View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43973
Location: NECTEC
|
Posted: 20/04/2013 7:06 pm Post subject: |
|
|
นี่คือคำเตือนจาก TDRI
TDRI ห่วงรถไฟความเร็วสูงทำหนี้สาธารณะพุ่งเกิน 100%
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 19 เมษายน 2556 12:50 น.
การเเสดงวิสัยทัศน์ระหว่าง 2 ขุนคลัง นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีเเละรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เเละ นายกรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในหัวข้อ "อนาคตเศรษฐกิจไทย" การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ตามร่างพระราชบัญญัติกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท โดยทั้งสองคนระบุตรงกันในความจำเป็นว่า ประเทศไทยต้องมีลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน
ซึ่งนายกิตติรัตน์ กล่าวย้ำว่า การลงทุนครั้งนี้รัฐบาลคำนึงถึงความคุ้มค่า เเละการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจะกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยได้ ซึ่งการกู้เงินเพื่อลงทุนรัฐบาลจะดำเนินการอย่างรอบคอบ เเละพร้อมทบทวนหากไม่คุ้มค่า
นอกจากนี้ นายกรณ์ ระบุว่า การออก พ.ร.บ.กู้เงิน เป็นเหมือนการกู้เงินนอกระบบตรวจสอบยาก และอาจเกิดความไม่โปร่งใส ซึ่งหากใช้เงินในงบประมาณการลงทุน การเบิกจ่ายเป็นไปตามกฎระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างของกรมบัญชีกลาง เชื่อว่าน่าจะดีต่อวินัยทางการคลังมากกว่า
ขณะที่ นายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ พร้อมทีมวิจัยแสดงความเป็นห่วงโครงการสร้างรถไฟความเร็วสูง หากยังไม่ได้ศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและการเงิน อาจจะเพิ่มโอกาสให้หนี้สาธารณะสูงเกิน 100 เปอร์เซ็นต์ ในอีก 6 ปีข้างหน้า |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47236
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 21/04/2013 9:25 pm Post subject: |
|
|
ชัดถ้อยชัดคำ..."ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" ลั่น "รถไฟความเร็วสูงจะเริ่มต้นในรัฐบาลชุดนี้"
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 21 เม.ย 2556 เวลา 21:08:40 น.
โปรเจ็กต์รถไฟความเร็วสูงหรือไฮสปีดเทรน 4 สายของ "รัฐบาลเพื่อไทย" ที่ตั้งความหวังต้องการจุดประกายให้เกิดขึ้นได้จริงสำหรับประเทศไทยใน 5-7 ปีนี้ ภายใต้กรอบวงเงินลงทุน พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทแต่กลับกลายเป็นเป้าที่ "ฝ่ายค้าน" นำมาถล่มกลางเวทีอภิปรายมากที่สุด
เมื่อโครงการนี้ยื่นคำขอใช้เม็ดเงินลงทุนร่วม 783,229 ล้านบาท หรือเกือบ 50% ของเงินลงทุน 2 ล้านล้านบาทหรืออีกเหตุผลหนึ่ง อาจจะเป็นเพราะ "รถไฟความเร็วสูง" ยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับเมืองไทย จึงเป็นไปได้ยากที่จะทำให้คนคล้อยตามและเชื่อมั่นว่าโปรเจ็กต์รถไฟหัวจรวดจะเกิดขึ้นได้จริง และเป็นรูปธรรมได้ง่าย ๆ ในเร็ววัน
แม้ว่าเวทีอภิปรายจะรูดม่านไปแล้ว แต่คำถามที่ยังตกค้างในใจอีกหลาย ๆ คน คือ โครงการนี้ยังมีอยู่หรือไม่ "ประชาชาติธุรกิจ" สัมภาษณ์พิเศษ "ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ถึงสถานะโครงการล่าสุด ตลอดจนถึงการพัฒนาโครงการนับจากนี้หลัง พ.ร.บ.กู้เงินมีผลบังคับใช้แล้ว
- ความคืบหน้าไฮสปีดเทรน
ถึงจะมีคำวิพากษ์วิจารณ์อยู่มาก เราก็นำมาดูและค่อย ๆ แก้ไขไป แต่นโยบายรัฐบาลยังชัดเจนจะเดินหน้าโครงการแน่นอน ตอนนี้อยู่ในกระบวนการขั้นตอนทำผลการศึกษารายละเอียด รายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ส่วนการพิจารณาของคณะกรรมาธิการก็ต้องมาว่ากันต่อไป ซึ่งกรรมาธิการเองทุกคนก็กังวลว่าเป็นไปได้แค่ไหน
ผมว่า...ก็ต้องดูตัวเลขเป็นวิทยาศาสตร์ ทางรัฐบาลที่แล้ว (ประชาธิปัตย์) ก็สนับสนุนมาตั้งแต่ต้นแล้วโครงการนี้มีการทำบันทึกข้อตกลงหรือเอ็มโอยูกับต่างประเทศด้วย
ทุกคนก็เห็นว่าน่าจะดี แต่อยากจะคอนเฟิร์มเรื่องตัวเลขอีกครั้งหนึ่ง เราก็ทำรายละเอียด พอถึงชั้นกรรมาธิการก็จะมีตัวเลขมาให้ดู
ตัวเลขในเบื้องต้นที่ศึกษาก็เป็นไปได้ มีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ หรือ EIRR อยู่ประมาณ 13-15% ที่ผ่านมามีหลายผลการศึกษา โดยศึกษาเบื้องต้นปี"53 แต่ก็เป็นแบบหยาบมาก ๆ เลย ส่วนทาง
ประเทศจีนและญี่ปุ่นที่ศึกษาให้ก็เป็นอีกตัวเลขหนึ่ง แต่ที่เรากำลังดำเนินการจะศึกษารายละเอียดลงลึกให้ถูกต้อง ตัวเลขก็เริ่มออกมาแล้ว ยืนยันว่ามีความเป็นไปได้ในระดับหนึ่ง โดยจะมีการเปิดเผยต่อไปหลังจากนี้
- จะสร้างทันรัฐบาลชุดนี้
ทันสิครับ แต่ต้องทำตามขั้นตอน ตอนนี้เราทำเต็มที่อยู่แล้วจะเร่งให้เร็วที่สุด อีก 2-3 เดือนนี้จะยื่นอีไอเอ เมื่อผ่านแล้วจะต้องนำเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) และคณะกรรมการ (บอร์ด) สภาพัฒน์ในปี"57 จะเริ่มก่อสร้างแน่ ๆ ถ้ามีแหล่งเงินและ พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทผ่าน
เราผลักดันเต็มที่ทุกอย่างไม่มีปัญหา ผมไม่ได้พูดเลยว่าจะไม่ทันรัฐบาลชุดนี้
- ประเมินแล้วจะผ่านสภาพัฒน์
ทุกคนรู้ว่านี่คือนโยบายของรัฐบาล อยู่ที่การเตรียมข้อมูลตัวเลขให้พร้อม ผมคิดว่าคงไม่ทำให้พิจารณาโครงการล่าช้า สภาพัฒน์เป็นองค์กรอิสระมีผู้ทรงคุณวุฒิที่เราต้องฟังอยู่แล้ว ผมว่าก็ดีมาช่วยกันดูให้รอบคอบ แต่คงไม่ทำให้โครงการล่าช้า
ผมไม่กังวลเลย ผมว่าทุกอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ เราก็ต้องทำตามความเป็นจริง ตัวเลขทุกอย่างเราก็ว่าไปตามหลักความเป็นจริงไม่มีการมาปั้นตัวเลขเพื่อให้โครงการเกิด เพราะเราเป็นคน
รับผิดชอบเงินของประเทศชาติ ผมคิดว่าเรามีหลักวิทยาศาสตร์อธิบายได้ว่ามาจากไหน ซึ่งสภาพัฒน์ก็ดูตัวเลขเดียวกัน อาจจะมีข้อซักถามเรื่องสมมติฐานว่ามาจากไหน มันก็ดำเนินการตามขั้นตอน แต่อาจจะมีฝ่ายไม่เห็นด้วยเยอะ และขอเรียนว่าใน 2 ล้านล้านบาทไม่ได้มีแค่รถไฟความเร็วสูง มีโครงการอื่นอีกเยอะแยะ
สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงจริง ๆ แล้วเป็นเรื่องที่คนไม่เห็นด้วย ซึ่งทุกประเทศเป็นแบบนี้หมด มีคนเห็นด้วยกับไม่เห็นด้วย มีคำถามว่าประเทศไทยพร้อมหรือยัง ก็ต้องมาถกเถียงกันเป็นเรื่องธรรมดา ดีเสียอีกนี่คือประโยชน์ของการออก พ.ร.บ.เงินกู้ ถ้าไม่ออกนะแล้วไปอนุมัติกู้เงินเลยก็ไม่ได้ถกเถียงกันหรอก
- จะนำร่อง 1 สายหรือ 4 สาย
ใจเราคิดว่าจะทำในรัศมี 350 กิโลเมตรรอบกรุงเทพฯ ถ้าจะทำทั้งหมดก็น่าจะดี แต่ต้องดูตัวเลขอีกทีว่าสายไหนดีที่สุด แต่คิดว่าการประมูลที่สามารถใช้อะไรหลายอย่างร่วมกันได้ เช่น ศูนย์ซ่อมบำรุง หัวรถจักร ถ้าใช้ประเทศเดียวกันก็จะทำให้ลดต้นทุนได้
การก่อสร้างจะเริ่มจากตรงไหน จะดูความต้องการอยู่ในวงรอบกรุงเทพฯเป็นหลัก ซึ่งก็ต้องยึดตามนโยบายรัฐบาลเป็นหลัก สร้างเฟสแรก 4 สายทาง คือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่, กรุงเทพฯ-โคราช, กรุงเทพฯ-หัวหิน และกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง แต่ศึกษาเต็มเส้นทางเพราะทำแค่นี้ก็ใช้เงินลงทุนไปกว่า 7 แสนล้านบาทแล้ว เกือบ 40% ของวงเงินลงทุน 2 ล้านล้านบาท ต้องพิจารณาให้ครบถ้วนทุกมิติ จะหนักไปทางใดทางหนึ่งไม่ได้
- โมเดลสายกรุงเทพฯ-บ้านภาชี
...ก็เป็นไปได้ ทางประเทศจีนที่มาศึกษาโครงการให้เสนอไอเดียว่าประเทศไทย
ควรจะมีสายนำร่องที่จะทดสอบระบบก่อน เหมือนประเทศจีนเคยทำสำเร็จมาแล้ว จึงเสนอให้รัฐบาลไทยเร่งช่วงกรุงเทพฯ-บ้านภาชี ระยะทาง 80 กิโลเมตรก่อน คาดว่าจะใช้เวลาไม่นานประมาณ 3-4 ปีก็เปิดบริการได้
ฟังไอเดียแล้วผมว่าก็น่าสนใจดี เพราะช่วงกรุงเทพฯ-บ้านภาชีเป็นเส้นทางร่วมระหว่างสายเหนือ (กรุงเทพฯ-เชียงใหม่) กับสายอีสาน (กรุงเทพฯ-โคราช) ยังไงก็ต้องทำก่อนอยู่แล้ว ก็เป็นไปได้ที่จะนำร่องก่อนเพราะต้องมีการทดสอบระบบอยู่แล้ว ก็ต้องค่อยทยอยดำเนินการไป |
|
Back to top |
|
|
JackSkyline
Warning 3 (Final)
Joined: 11/02/2013 Posts: 118
|
Posted: 22/04/2013 1:33 am Post subject: |
|
|
สภาพัฒน์ ทำไมอนุมัติรถไฟความเร็วสูงง่ายจัง เร็วด้วย รีบอนุมัติ เร่งตรวจสอบ
แต่รถไฟรางคู่ สภาพัฒน์ อนุมัติยากกมากๆ ทำให้โครงการล้าช้ามากๆ แถมบอกว่า ต้องใช้เวลาตรวจสอบเยอะ
ทั้งๆ ที่สร้างง่ายกว่า
คนเราก็เหมือนกัน โดยเฉพาะชาวบ้าน พอเส้นทางรถไฟความเร็วสูงผ่าน จะเวนคืนที่ดิน ดีใจ
แต่ถ้า ขยายรางคู้่ กั้นรั้ว มีปัญหาตลอด
สองมาตรฐาานไปรึเปล่า |
|
Back to top |
|
|
srinopkun
1st Class Pass (Air)
Joined: 08/04/2010 Posts: 2940
Location: นครปฐม
|
Posted: 22/04/2013 8:12 am Post subject: |
|
|
JackSkyline wrote: | สภาพัฒน์ ทำไมอนุมัติรถไฟความเร็วสูงง่ายจัง เร็วด้วย รีบอนุมัติ เร่งตรวจสอบ |
"สภาพัฒน์ฯ" เขาอนุมัติแล้วเหรอ ทำไมคุณ "รู้ดี"จัง
JackSkyline wrote: |
แต่รถไฟรางคู่ สภาพัฒน์ อนุมัติยากกมากๆ ทำให้โครงการล้าช้ามากๆ แถมบอกว่า ต้องใช้เวลาตรวจสอบเยอะ
ทั้งๆ ที่สร้างง่ายกว่า |
นี่ก็เหมือนกัน รู้ไปหมดนะ
แถมยัง "รางคู่" อยู่อีกแน่ะ |
|
Back to top |
|
|
JackSkyline
Warning 3 (Final)
Joined: 11/02/2013 Posts: 118
|
Posted: 22/04/2013 8:40 am Post subject: |
|
|
srinopkun wrote: | JackSkyline wrote: | สภาพัฒน์ ทำไมอนุมัติรถไฟความเร็วสูงง่ายจัง เร็วด้วย รีบอนุมัติ เร่งตรวจสอบ |
"สภาพัฒน์ฯ" เขาอนุมัติแล้วเหรอ ทำไมคุณ "รู้ดี"จัง
JackSkyline wrote: |
แต่รถไฟรางคู่ สภาพัฒน์ อนุมัติยากกมากๆ ทำให้โครงการล้าช้ามากๆ แถมบอกว่า ต้องใช้เวลาตรวจสอบเยอะ
ทั้งๆ ที่สร้างง่ายกว่า |
นี่ก็เหมือนกัน รู้ไปหมดนะ
แถมยัง "รางคู่" อยู่อีกแน่ะ |
ก็ตามข่าวที่ว่า
- ประเมินแล้วจะผ่านสภาพัฒน์
ทุกคนรู้ว่านี่คือนโยบายของรัฐบาล อยู่ที่การเตรียมข้อมูลตัวเลขให้พร้อม ผมคิดว่าคงไม่ทำให้พิจารณาโครงการล่าช้า สภาพัฒน์เป็นองค์กรอิสระมีผู้ทรงคุณวุฒิที่เราต้องฟังอยู่แล้ว ผมว่าก็ดีมาช่วยกันดูให้รอบคอบ แต่คงไม่ทำให้โครงการล่าช้า
แต่ว่า จากที่ติดตามข่าว ปรากฎว่า โครงการรรถไฟพื้นฐาน ทางคู่
สภาพัฒน์กลับอนุมัติล่าช้ามาก จุดนั้นจุดนี้ไม่ผ่าน
อาจใช้เวลานาน
ส่วนรถไฟความเร็วสูง บอกว่า ต้องผ่าน ต้องทันรัฐบาลนี้ |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47236
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 22/04/2013 8:46 am Post subject: |
|
|
ไม่คำนึงแม้ความคุ้มค่า?
ไทยรัฐ(ฉบับพิมพ์) 22 เม.ย. 56
ถึงแม้ร่าง พ.ร.บ.ให้กระทรวงการคลังกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ จะผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว แต่ยังมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านความโปร่งใส และความคุ้มค่าทางการเงิน เนื่องจากมีมากมายหลายโครงการที่ยังไม่ได้ผ่านการศึกษาความคุ้มค่าและผลกระทบด้านต่างๆ
นักวิชาการสถาบันวิจัยเพื่อการ พัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ ยืนยันว่ามีถึง 11 โครงการ ตั้งงบประมาณไว้กว่า 9 แสนล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นโครงการรถไฟความเร็วสูง ยังไม่มีการศึกษาความคุ้มค่าทางการเงิน ความเป็นไปได้ ตลอดจนผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพประชาชน และเชื่อว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงไม่มีทางถึงจุดคุ้มทุนอย่างแน่นอน
แม้แต่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังก็ยอมรับว่า การที่ทีดีอาร์ไอมองว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงแพงและไม่คุ้มค่าเป็นเรื่องจริง ขณะนี้ให้สภาพัฒน์ศึกษาอยู่ ถ้าไม่คุ้มค่าก็ต้องปรับนำเงินไปลงทุนในด้านอื่น แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมยืนยันว่า จะเดินหน้า แต่เคยบอกว่ารถไฟความเร็วสูงสายหนองคายอาจต้องระงับไว้ก่อน
เห็นได้ชัดว่า ก่อนที่จะขออนุมัติ กู้เงินระดับเอกอัครมหาศาลที่ประเทศไทยไม่เคยกู้มาก่อนถึง 2 ล้านล้านบาท รัฐบาล ยังไม่ได้ศึกษาโครงการต่างๆอย่างรอบด้าน แต่ของบประมาณไว้ก่อน เนื่องจากเป็นรัฐบาลที่ยึดติดนโยบายประชานิยม คิดถึงการเลือกตั้งคราวหน้ามากกว่าปัญหาอื่นๆ เมื่อจะต้องสู้ศึกเลือกตั้ง จึงจำเป็นต้องสะสมทั้งกระแสและกระสุนให้พร้อมสรรพ
เหตุที่รัฐบาลโหมโฆษณาโครง-การรถไฟความเร็วสูง เพราะเชื่อว่าจะโดนใจและทำให้คนไทยตื่นเต้น เพราะไม่เคยมี แต่ไม่ได้ศึกษาอย่างรอบคอบ นักวิชาการฟันธง ว่าไม่มีทางถึงจุดคุ้มทุนแน่นอน จุดคุ้มทุนต้องมีผู้โดยสารในปีแรก 9 ล้านคน และผู้โดยสารจะเป็นผู้มีรายได้ระดับกลางถึงสูง ส่วนคนจนจะได้แค่แหงนหน้ามองเมื่อรถไฟวิ่งผ่าน ซ้ำเติมความเหลื่อมล้ำในสังคม
หลายคนชี้ให้ดูโครงการแอร์-พอร์ตลิงก์ ซึ่งเป็นโครงการรถไฟลอยฟ้าเชื่อมโยงระหว่างกรุงเทพฯกับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนรถไฟความเร็วสูง นักวิชาการชี้ให้ดูตัวอย่างรถไฟใต้ดิน ซึ่งตั้งเป้าจะบริการผู้โดยสารวันละ 6 แสนคน แต่ในปัจจุบันมีเพียงวันละ 2 แสนคน ถ้ารัฐบาลต้องอุ้มรถไฟฟ้าความเร็วสูงรับรองหนี้สาธารณะพุ่งมโหฬารแน่
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยเสนอแนะให้รัฐบาลปรับปรุงการใช้เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ไว้หลายข้อ รวมทั้งให้หน่วยงานที่เป็นกลางและเป็นอิสระทำการศึกษาโครงการก่อน และการลงทุนในอนาคตให้อยู่ในรูปแบบงบประมาณ เพื่อให้รัฐสภาตรวจสอบความโปร่งใส แต่เชื่อว่ารัฐบาลจะไม่รับฟัง เช่นเดียวกับโครงการรับจำนำข้าวทุกเมล็ด แม้จะก่อความเสียหายร้ายแรง. |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43973
Location: NECTEC
|
Posted: 22/04/2013 9:28 am Post subject: |
|
|
เปิดโลกสมัยใหม่ผ่านนิทรรศการ แผนการออกแบบรถไฟความเร็วสูง 2 ล้านล้าน ได้ใช้แน่ !!
มติชน
วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2556 เวลา 16:10:42 น.
หลายคน คงวาดฝันกันสวยหรู ไปล่วงหน้าแล้ว กับโครงการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทของรัฐบาล ที่จะสร้างระบบคมนาคมขนส่งทั่วประเทศ รวมทั้งการเป็นศูนย์กลางของอาเซียน 2ล้านล้านบาท นำมาสร้าง ท่าเรือ 3 แห่ง , มอเตอร์เวย์ 5 เส้นทาง , รถไฟฟ้าในกรุงเทพฯและปริมณฑล 10 เส้นทาง , และรถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง
ซึ่งแน่นอนว่าโครงการใหญ่แบบนี้จะมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยละไม่เห็นด้วย บางก็บอกว่าการกู้เงินครั้งนี้จะสร้างระบบคมนาคมดี บ้างก็บอกว่าการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาททำให้ประชาชนมีหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น จนในขณะนี้ยังคงเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอยู่ในสังคม
และตอนนี้ ก็มีหนึ่งนิทรรศการที่เปรียบเสมือน "เลนส์" ที่มองผ่านไปถึงอนาคตว่า หากมีระบบการคมนาคมที่ดีจะเช่นไร ภายใต้ชื่อ "นิทรรศการรถไฟสายความสุข...เศรษฐกิจใหม่จากรางสู่เมือง" ซึ่งกำลังจัดแสดง ณ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ TCDC โดยนิทรรศการนี้พูดถึงเรื่องราวของบริษัทรถไฟสายหนึ่งที่เคยประสบปัญหาขาดทุนแต่ภายหลังกลับมีชื่อเสียงที่โด่งดังและมีกำไรอย่างมากมาย ไม่แน่ว่านิทรรศการนี้อาจเป็นแสงสว่างให้เราเดินหน้าต่อไป
"อภิสิทธิ์ ไล่ศัตรูไกล" ผู้อำนวยการศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ เผยว่า แรงบันดาลใจของการจัดนิทรรศการนี้ เกิดจากการเดินทางไปศึกษาดูงานด้านการสร้างสรรค์มูลค่าจากรถไฟความเร็วสูง ณ ประเทศญี่ปุ่น ของบริษัทรถไฟเจอาร์ คิวชู ที่นำงานออกแบบมาประยุกต์ใช้ทั้งด้านกายภาพและงานบริการ จนส่งผลให้ธุรกิจมีผลประกอบการที่ดีขึ้นเป็นลำดับ นับเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของความสำเร็จของกลยุทธ์เศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ประเทศไทย ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง อาจนำมาปรับใช้ได้
โดยกลยุทธ์ที่บริษัทรถไฟเจอาร์ คิวชู ใช้เป็นการออกแบบโดย คำนึงถึงความสุขและความสะดวกสบายของประชาชน มีการนำเอกลักษณ์ของท้องถิ่นมาผสมผสานกับการออกแบบขบวนรถทั้งภายในและภายนอก ปรับปรุงสถานี รวมถึงการนำธุรกิจของประชาชนมาเป็นส่วนหนึ่งของรถไฟสายนั้น เพื่อสร้างประสบการณ์การนั่งรถไฟให้เป็นส่วนหนึ่งของความสุขในการเดินทาง
ฟาก "นันท์นรี พานิชกุล" ภัณฑารักษ์ประจำศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ TCDC เชียร์ให้ทุกคนมาดูว่า จริงๆแล้ว ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ สามารถจะมาปรับใช้ได้กับบ้านเรา ข้อจำกัดต่างๆ มีการแก้ปัญหาในเรื่องของการออกแบบ โดยที่มีการใช้วัสดุท้องถิ่นเข้ามาเป็นตัวช่วยต่างๆ และการลงทุนโครงการนี้จะต้องใช้เวลา ฉะนั้นอยากให้มองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของสาธารณูปโภคพื้นฐาน อย่าคิดแค่ว่าตนไม่ได้ใช้ ต้องคิดเผื่อไปข้างหน้า ซึ่งส่วนหนึ่งสร้างมาเพื่อประเทศชาติ ไม่ใช่แค่เราคนเดียว เป็นประโยชน์ส่วนรวม ส่วนข้อได้เปรียบของรถไฟคือ ความตรงต่อเวลา ความปลอดภัย การเกิดอุบัติเหตุน้อยกว่าพาหนะอื่นๆ
อย่างไรก็ดี บริษัทรถไฟเจอาร์ คิวชู ของประเทศญี่ปุ่น ยังเน้นทางด้านการค้า สร้างกำไรให้กับบริษัท สร้างความสุขให้กับนักท่องเที่ยว เมื่อคิดจะนำรูปแบบเหล่านี้มาปรับใช้กับประเทศที่กำลังจะลงทุนระบบขนส่งด้วยรางอย่างไทยแล้วอาจจะทำให้เรามีรายได้จากการท่องเที่ยวด้วยพาหนะที่อยู่คู่กับไทยมานานก็เป็นได้
ขอบอกว่า ประชาชนให้ความสนใจจำนวนไม่น้อยในนิทรรศการรถไฟสายความสุข
เศรษฐกิจใหม่จากรางสู่เมือง ณ ห้องนิทรรศการ 2 ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC)
นิทรรศการนี้ จะจัดไปจนถึงวันที่ 26 พฤษภาคม 2556 ผู้สนใจสามารถเข้าชมได้ตั้งแต่ เวลา 10.30 - 21.00 น. (ยกเว้นวันจันทร์) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ 02-664-8448 ต่อ 213, 214 หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.tcdc.or.th |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43973
Location: NECTEC
|
Posted: 23/04/2013 12:49 am Post subject: |
|
|
กมธ.กู้ 2 ล้านล้าน ชี้รถไฟความเร็วสูงขาดทุน เทคโนโลยีไม่พร้อม ชัชชาติ ยันคุ้มค่า
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 22 เมษายน 2556 17:06 น.
"ชัชชาติ"รับรถไฟความเร็วสูงไม่คุ้มทุน
หน้า ธุรกิจ-ตลาด
โพสต์ทูเดย์
22 เมษายน 2556 เวลา 17:11 น.
กิตติรัตน์ นั่ง ปธ.ประชุม กมธ.กู้ 2 ล้านล้าน วิฑูรย์ บี้ สนข.-ร.ฟ.ท.เผยรายละเอียดใช้งบฯ เพื่อความโปร่งใส กมธ.ชงเคลียร์รถไฟความเร็วสูง กทม.-เชียงใหม่ ขาดทุน 2 หมื่นล้าน และความคุ้มค่าเวลา ผอ.สนข.แจงศึกษาค่าโดยสารตามความเร็ว ในแผนแม่บท สิ้นปีถึงชัด พร้อมเยียวยาตามความจริง อนุชา ชี้เทคโนโลยีไม่พร้อม ไม่คุ้มค่า เชื่อพัฒนารางคู่ดีกว่า รมว.คมนาคมมั่นใจคุ้มค่าชัวร์
วันนี้ (22 เม.ย.) การประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศวงเงิน 2 ล้านล้านบาท โดยมีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วยตัวแทนจากสำนักงบประมาณ สำนักปลัดกระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมเข้าชี้แจงในครั้งนี้ โดยนายวิฑูรย์ นามบุตร กมธ.ฝ่ายค้านได้ทวงถามความคืบหน้าการศึกษาโครงการที่เกี่ยวข้องกับเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ว่าสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม หรือ สนข. และการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการศึกษาและใช้งบประมาณแล้วหรือไม่ โดยต้องการให้เปิดเผยถึงรายละเอียดดังกล่าว เพื่อความโปร่งใสในการดำเนินงาน
ขณะที่คณะกรรมาธิการได้สอบถามถึงความคุ้มค่าของการลงทุน เนื่องจากมองว่าผลการศึกษารถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ จะขาดทุนถึง 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะขาดทุนมากกว่าสายกรุงเทพฯ-หนองคาย รวมถึงความคุ้มค่าของเวลาในการเดินทางที่ล่าช้ากว่าเครื่องบิน เพราะมีระยะทางถึง อ.เด่นชัย จ.ลำปางเท่านั้น
นายจุฬา สุขมานพ คณะกรรมาธิการและผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม หรือ สนข. ชี้แจงว่าผลการศึกษาความคุ้มค่าของโครงการรถไฟความเร็วสูงได้ศึกษาราคาค่าโดยสารตามระดับความเร็ว 120 กม.ต่อ ชม. 160 กม.ต่อ ชม. และ 250 กม.ต่อ ชม. ซึ่งการศึกษาในระดับแผนแม่บท หากโครงการไหนมีความพร้อมก่อนจะเริ่มดำเนินการทันที โดยภายในสิ้นปีนี้ก็จะมีความชัดเจน ซึ่งการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้ ส่วนการเยียวยาผลกระทบจะต้องสอดคล้องกับสถานการณ์จริง
ด้านนายอนุชา บูรพชัยศรี คณะกรรมาธิการ แสดงถึงความกังวลเรื่องเทคโนโลยี เนื่องจากไทยยังไม่มีความพร้อมทั้งด้านเทคโนโลยี และบุคลากร ซึ่งอาจต้องซื้อเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และเกรงว่าเมื่อเริ่มดำเนินจะไม่คุ้มค่าทางด้านเศรษฐกิจตามที่ตั้งเป้าไว้ หากถึงเวลาที่จะต้องเริ่มดำเนินการจริง จึงเห็นว่าควรพัฒนาระบบรางคู่ตามแผนเดิมที่วางไว้
นอกจากนี้ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ มองว่าความคุ้มค่าในการลงทุนของโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง เกิดจากการแบ่งของระบบขนส่งจากสิ่งที่มีอยู่ หรือการสร้างความต้องการการบริโภคขึ้นมาใหม่ โดยมองว่าผลตอบแทนในการลงทุนจะเป็นความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งอัตราค่าโดยสารก็อยู่กับต้นทุนในการดำเนินงาน ส่วนเรื่องของการเชื่อมโยงกับประเทศอื่นในภูมิภาคนั้น ก็ต้องขึ้นอยูกับความพร้อมของประเทศนั้นๆ ด้วย |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43973
Location: NECTEC
|
Posted: 23/04/2013 2:41 pm Post subject: |
|
|
โยธาฯวางผังเมืองรัศมี 2กม. แนวไฮสปีดเทรนบูม11จังหวัดเหนือ
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
23 เมษายน 2556 เวลา 12:31:55 น.
กรมโยธาฯเด้งรับแผนลงทุนระบบราง 2 ล้านล้าน ทุ่มงบฯ 50 ล้านบาทจ้างที่ปรึกษาวางผังเมืองรัศมี 1-2 กม.แนวไฮสปีดเทรน นำร่อง "กรุงเทพฯ-เชียงใหม่" 12 สถานี เล็งรื้อใหม่ 11 จังหวัดภาคเหนือ
นายเชตวัน อนันตสมบูรณ์ รองอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้กรมอยู่ระหว่างขอจัดสรรงบประมาณประจำปี 2557 เพื่อมาดำเนินการจัดทำผลการศึกษาวางผังเมืองรวมจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ ตามแผนการลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐานใน พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท
โดยจะโฟกัสไปยังโครงการรถไฟความเร็วสูงทั้ง 4 สายทาง ประกอบด้วย สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-โคราช กรุงเทพฯ-หัวหิน และกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง เพื่อกำหนดการใช้ที่ดินในพื้นที่จังหวัดที่มีแนวรถไฟความเร็วสูงพาดผ่านให้การพัฒนาที่ดินสอดคล้องกับโครงการ
"จะนำร่องก่อนสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ที่ตัดผ่านพื้นที่ 11 จังหวัดทางภาคเหนือ มีทั้งหมด 12 สถานี ล่าสุดรอความชัดเจนเรื่องตำแหน่งสถานีจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. เพราะบางสถานีอาจจะมีการขยับตำแหน่งใหม่เพื่อให้เกิดความเหมาะสมของเส้นทางและการก่อสร้าง เมื่อชัดเจนแล้วกรมจึงจะเริ่มศึกษาการใช้ประโยชน์ที่ดินต่อไปได้"
นายเชตวันกล่าวอีกว่า ส่วนงบประมาณที่จะใช้จ้างที่ปรึกษา เบื้องต้นคาดว่าจะใช้วงเงินอยู่ที่ 50 ล้านบาท แยกเป็น 2 ส่วนคือ
ส่วนแรก 20 ล้านบาท เป็นงบฯสำหรับการศึกษาวางผังเมือง พื้นที่โดยรอบสถานีในรัศมี 1-2 กิโลเมตร ทั้ง 12 สถานี เช่น การกำหนดลักษณะความสูงของอาคาร สิ่งก่อสร้าง จุดในการใช้ก่อสร้าง การจัดวางทางเข้า-ออก เพื่อให้เป็นไปตามความเหมาะสมของพื้นที่
ส่วนที่ 2 จำนวน 30 ล้านบาท เป็นค่าจ้างสำหรับศึกษาวางผังเมืองรวมเต็มทั้งจังหวัดที่มีที่ตั้งของสถานีรถไฟทั้ง 12 สถานี ตอนนี้ยังยึดตามสถานีเดิมของแนวรถไฟสายเหนือไปก่อน ได้แก่ กรุงเทพฯ (สถานีบางซื่อ) พระนครศรีอยุธยา บ้านภาชี (พระนครศรีอยุธยา) ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก อุตรดิตถ์ แพร่ (สถานีเด่นชัย) ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่
ทั้งนี้ ในส่วนการวางผังเมืองรวมเต็มทั้งจังหวัดนั้น ขณะนี้กรมอยู่ระหว่างลงพื้นที่เพื่อพูดคุยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแต่ละจังหวัด โดยการวางแผนจัดทำผังเมืองในครั้งนี้จะรวมถึงวางผังเมืองเพื่อป้องกันน้ำท่วมรวมอยู่ด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ปัจจุบันสนข.ได้กำหนดเส้นทางเลือกไว้ 5 แนวทาง คือ
แนวที่ 1 ใช้แนวเขตทางรถไฟเดิมเป็นหลัก 676 กม. มี 12 สถานี ได้แก่ บางซื่อ ดอนเมือง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก อุตรดิตถ์ เด่นชัย ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่
แนวที่ 2 ปรับแนวเส้นทางให้สั้นลง มี 11 สถานี คือ บางซื่อ ดอนเมือง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ พิษณุโลก สุโขทัย ศรีสัชนาลัย ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ ระยะทาง 631 กม.
แนวที่ 3 เป็นแนวใหม่ ตัดตรงจากพระนครศรีอยุธยาเข้าสู่จังหวัดนครสวรรค์ โดยไม่เข้าลพบุรี จากนั้นแนวเส้นทางจะวิ่งตรงจากนครสวรรค์ไปสุโขทัย เข้าลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 607 กม. มี 10 สถานี มีบางซื่อ ดอนเมือง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่
แนวที่ 4 เป็นแนวตัดใหม่ อยู่ด้านตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา แล้ววิ่งเข้าด้านตะวันออกของทางเลี่ยงเมืองนครสวรรค์ จากนั้นวิ่งเข้าเมืองสุโขทัย สิ้นสุดที่เชียงใหม่ ระยะทาง 594 กม. มี 10 สถานี มีบางซื่อ ดอนเมือง พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี ชัยนาท อุทัยธานี นครสวรรค์ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และเชียงใหม่
และแนวที่ 5 นำแนวเส้นทางของที่ 1 และ 2 มารวมกัน ระยะทางประมาณ 661 กม. มี 12 สถานี ได้แก่ บางซื่อ ดอนเมือง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี นครสรรค์ พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย ศรีสัชนาลัย ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ ซึ่งแนวที่ 5 นี้มีความเป็นไปได้มากที่สุด - เพราะได้กำหนดหมายไว้แล้วว่าเฟสแรกต้องไปที่ พิษณุโลกก่อน |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43973
Location: NECTEC
|
Posted: 23/04/2013 2:46 pm Post subject: |
|
|
ดีเวลอปเปอร์ขานรับไฮสปีดเทรน ขึ้นแคมเปญเบอร์ห้าอยู่แนวรถไฟฟ้าเหนือจดใต้
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
22 เมษายน 2556เวลา 14:37:33 น.
ดีเวลอปเปอร์ตีปีกรับรัฐบาลประกาศลงทุนไฮสปีดเทรน 4 สายทางเชื่อมภาคเหนือ อีสาน ใต้ ตะวันออก ผู้ประกอบการอสังหาฯหัวเมืองต่างจังหวัด "อุดรฯ-หัวหิน-เขาใหญ่-ระยอง" เริ่มชูจุดขายใกล้สถานีช่วยลดระยะเวลาเดินทาง เชื่ออนาคตเป็นตัวช่วยหนุนคนตัดสินใจซื้อ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากที่รัฐบาลได้ประกาศแผนลงทุนก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) 4 สายทาง ได้แก่
กรุงเทพฯ-เชียงใหม่,
กรุงเทพฯ-นครราชสีมา,
กรุงเทพฯ-หัวหิน และ
กรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง
วงเงินลงทุนรวม 753,105 ล้านบาท ได้ส่งผลให้ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ที่ขยายการลงทุนสู่หัวเมืองต่างจังหวัดเกิดความตื่นตัว เริ่มนำไฮสปีดเทรนเป็นจุดขาย
นายโอภาส ศรีพยัคฆ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา บริษัทได้เปิดตัวโครงการลุมพินี เพลส ยูดี-โพศรี ในจังหวัดอุดรธานี จำนวน 1,373 ยูนิต และปิดการขายภายในวันเดียว โดยเหตุผลที่บริษัทลงทุนในอุดรฯเป็นครั้งแรก เพราะเป็นจังหวัดที่เศรษฐกิจขยายตัวรวดเร็ว นอกจากนี้เห็นว่ารัฐบาลมีแผนจะลงทุนสร้างไฮสปีดเทรน มาถึงจังหวัดอุดรธานี
นายประไพสิทธิ์ ตัณฑ์เกยูร กรรมการผู้จัดการ บริษัท โบ๊ทเฮ้าส์ หัวหิน จำกัด ผู้พัฒนาโครงการโบ๊ทเฮ้าส์ หัวหิน เปิดเผยว่านโยบายรัฐบาลที่จะลงทุนก่อสร้างไฮสปีดเทรนจากกรุงเทพฯ-หัวหิน จะส่งผลดีต่อโครงการของบริษัท เพราะทราบว่าตำแหน่งสถานีน่าจะอยู่ห่างโครงการโบ๊ทเฮ้าส์ฯประมาณกว่า 1 กิโลเมตร หากเปิดใช้จะลดเวลาเดินทางกรุงเทพฯ-หัวหิน จาก 2 ชั่วโมง เหลือ 1 ชั่วโมงเศษเท่านั้น
นายพิศิษฐ์ รามนุช ประธาน บริษัท เดลิเซีย จำกัด ในเครือเติมทรัพย์กรุ๊ป ผู้พัฒนาโครงการอสังหาฯ ในจังหวัดระยอง เปิดเผยว่า ช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมามีลูกค้าบางรายที่จองคอนโดฯของบริษัท เริ่มสอบถามข้อมูลโครงการไฮสปีดเทรน ดังนั้นหากอนาคตมีความชัดเจนเรื่องแผนเงินกู้และแผนลงทุน บริษัทจะนำเรื่องไฮสปีดเทรนมาบรรจุในแผ่นพับด้วย
นายเฐาศิริษ ศิวาคม กรรมการผู้จัดการบริษัท ซีนิคอล ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ผู้พัฒนาโครงการอสังหาฯ ในเขาใหญ่ เปิดเผยว่า การที่รัฐบาลบรรจุแนวเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ไว้เป็น 1 ใน 4 สายทางก่อสร้างไฮสปีดเทรน จะมีส่วนช่วยส่งเสริมการลงทุนอสังหาฯ และหากมีความชัดเจนเรื่องการก่อสร้าง ก็น่าจะมีผลต่อการซื้อคอนโดฯหรือบ้านพักตากอากาศในเขาใหญ่ด้วย โดยทราบว่าตำแหน่งสถานีจะตั้งอยู่บริเวณช่วงต้นถนนธนะรัชต์ที่จะมุ่งหน้าเข้าสู่พื้นที่เขาใหญ่
นายนคร ลักษณกาญจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แนเชอรัลพาร์ค จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทเพิ่งลงทุน 900 ล้านบาทซื้อกิจการโรงแรมเซ็นทาราฯ จ.ขอนแก่น รวมทั้งเตรียมลงทุนเพิ่มอีก 500 ล้านบาทพัฒนาโครงการเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ระดับพรีเมี่ยม จำนวน 100 ห้องพักที่ดินติดกับโรงแรม
"ขอนแก่นจะเป็นประตูเชื่อมธุรกิจการค้าไทยและอาเซียน ประกอบกับเป็นจุดศูนย์กลางของเส้นทางไฮสปีดเทรนสายอีสาน ซึ่งจะส่งผลให้ขอนแก่นกลายเป็นศูนย์กลางระบบโลจิสติกส์และการคมนาคม มีจุดเชื่อมต่อไปยังภูมิภาคอาเซียน" นายนครกล่าว |
|
Back to top |
|
|
|