View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
mirage_II
1st Class Pass (Air)
Joined: 05/01/2011 Posts: 2591
|
Posted: 12/07/2013 8:48 pm Post subject: |
|
|
ตรงจุดนี้ มองไปทางซ้ายเป็นแอ่งพื้นที่เพาะปลูกทางเกษตร ในขณะที่ทางขวาเป็นถนนคู่ขนาน ที่พากลับออกไปถนนใหญ่
เอ้า..เดินต่อไปอีกไม่ไกลก็จะถึงจุดตัดถนนข้ามทางรถไฟ พอจะมองเห็นรถผมแล้ว
เฮ้อ..สำเร็จแล้ว อุโมงค์ช่องเขา อุโมงค์รถไฟแห่งสุดท้ายที่ผมได้มาเยือนครับ
Last edited by mirage_II on 16/12/2017 2:32 am; edited 2 times in total |
|
Back to top |
|
|
hs8kww
3rd Class Pass
Joined: 07/04/2010 Posts: 37
Location: อ.นาบอน จ.นครศรีธรรมราช
|
Posted: 13/07/2013 8:23 am Post subject: |
|
|
เส้นทางนี้เป็นเส้นทางสายเก่าที่เคยใช้เดินทางระหว่างทุ่งสงไปนครศรีธรรมราชครับ _________________ "ท่านผู้โดยสารที่จะลงสถานีนาบอน โปรดตรวจดูสิ่งของและสัมภาระของท่านให้ครบถ้วนด้วยครับ" |
|
Back to top |
|
|
mirage_II
1st Class Pass (Air)
Joined: 05/01/2011 Posts: 2591
|
Posted: 14/07/2013 6:26 pm Post subject: |
|
|
ขอบคุณ คุณhs8kww ที่แวะเข้ามาเพิ่มเติมให้ แต่ดูปลายถนนแล้วอยู่ต่ำกว่าถนนใหญ่สาย 41 มากจนไม่น่าจะเป็นถนนสายเก่าเลย แสดงว่าต้องมีการถมถนนให้สูงขึ้นอย่างมาก จนดูเหมือนถนนเก่านี้ถูกจมหายไปในไหล่ทางข้างล่างของสาย 41
ก่อนออกเดินทางต่อ ขอกางแผนที่แถบนั้นให้ดูอีกครั้งเพื่อให้เห็นความสำคัญของสถานีชุมทางเขาชุมทอง ที่น่าจะแวะไปดูสักครั้ง เพราะชุมทาง 2 ฝั่งของอุโมงค์รถไฟช่องเขาได้ทำให้ทางรถไฟดูคล้ายตัวอักษร "H" ในภาษาอังกฤษ นั้นคือ ชุมทางทุ่งสง กับ ชุมทางเขาชุมทอง
ลองขยายแผนที่เดินทางให้ใหญ่ึขึ้น เป็นแบบแผนที่ดาวเทียม เพื่อให้เห็นภูมิประเทศเฉพาะแถบนั้น ดังภาพข้างล่าง
เนื่องจากแผนที่มีขนาดใหญ่เกิน 640 pixel เลยต้องแบ่งออกเป็น 2 แผ่น แผ่นแรกนี้เป็นการออกจากจุดจอดรถ ที่ผมเดินเข้าไปอุโมงค์ช่องเขาทางทิศตะวันออก จนมาออกถนนใหญ่สาย 41 แล้วไม่กี่กิโลเมตรก็ถึงสามแยกไป จ.นครศรีธรรมราชตามถนนสาย 403 (เส้นเดิม) กับเลี้ยวขวาลงใต้ไป จ.พัทลุงตามถนนสาย 41
เนื่องจากตัวสถานีชุมทางเขาชุมทองนั้นไม่ได้อยู่ติดถนนใหญ่ทั้งสอง แต่สามารถเข้ามาจากถนนทั้งสองได้โดยตั้งอยู่กึ่งกลางพอดี เพราะทางรถไฟก็วิ่งผ่าเข้าไปตรงกลางด้วย ซึ่งผมเลือกที่ล่องใต้ไปเล็กน้อยแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนเล็กสาย 4018 ขึ้นมายังตัวสถานีอีกที ตามเส้นลูกศรสีเขียว เพราะไม่ชอบกลับรถ ถ้าหากวิ่งขึ้นไปทางนครศรีธรรมราช
แผนที่นี้ต่อจากข้างบน ผมเลี้ยวซ้ายเข้าถนนย่อยสาย 4018 ตรงไปสถานีชุมทางเขาชุมทอง จากรูปนี้จะเห็นลักษณะการเบนแยกออกจากกันของเส้นทางรถไฟ (ไม่งั้นจะงงทิศ เวลาไปดูที่ประแจ เพราะรางไป นครศรีธรรมราชขึ้นเหนือ ขณะที่รางไปพัทลุงไปทางทิศตะวันออกก่อน แล้วค่อยๆเลี้ยวลงใต้อีกที)
Last edited by mirage_II on 16/12/2017 2:37 am; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
mirage_II
1st Class Pass (Air)
Joined: 05/01/2011 Posts: 2591
|
Posted: 14/07/2013 6:34 pm Post subject: |
|
|
กลับมาเดินทางด้วยภาพกันต่อครับ ผมเลี้ยวซ้ายเข้ามาตามถนนสาย 4018 ผ่าน ต.ควนเกย ที่เป็น ต.หลักดั้งเดิมของที่นี่ ก่อนจะถูกรัศมีของชุมทางรถไฟมาบดบัง จนมีชุมชนใหม่เกิดขึ้นใกล้สถานีรถไฟจนได้จัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลเขาชุมทอง ทั้งๆที่ยังอยู่ใน ตำบลควนเกย เรียกว่ากลืน ตำบลนี้ไปแบบไม่รู้ตัว น่าสนใจข้อมูลเกี่ยวกับตำบลควนเกยนี้เหมือนกัน ลองค้นดูในวิกิพีเดียว พบว่ามี หมู่บ้านในสังกัดอยู่ 6 หมู่ คือ หมู่ 1 บ้านควนเกย, หมู่ 2 บ้านสวนทุเรียน, หมู่ 3 บ้านหนองมาก, หมู่ 4 บ้านตลาดเขาชุมทอง, หมู่ 5 บ้านเขาชุมทอง และหมู่ 6 บ้านไสเลียบ ความยิ่งใหญ่ของ เขาชุมทองทำให้มีคนอยู่มาก ต้องแบ่งออกเป็น 2 หมู่ เลย (ดีที่ไม่โตจนขนาดกลืน อำเภอร่อนพิบูลย์เข้าไปอีก... )
อ้อ..ยังมีประวัติของชื่อเรียก เขาชุมทอง มีที่มาจาก เรือสำเภาบรรทุกเงินทองมาสร้างพระบรมธาตุ(น่าจะเป็นที่วัดมหาธาตุ ในเมืองนครศรีธรรมราช)มาล่มตรง หัวเรือได้ไปเกยกับควน (เนินดิน) เลยเป็นชื่อเรียก ตำบลควนเกย ส่วนเงินทองที่บรรทุกมาก็ถูกนำไปกอง(เก็บ)ที่ภูเขา เลยเรียกว่า เขาชุมทอง ยังไม่หมดประวัติศาสตร์ที่นี่ คือ เคยมีการสร้างภาพยนต์เรื่อง "ชุมทางเขาชุมทอง" ด้วย ในปี พ.ศ.2508 (ปีผมเกิดพอดี..อิอิ) เป็นหนังบู๊ แย่งชิงสัมปทานเหมืองแร่ ในแถบ อ.ร่อนพิบูลย์ ต่อมาก็มีการสร้างละครโทรทัศน์อีกครั้ง ในปี พ.ศ.2540
ที่มาข้อมูล จาก วิกิพีเดีย "เทศบาลตำบลชุมทางเขาชุมทอง" ครับ
แหม..ลืมบรรยายภาพไปซะนี่ มัวแต่ร่ายยาวประวัติศาสตร์ให้ฟังกันซะเพลิน
ภาพบน : ผมเข้ามาเกือบถึงสถานีชุมทางเขาชุมทองแล้ว มีป้ายบอกทางข้างหน้าให้อ้างอิงว่า มาถูกแล้ว ไม่หลง (ต้องขออภัยที่ลืมถ่ายภาพปากทางต้นถนน 4018 เพราะรีบ) ข้างหน้ามีแทงแยกไป อ.ร่อนพิบูลย์ เป็นถนนอ้อมสถานีไปทางขวา สามารถวกกลับเข้ามายังหลังสถานีได้ เพราะจากแผนที่ ดูเหมือน สถานีสร้างขวางถนนสาย 4018 นี้เลย
ภาพกลาง : เข้ามาก็เจอเข้ากับขบวนรถจอดกันเรียงราย พอเข้าไปใกล้ก็เจอบ้านงาน...ฮา เขาก็มองผมว่า มาร่วมงานเขาหรือเปล่า...
ภาพล่าง : เริ่มมองเห็นสถานีรถไฟอยู่ลิบๆ ปลายสุดถนนโน้นแล้วครับ ตื่นเต้น..
Last edited by mirage_II on 16/12/2017 2:53 am; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
mirage_II
1st Class Pass (Air)
Joined: 05/01/2011 Posts: 2591
|
Posted: 14/07/2013 6:42 pm Post subject: |
|
|
สุดถนนก็คือ สถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทองนั่นเอง เป็นฝั่งราง(ด้านหน้าสถานี) ต้องเดินเท้าข้ามรางไป ตอนแรกผมยังคิดว่า ไม่มีถนนอยู่ดานหลังสถานีแล้ว แต่พอมาดูแผนที่ กลับพบว่ามีถนนต่อตรงไปอีกด้าน ไปออกถนนใหญ่ ที่ อ.ร่อนพิบูลย์ จนดูเหมือนว่ามีการสร้างสถานีขวางถนนไว้
รีบลงรถไปถ่ายภาพทันที นับเป็นความรู้สึกตื่นเต้นแปลกใหม่บ่อยๆ ของการมาเยือนสถานีรถไฟแต่ละแห่ง ที่มักจะนึกไม่ถึง เดาไม่ออกทุกครั้ง ว่าจะเป็นลักษณะเช่นใด
ตรงปลายสุดถนนนี้ พบป้ายตรงขวามือ "ที่ทำการแขวงบำรุงทาง...การรถไฟแห่งประเทศไทย" มองไกลๆ นึกว่าป้ายชื่อสถานีซะอีก
หันหลังกลับไปดูถนนที่เข้ามาครับ เงียบดีัจัง...
Last edited by mirage_II on 16/12/2017 3:01 am; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
mirage_II
1st Class Pass (Air)
Joined: 05/01/2011 Posts: 2591
|
Posted: 14/07/2013 6:58 pm Post subject: |
|
|
ณ. ตรงนี้ สามารถเก็บภาพสถานีชุมเทางเขาชุมทองแบบเต็มๆ นับว่ายาวจริงๆ
ภาพที่ได้เล็กไปหน่อย ถ้าอยากได้แบบเต็มตาก็ตามไปลิงค์นี้ได้ครับ
http://2g.pantip.com/cafe/blueplanet/topic/E12227680/E12227680-59.jpg
เดินเข้ามาในราง แล้วหันไปมองทางซ้าย(ทิศตะวันตก)ที่มาจาก อุโมงค์ช่องเขา มีหอควบคุมประแจตั้งอยู่
มองไปทางขวา เป็นตู้สินค้าเปล่า ที่ไม่ค่อยได้ใช้งานแล้ว
Last edited by mirage_II on 16/12/2017 3:06 am; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
mirage_II
1st Class Pass (Air)
Joined: 05/01/2011 Posts: 2591
|
Posted: 14/07/2013 7:06 pm Post subject: |
|
|
ตรงหอควบคุมประแจ มีหัวจักรเล็ก คงใช้สำหรับลากตู้สินค้าบริเวณย่านสถานี ดูกระทัดรัดน่ารักจริงๆ ถ้าจะให้ลากขบวนรถจริงๆ คงวิ่งช้าเหมือนเต่า หรือไม่ก็ไม่มีแรงขึ้นเนินเลย ก็เป็นได้ จอดอยู่ตรงหอควบคุมประแจ เลยเดินมาดูข้างหน้าเพื่อเก็บภาพไว้ (เห็นของแปลกเป็นไม่ได้...)
กลับมายังตรงกลาง เดินเข้าไปใกล้สถานีอีกนิด มองไปทางซ้าย รางตรงนี้ยังมีต้นหญ้าขึ้นรก แถมเป็นสนิม แสดงว่าไม่ค่อยมีรถวิ่งเข้ามาใช้ย่านนี้
หันไปทางขวา ตรงนี้สามารถมองเห็นชานชาลาสถานีได้เต็มๆ เพราะพ้นแนวขบวนรถตู้สินค้าที่จอดบังอยู่
Last edited by mirage_II on 16/12/2017 3:09 am; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
mirage_II
1st Class Pass (Air)
Joined: 05/01/2011 Posts: 2591
|
Posted: 14/07/2013 7:20 pm Post subject: |
|
|
เดินเข้ามาในชานชาลาที่ 2 ที่มีหลังคาทอดยาวไปไกล หันไปทางซ้ายจะสังเกตุเห็นว่า ตัวสถานีเยื้องไปทางซ้าย(ทิศตะวันตก) โดยมีหลังคาชานชาลาที่สั้นกว่า
หันไปทางขวา ตรงนี้จะอยู่ใกล้ปลายหลังคาด้านทิศตะวันออกมาก เลยออกไปไม่ไกลเป็นสะพานคนเดินข้ามเก่า สังเกตุดีๆ ว่าไม่มีพื้น! แม้กระทั่งบันไดที่ขึ้นไปจากชานชาลาที่ 2 นี่ก็ไม่มีขั้นบันไดเช่นกัน
เดินเข้าไปอีก เป็นรางที่ 1 มองไปทางสถานี ดูเป็นสถานีขนาดเล็ก ต่างกับ ชุมทางทุ่งสงอย่างมากซึ่งเป็นสถานีระดับ 3 เท่านั้น คงเป็นเพราะลงรถไฟที่สถานีนี้แล้วไม่สะดวกที่จะไปต่อยังจังหวัดอื่นๆ
ข้างหน้าผม ฝั่งโน้นของรางเป็นชานชาลาที่ 1 คือป้ายบอกทิศทางแยกไปยังสถานีสถานีใกล้เคียง (ผมเพิ่มสถานีปลายทางให้ด้วย) มีพุ่มไม้ประดับห่อหุ้มสีสวยสดใสเลย
Last edited by mirage_II on 16/12/2017 3:13 am; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
mirage_II
1st Class Pass (Air)
Joined: 05/01/2011 Posts: 2591
|
Posted: 14/07/2013 7:29 pm Post subject: |
|
|
ภาพบน : ผมเดินเลยชานชาลาออกไปทางขวา(ทิศตะวันออก) เพื่อไปดูป้ายชื่อสถานี ที่อยู่ไม่ไกลนัก
ภาพล่าง : หันกลับมามองหลังคาชานชาลาที่ 2 จุดนี้จะมองเห็นบันไดขึ้นสะพานคนเดินข้าม ไร้ขั้นบันไดโล่งๆ ในปัจจุบันคงไม่ค่อยมีคนข้าม หรือเป็นเพราะว่าไม่ค่อยมีขบวนรถสินค้ามาจอดขวางคาสถานีเท่าใดนัก (เป็นสาเหตุหลักของการสร้างสะพานลอย เพราะการเดินข้ามขบวนรถไฟนั้นไม่ง่าย ต้องปีนข้ามหัวต่อ และระวังขบวนรถเคลื่อนด้วย ผมเคยประสบมาแล้วตอนเด็กๆ ที่สถานีตะพานหิน ยิ่งมีสัมภาระด้วย นับว่าทุกลักทุเลมาก )
ผมเดินมาถึงสุดชานชาลาตรงป้ายสถานีแล้ว หันกลับไปดูสถานีอีกครั้ง
หันกลับมาทางปลายชานชาลา เลยไปไม่ไกลนัก ก็จะเป็นประแจแยกรางไปยัง จ.นครศรีธรรมราช
Last edited by mirage_II on 16/12/2017 3:17 am; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
mirage_II
1st Class Pass (Air)
Joined: 05/01/2011 Posts: 2591
|
Posted: 14/07/2013 7:37 pm Post subject: |
|
|
เดินเลยชานชาลาหันมาถ่ายภาพป้ายชื่อสถานี ป้ายประเพณีที่คนรักรถไฟไม่พลาดครับ ป้ายด้านนี้มีต้นไม้ขึ้นประกบสองข้างด้วย
ผมเดินต่อออกมาจากปลายชานชาลาที่ 2 ทางทิศตะวันตก แล้วหันกลับไปมองอีกที โอ... ไกลเหมือนกันนะ.. โดยเฉพาะกับเวลาที่น้อยนิดแบบนี้
หันกลับไปข้างหน้าผม อีกไม่ไกลก็จะถึงประแจแยกรางไปทาง จ.นครศรีธรรมราช อันเป็นที่มาของคำว่า"สถานีชุมทาง" ที่ฟังดูเหมือนจะมีหลายๆ เส้นทางมารวมกัน ซึ่งถ้าเป็นภาษาอังกฤษจะเข้าใจตรงกว่าคือ Junction ที่แปลว่าหัวต่อ หรือ จุดที่สองสิ่งมาเชื่อมกัน ซึ่งทางรถยนต์จะนิยมใช้คำว่าทางแยก(ร่วม)
อนึ่ง จะเห็นว่าประแจแยกอยู่รางที่ 1 ด้านชิดกับตัวสถานี จึงเป็นข้อสังเกตุว่า รถไฟที่ไป หรือมาจาก นครศรีธรรมราชต้องเข้าจอดชานชาลาที่ 1 ติดกับสถานีเท่านั้น
Last edited by mirage_II on 16/12/2017 3:20 am; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
|