View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
JackSkyline
Warning 3 (Final)
Joined: 11/02/2013 Posts: 118
|
Posted: 16/02/2013 8:47 pm Post subject: |
|
|
nop2 wrote: | ที่สืบราคาเจอคือ CC205 ราคาคันล่ะประมาณ 123ล้านบาทเครื่องยนต์ 8-710 (EMD ระบุ 2150แรงม้า) AC-AC น้ำหนัก 108ตัน ครับ |
ถ้าสำหรับดีเซลราง หรือหัวรถจักทำได้ดีอยู่แล้วผมไม่ห่วงสำหรับความเร็วเกิน 120 ในราง 1 เมตร
แต่สำหรับโบกี้โดยสารที่พ่วงยาวๆ ล่ะคับ สามารถรองรับได้ถึง 120+ มันมีในสายการผลิตโบกี้ หรือทำได้จริงๆ ไหมล่ะครับ (ผมขอเน้นย้ำถามอีกรอบ เจาะประเด้นที่ตู้โดยสารนะครับ ในเรื่องการรองรับความเร็วเกิน 120 ของโบกี้โดยสารในราง 1 เมตรนี่แหละที่ผมห่วงจริงๆ และอยากทราบจริงๆ ว่ามีการผลิตขึ้นใช้หรือไม่ครับ แคร่ล้อ 1 เมตรสำหรับโบกี้โดยสารที่รองรับความเร็วได้เกิน 120+ เพราะเห็นปัจจุบบันมีแต่ 90 กับ 100) |
|
Back to top |
|
|
nop2
2nd Class Pass (Air)
Joined: 06/03/2008 Posts: 985
Location: เพชรบุรี
|
Posted: 16/02/2013 10:57 pm Post subject: |
|
|
ถ้าเอาโบกี้ของ JR EMU 883 หรือ QR tilting train มาใช้ในรถโดยสารน่าจะวิ่งได้ 160 นะครับ _________________ "You are star I am darkness Our love brighter than the sun .." |
|
Back to top |
|
|
JackSkyline
Warning 3 (Final)
Joined: 11/02/2013 Posts: 118
|
Posted: 17/02/2013 12:02 am Post subject: |
|
|
nop2 wrote: | ถ้าเอาโบกี้ของ JR EMU 883 หรือ QR tilting train มาใช้ในรถโดยสารน่าจะวิ่งได้ 160 นะครับ |
แล้วสำหรับราง 1 เมตร 100 ปอนด์หมอนคอนกรีตได้ป่าวล่ะครับ ถ้าว่าอย่างนั่น แล้ว โบกี้ JR EMU กับ QR tilting Train ล่ะคับ เอามาใส่ในโบกี้ที่เป็นหัวรถจักรลากยาวๆ ได้ด้วยเหรอครับ เพราะที่คุรพี่กล่าวถึง มัีนเป็นแคร่ล้อของ EMU ไม่ใช่ของตู้ดดยสารนี่นา ผมถามหมายถึง เฉพาะตู้โดยสารที่หัวรถจักรลากนะครับ แถ้วถ้าเอามาใส่กับ ตู้โดยสารแบบหัวรถจักรลาก มันจะรองรับความเร้ซจาก 90-100 ได้เหรอครับ |
|
Back to top |
|
|
rimura
2nd Class Pass (Air)
Joined: 16/08/2006 Posts: 778
Location: Suan luang Rama IX, Pravet, Bangkok
|
Posted: 17/02/2013 10:47 am Post subject: |
|
|
เรื่องเครื่องยนต์ของรถจักร ไม่ว่าจะเครื่องเดิมหรือรถที่วางเครื่องใหม่ แม้แต่ในรถเก่าๆอย่าง GE จริงๆแล้วกำลังเครื่องยนต์มากพอที่จะทำความเร็วได้สูงมากกว่า 100 กม./ชม.ได้ครับ เพียงแต่ต้องปรับปรุงเรื่องแคร่ ระบบห้ามล้อ และสภาพทางอย่างที่ว่าไปครับ เพียงแต่เครื่องที่ใหม่กว่า สดกว่า กำลังของเครื่องยนต์มากกว่าจะส่งผลก็เรื่องของอัตราเร่งที่ดีกว่าเท่านั้นครับ
แต่ถ้าหากจะปรับปรุงกันเต็มที่ให้รับเครื่องที่แรงม้าสูงๆกว่าสเปคที่รับได้มากๆจริงๆแล้วล่ะก็ ต้องรื้อกันใหม่แทบจะทั้งระบบครับ โดยส่วนตัวผมเห็นว่ารถจักรที่มีในบ้านเราตอนนี้ที่เป็นม้างานหลักๆ กำลังของเครื่องยนต์ยังมีอยู่ในขั้นเพียงพอต่อการใช้งานครับ เพียงแต่ต้องเน้นเรื่องการดูแลบำรุงรักษา และพยายามที่จะไม่ใช้งานหนักจนเกินควรอย่างที่เห็นๆกันครับ |
|
Back to top |
|
|
RORONOA
2nd Class Pass
Joined: 06/12/2007 Posts: 705
|
Posted: 18/02/2013 11:53 am Post subject: |
|
|
JackSkyline wrote: | nop2 wrote: | ถ้าเอาโบกี้ของ JR EMU 883 หรือ QR tilting train มาใช้ในรถโดยสารน่าจะวิ่งได้ 160 นะครับ |
แล้วสำหรับราง 1 เมตร 100 ปอนด์หมอนคอนกรีตได้ป่าวล่ะครับ ถ้าว่าอย่างนั่น แล้ว โบกี้ JR EMU กับ QR tilting Train ล่ะคับ เอามาใส่ในโบกี้ที่เป็นหัวรถจักรลากยาวๆ ได้ด้วยเหรอครับ เพราะที่คุรพี่กล่าวถึง มัีนเป็นแคร่ล้อของ EMU ไม่ใช่ของตู้ดดยสารนี่นา ผมถามหมายถึง เฉพาะตู้โดยสารที่หัวรถจักรลากนะครับ แถ้วถ้าเอามาใส่กับ ตู้โดยสารแบบหัวรถจักรลาก มันจะรองรับความเร้ซจาก 90-100 ได้เหรอครับ |
ลองวิเคราะห์กันดูดีๆ แล้ว ในรางขนาดความกว้าง 1 เมตรโดยประมาณ รถไฟความเร็วที่มากกว่า 100 กม./ชม.ที่นิยมใช้กันล้วนเป็นรถดีเซลราง ต่อให้เป็นรางขนาดอื่นก็เช่นเดียวกันครับ ที่ต้องเป็นแบบนี้เพราะหากต้องการรถที่มีความเร็วสูง ตัวรถควรจะมีน้ำหนักเบา และรถทุกคันควรขับเคลื่อนด้วยตัวเอง เพื่อกระจายแรงเค้นไม่ให้มากเกินไป นอกจากนี้การออกตัวหรือหยุดรถจะทำได้นิ่มนวลและปลอดภัยกว่า ซึ่งคำตอบก็จะลงไปที่รถดีเซลรางหรือรถไฟฟ้า คำตอบที่ว่ารถหัวลากจะมีรถโดยสารที่มารองรับความเร็วสูงในระดับมากกว่า 100 กม./ชม. นั้นมีหรือไม่ คำตอบคือว่าคงมี หรือถ้าไม่มีก็สามารถพัฒนาได้ครับ แต่เท่าที่มองดูตอนนี้คือยังไม่เห็นมีเจ้าไหนทำ เพราะไม่มีความคุ้มค่าที่จะทำและพัฒนา สู้ไปทำดีเซลรางหรือรถไฟฟ้าใส่ลูกเล่นให้โดดเด่นจะดีกว่ากรณีต้องการเน้นความเร็วเป็นเงื่อนไข กรณีหัวรถจักรลากแนวคิดในการออกแบบก็บอกอยู่แล้วทำมาเพื่อต้องการขนภาระที่มีน้ำหนักมาก เรื่องความเร็วเป็นเรื่องรอง
ลองคิดดูดีๆ แบบนี้คุณจะทำหัวรถจักรให้วิ่งเร็วเพื่อไปลากรถอย่างรถนอนทำไม ถ้ารถวิ่งเร็วผู้โดยสารก็ไม่ทันนอนพอดี อย่างในประเทศไทยผมว่ารถไฟที่พ่วงรถนอนใช้เวลาเดินทางค่อนข้างพอดีแล้ว หลายๆขบวนก็ค่อนข้างเดินได้ตามเวลา ถ้าปรับปรุงทาง ทำทางคู่ได้สำเร็จ แค่นี้ก็เกินพอแล้ว อย่างที่หลายๆท่านพยายามพูดเรื่อง สภาพทาง สถาพรถ เครื่องยนต์ อีกเรื่องที่สำคัญมากอาจจะมากกว่าด้วยซ้ำที่ต้องมองคือ มองในมุมมองด้านเศรษฐศาสตร์ ว่าจะทำมาเพื่ออะไร ให้บริการในรูปแบบไหน ตอบโจทย์ลูกค้าได้หรือเปล่า พุดง่ายๆ คือถามว่าทำมาทำไมนั่นล่ะครับ |
|
Back to top |
|
|
rimura
2nd Class Pass (Air)
Joined: 16/08/2006 Posts: 778
Location: Suan luang Rama IX, Pravet, Bangkok
|
Posted: 19/02/2013 11:14 am Post subject: |
|
|
สำหรับผมแล้ว สำหรับระบบรถไฟพื้นฐาน ผมไม่ขออะไรมาก ขอแค่ให้มีประสิทธิภาพเทียบเคียงหรือสูสีกับเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียก็พอครับ แล้วปรับเรื่องรายละเอียดย่อยๆให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งานในบ้านเราเท่านั้นก็พอครับ
รถโดยสารใช้รถจักรลาก ทำความเร็วได้ถึง 100 กม./ชม. ทุกขบวนและ 120 กม./ชม. สำหรับรถด่วนพิเศษสายไกลบางขบวนที่ใช้ตู้โดยสารเกรดดี อย่างด่วนพิเศษระหว่างประเทศ, นครพิงค์ ความเร็วที่เพิ่มขึ้นมาอาจช่วยเรื่องการทำเวลาไม่ได้ไปกว่าเดิมมากนัก อย่างมากก็ 1-2 ชม. จากเวลาเดิมซึ่งก็ถือว่ายังเหมาะสมกับสภาพการโดยสาร ไม่ช้าจนผู้โดยสารบ่น ไม่เร็วจนไม่คุ้มกับการบริการ (แต่นั่น ปัจจัยที่สำคัญก็คือสภาพทางที่จะให้รถทำความเร็วได้สม่ำเสมอและความปลอดภัยอื่นๆด้านสิ่งแวดล้อม เขตชุมชน จุดตัด ต้องได้รับการควบคุมและจัดการให้มีมาจรฐานด้านความปลอดภัยที่ดีกว่าที่เป็นอยู๋)
ส่วนรถดีเซลราง ก็คงไว้ที่ 120 กม./ชม. แต่ถ้าทางดีก็ทำเวลาได้ดีขึ้นอยู่แล้ว หรือถ้าเจ๋งพอจะปรับปรุงทางให้สามารถเพิ่มพิกัดความเร็วไปที่ 140-160 กม./ชม.ได้ก็ถือว่ากำไรไปครับ เพราะกลุ่มผู้ใช้รถประเภทนี้เป็นกลุ่มที่เน้นเรื่องความเร็ว ความคล่องตัวของการให้บริการเป็นหลัก
เพียงเท่านี้ผมว่าเราก็อาจจะไม่จำเป็นต้องเน้นเรื่องรถไฟความเร็วสูงก็ได้ครับ รถไฟความเร็วสูงจะมีไว้ก็ไม่เสียหาย สำหรับกลุ่มลูกค้าที่ต้องการความสะดวกรวดเร็วอีกระดับเช่น กลุ่มที่ไม่ต้องการใช้บริการทางการบิน |
|
Back to top |
|
|
JackSkyline
Warning 3 (Final)
Joined: 11/02/2013 Posts: 118
|
|
Back to top |
|
|
joyrisus
3rd Class Pass
Joined: 01/10/2008 Posts: 21
|
Posted: 12/03/2013 6:30 pm Post subject: |
|
|
เรื่องความเร็ว เกิน 120 ไม่มีปัญหาหรอก แต่ เรื่องศูนย์ถ่วง กับรางนี้สิ ราง 1เมตรที่ดีดี [แบบว่าทำแล้วนะ] ผมมองว่าวิ่งได้ 120 ก็ดีแล้ว ไม่ต้องไปเร็ว 150-200 หรอก ตัวรถคงโครงเครงแน่เลย
เขาเลยคิดว่า ถ้าจะทำราง 1 เมตร วิ่งเร็ว 150-160 ก็ต้องทำรางใหม่ ตัวรถใหม่ สู้ทำทางใหม่แยกระบบ มาเลน ดีกว่า |
|
Back to top |
|
|
JackSkyline
Warning 3 (Final)
Joined: 11/02/2013 Posts: 118
|
Posted: 19/03/2013 7:58 pm Post subject: |
|
|
joyrisus wrote: | เรื่องความเร็ว เกิน 120 ไม่มีปัญหาหรอก แต่ เรื่องศูนย์ถ่วง กับรางนี้สิ ราง 1เมตรที่ดีดี [แบบว่าทำแล้วนะ] ผมมองว่าวิ่งได้ 120 ก็ดีแล้ว ไม่ต้องไปเร็ว 150-200 หรอก ตัวรถคงโครงเครงแน่เลย
เขาเลยคิดว่า ถ้าจะทำราง 1 เมตร วิ่งเร็ว 150-160 ก็ต้องทำรางใหม่ ตัวรถใหม่ สู้ทำทางใหม่แยกระบบ มาเลน ดีกว่า |
ขนาดรถไฟใต้ดิน รางกว้าง 1.432 วิ่งไม่เกิน 80 ยังมีเขยื้อน โครงเครงนิดๆ บ้างอยู่
รถไฟญี่ปุ่นที่เป็นรถไฟธรรมดา ความเร็วสูงสุด 120 กว่าๆ แต่จะใช้กันจริงๆ 90-110 วิ่งประมาณนี้ รางก็กว้างว่าเราแค่ฝ่ามือหนึ่งเอง
และผมไม่ได้หมายถึงว่าจะวิ่งถึง 150 หรอก
เอาประมาณว่า เกิน 120 ไปนิดๆ ประมาณ 125-135 สำหรับรถจักร และแคร่รองรับตู้โดยสารที่รถจักรลาก
แตวิ่งจริงๆ จำกัดไว้แค่ ไม่เกิน 120 เกินนั้นเอาไว้ตอนดีเลย์เพื่อให้เข้าสถานีถัดไปตรงเวลาครับ |
|
Back to top |
|
|
|