Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312054
ทั่วไป:13646704
ทั้งหมด:13958758
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 147, 148, 149 ... 579, 580, 581  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43980
Location: NECTEC

PostPosted: 20/04/2013 7:06 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
คลังรับ"ไฮสปีด"แพงไปไม่คุ้มลงทุน
โพสต์ทูเดย์
19 เมษายน 2556 เวลา 12:00 น.

“กิตติรัตน์” ยอมรับไฮสปีดเทรนแพง ไม่คุ้มลงทุน พร้อมเปลี่ยนแปลง


นี่คือคำเตือนจาก TDRI


TDRI ห่วงรถไฟความเร็วสูงทำหนี้สาธารณะพุ่งเกิน 100%

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 19 เมษายน 2556 12:50 น.

การเเสดงวิสัยทัศน์ระหว่าง 2 ขุนคลัง นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีเเละรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เเละ นายกรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในหัวข้อ "อนาคตเศรษฐกิจไทย" การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ตามร่างพระราชบัญญัติกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท โดยทั้งสองคนระบุตรงกันในความจำเป็นว่า ประเทศไทยต้องมีลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน
ซึ่งนายกิตติรัตน์ กล่าวย้ำว่า การลงทุนครั้งนี้รัฐบาลคำนึงถึงความคุ้มค่า เเละการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจะกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยได้ ซึ่งการกู้เงินเพื่อลงทุนรัฐบาลจะดำเนินการอย่างรอบคอบ เเละพร้อมทบทวนหากไม่คุ้มค่า
นอกจากนี้ นายกรณ์ ระบุว่า การออก พ.ร.บ.กู้เงิน เป็นเหมือนการกู้เงินนอกระบบตรวจสอบยาก และอาจเกิดความไม่โปร่งใส ซึ่งหากใช้เงินในงบประมาณการลงทุน การเบิกจ่ายเป็นไปตามกฎระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างของกรมบัญชีกลาง เชื่อว่าน่าจะดีต่อวินัยทางการคลังมากกว่า
ขณะที่ นายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ พร้อมทีมวิจัยแสดงความเป็นห่วงโครงการสร้างรถไฟความเร็วสูง หากยังไม่ได้ศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและการเงิน อาจจะเพิ่มโอกาสให้หนี้สาธารณะสูงเกิน 100 เปอร์เซ็นต์ ในอีก 6 ปีข้างหน้า
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47276
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/04/2013 9:25 pm    Post subject: Reply with quote

ชัดถ้อยชัดคำ..."ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" ลั่น "รถไฟความเร็วสูงจะเริ่มต้นในรัฐบาลชุดนี้"
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 21 เม.ย 2556 เวลา 21:08:40 น.

โปรเจ็กต์รถไฟความเร็วสูงหรือไฮสปีดเทรน 4 สายของ "รัฐบาลเพื่อไทย" ที่ตั้งความหวังต้องการจุดประกายให้เกิดขึ้นได้จริงสำหรับประเทศไทยใน 5-7 ปีนี้ ภายใต้กรอบวงเงินลงทุน พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทแต่กลับกลายเป็นเป้าที่ "ฝ่ายค้าน" นำมาถล่มกลางเวทีอภิปรายมากที่สุด

เมื่อโครงการนี้ยื่นคำขอใช้เม็ดเงินลงทุนร่วม 783,229 ล้านบาท หรือเกือบ 50% ของเงินลงทุน 2 ล้านล้านบาทหรืออีกเหตุผลหนึ่ง อาจจะเป็นเพราะ "รถไฟความเร็วสูง" ยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับเมืองไทย จึงเป็นไปได้ยากที่จะทำให้คนคล้อยตามและเชื่อมั่นว่าโปรเจ็กต์รถไฟหัวจรวดจะเกิดขึ้นได้จริง และเป็นรูปธรรมได้ง่าย ๆ ในเร็ววัน

แม้ว่าเวทีอภิปรายจะรูดม่านไปแล้ว แต่คำถามที่ยังตกค้างในใจอีกหลาย ๆ คน คือ โครงการนี้ยังมีอยู่หรือไม่ "ประชาชาติธุรกิจ" สัมภาษณ์พิเศษ "ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ถึงสถานะโครงการล่าสุด ตลอดจนถึงการพัฒนาโครงการนับจากนี้หลัง พ.ร.บ.กู้เงินมีผลบังคับใช้แล้ว

- ความคืบหน้าไฮสปีดเทรน

ถึงจะมีคำวิพากษ์วิจารณ์อยู่มาก เราก็นำมาดูและค่อย ๆ แก้ไขไป แต่นโยบายรัฐบาลยังชัดเจนจะเดินหน้าโครงการแน่นอน ตอนนี้อยู่ในกระบวนการขั้นตอนทำผลการศึกษารายละเอียด รายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ส่วนการพิจารณาของคณะกรรมาธิการก็ต้องมาว่ากันต่อไป ซึ่งกรรมาธิการเองทุกคนก็กังวลว่าเป็นไปได้แค่ไหน

ผมว่า...ก็ต้องดูตัวเลขเป็นวิทยาศาสตร์ ทางรัฐบาลที่แล้ว (ประชาธิปัตย์) ก็สนับสนุนมาตั้งแต่ต้นแล้วโครงการนี้มีการทำบันทึกข้อตกลงหรือเอ็มโอยูกับต่างประเทศด้วย

ทุกคนก็เห็นว่าน่าจะดี แต่อยากจะคอนเฟิร์มเรื่องตัวเลขอีกครั้งหนึ่ง เราก็ทำรายละเอียด พอถึงชั้นกรรมาธิการก็จะมีตัวเลขมาให้ดู

ตัวเลขในเบื้องต้นที่ศึกษาก็เป็นไปได้ มีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ หรือ EIRR อยู่ประมาณ 13-15% ที่ผ่านมามีหลายผลการศึกษา โดยศึกษาเบื้องต้นปี"53 แต่ก็เป็นแบบหยาบมาก ๆ เลย ส่วนทาง

ประเทศจีนและญี่ปุ่นที่ศึกษาให้ก็เป็นอีกตัวเลขหนึ่ง แต่ที่เรากำลังดำเนินการจะศึกษารายละเอียดลงลึกให้ถูกต้อง ตัวเลขก็เริ่มออกมาแล้ว ยืนยันว่ามีความเป็นไปได้ในระดับหนึ่ง โดยจะมีการเปิดเผยต่อไปหลังจากนี้

- จะสร้างทันรัฐบาลชุดนี้

ทันสิครับ แต่ต้องทำตามขั้นตอน ตอนนี้เราทำเต็มที่อยู่แล้วจะเร่งให้เร็วที่สุด อีก 2-3 เดือนนี้จะยื่นอีไอเอ เมื่อผ่านแล้วจะต้องนำเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) และคณะกรรมการ (บอร์ด) สภาพัฒน์ในปี"57 จะเริ่มก่อสร้างแน่ ๆ ถ้ามีแหล่งเงินและ พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทผ่าน

เราผลักดันเต็มที่ทุกอย่างไม่มีปัญหา ผมไม่ได้พูดเลยว่าจะไม่ทันรัฐบาลชุดนี้

- ประเมินแล้วจะผ่านสภาพัฒน์

ทุกคนรู้ว่านี่คือนโยบายของรัฐบาล อยู่ที่การเตรียมข้อมูลตัวเลขให้พร้อม ผมคิดว่าคงไม่ทำให้พิจารณาโครงการล่าช้า สภาพัฒน์เป็นองค์กรอิสระมีผู้ทรงคุณวุฒิที่เราต้องฟังอยู่แล้ว ผมว่าก็ดีมาช่วยกันดูให้รอบคอบ แต่คงไม่ทำให้โครงการล่าช้า

ผมไม่กังวลเลย ผมว่าทุกอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ เราก็ต้องทำตามความเป็นจริง ตัวเลขทุกอย่างเราก็ว่าไปตามหลักความเป็นจริงไม่มีการมาปั้นตัวเลขเพื่อให้โครงการเกิด เพราะเราเป็นคน

รับผิดชอบเงินของประเทศชาติ ผมคิดว่าเรามีหลักวิทยาศาสตร์อธิบายได้ว่ามาจากไหน ซึ่งสภาพัฒน์ก็ดูตัวเลขเดียวกัน อาจจะมีข้อซักถามเรื่องสมมติฐานว่ามาจากไหน มันก็ดำเนินการตามขั้นตอน แต่อาจจะมีฝ่ายไม่เห็นด้วยเยอะ และขอเรียนว่าใน 2 ล้านล้านบาทไม่ได้มีแค่รถไฟความเร็วสูง มีโครงการอื่นอีกเยอะแยะ

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงจริง ๆ แล้วเป็นเรื่องที่คนไม่เห็นด้วย ซึ่งทุกประเทศเป็นแบบนี้หมด มีคนเห็นด้วยกับไม่เห็นด้วย มีคำถามว่าประเทศไทยพร้อมหรือยัง ก็ต้องมาถกเถียงกันเป็นเรื่องธรรมดา ดีเสียอีกนี่คือประโยชน์ของการออก พ.ร.บ.เงินกู้ ถ้าไม่ออกนะแล้วไปอนุมัติกู้เงินเลยก็ไม่ได้ถกเถียงกันหรอก

- จะนำร่อง 1 สายหรือ 4 สาย

ใจเราคิดว่าจะทำในรัศมี 350 กิโลเมตรรอบกรุงเทพฯ ถ้าจะทำทั้งหมดก็น่าจะดี แต่ต้องดูตัวเลขอีกทีว่าสายไหนดีที่สุด แต่คิดว่าการประมูลที่สามารถใช้อะไรหลายอย่างร่วมกันได้ เช่น ศูนย์ซ่อมบำรุง หัวรถจักร ถ้าใช้ประเทศเดียวกันก็จะทำให้ลดต้นทุนได้

การก่อสร้างจะเริ่มจากตรงไหน จะดูความต้องการอยู่ในวงรอบกรุงเทพฯเป็นหลัก ซึ่งก็ต้องยึดตามนโยบายรัฐบาลเป็นหลัก สร้างเฟสแรก 4 สายทาง คือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่, กรุงเทพฯ-โคราช, กรุงเทพฯ-หัวหิน และกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง แต่ศึกษาเต็มเส้นทางเพราะทำแค่นี้ก็ใช้เงินลงทุนไปกว่า 7 แสนล้านบาทแล้ว เกือบ 40% ของวงเงินลงทุน 2 ล้านล้านบาท ต้องพิจารณาให้ครบถ้วนทุกมิติ จะหนักไปทางใดทางหนึ่งไม่ได้

- โมเดลสายกรุงเทพฯ-บ้านภาชี

...ก็เป็นไปได้ ทางประเทศจีนที่มาศึกษาโครงการให้เสนอไอเดียว่าประเทศไทย

ควรจะมีสายนำร่องที่จะทดสอบระบบก่อน เหมือนประเทศจีนเคยทำสำเร็จมาแล้ว จึงเสนอให้รัฐบาลไทยเร่งช่วงกรุงเทพฯ-บ้านภาชี ระยะทาง 80 กิโลเมตรก่อน คาดว่าจะใช้เวลาไม่นานประมาณ 3-4 ปีก็เปิดบริการได้

ฟังไอเดียแล้วผมว่าก็น่าสนใจดี เพราะช่วงกรุงเทพฯ-บ้านภาชีเป็นเส้นทางร่วมระหว่างสายเหนือ (กรุงเทพฯ-เชียงใหม่) กับสายอีสาน (กรุงเทพฯ-โคราช) ยังไงก็ต้องทำก่อนอยู่แล้ว ก็เป็นไปได้ที่จะนำร่องก่อนเพราะต้องมีการทดสอบระบบอยู่แล้ว ก็ต้องค่อยทยอยดำเนินการไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
JackSkyline
Warning 3 (Final)
Warning 3 (Final)


Joined: 11/02/2013
Posts: 118

PostPosted: 22/04/2013 1:33 am    Post subject: Reply with quote

สภาพัฒน์ ทำไมอนุมัติรถไฟความเร็วสูงง่ายจัง เร็วด้วย รีบอนุมัติ เร่งตรวจสอบ

แต่รถไฟรางคู่ สภาพัฒน์ อนุมัติยากกมากๆ ทำให้โครงการล้าช้ามากๆ แถมบอกว่า ต้องใช้เวลาตรวจสอบเยอะ
ทั้งๆ ที่สร้างง่ายกว่า

คนเราก็เหมือนกัน โดยเฉพาะชาวบ้าน พอเส้นทางรถไฟความเร็วสูงผ่าน จะเวนคืนที่ดิน ดีใจ
แต่ถ้า ขยายรางคู้่ กั้นรั้ว มีปัญหาตลอด
สองมาตรฐาานไปรึเปล่า
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
srinopkun
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 08/04/2010
Posts: 2940
Location: นครปฐม

PostPosted: 22/04/2013 8:12 am    Post subject: Reply with quote

JackSkyline wrote:
สภาพัฒน์ ทำไมอนุมัติรถไฟความเร็วสูงง่ายจัง เร็วด้วย รีบอนุมัติ เร่งตรวจสอบ


hmmm

"สภาพัฒน์ฯ" เขาอนุมัติแล้วเหรอ ทำไมคุณ "รู้ดี"จัง

emot123

emot124


JackSkyline wrote:

แต่รถไฟรางคู่ สภาพัฒน์ อนุมัติยากกมากๆ ทำให้โครงการล้าช้ามากๆ แถมบอกว่า ต้องใช้เวลาตรวจสอบเยอะ
ทั้งๆ ที่สร้างง่ายกว่า


นี่ก็เหมือนกัน รู้ไปหมดนะ

แถมยัง "รางคู่" อยู่อีกแน่ะ
Back to top
View user's profile Send private message
JackSkyline
Warning 3 (Final)
Warning 3 (Final)


Joined: 11/02/2013
Posts: 118

PostPosted: 22/04/2013 8:40 am    Post subject: Reply with quote

srinopkun wrote:
JackSkyline wrote:
สภาพัฒน์ ทำไมอนุมัติรถไฟความเร็วสูงง่ายจัง เร็วด้วย รีบอนุมัติ เร่งตรวจสอบ


hmmm

"สภาพัฒน์ฯ" เขาอนุมัติแล้วเหรอ ทำไมคุณ "รู้ดี"จัง

emot123

emot124


JackSkyline wrote:

แต่รถไฟรางคู่ สภาพัฒน์ อนุมัติยากกมากๆ ทำให้โครงการล้าช้ามากๆ แถมบอกว่า ต้องใช้เวลาตรวจสอบเยอะ
ทั้งๆ ที่สร้างง่ายกว่า


นี่ก็เหมือนกัน รู้ไปหมดนะ

แถมยัง "รางคู่" อยู่อีกแน่ะ


ก็ตามข่าวที่ว่า

- ประเมินแล้วจะผ่านสภาพัฒน์

ทุกคนรู้ว่านี่คือนโยบายของรัฐบาล อยู่ที่การเตรียมข้อมูลตัวเลขให้พร้อม ผมคิดว่าคงไม่ทำให้พิจารณาโครงการล่าช้า สภาพัฒน์เป็นองค์กรอิสระมีผู้ทรงคุณวุฒิที่เราต้องฟังอยู่แล้ว ผมว่าก็ดีมาช่วยกันดูให้รอบคอบ แต่คงไม่ทำให้โครงการล่าช้า

แต่ว่า จากที่ติดตามข่าว ปรากฎว่า โครงการรรถไฟพื้นฐาน ทางคู่
สภาพัฒน์กลับอนุมัติล่าช้ามาก จุดนั้นจุดนี้ไม่ผ่าน
อาจใช้เวลานาน

ส่วนรถไฟความเร็วสูง บอกว่า ต้องผ่าน ต้องทันรัฐบาลนี้
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47276
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/04/2013 8:46 am    Post subject: Reply with quote

ไม่คำนึงแม้ความคุ้มค่า?
ไทยรัฐ(ฉบับพิมพ์) 22 เม.ย. 56

ถึงแม้ร่าง พ.ร.บ.ให้กระทรวงการคลังกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ จะผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว แต่ยังมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านความโปร่งใส และความคุ้มค่าทางการเงิน เนื่องจากมีมากมายหลายโครงการที่ยังไม่ได้ผ่านการศึกษาความคุ้มค่าและผลกระทบด้านต่างๆ

นักวิชาการสถาบันวิจัยเพื่อการ พัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ ยืนยันว่ามีถึง 11 โครงการ ตั้งงบประมาณไว้กว่า 9 แสนล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นโครงการรถไฟความเร็วสูง ยังไม่มีการศึกษาความคุ้มค่าทางการเงิน ความเป็นไปได้ ตลอดจนผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพประชาชน และเชื่อว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงไม่มีทางถึงจุดคุ้มทุนอย่างแน่นอน

แม้แต่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังก็ยอมรับว่า การที่ทีดีอาร์ไอมองว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงแพงและไม่คุ้มค่าเป็นเรื่องจริง ขณะนี้ให้สภาพัฒน์ศึกษาอยู่ ถ้าไม่คุ้มค่าก็ต้องปรับนำเงินไปลงทุนในด้านอื่น แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมยืนยันว่า จะเดินหน้า แต่เคยบอกว่ารถไฟความเร็วสูงสายหนองคายอาจต้องระงับไว้ก่อน

เห็นได้ชัดว่า ก่อนที่จะขออนุมัติ กู้เงินระดับเอกอัครมหาศาลที่ประเทศไทยไม่เคยกู้มาก่อนถึง 2 ล้านล้านบาท รัฐบาล ยังไม่ได้ศึกษาโครงการต่างๆอย่างรอบด้าน แต่ของบประมาณไว้ก่อน เนื่องจากเป็นรัฐบาลที่ยึดติดนโยบายประชานิยม คิดถึงการเลือกตั้งคราวหน้ามากกว่าปัญหาอื่นๆ เมื่อจะต้องสู้ศึกเลือกตั้ง จึงจำเป็นต้องสะสมทั้งกระแสและกระสุนให้พร้อมสรรพ

เหตุที่รัฐบาลโหมโฆษณาโครง-การรถไฟความเร็วสูง เพราะเชื่อว่าจะโดนใจและทำให้คนไทยตื่นเต้น เพราะไม่เคยมี แต่ไม่ได้ศึกษาอย่างรอบคอบ นักวิชาการฟันธง ว่าไม่มีทางถึงจุดคุ้มทุนแน่นอน จุดคุ้มทุนต้องมีผู้โดยสารในปีแรก 9 ล้านคน และผู้โดยสารจะเป็นผู้มีรายได้ระดับกลางถึงสูง ส่วนคนจนจะได้แค่แหงนหน้ามองเมื่อรถไฟวิ่งผ่าน ซ้ำเติมความเหลื่อมล้ำในสังคม

หลายคนชี้ให้ดูโครงการแอร์-พอร์ตลิงก์ ซึ่งเป็นโครงการรถไฟลอยฟ้าเชื่อมโยงระหว่างกรุงเทพฯกับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนรถไฟความเร็วสูง นักวิชาการชี้ให้ดูตัวอย่างรถไฟใต้ดิน ซึ่งตั้งเป้าจะบริการผู้โดยสารวันละ 6 แสนคน แต่ในปัจจุบันมีเพียงวันละ 2 แสนคน ถ้ารัฐบาลต้องอุ้มรถไฟฟ้าความเร็วสูงรับรองหนี้สาธารณะพุ่งมโหฬารแน่

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยเสนอแนะให้รัฐบาลปรับปรุงการใช้เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ไว้หลายข้อ รวมทั้งให้หน่วยงานที่เป็นกลางและเป็นอิสระทำการศึกษาโครงการก่อน และการลงทุนในอนาคตให้อยู่ในรูปแบบงบประมาณ เพื่อให้รัฐสภาตรวจสอบความโปร่งใส แต่เชื่อว่ารัฐบาลจะไม่รับฟัง เช่นเดียวกับโครงการรับจำนำข้าวทุกเมล็ด แม้จะก่อความเสียหายร้ายแรง.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43980
Location: NECTEC

PostPosted: 22/04/2013 9:28 am    Post subject: Reply with quote

เปิดโลกสมัยใหม่ผ่านนิทรรศการ แผนการออกแบบรถไฟความเร็วสูง 2 ล้านล้าน ได้ใช้แน่ !!
มติชน
วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2556 เวลา 16:10:42 น.

หลายคน คงวาดฝันกันสวยหรู ไปล่วงหน้าแล้ว กับโครงการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทของรัฐบาล ที่จะสร้างระบบคมนาคมขนส่งทั่วประเทศ รวมทั้งการเป็นศูนย์กลางของอาเซียน 2ล้านล้านบาท นำมาสร้าง ท่าเรือ 3 แห่ง , มอเตอร์เวย์ 5 เส้นทาง , รถไฟฟ้าในกรุงเทพฯและปริมณฑล 10 เส้นทาง , และรถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง

ซึ่งแน่นอนว่าโครงการใหญ่แบบนี้จะมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยละไม่เห็นด้วย บางก็บอกว่าการกู้เงินครั้งนี้จะสร้างระบบคมนาคมดี บ้างก็บอกว่าการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาททำให้ประชาชนมีหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น จนในขณะนี้ยังคงเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอยู่ในสังคม



และตอนนี้ ก็มีหนึ่งนิทรรศการที่เปรียบเสมือน "เลนส์" ที่มองผ่านไปถึงอนาคตว่า หากมีระบบการคมนาคมที่ดีจะเช่นไร ภายใต้ชื่อ "นิทรรศการรถไฟสายความสุข...เศรษฐกิจใหม่จากรางสู่เมือง" ซึ่งกำลังจัดแสดง ณ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ TCDC โดยนิทรรศการนี้พูดถึงเรื่องราวของบริษัทรถไฟสายหนึ่งที่เคยประสบปัญหาขาดทุนแต่ภายหลังกลับมีชื่อเสียงที่โด่งดังและมีกำไรอย่างมากมาย ไม่แน่ว่านิทรรศการนี้อาจเป็นแสงสว่างให้เราเดินหน้าต่อไป

"อภิสิทธิ์ ไล่ศัตรูไกล" ผู้อำนวยการศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ เผยว่า แรงบันดาลใจของการจัดนิทรรศการนี้ เกิดจากการเดินทางไปศึกษาดูงานด้านการสร้างสรรค์มูลค่าจากรถไฟความเร็วสูง ณ ประเทศญี่ปุ่น ของบริษัทรถไฟเจอาร์ คิวชู ที่นำงานออกแบบมาประยุกต์ใช้ทั้งด้านกายภาพและงานบริการ จนส่งผลให้ธุรกิจมีผลประกอบการที่ดีขึ้นเป็นลำดับ นับเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของความสำเร็จของกลยุทธ์เศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ประเทศไทย ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง อาจนำมาปรับใช้ได้



โดยกลยุทธ์ที่บริษัทรถไฟเจอาร์ คิวชู ใช้เป็นการออกแบบโดย คำนึงถึงความสุขและความสะดวกสบายของประชาชน มีการนำเอกลักษณ์ของท้องถิ่นมาผสมผสานกับการออกแบบขบวนรถทั้งภายในและภายนอก ปรับปรุงสถานี รวมถึงการนำธุรกิจของประชาชนมาเป็นส่วนหนึ่งของรถไฟสายนั้น เพื่อสร้างประสบการณ์การนั่งรถไฟให้เป็นส่วนหนึ่งของความสุขในการเดินทาง

ฟาก "นันท์นรี พานิชกุล" ภัณฑารักษ์ประจำศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ TCDC เชียร์ให้ทุกคนมาดูว่า จริงๆแล้ว ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ สามารถจะมาปรับใช้ได้กับบ้านเรา ข้อจำกัดต่างๆ มีการแก้ปัญหาในเรื่องของการออกแบบ โดยที่มีการใช้วัสดุท้องถิ่นเข้ามาเป็นตัวช่วยต่างๆ และการลงทุนโครงการนี้จะต้องใช้เวลา ฉะนั้นอยากให้มองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของสาธารณูปโภคพื้นฐาน อย่าคิดแค่ว่าตนไม่ได้ใช้ ต้องคิดเผื่อไปข้างหน้า ซึ่งส่วนหนึ่งสร้างมาเพื่อประเทศชาติ ไม่ใช่แค่เราคนเดียว เป็นประโยชน์ส่วนรวม ส่วนข้อได้เปรียบของรถไฟคือ ความตรงต่อเวลา ความปลอดภัย การเกิดอุบัติเหตุน้อยกว่าพาหนะอื่นๆ



อย่างไรก็ดี บริษัทรถไฟเจอาร์ คิวชู ของประเทศญี่ปุ่น ยังเน้นทางด้านการค้า สร้างกำไรให้กับบริษัท สร้างความสุขให้กับนักท่องเที่ยว เมื่อคิดจะนำรูปแบบเหล่านี้มาปรับใช้กับประเทศที่กำลังจะลงทุนระบบขนส่งด้วยรางอย่างไทยแล้วอาจจะทำให้เรามีรายได้จากการท่องเที่ยวด้วยพาหนะที่อยู่คู่กับไทยมานานก็เป็นได้



ขอบอกว่า ประชาชนให้ความสนใจจำนวนไม่น้อยในนิทรรศการ“รถไฟสายความสุข…เศรษฐกิจใหม่จากรางสู่เมือง” ณ ห้องนิทรรศการ 2 ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC)



นิทรรศการนี้ จะจัดไปจนถึงวันที่ 26 พฤษภาคม 2556 ผู้สนใจสามารถเข้าชมได้ตั้งแต่ เวลา 10.30 - 21.00 น. (ยกเว้นวันจันทร์) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ 02-664-8448 ต่อ 213, 214 หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.tcdc.or.th
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43980
Location: NECTEC

PostPosted: 23/04/2013 12:49 am    Post subject: Reply with quote

กมธ.กู้ 2 ล้านล้าน ชี้รถไฟความเร็วสูงขาดทุน เทคโนโลยีไม่พร้อม “ชัชชาติ” ยันคุ้มค่า

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 22 เมษายน 2556 17:06 น.


"ชัชชาติ"รับรถไฟความเร็วสูงไม่คุ้มทุน
หน้า ธุรกิจ-ตลาด
โพสต์ทูเดย์
22 เมษายน 2556 เวลา 17:11 น.

“กิตติรัตน์” นั่ง ปธ.ประชุม กมธ.กู้ 2 ล้านล้าน “วิฑูรย์” บี้ สนข.-ร.ฟ.ท.เผยรายละเอียดใช้งบฯ เพื่อความโปร่งใส กมธ.ชงเคลียร์รถไฟความเร็วสูง กทม.-เชียงใหม่ ขาดทุน 2 หมื่นล้าน และความคุ้มค่าเวลา ผอ.สนข.แจงศึกษาค่าโดยสารตามความเร็ว ในแผนแม่บท สิ้นปีถึงชัด พร้อมเยียวยาตามความจริง “อนุชา” ชี้เทคโนโลยีไม่พร้อม ไม่คุ้มค่า เชื่อพัฒนารางคู่ดีกว่า รมว.คมนาคมมั่นใจคุ้มค่าชัวร์

วันนี้ (22 เม.ย.) การประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศวงเงิน 2 ล้านล้านบาท โดยมีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วยตัวแทนจากสำนักงบประมาณ สำนักปลัดกระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมเข้าชี้แจงในครั้งนี้ โดยนายวิฑูรย์ นามบุตร กมธ.ฝ่ายค้านได้ทวงถามความคืบหน้าการศึกษาโครงการที่เกี่ยวข้องกับเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ว่าสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม หรือ สนข. และการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการศึกษาและใช้งบประมาณแล้วหรือไม่ โดยต้องการให้เปิดเผยถึงรายละเอียดดังกล่าว เพื่อความโปร่งใสในการดำเนินงาน

ขณะที่คณะกรรมาธิการได้สอบถามถึงความคุ้มค่าของการลงทุน เนื่องจากมองว่าผลการศึกษารถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ จะขาดทุนถึง 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะขาดทุนมากกว่าสายกรุงเทพฯ-หนองคาย รวมถึงความคุ้มค่าของเวลาในการเดินทางที่ล่าช้ากว่าเครื่องบิน เพราะมีระยะทางถึง อ.เด่นชัย จ.ลำปางเท่านั้น

นายจุฬา สุขมานพ คณะกรรมาธิการและผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม หรือ สนข. ชี้แจงว่าผลการศึกษาความคุ้มค่าของโครงการรถไฟความเร็วสูงได้ศึกษาราคาค่าโดยสารตามระดับความเร็ว 120 กม.ต่อ ชม. 160 กม.ต่อ ชม. และ 250 กม.ต่อ ชม. ซึ่งการศึกษาในระดับแผนแม่บท หากโครงการไหนมีความพร้อมก่อนจะเริ่มดำเนินการทันที โดยภายในสิ้นปีนี้ก็จะมีความชัดเจน ซึ่งการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้ ส่วนการเยียวยาผลกระทบจะต้องสอดคล้องกับสถานการณ์จริง

ด้านนายอนุชา บูรพชัยศรี คณะกรรมาธิการ แสดงถึงความกังวลเรื่องเทคโนโลยี เนื่องจากไทยยังไม่มีความพร้อมทั้งด้านเทคโนโลยี และบุคลากร ซึ่งอาจต้องซื้อเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และเกรงว่าเมื่อเริ่มดำเนินจะไม่คุ้มค่าทางด้านเศรษฐกิจตามที่ตั้งเป้าไว้ หากถึงเวลาที่จะต้องเริ่มดำเนินการจริง จึงเห็นว่าควรพัฒนาระบบรางคู่ตามแผนเดิมที่วางไว้

นอกจากนี้ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ มองว่าความคุ้มค่าในการลงทุนของโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง เกิดจากการแบ่งของระบบขนส่งจากสิ่งที่มีอยู่ หรือการสร้างความต้องการการบริโภคขึ้นมาใหม่ โดยมองว่าผลตอบแทนในการลงทุนจะเป็นความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งอัตราค่าโดยสารก็อยู่กับต้นทุนในการดำเนินงาน ส่วนเรื่องของการเชื่อมโยงกับประเทศอื่นในภูมิภาคนั้น ก็ต้องขึ้นอยูกับความพร้อมของประเทศนั้นๆ ด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43980
Location: NECTEC

PostPosted: 23/04/2013 2:41 pm    Post subject: Reply with quote

โยธาฯวางผังเมืองรัศมี 2กม. แนวไฮสปีดเทรนบูม11จังหวัดเหนือ
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
23 เมษายน 2556 เวลา 12:31:55 น.


กรมโยธาฯเด้งรับแผนลงทุนระบบราง 2 ล้านล้าน ทุ่มงบฯ 50 ล้านบาทจ้างที่ปรึกษาวางผังเมืองรัศมี 1-2 กม.แนวไฮสปีดเทรน นำร่อง "กรุงเทพฯ-เชียงใหม่" 12 สถานี เล็งรื้อใหม่ 11 จังหวัดภาคเหนือ

นายเชตวัน อนันตสมบูรณ์ รองอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้กรมอยู่ระหว่างขอจัดสรรงบประมาณประจำปี 2557 เพื่อมาดำเนินการจัดทำผลการศึกษาวางผังเมืองรวมจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ ตามแผนการลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐานใน พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท

โดยจะโฟกัสไปยังโครงการรถไฟความเร็วสูงทั้ง 4 สายทาง ประกอบด้วย สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-โคราช กรุงเทพฯ-หัวหิน และกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง เพื่อกำหนดการใช้ที่ดินในพื้นที่จังหวัดที่มีแนวรถไฟความเร็วสูงพาดผ่านให้การพัฒนาที่ดินสอดคล้องกับโครงการ

"จะนำร่องก่อนสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ที่ตัดผ่านพื้นที่ 11 จังหวัดทางภาคเหนือ มีทั้งหมด 12 สถานี ล่าสุดรอความชัดเจนเรื่องตำแหน่งสถานีจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. เพราะบางสถานีอาจจะมีการขยับตำแหน่งใหม่เพื่อให้เกิดความเหมาะสมของเส้นทางและการก่อสร้าง เมื่อชัดเจนแล้วกรมจึงจะเริ่มศึกษาการใช้ประโยชน์ที่ดินต่อไปได้"

นายเชตวันกล่าวอีกว่า ส่วนงบประมาณที่จะใช้จ้างที่ปรึกษา เบื้องต้นคาดว่าจะใช้วงเงินอยู่ที่ 50 ล้านบาท แยกเป็น 2 ส่วนคือ

ส่วนแรก 20 ล้านบาท เป็นงบฯสำหรับการศึกษาวางผังเมือง พื้นที่โดยรอบสถานีในรัศมี 1-2 กิโลเมตร ทั้ง 12 สถานี เช่น การกำหนดลักษณะความสูงของอาคาร สิ่งก่อสร้าง จุดในการใช้ก่อสร้าง การจัดวางทางเข้า-ออก เพื่อให้เป็นไปตามความเหมาะสมของพื้นที่

ส่วนที่ 2 จำนวน 30 ล้านบาท เป็นค่าจ้างสำหรับศึกษาวางผังเมืองรวมเต็มทั้งจังหวัดที่มีที่ตั้งของสถานีรถไฟทั้ง 12 สถานี ตอนนี้ยังยึดตามสถานีเดิมของแนวรถไฟสายเหนือไปก่อน ได้แก่ กรุงเทพฯ (สถานีบางซื่อ) พระนครศรีอยุธยา บ้านภาชี (พระนครศรีอยุธยา) ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก อุตรดิตถ์ แพร่ (สถานีเด่นชัย) ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่

ทั้งนี้ ในส่วนการวางผังเมืองรวมเต็มทั้งจังหวัดนั้น ขณะนี้กรมอยู่ระหว่างลงพื้นที่เพื่อพูดคุยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแต่ละจังหวัด โดยการวางแผนจัดทำผังเมืองในครั้งนี้จะรวมถึงวางผังเมืองเพื่อป้องกันน้ำท่วมรวมอยู่ด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ปัจจุบันสนข.ได้กำหนดเส้นทางเลือกไว้ 5 แนวทาง คือ

แนวที่ 1 ใช้แนวเขตทางรถไฟเดิมเป็นหลัก 676 กม. มี 12 สถานี ได้แก่ บางซื่อ ดอนเมือง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก อุตรดิตถ์ เด่นชัย ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่

แนวที่ 2 ปรับแนวเส้นทางให้สั้นลง มี 11 สถานี คือ บางซื่อ ดอนเมือง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ พิษณุโลก สุโขทัย ศรีสัชนาลัย ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ ระยะทาง 631 กม.

แนวที่ 3 เป็นแนวใหม่ ตัดตรงจากพระนครศรีอยุธยาเข้าสู่จังหวัดนครสวรรค์ โดยไม่เข้าลพบุรี จากนั้นแนวเส้นทางจะวิ่งตรงจากนครสวรรค์ไปสุโขทัย เข้าลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 607 กม. มี 10 สถานี มีบางซื่อ ดอนเมือง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่

แนวที่ 4 เป็นแนวตัดใหม่ อยู่ด้านตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา แล้ววิ่งเข้าด้านตะวันออกของทางเลี่ยงเมืองนครสวรรค์ จากนั้นวิ่งเข้าเมืองสุโขทัย สิ้นสุดที่เชียงใหม่ ระยะทาง 594 กม. มี 10 สถานี มีบางซื่อ ดอนเมือง พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี ชัยนาท อุทัยธานี นครสวรรค์ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และเชียงใหม่

และแนวที่ 5 นำแนวเส้นทางของที่ 1 และ 2 มารวมกัน ระยะทางประมาณ 661 กม. มี 12 สถานี ได้แก่ บางซื่อ ดอนเมือง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี นครสรรค์ พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย ศรีสัชนาลัย ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ ซึ่งแนวที่ 5 นี้มีความเป็นไปได้มากที่สุด - เพราะได้กำหนดหมายไว้แล้วว่าเฟสแรกต้องไปที่ พิษณุโลกก่อน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43980
Location: NECTEC

PostPosted: 23/04/2013 2:46 pm    Post subject: Reply with quote

ดีเวลอปเปอร์ขานรับไฮสปีดเทรน ขึ้นแคมเปญเบอร์ห้าอยู่แนวรถไฟฟ้าเหนือจดใต้
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
22 เมษายน 2556เวลา 14:37:33 น.

ดีเวลอปเปอร์ตีปีกรับรัฐบาลประกาศลงทุนไฮสปีดเทรน 4 สายทางเชื่อมภาคเหนือ อีสาน ใต้ ตะวันออก ผู้ประกอบการอสังหาฯหัวเมืองต่างจังหวัด "อุดรฯ-หัวหิน-เขาใหญ่-ระยอง" เริ่มชูจุดขายใกล้สถานีช่วยลดระยะเวลาเดินทาง เชื่ออนาคตเป็นตัวช่วยหนุนคนตัดสินใจซื้อ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากที่รัฐบาลได้ประกาศแผนลงทุนก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) 4 สายทาง ได้แก่
กรุงเทพฯ-เชียงใหม่,
กรุงเทพฯ-นครราชสีมา,
กรุงเทพฯ-หัวหิน และ
กรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง

วงเงินลงทุนรวม 753,105 ล้านบาท ได้ส่งผลให้ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ที่ขยายการลงทุนสู่หัวเมืองต่างจังหวัดเกิดความตื่นตัว เริ่มนำไฮสปีดเทรนเป็นจุดขาย


นายโอภาส ศรีพยัคฆ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา บริษัทได้เปิดตัวโครงการลุมพินี เพลส ยูดี-โพศรี ในจังหวัดอุดรธานี จำนวน 1,373 ยูนิต และปิดการขายภายในวันเดียว โดยเหตุผลที่บริษัทลงทุนในอุดรฯเป็นครั้งแรก เพราะเป็นจังหวัดที่เศรษฐกิจขยายตัวรวดเร็ว นอกจากนี้เห็นว่ารัฐบาลมีแผนจะลงทุนสร้างไฮสปีดเทรน มาถึงจังหวัดอุดรธานี

นายประไพสิทธิ์ ตัณฑ์เกยูร กรรมการผู้จัดการ บริษัท โบ๊ทเฮ้าส์ หัวหิน จำกัด ผู้พัฒนาโครงการโบ๊ทเฮ้าส์ หัวหิน เปิดเผยว่านโยบายรัฐบาลที่จะลงทุนก่อสร้างไฮสปีดเทรนจากกรุงเทพฯ-หัวหิน จะส่งผลดีต่อโครงการของบริษัท เพราะทราบว่าตำแหน่งสถานีน่าจะอยู่ห่างโครงการโบ๊ทเฮ้าส์ฯประมาณกว่า 1 กิโลเมตร หากเปิดใช้จะลดเวลาเดินทางกรุงเทพฯ-หัวหิน จาก 2 ชั่วโมง เหลือ 1 ชั่วโมงเศษเท่านั้น

นายพิศิษฐ์ รามนุช ประธาน บริษัท เดลิเซีย จำกัด ในเครือเติมทรัพย์กรุ๊ป ผู้พัฒนาโครงการอสังหาฯ ในจังหวัดระยอง เปิดเผยว่า ช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมามีลูกค้าบางรายที่จองคอนโดฯของบริษัท เริ่มสอบถามข้อมูลโครงการไฮสปีดเทรน ดังนั้นหากอนาคตมีความชัดเจนเรื่องแผนเงินกู้และแผนลงทุน บริษัทจะนำเรื่องไฮสปีดเทรนมาบรรจุในแผ่นพับด้วย

นายเฐาศิริษ ศิวาคม กรรมการผู้จัดการบริษัท ซีนิคอล ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ผู้พัฒนาโครงการอสังหาฯ ในเขาใหญ่ เปิดเผยว่า การที่รัฐบาลบรรจุแนวเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ไว้เป็น 1 ใน 4 สายทางก่อสร้างไฮสปีดเทรน จะมีส่วนช่วยส่งเสริมการลงทุนอสังหาฯ และหากมีความชัดเจนเรื่องการก่อสร้าง ก็น่าจะมีผลต่อการซื้อคอนโดฯหรือบ้านพักตากอากาศในเขาใหญ่ด้วย โดยทราบว่าตำแหน่งสถานีจะตั้งอยู่บริเวณช่วงต้นถนนธนะรัชต์ที่จะมุ่งหน้าเข้าสู่พื้นที่เขาใหญ่

นายนคร ลักษณกาญจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แนเชอรัลพาร์ค จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทเพิ่งลงทุน 900 ล้านบาทซื้อกิจการโรงแรมเซ็นทาราฯ จ.ขอนแก่น รวมทั้งเตรียมลงทุนเพิ่มอีก 500 ล้านบาทพัฒนาโครงการเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ระดับพรีเมี่ยม จำนวน 100 ห้องพักที่ดินติดกับโรงแรม

"ขอนแก่นจะเป็นประตูเชื่อมธุรกิจการค้าไทยและอาเซียน ประกอบกับเป็นจุดศูนย์กลางของเส้นทางไฮสปีดเทรนสายอีสาน ซึ่งจะส่งผลให้ขอนแก่นกลายเป็นศูนย์กลางระบบโลจิสติกส์และการคมนาคม มีจุดเชื่อมต่อไปยังภูมิภาคอาเซียน" นายนครกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 147, 148, 149 ... 579, 580, 581  Next
Page 148 of 581

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©