View previous topic :: View next topic
Author
Message
digimontamer
3rd Class Pass (Air) Joined: 12/05/2009 Posts: 487
Posted: 01/07/2011 2:16 pm Post subject:
nutsiwat wrote: สภาพตัวถังหัวรถจักร
ผมอยากจะให้มีการบูรณะตัวรถจักรให้มีความสมบูรณ์ แล้วขึ้นทะเบียนไว้เป็นอนุสรณ์ ไม่อยากจะให้เหมือนหัวรถจักรที่สถานีน้ำตกไทรโยคน้อยที่ จ.กาญจนบุรี ทิ้งไว้โดนฝน โดนแดดเสียจนโทรม สนิมกินจนพุกร่อน แต่ได้เห็นภาพแล้ว ดีใจมากที่ อบต. ได้ก่อสร้างอาคารกันแดด กันฝนให้กับตัวหัวรถจักรที่ต้องการจะอนุรักษ์ไว้ ขอแถมอีกนิดก็คือ น่าจะมีการทำป้ายบอกถึงที่มา ประวัติของหัวรถจักร และประวัติของเส้นทางรถไฟสายนี้ด้วยนะครับ เพื่อให้คนที่ไปท่องเที่ยวได้รับทราบนะครับ ยิ่งถ้าหากได้เห็นเส้นทางนี้แล้วก็คงจะดีนะครับ
ป้ายแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวมีการจัดสร้างไว้ครับ และใกล้ๆที่จัดแสดงหัวรถจักรก็มีอาคารของ อบต กับเพิงที่เอาไว้แสดงนิทรรศการพวกภาพถ่ายและเรื่องราวของรถไฟสายนี้ด้วยครับ
เพียงแต่ว่า ป้ายที่ปากทางเข้านั้นทรุดโทรมไปหน่อย ผนวกกับถนนเพชรเกษมสายเก่าที่ เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีคนใช้เวลาลงใต้แล้ว (ถ้าไม่ไประนอง ก็แทบไม่มีคนจากกรุงเทพใช้เพชรเกษมสายเก่ากัน ไปใช้สายใหม่ทางชุมพร-สุราษฎร์-ตัดเข้าพังงา กันหมด) ทำให้ไม่ค่อยมีคนมาเที่ยวหน่ะครับ
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47112
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 08/01/2013 6:31 pm Post subject:
ระนองพบซากรางรถไฟกองทัพญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
สำนักข่าวไทย TNA News | 8 ม.ค. 2556 17:42
ระนอง 8 ม.ค. - จ.ระนอง พบซากเหล็กหล่อทำรางรถไฟของกองทัพญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เตรียมนำมาจัดเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์สงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์
นายเสรี คงรัตน์ วัฒนธรรมจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 4 สายชุมพร-ระนอง ตอน 1 จ.ระนอง แจ้งว่า พบเหล็กหล่อขนาดความยาว 4 เมตร หลายเส้น คล้ายทางรถไฟเก่า จากการตรวจสอบพบว่า เหล็กที่พบทั้งหมดเป็นเหล็กหล่อที่ใช้ทำรางรถไฟในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และมีอายุกว่า 70 ปี มีรอยผุกร่อนตามอายุ เนื่องจากเคยมีการขุดพบก่อนหน้านี้ในเขตพื้นที่ จ.ระนอง หลายจุด เตรียมนำมาจัดเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์สงครามโลกครั้งที่ 2 ตั้งอยู่ ม.4 บ้านเขาฝาชี ต.บางแก้ว อ.ละอุ่น จ.ระนอง เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาต่อไป
สำหรับประวัติการก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ของกองทัพทหารญี่ปุ่น พบว่าเริ่มมีการก่อสร้างเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2486 โดย พ.อ.สุกิการา มาซาฮารุ เป็นหัวหน้ากอง และนายกามาฮาชิ เป็นนายช่างควบคุมการก่อสร้าง มีการลำเลียงกรรมกรชาวจีน ชาวมลายู จำนวน 20,000-25,000 คน มาเป็นคนงานก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายชุมพร-ระนอง เพื่อกองทัพญี่ปุ่นใช้เดินทัพและลำเลียงยุทโธปกรณ์ไปยังพม่า. - สำนักข่าวไทย
Back to top
alderwood
1st Class Pass (Air) Joined: 10/04/2006 Posts: 6593
Location: กรุงเทพ-ราชสีมา
Posted: 08/01/2013 6:39 pm Post subject:
จำได้ว่า เมื่อครั้งที่ไปทัวร์ระนอง หลังจากออกมาจากจุดที่รถจักรไอน้ำจอดอยู่ ดูสภาพแวดล้อมแล้วคล้ายๆว่าถนนเพชรเกษมสร้างทับทางรถไฟในบางช่วง _________________ รักรถไฟมั่นใจโคปเตอร์ || Railway Racing Team || Korat Spotter
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47112
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 08/01/2013 10:15 pm Post subject:
เสียดายที่ไม่มีแผนที่แนวเส้นทางรถไฟอย่างละเอียดครับ
ระนอง ชุมพร เป็นจังหวัดที่ฝนตกชุกมาก จนการถ่ายภาพทางอากาศในยุคหลังสงครามเพื่อทำแผนที่สำหรับบริเวณใต้จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทำไม่สำเร็จครับ
ชมคลิปวิดีโอข่าวจากเนชั่น 77 ช่อง 77 จังหวัดได้ที่นี่ครับ
http://77.nationchannel.com/video/320652/
ระนอง พบซากรางรถไฟกองทัพญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
ระนอง----สนง.วัฒนธรรมจังหวัดระนอง นำ จนท.ลงตรวจสอบซากรางรถไฟที่คนงานก่อสร้างถนนขุดพบ ชี้เป็นซากรางรถไฟของกองทัพญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่สร้างเพื่อให้กองทัพญี่ปุ่นเดินทัพเข้าตีพม่า เตรียมนำเก็บไว้ในพิพิธภัณธ์สงครามโลกครั้งที่ 2 ของ จ.ระนองเพื่อไว้เป็นหลักฐานศึกษาทางประวัติศาสตร์
นายเสรี คงรัตน์ วัฒนธรรมจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า ทาง จนท.สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดระนองได้รับแจ้งจาก จนท.โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 4 สายชุมพร-ระนอง ตอน 1 จ. ระนอง บริเวณหลัก กม.ที่ 579+800 บ้านบางแก้ว อ.ละอุ่น จ.ระนอง ว่าขณะที่คนงานปรับพื้นที่เพื่อก่อสร้างถนน 4 เลนพบเหล็กหล่อขนาดความยาว 4 ม.หลายเส้นคล้ายทางรถไฟเก่า ทางผู้ควบคุมโครงการก่อสร้างจึงเก็บรวบรวมนำมาเก็บไว้ที่แคมป์คนงานภายใน สนง.แขวงการทาง อ.ละอุ่น รวม 15 ท่อน แต่ละท่อนความยาว 4 ม.
นายเสรีกล่าวต่อว่าจากการตรวจสอบพบว่าเหล็กที่พบทั้งหมดเป็นเหล็กหล่อที่ใช้ทำรางรถไฟในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จริง และมีอายุกว่า 70 ปี มีรอยผุกร่อนตามอายุ เนื่องจากเคยมีการขุดพบก่อนหน้านี้ในเขตพื้นที่ จ.ระนองหลายจุด ทาง จนท.จึงได้เตรียมที่จะนำมาจัดเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์สงครามโลกครั้งที่ 2 ตั้งอยู่ ม. 4 บ้านเขาฝาชี ต.บางแก้ว อ.ละอุ่น จ.ระนอง เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาต่อไป
สำหรับประวัติการก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ของกองทัพทหารญี่ปุ่นพบว่าเริ่มมีการก่อสร้างเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2486 โดย พันเอกสุกิการา มาซาฮารุ เป็นหัวหน้ากอง และนายกามาฮาชิ เป็นนายช่างควบคุมการก่อสร้าง มีการลำเลียงกรรมกรชาวจีนชาวมลายูจำนวน 20,000-25,000 คน มาเป็นคนงานก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายชุมพร-ระนองเพื่อกองทัพญี่ปุ่นใช้เดินทัพและลำเลียงยุทธโธปกรณ์ไปยังพม่า โดยแบ่งการทำงานเป็น 3 กลุ่มคือกลุ่มคินโจ ,กลุ่มนิชิโมโต,กลุ่มคาโก เพื่อรับผิดชอบการทำงานในแต่ละช่วง โดยการก่อสร้างมีการเร่งทำทั้งกลางวันและกลางคืน โดยแนวรถไฟที่ทหารญี่ปุ่นก่อสร้างขนานกับทางหลวงชุมพร-ระนอง โดยมีสะพาน 31 แห่ง สถานี 7 แห่ง ส่วนรางรถไฟซึ่งเป็นเหล็กหล่อชั้นดีทางทหารญี่ปุ่นได้นำรางเหล็กที่รื้อมาจากเมืองกลันตัน(มลายู) เป็นรางขนาด 50-60 ปอนด์มาใช้ก่อสร้าง โดยจากบันทึกพบว่าเส้นทางรถไฟสายชุมพร-ระนองมีการก่อสร้างเสร็จในเดือน พ.ย. 2486
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังจากชาวบ้านทราบข่าวการขุดพบซากรางรถไฟทหารญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวบ้านที่ทราบข่าวได้เดินทางมาดูอย่างต่อเนื่องพร้อมมีการวิพากษ์วิจารณ์ รวมถึงเล่าเรื่องราวในอดีตจากที่ทราบมาจากผู้สูงอายุในพื้นที่
โดยนายวิชัย ดีเทศ อายุ 75 ปี ชาวบ้าน ต. บางแก้ว อ.ละอุ่น กล่าวว่า สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ตนยังเด็กมากแต่พ่อแม่เล่าให้ฟังว่ามีทหารญี่ปุ่นเข้ามาใน จ.ระนอง รวมทั้งมีเรือรบเข้ามาในทะเลอันดามันมีการยกพลขึ้นบก นอกจากนี้ยังมีเครื่องบินของฝ่ายพันธมิตรที่มาทิ้งระเบิดเส้นทางรถไฟไม่ต่ำกว่า 2 รอบ
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47112
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 09/01/2013 10:50 am Post subject:
ฮือฮาขุดพบรางรถไฟโบราณสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 สภาพเสียหายจากระเบิด
วันที่ 09 มกราคม พ.ศ. 2556 เวลา 10:11 น. ข่าวสดออนไลน์
เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 9 ม.ค. ผู้สื่อข่าว ข่าวสด ประจำจังหวัดระนอง ได้รับแจ้ง จากนายเสรี คงรัตน์ วัฒนธรรมจังหวัด ระนอง ว่าโครงการก่อสร้างทางหลวง หมายเลข 4 สายชุมพร -- ระนอง ได้ขยายถนนเพชรเกษม จากสองช่องทาง เป็นสี่ช่องทางการจราจร ขณะกำลังตักดินไหล่ทาง ลึกลงไประยะ 1 เมตร เพื่อขยายถนน ได้ขุดพบ เหล็กรางรถไฟโบราณ สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จำนวน 10 ท่อน อายุไม่ต่ำกว่า 70 ปี ตั้งแต่ทหารญี่ปุ่น สร้างเส้นทางรถไฟ มาจนถึงคลองละอุ่น ต.บางแก้ว จ.ระนอง เมื่อ พ.ศ.2486 จึงรุดเข้าพื้นที่ เพื่อตรวจสอบ
โดยบริเวณถนนเพชรเกษม ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ช่วง อำเภอกระบุรี - อำเภอละอุ่น กำลังมีการปรับเส้นทางเพื่อขยายถนน จาก สองช่องทางการจราจร เป็นสี่ช่องทางการจราจร โดยมีกรมทางหลวงเป็นผู้รับผิดชอบ ในการก่อสร้าง ในจุดที่พบ เป็นไหล่ทางข้างถนนที่มีการขุดดินโดยรถตักดิน บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 579 + 800 พบกองเหล็ก ที่มีลักษณะ สภาพคล้ายรางรถไฟ ซึ่งอยู่ในลักษณะบิดเบี้ยว และโค้งงอ บางท่อนมีสภาพฉีกขาด คล้ายถูกระเบิด และถูกนำไปเก็บรักษาไว้ที่ บริเวณอาคารที่ทำการโครงการขยายทางหลวงหมายเลข 4 สายชุมพร-ระนอง จำนวน 10 ท่อน เป็นการชั่วคราว
นายภคินัย ภักดี นายช่างโยธาปฎิบัติการ กรมทางหลวง กล่าวว่า รางรถไฟที่พบขณะสร้างถนน เป็นรางรถไฟ สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จะเป็นเหล็กหล่อขึ้นรูป ขนาดความยาว 4 เมตร ประมาณ 10 ท่อน มีลักษณะบิดงอ และฉีกขาด จุดที่พบ รถตักดิน ขุดถนนไหล่ทางลึกลงไป 1 เมตร บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 579 + 800 น่าจะถูกรื้อนำมากองทิ้งไว้ ตามแนวเส้นทางรถไฟสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เดิม เพราะบางท่อนมีรอยฉีกขาดและโค้งงอ คาดว่าน่าจะเสียหายจากการทิ้งระเบิด จึงถูกทิ้งไว้ตรงจุดที่ไปพบ
ซึ่งบางท่อน ที่อยู่ในลักษณะโค้งงอ จะเห็นปลายด้านหนึ่งถูกตีเป็นเดือย เหล็กแบนคู่สำหรับเป็นเดือยเสียบและเจาะรู เพื่อใส่นอตร้อย สกรูเหล็ก ส่วนปลายอีกด้าน ก็จะมีการเจาะรูไว้ เพื่อรับเดือยและขันนอตสกรู เพื่อง่ายต่อการสวมต่อเป็นรางรถไฟ เป็นเส้นทางยาว
หมู่ที่ 4 ตำบลบางแก้ว อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง ริมแม่น้ำละอุ่น จะมีอาคารพิพิธภัณฑ์เชิงประวัติศาตร์ สงครามโลกครั้งที่ 2 ที่จังหวัดระนองสร้างไว้ เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานรำลึก ว่าในอดีตเป็นจุดสถานีปลายทาง ที่ทหารญี่ปุ่นสร้างทางรถไฟเชื่อมต่อมาจากจังหวัดชุมพร เป็นระยะทางรวม 90 กิโลเมตร มี 7 สถานีย่อย เช่น สถานีวังไผ่ สถานีท่าสาร สถานีปากจั่น สถานีทับหลี สถานีกระบุรี สถานีคลองลำเลียง สถานีเขาฝาชี รวม 7 สถานี เพื่อเดินขบวนรถไฟลำเลียงอาวุธยุทโธปกรณ์ ไปยังปลายทางสถานีเขาฝาชี ตำบลบางแก้ว อำเภอละอุ่น แล้วถ่ายสิ่งของลงเรือล่องไปตามคลองละอุ่นออกไปบรรจบคลองกระบุรี ประมาณ 1 กิโลเมตร แล้วล่องต่อไปเกาะสองประมาณ 2 ชม. เพื่อส่งต่อไปยังประเทศพม่า
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43921
Location: NECTEC
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47112
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 05/02/2015 8:25 pm Post subject:
ฮือฮา!พบอุโมงค์-หลุมหลบภัยทหารญี่ปุ่น สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ใต้ร.ร.ที่ระนอง "กรมศิลป์"เร่งตรวจสอบ-อนุรักษ์
วันที่ 05 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 เวลา 15:22 น. ข่าวสดออนไลน์
ข้าราชการบำนาญครู พบปากอุโมงค์และหลุมหลบภัย ทหารญี่ปุ่น สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ก่อนประสานผู้สื่อข่าวเข้าทำการพิสูจน์ทราบ ที่หน้ารั้วโรงเรียนกระบุรีวิทยา ติดกับถนนเพชรเกษม ต.น้ำจืด อ.กระบุรี จ.ระนอง พบทางเข้าเดิมมีกอหญ้าและดินปิดทับ มุดเข้าด้านใน ขุดเป็นโดมลักษณะครึ่งวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางกว้าง 2.5 เมตร และสูง 2.5 เมตร สามารถบรรจุคนได้ 10-15 คน ส่วนผนังด้านในสุด เป็นช่องอุโมงค์ ขนาดกว้าง 0.5 เมตร สูง 1.50 เมตร แต่มีดินใหม่และหินปิดทับทางเข้า
ครูบำนาญเผยเป็นศิษย์เก่าชั้นมัธยมศึกษาที่ 1 รุ่นแรก สมัยก่อสร้างโรงเรียน เคยเข้ามามุดอุโมงค์นี้เล่นกับเพื่อนๆ มีความยาวไม่ต่ำกว่า 30 เมตร ก่อนจะไปเชื่อมกับหลุมหลบภัยอื่นๆ ที่มีไม่ต่ำกว่า 10 หลุม รอบเนินเขา ตรงกลางสามารถไปโผล่สนามหญ้าหน้าโรงเรียน และเส้นทางอุโมงค์ จะอยู่ใต้พื้นดินที่ตั้งของโรงเรียนกระบุรีวิทยาในปัจจุบัน เดิมจะเป็นเนินเขา และที่ตั้งของค่ายทหารญี่ปุ่น ที่เข้ามาทำเส้นทางรถไฟ เชื่อมจากบ้านเขาสามแก้ว ตำบลนาชะอัง อำเภอเมืองจังหวัดชุมพร มาบ้านเขาฝาชี ตำบลบางแก้ว อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2486 พ.ศ. 2487
โดยเมื่อวันที่ 5 ก.พ. ผู้สื่อข่าว ข่าวสด ได้รับการประสานจาก นายจุฬา อ.โชติคุต ข้าราชการบำนาญครู วัย 66 ปี อยู่ ต.น้ำจืด อ.กระบุรี จ.ระนอง ว่าพบปากอุโมงค์หลุมหลบภัย ของทหารญี่ปุ่น ที่สร้างสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ขณะรุกเข้ามาในประเทศไทย และก่อสร้างเส้นทางรถไฟ เพื่อใช้เป็นเส้นทางลำเลียงพล และยุทธภัณฑ์สงคราม เพื่อข้ามไปประเทศเมียนมาร์ และทำสงครามกับชาติพันธมิตรที่ประเทศอินเดีย จึงเดินทางเข้าสำรวจ
ปากอุโมงค์ทางเข้าหลุมหลบภัย จะอยู่ที่ใต้คันดิน หน้ารั้วโรงเรียนกระบุรีวิทยา ห่างถนนเพชรเกษม อ.กระบุรี จ.ระนอง เพียง 20 เมตร นายจุฬา อ.โชติคุต และนายสุดแสน พรากเพียร เพื่อนบ้าน ได้ใช้มีดพร้าทำการเปิดพงหญ้า และปากหลุมขนาดคนลอดเข้าไปได้ ก่อนจะมุดเข้าไปสำรวจ ซึ่งภายในพบผนังดินถูกขุดเป็นรูปโดมลักษณะครึ่งวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางกว้าง 2.5 เมตร และสูง 2.5 เมตร สามารถบรรจุคนได้ 10-15 คน ส่วนผนังด้านในสุด เป็นช่องอุโมงค์ ขนาดกว้าง 0.5 เมตร สูง 1.50 เมตร แต่มีดินและหินปิดทับทางเข้า
นายจุฬา ครูบำนาญชี้ว่า ตนเป็นศิษย์เก่าชั้นมัธยมศึกษาที่ 1 รุ่นแรก สมัยก่อสร้างโรงเรียน เคยเข้ามามุดอุโมงค์นี้เล่นกับเพื่อนๆ มีความยาวไม่ต่ำกว่า 30-40 เมตร ก่อนจะไปเชื่อมกับหลุมหลบภัยอื่นๆ ที่มีไม่ต่ำกว่า 10 หลุม รอบเนินเขา ตรงกลางสามารถไปโผล่สนามหญ้าหน้าโรงเรียน ตอนนั้นอายุประมาณ 1516 ปี และเส้นทางอุโมงค์ จะอยู่ใต้พื้นดินที่ตั้งของโรงเรียนกระบุรีวิทยาในปัจจุบัน เดิมจะเป็นเนินเขา และที่ตั้งของค่ายทหารญี่ปุ่น ที่เข้ามาทำเส้นทางรถไฟ เชื่อมจากบ้านเขาสามแก้ว ตำบลนาชะอัง อำเภอเมืองจังหวัดชุมพร มาบ้านเขาฝาชี ตำบลบางแก้ว อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2486 พ.ศ. 2487
ต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันบูรณะ อนุรักษ์ อุโมงค์และหลุมหลบภัยที่ทหารญี่ปุ่นขุดไว้ เพื่อป้องกันการโจมตีทางอากาศ และรักษาไว้ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลัง ได้ทราบว่า สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นได้เคยสร้างเส้นทางรถไฟผ่านตรงจุดนี้ และบูรณะไว้ให้คนทั่วไปได้รู้จัก แม้กระทั่งคนกระบุรีเองยังไม่รู้ จะได้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ของชาวอำเภอกระบุรี ต่อไป
อุโมงค์และหลุมหลบภัยของทหารญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่2ที่พบหน้าโรงเรียนกระบุรีวิทยานี้ ยังไม่มีหน่วยงานไหนทราบ หรือเข้ามาทำการพิสูจน์ นายจุฬา อ.โชติคุต ที่มีบ้านพักอาศัยอยู่ข้างโรงเรียน พบปากทางเข้าอุโมงค์และหลุมหลบภัยเข้าโดยบังเอิญ หลังจากเคยเข้าไปในอุโมงค์นี้กว่า 50 ปีแล้ว จึงแจ้งผู้สื่อข่าวเข้าร่วมทำการพิสูจน์เบื้องต้น และในพื้นที่อ.กระบุรี ยังมีร่องรอย และหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเส้นทางรถไฟในอดีต ซึ่งผู้สื่อข่าวจะทำการตรวจสอบเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้ามาร่วมอนุรักษ์หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่สำคัญของชาติ ที่มีอายุร่วมกว่า 70 ปี
วันเดียวกัน นางเรียม พุ่มพงษ์แพทย์ ผอ.สำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย รักษาราชการผอ.สำนักศิลปากรที่ 15 ภูเก็ต ให้สัมภาษณ์ว่า เบื้องต้นได้รับรายงานแล้ว ซึ่งจากนี้จะรายงานให้นายบวรเวท รุ่งรุจี อธิบดีกรมศิลปากร (ศก.) ทราบและมอบนโยบายมาดำเนินการอีกครั้ง พร้อมกันนี้จะประสานความร่วมมือเบื้องต้นกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดระนอง ซึ่งเจ้าของพื้นที่ ตลอดจนประสานแจ้งให้ทางอำเภอกระบุรี และจังหวัดระนอง เพื่อขอจัดส่งนักโบราณคดีสำนักศิลปากรที่ 15 ภูเก็ต เข้าไปสำรวจตรวจสอบอย่างละเอียดเพื่ออนุรักษ์ต่อไป
Back to top
atom
3rd Class Pass Joined: 16/04/2013 Posts: 3
Posted: 06/02/2015 10:55 am Post subject:
อยากให้มีกระทู้สำรวจทางรถไฟสายนี้อ่ะครัช
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43921
Location: NECTEC
Posted: 06/02/2015 12:11 pm Post subject:
^^^
จริงๆ มีพวกเราไปที่เขาฝาชีแล้ว แต่ ทางที่เหลือ เท่าที่รู้มันไขว้กะถนนเพชรเกษม จากชุมพร หนะครับ
ว่าแต่ว่า คุณใช้คุณ Atom ใน Skyscrapercity หรือเปล่าครับ
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47112
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Back to top