View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43973
Location: NECTEC
|
Posted: 10/07/2012 5:15 pm Post subject: |
|
|
ดูรูปการณ์ แล้ว หวยน่าจะออก เป็นกรมการขนส่งทางราง หละมากกว่า อย่างอื่น
ว่าแต่ว่า คุณ keadtisak ผู้เปิดประเด็น เงียบไปอย่างงี้ จะไม่แสดงความคิดเห็นเลยเทียวหรือ? |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47236
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47236
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 28/12/2012 3:49 pm Post subject: |
|
|
คมนาคม ดันตั้งกรมใหม่คุมก่อสร้างระบบราง
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 28 ธันวาคม 2555 10:31 น.
คมนาคม จ่อตั้งกรมขนส่งระบบราง รวบหน้าที่วางโครงสร้างพื้นฐาน ก่อสร้าง กำกับดูแลระบบรางทั้งหมดแทน ร.ฟ.ท.และ รฟม.ที่จะเป็นผู้ให้บริการอย่างเดียว ปลัดคมนาคม คาดตั้งได้ไม่เกินสิ้นปี 56 นี้ เร่ง สนข.ร่างกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ส่วนช่วง 2-3 เดือนนี้ให้ตั้งเป็นสำนักพัฒนาระบบรางขึ้นก่อน
พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงคมนาคมได้เตรียมจัดตั้งกรมขนส่งระบบรางขึ้นเป็นกรมใหม่เพื่อทำหน้าที่ในการวางโครงสร้างพื้นฐาน ก่อสร้าง และกำกับดูแลระบบรางทั้งหมดของประเทศ รวมถึงรถไฟฟ้าความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ที่จะก่อสร้างในอนาคตด้วย โดยขณะนี้ทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) อยู่ระหว่างดำเนินการร่างระเบียบกฎหมายเกี่ยวข้องเพื่อจัดตั้งกรมขนส่งระบบราง และขั้นตอนต่อไปจะเสนอที่ต่อรัฐสภาเพื่อออกพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ก่อนจะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบให้ดำเนินการ
ทั้งนี้ ในระยะแรกจะมีการตั้งสำนักพัฒนาระบบรางขึ้นมาก่อน โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ สนข. เพื่อทำหน้าที่แทนกรมขนส่งระบบรางที่ยังไม่เกิดขึ้น ซึ่งคาดว่าจะสามารถตั้งได้ภายใน 2-3 เดือนนี้ พร้อมกันนี้จะมีการตั้งสำนักพัฒนาระบบตั๋วร่วมขึ้นด้วย เพื่อทำหน้าที่ดูแลการใช้ตั๋วร่วมกันของบริการระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ ทั้งรถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง รถเมล์ เรือ โดยในส่วนของสำนักพัฒนาระบบรางนั้นจะตั้งขึ้นทำหน้าที่เฉพาะกิจ โดยใช้เจ้าหน้าที่และข้าราชการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสังกัดกระทรวงคมนาคมเข้าไปดำเนินการก่อน และจะยุบไปรวมกับกรมขนส่งระบบรางที่จัดตั้งแล้วเสร็จ เพราะถือว่าจบภารกิจ
พล.ต.อ.วิเชียรกล่าวว่า กรมขนส่งระบบรางจะมีอำนาจหน้าที่ก่อสร้างเส้นทางรถไฟ รถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง และกำกับดูแล ซึ่งจะเป็นลักษณะเดียวกันกับกรมทางหลวง (ทล.) ที่มีหน้าที่ก่อสร้างถนนทั่วประเทศ และกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ที่มีหน้าที่กำกับดูแลการเดินรถสาธารณะ ส่วนหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินโครงการระบบรางอยู่ในปัจจุบัน เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะทำหน้าที่ในการเดินรถเพียงอย่างเดียว
สำหรับภาระหนี้สินของ รฟม.และร.ฟ.ท.ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในปัจจุบันจากการลงทุนก่อสร้างระบบรางนั้น รัฐต้องเข้าไปรับภาระ ส่วนที่จะลงทุนใหม่ เป็นหน้าที่ของกรมขนส่งระบบราง ซึ่งตามหลักการต้องใช้งบประมาณรัฐดำเนินการ ซึ่งจะทำให้ รฟม.และ ร.ฟ.ท.ไม่เกิดปัญหาหนี้สินสะสมเหมือนอีกต่อไป และสามารถสามารถทำหน้าที่ในการเดินรถไฟฟ้าได้คล่องตัวมากยิ่งขึ้น คาดว่าตามขั้นตอนการจัดตั้งกรมขนส่งระบบรางจะใช้เวลาประมาณ 1-2 ปี โดยจะพยายามผลักดันให้จัดตั้งให้ได้ภายในปี 2556 นี้ เพื่อให้ทันต่อประกวดราคาโครงการรถไฟความเร็วสูง |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43973
Location: NECTEC
|
Posted: 18/04/2013 12:03 am Post subject: |
|
|
คมนาคมชงตั้งกรมการขนส่งทางรางรองรับการลงทุนตาม พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านลบ.
อินโฟเควสท์ โดย คคฦ/ธนวัฏ/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: rachada@infoquest.co.th-
ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) --
พุธที่ 17 เมษายน 2556 18:10:10 น.
ตั้งกรมขนส่งทางราง คมนาคมแยกส่วนร.ฟ.ท.เหลือแค่เดินรถ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 1
พุธที่ 17 เมษายน 2556 22:28 น.
คมนาคมเดินหน้าตั้งกรมการขนส่งทางราง แยกส่วนร.ฟ.ท.เหลือแค่เดินรถ ส่วนงานก่อสร้างซ่อมบำรุง ให้กรมฯใหม่ดูแล วิเชียรเผยเพื่อแก้ปัญหาขาดทุนและหนี้สะสมของร.ฟ.ท.รวมถึง รองรับการก่อสร้างโครงการในพ.ร.บ. 2 ล้านล้านด้วย คาด งบปี 58 เริ่มทำงานได้
พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานกรรมการพิจารณาโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการและจัดตั้งส่วนราชการระดับกรม และ/หรือองค์กรอื่นที่เหมาะสม เพื่อส่งเสริมและผลักดันการพัฒนาระบบการขนส่งและการเดินทางทางราง กล่าวว่า เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบรางเป็นการขนส่งหลักของประเทศ ประกอบกับมีแผนการดำเนินงานตาม พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องพิจารณาจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาดูแล และกำหนดบทบาทหน้าที่ในการดูแลระบบรางที่ชัดเจน จากเดิมที่การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) เป็นหน่วยงานที่ดูแลทั้งหมด และจะเป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นมารองรับการดำเนินงานโครงการของร.ฟ.ท.ที่บรรจุอยู่ในพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ..... (พ.ร.บ.กู้เงิน) จำนวน 2 ล้านล้านบาท ที่จะมีผลบังคับใช้ใน 1-2 เดือนนี้
โดยเบื้องต้นจะตั้งกรมการขนส่งทางราง โดยมีบทบาทหน้าที่ 3 ด้าน คือ
1.งานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เชื่อว่ากรมฯจะสามารถก่อสร้างรางโดยใช้ที่ดินของ ร.ฟ.ท.ได้ ลักษณะเป็นการขอใช้สิทธิที่ดินในฐานะหน่วยงานราชการเหมือนกัน
2.กำกับดูแลงานด้านมาตรฐานความปลอดภัยทางราง และ
3.กำกับดูแลการประกอบกิจการทางราง เช่น ออกใบอนุญาตผู้ประกอบการเดินรถ คาดว่าจะสามารถจัดตั้งกรมฯได้ในปีงบประมาณ 2558
ด้านนายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) กล่าวว่า โครงการรถไฟความเร็วสูง และโครงสร้างรถไฟทางคู่ ที่จะดำเนินงานตาม พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท จะให้ ร.ฟ.ท.ดำเนินการไปก่อน หลังจากนั้นเมื่อตั้งกรมการขนส่งทางรางแล้ว กรมฯนี้จะทำหน้าที่ในการดูแลงานก่อสร้างราง หากไม่ตั้งกรมฯขึ้นมาดูแล ร.ฟ.ท.จะประสบปัญหาหนี้สินจากการกู้เงินมาดำเนินงานตาม พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เป็นเงินกว่า 1 ล้านล้านบาท ซึ่งหน่วยงานรัฐวิสาหกิจไม่ควรมีหนี้มากขนาดนั้น
ทั้งนี้ตามขั้นตอนจะเสนอโครงสร้างให้ก.พ.ร.พิจารณา คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน จากนั้นจะเสนอต่อรัฐสภาเพื่อออกพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คาดว่าการจัดตั้งกรมการขนส่งทางรางจะแล้วเสร็จเริ่มดำเนินงาน ซึ่งจะมีการขออัตรากำลัง ตามภารกิจ และงบประมาณ ได้ในปีงบประมาณ 2558 ซึ่งอาจจะไม่ทันกับการเริ่มประกวดราคาโครงการต่างๆ ในพ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาท ดังนั้น ในช่วงแรก ร.ฟ.ท.ยังจะต้องทำหน้าที่ไปก่อน
แนวทางนี้เป็นการปฏิรูปการบริหารการขนส่งทางรถไฟ และแก้ปัญหาขาดทุนและหนี้สินสะสม ของร.ฟ.ท. ที่ดีที่สุด เพราะจะหยุดการเป็นหนี้ให้ร.ฟ.ท. เพราะใน 7 ปีตามพ.ร.บ. กูเงิน 2 ล้านล้านหากเป็นรูปแบบเดิม ร.ฟ.ท.จะมีหนี้เพิ่มขึ้นเป็น 1 ล้านล้านบาท แต่การตั้งกรมฯใหม่ขึ้นมาจะช่วยรับภาระแทน และทำให้การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงและรถไฟทางคู่มีความรวดเร็วด้วย โดยกรมฯรับภาระการก่อสร้างแทน ส่วนร.ฟ.ท.จะลงทุนหรือเป็นหนี้ได้ในส่วนที่ทำให้เกิดรายได้เช่น ซื้อหัวรถจักร เป็นต้น
สำหรับที่ดินยังคงเป็นของ ร.ฟ.ท. ส่วนกรมฯ จะเข้ามาก่อสร้างในที่ดินรถไฟได้ไม่มีปัญหาเพราะเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมเหมือนกัน สามารถตกลงกันได้ เช่น ใช้ที่ดินโดยแลกกับภาระหนี้สินของร.ฟ.ท. ส่วนงานด้านซ่อมบำรุงนั้น กรมฯจะว่าจ้างพนักงานร.ฟ.ท.ในส่วนที่มีหน้าที่โครงสร้างพื้นฐานในปัจจุบันทำให้ ซึ่งจะทำให้การตั้งกรมฯใหม่ไม่กระทบต่อพนักงานของร.ฟ.ท.และยังทำให้ร.ฟ.ท.มีรายได้เพิ่มอีกด้วย
อย่างไรก็ตามเบื้องต้น เป็นการแก้ปัญหาร.ฟ.ท.ส่วนการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่รับผิดชอบโครงการรถไฟฟ้าต่างๆนั้น ยังให้รฟม.ดำเนินการเหมือนเดิมไปก่อน หลังจากตั้งกรมฯใหม่เรียบร้อยจึงจะมาพิจารณาเพิ่มเติม |
|
Back to top |
|
|
JackSkyline
Warning 3 (Final)
Joined: 11/02/2013 Posts: 118
|
Posted: 18/04/2013 5:19 am Post subject: |
|
|
Mongwin wrote: | คอลัมน์: สยามรัฐผลัดใบ: กระทรวงรถไฟเกิดจริงหรือ?
สยามรัฐ Tuesday, 12 June 2012 05:04
ดร.วิชัย พยัคฆโส payackso@gmail.com
อาจจะถือเป็นหลักปฏิบัติของประเทศไทยไปแล้วกับการแก้ปัญหาหรือพัฒนางานใหม่จะต้องตั้งองค์กรใหม่มาควบคุมหรือกำกับดูแล ทั้งๆที่หน่วยงานเดิมควรต้องพิจารณาแก้ไข ปรับปรุงตนเองเสียก่อน ดังเช่นกระทรวงรถไฟที่มีกระแสข่าวจะมีการจัดตั้งเพื่อรองรับกับรถไฟความเร็วสูง
ผมเห็นด้วยกับการที่จะมีการกำกับดูแล โดยเฉพาะการบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพเพื่อบริการประชาชนอย่างมีคุณภาพ การจัดตั้งองค์กรคงต้องพิจารณาว่าสมควรที่จะจัดตั้งถึงระดับกระทรวงหรือไม่ เพราะกระทรวงคมนาคมกำกับดูแลในภารกิจรวมอยู่แล้ว เฉพาะการรถไฟแห่งประเทศไทยแห่งเดียวยังมีปัญหาขาดทุนสะสมเรื้อรังมาทุกปี
การบริหารจัดการอย่างมืออาชีพแบบธุรกิจเอกชนมีความจำเป็นในยุคโลกาภิวัตน์ที่มีการแข่งขันระหว่างประเทศ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการคมนาคมนั้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกประเทศ เพื่อเป็นพื้นฐานการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้ต่อยอดได้ หากโครงการรถไฟความเร็วสูงเกิดขึ้นใน 4 สายหลัก ย่อมเป็นงานใหญ่โดยเฉพาะความปลอดภัยและการบริหารจัดการที่มีคุณภาพเช่นเดียวกับหลายประเทศที่เขามีรถไฟความเร็วสูง
จะเห็นในต่างประเทศ เขาจะใช้วิธีให้เอกชนลงทุน โดยรัฐบาลควบคุมมาตรฐานราคา และคุณภาพการบริการให้เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการให้มากที่สุด ซึ่งเอกชนลงทุนมากมายเช่นนั้น เขาจำเป็นต้องบริหารจัดการให้มีกำไร ไม่ขาดทุน ดังนั้น การใช้ทรัพยากรบุคคลจึงเป็นปัจจัยสำคัญสูงสุดในการบริหารจัดการองค์กรให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
เรามีรถใต้ดิน รถไฟฟ้าสีต่างๆที่กำลังดำเนินการอยู่แล้วนั้น หากรวมรถไฟความเร็วสูงเข้าไปด้วย ย่อมมีมูลค่าการลงทุนนับล้านล้านบาท ใครสมควรจะเป็นผู้รับผิดชอบและบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ คงหนีไม่พ้นความรับผิดชอบของกระทรวงคมนาคมที่มีภารกิจอยู่แล้ว
ผมไม่ค่อยเห็นด้วยสักเท่าไหร่ที่จะให้หน่วยงานของรัฐมาบริหารจัดการ เพราะประสบการณ์ที่ผ่านมา 100 กว่าปี รถไฟต้องเผชิญปัญหามากมายหลายรูปแบบ จนกลายเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาทั้งด้านระบบรางที่แคบเพียง 1 เมตร ที่อื่นเขาใช้ 1.40 เมตร โบกี้ทั้งหลายเก่า ไม่สะอาดพอที่จะใช้บริการ การเดินทางใช้เวลามากประชาชนจึงหันไปใช้รถประจำทางปรับอากาศหรือเครื่องบินมากยิ่งขึ้น นั่นเป็นเพราะความเป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐที่บริหารแบบราชการ
แต่การรวมเอาการคมนาคมระบบรางมาไว้ด้วยกัน ย่อมเป็นงานที่ท้าทายความสามารถในการบริหารจัดการ หากเป็นไปได้ควรสัมปทานให้เอกชนที่มีศักยภาพดำเนินการ รัฐควบคุมนโยบายและการรักษาผลประโยชน์ของผู้ใช้บริการให้ปลอดภัยและได้รับบริการที่ดี จะทำให้ได้วิธีคิดหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ แทนวิธีการเดิม ๆ ที่มีบทเรียนมาแล้ว
กระทรวงคมนาคมพึงต้องวางแผนระยะยาวกับโครงการใหญ่ๆ เตรียมรองรับกับนำแผนงานลงไปสู่ภาคปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากท่านจะเห็นว่าตั้งกระทรวงใหม่เป็นกระทรวงรถไฟ คงต้องมีเหตุผลว่าตั้งแล้วจะสามารถกำกับดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ไม่ว่ากัน
มิฉะนั้นกระทรวงคมนาคมอาจจะถูกกระจายภารกิจออกไปเป็นกระทรวงการบิน กระทรวงทางน้ำ กระทรวงทางบก กระทรวงทางราง ออกมาเสียแล้วกระทรวงคมนาคม จะกำกับดูแลอะไรในอนาคต?
ที่มา: หนังสือพิมพ์สยามรัฐ |
ผมไม่เห็นด้วยกับบทความนี้อยางมาก ที่บอกว่า จะให้เอกชนมาดำเนินการ และให้ขยายราง
ผมเชื่อท่่านประภัสร์ครับ
ท่านประภัสร์บอกว่า ราง 1 เมตร นี่แหละเชื่อมเพื่อนบ้านได้ดีมากๆ
และ ท่านประภัสรบอกว่า ถ้าเป็นเอกชน เขาก็ต้องกอบโกย หวังกำไร
จะมีบริการประชาชนแบบราคาถูกๆ แบบนี้ได้หรือ คุณประภัสร์บอกว่า สาธารณูปโภคพื้นฐาน ต้องเป็นของรัฐ
ไม่เห็นด้วยกับนักวิชาการคนนี้อย่างแรงในเรื่องของการวางแนวว่าจะให้เอกชนมาดำเนินการการรถไฟ |
|
Back to top |
|
|
JackSkyline
Warning 3 (Final)
Joined: 11/02/2013 Posts: 118
|
Posted: 18/04/2013 5:20 am Post subject: |
|
|
Wisarut wrote: | คมนาคมชงตั้งกรมการขนส่งทางรางรองรับการลงทุนตาม พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านลบ.
อินโฟเควสท์ โดย คคฦ/ธนวัฏ/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: rachada@infoquest.co.th-
ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) --
พุธที่ 17 เมษายน 2556 18:10:10 น.
ตั้งกรมขนส่งทางราง คมนาคมแยกส่วนร.ฟ.ท.เหลือแค่เดินรถ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 1
พุธที่ 17 เมษายน 2556 22:28 น.
คมนาคมเดินหน้าตั้งกรมการขนส่งทางราง แยกส่วนร.ฟ.ท.เหลือแค่เดินรถ ส่วนงานก่อสร้างซ่อมบำรุง ให้กรมฯใหม่ดูแล วิเชียรเผยเพื่อแก้ปัญหาขาดทุนและหนี้สะสมของร.ฟ.ท.รวมถึง รองรับการก่อสร้างโครงการในพ.ร.บ. 2 ล้านล้านด้วย คาด งบปี 58 เริ่มทำงานได้
พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานกรรมการพิจารณาโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการและจัดตั้งส่วนราชการระดับกรม และ/หรือองค์กรอื่นที่เหมาะสม เพื่อส่งเสริมและผลักดันการพัฒนาระบบการขนส่งและการเดินทางทางราง กล่าวว่า เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบรางเป็นการขนส่งหลักของประเทศ ประกอบกับมีแผนการดำเนินงานตาม พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องพิจารณาจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาดูแล และกำหนดบทบาทหน้าที่ในการดูแลระบบรางที่ชัดเจน จากเดิมที่การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) เป็นหน่วยงานที่ดูแลทั้งหมด และจะเป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นมารองรับการดำเนินงานโครงการของร.ฟ.ท.ที่บรรจุอยู่ในพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ..... (พ.ร.บ.กู้เงิน) จำนวน 2 ล้านล้านบาท ที่จะมีผลบังคับใช้ใน 1-2 เดือนนี้
โดยเบื้องต้นจะตั้งกรมการขนส่งทางราง โดยมีบทบาทหน้าที่ 3 ด้าน คือ
1.งานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เชื่อว่ากรมฯจะสามารถก่อสร้างรางโดยใช้ที่ดินของ ร.ฟ.ท.ได้ ลักษณะเป็นการขอใช้สิทธิที่ดินในฐานะหน่วยงานราชการเหมือนกัน
2.กำกับดูแลงานด้านมาตรฐานความปลอดภัยทางราง และ
3.กำกับดูแลการประกอบกิจการทางราง เช่น ออกใบอนุญาตผู้ประกอบการเดินรถ คาดว่าจะสามารถจัดตั้งกรมฯได้ในปีงบประมาณ 2558
ด้านนายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) กล่าวว่า โครงการรถไฟความเร็วสูง และโครงสร้างรถไฟทางคู่ ที่จะดำเนินงานตาม พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท จะให้ ร.ฟ.ท.ดำเนินการไปก่อน หลังจากนั้นเมื่อตั้งกรมการขนส่งทางรางแล้ว กรมฯนี้จะทำหน้าที่ในการดูแลงานก่อสร้างราง หากไม่ตั้งกรมฯขึ้นมาดูแล ร.ฟ.ท.จะประสบปัญหาหนี้สินจากการกู้เงินมาดำเนินงานตาม พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เป็นเงินกว่า 1 ล้านล้านบาท ซึ่งหน่วยงานรัฐวิสาหกิจไม่ควรมีหนี้มากขนาดนั้น
ทั้งนี้ตามขั้นตอนจะเสนอโครงสร้างให้ก.พ.ร.พิจารณา คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน จากนั้นจะเสนอต่อรัฐสภาเพื่อออกพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คาดว่าการจัดตั้งกรมการขนส่งทางรางจะแล้วเสร็จเริ่มดำเนินงาน ซึ่งจะมีการขออัตรากำลัง ตามภารกิจ และงบประมาณ ได้ในปีงบประมาณ 2558 ซึ่งอาจจะไม่ทันกับการเริ่มประกวดราคาโครงการต่างๆ ในพ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาท ดังนั้น ในช่วงแรก ร.ฟ.ท.ยังจะต้องทำหน้าที่ไปก่อน
แนวทางนี้เป็นการปฏิรูปการบริหารการขนส่งทางรถไฟ และแก้ปัญหาขาดทุนและหนี้สินสะสม ของร.ฟ.ท. ที่ดีที่สุด เพราะจะหยุดการเป็นหนี้ให้ร.ฟ.ท. เพราะใน 7 ปีตามพ.ร.บ. กูเงิน 2 ล้านล้านหากเป็นรูปแบบเดิม ร.ฟ.ท.จะมีหนี้เพิ่มขึ้นเป็น 1 ล้านล้านบาท แต่การตั้งกรมฯใหม่ขึ้นมาจะช่วยรับภาระแทน และทำให้การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงและรถไฟทางคู่มีความรวดเร็วด้วย โดยกรมฯรับภาระการก่อสร้างแทน ส่วนร.ฟ.ท.จะลงทุนหรือเป็นหนี้ได้ในส่วนที่ทำให้เกิดรายได้เช่น ซื้อหัวรถจักร เป็นต้น
สำหรับที่ดินยังคงเป็นของ ร.ฟ.ท. ส่วนกรมฯ จะเข้ามาก่อสร้างในที่ดินรถไฟได้ไม่มีปัญหาเพราะเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมเหมือนกัน สามารถตกลงกันได้ เช่น ใช้ที่ดินโดยแลกกับภาระหนี้สินของร.ฟ.ท. ส่วนงานด้านซ่อมบำรุงนั้น กรมฯจะว่าจ้างพนักงานร.ฟ.ท.ในส่วนที่มีหน้าที่โครงสร้างพื้นฐานในปัจจุบันทำให้ ซึ่งจะทำให้การตั้งกรมฯใหม่ไม่กระทบต่อพนักงานของร.ฟ.ท.และยังทำให้ร.ฟ.ท.มีรายได้เพิ่มอีกด้วย
อย่างไรก็ตามเบื้องต้น เป็นการแก้ปัญหาร.ฟ.ท.ส่วนการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่รับผิดชอบโครงการรถไฟฟ้าต่างๆนั้น ยังให้รฟม.ดำเนินการเหมือนเดิมไปก่อน หลังจากตั้งกรมฯใหม่เรียบร้อยจึงจะมาพิจารณาเพิ่มเติม |
ส่วนเนื้อหานี้ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งครับ ยินดีอย่างยิ่งถ้าหากเกิดการพัฒนาไปในแนวทางนี้ |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43973
Location: NECTEC
|
Posted: 21/04/2013 6:35 pm Post subject: |
|
|
มาแล้ว ! กรมการขนส่งทางราง รองรับกู้เงินลงทุน2ล้านล้าน "คนรถไฟ"เศร้า ไม่รับโอนย้าย
มติชน
วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2556 เวลา 13:12:04 น.
เดินหน้าผุดกรมการขนส่งทางราง รองรับกู้เงินลงทุน2ล้านล.-สกัดหนี้ท่วมรฟท.
ข่าวสดรายวัน
ปีที่ 23 ฉบับที่ 8179
วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2556
พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานกรรมการพิจารณาโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการและจัดตั้งส่วนราชการระดับกรม และ/หรือองค์กรอื่นที่เหมาะสม เพื่อส่งเสริมและผลักดันการพัฒนาระบบการขนส่งและการเดินทางทางราง เปิดเผยว่า รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบรางเป็นการขนส่งหลักของประเทศ ประกอบกับมีแผนการดำเนินงานตามพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องพิจารณาจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาดูแล และกำหนดบทบาทหน้าที่ในการดูแลระบบรางที่ชัดเจน จากเดิมที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เป็นหน่วยงานที่ดูแลทั้งหมด
ทั้งนี้ เบื้องต้นจะตั้งกรมการขนส่งทางราง โดยมีบทบาทหน้าที่ 3 ด้าน คือ 1.งานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เชื่อว่ากรมจะสามารถก่อสร้างรางโดยใช้ที่ดินของรฟท.ได้ ลักษณะเป็นการขอใช้สิทธิที่ดินในฐานะหน่วยงานราชการเหมือนกัน 2.กำกับดูแลงานด้านมาตรฐานความปลอดภัยทางราง และ 3.กำกับดูแลการประกอบกิจการทางราง เช่น ออกใบอนุญาตผู้ประกอบการเดินรถ คาดว่าจะสามารถจัดตั้งกรมได้ในปีงบประมาณ 2558
ส่วนบุคลากรในกรมการขนส่งทางรางนั้น จะมีการตั้งอัตรากำลังใหม่ พร้อมเปิดให้ข้าราชการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถโอนไปได้ แต่จะไม่โอนย้ายพนักงาน จาก รฟท.ไปทำงานที่กรม เพราะผลตอบแทนระหว่างรฟท. ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และกรมซึ่งเป็นหน่วยงานราชการมีความแตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม กรมจะมีการจ้างพนักงานรฟท. ที่ทำหน้าที่ก่อสร้างรางในปัจจุบัน เพื่อไม่ให้พนักงานเหล่านี้ได้รับผลกระทบ เพราะรฟท. จะไม่มีงานก่อสร้างและบำรุงรักษารางอีกต่อไป
ทั้งนี้ การปรับโครงสร้างครั้งนี้จะปรับบทบาทของรฟท. ก่อน เพราะเป็นหน่วยงานที่ประสบปัญหาในการบริหารงาน หลังจากนั้นจะปรับบทบาทของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
ด้านนายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า โครงการรถไฟความเร็วสูง และโครงสร้างรถไฟทางคู่ ที่จะดำเนินงานตามพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท จะให้รฟท.ดำเนินการไปก่อน หลังจากนั้นเมื่อตั้งกรมการขนส่งทางรางแล้ว กรมนี้จะทำหน้าที่ในการดูแลงานก่อสร้างราง หากไม่ตั้งกรมขึ้นมาดูแล รฟท.จะประสบปัญหาหนี้สินจากการกู้เงินมาดำเนินงานตามพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เป็นเงินกว่า 1 ล้านล้านบาท ซึ่งหน่วยงานรัฐวิสาหกิจไม่ควรมีหนี้มากขนาดนั้น
สำหรับหลักการในการตั้งกรม เนื่องจากรัฐบาลจะต้องดูแลรับผิดชอบก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางราง เหมือนกับโครงสร้างพื้นฐานทางถนน ที่มีกรมทางหลวงรับผิดชอบ โครงสร้างพื้นฐานทางน้ำ กรมเจ้าท่าเป็นผู้รับผิดชอบ
//--------------------------------------------------------
งานนี้ถ้ามีการโอนกันบ้างก็คงโอน ครฟ. เฉพาะที่วุฒิการศึกษาถึง ซึ่งก็แค่ 3 ใน 100 กระมัง |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47236
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 21/04/2013 6:49 pm Post subject: |
|
|
สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย จะหายไปไหมครับ |
|
Back to top |
|
|
Dahlia
1st Class Pass (Air)
Joined: 17/02/2007 Posts: 1030
Location: BKK / NST
|
Posted: 21/04/2013 9:46 pm Post subject: |
|
|
ไม่แน่ใจจะเหมือนการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยหรือเปล่านะครับ อ.เอก
มีกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ขึ้นมา แต่ก็ยังมีการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ซึ่ง สหภาพแรงงานการท่องเที่ยวฯ ก็ยังคงมีอยู่ครับ |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47236
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 21/04/2013 9:54 pm Post subject: |
|
|
ขอบคุณครับคุณเป้ ที่ช่วยยกตัวอย่างให้เห็นได้ชัดเจน |
|
Back to top |
|
|
|