RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311899
ทั่วไป:13571790
ทั้งหมด:13883689
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ภาพรถไฟญี่ปุ่น
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ภาพรถไฟญี่ปุ่น
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ภาพรถไฟต่างประเทศ
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46856
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/03/2013 10:03 am    Post subject: Reply with quote

<---
สวยดีครับ Embarassed

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43713
Location: NECTEC

PostPosted: 03/04/2013 5:24 pm    Post subject: Reply with quote

แม้ไม่ใช่ JR East แต่ก็เป็นรถไฟญี่ปุ่นสวยๆ ที่ถ้าสบโอกาสก็ควรนั่งนะครับ - เพราะ Anime-Manga นี่ก็ส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมญี่ปุ่นไปแล้ว Embarassed Laughing


สุดฟินไปกับรถไฟสาย Oreimo - รถไฟโปรโมทการท่องเที่ยวในเทศบาลเมืองจิบะ ที่ใช้เป็นฉากเรื่อง Ore No Imouto Ga Konna Ni Kawaii Wake Ga Nai (น้องสาวผมไม่น่ารักขนาดนั้น) ที่ตอนนี้ เริ่ม Season 2 แล้ว และ ผู้เขียนได้เอาฉากเทศบาลเมืองจิบะ เป็นฉากประกอบเรื่องนี้ - เมืองจิบะนี่ไม่ไกลจากสนามบินนาริตะ นะครับ ... จะเอาใครดี ระหว่างน้องสาวที่โกรกผมเป็นสีบลอนด์ สาวแมวดำ ที่ชอบแต่ชุดแบบ Gothic Loli สีดำ สาวแว่น ที่เป้นคุณหนู หรือ เพื่อของน้องสาวที่หึงโหด ขนาดจะใส่กุญแจมือพระเอก Shocked


Last edited by Wisarut on 11/11/2013 1:06 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
nutsiwat
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 03/03/2011
Posts: 684
Location: สถานีเรณูนคร

PostPosted: 03/04/2013 9:55 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟญี่ปุ่นมีแต่รถสวย ๆ ประกอบกับวิ่งในภูมิประเทศที่ต่าง ๆ จนดูสวยงามมาก ๆ นะครับ
_________________
Laughing Laughing Laughing Laughing
--------------------------

สถานีต่อไป สถานีเรณูนคร
next station Renunakorn
Back to top
View user's profile Send private message Yahoo Messenger MSN Messenger
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43713
Location: NECTEC

PostPosted: 20/04/2013 8:39 am    Post subject: Reply with quote

เมื่อญี่ปุ่นดีไซน์ขบวนรถไฟ
โดย : วลัญช์ สุภากร
ภาพ : เอกรัตน์ ศักดิ์เพชร
Life Style : Art & Living
กรุเทพธุรกิจ วันที่ 14 เมษายน 2556 14:14

รถไฟอาโสะ บอย! (Aso Boys!) ที่นั่งสีขาวลาย 'คุโรจัง' ออกแบบให้พ่อแม่ลูกนั่งชมวิวได้จากระดับความสูงเดียวกัน ที่นั่งยังออกแบบให้ยกพนักพิงปรับทิศทางได้ เพื่อให้เด็กได้นั่งที่ริมหน้าต่างทั้งขาไปและขากลับ

แนวทางการออกแบบรถไฟและบริการของเส้นทางต่างๆ สามารถพลิกฟื้นธุรกิจของบริษัท 'เจอาร์ คิวชู' ที่เคยขาดทุนให้กลับมามีกำไรและมีชื่อเสียง

เป็นอีกครั้งที่ การออกแบบ ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชิ้นงาน และครั้งนี้ชิ้นงานนั้นคือ รถไฟโดยสาร ทั้งขบวน


เนื่องจากความสามารถ่ในการแข่งขันทางเลือกการคมนาคมของ การรถไฟแห่งชาติญี่ปุ่น หรือ JNR (Japanese National Railway) ลดลง อันเป็นผลมาจากกระแสการพัฒนายานยนต์และความนิยมการคมนาคมทางอากาศ ทำให้เจเอ็นอาร์มีหนี้สินเพิ่มขึ้นในช่วงทศวรรษโชวะที่ 40 (พ.ศ.2508-2517)

เงื่อนไขดังกล่าว นำไปสู่การแปรรูปเจเอ็นอาร์เป็นบริษัทเอกชนภายใต้การกำกับดูแลของรัฐเมื่อปีพ.ศ.2530 เพื่อแก้ปัญหาหนี้สินระยะยาว และเพื่อเริ่มปรับปรุงนโยบายด้านธุรกิจของบริษัท


การแปรรูปดังกล่าว ทำให้เจเอ็นอาร์แตกออกเป็น เจอาร์ (JR - Japanese Railway) กระจายประจำเกาะต่างๆ ของญี่ปุ่น แต่ละเกาะก็พัฒนาเส้นทางรถไฟเพื่อตอบสนองและสนับสนุนความต้องการเฉพาะทางของภูมิภาคตัวเองได้เต็มที่และตรงเป้ามากกว่าเดิมที่เคยบริหารแบบรวมศูนย์ไว้ที่โตเกียว


บริษัท เจอาร์ คิวชู (JR Kyushu) ซึ่งดำเนินกิจการรถไฟบนเกาะคิวชู เป็นหนึ่งตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จในการนำงานออกแบบมาใช้


จากสถิติการเลือกใช้ระบบคมนาคมบนเกาะคิวชู พบว่าผู้คนเลือกใช้รถไฟเพียง 10.8% น้อยที่สุดเมื่อเทียบกับผู้เลือกใช้รถไฟในโตเกียว นิวยอร์ก และลอนดอน


ดังนั้นเมื่อแยกกิจการออกมาดำเนินงานเองเมื่อปีพ.ศ.2530 เจอาร์ คิวชู ตัดสินใจนำ งานออกแบบ เข้ามาพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานแขนงนี้ เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงการบริการของรถไฟและดึงดูดความสนใจให้ผู้คนจากเกาะต่างๆ ของญี่ปุ่น แม้กระทั่งนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เข้ามาใช้บริการรถไฟมากขึ้น


เจอาร์ คิวชู พัฒนางานออกแบบรถไฟร่วมกับ มร.เอย์จิ มิโตโอกะ (Eiji Mitooka) นักออกแบบและนักวาดภาพประกอบ ซึ่งขณะนั้นกำลังทำหน้าที่ผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ของโครงการออกแบบโรงแรมที่อุมิโนะนากะมิจิ


มร.มิโตโอกะเริ่มออกแบบแนวคิดรถไฟขบวนต่างๆ และสาธารณูปโภคของ เจอาร์ คิวชู บนแนวคิดที่ว่า เพื่อให้ผู้ใช้บริการเกิดความรู้สึกแปลกใหม่ โดยยังคงกลิ่นอายของความโหยหาอดีตไว้อยู่ เขาพยายามนำ เนื้อหา เรื่องราว และ วัสดุท้องถิ่นของคิวชู รวมไปถึง ฤดูกาล และ ดอกไม้ มาใช้ในงานออกแบบและตกแต่งภายในขบวนรถไฟที่กำลังพุ่งทะยานไปด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี


ขบวนรถไฟคิวชูที่มร.มิโตโอกะออกแบบและสร้างชื่อเสียงให้เขา คือ รถไฟด่วนพิเศษ ซีรีส์ 787 หรือ สึบาเมะ (Tsubame -นกนางแอ่น) เปิดบริการในปีพ.ศ.2535 เชื่อมเมืองท่องเที่ยวระหว่าง 'ฮากาตะ' ซึ่งอยู่เหนือสุดของเกาะคิวชู ถึง 'คาโกชิมะตะวันตก' ใต้สุดของเกาะ ระยะทาง 256.8 กิโลเมตร


สึบาเมะ ได้รับการออกแบบโดยเน้นเรื่องความสะดวกสบายตลอดระยะเวลาการเดินทางทั้งหมด 3 ชั่วโมง 45 นาที มีการจัดผังที่นั่งหลายแบบ ตั้งแต่ที่นั่งภายในตู้โดยสารส่วนตัว ที่นั่งภายในตู้โดยสารแบบรวมที่เปิดโอกาสให้ผู้โดยสารนั่งล้อมวงกันรอบโต๊ะกลางและสนทนากับผู้ที่มาด้วยกันได้ นอกจากนี้ผู้โดยสารยังลุกขึ้นเดินไปมาภายในขบวนรถไฟเพื่อใช้บริการตู้เสบียงหรือบริเวณพื้นที่อเนกประสงค์ภายในรถไฟได้อย่างสะดวกสบาย


'นกนางแอ่น'ขบวนนี้ สร้างขึ้นจากวัสดุที่ปกติแล้วไม่ใช้ในการผลิตรถไฟ เช่น อะลูมิเนียม กระจก หิน นอกจากนี้มร.มิโตโอกะยังออกแบบผ้าบุผนังลวดลายต่างๆ ใช้ตกแต่งผนังตู้โดยสารแต่ละตู้ตั้งแต่หัวจรดท้าย ห้องสุขาได้รับการดูแลรักษาความสะอาดให้เรียบร้อยอยู่เสมอเพื่อให้ผู้โดยสารรู้สึกเหมือนกำลังใช้บริการอยู่ภายในโรงแรม


สองปีถัดมาหลังเปิดให้บริการ รถไฟด่วนพิเศษ ซีรีส์ 787 ก็ได้รับรางวัล บรูเนล (Brunel Award) จาก The Watford Group ที่มอบให้กับบริษัทรถไฟที่มีการออกแบบขบวนรถไฟเชิงสถาปัตย์ กราฟิก ศิลปะ ความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมยอดเยี่ยม ตั้งชื่อรางวัลตามชื่อวิศวกรรถไฟที่มีชื่อเสียงของอังกฤษ


มร.มิโตโอกะ ยังนำตำนานท้องถิ่นคิวชู เรื่อง อุราชิมา ทาโร่ (Urashima Taro) มาใช้ในงานออกแบบรถไฟให้กับเจอาร์คิวชู


ตำนานเล่าว่า นานมาแล้ว หนุ่มชาวประมงชื่อ อุราชิมา ทาโร่ ช่วยชีวิตเต่าทะเลให้พ้นจากการถูกรังแกของเด็กกลุ่มหนึ่ง เต่าตัวนั้นขอบคุณทาโร่ด้วยการพาเขาเดินทางไปยังปราสาทเทพเจ้ามังกรและได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากเจ้าหญิง สองสามวันต่อมาทาโร่พยายามหาทางกลับบ้าน เจ้าหญิงจึงมอบกล่อง 'ทามาเตะบาโกะ' กำชับห้ามเปิดกล่องออกดู เมื่อกลับถึงบ้าน เขาพบว่าไม่มีใครที่รู้จักอยู่เลย ทาโร่จึงเปิดกล่องออกดู ทันใดก็มีกลุ่มควันสีขาวพวยพุ่งออกจากกล่องและทำให้ทาโร่กลายเป็นชายชราทันที นั่นหมายความว่าเวลาเพียงไม่กี่วันที่ปราสาทเทพเจ้ามังกร แต่เวลาบนโลกได้ผ่านไปหลายร้อยปี


ขบวนรถไฟที่ได้รับการออกแบบจากตำนานดังกล่าวคือ รถไฟท่องเที่ยวสาย อิบุซุกิ โนะ ทามาเตะบาโกะ (Ibusuki-no-Tamatebako) ด้านหน้าของหัวรถจักร ซีกหนึ่งทาด้วยสีขาว อีกซีกทาด้วยสีดำ สื่อถึงการเปลี่ยนร่างของทาโร่จากชายหนุ่มผมดำเป็นชายชราผมขาว เมื่อเปิดประตูรถไฟก็มีหมอกไอน้ำพวยพุ่งออกมา แทนควันจากกล่องทามาเตะบาโกะ ภายในขบวนรถไฟมีชั้นวางหนังสือเต็มไปด้วยตำนานต่างๆ และหนังสืออิบุซุกิ เมืองในจังหวัดคาโกชิมะ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของนิทานเรื่องนี้


ที่สำคัญ ที่นั่งโดยสารยังออกแบบให้หันหน้าเข้าทะเล เพื่อผู้โดยสารจะสามารถเพลิดเพลินกับทิวทัศน์ที่สวยงามผ่านหน้าต่างรถไฟ ภายในขบวนรถไฟตกแต่งด้วยไม้สนญี่ปุ่นโอบิ ซึ่งเป็นไม้พื้นเมืองของคิวชูตอนใต้


นอกจากตำนานพื้นบ้าน 'เรื่องราวร่วมสมัย' ก็ได้รับการนำมาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบขบวนรถไฟ


รถไฟด่วนพิเศษ โซนิค ซีรีส์ 883 (Sonic 883 Series) ซึ่งเปิดบริการครั้งแรกในปีพ.ศ.2538 ได้รับความนิยมในหมู่ผู้ใหญ่และเด็กๆ ด้วยงานออกแบบตกแต่งภายในที่ทำให้เหมือน รถไฟในสวนสนุก เต็มไปด้วยความสนุกสนานและความประหลาดใจ แถวของเก้าอี้โดยสารคล้ายหมู่สัตว์หน้าตาน่ารัก เรียงรายไปตามตู้รถไฟแต่ละตู้ด้วยการใช้สีสันสดใส


ขณะที่เทคโนโลยีที่ใช้ในรถไฟขบวนนี้ก็ล้ำหน้าด้วยเทคโนโลยีแบบ เอียงเข้าหาจุดศูนย์กลาง คือการเอียงขบวนรถไฟขณะเข้าโค้ง และระบบการควบคุมแรงเหวี่ยงของตัวขบวนรถไฟที่ทำให้เข้าโค้งได้โดยไม่ต้องลดความเร็ว เป็นรถไฟด่วนพิเศษแบบเอียงเข้าหาจุดศูนย์กลางสายแรกของคิวชู และเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเพิ่มประสิทธิภาพและความเร็วของรถไฟ ผู้โดยสารจึงได้รับความสะดวกสบายและประสบการณ์เดินทางใหม่จากความเร็วที่เพิ่มขึ้นสมชื่อ 'โซนิค' และคว้ารางวัลบรูเนลไปครองในปีพ.ศ.2539


งานออกแบบยังคงติดตามเทคโนโลยีที่ก้าวไม่หยุด ในปีพ.ศ.2543 เจอาร์คิวชูเปิดตัว รถไฟด่วนพิเศษ ซีรีส์ 885 มีชื่อเรียกเล่นๆ ว่า ไวท์ คาโมเมะ (White Kamone -นกนางนวลสีขาว) ให้บริการบนเส้นทางสายหลักนางาซากิ (แต่ถ้าบริการบนเส้นทางสายหลักนิปโป จะใช้ชื่อ ไวท์ โซนิค) ตัวขบวนรถไฟทำจากอะลูมิเนียม อัลลอยด์ ตีให้โปร่งด้วยเทคนิคการเชื่อมสุดทันสมัย(friction stir welding technique) ทำให้ได้โครงสร้างขบวนรถไฟที่น้ำหนักเบาและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังงานและทรัพยากร เนื่องจากมีระบบควบคุมแรงเหวี่ยง รถไฟเข้าโค้งได้ด้วยความเร็ว 130 กิโลเมตร/ชั่วโมง


การตกแต่ภายในตู้โดยสารของ 'นกนางนวลสีขาว' ให้บรรยากาศแบบ ฟิวเจอริสต์ เน้นความเคลื่อนไหวและความเร็ว แต่ยังคงไว้ซึ่งความรู้สึกผ่อนคลาย ที่นั่งโดยสารทุกที่นั่งทำด้วยหนังแท้และไม้ธรรมชาติเป็นส่วนประกอบหลัก บริเวณโถงทางเดินระหว่างตู้โดยสารตกแต่งด้วย งานศิลปะคัดตัวอักษรญี่ปุ่น และงานศิลปะ รถไฟขบวนนี้คว้ารางวัลบรูเนลในปีรุ่งขึ้น


เมื่อรถไฟนำนักท่องเที่ยวมา.. 'เจอาร์คิวชู' ก็นำเสนอแนวคิดให้ท้องถิ่นช่วยกันคิด ปรับปรุงพื้นที่ตามความต้องการของคนในท้องถิ่น การเปิดช่องทางจำหน่ายสินค้าเกษตรท้องถิ่น เช่น มะเขือเทศคิวชูซึ่งปลอดสารเคมีในการปลูก ไข่ไก่สุขภาพอุชิ-โนะ-ทามาโกะ มันหวาน พริกหวาน ส้ม การพลิกฟื้นเทศกาลท่องเที่ยวที่เคยประสบภัยธรรมชาติ เช่น เทศกาลดอกทานตะวันบานที่ยุฟุอิน(Yufuin) โดยเฉพาะการพัฒนารูปแบบของ เอกิเบง (Ekiben) หรือ 'ข้าวกล่องรถไฟ'

เอกิเบง มีจำหน่ายเป็นครั้งแรกในปีพ.ศ.2428 บนรถไฟระหว่างสถานีชินบาในโตเกียวถึงสถานีโยโกฮามะในจังหวัดคานากาวะ เป็นเพียงข้าวปั้นไส้หัวไชเท้าดอง ห่อด้วยใบไผ่ญี่ปุ่น ส่วนที่คิวชูเริ่มจำหน่ายเอกิเบงในปีพ.ศ.2439 มีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในภูมิภาคทั้งเกษตรกรรมและปศุสัตว์ เพราะใช้วัตถุดิบท้องถิ่นในการปรุง


เพื่อยกระดับความเป็นท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์ของคิวชู มร.มิโตโอกะจึงได้ออกแบบบรรจุภัณฑ์เอกิเบงของเจอาร์คิวชูไว้หลายรูปแบบให้เข้ากับดีไซน์ของขบวนรถไฟต่างๆ รวมทั้งออกแบบอาหารร่วมกับคนในท้องถิ่นซึ่งอาศัยอยู่ตามเส้นทางรถไฟ


งานออกแบบรถไฟชิ้นล่าสุดของมร.มิโตโอกะขณะนี้คือ เซเว่น สตาร์ อิน คิวชู (Seven Stars in Kyushu) รถไฟท่องเที่ยวสายใหม่ที่จะให้บริการท่องเที่ยวทั่วเกาะคิวชูแบบค้างคืนบนรถไฟแบบ 4 วัน 3 คืน และแบบ 2 วัน 1 คืน เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวสัมผัสความเป็นญี่ปุ่นที่มีเอกลักษณ์ทั้งธรรมชาติ อาหาร บ่อน้ำพุร้อน ประเพณีวัฒนธรรม ตามเมืองท่องเที่ยวของเกาะคิวชูทั้ง 7 จังหวัดของเกาะคิวชู ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ 'เซเว่น สตาร์' โดยเปรียบจังหวัดทั้งเจ็ดของคิวชูเป็นดวงดาวนั่นเอง โดยจะมีรถบัสมารับนักท่องเที่ยวที่สถานีรถไฟไปยังแหล่งท่องเที่ยวที่กำหนดแล้วพากลับมาส่งที่สถานีรถไฟเพื่อเดินทางต่อไปยังจุดอื่นๆ ตามโปรแกรม


นักท่องเที่ยวยังได้สัมผัสเอกลักษณ์ของเกาะคิวชูได้อย่างใกล้ชิดจากการใช้วัสดุท้องถิ่นตกแต่งภายในของขบวนรถไฟเซเว่น สตาร์ อีกด้วย


จากการตกอยู่ในสภาพปัญหาหนี้สินในอดีต ปัจจุบันเจอาร์คิวชูมีขบวนรถไฟที่ผ่านงานดีไซน์ประมาณ 30 รูปแบบ การเพิ่มขบวนรถไฟ เพิ่มความเร็วในการเดินทาง เปลี่ยนรถไฟขบวนใหม่ๆ เปิดสถานีรถไฟเพิ่มขึ้น ประยุกต์ใช้สินทรัพย์ที่มี ผลลัพธ์ก็คือ ภายในปีงบประมาณ 2554 บริษัทในเครือเจอาร์คิวชูสร้างรายได้รวม 332.8 พันล้านเยน คิดเป็นกำไร 20.2 พันล้านเยน


อีกหนึ่งความมหัศจรรย์ของงานออกแบบที่พลิกฟื้นกิจการรถไฟของญี่ปุ่น

หมายเหตุ : ชมภาพมากกว่านี้ได้ที่ fan page เซ็คชั่น กรุงเทพวันอาทิตย์ กรุงเทพธุรกิจ คลิก http://www.facebook.com/sundaybkk
ผู้สนใจสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานดีไซน์ขบวนรถไฟของเจอาร์คิวชูได้ในนิทรรศการ “รถไฟสายความสุข.. เศรษฐกิจใหม่จากรางสู่เมือง” ณ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) วันนี้-26 พฤษภาคม 2556 เวลา 10.30 - 21.00 น. (ยกเว้นวันจันทร์) คลิก www.tcdc.or.th


Last edited by Wisarut on 13/11/2013 11:49 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46856
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/04/2013 10:40 am    Post subject: Reply with quote

เกาะคิวชู มีจุดขายเพื่อการท่องเที่ยวน้อยครับ (จริง ๆ มีเยอะ แต่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก)
แม้แต่นักท่องเที่ยวญี่ปุ่นเองก็ไม่ค่อยไปเที่ยวกัน
นักท่องเที่ยวบ้านเรา ถ้าถามถึงญี่ปุ่นว่าจะไปเมืองไหนบ้าง ก็จะนึกถึงแต่ โตเกียว ภูเขาไฟฟูจิ โอซาก้า เกียวโต นารา ฮิโรชิมา ฮอกไกโด

ไม่ค่อยมีใครนึกถึงฟุกุโอกะ คุมาโมโต้และนางาซากิ ที่อยู่เกาะคิวชู เพราะว่าอยู่ไกลจากแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ ของญี่ปุ่น หิมะก็ไม่ค่อยตก

แต่ถ้าคนรักรถไฟ ต้องไปนั่งรถไฟสาย Aso Kogen Line ครับ มีทางรถไฟแบบ Switchback ให้ดูด้วย คนไม่รู้นึกว่ารถไฟขัดข้อง ขึ้นเขาไม่ไหวแบบขุนตาน ถอยไปถอยมาครับ Wink
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43713
Location: NECTEC

PostPosted: 08/08/2013 1:01 am    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size
ขึ้นรถไฟสาย สายหมีน้อย Rilakkuma => รถไฟวงแหวน Yamanote ที่เอาสติกเกอร์หมีน้อย Rilakkuma มาเล่น มีตั้งแต่ 2-16 เดือนสิงหาคมนี้ (2 สัปดาห์เท่านั้น)

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=202252373270192&set=a.126843250811105.25741.126452724183491&type=1&ref=nf
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43713
Location: NECTEC

PostPosted: 19/09/2013 8:07 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
แม้ไม่ใช่ JR East แต่ก็เป็นรถไฟญี่ปุ่นสวยๆ ที่ถ้าสบโอกาสก็ควรนั่งนะครับ - เพราะ Anime-Manga นี่ก็ส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมญี่ปุ่นไปแล้ว


Click on the image for full size
รถไฟรางเดียวที่จิบะ - เอาสติกเกอร์ จากเรื่อง Ore no Imouto ga Konna ni Kawaii Wake ga Nai (Oreimo) เพราะ ในเรืองเอารถไฟรางเดียวที่จิบะ เข้าฉากด้วย
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=589118114486065&set=a.154502141281000.36257.132683970129484&type=1&theater

Click on the image for full size
รถไฟติดสติกเกอร์ จากเรื่อง Ore no Imouto ga Konna ni Kawaii Wake ga Nai (Oreimo)
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=586384391426104&set=a.154502141281000.36257.132683970129484&type=1&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46856
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/09/2013 8:44 pm    Post subject: Reply with quote

ถ้าไปนั่งชิบะโมโนเรล คงต้องซื้อตั๋วที่ระลึกหน้าตาแบบนี้ด้วยครับ Embarassed
ตั๋วที่ระลึกการ์ตูนเรื่อง "น้องสาวของผมไม่น่ารักขนาดนั้นหรอก"

Arrow http://img5.blogs.yahoo.co.jp/ybi/1/00/2d/hokutosei1112000/folder/1019556/img_1019556_31482400_0?1351301609
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46856
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/09/2013 9:11 pm    Post subject: Reply with quote

ดูชิบะโมโนเรลในการ์ตูนได้ที่นี่ครับ ฉากเปิดเรื่องเลย มองจากสวนสาธารณะ Very Happy
Arrow http://vimeo.com/46999670

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
BanPong1
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 07/12/2006
Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี

PostPosted: 22/10/2013 11:52 pm    Post subject: Reply with quote

CivilSpice wrote:


Click on the image for full size


ทริปต้นตุลาคมที่ผ่านมาได้มีโอกาสไปนั่ง Resort Shirakami ขบวนนี้มาแบบต้นทางปลายทาง Aomori - Akita เลยครับ ทั้งนั่งๆนอนๆ ไว้จะเอาภาพมาให้ชมกันครับ Very Happy
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ภาพรถไฟต่างประเทศ All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10  Next
Page 3 of 10

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©