View previous topic :: View next topic
Author
Message
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 46855
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 13/03/2013 10:03 am Post subject:
<---
สวยดีครับ
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43712
Location: NECTEC
Posted: 03/04/2013 5:24 pm Post subject:
แม้ไม่ใช่ JR East แต่ก็เป็นรถไฟญี่ปุ่นสวยๆ ที่ถ้าสบโอกาสก็ควรนั่งนะครับ - เพราะ Anime-Manga นี่ก็ส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมญี่ปุ่นไปแล้ว
สุดฟินไปกับรถไฟสาย Oreimo - รถไฟโปรโมทการท่องเที่ยวในเทศบาลเมืองจิบะ ที่ใช้เป็นฉากเรื่อง Ore No Imouto Ga Konna Ni Kawaii Wake Ga Nai (น้องสาวผมไม่น่ารักขนาดนั้น) ที่ตอนนี้ เริ่ม Season 2 แล้ว และ ผู้เขียนได้เอาฉากเทศบาลเมืองจิบะ เป็นฉากประกอบเรื่องนี้ - เมืองจิบะนี่ไม่ไกลจากสนามบินนาริตะ นะครับ ... จะเอาใครดี ระหว่างน้องสาวที่โกรกผมเป็นสีบลอนด์ สาวแมวดำ ที่ชอบแต่ชุดแบบ Gothic Loli สีดำ สาวแว่น ที่เป้นคุณหนู หรือ เพื่อของน้องสาวที่หึงโหด ขนาดจะใส่กุญแจมือพระเอก Last edited by Wisarut on 11/11/2013 1:06 am; edited 1 time in total
Back to top
nutsiwat
2nd Class Pass Joined: 03/03/2011 Posts: 684
Location: สถานีเรณูนคร
Posted: 03/04/2013 9:55 pm Post subject:
รถไฟญี่ปุ่นมีแต่รถสวย ๆ ประกอบกับวิ่งในภูมิประเทศที่ต่าง ๆ จนดูสวยงามมาก ๆ นะครับ _________________
--------------------------
สถานีต่อไป สถานีเรณูนคร
next station Renunakorn
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43712
Location: NECTEC
Posted: 20/04/2013 8:39 am Post subject:
เมื่อญี่ปุ่นดีไซน์ขบวนรถไฟ
โดย : วลัญช์ สุภากร
ภาพ : เอกรัตน์ ศักดิ์เพชร
Life Style : Art & Living
กรุเทพธุรกิจ วันที่ 14 เมษายน 2556 14:14
รถไฟอาโสะ บอย! (Aso Boys!) ที่นั่งสีขาวลาย 'คุโรจัง' ออกแบบให้พ่อแม่ลูกนั่งชมวิวได้จากระดับความสูงเดียวกัน ที่นั่งยังออกแบบให้ยกพนักพิงปรับทิศทางได้ เพื่อให้เด็กได้นั่งที่ริมหน้าต่างทั้งขาไปและขากลับ
แนวทางการออกแบบรถไฟและบริการของเส้นทางต่างๆ สามารถพลิกฟื้นธุรกิจของบริษัท 'เจอาร์ คิวชู' ที่เคยขาดทุนให้กลับมามีกำไรและมีชื่อเสียง
เป็นอีกครั้งที่ การออกแบบ ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชิ้นงาน และครั้งนี้ชิ้นงานนั้นคือ รถไฟโดยสาร ทั้งขบวน
เนื่องจากความสามารถ่ในการแข่งขันทางเลือกการคมนาคมของ การรถไฟแห่งชาติญี่ปุ่น หรือ JNR (Japanese National Railway) ลดลง อันเป็นผลมาจากกระแสการพัฒนายานยนต์และความนิยมการคมนาคมทางอากาศ ทำให้เจเอ็นอาร์มีหนี้สินเพิ่มขึ้นในช่วงทศวรรษโชวะที่ 40 (พ.ศ.2508-2517)
เงื่อนไขดังกล่าว นำไปสู่การแปรรูปเจเอ็นอาร์เป็นบริษัทเอกชนภายใต้การกำกับดูแลของรัฐเมื่อปีพ.ศ.2530 เพื่อแก้ปัญหาหนี้สินระยะยาว และเพื่อเริ่มปรับปรุงนโยบายด้านธุรกิจของบริษัท
การแปรรูปดังกล่าว ทำให้เจเอ็นอาร์แตกออกเป็น เจอาร์ (JR - Japanese Railway) กระจายประจำเกาะต่างๆ ของญี่ปุ่น แต่ละเกาะก็พัฒนาเส้นทางรถไฟเพื่อตอบสนองและสนับสนุนความต้องการเฉพาะทางของภูมิภาคตัวเองได้เต็มที่และตรงเป้ามากกว่าเดิมที่เคยบริหารแบบรวมศูนย์ไว้ที่โตเกียว
บริษัท เจอาร์ คิวชู (JR Kyushu) ซึ่งดำเนินกิจการรถไฟบนเกาะคิวชู เป็นหนึ่งตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จในการนำงานออกแบบมาใช้
จากสถิติการเลือกใช้ระบบคมนาคมบนเกาะคิวชู พบว่าผู้คนเลือกใช้รถไฟเพียง 10.8% น้อยที่สุดเมื่อเทียบกับผู้เลือกใช้รถไฟในโตเกียว นิวยอร์ก และลอนดอน
ดังนั้นเมื่อแยกกิจการออกมาดำเนินงานเองเมื่อปีพ.ศ.2530 เจอาร์ คิวชู ตัดสินใจนำ งานออกแบบ เข้ามาพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานแขนงนี้ เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงการบริการของรถไฟและดึงดูดความสนใจให้ผู้คนจากเกาะต่างๆ ของญี่ปุ่น แม้กระทั่งนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เข้ามาใช้บริการรถไฟมากขึ้น
เจอาร์ คิวชู พัฒนางานออกแบบรถไฟร่วมกับ มร.เอย์จิ มิโตโอกะ (Eiji Mitooka) นักออกแบบและนักวาดภาพประกอบ ซึ่งขณะนั้นกำลังทำหน้าที่ผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ของโครงการออกแบบโรงแรมที่อุมิโนะนากะมิจิ
มร.มิโตโอกะเริ่มออกแบบแนวคิดรถไฟขบวนต่างๆ และสาธารณูปโภคของ เจอาร์ คิวชู บนแนวคิดที่ว่า เพื่อให้ผู้ใช้บริการเกิดความรู้สึกแปลกใหม่ โดยยังคงกลิ่นอายของความโหยหาอดีตไว้อยู่ เขาพยายามนำ เนื้อหา เรื่องราว และ วัสดุท้องถิ่นของคิวชู รวมไปถึง ฤดูกาล และ ดอกไม้ มาใช้ในงานออกแบบและตกแต่งภายในขบวนรถไฟที่กำลังพุ่งทะยานไปด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
ขบวนรถไฟคิวชูที่มร.มิโตโอกะออกแบบและสร้างชื่อเสียงให้เขา คือ รถไฟด่วนพิเศษ ซีรีส์ 787 หรือ สึบาเมะ (Tsubame -นกนางแอ่น) เปิดบริการในปีพ.ศ.2535 เชื่อมเมืองท่องเที่ยวระหว่าง 'ฮากาตะ' ซึ่งอยู่เหนือสุดของเกาะคิวชู ถึง 'คาโกชิมะตะวันตก' ใต้สุดของเกาะ ระยะทาง 256.8 กิโลเมตร
สึบาเมะ ได้รับการออกแบบโดยเน้นเรื่องความสะดวกสบายตลอดระยะเวลาการเดินทางทั้งหมด 3 ชั่วโมง 45 นาที มีการจัดผังที่นั่งหลายแบบ ตั้งแต่ที่นั่งภายในตู้โดยสารส่วนตัว ที่นั่งภายในตู้โดยสารแบบรวมที่เปิดโอกาสให้ผู้โดยสารนั่งล้อมวงกันรอบโต๊ะกลางและสนทนากับผู้ที่มาด้วยกันได้ นอกจากนี้ผู้โดยสารยังลุกขึ้นเดินไปมาภายในขบวนรถไฟเพื่อใช้บริการตู้เสบียงหรือบริเวณพื้นที่อเนกประสงค์ภายในรถไฟได้อย่างสะดวกสบาย
'นกนางแอ่น'ขบวนนี้ สร้างขึ้นจากวัสดุที่ปกติแล้วไม่ใช้ในการผลิตรถไฟ เช่น อะลูมิเนียม กระจก หิน นอกจากนี้มร.มิโตโอกะยังออกแบบผ้าบุผนังลวดลายต่างๆ ใช้ตกแต่งผนังตู้โดยสารแต่ละตู้ตั้งแต่หัวจรดท้าย ห้องสุขาได้รับการดูแลรักษาความสะอาดให้เรียบร้อยอยู่เสมอเพื่อให้ผู้โดยสารรู้สึกเหมือนกำลังใช้บริการอยู่ภายในโรงแรม
สองปีถัดมาหลังเปิดให้บริการ รถไฟด่วนพิเศษ ซีรีส์ 787 ก็ได้รับรางวัล บรูเนล (Brunel Award) จาก The Watford Group ที่มอบให้กับบริษัทรถไฟที่มีการออกแบบขบวนรถไฟเชิงสถาปัตย์ กราฟิก ศิลปะ ความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมยอดเยี่ยม ตั้งชื่อรางวัลตามชื่อวิศวกรรถไฟที่มีชื่อเสียงของอังกฤษ
มร.มิโตโอกะ ยังนำตำนานท้องถิ่นคิวชู เรื่อง อุราชิมา ทาโร่ (Urashima Taro) มาใช้ในงานออกแบบรถไฟให้กับเจอาร์คิวชู
ตำนานเล่าว่า นานมาแล้ว หนุ่มชาวประมงชื่อ อุราชิมา ทาโร่ ช่วยชีวิตเต่าทะเลให้พ้นจากการถูกรังแกของเด็กกลุ่มหนึ่ง เต่าตัวนั้นขอบคุณทาโร่ด้วยการพาเขาเดินทางไปยังปราสาทเทพเจ้ามังกรและได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากเจ้าหญิง สองสามวันต่อมาทาโร่พยายามหาทางกลับบ้าน เจ้าหญิงจึงมอบกล่อง 'ทามาเตะบาโกะ' กำชับห้ามเปิดกล่องออกดู เมื่อกลับถึงบ้าน เขาพบว่าไม่มีใครที่รู้จักอยู่เลย ทาโร่จึงเปิดกล่องออกดู ทันใดก็มีกลุ่มควันสีขาวพวยพุ่งออกจากกล่องและทำให้ทาโร่กลายเป็นชายชราทันที นั่นหมายความว่าเวลาเพียงไม่กี่วันที่ปราสาทเทพเจ้ามังกร แต่เวลาบนโลกได้ผ่านไปหลายร้อยปี
ขบวนรถไฟที่ได้รับการออกแบบจากตำนานดังกล่าวคือ รถไฟท่องเที่ยวสาย อิบุซุกิ โนะ ทามาเตะบาโกะ (Ibusuki-no-Tamatebako) ด้านหน้าของหัวรถจักร ซีกหนึ่งทาด้วยสีขาว อีกซีกทาด้วยสีดำ สื่อถึงการเปลี่ยนร่างของทาโร่จากชายหนุ่มผมดำเป็นชายชราผมขาว เมื่อเปิดประตูรถไฟก็มีหมอกไอน้ำพวยพุ่งออกมา แทนควันจากกล่องทามาเตะบาโกะ ภายในขบวนรถไฟมีชั้นวางหนังสือเต็มไปด้วยตำนานต่างๆ และหนังสืออิบุซุกิ เมืองในจังหวัดคาโกชิมะ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของนิทานเรื่องนี้
ที่สำคัญ ที่นั่งโดยสารยังออกแบบให้หันหน้าเข้าทะเล เพื่อผู้โดยสารจะสามารถเพลิดเพลินกับทิวทัศน์ที่สวยงามผ่านหน้าต่างรถไฟ ภายในขบวนรถไฟตกแต่งด้วยไม้สนญี่ปุ่นโอบิ ซึ่งเป็นไม้พื้นเมืองของคิวชูตอนใต้
นอกจากตำนานพื้นบ้าน 'เรื่องราวร่วมสมัย' ก็ได้รับการนำมาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบขบวนรถไฟ
รถไฟด่วนพิเศษ โซนิค ซีรีส์ 883 (Sonic 883 Series) ซึ่งเปิดบริการครั้งแรกในปีพ.ศ.2538 ได้รับความนิยมในหมู่ผู้ใหญ่และเด็กๆ ด้วยงานออกแบบตกแต่งภายในที่ทำให้เหมือน รถไฟในสวนสนุก เต็มไปด้วยความสนุกสนานและความประหลาดใจ แถวของเก้าอี้โดยสารคล้ายหมู่สัตว์หน้าตาน่ารัก เรียงรายไปตามตู้รถไฟแต่ละตู้ด้วยการใช้สีสันสดใส
ขณะที่เทคโนโลยีที่ใช้ในรถไฟขบวนนี้ก็ล้ำหน้าด้วยเทคโนโลยีแบบ เอียงเข้าหาจุดศูนย์กลาง คือการเอียงขบวนรถไฟขณะเข้าโค้ง และระบบการควบคุมแรงเหวี่ยงของตัวขบวนรถไฟที่ทำให้เข้าโค้งได้โดยไม่ต้องลดความเร็ว เป็นรถไฟด่วนพิเศษแบบเอียงเข้าหาจุดศูนย์กลางสายแรกของคิวชู และเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเพิ่มประสิทธิภาพและความเร็วของรถไฟ ผู้โดยสารจึงได้รับความสะดวกสบายและประสบการณ์เดินทางใหม่จากความเร็วที่เพิ่มขึ้นสมชื่อ 'โซนิค' และคว้ารางวัลบรูเนลไปครองในปีพ.ศ.2539
งานออกแบบยังคงติดตามเทคโนโลยีที่ก้าวไม่หยุด ในปีพ.ศ.2543 เจอาร์คิวชูเปิดตัว รถไฟด่วนพิเศษ ซีรีส์ 885 มีชื่อเรียกเล่นๆ ว่า ไวท์ คาโมเมะ (White Kamone -นกนางนวลสีขาว) ให้บริการบนเส้นทางสายหลักนางาซากิ (แต่ถ้าบริการบนเส้นทางสายหลักนิปโป จะใช้ชื่อ ไวท์ โซนิค) ตัวขบวนรถไฟทำจากอะลูมิเนียม อัลลอยด์ ตีให้โปร่งด้วยเทคนิคการเชื่อมสุดทันสมัย(friction stir welding technique) ทำให้ได้โครงสร้างขบวนรถไฟที่น้ำหนักเบาและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังงานและทรัพยากร เนื่องจากมีระบบควบคุมแรงเหวี่ยง รถไฟเข้าโค้งได้ด้วยความเร็ว 130 กิโลเมตร/ชั่วโมง
การตกแต่ภายในตู้โดยสารของ 'นกนางนวลสีขาว' ให้บรรยากาศแบบ ฟิวเจอริสต์ เน้นความเคลื่อนไหวและความเร็ว แต่ยังคงไว้ซึ่งความรู้สึกผ่อนคลาย ที่นั่งโดยสารทุกที่นั่งทำด้วยหนังแท้และไม้ธรรมชาติเป็นส่วนประกอบหลัก บริเวณโถงทางเดินระหว่างตู้โดยสารตกแต่งด้วย งานศิลปะคัดตัวอักษรญี่ปุ่น และงานศิลปะ รถไฟขบวนนี้คว้ารางวัลบรูเนลในปีรุ่งขึ้น
เมื่อรถไฟนำนักท่องเที่ยวมา.. 'เจอาร์คิวชู' ก็นำเสนอแนวคิดให้ท้องถิ่นช่วยกันคิด ปรับปรุงพื้นที่ตามความต้องการของคนในท้องถิ่น การเปิดช่องทางจำหน่ายสินค้าเกษตรท้องถิ่น เช่น มะเขือเทศคิวชูซึ่งปลอดสารเคมีในการปลูก ไข่ไก่สุขภาพอุชิ-โนะ-ทามาโกะ มันหวาน พริกหวาน ส้ม การพลิกฟื้นเทศกาลท่องเที่ยวที่เคยประสบภัยธรรมชาติ เช่น เทศกาลดอกทานตะวันบานที่ยุฟุอิน(Yufuin) โดยเฉพาะการพัฒนารูปแบบของ เอกิเบง (Ekiben) หรือ 'ข้าวกล่องรถไฟ'
เอกิเบง มีจำหน่ายเป็นครั้งแรกในปีพ.ศ.2428 บนรถไฟระหว่างสถานีชินบาในโตเกียวถึงสถานีโยโกฮามะในจังหวัดคานากาวะ เป็นเพียงข้าวปั้นไส้หัวไชเท้าดอง ห่อด้วยใบไผ่ญี่ปุ่น ส่วนที่คิวชูเริ่มจำหน่ายเอกิเบงในปีพ.ศ.2439 มีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในภูมิภาคทั้งเกษตรกรรมและปศุสัตว์ เพราะใช้วัตถุดิบท้องถิ่นในการปรุง
เพื่อยกระดับความเป็นท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์ของคิวชู มร.มิโตโอกะจึงได้ออกแบบบรรจุภัณฑ์เอกิเบงของเจอาร์คิวชูไว้หลายรูปแบบให้เข้ากับดีไซน์ของขบวนรถไฟต่างๆ รวมทั้งออกแบบอาหารร่วมกับคนในท้องถิ่นซึ่งอาศัยอยู่ตามเส้นทางรถไฟ
งานออกแบบรถไฟชิ้นล่าสุดของมร.มิโตโอกะขณะนี้คือ เซเว่น สตาร์ อิน คิวชู (Seven Stars in Kyushu) รถไฟท่องเที่ยวสายใหม่ที่จะให้บริการท่องเที่ยวทั่วเกาะคิวชูแบบค้างคืนบนรถไฟแบบ 4 วัน 3 คืน และแบบ 2 วัน 1 คืน เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวสัมผัสความเป็นญี่ปุ่นที่มีเอกลักษณ์ทั้งธรรมชาติ อาหาร บ่อน้ำพุร้อน ประเพณีวัฒนธรรม ตามเมืองท่องเที่ยวของเกาะคิวชูทั้ง 7 จังหวัดของเกาะคิวชู ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ 'เซเว่น สตาร์' โดยเปรียบจังหวัดทั้งเจ็ดของคิวชูเป็นดวงดาวนั่นเอง โดยจะมีรถบัสมารับนักท่องเที่ยวที่สถานีรถไฟไปยังแหล่งท่องเที่ยวที่กำหนดแล้วพากลับมาส่งที่สถานีรถไฟเพื่อเดินทางต่อไปยังจุดอื่นๆ ตามโปรแกรม
นักท่องเที่ยวยังได้สัมผัสเอกลักษณ์ของเกาะคิวชูได้อย่างใกล้ชิดจากการใช้วัสดุท้องถิ่นตกแต่งภายในของขบวนรถไฟเซเว่น สตาร์ อีกด้วย
จากการตกอยู่ในสภาพปัญหาหนี้สินในอดีต ปัจจุบันเจอาร์คิวชูมีขบวนรถไฟที่ผ่านงานดีไซน์ประมาณ 30 รูปแบบ การเพิ่มขบวนรถไฟ เพิ่มความเร็วในการเดินทาง เปลี่ยนรถไฟขบวนใหม่ๆ เปิดสถานีรถไฟเพิ่มขึ้น ประยุกต์ใช้สินทรัพย์ที่มี ผลลัพธ์ก็คือ ภายในปีงบประมาณ 2554 บริษัทในเครือเจอาร์คิวชูสร้างรายได้รวม 332.8 พันล้านเยน คิดเป็นกำไร 20.2 พันล้านเยน
อีกหนึ่งความมหัศจรรย์ของงานออกแบบที่พลิกฟื้นกิจการรถไฟของญี่ปุ่น
หมายเหตุ : ชมภาพมากกว่านี้ได้ที่ fan page เซ็คชั่น กรุงเทพวันอาทิตย์ กรุงเทพธุรกิจ คลิก http://www.facebook.com/sundaybkk
ผู้สนใจสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานดีไซน์ขบวนรถไฟของเจอาร์คิวชูได้ในนิทรรศการ รถไฟสายความสุข.. เศรษฐกิจใหม่จากรางสู่เมือง ณ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) วันนี้-26 พฤษภาคม 2556 เวลา 10.30 - 21.00 น. (ยกเว้นวันจันทร์) คลิก www.tcdc.or.th Last edited by Wisarut on 13/11/2013 11:49 am; edited 1 time in total
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 46855
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 20/04/2013 10:40 am Post subject:
เกาะคิวชู มีจุดขายเพื่อการท่องเที่ยวน้อยครับ (จริง ๆ มีเยอะ แต่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก)
แม้แต่นักท่องเที่ยวญี่ปุ่นเองก็ไม่ค่อยไปเที่ยวกัน
นักท่องเที่ยวบ้านเรา ถ้าถามถึงญี่ปุ่นว่าจะไปเมืองไหนบ้าง ก็จะนึกถึงแต่ โตเกียว ภูเขาไฟฟูจิ โอซาก้า เกียวโต นารา ฮิโรชิมา ฮอกไกโด
ไม่ค่อยมีใครนึกถึงฟุกุโอกะ คุมาโมโต้และนางาซากิ ที่อยู่เกาะคิวชู เพราะว่าอยู่ไกลจากแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ ของญี่ปุ่น หิมะก็ไม่ค่อยตก
แต่ถ้าคนรักรถไฟ ต้องไปนั่งรถไฟสาย Aso Kogen Line ครับ มีทางรถไฟแบบ Switchback ให้ดูด้วย คนไม่รู้นึกว่ารถไฟขัดข้อง ขึ้นเขาไม่ไหวแบบขุนตาน ถอยไปถอยมาครับ
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43712
Location: NECTEC
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43712
Location: NECTEC
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 46855
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 46855
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 19/09/2013 9:11 pm Post subject:
ดูชิบะโมโนเรลในการ์ตูนได้ที่นี่ครับ ฉากเปิดเรื่องเลย มองจากสวนสาธารณะ
http://vimeo.com/46999670
Back to top
BanPong1
1st Class Pass (Air) Joined: 07/12/2006 Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี
Posted: 22/10/2013 11:52 pm Post subject:
CivilSpice wrote:
ทริปต้นตุลาคมที่ผ่านมาได้มีโอกาสไปนั่ง Resort Shirakami ขบวนนี้มาแบบต้นทางปลายทาง Aomori - Akita เลยครับ ทั้งนั่งๆนอนๆ ไว้จะเอาภาพมาให้ชมกันครับ _________________
Back to top