View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47243
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 21/03/2011 1:14 am Post subject: จากสถานีบางกอกน้อย สู่...โรงพยาบาลศิริราช (ข่าวหนังสือพิมพ์) |
|
|
จากสถานีบางกอกน้อย สู่...โรงพยาบาลศิริราช
นสพ.ไทยรัฐ โดย ซูม 20 มีนาคม 2554, 05:01 น.
ในช่วง 23 เดือนที่ผ่านมา เราคงจะได้ยินข่าวเกี่ยวกับการจัดงานการกุศล เพื่อหาเงินสมทบทุนในการก่อตั้งสถาบันการแพทย์ สยามินทราธิราช คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล บ่อยๆครั้ง
มีทั้งการจัดคอนเสิร์ตการกุศล และการประชาสัมพันธ์เชิญชวนทางสื่อต่างๆ
ล่าสุดก็มีแถลงข่าวจาก สายการบินไทย เชื้อเชิญผู้โดยสารเครื่องบินของการบินไทยร่วมบริจาคสมทบทั้งโดยเปิดบัญชีให้บริจาค และยังมอบไมล์ สะสมให้แก่สายการบินไทย เพื่อนำไปบริจาคได้อีกด้วย
รายละเอียดของวิธีการบริจาคต่างๆ ทีมงานซอกแซกจะขอนำมากล่าวถึงอีกครั้งในช่วงท้ายของบทความชิ้นนี้
แต่ที่โดนใจทีมงานจนตัดสินใจหยิบยกมาเขียนถึงก่อนเป็นเบื้องแรก ก็คือภาพใน "จินตนาการ" ของสถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช เมื่อสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว ที่ทีมงานนำมาประกอบคอลัมน์
นอกจากจะเห็นตึกใหม่ตั้งตระหง่านขึ้นหลายตึก จนมาจดกับปากคลองบางกอกน้อยแล้ว...ก็ยังจะเห็นตึกเตี้ยๆ แต่มีหอนาฬิกาสูงพอประมาณ อยู่ข้างหน้าตึกหนึ่ง
ท่านที่ดูภาพสีจะพบว่าตึกหอนาฬิกาตึกนี้เป็นตึกสีอิฐทั้งหลัง ตามลักษณะสีดั้งเดิมที่เคยเห็นมาอย่างชินตาในอดีตกาล
นี่คือตึกอาคารของ สถานีรถไฟบางกอกน้อย หรือ สถานีรถไฟธนบุรี นั่นเอง
อาคารนี้มาเกี่ยวข้องกับสถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชฯ อย่างไร... โปรดติดตามต่อไปนะครับ
ย้อนหลังไปในอดีตท่านที่เดินทางมาจากภาคใต้และภาคตะวันตกสู่กรุงเทพมหานครในยุคโน้น คงจะจดจำได้ว่าที่นี่คือสถานีรถไฟหลักที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงเมืองหลวงของประเทศไทยกับภาคดังกล่าว
มีความพลุกพล่าน อึกทึก และเนืองแน่นไปด้วยผู้โดยสาร น้องๆสถานีหัวลำโพงทางฝั่งพระนคร หรือฝั่งกรุงเทพฯเลยทีเดียว
ตามประวัติ "สถานีบางกอกน้อย" ถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่ยุคสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อพุทธศักราช 2443 ภายหลังจากที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สร้าง สถานีหัวลำโพงและจัดเดินรถไฟสาย กรุงเทพฯอยุธยา เมื่อ พ.ศ.2439 เรียบร้อยแล้ว
เอกสารหลายฉบับบันทึกไว้ว่า รัชกาลที่ 5 เสด็จฯมาทรงเปิดสถานีแห่งนี้ที่พระราชทานชื่อว่า "สถานีบางกอกน้อย" เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ.2446 และใช้เป็นสถานีหลักในการเชื่อมโยงกับภาคใต้และภาคตะวันตกดังกล่าว
การเดินทางไปเพชรบุรี หัวหิน หรือกาญจนบุรี ก็จะเริ่มจากสถานีรถไฟแห่งนี้
ต่อมาในยุคสมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้ "สร้างสะพานพระรามหก" ที่จังหวัดนนทบุรี อันเป็นสะพานรถไฟ เพื่อให้ขบวนรถจากภาคใต้เข้าสู่สถานีหัวลำโพงได้โดยสะดวก
ทำให้สถานีบางกอกน้อยลดความสำคัญลงไปบ้าง แต่ก็ยังมีบทบาทในการรองรับรถไฟธรรมดาๆ ประเภทรถเร็ว หรือรถระยะสั้นในภูมิภาคนี้อยู่ต่อไป
มาถึงยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 กรมรถไฟได้เปลี่ยนชื่อสถานีแห่งนี้ จากสถานีบางกอกน้อย เป็น สถานีธนบุรี... ซึ่งไม่นานต่อมาญี่ปุ่นก็เดินทัพเข้าสู่ประเทศไทย และรัฐบาลไทยจำเป็นต้องเข้าร่วมกับญี่ปุ่นซึ่งอยู่ในฝ่ายอักษะอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง
สถานีธนบุรีกลายเป็นสถานีหลักของกองทัพญี่ปุ่นไปในบัดดล ตามแผนสร้างทางรถไฟเพื่อเดินทัพต่อเข้าพม่าของฝ่ายอักษะ และใช้สถานีธนบุรีเป็นที่เก็บยุทธปัจจัย ตลอดจนวัสดุก่อสร้างต่างๆ
ส่งผลให้สถานีธนบุรี หรือสถานีบางกอกน้อยแห่งนี้ถูกฝ่ายพันธมิตรทิ้งระเบิดโจมตีอย่างหนัก จนได้รับความเสียหายย่อยยับ
เรื่องราวของการทิ้งระเบิดสถานีธนบุรี กลายเป็นเกร็ดประวัติศาสตร์ที่แทรกอยู่ในนวนิยายเรื่อง "คู่กรรม" ของคุณพี่ "ทมยันตี" และเป็นที่มาของการเสียชีวิตของโกโบริ จนอังศุมาลินต้องไปร่ำไห้ปิ่มว่าจะขาดใจตายตามนั่นแหละครับ
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กรมรถไฟก็ได้สร้างอาคารสถานีขึ้นมาใหม่ เป็นอาคารอิฐถือปูน ที่โดดเด่นสวยงาม มีหอนาฬิกาสูงเป็นสัญลักษณ์และหันมาเปิดใช้สถานีธนบุรีอีกครั้ง เมื่อ พ.ศ.2493
แม้ว่ารถด่วนสายใต้จะเดินทางเข้าสู่สถานีหัวลำโพงได้อย่างสะดวก แต่สถานีธนบุรีก็ยังใช้สำหรับการเดินทางของพี่น้องชาวใต้และตะวันตกในระยะสั้นๆเช่นเดิม
กาลเวลาผ่านไปและผ่านไป การใช้สถานีรถไฟธนบุรีก็ค่อยๆลดความสำคัญลงไป จนถึง พ.ศ.2542 เนื่องในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา 72 พรรษา กระทรวงคมนาคมและส่วนราชการที่เป็นเจ้าของที่ดินรอบบริเวณดังกล่าวได้ร่วมกันปรับปรุงสถานีรถไฟธนบุรี ให้เป็นสวนสาธารณะ ให้เป็นที่จอดรถ และให้โรงพยาบาลศิริราชได้ใช้พื้นที่ ส่วนหนึ่งเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์
พร้อมกับโยกย้ายตัวสถานีรถไฟออกจากที่เดิมไปประมาณ 900 เมตร ตั้งเป็นสถานีที่เล็กลง สำหรับเป็นสถานีปลายทางของรถไฟสายใต้ และตะวันตกที่ยังเหลืออยู่จำนวนหนึ่ง
ส่วนที่ดินบริเวณรอบๆสถานีเก่าแห่งนี้ รวมทั้งสิ้น 33 ไร่นั้น ต่อมาได้มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อ 26 พ.ค.2546 มอบหมายให้แก่คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อพัฒนาให้เป็นศูนย์ กลางความเป็นเลิศทางการวิจัยการแพทย์และการให้การบริการทางการแพทย์ในระดับเอเชียอาคเนย์ ต่อไป เป็นที่มาของการจัดตั้ง สถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช อันเป็นส่วนหนึ่งของคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ด้วยประการฉะนี้
ได้มีการบันทึกไว้ว่า รถไฟขบวนสุดท้ายที่ออกจากสถานีรถไฟธนบุรีดั้งเดิม ตึกหอนาฬิกาสีอิฐนี้ก็คือขบวนรถที่ 253 สายธนบุรี-หลังสวน ซึ่งออกจากสถานีธนบุรีเวลา 19.10 น. วันที่ 3 ตุลาคม 2546 จากนั้นก็ปิดการใช้สถานีอย่างเป็นทางการ
คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล จึงยังคงเก็บรักษาอาคารของสถานีรถไฟธนบุรี หรือสถานีบางกอกน้อย อันมีประวัติยาวนาน เคียงคู่มากับโรงพยาบาลศิริราชไว้ดังภาพที่เห็นในคอลัมน์วันนี้ และตั้งใจจะให้เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ของกิจการรถไฟสายใต้ สายตะวันตกในอนาคต
เนื้อที่หมดเสียก่อนแล้ว...ยังไม่ได้เข้าเนื้อหาของการเชิญชวนเพื่อบริจาคในรูปแบบต่างๆเลย... ไม่เป็นไรครับ จะทำบุญให้ได้บุญเยอะๆ อดใจรอสักนิดก็แล้วกัน...สัปดาห์นี้ขอบันทึกไว้เพื่อขอบคุณกรมรถไฟ หรือปัจจุบันคือการรถไฟแห่งประเทศไทยเขาก่อน ที่ยอมมอบเนื้อที่เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์อย่างน่าสรรเสริญยิ่ง
สัปดาห์หน้าเราค่อยมารู้จัก "สถาบันการแพทย์ สยามินทราธิราช" ของคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาลเพิ่มเติม...และจะบอกวิธีการบริจาคให้ครบถ้วนเลยครับ.
"ซูม"
Last edited by Mongwin on 23/01/2013 10:31 am; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
aonpakorn
3rd Class Pass
Joined: 06/07/2006 Posts: 153
|
Posted: 21/03/2011 5:33 pm Post subject: |
|
|
สมัยเป็นนักเรียนเคยโดยสารรถดีเซลรางจากธนบุรีไปเข้าค่ายลูกเสือที่วังก์พง และครั้งหนึ่งเคยนั่งรถไฟจากธนบุรีไปนครปฐม นี่เป็นเพียงแค่สองครั้งที่เคยใช้บริการสถานีธนบุรี
จากนั้นอีกนานมากนับสิบปีให้หลัง ได้ไปศิริราชจึงเห็นสภาพสถานีที่เปลี่ยนไป ตอนนั้นเสียดายมากว่าทำไมเขาถึงเปลี่ยนสถานีธนบุรีไปจากเดิม น่าจะอนุรักษ์เอาไว้ พอได้รู้สาเหตุว่าเป็นการนำพื้นที่ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ก็เข้าใจ |
|
Back to top |
|
|
digimontamer
3rd Class Pass (Air)
Joined: 12/05/2009 Posts: 487
|
Posted: 21/03/2011 9:58 pm Post subject: |
|
|
ตอนปี 45 ผมได้เคยนั่ง รถธนบุรี-น้ำตก ไปเที่ยวน้ำตกกับทางมหาวิทยาลัย นี่เป็นครั้งแรกเลยครับที่ผมได้ไปขึ้นรถไฟที่บางกอกน้อย และได้ไปสถานีรถไฟบางกอกน้อย
เดิมจะลงใต้ก็ขึ้นที่หัวลำโพงตลอด |
|
Back to top |
|
|
pattharachai
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 6536
Location: ราชอาณาจักรไทย
|
Posted: 22/03/2011 7:56 am Post subject: |
|
|
คิดแล้วก็เศร้าใจ วันที่ 3 ตุลาคม 2546 วันนั้นมีซ้อมเรือโอเปค ซึ่งต้องปิดน่านน้ำ ทำให้ผมซึ่งตั้งใจว่าจะไปนั่ง 253 เที่ยวสุดท้ายจากธนบุรีเก่า ต้องพลาดไป
ป.ล. ข้อมูลคุณซูมจากไทยรัฐยังผิด โครงสะพานพระราม 6 ทั้งหมดยังอยู่ในเขตกรุงเทพฯ มิใช่นนทบุรี
ป.ล. แก้ไขโอเปค เป็นเอเปคนะครับ
Last edited by pattharachai on 22/03/2011 12:30 pm; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
Joined: 29/03/2006 Posts: 3294
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง
|
Posted: 22/03/2011 11:01 am Post subject: |
|
|
^
ปล. ข้อมูลคุณบอยจาก RFT ก็ผิดเหมือนกันนะ ปีนั้นเมืองไทยมีประชุม เอเปค บ่ แม่น โอเปค เน่อ |
|
Back to top |
|
|
pattharachai
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 6536
Location: ราชอาณาจักรไทย
|
Posted: 22/03/2011 12:30 pm Post subject: |
|
|
ฮ่าๆ ขอบคุณครับพี่หนุ่ม ผมเขียนผิด 555+ กลายเป็นกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันไปได้ |
|
Back to top |
|
|
srinopkun
1st Class Pass (Air)
Joined: 08/04/2010 Posts: 2940
Location: นครปฐม
|
Posted: 22/03/2011 5:36 pm Post subject: |
|
|
มาร่วมรำลึกด้วยอีกคนครับ
สมัยก่อน นั่งรถไฟจากต้นสำโรงมาลงที่นี่แหละ "สถานีรถไฟธนบุรี"
แล้วก็รีบเดินจ้ำ ๆ ๆ มาลงเรือข้ามฟากข้ามมาฝั่งท่าพระจันทร์ แล้วก็เดินจ้ำ ๆ ๆ ๆ มาสนามหลวง เพื่อต่อรถสองแถวไปรามคำแหง
ขากลับก็รีบจ้ำ ๆ ๆ มาขึ้นรถ พอขึ้นรถได้ก็หลับด้วยความเหนื่อย
ถ้าวันไหนเลิกเร็ว ก็มีเวลาได้เดินเล่นรอบๆสถานี ยังจำได้อยู่ครับเดินขึ้นบันได้เล็กๆ 3 ขั้น ผ่านเข้าอาคาร ซ้ายมือจะเป็นห้องขายตั๋ว มี 3 ช่องปกติ และช่องตั๋วล่วงหน้า 1 ช่อง
ตรงเสากลางจะเป็นป้ายบอกเวลาเดินรถ ฝั่งทางห้องขายตั๋วจะเป็นขาเข้า อีกด้านหนึ่งจะเป็นขาออก
ด้านตรงข้ามกับห้องขายตั๋วก็จะเป็นร้านค้า สารพัดขาย ทั้งหนังสือ ของกิน ของใช้
ด้านข้างฝั่งในที่อาคาร จะมีโต๊ะไว้นั่งทานอาหารที่สั่งจากร้านนี้
มองเข้าไปในอาคาร ถ้าหันไปทางซ้ายจะเป็นส่วนสำนักงานของสถานีธนบุรี
ด้านขวาจะเป็นห้องน้ำ และที่ชั่งน้ำหนักสัมภาระ
เมื่อมองออกไปในชานชลา ตรงกลางจะเป็นทางเดินกว้างขวางมาก แบ่งชานชลาซ้ายเป็นรถขาเข้า
(ช่วงหลังเหลือชาน 3 ชานเดียว สมัยก่อนๆยังได้ลงชาน 2 บ้าง แต่ช่วงหลังๆนี่ ชาน 2 จะเป็นแผงปลาสดครับ 555 ชาน 1 ไม่ต้องพูดถึง)
และชานชลาด้านขวาเป็นรถขาออก (ชาน 4) และระหว่างชาน 4 กับชาน 5 ก็จะมีรางพักรถอยู่
วันหนึ่ง ๆ มีรถออกไม่กี่ขบวน แต่เนื่องจากเวลาออกจะใกล้เคียงกัน ก็เลยต้องจอดรอผู้โดยสารคู่กันทั้งชาน 4 และ 5
(ชาน 5 จะอ้อมไปทางห้องน้ำ เข้าประตูริมขวา)
ช่วงเช้ารถหลังสวนจะจอดชาน 4 รถน้ำตกจอดชาน 5
ช่วงบ่ายก็เช่นกัน รถประจวบจอดชาน 4 รถน้ำตกจอดชาน 5
ตอนเย็น รถราชบุรีจอดจาน 4 รถนครปฐมจอดชาน 5
เหลือแต่รถหลังสวนกลางคืน จะถอยเข้ามาเมื่อรถราชบุรีออกไปแล้ว
นานมากแล้วนะเนี่ย
ทุกวันนี้ ยังเดินออกกำลังจากสถานีปัจจุบัน เดินผ่านทางเดินมีหลังคา (กันสิ่งอันตรายจากการก่อสร้าง) มาเรื่อยๆ จนถึงหน้าอาคารสถานี ก็พยายามชะเง้อดูบ่อยๆครับ ว่าเป็นไงบ้าง
ลงเรือข้ามฟากมาเยือนถิ่นคุณ pattharachai บ่อยๆครับ (ไปติดต่อธุระแถวๆ ศูนย์หนังสือ)
เวลามาบริจาคเลือดทุก 4 เดือน ก็จะนั่งรถไฟจากศาลายามาลงธนบุรี แล้วซ้อนมอเตอร์ไซค์ไปตึก 72 ปี ขากลับมักจะเดินเรื่อยๆ มาสถานีรถไฟน่ะครับ ซื้อของไปเรื่อย ขนมมั่ง น้ำมั่ง กับข้าวมั่ง (ใต้สะพานอรุณฯ ขายกับข้าวเยอะนะเออ)
ก็เลยได้มีโอกาสนั่งรถไฟมาเยือนสถานที่ที่เคยมาบ่อยๆ
และรู้สึกดีใจที่ทางผู้รับมอบที่ดิน ยังคงไว้ซึ่งอาคารประวัติศาสตร์นี้
*********************************************************
สถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช เป็นศูนย์การแพทย์ขนาดใหญ่มาก
แบ่งเป็น 3 ส่วน
๑. สถาบันการแพทย์ชื่อว่า สถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช
๒. อาคารโรงพยาบาลชื่อว่า อาคารปิยมหาราชการุณย์
๓. อาคารวิจัยชื่อว่า อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
ซึ่งใช้วงเงินในการก่อสร้างเยอะมาก ....
มีหลายภาคส่วนได้จัดกิจกรรมหาทุนสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง และในส่วนของการบริจาคจากบุคคล / ส่วนงานต่างๆ ทางสถาบันฯก็ได้กำหนดเกณฑ์การจารึกชื่อ/รูป ไว้แล้ว สามารถเข้าไปดูได้ที่เวบไซต์ของสถาบันการแพทย์ฯ |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47243
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47243
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 24/04/2012 12:34 pm Post subject: |
|
|
เชิญร่วมงาน'บางกอกน้อยเฟสติวัล' 26-29 เม.ย.นี้
ฐานเศรษฐกิจ วันจันทร์ที่ 23 เมษายน 2012 เวลา 16:28 น.
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม. มหิดล ขอเชิญร่วมงาน บางกอกน้อยเฟสติวัล ย้อนรำลึกถึงตำนานประวัติศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสืบสานวัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้าน ซึ่งบางกอกน้อยเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์และจุดกำเนิดของกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน
ภายในงานมีกิจกรรมหลากหลาย อาทิ ล่องเรือชมสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ตำนานบางกอกน้อย ได้แก่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือราชพิธี ร่วมกราบนมัสการหลวงพ่อโตเพื่อเป็นสิริมงคล วัดชีปะขาวหรือวัดศรีสุดาราม และนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร ชมร้านขายยา สงวนโอสถ แวะชุมชนเก่าแก่บ้านบุชมกระบวนการผลิตขันลงหิน(ทองเหลือง) และขันลงหิน ผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้าน(สแตนเลส) (วันละ 3 รอบ เวลา 13.00 น.,14.00 น.,15.00 น.) พร้อมทั้งชมพิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช ยามค่ำคืน และชมสถานีรถไฟธนบุรี(เดิม) (วันละ 3 รอบ เวลา 17.00น.,18.00 น.,19.00 น.) นอกจากนั้น ชมการแสดงศิลปะพื้นบ้าน เช่น รำกระบี่กระบอง ขี่ม้าแก้บน รำฉุยฉาย ทอยสะบ้าไทย เป็นต้น เพลิดเพลินกับศิลปินดารารับเชิญมากมายที่ร่วมขับกล่อมเพลงร่วมสมัยและการแสดงจากวงดุริยางค์ทหารเรือ ชมภาพยนตร์คู่กรรม ตำนานรักคลองบางกอกน้อย พร้อมเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ OTOP ชุมชนบางกอกน้อย ของที่ระลึกจากร้าน ณ ศิริราช และชิมอาหารดั้งเดิมเลิศรสของชาวบางกอกน้อย ระหว่างวันที่ 26-29 เมษายน ณ สถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช เวลา 13.00 - 23.00 น. โดยจะมีพิธีเปิดงาน พร้อมการแสดงเห่เรือเฉลิมพระเกียรติจากกองทัพเรือ ในวันที่ 26 เมษายน เวลา 16.00 น. ฟังเสวนาพิเศษ ตำนานบางกอกน้อย โดย อ.สุจิตต์ วงษ์เทศ ในวันที่ 27 เม.ย. เวลา 15.00-18.00 น. ณ โถงสหัสธารา อาคารปิยมหาราชการุณย์ ชั้น 7 (ฟรี ตลอดทั้งงาน)
26 เมษายน 2555
13.00 - 14.30 น. ล่องเรือชมของดีบางกอกน้อย รอบ 1
14.00 - 15.30 น. ล่องเรือชมของดีบางกอกน้อย รอบ 2
15.00 - 16.30 น. ล่องเรือชมของดีบางกอกน้อย รอบ 3
15.30 - 16.00 น. เตรียมความพร้อมในการต้อนรับประธานในพิธี
16.00 - 16.05 น. ท่านคณบดีประธานในพิธีเดินทางมาถึง
16.05 - 16.10 น. พิธีกรกล่าวต้อนรับ จากนั้นนำเข้าสู่ช่วงพิธีการ
16.10 - 16.20 น. ท่านคณบดี ประธานในพิธีกล่าวเปิดงาน
16.20 - 16.30 น. ถ่ายภาพร่วมกัน
16.30 - 17.00 น. การแสดงจากทหารเรือ ชุดเห่เรือ
17.00 - 17.30 น. ท่านคณบดี ชมกิจกรรมต่างๆ ภายในงาน
17.00 - 17.30 น. การแสดงจากชุมชนวัดยางสุทธาราม ชุดกระบี่กระบองผู้ใหญ่
17.00 - 18.00 น. ชมพิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช "ยามค่ำคืน" รอบ 1
18.00 - 19.00 น. ชมพิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช "ยามค่ำคืน" รอบ 2
19.00 - 20.00 น. ชมพิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช "ยามค่ำคืน" รอบ 3
18.30 - 18.50 น. การแสดงจากชุมชนวัดสุวรรณาราม(บ้านบุ) ชุดขี้ม้าแก้บน
18.50 - 19.05 น. การแสดงจากชุมชนวัดระฆัง ชุดรำฉุยฉาย
27 เมษายน 2555
13.00 - 14.30 น. ล่องเรือชมของดีบางกอกน้อย รอบ 1
14.00 - 15.30 น. ล่องเรือชมของดีบางกอกน้อย รอบ 2
15.00 - 16.30 น. ล่องเรือชมของดีบางกอกน้อย รอบ 3
15.00 - 18.00 น. เสวนาเรื่อง "ตำนานบางกอกน้อย" อาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศ
ณ โถงสหัสธารา อาคารปิยมหาราชการุณย์ ชั้น 7
17.00 - 18.00 น. ชมพิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช "ยามค่ำคืน" รอบ 1
18.00 - 19.00 น. ชมพิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช "ยามค่ำคืน" รอบ 2
19.00 - 20.00 น. ชมพิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช "ยามค่ำคืน" รอบ 3
17.00 - 17.10 น. การแสดงจากโรงเรียนวัดอมรินทราราม ชุดรัตนโกสินถิ่นไทยงาม
17.10 - 17.20 น. การแสดงจากโรงเรียนวัดอมรินทราราม ชุดลูกทุ่งอมรินทร์
17.20 - 18.05 น. การแสดงจากชุมชนวัดยางสุทธารามวง ปี่พาทย์เครื่องไทย
18.05 - 18.35 น. การแสดงจากวัดวิเศษการ ชุดกระบี่กระบองเด็ก
18.35 - 18.55 น. การแสดงจากชุมชนบ้านช่างหล่อ ชุดทอยสะบ้าไทย
18.55 - 19.10 น. การแสดงจากชุมชนวัดระฆัง ชุดรำฉุยฉาย
19.10 - 20.00 น. การแสดงจากทหารเรือ ชุดเห่เรือ
28 เมษายน 2555
13.00 - 14.30 น. ล่องเรือชมของดีบางกอกน้อย รอบ 1
14.00 - 15.30 น. ล่องเรือชมของดีบางกอกน้อย รอบ 2
15.00 - 16.30 น. ล่องเรือชมของดีบางกอกน้อย รอบ 3
17.00 - 18.00 น. ชมพิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช "ยามค่ำคืน" รอบ 1
18.00 - 19.00 น. ชมพิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช "ยามค่ำคืน" รอบ 2
19.00 - 20.00 น. ชมพิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช "ยามค่ำคืน" รอบ 3
17.00 - 17.10 น. การแสดงจากวัดวิเศษการ ชุดแดนเซอร์ รอบ 1
17.10 - 17.30 น. การแสดงจากชุมชนบ้านช่างหล่อ ชุดทอยสะบ้าไทย
17.30 - 17.40 น. การแสดงจากวัดวิเศษการ ชุดแดนเซอร์ รอบ 2
17.40 - 17.55 น. การแสดงจากชุมชนวัดระฆัง ชุดรำฉุยฉาย
17.55 - 18.15 น. การแสดงจากชุมชนวัดสุวรรณาราม(บ้านบุ) ชุดขี้ม้าแก้บน
18.15 - 18.45 น. การแสดงจากวัดวิเศษการ ชุดกระบี่กระบองเด็ก
18.45 - 19.30 น. การแสดงจากชุมชนวัดยางสุทธารามวง ปี่พาทย์เครื่องไทย
19.30 - 20.00 น. การแสดงจากทหารเรือ ชุดเห่เรือ
29 เมษายน 2555
13.00 - 14.30 น. ล่องเรือชมของดีบางกอกน้อย รอบ 1
14.00 - 15.30 น. ล่องเรือชมของดีบางกอกน้อย รอบ 2
15.00 - 16.30 น. ล่องเรือชมของดีบางกอกน้อย รอบ 3
17.00 - 18.00 น. ชมพิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช "ยามค่ำคืน" รอบ 1
18.00 - 19.00 น. ชมพิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช "ยามค่ำคืน" รอบ 2
19.00 - 20.00 น. ชมพิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช "ยามค่ำคืน" รอบ 3
17.00 - 19.00 น. การแสดงจากชุมชนวัดดุสิตาราม ชุดผีรอบ
19.00 - 19.45 น. การแสดงจากชุมชนวัดยางสุทธารามวง ปี่พาทย์เครื่องไทย
19.45 - 20.15 น. การแสดงจากทหารเรือ ชุดเห่เรือ |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47243
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 23/01/2013 9:41 am Post subject: |
|
|
1ก.พ.เปิดสถาบันศิริราช ในหลวงเสด็จ พร้อมสมเด็จพระเทพฯ ทีวีพูลถ่ายทอดทั่วปท. พระราชินีทรงเดินได้ดี
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 23 ม.ค. 2556 เวลา 09:27:21 น.
ปีติ 1 กุมภาฯ รับเสด็จ"ในหลวง-พระเทพฯ"ทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5-สถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช เตรียมจัดละครลิงคณะ"ประกิต ศิษย์พระกาฬ"ทอดพระเนตร แพทย์เผยพระอาการ"พระราชินี"ปกติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอุ้มเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ และสถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช
เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 22 มกราคม ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักพระราชวัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเตรียมการรับเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่จะเสด็จฯมาทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอุ้มเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ และสถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช
หลังจากประชุมเสร็จสิ้น ศ.คลินิก นพ.อุดมเปิดเผยว่า ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ นี้ เวลา 17.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จฯมาทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 และสถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช ซึ่งตั้งอยู่บริเวณด้านข้างโรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา (สถานีรถไฟธนบุรีเดิม) โดยจะมีพิธีสงฆ์เป็นเวลา 40 นาที ก่อนที่จะทรงกดปุ่มเปิดลานพลับพลาพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 จากนั้นทรงกดปุ่มเปิดแพรคลุมป้ายสถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช โดยจะมีจอโปรเจ็กเตอร์แนะนำสถาบันการแพทย์ ประกอบด้วยโรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์ ศูนย์ความเป็นเสิศทางการวิจัย งานบริการการแพทย์แผนไทยประยุกต์ สวนสมุนไพรเฉลิมพระเกียรติ และพิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน
จากนั้นคณาจารย์ บุคลากร นักศึกษาแพทย์ จำนวน 125 คนร่วมกันร้องเพลงศิริราชถวาย พร้อมทั้งอ่านกลอนเพื่อแสดงถึงปณิธานของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ว่าจะปฏิบัติหน้าที่เพื่อประชาชนชาวไทย ภายใต้ร่มพระบารมี โดยวันงานจะมีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย และถ่ายทอดเสียงทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยไปทั่วประเทศ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์ว่า อยากจะทอดพระเนตรละครลิง กับผมถึงสองครั้ง ทางคณะแพทย์จึงได้ถวายให้ทอดพระเนตรในวันที่เสด็จฯมาทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 และสถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช โดยได้ติดต่อคณะประกิต ศิษย์พระกาฬ ซึ่งเป็นคณะละครลิงชื่อดังที่เหลืออยู่ในปัจจุบันเพียงคณะเดียว โดยได้ทูลถามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า ทรงต้องการทอดพระเนตรแบบเป็นเรื่องราวหรือแบบตลกขบขัน พระองค์รับสั่งตอบว่า อยากดูแบบตลกๆ โดยการแสดงละครลิงจะใช้เวลาประมาณ 20 นาที รวมระยะเวลาที่เสด็จฯทั้งสิ้นประมาณ 1 ชั่วโมง 20 นาที คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลกล่าว
ผู้สื่อข่าวถามถึง พระอาการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ศ.คลินิก นพ.อุดมกล่าวว่า พระอาการโดยทั่วไปดีขึ้นตามลำดับ แต่ยังคงต้องทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่อง ส่วนพระอาการของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ นั้นพระอาการเป็นปกติแล้ว ทรงพระดำเนินได้ดี เรียบร้อย ไม่มีปัญหาอะไรแล้ว |
|
Back to top |
|
|
|