View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43714
Location: NECTEC
|
Posted: 16/04/2013 9:39 pm Post subject: เชียงใหม่อยากมีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน |
|
|
ดัน 'รถไฟฟ้ารางเดี่ยว'รับการเติบโตเชียงใหม่
หน้าการเมือง
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 15 เมษายน 2556 06:29
"เชียงใหม่ยังไม่มีระบบขนส่งมวลชนที่เป็นรูปธรรมรองรับประชาชน และนักท่องเที่ยวได้"
"เชียงใหม่" ถือเป็นหัวเมืองใหญ่ของภาคเหนือตอนบนทั้งด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว แต่ละปีมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติเดินทางมาท่องเที่ยวปีละ 2-3 ล้านคน เม็ดเงินสะพัดปีละกว่า 2-3 หมื่นล้านบาท แต่กลับพบว่าไม่มีระบบขนส่งมวลชนที่ดีพอรองรับ
"บุญเลิศ บูรณุปกรณ์" นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ มีแนวคิดจะทำรถไฟฟ้ารางเดี่ยว ให้เป็นระบบขนส่งมวลชนเชียงใหม่ขึ้น เพื่อสอดรับการโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ พร้อมกับตัดถนนวงแหวนรอบที่ 4 และรอบที่ 5 เพื่อระบายการจราจรที่คับคั่งในเขตเมือง
"บุญเลิศ" กล่าวว่าห้วงเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา ยอมรับว่าเชียงใหม่เป็นเมืองที่ได้รับการดูแลจากรัฐบาลมาก หลายโครงการเตรียมลงมือดำเนินการ โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐาน เช่น โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ขณะนี้มีการทำประชาพิจารณ์ แล้ว ตนเป็นหนึ่งในคณะกรรมการร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เชื่อว่ารถไฟความเร็วสูงนี้จะเป็นจุดดึงดูดให้คนมาเชียงใหม่ รวมถึงรองรับการเปิดประชาคมอาเซียนในอีก 2 ปีข้างหน้า
ทั้งนี้ อบจ.เชียงใหม่ มีแนวคิดที่จะทำระบบขนส่งเชียงใหม่ขึ้น เพราะเมืองเชียงใหม่ปัจจุบันโตเร็วมาก มีรถยนต์และรถจักรยานสัญจรไปมาหนาแน่น ตามความเจริญเติบโตของสภาพเศรษฐกิจ แต่เชียงใหม่เองยังไม่มีระบบขนส่งมวลชนที่เป็นรูปแบบรองรับประชาชน และนักท่องเที่ยวได้ ซึ่งจะจัดทำในรูปแบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว มูลค่าโครงการ 8 พันล้านบาท ระยะเวลาสร้างเสร็จภายใน 5 ปี
โดยแบ่งการเดินรถไฟฟ้าฯ ออกเป็น 2 เส้นทาง เชื่อมต่อในเขต อ.เมือง ระยะทาง 28 กิโลเมตร เริ่มต้นเส้นทางตั้งแต่บริเวณอุทยานหลวงราชพฤกษ์ ปลายทางศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา โดยผ่านรอบคูเมืองเชียงใหม่และท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ รองรับผู้โดยสารและนักท่องเที่ยว เป็นรถรางเดี่ยว แต่ละเที่ยวจะรองรับผู้โดยสารได้ 120 คน หากเป็นช่วงเวลาเร่งด่วนจะรองรับผู้โดยสารได้ 200 คน ความเร็ว 28 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เบื้องต้นคาดการณ์ว่าแต่ละรอบจะใช้เวลาไม่เกิน 30 นาที จะควบคุมด้วยระบบสัญญาณจราจร
"แนวคิดดังกล่าวมีการศึกษาต้นแบบมาจากฝรั่งเศส ซึ่งมีการอนุรักษ์โบราณสถานและรักษาความเป็นเมืองเก่าผสมผสานกับความทันสมัย อำนวยความสะดวกให้กับประชาชนได้เป็นอย่างดี แนวคิดนี้น่าจะมีความเหมาะสมกับเชียงใหม่ ไม่กระทบโบราณสถาน เพราะตัวรางมีขนาด 12 นิ้วและเงียบมาก" บุญเลิศ กล่าว
ขณะนี้แนวคิดดังกล่าวได้มีการหารือกับ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายนิวัฒน์ธํารง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรีแล้ว โดยรูปแบบจะเป็นการร่วมลงทุน 3 ฝ่าย คือ รัฐบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ และบริษัทที่ทำรถราง ซึ่งรัฐบาลได้ก็ได้เห็นชอบเบื้องต้น และช่วงสงกรานต์นี้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางมาเชียงใหม่ ได้นำเรื่องดังกล่าวหารือด้วย หากได้รับความเห็นชอบก็จะจัดทีมทำงานดำเนินการได้เลย ทั้งนี้จะชี้ให้นายกฯ เห็นถึงปัญหาระบบขนส่งมวลชนเชียงใหม่ว่าหากไม่ได้รับการแก้ไขจะเป็นการจราจรจะเป็นอัมพาต
นอกจากนี้ ยังมีแนวคิดจัดทำวงแหวนรอบที่ 4 และวงแหวนรอที่ 5 เพื่อแก้ปัญหาการจราจรบริเวณชานเมืองไม่ให้เข้ามาในตัวเมือง ขณะนี้วงแหวนรอบที่ 4 ได้มีการวางแนวทางและสำรวจเส้นทางแล้ว โดยจุดแรกจะเริ่มต้นจาก อ.หางดง อ.สารภี อ.สันกำแพง อ.ดอยสะเก็ด อ.สันทราย และสิ้นสุดอ.แม่ริม ส่วนจุดตัดยังไม่มีการสรุปที่แน่ชัดแต่คาดว่าน่าจะเลยจาก อ.แม่ริมไปเล็กน้อย ทั้งนี้ จะพยายามสร้างจุดต่อเชื่อมให้สมบูรณ์ที่สุด
"ตอนนี้ติดปัญหาจากบริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยตึงเฒ่า ไปยังอ.แม่ริม ระยะทางขาดไป 2 กิโลเมตร เนื่องจากเป็นพื้นที่ทหาร ตอนนี้อยู่ระหว่างการพูดคุยเจรจาอยู่ ถ้าสามารถเชื่อมต่อได้ก็จะเข้าสู่อ.แม่ริมเลย" บุญเลิศ กล่าว
ทั้งนี้ อบจ.เชียงใหม่ เองยังมีการวางแผนทำเส้นทางวงแหวนรอบที่ 5 เพิ่มเติม บริเวณ อ.แม่แตง โดย "บุญเลิศ" ระบุว่า เพื่อเป็นการเชื่อมกับจังหวัดลำพูน โดยไม่ให้รถยนต์ที่จะเดินทางจากจังหวัดลำปางเข้าสู่เชียงราย ผ่านทางเชียงใหม่ แต่จะให้ผ่านทาง อ.สันกำแพง อ.ดอยสะเก็ด และมุ่งเข้าสู่เชียงรายได้เลย ทั้งนี้ บริเวณ อ.สันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ได้มีแนวทางที่จะสร้างท่าอากาศยานแห่งใหม่ ซึ่งวงแหวนรอบที่ 5 จะสามารถตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี
"บุญเลิศ" กล่าวว่า ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ เป็นท่าอากาศยานที่รองรับผู้โดยสารได้ปีละ 5 ล้านคน ได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับที่ 4 ของโลกด้านการบริการโดยเฉพาะการตรงเวลา ซึ่งถือเป็นท่าอากาศยานนานาชาติที่สมบูรณ์แบบ แต่สภาพขณะนี้พบว่ามีความแออัดค่อนข้างสูง และคาดการณ์ว่าจะให้บริการได้ต่อเนื่องไม่เกิน 10 ปีหากอัตราการเจริญเติบโตของเชียงใหม่ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำเป็นต้องมีการสร้างท่าอากาศยานแห่งใหม่เพื่อรองรับจำนวนผู้โดยสาร |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46870
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 04/05/2013 7:08 am Post subject: |
|
|
'บุญเลิศ'ขายฝัน'รถไฟฟ้ารางเดี่ยว'
คมชัดลึก 4 พ.ค. 56
'บุญเลิศ บูรณุปกรณ์'ขายฝัน'รถไฟฟ้ารางเดี่ยว'ผุดที่เชียงใหม่ : คอลัมน์เปิดใจผู้นำท้องถิ่น
บุญเลิศ บูรณุปกรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า เชียงใหม่ถือเป็นหัวเมืองใหญ่ของภาคเหนือตอนบน ทั้งด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว แต่ละปีมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติเดินทางมาท่องเที่ยวปีละ 2-3 ล้านคน เม็ดเงินสะพัดจากการท่องเที่ยวปีละกว่า 2-3 หมื่นล้านบาท แต่กลับพบว่าไม่มีระบบขนส่งมวลชนที่ดีพอรองรับกับความเจริญเติบโต จึงมีแนวคิดจะทำรถไฟฟ้ารางเดี่ยวให้เป็นระบบขนส่งมวลชนเชียงใหม่ขึ้น เพื่อสอดรับการโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ พร้อมกับตัดถนนวงแหวนรอบที่ 4 และรอบที่ 5 เพื่อระบายการจราจรที่คับคั่งในเขตเมือง
ห้วงเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา ยอมรับว่าเชียงใหม่เป็นเมืองที่ได้รับการดูแลจากรัฐบาลเป็นอย่างมาก หลายโครงการเตรียมลงมือดำเนินการ โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐาน เช่น โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ขณะนี้มีการทำประชาพิจารณ์เรียบร้อยแล้ว ซึ่งตนเป็นหนึ่งในคณะกรรมการร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย เชื่อว่ารถไฟความเร็วสูงนี้จะเป็นจุดดึงดูดให้คนมาเชียงใหม่ และจะได้รับการตอบรับจากคนทั้งประเทศ รวมถึงรองรับการเปิดประชาคมอาเซียนในอีก 2 ปีข้างหน้าด้วย ยืนยันว่าเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
ทั้งนี้ อบจ.เชียงใหม่มีแนวคิดที่จะทำระบบขนส่งเชียงใหม่ขึ้น เพราะเมืองเชียงใหม่ปัจจุบันโตเร็วมาก มีรถยนต์และรถจักรยานยนต์สัญจรไปมาอย่างหนาแน่นเกือบทุกช่วงเวลาตามความเจริญเติบโตของสภาพเศรษฐกิจ ซึ่งเชียงใหม่เองก็ยังไม่มีระบบขนส่งมวลชนที่เป็นรูปแบบรองรับประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวได้ โดยจะจัดทำในรูปแบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว มูลค่าโครงการ 8,000 ล้านบาท ระยะเวลาสร้างเสร็จภายใน 5 ปี
โดยแบ่งการเดินรถไฟฟ้าฯ ออกเป็น 2 เส้นทาง เชื่อมต่อในเขต อ.เมือง ระยะทางประมาณ 28 กิโลเมตร จะเริ่มต้นเส้นทางตั้งแต่บริเวณอุทยานหลวงราชพฤกษ์ ปลายทางศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา โดยผ่านรอบคูเมืองเชียงใหม่และท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ เพื่อรองรับผู้โดยสารและนักท่องเที่ยว ซึ่งรถไฟฟ้าดังกล่าวจะเป็นรางเดี่ยว ให้บริการเที่ยวละ 3 โบกี้ รองรับผู้โดยสารได้โบกี้ละ 40 คน แต่ละเที่ยวจะรองรับผู้โดยสารได้ 120 คน หากเป็นช่วงเวลาเร่งด่วนจะเพิ่มโบกี้อีก 2 โบกี้ ซึ่งจะรองรับผู้โดยสารได้ 200 คน ความเร็ว 28 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระยะจอดรถไฟฟ้าทุกๆ 500 เมตร ซึ่งจะมีการกำหนดเวลาและจุดจอดรถไฟฟ้าอย่างชัดเจน เบื้องต้นคาดการณ์ว่า แต่ละรอบจะใช้เวลาไม่เกิน 30 นาที โดยรถไฟฟ้าดังกล่าวจะควบคุมด้วยระบบสัญญาณจราจร เมื่อถึงสี่แยกไฟแดงจะได้รับสิทธิ์ให้ไปก่อนไม่ต้องติดสัญญาณไฟจราจร
ขณะนี้แนวคิดดังกล่าวมีการหารือกับ รมว.คมนาคม และรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยรูปแบบจะเป็นการร่วมลงทุน 3 ฝ่าย คือ รัฐบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ และบริษัทที่ทำรถราง ซึ่งรัฐบาลก็ได้เห็นชอบในเบื้องต้น นอกจากนี้ยังมีแนวคิดในการจัดทำวงแหวนรอบที่ 4 และวงแหวนรอบที่ 5 เพื่อแก้ปัญหาการจราจรบริเวณชานเมืองไม่ให้เข้ามาในตัวเมือง ซึ่งถ้าไม่ป้องปรามไว้ก่อนก็จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาจราจรได้หมด ขณะนี้วงแหวนรอบที่ 4 ได้มีการวางแนวทางและสำรวจเส้นทางแล้ว โดยจุดแรกจะเริ่มต้นจาก อ.หางดง อ.สารภี อ.สันกำแพง อ.ดอยสะเก็ด อ.สันทราย และสิ้นสุด อ.แม่ริม ส่วนจุดตัดยังไม่มีการสรุปที่แน่ชัด แต่คาดว่าน่าจะเลยจาก อ.แม่ริม ไปเล็กน้อย ทั้งนี้จะพยายามสร้างจุดต่อเชื่อมให้สมบูรณ์ที่สุด
"ตอนนี้ติดปัญหาจากบริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยตึงเฒ่า ไปยัง อ.แม่ริม ระยะทางขาดไป 2 กิโลเมตร เนื่องจากเป็นพื้นที่ทหาร ตอนนี้อยู่ระหว่างการพูดคุยเจรจาอยู่ ถ้าสามารถเชื่อมต่อได้ก็จะเข้าสู่ อ.แม่ริม เลย"
นายกบุญเลิศ กล่าวทิ้งท้ายว่า อบจ.เชียงใหม่ ยังมีการวางแผนทำเส้นทางวงแหวนรอบที่ 5 เพิ่มเติม บริเวณ อ.แม่แตง เพื่อเป็นการเชื่อมกับ จ.ลำพูน โดยไม่ให้รถยนต์ที่จะเดินทางจาก จ.ลำปาง เข้าสู่เชียงราย ผ่านทางเชียงใหม่ แต่จะให้ผ่านทาง อ.สันกำแพง อ.ดอยสะเก็ด และมุ่งเข้าสู่เชียงรายได้เลย ทั้งนี้ บริเวณ อ.สันกำแพง มีแนวทางที่จะสร้างท่าอากาศยานแห่งใหม่ ซึ่งวงแหวนรอบที่ 5 จะสามารถตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี
นอกจากวางแผนสร้างเส้นทางวงแหวนรอบที่ 4 และรอบที่ 5 แล้ว ได้วางแนวทางสร้างจุดเชื่อมต่อเส้นทางวงแหวนทุกรอบเข้าด้วยกัน เบื้องต้นกำหนดจุดไว้ 4-5 จุด และจะให้มีการสร้างจุดจอดรถ เพื่อไม่ให้รถยนต์จากนอกเมืองเข้ามาสร้างความแออัดภายในตัวเมืองเชียงใหม่ ขณะเดียวกันจะมีรถบัสอำนวยความสะดวกรับส่งผู้โดยสารเพื่อเชื่อมต่อให้เข้าสู่ระบบขนส่งมวลชนเชียงใหม่ที่ได้วางแนวทางไว้ |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43714
Location: NECTEC
|
Posted: 05/05/2013 2:31 am Post subject: |
|
|
Chiang Mai Airport Monorail ไม่เลวนี่ แต่ จะเชื่อมทั้งรถไฟธรรมดาที่ สถานีเชียงใหม่แถววัตเกตุ กะ สถานีรถไฟความไวสูงข้างมงฟอร์ตด้่วยหรือเปล่าก็ยังไม่รู้ |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43714
Location: NECTEC
|
Posted: 19/07/2013 3:25 pm Post subject: |
|
|
สกู๊ป..ขายฝันระบบขนส่งมวลชนเชียงใหม่
ครอบครัวข่าว ช่อง 3
วันพุธ ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
เชียงใหม่ถือเป็นจังหวัดที่ทำรายได้ให้ประเทศปีละกว่า 2 หมื่นล้านบาทจากการเดินทางท่องเที่ยวของคนไทยและชาวต่างชาติ กว่า 3 ล้านคนต่อปี ทำให้เมืองนี้จำเป็นต้องพัฒนาเพื่อรองรับกับการเติบโต โดยเฉพาะนโยบายในการแก้ปัญหาการจราจร ด้วยการวางระบบขนส่งมวลชนอย่างรถไฟฟ้ารางเดี่ยว งบประมาณกว่า 8 พันล้านบาท
ผังเส้นทางการเดินรถไฟฟ้ารางเดี่ยวในตัวเมืองเชียงใหม่เพื่อรองรับการเดินทางระหว่างในเมืองและนอกเมือง จำนวน 4 เส้นทาง เริ่มจาก A1 สายสีทอง สนามกีฬา 700 ปี เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี A2 สายสีทับทิม สนามกีฬา 700 ปี-ตลาดสามแยก A3 สายสีไพลิน สวนสัตว์เชียงใหม่-บวกครก A4 สายสีมรกต ท่าแพ-เจริญประเทศ และช้างคลาน ซึ่งทั้ง 4 เส้นทางนี้จะครอบคลุมพื้นที่ในเขตเทศบาลเชียงใหม่และเชื่อมต่อไปยังเขตอำเภอรอบนอกของจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้การเดินทางของคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติคล่องตัวมากยิ่งขึ้น ซึ่งรถไฟฟ้ารางเดี่ยวที่ว่านี้จะให้บริการเที่ยวละ 3 โบกี้ รองรับผู้โดยสารได้โบกี้ละ 40 คน แต่ละเที่ยวจะรองรับผู้โดยสารได้ 120 คน แต่หากเป็นช่วงเวลาเร่งด่วนจะเพิ่มโบกี้อีก 2 โบกี้ ทำให้รับผู้โดยสารได้ถึง 200 คน โดยใช้ความเร็วเพียงแค่ 28 กิโลเมตร/ชั่วโมง และจะจอดรับผู้โดยสารทุกๆ 500 เมตร โดยกำหนดจุดจอดรถที่ชัดเจน คาดว่าในแต่ละรอบจะใช้เวลาไม่เกิน 30 นาที ซึ่งนายกฯ อบจ.เชียงใหม่ ยอมรับว่าโครงการนี้ต้องทุ่มงบประมาณกว่า 8 พันล้านบาท ซึ่งที่ประชุม ครม.เห็นชอบในหลักการแล้ว คาดว่าใช้เวลาในการก่อสร้าง 5 ปี
รถไฟฟ้ารางเดี่ยวอาจจะเป็นทางเลือกที่ดีในการแก้ปัญหาความแออัดบนท้องถนนของเชียงใหม่ ซึ่งปัญหาจราจรถือเป็นปัญหาใหญ่ของคนเมือง ท่ามกลางการเติบโตของธุรกิจด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่ต้องผสมผสานกลมกลืนกันได้ดี นักท่องเที่ยวนิยมหันมาใช้จักรยานในการท่องเที่ยวมากขึ้น ขณะที่ชาวบ้านบางส่วนเห็นด้วยกับการแก้ปัญหา แต่ก็ต้องรับฟังความเห็นของคนในพื้นที่ด้วย |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43714
Location: NECTEC
|
Posted: 04/12/2013 1:45 pm Post subject: |
|
|
ชูรถไฟฟ้ารางเดี่ยว แก้จราจรเชียงใหม่
โดย...นักข่าวชาวบ้าน
คอลัมน์คนดังท้องถิ่น
ข่าวภูมิภาคทั่วไทย
คมชัดลึก
วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน 2556
เชียงใหม่เป็นจังหวัดหัวเมืองใหญ่ของภาคเหนือตอนบน ทั้งด้านการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยว โดยแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติเดินทางมาท่องเที่ยวจำนวนมาก แต่เชียงใหม่ยังไม่มีระบบขนส่งมวลชนรองรับความเจริญเติบโต อบจ.เชียงใหม่จึงมีแนวคิดจะทำรถไฟฟ้ารางเดี่ยวให้เป็นระบบขนส่งมวลชนเพื่อสอดรับโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ พร้อมตัดถนนวงแหวนรอบที่ 4 และรอบที่ 5 เพื่อระบายการจราจรที่คับคั่งในเมือง
'บุญเลิศ บูรณุปกรณ์' นายก อบจ.เชียงใหม่ บอกว่า เชียงใหม่เป็นเมืองที่ได้รับการดูแลจากรัฐบาลอย่างมากซึ่งมีหลายโครงการที่เตรียมลงมือทำโดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐาน เช่น โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ขณะนี้ทำประชาพิจารณ์เรียบร้อยแล้วเชื่อว่ารถไฟความเร็วสูงจะดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวเชียงใหม่มากขึ้นและยังเป็นการรองรับการเปิดประชาคมอาเซียนในอีก 2 ปีข้างหน้า
และอบจ.เชียงใหม่ มีแนวคิดที่จะทำระบบขนส่งเชียงใหม่ขึ้นโดยทำในรูปแบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยวมูลค่าโครงการ 8,000 ล้านบาท โดยใช้ระยะเวลาก่อสร้างภายใน 5 ปี โดยแบ่งการเดินรถไฟฟ้าเป็น 2 เส้นทางเชื่อมต่อเขตอำเภอเมืองระยะ 28 กิโลเมตรจะเริ่มเส้นทางตั้งแต่อุทยานหลวงราชพฤกษ์ปลายทางศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา โดยผ่านรอบคูเมืองเชียงใหม่และท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่
นายก อบจ.เชียงใหม่ บอกอีกว่า รถไฟฟ้าดังกล่าวจะให้บริการเที่ยวละ 3 โบกี้รับผู้โดยสารได้โบกี้ละ 40 คน ช่วงเวลาเร่งด่วนจะเพิ่มโบกี้อีก 2 โบกี้ ความเร็ว 28 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระยะจอดรถไฟฟ้าทุกๆ 500 เมตร ซึ่งจะกำหนดจุดจอดรถไฟฟ้าให้ชัดเจนและรถไฟฟ้าดังกล่าวจะควบคุมด้วยระบบสัญญาณจราจร โดยรูปแบบจะเป็นการร่วมลงทุนกัน 3 ฝ่าย คือ รัฐบาล อบจ.เชียงใหม่และบริษัทที่ทำรถรางซึ่งรัฐบาลเห็นชอบในเบื้องต้นแล้ว
นอกจากนี้ยังมีแนวคิดทำวงแหวนรอบที่ 4 และวงแหวนรอบที่ 5 เพื่อแก้ปัญหาจราจรชานเมืองไม่ให้เข้ามาในตัวเมือง ขณะนี้วงแหวนรอบที่ 4 ได้วางแนวทางและสำรวจเส้นทางแล้ว โดยจุดแรกจะเริ่มต้นจากอำเภอหางดง สารภี สันกำแพง ดอยสะเก็ด สันทรายและสิ้นสุดอำเภอแม่ริม ส่วนการวางแผนทำเส้นทางวงแหวนรอบที่ 5 เพิ่มเติมบริเวณอำเภอแม่แตง เพื่อเป็นการเชื่อมจังหวัดลำพูน ทั้งนี้ บริเวณอำเภอสันกำแพง มีแนวทางที่จะสร้างท่าอากาศยานแห่งใหม่ ซึ่งวงแหวนรอบที่ 5 จะตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 05/12/2013 3:44 pm Post subject: |
|
|
ถ้าระบบสมบูรณ์ จะอำนวยความสะดวกให้กับผู้เดินทางไปเชียงใหม่ได้มากเลยครับ แต่อยากให้เป็นรถไฟฟ้า เช่นเดียวกับ BTS หรือ MRT มากกว่าโมโนเรล เพราะช่วงก่อสร้างก็เกะกะขวางทางรถสัญจรอยู่แล้ว
ถ้าเป็นรถใต้ดินทั้งหมด จะดีมากๆ เลย ว่าแต่ว่า สี่ล้อแดงอันดึกดำบรรพ์เจ้าถิ่น คงไม่ก่อกวนอีกนะครับ |
|
Back to top |
|
|
moss-nonburi
1st Class Pass (Air)
Joined: 29/11/2013 Posts: 2342
Location: อ.เมือง จ.นนทบุรี/ อ.บางแพ จ.ราชบุรี/ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา/ อ.ถลาง จ.ภูเก็ต/ อ.ตระการพืชผล จ.อุบลฯ
|
Posted: 05/12/2013 10:17 pm Post subject: |
|
|
ผมอยากให้มีรถไฟฟ้า หรือระบบรางอะไรก็ได้ ทุกหัวเมืองใหญ่ๆของไทย นะครับ เลี่ยงการจราจรติดขัดได้มากเลย หัวเมืองที่ผมอยากให้มี เช่น เชียงใหม่ หาดใหญ่-สงขลา ภูเก็ตรอบเกาะ นครราชสีมา ขอนแก่น อุบลราชธานี-วารินชำราบ ระยอง แต่ที่ไม่อยากให้ทำเลยคือ BRT ผมเห็นว่ามันไม่ได้ช่วยอะไรเลย |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43714
Location: NECTEC
|
Posted: 06/12/2013 6:41 pm Post subject: |
|
|
^^^
อย่างโคราชจะยัดเยียดให้คนโคราชยอมรับใน BRT ลอยฟ้า ที่ไม่ผ่านสถานีนครราชสีมาและถนนจิระโดยนายกเล้กเมืองโคราชลูกเจ๊เกียว เป็นการแจกกล้วยให้คนโคราชโดยแท้ |
|
Back to top |
|
|
moss-nonburi
1st Class Pass (Air)
Joined: 29/11/2013 Posts: 2342
Location: อ.เมือง จ.นนทบุรี/ อ.บางแพ จ.ราชบุรี/ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา/ อ.ถลาง จ.ภูเก็ต/ อ.ตระการพืชผล จ.อุบลฯ
|
Posted: 07/12/2013 12:25 am Post subject: |
|
|
ขอถามคุณ Wisarut หน่อยนะครับว่า ระหว่าง BRT ลอยฟ้า กับรถไฟฟ้า ราคาการก่อสร้างจะต่างกันขนาดไหน |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43714
Location: NECTEC
|
Posted: 16/04/2015 2:50 am Post subject: |
|
|
รัฐรับปากปลายปี58เดินหน้า ระบบขนส่งมวลชนเชียงใหม่
เชียงใหม่นิวส์
14 เมษายน 2558
เรากำลังพิจารณาข้อเสนอนี้ของญี่ปุ่น คาดว่าจะเป็นไฮสปีดเทรนค่อนข้างสูงในเส้นทางเชียงใหม่ เดิม 10 ชั่วโมง แต่เมื่อเป็นไฮสปีด บวกลบการชะลอ การเข้า-ออกสถานีจะเหลือ 5 ชั่วโมง ถือว่าอยู่ในเกณฑ์น่าพอใจ แต่ถ้าใช้ระยะความเร็ว 200-250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะใช้เวลา 3 ชั่วโมง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดแน่นอนภายในรัฐบาลชุดนี้ ภายในปลายปี 2558 จะเริ่มสำรวจและออกแบบและสร้างได้ในปลายปี 2559 แล้วเสร็จในปี 2563-2564 โดยส่วนตัวผมสนับสนุนโครงนี้เพื่อให้เชียงใหม่มีระบบขนส่งพร้อมที่สุด
รมว.คมนาคมยันหนุนสร้างรถไฟความเร็วสูง และระบบขนส่งมวลชนเชียงใหม่ ตามข้อเสนอของญี่ปุ่น เพื่อรองรับการขยายตัวทางการด้านการท่องเที่ยวและการลงทุน คาดปลายปี 58 เริ่มออกแบบและก่อสร้างได้ในปีถัดไป พร้อมปรับปรุงและขยายพื้นที่สนามบินเพิ่มอาคารจอดรถและขยายหลุมจอดรองรับผู้โดยสารได้ถึง 20 ล้านคน ด้านผวจ.เชียงใหม่แจงเป็นมิตของคจร.กับกรอ.จังหวัดที่เสนอขอให้กระทรวงฯพิจารณา คาดว่าจะเป็นรูปธรรมได้ถ้ารัฐบาลหนุนจริง
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวบรรยายพิเศษในหัวข้อ ระบบคมนาคมขนส่งที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบนเพื่อรองรับการเปิดประชาคมอาเซียน ในการสัมมนา เที่ยววิถีไทย เศรษฐกิจก้าวหน้า ล้านนายั่งยืน ที่ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ เฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อเร็วๆ นี้ว่า พื้นที่ภาคเหนือเป็นที่น่าสนใจของนักลงทุนและภาคเหนือตอนบนยังมีพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ มีธรรมชาติป่าเขาที่สวยงามทั้งอันซีนและพัฒนาให้สมบูรณ์ นอกจากนี้ยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คนเคารพนับถือ222
ภาคเหนือมีประชากรค่อนข้างมาก แต่หากเทียบกับเส้นทางคมนาคมขนส่งทางบกซึ่งมีเส้นทางรถไฟซึ่งเป็นรถไฟคลาสสิคที่มีอายุมาถึง 118 ปี อย่างไรก็ตามขณะนี้ถืงเวลาที่จะต้องปรับโครงสร้างเส้นทางคมนาคมมายังภาคเหนือตอนบน ซึ่งกระทรวงคมนาคมมีนโยบายที่จะให้ภาคเหนือตอนบนสามารถเชื่อมโยงการคมนาคมจากฝั่งตะวันตกมาตะวันออกและกับประเทศเพื่อนบ้าน
ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวเข้าประเทศปีละ 25-26 ล้านคน โดยส่วนใหญ่จะผ่านกรุงเทพฯ โดยผ่านมาทางสนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมือง ขณะที่ในส่วนของภูมิภาคเช่นสนามบินภูเก็ตแม้จะไม่ได้พัฒนามากนักและมีทรัพยากรจำกัดแต่มีนักท่องเที่ยวเข้าไปถึงปีละ 9-10 ล้านคน แต่เมื่อเทียบกับจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ มีประชากรไม่ต่ำกว่า 2 ล้านคน นักท่องเทียวประมาณ 8 ล้านคนต่อปี ไม่รวมประชากรแฝง และมีพื้นที่คาบเกี่ยวที่ยังขยายเมืองได้ แต่ในขณะเดียวกันเราต้องรักษาทรัพยากร สิ่งแวดล้อม เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะสิ่งที่เป็นจุดเด่นของเชียงใหม่ให้รักษาไว้ และต้องปิดจุดอ่อนสร้างจุดแข็ง
กระทรวงคมนาคมพร้อมสนับสนุนเพื่อรองรับพื้นที่ท่องเที่ยวภาคเหนือตอนบน โดยทางบกไม่ว่าจะเส้นทางหลัก ทางหลวง ถนนชนบท ถนนในท้องถิ่น มีโครงข่ายเข้าถึงเชียงใหม่ค่อนข้างจะสมบูรณ์ แต่ยังขาดประสิทธิภาพ เช่น ผิวจราจรขรุขระ เส้นสีการจราจรไม่ปลอดภัย ไฟไม่ชัดตอนกลางคืน จุดตัดรถไฟ ที่ต้องเร่งกระบวนการสร้างเพื่อให้เกิดความปลอดภัยรมว.คมนาคมกล่าวและว่า
333
สำหรับระบบรางรถไฟเดิมของเราเป็นรางเดี่ยว สภาพที่ใช้งานมานานของไม้หมอน และการใช้หัวรถจักรไอน้ำทำให้รถไฟวิ่งเร็วไม่ได้ ความเร็วเฉลี่ยจะลดลงเรื่อยๆ ต่ำกว่า 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ยิ่งใช้ขนส่งสินค้าก็ต้องลดความเร็วลงไปอีกเฉลี่ย 38 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แม้การขนส่งผ่านรถไฟจะต้นทุนต่ำ แต่เพราะความช้าทำให้ผู้ประกอบการหันไปใช้เส้นทางรถยนต์มากกว่า ไม่รวมปัญหาความเก่า ไม่สะอาด เสียบ่อย จึงถึงเวลาแล้วที่รถไฟไทยต้องเปลี่ยนแปลง ปฏิรูปจากรุ่นราง 1 เมตร เปลี่ยนจากหัวจักรไอน้ำมาเป็นดีเซลอนาคตต้องมุ่งไปที่หัวจักรไฟฟ้า ความเร็วเฉลี่ยจะเพิ่มเป็น 80-100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพื่อให้นัดหมายเที่ยงตรง รู้เวลาสวนทางไม่ต้องรอสับหลีก และสินค้าสามารถนัดหมายได้ว่าเมื่อรถบรรทุกขึ้นรถไฟแล้วส่งต่อไปถึงห้างร้านต่างๆ ได้ โดยยึดหลัก โลว์คอสต์เทรน เพื่อให้คนหันมาใช้บริการรถไฟเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นแบบรถไฟโลคอสมีชั้น 2 ชั้น 3 การขนส่งสินค้าทางรถไฟก็จะไม่ให้แพงหากเปรียบเทียบกับการขนส่งทางรถยนต์
รมว.คมนาคม กล่าวต่อไปอีกว่า ส่วนระบบใหม่ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ประเทศไทยได้เจรจากับญี่ปุ่นมาหลายปี ล่าสุดเมื่อ 31 มี.ค.ที่ผ่านมาญี่ปุ่นได้แสดงเจตนาพัฒนาระบบรางใน 2 เส้นทาง คือ 1.พุน้ำร้อน-กาญจนบุรี-สระแก้ว ต่อด้วยกรุงเทพฯ-แหลมฉบัง อีสต์-เวสต์คอร์ริดอร์ตอนล่าง เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนเป็นส่วนใหญ่ จึงเห็นประโยชน์ว่าเขาจะได้ประโยชน์ในการขนส่งสินค้าจากตะวันตกไปตะวันออก ซึ่งในอนาคตเมื่อท่าเรือทวาย เขตพม่าสร้างเสร็จอีก 132 กิโลเมตร จากชายแดนพุน้ำร้อนทางรถยนต์และรถไฟใช้เวลา 1 ชั่วโมงครึ่ง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ คุณภาพชีวิตดีขึ้น ส่วนทวายจะใช้เวลา 5-10 ปีจากนี้ไป ในเส้นทางที่ 2.กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ แต่ญี่ปุ่นมีข้อแม้ขอทำเป็นรถไฟความเร็วสูงหรือไฮสปีดเทรน เพราะเห็นว่าเส้นนี้มีศักยภาพ คนจำนวนมากตลอดเส้นทาง และมีแหล่งท่องเที่ยว แหล่งลงทุนเศรษฐกิจมาก จึงมั่นใจว่าลงทุนสายนี้จะตอบสนองความต้องการประชาชนในประเทศและต่างประเทศได้
เรากำลังพิจารณาข้อเสนอนี้ของญี่ปุ่น คาดว่าจะเป็นไฮสปีดเทรนค่อนข้างสูงในเส้นทางเชียงใหม่ เดิม 10 ชั่วโมง แต่เมื่อเป็นไฮสปีด บวกลบการชะลอ การเข้า-ออกสถานีจะเหลือ 5 ชั่วโมง ถือว่าอยู่ในเกณฑ์น่าพอใจ แต่ถ้าใช้ระยะความเร็ว 200-250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะใช้เวลา 3 ชั่วโมง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดแน่นอนภายในรัฐบาลชุดนี้ ภายในปลายปี 2558 จะเริ่มสำรวจและออกแบบและสร้างได้ในปลายปี 2559 แล้วเสร็จในปี 2563-2564 โดยส่วนตัวผมสนับสนุนโครงนี้เพื่อให้เชียงใหม่มีระบบขนส่งพร้อมที่สุด พล.อ.อ.ประจิน กล่าวและยังถึงการขนส่งทางอากาศว่า
สำหรับสนามบินเชียงใหม่ก็จะให้มีการปรับปรุงเพื่อให้เกิดความคล่องตัว ปัจจุบันสนามบินเชียงใหม่รองรับผู้โดยสารได้ 5-8 ล้านคนต่อปี ซึ่งอนาคตจะพัฒนาลานจอดให้ได้ 20 หลุมจอด ทำให้เครื่องบินเข้าจอดได้มากขึ้น สามารถบินได้ตลอด 24 ชั่วโมง และจะเพิ่มผู้โดยสารเป็น 12 ล้านคนภายในปี 2562 โดยจะต้องพัฒนาลานจอดรถเพื่อรองรับปริมาณผู้โดยสารเข้าออก ซึ่งปัจจุบันมีที่จอดรถจุได้ 700-800 คัน โดยมีแนวทางการดำเนินงานว่าอาจจะสร้างเป็นที่จอดรถใหม่สูง 7 ชั้น จอดรถได้ 2,500 คัน ส่วนหนึ่งจะขยับลานจอดไปทางฝั่งวิทยุการบินให้เป็นที่จอดรถสำรองและทำทางเข้า-ออกใหม่
นอกจากนี้จะสร้างอาคารเทอร์มินอลลอยฟ้าคร่อมด้านบนที่จอดรถ โดยเชื่อมต่อจากอาคารจอดรถไปยังเทอร์มินอลเดิมกับเทอร์มินอลใหม่ และสร้างที่จอดรถใต้ดิน 500 คัน เชื่อมกับของปัจจุบัน ให้เข้าออกได้เลย ซึ่งก็จะสามารถรองรับ 20 ล้านคนได้แล้วในอีก5 ปีข้างหน้า
b.2
พล.อ.อ.ประจิณ กล่าวอีกว่า ในส่วนของการแก้ไขปัญหาจราจรของเชียงใหม่ ต้องใช้เทคโนโลยีและเปรีบเทียบกับจังหวัดท่องเที่ยวอื่นๆ ซึ่งส่วนที่ต้องรักษาไว้เป็นเอกลักษณ์ของเชียงใหม่ก็คงมี แต่จะให้เพิ่มรถรางหรือ TAM หรืออาจจะเป็นชาร์เตอร์บัสภายในปีหน้า แต่ระบบนี้ต้องใชฃ้เวลาโดยให้เร่งบูรณาการกัน ซึ่งกระทรวงคมนาคมพร้อมที่จะให้การสนับสนุน ถ้าหากจะทำ TAM หรือรถรางก็ต้องให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือสำนักงานพัฒนาพิงคนครเป็นเจ้าภาพหลักและกระทรวงคมนาคมจะเข้ามาสนับสนุนเพื่อให้โครงการเดินหน้าต่อไปได้
ในส่วนของการเชื่อมโยงเมืองด้วยถนนวงแหวนอีกรอบหนึ่งซึ่งจำเป็นต้องมี โดยให้การทางพิเศษฯ หรือกรมทางหลวงไปพิจารณา แต่โดยหลักการแล้วหน่วยงานส่วนกลางจะต้องเข้ามาช่วยทางจังหวัดซึ่งกระทรวงคมนาคมพร้อมที่จะสนับสนุนการวางโครงข่ายไฟเบอร์ออฟติคให้ควบคู่ไปด้วย ซึ่งหากมีพร้อมเชียงใหม่ก็จะเป็นพื้นที่ที่ดึงดูดนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ
สำหรับสนามบินแห่งที่ 2 ที่ไม่มีการกล่าวถึง เพราะยังไม่มีพื้นที่เหมาะสม ไม่มีความเป็นไปได้ และที่ตามมาคือเรื่องสิ่งแวดล้อม ผลกระทบประชาชน ในเมื่อเรามีของในมือแล้ว ทำอย่างไรที่จะเปลี่ยนทางราบเป็นทางตั้งเพื่อเสริมพื้นที่ใช้สอย และเสริมให้ทุกพื้นที่เข้าถึงสนามบินได้เร็ว ตรงนี้เป็นประเด็นเร่งด่วนที่ต้องทำก่อน
อย่างไรก็ตามรมว.คมนาคม กล่าวทิ้งท้ายว่า ในอีกด้านหนึ่งก็ต้องหาทางรักษาจุดเด่นของพื้นที่ท่องเที่ยวภาคเหนือไว้ให้ได้ ทั้งในเรื่องภูมิทัศน์ที่สวยงาม ดอกไม้ ความร่มรื่น วัฒนธรรมที่ต้องรักษาเอกลักษณ์ และปัญหาสภาพอากาศ เพื่อให้ภาคเหนือตอนบนยังเป็นพื้นที่สำคัญ โดยเฉพาะเชียงใหม่ที่เป็นจังหวัดสำคัญในการดึงดูดนักท่องเที่ยว
ทางด้านนายสุริยะ ประสาทบัณฑิต ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวถึงโครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนและรถไฟความเร็วสูงที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมระบุว่าอยู่ในแผนของกระทรวงฯและรัฐบาลปัจจุบันจะดำเนินการว่า เป็นแผนงานที่ทางจังหวัดเสนอกระทรวงคมนาคมและคาดว่าจะเกิดเป็นรูปธรรมได้ในเร็วๆ นี้ถ้าหากรัฐบาลสนับสนุน
b.3
กรอ.จังหวัดและคณะกรรมการจัดระบบการจราจรและขนส่งจังหวัดเชียงใหม่ มีมติออกมา 2 เรื่องและได้เสนอกระทรวงคมนาคมช่วยพิจารณาโดยส่งเรื่องไปประมาณ 2 เดือน เรื่องแรกขอให้ส่งคนมาวิจัยเพื่อสร้างสนามบินแห่งที่ 2 และอีกเรื่องคือเชียงใหม่จำเป็นต้องมีระบบขนส่งมวลชน เพราะเชียงใหม่เป็นเมืองใหญ่อันดับ 2 รองจากรุงเทพฯ ขอให้กระทรวงคมนาคมช่วยพิจารณาเพราะเชียงใหม่มีการศึกษาระบบขนส่งมวลชนไว้หลายฉบับ ซึ่งในอดีตมีคนยังต่อต้านแต่ปัจจุบันคนต่อต้านน้อยเพราะเห็นว่าระบบขนส่งมวลชนมีความจำเป็นอย่างมากจึงอยากให้ทางกระทรวงหรือรัฐบาลเป็นผู้ลงทุนผวจ.เชียงใหม่ กล่าวและว่า
ตอนนี้ทางจังหวัดฯเสนอผ่านกระทรวงคมนาคมให้นำระบบที่ศึกษาไว้เช่นระบบรถไฟฟ้าบนดิน และอีกส่วนที่สนง.พิงคนครจ้างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลซึ่งศึกษาการใช้ BRT เป็นระบบขนส่งมวลชนบนถนนวงแหวน โดยอยากให้มีการขับเคลื่อนไปพร้อมๆ กัน ซึ่งสนง.พิงคนครมีหน้าที่กว้างมากเพราะดูแล 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนแต่ต้องได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงฯ. |
|
Back to top |
|
|
|