View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
Joined: 29/03/2006 Posts: 3293
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง
|
Posted: 18/02/2013 10:19 pm Post subject: ประวัติศาสตร์ที่ซุกไว้ใต้สะพานรถไฟสายเหนือ |
|
|
สวัสดีทุกท่านครับ
กระทู้นี้ผมขอนำเสนอการสำรวจเล็กๆ กับสิ่งที่ผมได้ไปพบเห็นโดยบังเอิญ
โดยชุดแรกจะเป็นการสำรวจสะพานข้ามคลองบางเขน
ซึ่งผมถ่ายไว้เมื่อวันที่ 12 และ 13 กุมภาพันธ์ 2556 ที่ผ่านมานี้
โดยวันที่ 12 ผมบังเอิญได้พบสิ่งที่น่าสนใจเป็นครั้งแรก และได้ถ่ายภาพไว้ส่วนหนึ่ง
ต่อมาวันที่ 13 ได้แวะไปถ่ายภาพเพิ่มเติม ดังนั้นการนำเสนอกระทู้นี้
ผมจะนำเสนอตามเรื่องราว ไม่ได้เรียงตามลำดับเวลาการถ่ายภาพนะครับ
ก่อนอื่นเรามารู้จักสะพานข้ามคลองบางเขนกันก่อนนะครับ
สะพานข้ามคลองบางเขนตั้งอยู่ที่ กม. 14+061 บนเส้นทางสายเหนือ/ตะวันออกเฉียงเหนือ
อยู่ระหว่างสถานีบางเขนกับป้ายหยุดรถทุ่งสองห้องครับ
สะพานนี้มีความยาวยาว 42 เมตร เป็นสะพานเหล็กบนตอม่อเสาตับเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก
ตัวสะพานเหล็กแยกฝั่งงขาขึ้นและขาล่องออกจากกัน
แต่ละฝั่งมีสะพานเหล็ก 7 ช่วง ความยาวช่วงละ 6 เมตรครับ
สะพานข้ามคลองบางเขน มองจากบนทางรถไฟ หันหน้าขึ้นเหนือครับ
ซ้ายมือคือทางขึ้น และขวามือคือทางล่อง
Last edited by Nakhonlampang on 09/03/2013 11:11 pm; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
Joined: 29/03/2006 Posts: 3293
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง
|
Posted: 18/02/2013 10:24 pm Post subject: |
|
|
โครงสร้างตอม่อสะพานเป็นแบบเสาตับเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน 4 ชุด
แต่ละชุดประกอบด้วยเสาตับ 2 แถว แต่ละแถวมีเสา 8 ต้น
ระหว่างเสา 2 ตับที่อยู่ในชุดเดียวกันจะยึดไว้ด้วยคานรูปตัว X ที่เสาคู่นอกสุดทั้ง 2 ด้าน
ภาพนี้จะเห็นรูปแบบเสาตอม่อสะพานนะครับ
|
|
Back to top |
|
|
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
Joined: 29/03/2006 Posts: 3293
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง
|
Posted: 18/02/2013 10:33 pm Post subject: |
|
|
สะพานแห่งนี้ออกแบบให้ระยะห่างระหว่างเสาตับแต่ละแถวเท่ากันหมด
ทั้งแถวที่อยู่ในหมู่เสาเดียวกัน และที่อยู่ต่างหมู่กัน
ทำให้ความยาวของสะพานเหล็กที่พาดภายในหมู่เสาและระหว่างหมู่เสามีความยาวเท่ากันหมด
คือยาวช่วงละ 6 เมตร
และหมู่เสาที่อยู่เหนือสุดและใต้สุดออกแบบให้เป็นโครงสร้างเดียวกับคอสะพาน
ทำให้มีช่วงสะพานเหล็กทั้งหมด 7 ช่วง
รวมเป็นความยาวสะพาน 42 เมตร
|
|
Back to top |
|
|
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
Joined: 29/03/2006 Posts: 3293
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง
|
Posted: 18/02/2013 10:39 pm Post subject: |
|
|
มาสำรวจสะพานกันก่อนนะครับ เพราะข้อมูลบางอย่างเกี่ยวกับสะพานที่พบนี้
จะนำไปใช้อ้างอิงเปรียบเทียบกับสิ่งที่ผมจะนำมาเสนอด้วย
เริ่มจากคอสะพานด้านใต้ฝั่งทางล่อง
ตรงกึ่งกลางรางมีบางสิ่งปรากฏอยู่
นั่นคือหมุดศูนย์กลางรางรถไฟครับ
|
|
Back to top |
|
|
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
Joined: 29/03/2006 Posts: 3293
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง
|
Posted: 18/02/2013 10:40 pm Post subject: |
|
|
ฝั่งใต้เหมือนกัน แต่เป็นของทางขึ้น ตรงนี้ไม่พบหมุดอะไร
|
|
Back to top |
|
|
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
Joined: 29/03/2006 Posts: 3293
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง
|
Posted: 18/02/2013 10:42 pm Post subject: |
|
|
ข้ามมาดูคอสะพานฝั่งเหนือบ้าง
ด้านทางล่องก็มีหมุดศูนย์กลางเช่นกัน
มีข้อสังเกตนิดนึงเกี่ยวกับหมุดก็คือหมุดทั้ง 2 อันที่พบหันหัวตัวหนังสือไปทางเหนือทั้งคู่ครับ |
|
Back to top |
|
|
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
Joined: 29/03/2006 Posts: 3293
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง
|
Posted: 18/02/2013 10:49 pm Post subject: |
|
|
ส่วนด้านทางขึ้นของฝั่งเหนือนี้ก็ไม่พบหมุดเช่นกันครับ
^
แต่สังเกตด้านขวาของราง มีอะไรบางอย่างปรากฏอยู่บนคอสะพาน
มีตัวอักษรภาษาไทยจารึกอยู่ อ่านได้ว่า พ.ศ.๒๔๗๒
|
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43880
Location: NECTEC
|
Posted: 18/02/2013 10:51 pm Post subject: |
|
|
^^^
ปี 2472 น่าจะเป็นปีที่เริ่มสร้างสะพาน ที่ได้เป็นภาพลงในรายงานประจำปี 2473 ว่าเป็นสะพานทางคู่ที่ทำเสร็จแล้ว |
|
Back to top |
|
|
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
Joined: 29/03/2006 Posts: 3293
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง
|
Posted: 18/02/2013 11:00 pm Post subject: |
|
|
ส่วนที่คอสะพานฝั่งใต้ข้างทางขึ้นก็มีตัวเลขจารึกว่า 1929
ตัวเลข 1929 ของฝั่งใต้นี้คือปีคริสต์ศักราช เทียบเป็นพุทธศักราชก็คือปี 2472
ซึ่งตรงกันกับคอสะพานฝั่งเหนือ แสดงว่านี้คือปีที่สร้างสะพานแห่งนี้
แสดงว่าสะพานที่เราเห็นนี้ไม่ใช่สะพานดั้งเดิม เพราะตอนที่สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง
ทรงเปิดการเดินรถไฟหลวงเที่ยวปฐมฤกษ์ช่วงกรุงเทพ-อยุธยานั้น เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2439
แต่ปี 2472 เป็นปีที่สร้างสะพานนี้ จะสอดคล้องกับการสร้างทางคู่ช่วงกรุงเทพ-บ้านภาชี
ซึ่งเปิดใช้งานช่วงแรกระหว่างกรุงเทพ – คลองรังสิต เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2474 ครับ
----------------------------------------------------------
สำหรับฝั่งทางล่อง บนคอสะพานไม่พบตัวอักษรใดๆ จารึกทั้ง 2 ฝั่งครับ |
|
Back to top |
|
|
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
Joined: 29/03/2006 Posts: 3293
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง
|
Posted: 18/02/2013 11:10 pm Post subject: |
|
|
จุดที่เป็นข้อสังเกตอึกอย่างหนึ่งที่แสดงว่าสะพานนี้ถูกสร้างขึ้นใหม่รองรับทางคู่ก็คือ
โครงสร้างตอม่อที่เป็นเสาตับต่อเนื่องยาวจากฝั่งทางขึ้นไปจนถึงทางล่อง
ในขณะที่โครงสร้างรูปตัว X ยึดหมู่เสาตับ มีเฉพาะปลายนอกสุดทั้ง 2 ด้าน
โดยไม่ปรากฏตรงกลางระหว่างราง 2 ทาง แสดงว่าออกแบบใหม่ให้เป็นชุดเดียวกัน
แต่ถึงแม้ว่าโครงสร้างจะเป็นชุดเดียวกัน แต่การหล่อโครงสร้างนี้ก็คงจะเป็นการทำทีละฝั่ง
เพื่อให้ทำการเดินรถได้ตามปกติโดยไม่ต้องใช้วิธีสร้างทางเบี่ยง
สังเกตได้จากรอยต่อตรงกลางของคานขวางทุกตัวครับ
|
|
Back to top |
|
|
|