว
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 10 มกราคม 2556 20:43 น.
คมนาคมวางแผนโครงข่ายระบบฟีดเดอร์ เล็งใช้รถบีอาร์ที โมโนเรล และบัสเลน ป้อนผู้โดยสารให้รถไฟฟ้าสายสีแดง(บางซื่อ-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) และสีเขียว(หมอชิต-คูคต) มอบสนข.ศึกษาใน 9 เดือน
พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงการศึกษาระบบขนส่งมวลชนเชื่อมโครงข่ายรถไฟชานเมืองสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต และรถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีว่า ได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาออกแบบระบบขนส่งที่เหมาะสมในการเชื่อมต่อเข้ากับรถไฟฟ้าทั้ง2 สาย ให้แล้วเสร็จภายใน 9 เดือน โดยเบื้องต้นมี 3 รูปแบบ คือ
รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ หรือ บีอาร์ที ,
รถไฟฟ้ามวลเบา (โมโนเรล)และ
จัดทำเป็นช่องทางพิเศษเฉพาะรถโดยสารประจำทาง(บัสเลน)
โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการเดินทางเข้าสู่ระบบรถไฟฟ้า 2 สายมากที่สุด ซึ่งจะช่วยให้รถไฟฟ้ามีผู้โดยสารมากขึ้น
ทั้งนี้ ปัญหาคือถนนที่เป็นเส้นทางเกี่ยวข้องมีพื้นที่ค่อนข้างจำกัดอาจต้องก่อสร้างเป็นทางยกระดับ โดยต้องศึกษาปริมาณผู้โดยสารเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย เช่น รถบีอาร์ทีควรมีไม่น้อยกว่า 5,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง ส่วนโมโนเรลไม่น้อยกว่า 10,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง เป็นต้น ส่วนการจัดการเดินทางนั้นตามหลักท้องถิ่นจะเป็นผู้ดำเนินการ แต่ในเรื่องฟีดเดอร์ของรถไฟฟ้านั้นกระทรวงคมนาคมจะเป็นผู้รับผิดชอบโดยจะบูรณาการกับหน่วยงานเจ้าของพื้นที่เช่นกรมทางหลวง (ทล.) รวมถึงกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ในฐานะหน่วยกำกับดูแลรถสาธารณะ
\สำหรับการศึกษาเบื้องต้นพบว่า มีความเหมาะสมในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน 7 เส้นทาง คือ
1. สถานีธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต -หออัครศิลปิน เป็นแนวเส้นทางตามแนวทางหลวงหมายเลข 3214
2. เส้นทางที่ 2 ถนนคลองหลวง-ถ.รังสิต-นครนายก เป็นแนวเส้นทางตามแนวถนนเลียบคลองสองและถนนเลียบคลองสาม ช่วงระหว่างทางหลวงหมายเลข3214
3. เส้นทางที่ 3 สถานีรังสิต-ปทุมธานี เป็นแนวเส้นทางตามแนวทางหลวงหมายเลข 346
4. เส้นทางที่ 4 สถานีรังสิต-ธัญบุรี เป็นแนวเส้นทางตามแนวทางหลวงหมายเลข 346
5. เส้นทางที่ 5 ถ.ลำลูกกา-ถ.รังสิต นครนายก เป็นแนวเส้นทางตามแนวทางหลวงชนบทหมายเลข ปท.3005
6. เส้นทางที่ 6 สถานีกม.25 -ถ.ลำลูกกา เป็นแนวเส้นทางตามแนวทางหลวงหมายเลข 3312 และ7. เส้นทางที่ 7 สถานีคูคต-วงแหวนรอบนอก เป็นแนวเส้นทางตามแนวทางหลวงหมายเลข 3312
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47548
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 14/01/2013 4:31 pm Post subject:
ลงทุนทะลักต่างจังหวัด! ธุรกิจเร่งปักธงแย่งกำลังซื้อ หัวเมืองวิกฤต"สาธารณูปโภค"
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 13 ม.ค. 2556 เวลา 12:17:44 น.
เศรษฐกิจ ต่างจังหวัดบูมจัด นักธุรกิจท้องถิ่น-ส่วนกลาง-ต่างชาติแห่ลงทุนทะลักหัวเมืองหลัก-หัวเมืองรอง อสังหาฯ ห้างสรรพสินค้า ค้าปลีก แบงก์ปักธงชิงเค้ก รับกำลังซื้อโต โฟกัสเมืองท่องเที่ยว แหล่งค้าชายแดน สมรภูมิตลาดแข่งเดือด สารพัดปัญหารุม เหตุจากสาธารณูปโภครองรับไม่ทัน "เชียงใหม่ โคราช ภูเก็ต ชลบุรี พัทยา" จราจรติดขัดหนัก คมนาคมกางโรดแมป ลงทุน "ถนน-รถไฟฟ้า-โมโนเรล-มอเตอร์เวย์" กู้วิกฤต
แม้ส่วนกลางโดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล รวมทั้งแหล่งอุตสาหกรรมในภาคกลางและภาคตะวันออกจะยังเป็นแหล่งรวมของธุรกิจ และการลงทุน แต่การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของหัวเมืองหลักและหัวเมืองรองช่วงหลายปีที่ ผ่านมา ส่งผลทำให้เศรษฐกิจโดยรวมในทุกภูมิภาคเติบโตมากขึ้นตามไปด้วย ภาพความเคลื่อนไหวชัดเจนคือการขยายฐานไปลงทุนในต่างจังหวัดของธุรกิจหลาก หลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทั้งที่อยู่อาศัย โรงแรม รีสอร์ต ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ห้างค้าปลีก รถยนต์ ตลอดจนการขยายสาขาของธนาคารพาณิชย์หลายแห่ง
อย่างไรก็ตามท่ามกลาง ความคึกคักด้านการค้าการลงทุนในทุกภูมิภาคทั่วประเทศของนักธุรกิจท้องถิ่น ทุนส่วนกลาง รวมทั้งนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมและการขยายตัวในแง่การพัฒนามีเพิ่มขึ้น ทำให้หลายพื้นที่เริ่มมีปัญหาหลายด้านตามมา ทั้งความแออัดหนาแน่น ปัญหาการจราจรติดขัด ขยะ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ เนื่องจากการสาธารณูปโภคสาธารณูปการไม่สามารถรองรับการเติบโตได้ทัน ส่งผลให้หัวเมืองหลัก อาทิ เชียงใหม่ ภูเก็ต นครราชสีมา ชลบุรี พัทยา ฯลฯ มีปัญหาไม่แพ้ กทม.
ธปท.ชี้ ตจว.ลงทุนพุ่ง
รายงานข่าว จากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2555 แรงส่งสำคัญมาจากการขยายตัวจากการบริโภคและการลงทุนในภูมิภาค ข้อมูล ณ เดือน พ.ย. 2555 ชี้ว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การบริโภคมีการขยายตัว 5.8% เทียบกับเดือน ก.ย. และ ต.ค. 2555 ซึ่งขยายตัว 3.4% และ 3.1% ตามลำดับ ส่วนภาคการค้าที่ขยายตัวสูงถึง 32.8% โดยเฉพาะหมวดยานยนต์สูงเป็นประวัติการณ์จากอานิสงส์มาตรการรถคันแรก ขณะที่หมวดค้าปลีกก็ขยายตัวดีตามการบริโภค หมวดวัสดุก่อสร้างขยายตัวตามการลงทุนที่ยังคงขยายตัวดีที่ 14.4% จาก 13.4% และ 14.2% ในเดือน ก.ย. และ ต.ค. 2555 ตามลำดับ นอกจากนี้พบว่าการขยายตัวหลัก ๆ อยู่ในการลงทุนก่อสร้างที่อยู่อาศัยทั้งแนวสูงและแนวราบรอบเขตเทศบาล ตลอดจนการลงทุนโรงงานอุตสาหกรรม และลงทุนใหม่ เช่น โรงผลิตและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าและผลิตไอน้ำใน จ.กาฬสินธุ์ มูลค่าลงทุน 3,264.8 ล้านบาท เป็นต้น
ส่วนภาคเหนือ ข้อมูล ณ เดือน ต.ค. 2555 การบริโภคในเดือน ต.ค.ขยายตัวถึง 14.7% เทียบกับ 12.1% และ 8.9% ในเดือน ส.ค. และ ก.ย. ขณะที่การลงทุนขยายตัวในระดับสูงเช่นกันที่ 15.8% จากเดือน ส.ค.ขยายตัว 13.5% และ ก.ย. 12.5% ภาคใต้ การอุปโภคบริโภคขยายตัวที่ 1.5% เทียบกับ 1.2% และ 1.9% ในเดือน ส.ค. และ ก.ย.
เซ็นทรัล-เดอะมอลล์ เคลื่อนทัพ
การ ขยายตัวของตลาดต่างจังหวัดและกำลังซื้อที่เพิ่มของลูกค้า ต่างเป็นแรงดูดสำคัญทำให้กลุ่มทุนค้าปลีกในส่วนกลางมองเห็นช่องโอกาสสำหรับ การเข้าไปลงทุนทางธุรกิจ ทั้ง "เซ็นทรัล-เดอะมอลล์" ที่เตรียมเปิดศึกค้าปลีกรอบใหม่ ย้ายสมรภูมิตามหัวเมืองหลักและเมืองท่องเที่ยวสำคัญ รองรับความต้องการของตลาดค้าปลีกและนักท่องเที่ยว
นายทศ จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า บริษัทเตรียมที่จะลงทุนโครงการใหม่ในจังหวัดภูเก็ต บนพื้นที่ 100 ไร่ ตรงข้ามเซ็นทรัล เฟสติวัล ภูเก็ต เป็นโครงการขนาดใหญ่เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าและกำลังซื้อใน ตลาดที่ขยายตัวต่อเนื่อง ซึ่งการลงทุนดังกล่าวจะสร้างความแตกต่าง และนำเสนอสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้าในทุก ๆ ด้าน
ส่วนกลุ่มเด อะมอลล์ได้จดทะเบียนก่อตั้งบริษัท ภูเก็ต พาร์ค ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ผุดศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้า นอกจากนี้เซ็นทรัลพัฒนามีแผนที่เปิดศูนย์การค้าเพิ่มอีก 20 สาขาในปี 2558 และครบ 50 สาขาครอบคลุมทั้งในประเทศ ต่างประเทศ ภายในปี 2564 จากปัจจุบัน 20 สาขา
ขณะที่กลุ่มทุนซูเปอร์มาร์เก็ตต่างเตรียมที่จะเข้าไปเปิด เพื่อเป็นทางเลือกให้ลูกค้าเช่นเดียวกัน นายสมศักดิ์ ตีระพัฒนกุล ประธานบริษัท ฟู้ดแลนด์ ซูเปอร์มาร์เก็ต จำกัด กล่าวว่า บริษัทมีแผนลงทุนขยายสาขา
ต่อเนื่อง ทั้งลงทุนเองและเริ่มทดลองขายแฟรนไชส์ ซึ่งมีผู้สนใจต้องการเปิดสาขาทั้งใน กทม. และต่างจังหวัด และเตรียมพัฒนารูปแบบร้านที่มีขนาดเล็ก หรือ 500 ตร.ม.
แบงก์พาณิชย์ปรับแผนรับทัพ
เช่น เดียวกับกลุ่มธนาคารพาณิชย์ที่พาเหรดบุกขยายสาขาและบริการต่างจังหวัด รับการขยายตัวเศรษฐกิจภูมิภาค ก่อนหน้านี้ นายศิริเดช เอื้องอุดมสิน ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า ขณะนี้เกิดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคมในพื้นที่ต่างจังหวัดอย่างมาก โดยเฉพาะในหัวเมืองใหญ่ใกล้ชายแดนแต่ละภาคเพื่อรองรับเออีซี ไม่ว่าจะเป็นขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หาดใหญ่ ในภาคใต้ เป็นต้น
ลุยบริการทางการเงินครบวงจร
นอกจาก นี้ธนาคารได้ปรับการทำงานภายในเพื่อรองรับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพราะความต้องการของลูกค้าในต่างจังหวัดไม่ได้ใช้เพียงสินเชื่อและเงินฝาก อีกต่อไป แต่ต้องการบริการทางการเงินที่หลากหลายมากขึ้น โดยสาขายังคงเป็นช่องทางสำคัญในการดูแลลูกค้าในพื้นที่ต่างจังหวัด ดังนั้นกลยุทธ์ของธนาคารจึงอยู่ในรูปแบบการเปิดสาขาใหม่เพื่อรองรับความต้อง การ โดยเพิ่มสาขาใหม่ 30-40 สาขาต่อปี จะให้ความสำคัญกับพื้นที่ต่างจังหวัดมากขึ้น โดยเฉพาะรอบ ๆ เมือง ทำให้สินเชื่อที่มาจากต่างจังหวัดจะมีสัดส่วนสูงขึ้น จากปัจจุบันสินเชื่อใน กทม.กับต่างจังหวัดมีสัดส่วนที่ 60 ต่อ 40
ขณะที่ธนาคารกสิกรไทย วางยุทธศาสตร์ขยายฐานธุรกิจสู่ต่างจังหวัดมากขึ้นเช่นกัน โดยนายกฤษฎา ล่ำซำ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย ระบุว่าปีนี้ตลาดต่างจังหวัดจะเป็นเรื่องใหญ่ของเครือกสิกรไทย และเป็นประเด็นใหญ่สำหรับการรับมือการค้าและการลงทุนเสรีภายใต้เออีซีในปี 2558 เห็นชัดเจนว่าปัจจุบันตลาดต่างจังหวัดมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงมาก ในลักษณะการกระจายตัวของชุมชนเมืองไปทั่วประเทศ ขณะที่เศรษฐกิจในกรุงเทพฯเริ่มส่งสัญญาณเข้าสู่ภาวะอิ่มตัว
สิ่งที่ กสิกรไทยดำเนินการคือ ดึงทุกยูนิตของธนาคารรุกต่างจังหวัด กำหนดเป็นจังหวัดยุทธศาสตร์ในการบุกเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาด โดยจะขยายบริการทางการเงินทุกรูปแบบให้ครอบคลุมทุกกลุ่มลูกค้า เพื่อให้เป็นธนาคารหลักของลูกค้าทุกกลุ่มทั้งรายย่อยและลูกค้าธุรกิจ
อสังหาฯแชร์เค้ก 3 แสนล้าน
สำหรับ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีความเคลื่อนไหวการลงทุนในต่างจังหวัดชัดเจนมากขึ้น ตั้งแต่ปี 2555 ที่ผ่านมา โดยปีนี้พบว่าในช่วง 2 สัปดาห์แรก มีผู้ประกอบการที่ประกาศแผนลงทุนแล้ว 3 ราย ได้แก่ บมจ.พฤกษา เรียลเอสเตท บมจ.แสนสิริ และ บมจ.แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ มีโครงการในต่างจังหวัดรวมกัน 25-26 โครงการ รวมมูลค่าไม่ต่ำกว่า 2.65 หมื่นล้านบาท กระจายในภาคตะวันออก เหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ และใต้ รายละเอียด เช่น ค่ายพฤกษาฯ 9 โครงการ รวมมูลค่า 6.3 พันล้านบาท ใน 3 จังหวัดคือภูเก็ต เมืองพัทยา ขอนแก่น และกำลังดูเชียงใหม่ ระยอง ค่ายแสนสิริ 12-13 โครงการ 1.7-1.8 หมื่นล้านบาท ในหัวหิน ภูเก็ต เขาใหญ่ เชียงใหม่ พัทยา ขอนแก่น ระยอง อุดรธานี นครราชสีมา มหาสารคาม ศรีราชา บางแสน และหาดใหญ่ ส่วนค่าย แอล.พี.เอ็นฯมี 4 โครงการ ได้แก่ ชลบุรี จอมเทียน ชะอำ และขอนแก่น
นอกจากนี้มีบริษัทที่ยังไม่ประกาศแผนเป็น ทางการ อาทิ บมจ.ศุภาลัย ไม่ต่ำกว่า 10 โครงการ ในสงขลา ภูเก็ต ขอนแก่น อุดรธานี เชียงใหม่ สุราษฎร์ธานี ชลบุรี ฯลฯ รวมมูลค่า 8 พัน-1 หมื่นล้านบาท บมจ.เอสซี แอสเสทฯ 2 โครงการ ในพัทยา ชะอำ รวมมูลค่า 3.8 พันล้านบาท บมจ.พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค 2 โครงการ ในหัวหิน เชียงใหม่ รวมมูลค่า 2-3 พันล้านบาท ฯลฯ
เอกชนจี้รัฐจัดระบบบริหารจัดการ
อย่าง ไรก็ตามการบูมด้านการพัฒนาในต่างจังหวัดส่งผลให้เกิดปัญหาหลายด้านตามมา โดยเฉพาะปัญหาจราจรที่วิกฤตรุนแรง ถึงขั้นที่ภาคเอกชนหลายจังหวัดออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องให้ภาครัฐเร่งแก้ไข
น.พ.ศิริชัย ศิลปอาชา ประธานหอการค้า จ.ภูเก็ต กล่าวว่า ภูเก็ตเติบโตแบบก้าวกระโดด มีการลงทุนอย่างต่อเนื่องทั้งจากผู้ประกอบการท้องถิ่น ส่วนกลาง และต่างชาติ โดยเฉพาะการลงทุนภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและโรงแรม ขณะที่นักท่องเที่ยวมีเพิ่มขึ้นทุกปี มีประชากรหมุนเวียนในภูเก็ตวันละ 1 ล้านคน ส่งผลให้เกิดปัญหาการจัดการความสมดุลของการลงทุน โดยเฉพาะระบบขนส่งมวลชนยังไม่ได้มาตรฐานเนื่องจากระบบเดิมทั้งรถตู้ แท็กซี่ ไม่สามารถขนคนจำนวนมากได้ "การเติบโตด้านการลงทุนของภูเก็ตไม่น่าห่วง แต่จะจัดการอย่างไรให้การเติบโตมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว สิ่งที่รัฐบาลต้องทำคือ จัดระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพมากกว่านี้ ล่าสุดจังหวัดทั้งภาครัฐและเอกชนเสนอให้สร้างระบบขนส่งมวลชนลักษณะแอร์พอร์ต ลิงก์วิ่งจากสนามบินไปเส้นทางหลัก และต้องทำให้เร็วที่สุด แต่รัฐบาลต้องช่วยอำนวยความสะดวกเพราะนักลงทุนพร้อมลงเงิน"
สร้างมอเตอร์เวย์เชื่อม
เกี่ยว กับกรณีดังกล่าว นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ยอมรับว่าปัญหารถติดไม่ใช่แค่กรุงเทพฯที่วิกฤต หัวเมืองใหญ่ก็เริ่มมีปัญหา เช่น เชียงใหม่ เชียงราย ภูเก็ต ฯลฯ ซึ่งตนได้มอบนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมไปพิจารณาหาทางแก้ไข ร่วมกับท้องถิ่น
"อย่างเชียงราย ท้องถิ่นเสนอให้สร้างมอเตอร์เวย์สายเชียงใหม่-เชียงราย ระยะทาง 150 กม. ผมสั่งการให้การทางพิเศษฯศึกษาความเป็นไปได้แล้ว และให้การรถไฟฯเร่งสร้างรถไฟสายใหม่ สายเด่นชัย-เชียงของ ระยะทาง 308 กิโลเมตร เงินลงทุน 3 หมื่นล้านบาทด้วย"
ทุ่ม 1.2 หมื่น ล. ผุดโมโนเรลภูเก็ต
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับจังหวัดอื่น ๆ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ศึกษาเป็นแผนแม่บทด้านการจราจรไว้แล้ว โดยภูเก็ตได้ศึกษาบริเวณย่านธุรกิจของเมืองภูเก็ต ได้แก่ ถนนระนอง รัษฎา เยาวราช พังงา กระบี่ ถลาง ภูเก็ต ดีบุก บางกอก และถนนวงเวียนสุรินทร์
จะ ดำเนินการ 2 โครงการ คือ
1.ศึกษาความเป็นไปได้การก่อสร้างรถไฟฟ้าขนาดเบารอบเกาะภูเก็ต และเส้นทางสนามบิน และ
2.ศึกษาการจัดทำแผนแม่บทด้านการจราจรและขนส่งเมืองภูมิภาค จ.ภูเก็ต
รถไฟฟ้า ขนาดเบาเป็นระบบล้อยางแบบระดับดิน มี 3 เส้นทาง คือ
1.สายที่ 1 สำหรับเดินทางระหว่างสนามบินนานาชาติภูเก็ต และห้าแยกฉลอง วงเงิน 7,064 ล้านบาท
2.สายที่ 2 ระหว่างป่าตอง และ อ.เมืองภูเก็ต 2,844 ล้านบาท และ
3.สายที่ 3 ระหว่างสามแยกบางคู และห้าแยกฉลอง 2,908 ล้านบาท รวมเงินลงทุน 12,816 ล้านบาท
ส่วนโครงการอื่น ๆ เช่น ปรับปรุงสี่แยกต่าง ๆ ที่เป็นคอขวด เช่น แยกโรงเรียนสตรีภูเก็ต โครงการก่อสร้างทางด่วนใหม่เป็นทางยกระดับขนาด 4 ช่องจราจร พร้อมอุโมงค์คู่สายกะทู้-ป่าตอง 3 กม.เศษ 6,082 ล้านบาท
ปัจจุบันการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กำลังทบทวนผลการศึกษา จะเริ่มได้ปี 2558 แล้วเสร็จปี 2561
เชียงใหม่ชูรถไฟฟ้าแก้รถติ�ด
ส่วน เชียงใหม่สำรวจพบว่า ช่วงเร่งด่วนเช้าและเย็น ในเขตวงแหวนรอบในสุดปริมาณการจราจรสูงมากกว่า 2,000 คัน/ชั่วโมง/ทิศทาง ถนนสายหลักทุกสายรถติด เช่น ถนนแก้วนวรัฐ เจริญเมือง ห้วยแก้ว สุเทพ ช้างเผือก และเจริญประเทศ จะแก้ปัญหา 3 ระยะ คือ 1.ระยะสั้น 1-3 ปี ปรับปรุงประสิทธิภาพระบบขนส่งสาธารณะเดิมที่มีอยู่ กรอบลงทุน 700-1,000 ล้านบาท 2.ระยะกลางใน 10 ปี พัฒนาระบบขนส่งมวลชนขนาดกลางและขนาดใหญ่ รองรับการเดินทางในเขตเมืองและรอบนอก เช่น รถไฟฟ้าขนาดกลาง ระบบฟีดเดอร์ รถบีอาร์ที เป็นต้น กรอบลงทุน 14,000 ล้านบาท
3.ระยะยาว 10 ปีขึ้นไป จะพัฒนาระบบขนส่งมวลชนเต็มรูปแบบครอบคลุมเขตเมืองและรอบนอก เช่น รถไฟฟ้าขนาดเบา กรอบเงินลงทุน 17,000 ล้านบาท
สำหรับ ระบบขนส่งมวลชน อาทิ เส้นทางแนวเหนือ-ใต้ เชื่อมศูนย์ราชการไปสายโชตนาและเชียงใหม่-หางดง เข้าสู่ศูนย์กลางเมือง แนว ตอ.เฉียงเหนือ-ตต.เฉียงเหนือ เชื่อม อ.สันทราย ถึงคันคลองชลประทาน รองรับการเดินทางในถนนสายเชียงใหม่-ดอยสะเก็ด แก้วนวรัฐ รัตนโกสินทร์ ห้วยแก้ว และคันคลองชลประทาน สายแนว ตอ.เฉียงใต้-ตต. เชื่อม อ.เมือง ติดกับ อ.สันกำแพง ถึงมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นต้น
ส่วนนครราชสีมา แผนมี 3 ระยะเช่นกัน เงินลงทุนกว่า 2,338 ล้านบาท จัดระบบการจราจรในปัจจุบัน เช่น เปลี่ยนป้าย พัฒนาโครงข่ายถนนตามผังเมืองรวม ระบบขนส่งสาธารณะ ปรับปรุงร่างผังเมืองรวมในการใช้ประโยชน์ที่ดิน
ล่าสุดกรมทางหลวง ชนบท (ทช.) มีโครงการจะก่อสร้างถนนเลี่ยงเมือง มีทั้งสะพานและถนนตัดใหม่ 4 ช่องจราจร ระยะทาง 16.323 กม. ค่าก่อสร้าง 3,000 ล้านบาท แก้ปัญหาการจราจรบนถนนมิตรภาพ
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47548
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 17/01/2013 7:39 pm Post subject:
ชง พ.ร.บ.กู้ 2 ล้านล้าน รถไฟฯ ได้เค้กก้อนโต 8 แสนล้าน โยกส่วนต่อขยายสายสีเขียว-ส้ม ไปบัญชีสำรอง
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 17 ม.ค. 2556 เวลา 18:19:35 น.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากกรอบโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท เลื่อนการเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา เนื่องจากกระทรวงคมนาคมยังพิจารณารายละเอียดไม่เรียบร้อย และนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ต้องการให้รับฟังความเห็นจากประชาชนด้วย แต่ยังไม่ชัดเจนว่าจะทำประชาพิจารณ์หรือไม่
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังเปิดเผย ว่า เดิมนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง เตรียมเสนอร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว พร้อมด้วยรายละเอียดโครงการให้ ครม.เห็นชอบ วันที่ 15 ม.ค. แต่เกิดปัญหามีการรื้อโครงการใหม่จากคมนาคม จึงเปลี่ยนแผนจะเสนอเฉพาะร่างกฎหมายให้ ครม.เห็นชอบในหลักการก่อน จากนั้นส่งร่างให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบแล้วค่อยเสนอกลับเข้า ครม. พร้อมแนบรายละเอียดโครงการทั้งบัญชี 1 และบัญชี 2 วงเงินรวมกว่า 3 ล้านล้านบาทเข้าไปด้วย
ขณะที่แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า กรอบวงเงินลงทุนตาม พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท แยกเป็น 2 บัญชี คือ บัญชี 1 โครงการหลักที่มีความสำคัญสูงสุด เงินลงทุน 2 ล้านล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นโครงการขนาดใหญ่ เพื่อรองรับกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) บัญชีที่ 2 เป็นโครงการสำรองจะนำเงินส่วนที่เหลือจากบัญชีที่ 1 มาลงทุน หรือใช้เงินจากแหล่งเงินกู้อื่นลงทุนก่อสร้างแทน คาดว่าใช้เงินลงทุน 1.7 ล้านล้านบาท
...
...
โยกสายสีเขียว-สีส้มไปบัญชี 2
2.โครงการโครงสร้างพื้นฐานในกรุงเทพฯและปริมณฑล มีรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) วงเงินรวม 372,064 ล้านบาท แต่จะตัดส่วนต่อขยายสายสีเขียว (สมุทรปราการ-บางปู) 13,344 ล้านบาท สายสีเขียว (คูคต-ลำลูกกา) และสายสีส้ม (ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม) สายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ไปอยู่บัญชี 2
โครงการสายสีแดงของ ร.ฟ.ท. วงเงินรวม 145,538 ล้านบาท โครงการอู่จอดรถโดยสาร NGV ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) 963 ล้านบาท ส่วนจัดซื้อรถเมล์ 3,183 คัน กว่า 10,000 ล้านบาท ใช้เงินกู้แหล่งอื่น
...
...
OK ครับ
V Last edited by Mongwin on 17/01/2013 8:51 pm; edited 1 time in total
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44113
Location: NECTEC
Posted: 17/01/2013 8:43 pm Post subject:
^^^
ข่าวนี้ผมก็โพสต์เหมือนกัน ตัดเอา เฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกะรถไฟฟ้าสายแดง สายส้ม สายเขียว และ สายเหลือง ก็ได้นะ โดยไม่ต้องส่วนที่ผมพูดถึง รฟท. หนะ
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47548
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 21/01/2013 2:09 pm Post subject:
อนุมัติกรอบวงเงินโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน-สีเขียว วงเงิน 1.6 หมื่นล้าน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 21 มกราคม 2556 12:36 น.
ครม.สัญจรวันนี้อนุมัติกรอบวงเงินโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน-สีเขียว วงเงินรวม 1.6 หมื่นล้านบาท พร้อมมอบสำนักงบฯ พิจารณาจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีเป็นงบชำระหนี้ให้แก่ รฟม.เพื่อใช้ชำระหนี้คืนแก่แหล่งเงินกู้โดยตรงทั้งในส่วนเงินต้น ดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง
นพ.ทศพร เสรีรักษ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นอกสถานที่อย่างเป็นทางการที่ จ.อุตรดิตถ์ เห็นชอบให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กู้เงินในปีงบประมาณ 2556 สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ต่างประเทศ โครงการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล ตามแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2556 ที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
โดยให้ รฟม.กู้เงินต่อจากกระทรวงการคลังในปีงบประมาณ 2556 ตาม พ.ร.บ.การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 มาตรา 75(3) สำหรับเป็นค่าก่อสร้างงานโยธา ค่าจ้างที่ปรึกษาบริหารโครงการ ค่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้างงานโยธาและระบบรถไฟฟ้า โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ จำนวน 11,472.36 ล้านบาท และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ จำนวน 4,745.40 ล้านบาท โดยให้สำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีเป็นงบชำระหนี้ให้แก่ รฟม.เพื่อใช้ชำระหนี้คืนแก่แหล่งเงินกู้โดยตรงทั้งในส่วนเงินต้น ดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังจะได้ตกลงกับ รฟม.ต่อไป
นอกจากนี้ ให้ รฟม.ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ Japan International Cooperation Agency(JICA) สัญญาเลขที่ TXXI-4 และสัญญาเงินกู้เลขที่ TXXII-3 (Civil) โครงการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล โดยการกู้เงินในประเทศตาม พ.ร.บ.การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 มาตรา 75(3) โดยกระทรวงการคลังจะเป็นผู้ดำเนินการกู้เงินและชำระหนี้แทน รฟม. และ รฟม.จะต้องลงนามในสัญญารับชำระหนี้แทนกับกระทรวงการคลังต่อไป โดยให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาความเหมาะสมของอัตราแลกเปลี่ยนและต้นทุนในการปรับโครงสร้างหนี้ และให้สำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีเป็นงบชำระหนี้ให้แก่ รฟม.เพื่อใช้ชำระคืนแก่แหล่งเงินกู้โดยตรงทั้งในส่วนเงินต้น ดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังจะได้ดำเนินการกู้เงินให้ รฟม.ต่อไป
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44113
Location: NECTEC
Posted: 22/01/2013 3:12 pm Post subject:
คมนาคมฟุ้ง! รถไฟฟ้า 10 เส้นทางเปิดใช้ได้ภายใน 10 ปี
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 22 มกราคม 2556 13:26 น.
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ยืนยันความพร้อมเดินหน้าโครงการรถไฟฟ้า 10 เส้นทาง โดยขณะนี้คืบหน้ากว่าร้อยละ 50 เชื่อว่าภายใน 5-10 ปี จะสามารถเปิดให้บริการได้
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47548
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 23/01/2013 4:39 pm Post subject:
ช.การช่างปีนี้รายได้ทะลุ 2.5 หมื่นล.
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 23 มกราคม 2556 16:07 น.
ช.การช่าง คาดปีนี้รายได้ 2.5-2.8 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 30% จากปี 55 ที่ 1.8 หมื่นล้านบาท เหตุทยอยรับรู้งานในมือ 1.62 แสนล้านบาท เตรียมประมูลงานใหม่เพิ่ม คาดได้ 20% จากมูลค่างานที่ออกประมูลปีนี้ 4-5 แสนล้านบาท ผู้บริหารแจงราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มสูง ผลจากนักลงทุนมั่นใจมากขึ้นหลังโครงการไซยะบุรีเดินหน้าก่อสร้าง ขณะปีนี้ลงทุน 700 ล้านบาท ชำระราคาหุ้นไซยะบุรี พร้อมออกหุ้นกู้ 2,000 ล้านบาท ใช้ก่อสร้าง ย้ำกำไรขายหุ้นน้ำประปา 2.2 พันล้านบาท คาดยื่นไฟลิ่งซีเคพาวเวอร์ ก.พ.นี้
นายประเสริฐ มริตตนะพร กรรมการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส กลุ่มงานบริหาร บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK เปิดเผยว่า คาดว่าปีนี้จะมีรายได้จากการก่อสร้าง 25,000-28,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 20-30% จากปี 2555 คาดอยู่ที่ 18,000 ล้านบาท เนื่องจากปัจจุบัน บริษัทมีงานในมืออยู่ 162,908 ล้านบาท ทยอยรับรู้ถึงปี 2563 ซึ่งมีโครงการใหญ่ 4 โครงการ คือ
1.โครงการฝายน้ำล้นไซยะบุรี ที่ลาว มูลค่า 7.6 หมื่นล้านบาท มีความคืบหน้าโครงการ 10% ใช้เวลาก่อสร้าง 8 ปี แล้วเสร็จในปี 63
2.โครงการทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร มูลค่า 2.25 หมื่นล้านบาท ใช้เวลาสร้างแล้วเสร็จประมาณ 3.5 ปี อีกทั้ง
3. โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค สัญญาที่ 2 มูลค่า 1.07 หมื่นล้านบาท มีความคืบหน้าไป 29% คาดสร้างเสร็จปี 60 หรือใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี ขณะนี้ บริษัทพร้อมเดินหัวเจาะเพื่อขุดอุโมงค์ช่วงลอดแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว โดยนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธีเดินหัวเจาะในวันที่ 24 ม.ค.นี้ และ
4.โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว สัญญาที่ 1 สร้างโครงสร้างทางยกระดับช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ มูลค่า 1.3 หมื่นล้านบาท งานคืบหน้า 10% ใช้เวลาก่อสร้างเสร็จ 4 ปี หรือสร้างเสร็จปี 59
นอกจากนี้ ยังมีโครงการใหม่ที่บริษัทจะเข้าร่วมในอนาคตที่ปีนี้จะมีงานออกประมูลประมาณ 4-5 แสนล้านบาท เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูง โครงการรถไฟรางคู่ รถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วง ศูนย์วัฒธรรม-บางกะปิ รถไฟฟ้าสายดีแดง ช่วง รังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมทั้งโครงการบริหารจัดการน้ำ มูลค่า 3.5 แสนล้านบาท และโครงการอื่นๆ ภาคเอกชน ซึ่งบริษัทเตรียมความพร้อมทุกๆ ด้านเพื่อเข้าประมูลในโครงการที่น่าสนใจ และเป็นประโยชน์ต่อประเทศ โดยบริษัทคาดว่าจากมูลค่างานที่ออกมาประมูลนั้นบริษัทคาดว่าจะได้งานประมาณ 20%
สำหรับในช่วงไตรมาส 1/56 บริษัทคาดว่าจะสามารถลงนามในสัญญาได้ 2 สัญญาคือ โครงการจัดหาขบวนรถไฟฟ้าและติดตั้งอุปกรณ์ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงกับ บมจ.รถไฟฟ้าสายสีม่วง มูลค่า 20,775 ล้านบาท และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว สัญญาที่ 2 งานวางระบบราง มูลค่า 2.500 ล้านบาท รวม 2 สัญญาเป็นวงเงิน 23,275 ล้านบาท และยังมีงานที่รอเซ็นคือโครงการโรงไฟฟ้า SPP มูลค่า 5,000 ล้านบาท งานมอเตอร์เวย์บางปะอิน-โคราช มูลค่า50,000-60,000 ล้านบาท
...
...
Back to top
You cannot post new topics in this forum You cannot reply to topics in this forum You cannot edit your posts in this forum You cannot delete your posts in this forum You cannot vote in polls in this forum
Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group